answers
sequence
article_id
stringlengths
3
20
context
stringlengths
52
87.2k
question
stringlengths
4
234
question_id
stringlengths
1
24
title
stringlengths
0
179
{ "answer_end": [ 330 ], "answer_start": [ 321 ], "text": [ "เกาหลีใต้" ] }
8248
แร็กนาร็อกออนไลน์ แร็กนาร็อกออนไลน์ (; ) เป็นเกม MMORPG มุมมองบุคคลที่สามจากด้านเฉียงบน ระบบกึ่งสามมิติ (ฉากเป็นภาพสามมิติ แต่ตัวละครและศัตรูเป็นภาพสองมิติ) ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท กราวิตี้ คอร์ปอเรชั่น ประเทศเกาหลีใต้ เริ่มทดสอบระบบเซิร์ฟเวอร์วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 เป็นระยะเวลา 9 เดือน ก่อนเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในเกาหลีใต้เมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2545 โดยเนื้อหาส่วนใหญ่มาจากการ์ตูนเรื่อง RAGNAROK ภูตเทพวิบัติ ซึ่งประพันธ์โดยอี มย็อง-จิน สำหรับในประเทศไทยเปิดให้บริการวันที่ 16 กันยายน 2545 แบบโคลสเบต้าจำนวน 3 เซิร์ฟเวอร์ได้แก่ เคออส โลกิ และไอริส วันที่ 25 ตุลาคม 2545 เปิดบริการแบบโอเพ่นเบต้าทั้งหมด 6 เซิร์ฟเวอร์ได้แก่ เคออส โลกิ ไอริส ลิเดีย เฟนรีร์ และซาราห์ โดยบริษัทเอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์จนถึง พ.ศ. 2559 และเปลี่ยนผู้ถือลิขสิทธิ์เป็น บริษัท อิเลคทรอนิกส์ เอ็กซ์ตรีม จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2559ภาพรวม ภาพรวม. เกมแร็กนาร็อกเป็นเกมประเภท เกมออนไลน์แบบเล่นตามบทบาท ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถพบปะ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นอื่นได้หลากหลายอย่างอิสระ การเล่นเกมแร็กนาร็อก ผู้เล่นจะต้องเลือกที่จะเล่นเป็นตัวละครอาชีพต่างๆ (role-playing) ซึ่งตัวละครแต่ละอาชีพจะมีความสามารถ และจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันไป มีทั้งสายอาชีพที่สามารถเอาตัวรอดด้วยตัวเองได้ และสายอาชีพที่มีความสามารถที่จะช่วยเหลือผู้เล่นอื่น พื้นฐานโดยทั่วไปของการเล่นเกมคือการกำจัดสัตว์ประหลาดเพื่อสะสมไอเทม และได้รับค่าประสบการณ์ เพื่อนำมาพัฒนาสกิล หรือพัฒนาความสามารถของตนให้สูงขึ้น ซึ่งผู้เล่นสามารถที่จะเลือกพัฒนาตัวละครของตัวเองได้อย่างอิสระ ทั้งความสามารถและลักษณะเด่นในตัวเองรวมทั้งการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายในการเล่นของตนเอง เช่น พัฒนาเพื่อสนับสนุนผู้เล่นอื่น พัฒนาเพื่อการต่อสู้ตัวต่อตัว หรือพัฒนาเพื่อต่อสู้ในสงครามระหว่าง Guild ซึ่งลักษณะของการพัฒนาความสามารถ และการใช้ ไอเทมได้อย่างอิสระนี้เอง รวมทั้งสัตว์ประหลาดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถ และจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกัน ลักษณะในการโจมตี และการป้องกันที่แตกต่างกันไปในสัตว์ประหลาดแต่ละชนิด ทำให้ผู้เล่น สามารถที่จะเลือกใช้ความสามารถ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับการกำจัดสัตว์ประหลาดนั้น ผู้ที่เล่นเกมต้องทำการละทะเบียนเพื่อรับไอดีสำหรับการเล่นเกม ซึ่งสามารถทำได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ของแร็กนาร็อกระบบเครื่องที่เล่นได้ ระบบเครื่องที่เล่นได้. รายชื่อ VGA Card ที่ใช้ได้- Chipset Nvidia Chipset MATROX Chipset ATI RADEON - GeForce 2 MX ขึ้นไป - MATROX G400 ขึ้นไป - RADEON ขึ้นไป รายชื่อ VGA Card ที่ไม่แนะนำ ชิพเซ็ตต่อไปนี้อาจจะมีปัญหากับเกม- NVidia Riva TNT - Voodoo3 - S3 Savage - ATI Rage128, Mobility rage/radeon การปรับเกมให้ทำงานได้เร็วขึ้น หากคุณพบว่าเกมมีอาการกระตุกหรือเล่นได้ไม่ราบรื่น อาจจะเป็นเพราะ PC ทำงานหนัก ให้ลองปรับแต่งดังนี้:- ใช้ความละเอียด 640 x 480 ในแบบเต็มจอ - ใช้ตัวเลือก 2D Sound - ตั้งคุณภาพของ Sprite และ Texture ไว้ที่ต่ำสุด - ปิดการใช้ Light Map และ Fogแร็กนาร็อก มังงะแร็กนาร็อก ดิแอนิเมชัน
เกมแร็กนาร็อกออนไลน์เปิดให้บริการครั้งแรกในประเทศใด
3622
{ "answer_end": [ 509 ], "answer_start": [ 480 ], "text": [ "ภูเขาขององค์อินทร์ผู้ยิ่งใหญ่" ] }
788113
มเหนทรบรรพต มเหนทรบรรพต (; ; ) เป็นเมืองโบราณสมัยจักรวรรดิเขมร ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน เป็นที่รับรู้กันมาหลายทศวรรษแล้วว่า เมืองนี้มีอยู่ แต่อยู่ที่ใดไม่แน่ชัด เพราะเนื้อที่ส่วนใหญ่กลายเป็นป่ารกร้างและจมอยู่ใต้ดิน กระทั่งคณะนักโบราณคดี ซึ่งมีฌ็อง-บัปติสต์ เชอว็องส์ (Jean-Baptiste Chevance) กับเดเมียน เอวันส์ (Damian Evans) เป็นหัวหน้า ใช้เลเซอร์สแกน (LIDAR) หาทางอากาศจนพบใน ค.ศ. 2012 และเริ่มขุดค้นเรื่อยมาศัพท์มูล ศัพท์มูล. ชื่อ "มเหนทรบรรพต" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า "ภูเขาขององค์อินทร์ผู้ยิ่งใหญ่" เป็นชื่อหนึ่งของพนมกุเลน (ភ្នំគូលេន ภฺนํคูเลน "ภูเขาลิ้นจี่") ศาสนสถานบนยอดเขาซึ่งใช้อภิเษกพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ขึ้นเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเมื่อ ค.ศ. 802 ชื่อ "มเหนทรบรรพต" นี้ปรากฏในจารึกหลายหลักจากสมัยพระนครซึ่งพบที่ปราสาทอกยม (ប្រាសាទអកយំ บฺราสาทอกยํ)ที่ตั้ง ที่ตั้ง. เมืองมเหนทรบรรพตตั้งอยู่บนเนินภูเขาพนมกุเลนในจังหวัดเสียมราฐ ห่างนครวัดไปทางเหนือ และห่างตัวจังหวัดเสียมราฐไปทางเหนือการขุดค้น การขุดค้น. ฌ็อง-บาติสต์ เชอว็องซ์ จากมูลนิธิโบราณคดีและการพัฒนาแห่งลอนดอน (London's Archaeology and Development Foundation) กับแดเมียน อีแวนส์ จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney) ร่วมกับนำคณะผู้เชี่ยวชาญขุดค้นหาเมืองมเหนทรบรรพตมานานหลายปี จน ค.ศ. 2012 คณะดังกล่าวใช้วิทยาการลีดาร์ (LIDAR) คือ ใช้เลเซอร์ติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ออกบินสแกนทั่วพื้นที่พนมกุเลนเป็นเวลาเจ็ดวัน จนพบที่ตั้งเมืองมเหนทรบรรพต ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยภาคพื้นดินที่นักโบราณคดีหลายคนเคยทำไว้ คณะผู้เชี่ยวชาญจึงขุดค้นจนพบรางน้ำและแอ่งน้ำของเมือง โดยใช้จักรยานยนต์ออกตรวจค้นจนพบจุดเริ่มขุด แต่ต้องเสี่ยงกับระเบิดที่ฝังไว้ในดินตั้งแต่ช่วงสงคราม คณะขุดค้นยังพบศาสนสถาน 5 แห่ง แล้วใช้ลีดาร์ตรวจจนพบศาสนสถานอีก 30 แห่ง ร่องรอยถนนที่เชื่อมโยงกันอย่างอลังการ เขื่อน และสระน้ำ แดเมียน อีแวนส์ ยังกล่าวว่า งานครั้งนี้ทำให้ได้ทฤษฎีว่า ปัญหาการบริหารจัดการน้ำทำให้จักรวรรดิเขมรล่มสลายในที่สุดประวัติ ประวัติ. คณะนักโบราณคดีของฌ็อง-บาติสต์ เชอว็องซ์ ประมาณว่า เมืองมเหนทรบรรพตกำเนิดขึ้นใน ค.ศ. 802 ฉะนั้น เมืองมเหนทรบรรพตจึงเก่ากว่านครวัดราว 350 ปี เมืองมเหนทรบรรพตตั้งขึ้นในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้สถาปนาจักรวรรดิเขมร และรับการอภิเษกเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ณ พนมกุเลน ภูเขาอันเป็นที่ตั้งเมืองมเหนทรบรรพต พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ตั้งเมืองมเหนทรบรรพตนี้ขึ้นเพื่อป็นราชสำนักหนึ่งในสามแห่งของพระองค์ อีกสองแห่งคือ อมเรนทรปุระ (អមរេន្ទ្របុរៈ อมเรนฺทฺรบุระ̤ "เมืองพระอินทร์") และหริหราลัย (ហរិហរាល័យ หริหราลัย "เมืองพระหริหระ")
ชื่อเมืองมเหนทรบรรพตแปลว่าอะไร
3623
{ "answer_end": [ 75 ], "answer_start": [ 72 ], "text": [ "ไทย" ] }
175887
กิ้งกือมังกรสีชมพู กิ้งกือมังกรสีชมพู (; ) เป็นกิ้งกือมังกรที่พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก ค้นพบโดยนักสำรวจสมัครเล่น กลุ่ม siamensis.org ซึ่งต่อมาได้แจ้งให้ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา และคณะทราบ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2550 บริเวณป่าเขาหินปูนแถบภาคกลางตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง กิ้งกือมังกรสีชมพูจัดในวงศ์กิ้งกือมังกร มีสีชมพูสดใสแบบช็อกกิงพิงก์ (shocking pink) มีปุ่มหนามคล้ายมังกร เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาวประมาณ 7 ซม. มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้อง และสามารถขับสารพิษประเภทไซยาไนด์ออกมาจากต่อมขับสารพิษข้างลำตัวเพื่อป้องกันตนเองจากศัตรูธรรมชาติ กิ้งกือมังกรสีชมพู พบเป็นแห่งแรกในโลกที่ประเทศไทย ในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
กิ้งกือมังกรสีชมพูสามารถพบได้เฉพาะในประเทศอะไร
3624
{ "answer_end": [ 352 ], "answer_start": [ 335 ], "text": [ "เมธิตา ช่วยสถิตย์" ] }
909214
มิสแกรนด์ตรัง มิสแกรนด์ตรัง () เป็นการประกวดนางงามของจังหวัดตรัง จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2559 ปัจจุบันดำเนินการจัดประกวดโดย ยุทธนา ศิตภัคปุรานันท์ ผู้อำนวยการกองประกวดมิสแกรนด์ตรัง การประกวดมิสแกรนด์ตรังมีจุดประสงค์เพื่อคัดเลือกตัวแทนสาวงาม เข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ โดยผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์ตรัง 2018 คนปัจจุบัน คือ เมธิตา ช่วยสถิตย์ ได้รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งจัดขึ้น ณ หอประชุมวิทยบริการทางวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคตรังมิสแกรนด์ตรังรองชนะเลิศผลงานการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ชุดอัตลักษณ์ประจำจังหวัด ชุดอัตลักษณ์ประจำจังหวัด. 2018: ชุดวิวาห์ใต้สมุทร ได้รับแรงบันดาลใจจาก งานวิวาห์ใต้สมุทรเป็นงานแต่งงานใต้ท้องทะเลโดยจัดขึ้นที่ จังหวัดตรัง โดยชุดจะคล้ายลักษณะของชุดวิวาห์แต่จะผสมผสานอุปกรณ์ดำน้ำและกลิ่นอายใต้ท้องทะเลลงไปอย่างลงตัว 2017: ชุดโนรีศรีรัษฎา ได้รับแรงบันดาลใจจาก มโนราห์ หากเปรียบสาวชาวใต้แต่ละจังหวัดเป็นมโนราห์ หญิงสาวจังหวัดตรังจึงมีแนวคิดที่จะเป็นมโนราห์ในแบบฉบับของตัวเอง ที่มีการนำกลิ่นอายของเครื่องแต่งกายมโนราห์มาประยุกต์ เสริมเติมแต่งให้ดูเป็นสากล แต่ก็ไม่ได้ข้ามผ่านความเป็นไทย ยังคงสืบทอดแบบแผนและวัฒนธรรมที่ดีงามไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาจดจำ 2016: ชุดมาตรัง..ไม่หนังก็โนราห์ ได้แรงบันดาลใจสร้างสรรค์จาก มโนราห์ซึ่งเป็นการแสดงร่วมสมัยที่เป็นเอกลักษณ์ของปักษ์ใต้ กับหนังตะลุงซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของปักษ์ใต้ ร่วมกับการใช้ผ้าปาเต๊ะ รวมกับผ้าทอนาหมื่นศรี ซึ่งทั้งหมดได้ออกแบบประยุกต์ใส่วัฒนธรรมทั้ง 4 อย่างของจังหวัดตรังอย่างลงตัวทำเนียบมิสแกรนด์ตรัง
นางงามคนใดได้รับตำแหน่งมิสแกรนด์ตรัง 2018
3625
{ "answer_end": [ 86 ], "answer_start": [ 69 ], "text": [ "มหาสมุทรแอตแลนติก" ] }
93102
มาเดรา มาเดรา () เป็นหมู่เกาะของประเทศโปรตุเกส ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่ระหว่าง และ เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศโปรตุเกส มาเดรานั้นอยู่ในทวีปยุโรปทางการปกครอง แต่อยู่ในทวีปแอฟริกาในทางภูมิศาสตร์ ชาวโรมันรู้จักเกาะมาเดราในนามหมู่เกาะสีม่วง (Purple Islands) ถูกค้นพบโดยนักเดินเรือชาวโปรตุเกสในต้นปี ค.ศ. 1418 หรือ ปลายปี 1420 หมู่เกาะนี้ถูกพิจารณาว่าเป็นการค้นพบแรกของยุคการสำรวจโดยเฮนรี นักเดินทางชาวโปรตุเกส สิ่งเป็นเป็นที่ขึ้นชื่อคือ รีสอร์ต ไวน์ที่เป็นที่โด่งดัง สภาพภูมิอากาศ ทัศนียภาพที่สวยงาม ดอกไม้ งานเย็นปักถักร้อย การฉลองปีใหม่ด้วยโชว์พลุไฟ และล่าสุดกับงานพุไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลกติดกินเนสบุ๊คบุคคลที่มีชื่อเสียงบุคคลที่มีชื่อเสียง. - คริสเตียโน โรนัลโด
หมู่เกาะมาเดราในประเทศโปรตุเกสตั้งอยู่ในมหาสมุทรใด
3626
{ "answer_end": [ 88 ], "answer_start": [ 80 ], "text": [ "เอกลิขิต" ] }
356793
โบตั๋นกลีบสุดท้าย โบตั๋นกลีบสุดท้าย จากบทประพันธ์ของ กานติมา เขียนบทโทรทัศน์โดย เอกลิขิต กำกับการแสดงโดย ชนะ คราประยูร นำแสดงโดย อธิชาติ ชุมนานนท์ แสดงเป็น อาจู / ธีรเดช ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ แสดงเป็น ตันหยง ออกอากาศทุกทุกวันจันทร์ - อังคาร เวลา 20.30 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551 โบตั๋นกลีบสุดท้าย ได้รับรางวัลจาก คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2551 ถึง 3 รางวัล คือ บทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับการแสดงละครยอดเยี่ยม และ ละครไทยยอดนิยมนักแสดง
ใครคือผู้ประพันธ์บทโทรทัศน์ของละครไทยเรื่องโบตั๋นกลีบสุดท้าย
3628
{ "answer_end": [ 191 ], "answer_start": [ 170 ], "text": [ "ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ" ] }
356793
โบตั๋นกลีบสุดท้าย โบตั๋นกลีบสุดท้าย จากบทประพันธ์ของ กานติมา เขียนบทโทรทัศน์โดย เอกลิขิต กำกับการแสดงโดย ชนะ คราประยูร นำแสดงโดย อธิชาติ ชุมนานนท์ แสดงเป็น อาจู / ธีรเดช ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ แสดงเป็น ตันหยง ออกอากาศทุกทุกวันจันทร์ - อังคาร เวลา 20.30 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551 โบตั๋นกลีบสุดท้าย ได้รับรางวัลจาก คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2551 ถึง 3 รางวัล คือ บทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับการแสดงละครยอดเยี่ยม และ ละครไทยยอดนิยมนักแสดง
นักแสดงคนใดรับบทเป็นตันหยงในละครไทยเรื่องโบตั๋นกลีบสุดท้าย
3629
{ "answer_end": [ 248 ], "answer_start": [ 229 ], "text": [ "27 มกราคม พ.ศ. 2465" ] }
128425
ยุวกาชาดไทย ยุวกาชาดไทย () คือบรรดาเยาวชนที่ดำเนินกิจกรรมในการอุทิศตน และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยการรับเอาเฉพาะกลุ่มยุวชน และเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 8 - 25 ปี ทั้งชายและหญิง กิจการยุวกาชาดในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2465 ในชื่อ “กองอนุสภากาชาดสยาม” โดยพระดำริของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อนุกาชาด" และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “ยุวกาชาด” เมื่อปี พ.ศ. 2521
กิจการยุวกาชาดในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อใด
3630
{ "answer_end": [ 275 ], "answer_start": [ 257 ], "text": [ "กองอนุสภากาชาดสยาม" ] }
128425
ยุวกาชาดไทย ยุวกาชาดไทย () คือบรรดาเยาวชนที่ดำเนินกิจกรรมในการอุทิศตน และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยการรับเอาเฉพาะกลุ่มยุวชน และเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 8 - 25 ปี ทั้งชายและหญิง กิจการยุวกาชาดในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2465 ในชื่อ “กองอนุสภากาชาดสยาม” โดยพระดำริของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อนุกาชาด" และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “ยุวกาชาด” เมื่อปี พ.ศ. 2521
กิจการยุวกาชาดในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นภายใต้ชื่อใด
3631
{ "answer_end": [ 74 ], "answer_start": [ 73 ], "text": [ "3" ] }
321057
ธงชาติโรมาเนีย ธงชาติโรมาเนีย () เป็นธงสามสีซึ่งประกอบด้วยแถบริ้วแนวตั้ง 3 สี ประกอบด้วยสีน้ำเงิน สีเหลือง และสีแดง เรียงตามลำดับจากด้านคันธง ลักษณะโดยรวมของธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโรมาเนียได้ระบุถึงธงชาติโรมาเนียไว้ว่า “ธงของโรมาเนียเป็นธงสามสี แถบสีต่างๆ เรียงลำดับตามแนวตั้งโดยนับจากด้านคันธงไป ประกอบด้วยสีน้ำเงิน สีเหลือง สีแดง” สัดส่วนและระดับสีของธงแบบมาตรฐานได้ถูกกำหนดไว้พร้อมกับข้อปฏิบัติเกี่ยวกับธงโดยกฎหมายว่าด้วยธง ซึ่งได้ตราขึ้นในปี ค.ศ. 1994 และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 2001 ลักษณะของธงดังกล่าวนี้พ้องกันอย่างยิ่งกับธงพลเรือนของอันดอร์ราและธงราชการของประเทศชาด โดยเฉพาะกรณีธงชาติของประเทศชาดนั้นต่างกันกับธงของโรมาเนียเพียงว่าประเทศชาดใช้โทนสีน้ำเงินที่เข้มกว่าของโรมาเนียเท่านั้น ความคล้ายคลึงดังกล่าวได้นำไปสู่การอภิปรายเรื่องนี้ในระดับนานาชาติ โดยในปี ค.ศ. 2004 ประเทศชาดได้ร้องขอให้องค์การสหประชาชาติวินิจฉัยในข้อปัญหาดังกล่าว แต่ประธานาธิบดีอีออน อีลีเอสคู (Ion Iliescu) ได้ประกาศในเวลาต่อมาว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ แก่ธงชาติโรมาเนีย ธงอีกธงหนึ่งที่สัมพันธ์กับธงชาติโรมาเนียคือธงชาติมอลโดวา ซึ่งใช้พื้นสีธงแบบเดียวกับของโรมาเนีย แต่สัดส่วนความกว้างต่อความยาวของธงเป็น 1:2 มีใช้สีน้ำเงินในโทนที่อ่อนกว่าของโรมาเนีย และมีดวงตราแผ่นดินของมอลโดวาที่กลางธงสีธง สีธง. กฎหมายว่าด้วยธงของโรมาเนียได้ระบุถึงระดับของสีธงชาติไว้ชัดเจนว่า สีน้ำเงินใช้สี cobalt blue สีเหลืองใช้สี chrome yellow และสีแดงใช้สี vermilion red ซึ่งในหนังสือ Album des pavillons nationaux et des marques distinctives (2000) ได้เทียบสีไว้ด้วยระบบสี Pantone ดังนี้
ธงชาติโรมาเนียประกอบด้วยสีทั้งหมดกี่สี
3632
{ "answer_end": [ 106 ], "answer_start": [ 97 ], "text": [ "คาราวัจโจ" ] }
238892
การตรึงนักบุญเปโตรบนกางเขน (การาวัจโจ) นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน () เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันอยู่ที่วัดซานตามาเรียเดลโปโปโลในกรุงโรมในประเทศอิตาลี ภาพ “นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” เป็นภาพที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1601 เป็นภาพที่เขียนสำหรับชาเปลเซราซิ (Cerasi Chapel) ภายในวัดซานตามาเรียเดลโปโปโล ตรงกันข้ามเป็นภาพ “มโนทัศน์ของนักบุญพอลบนถนนสู่ดามาสคัส” ซึ่งเป็นภาพเขียนอีกภาพหนึ่งของคาราวัจโจ ตรงกลางบนแท่นบูชาระหว่างสองภาพนี้เป็นภาพ “อัสสัมชัญของพระแม่มารี” โดยอันนิบาเล คารัคชี ภาพนี้เป็นภาพที่แสดงการพลีชีพโดยการถูกตรึงกางเขนของนักบุญปีเตอร์—ก่อนจะถูกตรึงกางเขนนักบุญปีเตอร์ขอให้เป็นกางเขนที่กลับกับกางเขนที่ใช้ในการตรึงพระเยซูเพื่อที่จะไม่เป็นการเลียนแบบพระองค์ นักบุญปีเตอร์จึงถูกตรึงกางเขนโดยการห้อยหัวลงมา นอกจากนักบุญปีเตอร์แล้วก็มีชาวโรมันที่เราไม่เห็นหน้าพยายามที่จะตั้งกางเขนของนักบุญผู้สูงอายุแต่ก็ยังมีกล้ามเนื้อ นักบุญปีเตอร์ดูจะมีน้ำหนักมากกว่าที่ร่างกายบ่งไว้ที่ต้องใช้คนถึงสามคนในการพยายามยกกางเขนขึ้นราวกับว่าบาปในสิ่งที่กำลังทำถ่วงตัวบุคคลทั้งสาม ภาพสองภาพนี้และฉากแท่นบูชาที่เขียนโดยอันนิบาเล คารัคชีได้รับการจ้างให้เขียนโดยมอนซิยอร์ทิแบริโอ เซราซิผู้เสียชีวิตไม่นานหลังจากนั้น ภาพเขียนแรกทั้งสองภาพได้รับการปฏิเสธ และผ่านมือไปเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมส่วนบุคคลของคาร์ดินัลซันเนซซิโอ นักวิชาการหลายคนที่รวมทั้งจอห์น แกช, เฮเลน แลกดอน และปีเตอร์ รอบบ์ สันนิษฐานว่าคาร์ดินัลซันเนซซิโอฉวยโอกาสเมื่อเซราซิเสียชีวิตโดยไม่คาดในการเป็นเจ้าของภาพหลายภาพของคาราวัจโจ แต่ภาพแรกของ “นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” สูญหายไป นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นภาพที่เป็นของพิพิธภัณฑ์เฮอร์มิทาจ ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกัน ภาพที่สองจึงได้รับการยอมรับในปี ค.ศ. 1601 นักบุญสององค์--ปีเตอร์และพอล—เป็นนักบุญที่เป็นผู้วางรากฐานของสถาบันคาทอลิก ปีเตอร์ผู้เป็น “หลักหิน” ที่พระเยซูประกาศให้เป็นผู้สร้างวัด (พระวรสารนักบุญแม็ทธิว 16:18) และนักบุญพอลผู้ก่อตั้งสถาบันคริสต์ศาสนาในโรม ภาพเขียนของคาราวัจโจจึงเป็นสัญลักษณ์ของการอุทิศให้แก่ประมุขแห่งอัครสาวกของโรม ภายในวัดที่ตั้งเด่นอยู่กลางจตุรัสที่ต้อนรับนักแสวงบุญผู้มาสักการะเมื่อเข้ามาในกรุงโรมจากทางด้านเหนือ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหัวข้อของการปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิกในการเปลี่ยนแปลงและการเสียสละซึ่งเป็นการต่อต้านการขยายตัวของโปรเตสแตนต์ คาราวัจโจหรือผู้อุปถัมภ์ดูเหมือนจะคิดถึงจิตรกรรมฝาผนังของไมเคิล แอนเจโลในชาเปลเพาลินาในนครรัฐวาติกัน เมื่อเลือกเขียนภาพนี้ แต่งงานเขียนของคาราวัจโจไม่มีรายละเอียดที่ยุ่งเหยิงเช่นในงานจิตรกรรมฝาผนังแบบแมนเนอริสต์ของไมเคิล แอนเจโล
นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจิตรกรสมัยบาโรกชาวอิตาลีคนใด
3633
{ "answer_end": [ 267 ], "answer_start": [ 263 ], "text": [ "1601" ] }
238892
การตรึงนักบุญเปโตรบนกางเขน (การาวัจโจ) นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน () เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันอยู่ที่วัดซานตามาเรียเดลโปโปโลในกรุงโรมในประเทศอิตาลี ภาพ “นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” เป็นภาพที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1601 เป็นภาพที่เขียนสำหรับชาเปลเซราซิ (Cerasi Chapel) ภายในวัดซานตามาเรียเดลโปโปโล ตรงกันข้ามเป็นภาพ “มโนทัศน์ของนักบุญพอลบนถนนสู่ดามาสคัส” ซึ่งเป็นภาพเขียนอีกภาพหนึ่งของคาราวัจโจ ตรงกลางบนแท่นบูชาระหว่างสองภาพนี้เป็นภาพ “อัสสัมชัญของพระแม่มารี” โดยอันนิบาเล คารัคชี ภาพนี้เป็นภาพที่แสดงการพลีชีพโดยการถูกตรึงกางเขนของนักบุญปีเตอร์—ก่อนจะถูกตรึงกางเขนนักบุญปีเตอร์ขอให้เป็นกางเขนที่กลับกับกางเขนที่ใช้ในการตรึงพระเยซูเพื่อที่จะไม่เป็นการเลียนแบบพระองค์ นักบุญปีเตอร์จึงถูกตรึงกางเขนโดยการห้อยหัวลงมา นอกจากนักบุญปีเตอร์แล้วก็มีชาวโรมันที่เราไม่เห็นหน้าพยายามที่จะตั้งกางเขนของนักบุญผู้สูงอายุแต่ก็ยังมีกล้ามเนื้อ นักบุญปีเตอร์ดูจะมีน้ำหนักมากกว่าที่ร่างกายบ่งไว้ที่ต้องใช้คนถึงสามคนในการพยายามยกกางเขนขึ้นราวกับว่าบาปในสิ่งที่กำลังทำถ่วงตัวบุคคลทั้งสาม ภาพสองภาพนี้และฉากแท่นบูชาที่เขียนโดยอันนิบาเล คารัคชีได้รับการจ้างให้เขียนโดยมอนซิยอร์ทิแบริโอ เซราซิผู้เสียชีวิตไม่นานหลังจากนั้น ภาพเขียนแรกทั้งสองภาพได้รับการปฏิเสธ และผ่านมือไปเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมส่วนบุคคลของคาร์ดินัลซันเนซซิโอ นักวิชาการหลายคนที่รวมทั้งจอห์น แกช, เฮเลน แลกดอน และปีเตอร์ รอบบ์ สันนิษฐานว่าคาร์ดินัลซันเนซซิโอฉวยโอกาสเมื่อเซราซิเสียชีวิตโดยไม่คาดในการเป็นเจ้าของภาพหลายภาพของคาราวัจโจ แต่ภาพแรกของ “นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” สูญหายไป นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นภาพที่เป็นของพิพิธภัณฑ์เฮอร์มิทาจ ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกัน ภาพที่สองจึงได้รับการยอมรับในปี ค.ศ. 1601 นักบุญสององค์--ปีเตอร์และพอล—เป็นนักบุญที่เป็นผู้วางรากฐานของสถาบันคาทอลิก ปีเตอร์ผู้เป็น “หลักหิน” ที่พระเยซูประกาศให้เป็นผู้สร้างวัด (พระวรสารนักบุญแม็ทธิว 16:18) และนักบุญพอลผู้ก่อตั้งสถาบันคริสต์ศาสนาในโรม ภาพเขียนของคาราวัจโจจึงเป็นสัญลักษณ์ของการอุทิศให้แก่ประมุขแห่งอัครสาวกของโรม ภายในวัดที่ตั้งเด่นอยู่กลางจตุรัสที่ต้อนรับนักแสวงบุญผู้มาสักการะเมื่อเข้ามาในกรุงโรมจากทางด้านเหนือ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหัวข้อของการปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิกในการเปลี่ยนแปลงและการเสียสละซึ่งเป็นการต่อต้านการขยายตัวของโปรเตสแตนต์ คาราวัจโจหรือผู้อุปถัมภ์ดูเหมือนจะคิดถึงจิตรกรรมฝาผนังของไมเคิล แอนเจโลในชาเปลเพาลินาในนครรัฐวาติกัน เมื่อเลือกเขียนภาพนี้ แต่งงานเขียนของคาราวัจโจไม่มีรายละเอียดที่ยุ่งเหยิงเช่นในงานจิตรกรรมฝาผนังแบบแมนเนอริสต์ของไมเคิล แอนเจโล
คาราวัจโจเขียนภาพเขียนสีน้ำมันชื่อว่า นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน เสร็จในปีค.ศ.ใด
3634
{ "answer_end": [ 29 ], "answer_start": [ 15 ], "text": [ "ตราบาปลิขิตรัก" ] }
184672
ตราบาปลิขิตรัก ตราบาปลิขิตรัก เป็นชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์เรื่อง Atonement ซึ่งสร้างจากนวนิยายของเอียน แมคอีวานในชื่อเดียวกัน กำกับโดยโจ ไรท์ เขียนบทภาพยนตร์โดยคริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน ถ่ายทำในปี พ.ศ. 2549 ที่ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส นำแสดงโดยเจมส์ แมคอาวอยและเคียรา ไนต์ลีย์ จัดจำหน่ายโดยยูนิเวอร์แซล ออกฉายในประเทศอังกฤษวันที่7 กันยายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) และฉายในไทยวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) ตราบาปลิขิตรัก ได้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสครั้งที่ 64 ทำให้โจ ไรท์ในวัย 35ปี เป็นผู้กำกับที่มีอายุน้อยที่สุดที่มีผลงานออกฉายในงานเทศกาลนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์ในสาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในการประกาศรางวัลครั้งที่ 80 และเข้าชิงทั้งหมด 6 สาขารวมทั้ง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม,บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม,นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน)เนื้อเรื่องย่อ เนื้อเรื่องย่อ. ภาพยนตร์เรื่องนี้แบ่งได้เป็นสี่ตอนเช่นเดียวกันกับนวนิยายต้นฉบับ บางฉากได้ใช้วิธีการเล่าซ้ำโดยแสดงให้เห็นมุมมองที่ต่างกันออกไปต่อเหตุการณ์เดียวกัน ไบรโอนี่ ทาลลิส (เซอร์ชา โรนัน) เป็นเด็กหญิงวัย 13 ปีในครอบครัวที่ร่ำรวยครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ เป็นน้องคนเล็กในบรรดาพี่น้องสามคน และใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักเขียน เซซิเลีย(เคียรา ไนต์ลีย์)พี่สาวของเธอสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เช่นเดียวกันกับร็อบบี เทอร์เนอร์(เจมส์ แมคอาวอย)ลูกชายแม่บ้านที่ได้รับการสนับสนุนทางการศึกษาจากพ่อของเซซิเลีย ร็อบบีซึ่งกำลังจะเข้าเรียนแพทย์ได้ใช้เวลาในช่วงฤดูร้อนทำสวนในที่ดินของตระกูลทาลลิส ไบรโอนี่ได้แสดงให้เห็นตั้งแต่แรกเริ่มว่าเธอมีความรู้สึกพิเศษต่อร็อบบี วันที่เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์นั้น ญาติของตระกูลอันประกอบด้วยโลล่า ควินซีย์(จูโน เทมเพิล)และน้องชายฝาแฝดของเธอ(ฟีลิกซ์และชาร์ลี วอน ซิมสัน)ได้เดินทางมาเยี่ยมในขณะที่พ่อแม่ของพวกเขาเพิ่งหย่าร้างกัน ในขณะที่ลีออน(แพทริก เคนเนดี้) พี่ชายของเซซิเลียและไบรโอนี่ได้กลับบ้านพร้อมพาเพื่อนชื่อพอล มาร์แชล(เบเนดิคด์ คัมเบอร์แบทช์)เจ้าของโรงงานช็อคโกแลต บ้านทาลลิสจัดมื้ออาหารค่ำเป็นพิเศษ ลีออนได้ชักชวนร็อบบีซึ่งตอบตกลง ทำให้เซซิเลียเกิดความรำคาญเป็นอย่างยิ่ง ไบรโอนี่เพิ่งจะเขียนบทละครเรื่อง การทดสอบของอาราเบลล่า(The Trials of Arabella)สำเร็จ เป็นบทละครที่กล่าวถึงความซับซ้อนของความรัก ไบรโอนี่ตั้งใจจะใช้ละครเรื่องนี้เล่นในช่วงอาหารค่ำโดยมีเธอเป็นผู้กำกับ แต่ลูกพี่ลูกน้องของเธอ โลล่าและฝาแฝดไม่อยากร่วมมือนัก ไบรโอนี่จึงต้องกลับไปที่ห้องอย่างหงุดหงิดและได้เห็นภาพเหตุการณ์ระหว่างเซซิเลียกับร็อบบีที่น้ำพุ โดยภาพที่เห็นคือเซซิเลียถอดเสื้อเหลือเพียงชุดชั้นในและกระโดดลงไปในน้ำพุ มีร็อบบียืนมองใกล้ๆ อันที่จริงเซซิเลียเพียงลงไปเก็บเศษแจกันที่ร็อบบีทำแตกเท่านั้นแต่ก็ทำให้ไบรโอนี่เข้าใจผิดไปแล้ว ต่อมาเมื่อร็อบบีเขียนจดหมายขอโทษเซซิเลียและฝากไบรโอนี่นำไปส่งให้ ไบรโอนี่ก็แอบอ่านและพบว่าเป็นข้อความหยาบคายเกี่ยวกับเรื่องเพศซึ่งร็อบบีส่งผิดฉบับ ไบรโอนี่เล่าให้โลล่าฟังและกล่าวว่าร็อบบีเป็นบุคคลอันตราย ต่อมาไบรโอนี่ได้เห็นภาพบาดตาอีกครั้งที่ห้องสมุด เมื่อเซซิเลียกับร็อบบีกำลังกอดก่ายกันอยู่ ในช่วงอาหารค่ำเมื่อฝาแฝดหายตัวไปและทุกคนแยกย้ายกันออกไปตาม ไบรโอนี่ได้เห็นโลล่าถูกใครบางคนข่มขืน โลล่าให้การว่าเธอไม่รู้ว่าใครคือคนที่ทำร้ายเธอ ไบรโอนี่จึงไม่รอช้าที่จะกล่าวหาร็อบบีโดยยืนยันว่าเธอเห็นร็อบบีจริงๆ ร็อบบีที่หาฝาดแฝดพบจึงถูกส่งไปเข้าคุกแม้เซซิเลียจะเชื่อว่าร็อบบีไม่ได้ทำก็ตาม สี่ปีต่อมา ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ร็อบบีออกจากคุกและเข้าร่วมสงคราม ก่อนหน้านั้นเขาได้พบกับเซซิเลียครั้งหนึ่งในลอนดอนและสัญญาว่าจะกลับมาพบกันอีก ไบรโอนี่ในวัย 18 ปี(โรโมร่า การาย)ไปเป็นพยาบาลตามรอยเซซิเลียและพยายามติดต่อกับเซซิเลียแต่โดนปฏิเสธ เซซิเลียได้ออกจากการเป็นครอบครัวนับตั้งแต่ทุกคนเชื่อว่าร็อบบีกระทำความผิดจริง ร็อบบีและเพื่อนทหารสองนายซึ่งพลัดหลงกับกองทัพเดินทางไปถึงดันเคิร์ก ประเทศฝรั่งเศส และได้พบกับกองทัพที่รอการเคลื่อนย้ายกลับอังกฤษที่นั่น ร็อบบีได้ยินว่ากองทัพจะทำการเคลื่อนย้ายในวันรุ่งขึ้น ในช่วงเวลาหลังจากนั้น ที่โรงพยาบาลในลอนดอน ไบรโอนี่ได้พบกับความพรั่นพรึงจากผู้ที่ผ่านการรบมาแล้ว หลังจากเห็นข่าวสมเด็จพระราชินีเสด็จเยี่ยมโรงงานของพอล มาร์แชล ไบรโอนี่ได้เข้าร่วมงานแต่งงานของพอลและโลล่า ณ ที่นั้นเธอตระหนักได้ว่า ในค่ำคืนที่เธอเป็นพยานการข่มขืน ชายที่อยู่ที่นั่นคือพอล ไม่ใช่ร็อบบี ในวันนั้นไบรโอนี่ไปหาเซซิเลียและกล่าวขอโทษ เซซิเลียอาศัยอยู่กับร็อบบี ทั้งสองชี้แนะว่าไบรโอนี่จะต้องสารภาพความจริงทั้งหมดให้ทุกคนได้รับรู้ ในปีค.ศ. 1999 ไบรโอนี่ในวัยชรา(วาเนสซา เรดเกรฟ)ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนวนิยายเรื่องสุดท้ายของเธอ ไบรโอนี่เปิดเผยว่าเธอเป็นโรค Vascular dementia ทำให้ความจำของเธอจะเสื่อมลงในไม่ช้า นอกจากนี้เธอยังเปิดเผยอีกว่าตอนจบของนิยายกับชีวิตจริงไม่เหมือนกัน ในความจริงเธอไม่ได้ไปหาเซซิเลีย เซซิเลียกับร็อบบีเองก็ไม่ได้พบกันหรือใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะร็อบบีได้เสียชีวิตที่ดันเคิร์ก ส่วนเซซิเลียจมน้ำจากเหตุการณ์ท่อระเบิดที่สถานีรถไฟใต้ดิน เสียชีวิตเช่นกัน ไบรโอนี่กล่าวว่านวนิยายเรื่องนี้คือการไถ่บาป(Atonement)ของเธอ ฉากสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้คือร็อบบีและเซซิเลียยิ้มอย่างร่าเริงที่ชายหาด ใกล้ๆมีบ้านสีฟ้าที่ทั้งสองคนคาดหวังว่าจะได้อยู่ร่วมกัน ทั้งสองดูมีความสุขมากซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่เคยมีช่วงเวลาเช่นนั้นตัวละครหลักตัวละครหลัก. - เคียรา ไนต์ลีย์ รับบทเป็น เซซิเลีย ทาลลิส ลูกคนกลางของตระกูลทาลลิส ในตอนแรกจะได้รับบทเป็นไบรโอนี่วัย 18 ปีแต่โจ ไรท์ซึ่งเป็นผู้กำกับได้เห็นว่าเธอเหมาะกับบทเซซิเลียมากกว่า ไนต์ลีย์เคยร่วมงานกับไรท์มาแล้วในภาพยนตร์เรื่อง Pride & Prejudice (ค.ศ. 2005) ไนต์ลีย์ต้องฝึกพูดภาษาอังกฤษสำเนียงยุค ค.ศ. 1940 เพื่อรับบทนี้ - เจมส์ แมคอาวอย รับบทเป็น ร็อบบี เทอร์เนอร์ ลูกชายแม่บ้านของตระกูลทาลลิส หลังจากปฏิเสธงานก่อนหน้านี้ ไรท์ได้เลือกแมคอาวอยเป็นร็อบบี แม้ว่าโปรดิวเซอร์จะเลือกนักแสดงไว้หลายคนเช่นเจค จิลเลนฮอล แมคอาวอยกล่าวว่าร็อบบีเป็นบทที่เล่นยากที่สุดบทหนึ่งเลยทีเดียว - เซอร์ชา โรนัน รับบทเป็น ไบรโอนี่ ทาลลิส ในวัย 13 ปี เด็กหญิงผู้ทะเยอะทะยานอยากเป็นนักเขียนและมีจินตนาการสูงส่ง เอียน แมคอีวานกล่าวชมการแสดงของเธอว่าไม่ธรรมดา โรนันได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจากบทนี้ - โรโมร่า การาย รับบทเป็น ไบรโอนี่ ทาลลิส ในวัย 18 ปี ในตอนแรกผู้ที่จะได้รับบทนี้คือแอบบี คอร์นิชซึ่งปฏิเสธเพราะต้องถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Elizabeth: The Golden Age โรโมร่าใช้เวลาอยู่ในกองถ่ายเพียง 4 วันเท่านั้น - วาเนสซา เรดเกรฟ รับบทเป็น ไบรโอนี่ ทาลลิส ในวัย 77 ปี เรดเกรฟได้รับการเลือกเป็นไบรโอนี่วัยชราหลังจากที่โรนันได้รับการเลือกเป็นไบรโอนี่ในวัยเด็ก ทั้งโรนัน การาย และเรดเกรฟ ต้องทำผมทรงเดียวกันและแสดงความเป็นไบรโอนี่ออกมาคล้ายคลึงกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ - แฮเรียต วอลเทอร์ รับบทเป็น เอมิลี่ ทาลลิส แม่และหัวหน้าครอบครัวของตระกูลทาลลิส - แพทริค เคนเนดี้ รับบทเป็น ลีออน ทาลลิส พี่ชายคนโตในบรรดาพี่น้องสามคนของตระกูลทาลลิส - เบรนดา เบลทติน รับบทเป็น เกรซ เทอร์เนอร์ แม่บ้านของตระกูลทาลลิส แม่ของร็อบบี - จูโน เทมเพิล รับบทเป็น โลล่า ควินซีย์ ลูกพี่ลูกน้องของไบรโอนี่ที่มาเยี่ยมบ้าน - ฟีลิกซ์และชาร์ลี วอน ซิมสัน รับบทเป็น น้องชายฝาแฝดของโลล่า - เบเนดิกด์ คัมเบอร์แบตช์ รับบทเป็นพอล มาร์แชล เพื่อนของลีออน เจ้าของโรงงานช็อกโกแลตงานสร้างภาพยนตร์สถานที่ถ่ายทำ งานสร้างภาพยนตร์. สถานที่ถ่ายทำ. สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องตราบาปลิขิตรักส่วนมากอยู่ในประเทศอังกฤษ เช่นฉากอพยพทหารที่ดันเคิร์กถ่ายทำที่เรดคาร์เมืองตากอากาศริมทะเล, สเตรทแฮม, ทางตอนใต้ของลอนดอน ใช้ถ่ายทำฉากอพาร์ทเมนต์ของเซซิเลียหลังจากที่เธอตัดขาดจากครอบครัวแล้ว ในส่วนของคฤหาสน์ตระกูลทาลลิสถ่ายทำที่คฤหาสน์สโตรคเซย์ เขตชรอพเชียร์ ซึ่งเป็นบ้าพักส่วนบุคคลที่สร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1889 เป็นคฤหาสน์สไตล์วิคตอเรียน สถานที่ถ่ายทำในลอนดอนมีทั้งถนนไวท์ฮอลล์ในเวสท์มินสเตอร์และเบธนอลกรีนทาวเวอร์ฮอลล์ซึ่งใช้เป็นฉากร้านน้ำชาในปี ค.ศ. 1939 นอกจากนี้ยังมีโบสถ์เซนต์จอห์นสมิธแสควร์ในเวสท์มินสเตอร์ที่ใช้เป็นฉากงานแต่งงานของโล่ล่ากับพอล มาร์แชล ในบางส่วนของฉากโรงพยาบาลเซนต์โธมัสถ่ายทำที่ พาร์คพาเลซ เบิร์กเชียร์ และเมืองเฮนเลย์ออนเทมส์ทางตอนใต้ของออกฟอร์ดเชียร์ ส่วนภายนอกโรงพยาบาลนั้นถ่ายทำที่มหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน(University College London) บ้านพักตากอากาศในรูปถ่ายและในฉากสุดท้ายของภาพยนตร์ถ่ายทำที่เซเว่นซิสเตอร์ ซัสเซกส์ ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษการตอบรับจากสังคมรางวัลรางวัลที่ได้รับการตอบรับจากสังคม. รางวัล. รางวัลที่ได้รับ. - รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80: ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - รางวัลภาพยนตร์แห่งอังกฤษ ครั้งที่ 61:- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม - รางวัลมะเขือเทศทองคำ: ภาพยนตร์รักโรแมนติคยอดเยี่ยม - รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ฮูสตัน:- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมหนึ่งในสิบอันดับ - ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - รางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 65:- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์ดรามา - ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - รางวัลสมาคมวิจารณ์ดนตรีประกอบภาพยตร์นานาชาติ:- ดนตรีประกอบภาพยนตร์แห่งปี (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทดรามา - เรียบเรียงดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี - รางวัลภาพยนตร์และโทรทัศน์ไอริช:- นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี) - รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ลาสเวกัส: นักแสดงรุ่นเยาว์หญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - รางวัลกลุ่มผู้วิจารณ์ภาพยนตร์แห่งลอนดอน:- นักแสดงชายอังกฤษยอดเยี่ยมแห่งปี (เจมส์ แมคอาวอย) - นักแสดงสมทบหญิงอังกฤษ (วาเนสซา เรดเกรฟ) - รางวัลนิลส์สันสาขาภาพยนตร์:- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - ประดับฉากยอดเยี่ยม - ศิลปินรุ่นเยาว์ (เซอร์ชา โรนัน) - รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ฟีนิกส์:- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมหนึ่งในสิบอันดับ - กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี) - ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - นักแสดงรุ่นเยาว์ในบทนำหรือสมทบยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ซานดิเอโก:- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมหนึ่งในเจ็ดอันดับ - ตัดต่อยอดเยี่ยม (พอล ทอตฮิลล์) - รางวัลแซทเทิลไลท์ ครั้งที่ 12: บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน)รางวัลที่เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลที่เสนอชื่อเข้าชิง. - รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80:- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน) - กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ซาราห์ กรีนวูด,เคที สเปนเซอร์) - กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี) - ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (แจคเคอลีน เดอร์แรน) - รางวัลสมาคมผู้กำกับศิลป์ ครั้งที่12: ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยมในภาพยนตร์เรื่องยาว (ซาราห์ กรีนวูด) - รางวัลสมาคมช่างกล้องภาพยนตร์แห่งอเมริกา ครั้งที่22: กำกับภาพยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ (ซีมัส แมคการ์วี) - รางวัลภาพยนตร์แห่งอังกฤษ ครั้งที่ 61:- ภาพยนตร์อังกฤษยอดเยี่ยม - ผู้กำกับยอดเยี่ยม (โจ ไรท์) - บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน) - นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (เจมส์ แมคอาวอย) - นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (เคียรา ไนต์ลีย์) - นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี) - ตัดต่อยอดเยี่ยม (พอล ทอตฮิลล์) - ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (แจคเคอลีน เดอร์แรน) - เสียงประกอบยอดเยี่ยม (แอดนนี แฮมบรูค,พอล ฮัมบลิน,แคทเทอรีน ฮอดจ์สัน) - แต่งหน้ายอดเยี่ยม (อิวานา พรีโมแรค) - รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์กระจายเสียง (BFCA):- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - ผู้กำกับยอดเยี่ยม (โจ ไรท์) - นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (วาเนสซา เรดเกรฟ) - นักประพันธ์ดนตรียอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - นักแสดงรุ่นเยาว์หญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ชิคาโก:- บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน) - กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี) - ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - รางวัลสมาคมนักออกแบบเสื้อผ้า ครั้งที่10: ออกแบบเครื่องแต่งกายสำหรับภาพยนตร์ย้อนยุคยอดเยี่ยม (แจคเคอลีน เดอร์แรน) - รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ดัลลัส-ฟอร์ท วอร์ธ (DFWFCA): นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - รางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 65:- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โจ ไรท์) - นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมสาขาภาพยนตร์ดรามา (เจมส์ แมคอาวอย) - นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมสาขาภาพยนตร์ดรามา (เคียรา ไนต์ลีย์) - นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมสาขาภาพยนตร์ดรามา (เซอร์ชา โรนัน) - บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน) - รางวัลสมาคมวิจารณ์ดนตรีประกอบภาพยตร์นานาชาติ: นักประพันธ์ดนตรีแห่งปี (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - รางวัลภาพยนตร์และโทรทัศน์ไอริช:- ภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม - นักแสดงนำชายนานาชาติยอดเยี่ยม (เจมส์ แมคอาวอย) - นักแสดงนำหญิงนานาชาติยอดเยี่ยม (เคียรา ไนต์ลีย์) - รางวัลกลุ่มผู้วิจารณ์ภาพยนตร์แห่งลอนดอน:- รางวัลแอทเทนเบอโรห์สำหรับภาพยนตร์อังกฤษแห่งปี - ผู้กำกับแห่งปี (โจ ไรท์) - นักแสดงนำหญิงอังกฤษแห่งปี (เคียรา ไนต์ลีย์) - นักแสดงสมทบหญิงอังกฤษยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - นักเขียนบทภาพยนตร์แห่งปี (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน) - พัฒนาการแสดงยอดเยี่ยมแห่งอังกฤษ (เซอร์ชา โรนัน) - รางวัลม้วนฟิล์มทองคำของผู้ตัดต่อเสียงภาพยนตร์ ครั้งที่ 55: กำกับเสียงยอดเยี่ยม (เบคกี พอนทิงก์,ปีเตอร์ เบอร์จิส) - สมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ออนไลน์:- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน) - กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี) - ตัดต่อยอดเยี่ยม (พอล ทอตฮิลล์) - ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - รางวัลแซทเทิลไลท์:- นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ดรามา (เคียรา ไนต์ลีย์) - นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ดรามา (เซอร์ชา โรนัน) - ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (แจคเคอลีน เดอร์แรน) - ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์เซนต์หลุยส์เกทเวย์:- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - รองอันดับหนึ่ง กำกับภาพยอดเยี่ยม (ซีมัส แมคการ์วี) - บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน) - ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ตะวันออกเฉียงใต้:- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โจ ไรท์) - บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน) - รางวัลห้องสมุดยูเอสซี(USC): บทภาพยนตร์ดัดแปลงจากหนังสือยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน:บทภาพยนตร์,เอียน แมคอีวาน:หนังสือต้นฉบับ) - รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์วอชิงตัน ดี.ซี.:- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โจ ไรท์) - นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน) - กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ซาราห์ กรีนวูด) - พัฒนาการแสดงยอดเยี่ยม (เซอร์ชา โรนัน) - รางวัลไอวอร์ โนเวลโล: ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ดาริโอ มาริอาเนลลี) - รางวัลภาพยนตร์และโทรทัศน์ลียง:- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โจ ไรท์) - บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (คริสโตเฟอร์ แฮมป์ตัน) - กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ซาราห์ กรีนวูด,เคที สเปนเซอร์)ดนตรีประกอบ ดนตรีประกอบ. ดนตรีประกอบของภาพยนตร์เรื่องตราบาปลิขิตรัก ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัลมากมาย ซึ่งอัลบัมดนตรีประกอบนี้ประพันธ์โดยดาริโอ มาริอาเนลลี และเล่นโดย ชอง-อีฟ ติโบเดต์นักเปียโนคลาสสิกชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการร่วมมือกับโจ ไรท์เป็นครั้งที่สองหลังจากภาพยนตร์เรื่อง Pride & Prejudiceรายชื่อเพลงรายชื่อเพลง. 1. ไบรโอนี่ (Briony) - 1:46 2. ข้อความของร็อบบี (Robbie's Note) - 3:07 3. สองคนที่น้ำพุ (Two Figures By a Fountain) - 1:17 4. ซี เธอ และชา (Cee, You and Tea) - 2:27 5. ด้วยสองตาของฉันเอง(With My Own Eyes) - 4:41 6. อำลา (Farewell) - 3:32 7. จดหมายรัก (Love Letters) - 3:12 8. ครึ่งหนึ่งถูกสังหาร (The Half Killed) - 2:11 9. ช่วยฉันด้วย (Rescue Me) - 3:21 10. บทอาลัยแด่ดันเคิร์ก (Elegy for Dunkirk) - 4:16 11. กลับมา (Come Back) - 4:28 12. จุดจบ (Denouement) - 2:29 13. บ้านพักริมหาด (The Cottage on the Beach) 3:25 14. การไถ่บาป (Atonement) - 5:24 15. Suite bergamasque: Clair de lune (โคล้ด เดอบุซซี) - 4:52สื่อภายในที่พักอาศัย สื่อภายในที่พักอาศัย. ตราบาปลิขิตรักในรูปแบบดีวีดีโซน 2 ออกวางจำหน่ายวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 และแบบHD DVDในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2008 ส่วนดีวีดีโซน 1 วางจำหน่ายวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2008 ในประเทศไทยวางจำหน่ายทั้งในรูปแบบวีซีดีและดีวีดีในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ภายในดีวีดีประกอบด้วยภาพยนตร์, คำอธิบายภาพยนตร์โดยผู้กำกับ โจ ไรท์, เบื้องหลังการถ่ายทำ, จากนวนิยายสู่ภาพยนตร์, ฉากที่ถูกตัดออกพร้อมคำอธิบายโดยผู้กำกับ โจ ไรท์ และตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องอลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์ทอง
ชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์เรื่อง Atonement คืออะไร
3635
{ "answer_end": [ 86 ], "answer_start": [ 75 ], "text": [ "โปรเตสแตนต์" ] }
149037
สมาคมพระคริสตธรรมไทย สมาคมพระคริสตธรรมไทย () เป็นองค์การทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อแปลและแจกจ่ายคัมภีร์ไบเบิลในภาษาไทย สมาคมไบเบิลไทยเป็นสมาชิกของสหสมาคมพระคริสตธรรม สมาคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 และจนถึง พ.ศ. 2548 ได้แจกจ่ายคัมภีร์ไบเบิลไปทั้งหมด 43,740 ตัวอย่าง และพันธสัญญาใหม่ 9,629 ตัวอย่างพระคริสตธรรมคัมภีร์ในภาษาไทย พระคริสตธรรมคัมภีร์ในภาษาไทย. ผลงานในการแปล แก้ไขคำแปล และตีพิมพ์ ของสมาคมพระคริสตธรรมไทย ต่อคัมภีร์ไบเบิล มีดังนี้- พระกิตติคุณลูกา ปี ค.ศ.1834 - พระกิตติคุณมัทธิว ปี ค.ศ.1834 - พระกิตติคุณมัทธิวและพระกิตติคุณลูกา ปี ค.ศ.1834 - พระกิตติคุณทั้งสี่เล่ม ปี ค.ศ.1842 - พระกิตติคุณทั้งสี่เล่ม ปี ค.ศ.1850 - พระกิตติคุณมัทธิว ปี ค.ศ.1850 - พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ปี ค.ศ.1883 - พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1940 หรือ พระคัมภีร์คริสเตียน ฉบับแปลโลกใหม่ ปี ค.ศ.1940 - พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971 หรือ TH1971 หรือ THRS (Thai Revised Standard Version) ปี ค.ศ.1971 - พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ ประชานิยม ปี ค.ศ.1984 - พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 2011 หรือ พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน หรือ THSV (Thai Standard Version) ปี ค.ศ.2011
สมาคมพระคริสตธรรมไทยเป็นองค์การทางศาสนาคริสต์นิกายใด
3636
{ "answer_end": [ 237 ], "answer_start": [ 233 ], "text": [ "2509" ] }
149037
สมาคมพระคริสตธรรมไทย สมาคมพระคริสตธรรมไทย () เป็นองค์การทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อแปลและแจกจ่ายคัมภีร์ไบเบิลในภาษาไทย สมาคมไบเบิลไทยเป็นสมาชิกของสหสมาคมพระคริสตธรรม สมาคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 และจนถึง พ.ศ. 2548 ได้แจกจ่ายคัมภีร์ไบเบิลไปทั้งหมด 43,740 ตัวอย่าง และพันธสัญญาใหม่ 9,629 ตัวอย่างพระคริสตธรรมคัมภีร์ในภาษาไทย พระคริสตธรรมคัมภีร์ในภาษาไทย. ผลงานในการแปล แก้ไขคำแปล และตีพิมพ์ ของสมาคมพระคริสตธรรมไทย ต่อคัมภีร์ไบเบิล มีดังนี้- พระกิตติคุณลูกา ปี ค.ศ.1834 - พระกิตติคุณมัทธิว ปี ค.ศ.1834 - พระกิตติคุณมัทธิวและพระกิตติคุณลูกา ปี ค.ศ.1834 - พระกิตติคุณทั้งสี่เล่ม ปี ค.ศ.1842 - พระกิตติคุณทั้งสี่เล่ม ปี ค.ศ.1850 - พระกิตติคุณมัทธิว ปี ค.ศ.1850 - พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ปี ค.ศ.1883 - พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1940 หรือ พระคัมภีร์คริสเตียน ฉบับแปลโลกใหม่ ปี ค.ศ.1940 - พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971 หรือ TH1971 หรือ THRS (Thai Revised Standard Version) ปี ค.ศ.1971 - พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ ประชานิยม ปี ค.ศ.1984 - พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 2011 หรือ พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน หรือ THSV (Thai Standard Version) ปี ค.ศ.2011
สมาคมพระคริสตธรรมไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ใด
3637
{ "answer_end": [ 184 ], "answer_start": [ 180 ], "text": [ "ชมพู" ] }
754756
เทียนน้ำ เทียนน้ำ อยู่ในวงศ์ Balsaminaceae เป็นวัชพืชในนาข้าวในภาคกลาง พบตามหนองน้ำหรือริมคลอง ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว ลำต้นตรงโผล่เหนือน้ำ ลำต้นเหลี่ยมกลวง ใบเดี่ยว ดอกช่อ ดอกย่อยสีชมพู ผลค่อนข้างกลม อ่อนเป็นสีเขียว แก่เป็นสีแดง ใช้เป็นยาขับลม ขับปัสสาวะ
ดอกเทียนน้ำมีสีอะไร
3638
{ "answer_end": [ 28 ], "answer_start": [ 16 ], "text": [ "ประคอง พลหาญ" ] }
50414
ประคอง พลหาญ นายประคอง พลหาญ (7 พฤศจิกายน 2478 - ) นายกสมาคมนักเรียนเก่ารัสเซีย อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย คนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมอสโก มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศรัสเซีย และเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกให้เกิดอุตสาหกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมขึ้นในประเทศไทยการศึกษา การศึกษา. นายประคอง พลหาญ สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ด้านธรณีวิทยาและการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม และในระดับเทียบเท่าปริญญาเอก ด้านการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมด้วยวิธีทางธรณีเคมี จากมหาวิทยาลัยมอสโก (Lomonosov Moscow State University) ประเทศรัสเซีย และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัตร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 31การทำงานด้านการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม การทำงาน. ด้านการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม. นายประคอง พลหาญ เป็นผู้มีความคิดริเริ่มและเสนอแนะให้รัฐบาล ในสมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เปิดให้มีการให้สัมปทานการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ส่งผลให้ในที่สุดเกิดอุตสาหกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมขึ้นในประเทศไทย และทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้มากขึ้น รวมทั้งยังทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น นอกจากนี้ นายประคอง พลหาญ ยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดแปลงสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในไทย และเชิญชวนเอกชนที่มีศักยภาพมาลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยการจัดตั้งหน่วยงานด้านปิโตรเลียม การจัดตั้งหน่วยงานด้านปิโตรเลียม. นายประคอง พลหาญ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมของประเทศไทย (กองเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน) และได้ร่วมกับ นายพิสุทธิ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานรับซื้อปิโตรเลียมจากบริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทานในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย (ต่อมาพัฒนาเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน))การพัฒนาบุคลากรและวิชาชีพด้านธรณีวิทยา การพัฒนาบุคลากรและวิชาชีพด้านธรณีวิทยา. นายประคอง พลหาญ เป็นผู้จดทะเบียนจัดตั้งสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย (The Geological Society of Thailand) เพื่อเพิ่มพูนความรู้และยกระดับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพธรณีวิทยา และสนับสนุนวิชาการเกี่ยวกับธรณีวิทยา โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมระหว่างปี 2531 - 2533 รวมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษ ทำการสอนเรื่องการปิโตรเลียมและธรณีวิทยาที่ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้านกฎหมายปิโตรเลียม ด้านกฎหมายปิโตรเลียม. นายประคอง พลหาญ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการร่างกฎหมายปิโตรเลียมที่สำคัญของไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และยังได้ร่วมให้ความเห็นเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายดังกล่าว ในฐานะที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสามัญและวิสามัญด้านพลังงานของรัฐสภาหลายคณะชีวิตส่วนตัว ชีวิตส่วนตัว. นายประคอง พลหาญ สมรสกับ พลตรีหญิงโสภาทิวัตถ์ พลหาญ มีบุตร 2 คนเครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์. - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) - เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
ใครคือคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมอสโกของรัสเซีย
3639
{ "answer_end": [ 176 ], "answer_start": [ 172 ], "text": [ "2432" ] }
5374
มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล (; ชื่อย่อ: ม.มหิดล / MU) เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2432 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2460 โรงเรียนราชแพทยาลัยถูกรวมเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ในเวลาต่อมา คณะแพทย์แห่งนี้ได้รับการพัฒนาวิชาการจนได้มาตรฐานแพทยศาสตร์ศึกษาสมัยใหม่ด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ จนสามารถจัดการศึกษาถึงขั้นประสาทปริญญาบัตรได้ ภายใต้สังกัดและการประสานงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้มีการแยกคณะวิชาด้านแพทยศาสตร์ อันประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระเภสัชศาสตร์ และแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมงบประมาณอันเกี่ยวข้องกับคณะวิชาดังกล่าวจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาจัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเป็นมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์ ต่อมา แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระเภสัชศาสตร์ และแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ ได้กลับคืนสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 121 สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร คงเหลือแต่คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ที่ยังสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ใช้แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย จากการจัดอันดับของสำนักจัดอันดับหลายสำนัก และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหลายสาขาวิชา มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จากกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2552 และเป็นสมาชิก เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนใน 17 คณะ 6 วิทยาลัย 9 สถาบัน 3 วิทยาเขต และหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งหมด 629 หลักสูตร โดยมีที่ตั้งหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอำนาจเจริญ ฯลฯ อดีตผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลประวัติ ประวัติ. มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเป็นมาจากโรงศิริราชพยาบาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกว่า วังหลัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ ณ โรงศิริราชพยาบาล และตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์ว่า "โรงเรียนแพทยากร" จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 3 ปี หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า "โรงเรียนราชแพทยาลัย" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" จึงได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 โดยใช้ชื่อว่า "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ต่อมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล" เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรกำหนดฐานะระเบียบแบบแผนสำหรับการศึกษาในกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงการสาธารณสุข โดยแยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระเภสัชศาสตร์ และแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" สังกัดกระทรวงการสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมากมาย เช่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ คณะอายุรศาสตร์เขตร้อน บัณฑิตวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท และคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ตามลำดับ ต่อมาได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ โดยการโอนคืนคณะที่ซ้ำซ้อนต่างๆ ออกจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คืนไปยังต้นสังกัดเดิม ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ไปเป็น คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ โอนกลับไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผลทำให้มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนภายในคณะ วิทยาลัย สถาบัน และหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย. ตรามหาวิทยาลัย เมื่อมีการสถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 ทางมหาวิทยาลัยได้ใช้ตราวงกลม 2 ชั้น ภายในเป็นรูปงูพันคบเพลิง วงนอกด้านบนเขียนว่า "อตฺตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยเรื่อยมา จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยมหิดล" เป็นชื่อมหาวิทยาลัยแทนชื่อเดิม ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้เปลี่ยนตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยให้นายแพทย์นันทวัน พรหมผลิน เป็นผู้ออกแบบและอาจารย์กอง สมิงชัย เป็นผู้ช่วยร่างแบบ เมื่อออกแบบเสร็จแล้วจึงนำเสนอทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกพิเศษประจำสำนักพระราชวัง ในการปรับแก้ไขตรีและพระมหามงกุฏของตราให้เป็นแบบไทยและพระราชทานตราให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม 2 ชั้น โดยวงกลมชั้นในมีพื้นหลังเป็นสีน้ำเงิน ตรงกลางเป็นตราประจำสีเหลืองทอง ส่วนวงกลมชั้นนอกนั้นมีพื้นหลังสีขาวตัวอักษรสีเหลืองทองด้านบนเขียนว่า "อตฺตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" คั่นด้วยดอกประจำยามสีเหลืองทอง สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีน้ำเงิน เป็นสีแห่งความเป็นราชขัติยนุกูลแห่งบรมราชวงศ์ ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2512 ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นกันภัยมหิดล ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทานพระราชวินิจฉัยชี้ขาดให้ "ต้นกันภัยมหิดล" เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542ทำเนียบอธิการบดีที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล. มหาวิทยาลัยมหิดล มีที่ตั้งในหลายพื้นที่ ได้แก่- มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร ได้แก่- มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย ตั้งอยู่ ณ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ เป็นที่ตั้งที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2432 - มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ตั้งอยู่ ณ แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี มี 3 บริเวณย่อย ได้แก่- บริเวณถนนพระรามที่ 6 เป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - บริเวณถนนราชวิถี เป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณะทันตแพทยศาสตร์ - บริเวณถนนศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของคณะเภสัชศาสตร์ - วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ ณ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท - ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ ณ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด - มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ตั้งอยู่ ณตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นที่ตั้งของคณะกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา วิทยาลัยราชสุดา วิทยาลัยศาสนศึกษา โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงแรม Salaya Pavilion โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานต่างๆ - สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ - มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ตั้งอยู่ ณ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี - มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตั้งอยู่ ณ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ - มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ ณ ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญโครงสร้างการบริหารและการศึกษา โครงสร้างการบริหารและการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระบบหน่วยกิต ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยทั้งสิ้น 629 สาขาวิชา ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทั้งในหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอกได้มากที่สุดในประเทศ ในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่มีปริมาณนักศึกษาต่างชาติมากที่สุด และใน พ.ศ. 2549 และได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติจากนายกรัฐมนตรี (Prime Minister’s Export Award 2006) เพื่อประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด (Most recognized service) ในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล มีส่วนงานและกลุ่มภารกิจในสังกัด ประกอบด้วย สำนักงานสภามหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี 17 คณะ 9 สถาบัน 6 วิทยาลัย 3 วิทยาเขต และหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสถาบันสมทบอีกหลายสถาบัน ซึ่งนักศึกษาของบางสถาบันเข้าร่วมการเรียนการสอนกับมหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะที่บางสถาบันมีหลักสูตรเป็นเอกเทศ ประกอบด้วยหน่วยงาน ดังนี้สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล. เว็บไซต์สภามหาวิทยาลัยมหิดลสำนักงานอธิการบดีสำนักงานอธิการบดี. - กองบริหารงานทั่วไป - กองคลัง - กองทรัพยากรบุคคล - กองกิจการนักศึกษา - กองบริหารการศึกษา - กองพัฒนาคุณภาพ - ศูนย์บริหารสินทรัพย์ - ศูนย์ตรวจสอบภายใน - ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา - โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล - โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ - โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ- กองแผนงาน - กองบริหารงานวิจัย - กองวิเทศสัมพันธ์ - กองกฎหมาย - กองเทคโนโลยีสารสนเทศ - กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม - ศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง - ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน - โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา - โครงการจัดตั้งศูนย์เสริมสร้างอุตสาหกรรมชีวภาพจากนวัตกรรม (PILOT PLANT) - โครงการจัดตั้งศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์คณะคณะ. - คณะทันตแพทยศาสตร์ - คณะเทคนิคการแพทย์ - คณะพยาบาลศาสตร์ - คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล - คณะเภสัชศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะศิลปศาสตร์ - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร- คณะวิศวกรรมศาสตร์ - คณะกายภาพบำบัด - คณะเวชศาสตร์เขตร้อน - คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ - คณะสัตวแพทยศาสตร์ - คณะสาธารณสุขศาสตร์ - คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ - บัณฑิตวิทยาลัยวิทยาลัยวิทยาลัย. - วิทยาลัยการจัดการ - วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ - วิทยาลัยนานาชาติ- วิทยาลัยราชสุดา - วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา - วิทยาลัยศาสนศึกษาสถาบันสถาบัน. - สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ - สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน - สถาบันวิจัยประชากรและสังคม - สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย- สถาบันโภชนาการ - สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล - สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว - โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา - สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมศูนย์ศูนย์. - ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา - ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติกลุ่มภารกิจกลุ่มภารกิจ. - ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา - ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ - กลุ่มภารกิจสุขภาพโลกมหิดล - กลุ่มภารกิจการป้องกันและแก้ไขปัญหาแม่วัยรุ่น- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี - ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ - กลุ่มภารกิจศูนย์ปฏิบัติการด้านชีววิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์วิทยาเขตวิทยาเขต. - วิทยาเขตกาญจนบุรี - โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ - โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญสถาบันสมทบ/สถาบันร่วมสถาบันสมทบ/สถาบันร่วม. - คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช - วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า - วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ - วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก - วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ - วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ - สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข- โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท- ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา - ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช - ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ - ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี - ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ศรีธัญญา - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นนทบุรี - วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรีการบริการโรงพยาบาลการบริการ. โรงพยาบาล. - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล- โรงพยาบาลศิริราช - โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ - สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช - ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก - คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี- โรงพยาบาลรามาธิบดี - สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ - คณะเวชศาสตร์เขตร้อน- โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน - คณะทันตแพทยศาสตร์- โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล - โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร - คณะสัตวแพทยศาสตร์- โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร - โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน - วิทยาเขตนครสวรรค์- ศูนย์การแพทย์มหิดลนครสวรรค์ - คลินิกสัตว์วันเฮลท์โรงแรมโรงแรม. - โรงแรม Salaya Pavilion เป็นโรงแรมของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกหัดของนักศึกษาในสาขา Travel Industry Management และเปิดให้บุคคลภายนอกใช้บริการ มี 150 ห้องพัก ระบบอำนวยความสะดวกและความบันเทิงครบตามมาตรฐานโรงแรมชั้นนำของประเทศ มีห้องจัดสัมมนาและการประชุมอย่างสมบูรณ์แบบหอสมุดและคลังความรู้ หอสมุดและคลังความรู้. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล มีประวัติพัฒนาการเช่นเดียวกับพัฒนาการของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ มีฐานเดิมจากแผนกห้องสมุด สำนักงานเลขานุการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ตามหลักฐานปรากฏว่า มี "ห้องอ่านหนังสือ" ของโรงแพทยากร ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 จึงได้ตั้งเป็น "ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์" ในปี พ.ศ. 2499 ตามกฤษฎีกาการจัดวางระเบียบราชการของกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ห้องสมุดมีฐานะเป็น "แผนก ห้องสมุด" ในสำนักงานเลขานุการ กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นทำหน้าที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลด้วย เมื่อแผนกห้องสมุดได้รับการยกฐานะเป็น "กองห้องสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 สิงหาคม 2520 โดยมีฐานที่ตั้งอยู่ที่หอสมุดศิริราช และในเวลาต่อมากองห้องสมุดได้รับการสถาปนา เป็น "สำนักหอสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอนที่ 140 วันที่ 8 สิงหาคม 2529 มีฐานะเทียบเท่าคณะโดยรวมห้องสมุดคณะ สถาบัน ต่างๆ ในมหาวิทยาลัยให้มีการดำเนินงานที่เป็นรูปแบบในมาตรฐานเดียวกัน ลดการจัดตั้งห้องสมุดใหม่และให้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกันอย่างคุ้มค่ามหาวิทยาลัยได้มีนโยบายย้ายสำนักงานผู้อำนวยการสำนักหอสมุดจากอาคารหอสมุดศิริราชไปที่อาคารหอสมุดศาลายา ปัจจุบันสำนักหอสมุดให้บริการวิชาการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัยของอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรตามหลักสูตรและนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยดำเนินงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติเชื่อมโยงห้องสมุดต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน มีทรัพยากรห้องสมุดในรูปแบบหลากหลาย โดยการจัดหาในรูปอิเล็กทรอนิกส์ สามารถให้บริการแบบบูรณาการแก่ห้องสมุดเครือข่ายทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย โอกาสที่มหาวิทยาลัยปรับระบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจึงมีการปรับส่วนงานเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 สภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีประกาศการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการ เปลี่ยนชื่อ "สำนักหอสมุด" เป็น "หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล" เป็นส่วนงานหนึ่งในระดับคณะ นับเป็นก้าวสำคัญอีกครั้งในการปรับพันธกิจของ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในยุคข้อมูลข่าวสารและสังคมฐานความรู้พื้นที่ศาลายาพื้นที่ศาลายา. - หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล - ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์ - ห้องสมุดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ - ห้องสมุดวิทยาลัยนานาชาติ - ห้องสมุด"จิ๋ว บางซื่อ"วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ - ห้องสมุด "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.คุณหญิง สุริยา รัตนกุล" คณะศิลปศาสตร์ - ห้องสมุดคณะกายภาพบำบัด - ห้องสมุดวิทยาลัยราชสุดา - ห้องสมุดสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน - ห้องสมุดสถาบันวิจัยประชากรและสังคม - ห้องสมุดสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย - ห้องสมุดสถาบันโภชนาการ- ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์(ศาลายา) - ห้องสมุดโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี - ห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ - ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ - ห้องสมุดศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก - ห้องสมุดวิทยาลัยศาสนศึกษา - ห้องสมุดสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว - ห้องสมุดศูนย์จิตตปัญญาศึกษา - ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ - ห้องสมุดกองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี - ห้องสมุดสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาพื้นที่บางกอกน้อยพื้นที่บางกอกน้อย. - หอสมุดศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล - ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์- ห้องสมุดหอพักคณะพยาบาลศาสตร์ บางขุนนนท์พื้นที่พญาไท-วิทยาลัยการจัดการ-วิทยาลัยนานาชาติ(สาทร)พื้นที่พญาไท-วิทยาลัยการจัดการ-วิทยาลัยนานาชาติ(สาทร). - ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี - ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ - ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์- ห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี - ห้องสมุดวิทยาลัยการจัดการ - ห้องสมุดศูนย์บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยนานาชาติวิทยาเขตและอื่นๆวิทยาเขตและอื่นๆ. - ห้องสมุดวิทยาเขตกาญจนบุรี - ห้องสมุดโรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ - ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์- ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ - ห้องสมุดศูนย์วิจัยและพัฒนาวิชาการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (ห้องสมุดศาสตราจารย์เกียรติคุณธงชัย ปภัสราทร) อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุแห่งปัญญา พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุแห่งปัญญา. มหาวิทยาลัยมหิดล ถือกำเนิดขึ้นเพื่อจัดการเรียนการสอน สร้างงานด้านวิชาการ การวิจัย และการบริการแก่สังคมไทยมานานกว่า 74 ปี พัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนานของมหาวิทยาลัยได้เดินทางไปพร้อมกับการสั่งสมคุณค่าทางปัญญานานัปการ จนเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการของไทยและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์คุณค่าทางประวัติศาสตร์และพัฒนาการของมหาวิทยาลัย จึงมีนโยบายพัฒนางานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยสนับสนุนการทำงานเป็นเครือข่าย และสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลมีหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้บริการเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ประจักษ์สืบไปหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ พื้นที่ศาลายาหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ พื้นที่ศาลายา. - ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล - หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก - หอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล - ห้องจดหมายเหตุแผนที่และผังแม่บท - เรือนไทยมหาวิทยาลัยมหิดล - พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม- พิพิธภัณฑ์คนหูหนวกไทย - Ratchasuda Gallery - ห้องนิทรรศการถาวรประวัติและผลงานของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน - หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ - พิพิธสาระประชากรและสังคมหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ พื้นที่บางกอกน้อยหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ พื้นที่บางกอกน้อย. - พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส - พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน - พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร - พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา - พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน - พิพิธภัณฑ์สัมผัส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ - ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก - ห้องมหิดลอดุลเดช หอสมุดศิริราช - หอจดหมายเหตุศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล - พิพิธภัณฑ์ประวัติการพยาบาลไทย - พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ พื้นที่พญาไทหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ พื้นที่พญาไท. - พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข - หอเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น - หอเกียรติยศอาจารย์ดีเด่น - พิพิธภัณฑ์ยุงและคลังตัวอย่างแมลงและสัตว์ขาข้อ - เส้นทางศึกษาชีววิทยาและธรณีศาสตร์ - พิพิธภัณฑ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ - พิพิธภัณฑ์หอย - หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี - สิรินธรทันตพิพิธ - พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้โรคเขตร้อน - พิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพรหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ วิทยาเขตกาญจนบุรีหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ วิทยาเขตกาญจนบุรี. - พิพิธภัณฑ์พืชแห่งภาคตะวันตกสถานีโทรทัศน์Mahidol Channel สถานีโทรทัศน์. Mahidol Channel. เป็นการนำเสนอเนื้อหาจากหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานภายนอกรางวัล รางวัล. เว็บไซต์ Youtube มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่มหิดลแชนแนล (Mahidol Channel) โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ช่องของสถาบันการศึกษาของไทยเพียงแห่งเดียวที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณเพื่อการันยอดผู้ติดตาม (subscribe) ถึง 100,000 subscribe และยอดการเข้าชมถึง 29,000,000 views (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2558) มหิดลแชนแนล (Mahidol Channel) โดยมหาวิทยาลัยมหิดล เรายังคงมุ่งมั่นที่จะผลิตรายการสาระความรู้ดีๆ เพื่อผู้ชมทุกท่าน ดั่งปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ว่า “ปัญญาของแผ่นดิน”งานวิจัย งานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นงานวิจัย โดยในปัจจุบันมีกลุ่มงานวิจัยใน 5 สาขาหลักด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และคลินิก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการ และศิลปศาสตร์ และกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม เมื่อพิจารณาจากจำนวนผลงานทางวิชาการระดับนานาชาตินั้น พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติบนฐานข้อมูลของ ISI databases เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2549 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2548 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้น มีจำนวนผลงานวิจัยเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศ และเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนมากที่สุดในประเทศอันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัยการประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย. การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย. ใน พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทยได้คะแนน 61.11% จากคะแนนเต็ม 80% และเป็นอันดับ 1 ในด้านการวิจัยของประเทศไทยได้คะแนน 100.00% จากคะแนนเต็ม 100% สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษา ผลปรากฏว่าในการการประเมินครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2553) มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ,สาขาวิชาชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา, สาขาวิชาเคมี ภาคเคมี, สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์, สาขาวิชาพรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ,สาขาวิชาศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์, สาขาวิชากายภาพบำบัด ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และในการประเมินครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2554) มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์, สาขาวิชาพรีคลินิก ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิชีววิทยา และเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาจุลชีววิทยาและอณูชีววิทยา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย การจัดอันดับมหาวิทยาลัย. นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่การจัดอันดับโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies การจัดอันดับโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies. การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies หรือ CWTS Leiden University ประจำปี 2016 ของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูล Web of Science database มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 440 ของโลกการจัดอันดับโดย Center for World University Rankings การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings. การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings หรือ CWUR ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับคือ คุณภาพงานวิจัย บัณฑิตที่จบไป คุณภาพการศึกษา คุณภาพของอาจารย์ และภาควิชาต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 522 ของโลกการจัดอันดับโดย Nature Index การจัดอันดับโดย Nature Index. Nature Index ซึ่งจัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group สำหรับปี 2016 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทยการจัดอันดับโดย Quacquarelli Symonds การจัดอันดับโดย Quacquarelli Symonds. แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ QS จัดอันดับมหาวิทยาลัยในสองส่วน คือ การจัดอันดับเป็นระดับโลก(QS World University Rankings) และระดับทวีปเอเชีย(QS University Rankings: Asia) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้ QS World1. ชื่อเสียงทางวิชาการ จากการสำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก ผลของการสำรวจคัดกรองจาก สาขาที่ได้รับการตอบรับว่ามีความเป็นเลิศโดยมหาวิทยาลัยสามารถส่งสาขาให้ได้รับการคัดเลือกตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป โดยจะมีผู้เลือกตอบรับเพียงหนึ่งสาขาจากที่มหาวิทยาลัยเลือกมา 2. การสำรวจผู้ว่าจ้าง เป็นการสำรวจในลักษณะคล้ายกับในด้านชื่อเสียงทางวิชาการแต่จะไม่แบ่งเป็นคณะหรือสาขาวิชา โดยนายจ้างจะได้รับการถามให้ระบุ 10 สถาบันภายในประเทศ และ 30 สถาบันต่างประเทศที่จะเลือกรับลูกจ้างที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนั้น ๆ รวมถึงคุณสมบัติสำคัญที่ต้องการ 2 ข้อ 3. งานวิจัยที่อ้างต่อ 1 ชิ้นรายงาน โดยข้อมูลที่อ้างอิงจะนำมาจาก Scopus ในระยะ 5 ปี 4. H-index ซึ่งคือการชี้วัดจากทั้งผลผลิต และ อิทธิพลจากการตีพิมพ์ผลงานทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 334 ของโลก น้ำหนักการชี้วัด การแบ่งคะแนนจะต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เช่น ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีอัตราการเผยแพร่งานวิจัยสูง การวัดการอ้างอิงและh-index ก็จะคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ สำหรับแต่ละมหาวิทยาลัย ในทางกลับกันสาขาที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่น้อยกว่า เช่น สาขาประวัติศาสตร์ จะคิดเป็นร้อยละที่ต่ำกว่าคือ 15 เปอร์เซนต์ จากคะแนนทั้งหมด ในขณะเดียวกันสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์น้อยก็จะใช้วิธีการวัดจากผู้ว่าจ้างและการสำรวจด้านวิชาการ QS Asia1. ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ 2. การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์) 3. อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา 4. การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน scopusและ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้นๆเอง 5. บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์) 6. สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) 7. สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์) โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 58 ของเอเชียการจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject การจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject. การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS World University Rankings by Subject ประจำปี พ.ศ. 2560 ได้มีสาขาวิชาต่างๆ ที่ติดอันดับของโลก ดังนี้ อันดับที่ 101 – 150 ของโลก ได้แก่ สาขา Medicine, Pharmacy & Pharmacology, อันดับที่ 201 – 250 ของโลก ได้แก่ สาขา Biological Sciences, Linguistics อันดับที่ 251 – 300 ของโลก ได้แก่ สาขา Sociology อันดับที่ 351 – 400 ของโลก ได้แก่ สาขา Chemistry , Social Sciences and Management (399) และยังมีสาขาวิชา Anatomy & Physiology, Biological Sciences, Medicine, Nursing, Pharmacy & Pharmacology, Sociology และ Theology, Divinity & Religious Studies ที่ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยการจัดอันดับโดย QS Graduate Employability Rankings 2018 การจัดอันดับโดย QS Graduate Employability Rankings 2018. เป็นการจัดอันดับคุณภาพการจ้างงานของบัณฑิต โดยพิจารณาจาก ชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของผู้จ้างงาน ผลผลิตของบัณฑิต อัตราการจ้างงานบัณฑิต เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 2 ในประเทศไทยและอยู่ในช่วงอันดับ 301 - 500 ของโลกการจัดอันดับโดย Round University Rankings การจัดอันดับโดย Round University Rankings. การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2016 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10% มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 484 ของโลกการจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking. อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล ในปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 450 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยการจัดอันดับโดย The Times Higher Education การจัดอันดับโดย The Times Higher Education. การจัดอันดับโดย The Times Higher Education หรือ THE ที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (Times Higher Education World University Rankings) , จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย (Times Higher Education Asia University Rankings) และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS & Emerging Economies Rankings) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้ THE World1. Teaching: The learning environment (30%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย 3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง 4. International outlook: staff, students,research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ 5. Industry income: knowledge transfer (2.5%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 501-600 เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย THE Asia1. Teaching: The learning environment (25%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย 3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง 4. International outlook: Staff, students and research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ 5. Industry income: knowledge transfer (7.5%) ความสามารถของมหาวิทยาลัยในการมีส่วนช่วยภาคอุตสาหกรรม ด้วยนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการให้คำปรึกษา ถ่ายทอดความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรม วัดจาก รายได้ทางอุตสาหกรรมจากงานวิจัย ที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 97 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย THE Asia-Pacific1. Teaching: The learning environment (30%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย 3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง 4. International outlook: staff, students,research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ 5. Industry income: knowledge transfer (2.5%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 101–110 เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย BRICS & Emerging Economies การจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS & Emerging Economies Rankings)1. Teaching: The learning environment (30%) สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลสำรวจด้านชื่อเสียง คุณภาพการสอน สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา 2. Research: Volume, Income, Reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย 3. Citations: Research influence (20%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง 4. International outlook: Staff, Students and Research (10%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก อาจารย์ นักศึกษา งานวิจัยนานาชาติ และความร่วมมือกับต่างประเทศ 5. Industry income: knowledge transfer (10%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น โดยในปี 2017 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 76 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยการจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance. อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัมมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับ 432 ของโลก โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิงการจัดอันดับโดย U.S. News & World Report การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report. U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “Best Global Universities Rankings 2018” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยมหิดลถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 509 ของโลกอันดับของมหาวิทยาลัยในด้านอื่นๆการจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking อันดับของมหาวิทยาลัยในด้านอื่นๆ. การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking. เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 86 ของโลกการจัดอันดับโดย Webometrics การจัดอันดับโดย Webometrics. การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ประจำปี พ.ศ. 2561 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้น ๆ จากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยล่าสุดการจัดอันดับรอบที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัมมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 548 ของโลกการจัดอันดับโดย 4 International Colleges & Universities การจัดอันดับโดย 4 International Colleges & Universities. การจัดอันดับของ 4 International Colleges & Universities หรือ 4ICU เป็นการจัดอันดับความนิยมของเว็บไซต์มหาวิทยาลัย ในปี 2018 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับความนิยมเว็บไซต์เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยและอันดับ 568 ของโลกชีวิตในมหาวิทยาลัย ชีวิตในมหาวิทยาลัย. นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จะเข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ร่วมกันเป็นเวลาหนึ่งปีหรือนานกว่า จากนั้นแยกย้ายกันไปตามคณะของตนตามพื้นที่ต่างๆ บรรยากาศในการใช้ชีวิตของนักศึกษามีความหลากหลายมากเพราะนักศึกษาแต่ละคนมาจากต่างคณะกัน เช่น แพทยศาสตร์ ดุริยางคศิลป์ วิทยาศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ แต่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันในปีแรก มีกิจกรรมมากมายเช่น งานรักน้อง การเชียร์แสตนด์ งานอำลาศาลายา งานวันมหิดล เป็นต้น มีสถานที่ออกกำลังกายและลานกีฬาให้นักศึกษาได้เลือกตามความต้องการ บรรยากาศในศาลายาจะมีจุดเด่นคือ การสัญจรหลักของนักศึกษาคือจักรยานหรือรถราง รวมถึงรถรับส่งระหว่างพื้นที่ต่างๆ จากพื้นที่ศาลายาไปยังพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและเมื่อเข้าใกล้ช่วงสอบในแต่ละภาคเรียน จะพบนักศึกษาจำนวนมากที่นั่งอ่านทบทวนหนังสือตามสถานที่ต่างๆ ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติรอบมหาวิทยาลัยการพักอาศัยของนักศึกษามหิดล การพักอาศัยของนักศึกษามหิดล. ที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) จะเรียกว่า บ้านมหิดล โดยบริเวณที่พักมีการจัดเป็นสัดส่วน อยู่บริเวณทางด้านหลัง ใกล้ๆ กับศูนย์การเรียนรู้มหิดล (Mahidol Learning Center) บ้านมหิดล ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ การให้บริการระดับโลก Know what is needed, go extra miles and be advocate และ พันธกิจคือ ให้บริการและจัดสวัสดิการรวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างเป็นสุข ประกอบไปด้วย อาคารหอพัก 6 อาคาร ดังนี้1. บ้านพุทธรักษา (หอ1-2) 2. บ้านอินนิล (หอ3-4) 3. บ้านชัยพฤกษ์ (หอ6-7) 4. บ้านกันภัยมหิดล (หอ8-9) 5. บ้านลีลาวดี (หอ10) 6. บ้านศรีตรัง (หอ11) หอพักหญิง- บ้านพุทธรักษา (หอ1-2) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง - บ้านลีลาวดี (หอ10) เป็นอาคารเดียวสูง 4 ชั้น เชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง - บ้านศรีตรัง (หอ11) เป็นอาคารเดียวสูง 14 ชั้น เชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง หอพักชาย- บ้านอินนิล (หอ3-4) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 2 คนต่อห้อง - บ้านชัยพฤกษ์ (หอ6-7) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 2 คนต่อห้อง - บ้านกันภัยมหิดล (หอ8-9) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง การบริการหอพักให้แก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาพรวมแบ่งได้ดังนี้พื้นที่ศาลายาพื้นที่ศาลายา. - บ้านมหิดล - หอพักพยาบาลรามาธิบดี - หอพักสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน - หอพักสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล - หอพักวิทยาลัยนานาชาติ- วิทยาลัยราชสุดา - หอพักน้ำทองสิกขาลัย วิทยาลัยศาสนศึกษา - อาคารชุดพักอาศัย (คอนโดมิเนียม) - โรงแรมศาลายาพาวิลเลียนพื้นที่อื่นๆพื้นที่อื่นๆ. - หอพักคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล - หอพักคณะพยาบาลศาสตร์ บางขุนนนท์ - หอพักคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี - หอพักคณะเวชศาสตร์เขตร้อน- หอพักวิทยาเขตกาญจนบุรี - หอพักวิทยาเขตนครสวรรค์ - หอพักวิทยาเขตอำนาจเจริญการเดินทาง การเดินทาง. นักศึกษา บุคคลากร และประชาชนทั่วไปสามารถเดินทางมายังมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้ดังนี้รถร่วมบริการ/รถประจำทางรถร่วมบริการ/รถประจำทาง. - สาย 84ก วงเวียนใหญ่ - หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา (04:30 - 21:30) - สาย 124 สนามหลวง - ม.มหิดล ศาลายา (04.00 – 21.00 น.) - สาย 125 สถานีรถไฟสามเสน - ม.มหิดล ศาลายา - สาย 164 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ม.มหิดล ศาลายา - สาย 388 ปากเกร็ด สนามบินน้ำ บางบัวทอง บางใหญ่ - ม.มหิดล ศาลายา - สาย ปอ.515 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ม.มหิดล ศาลายา ขึ้นได้ที่อนุเสาวรีย์ ป้ายหน้า รพ.ราชวิถี (05.00 – 22.00 น.) - สาย ปอ.547 สีลม - ม.มหิดล ศาลายา ถ.เพชรเกษม เข้า ถ.พุทธมณฑล สาย 4 - R26E สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี (ทางด่วน) - Y70E มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต (ทางด่วน)รถตู้ปรับอากาศรถตู้ปรับอากาศ. - รถตู้ปรับอากาศ สายอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – ม.มหิดล ศาลายา (สามารถขึ้นได้ที่หน้าร้านวัตสัน ฝั่งเกาะพญาไท) - รถตู้ปรับอากาศ สายเซ็นทรัลปิ่นเกล้า – ม.มหิดล ศาลายารถศาลายาลิงก์รถศาลายาลิงก์. - รถศาลายาลิงก์ (Salaya Links) ม.มหิดล ศาลายา - BTS บางหว้า เป็นรถไมโครบัสสีขาวคาดน้ำเงิน มีโลโก้มหาวิทยาลัยมหิดล Shuttle Bus ซึ่งขับวนรับส่งจาก ม.มหิดล ศาลายา มายังสถานี รถไฟฟ้า BTS บางหว้า ใครเดินทางมาจาก BTS ให้ออกจาก BTS ที่ทางออกที่ 1-2 จะเจอรถศาลายาลิงก์ จอดอยู่ตรงบริเวณป้ายรถเมล์ ค่าโดยสาร 30 บาทรถไฟ รถไฟ. เส้นทางรถไฟ-รถไฟสายใต้ ขึ้นได้ที่สถานีรถไฟธนบุรี (ใกล้ รพ.ศิริราช) หรือสถานีรถไฟหัวลำโพง(สถานีรถไฟกรุงเทพ) หรือสถานีรถไฟนครปฐม โดยขบวนเที่ยวต่างๆ จะผ่านสถานีศาลายา ให้ลงที่สถานีศาลายาแล้วเข้าทางประตู 5 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายารถส่วนตัว รถส่วนตัว. มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางมาได้หลายเส้นทาง ตามนี้- สนามบินสุวรรณภูมิ – ม.มหิดล ศาลายา จาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – ออกมาทางทิศใต้ เข้าสู่ ถ.บางนา-ตราด (ใต้ทางด่วนบูรพาวิถี) – เข้าสู่ ถ.วงแหวนตะวันออก (สาย 9) – ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานกาญจนาภิเษก – เข้าสู่ ถ.วงแหวนตะวันตก (สาย 9) – เข้าสู่ ถ.บรมราชชนนี หรือ ถ.ปิ่นเกล้า–นครชัยศรี (สาย 338) – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายา- สนามบินดอนเมือง – ม.มหิดล ศาลายา จาก ท่าอากาศยานดอนเมือง – มาตาม ถ.วิภาวดีรังสิต (ใต้ทางด่วนโทลเวย์) – เข้าสู่ ถ.รัชดาภิเษก ถ.วงศ์สว่าง – ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระราม 7 – ถ.จรัญสนิทวงศ์ – ถ.สิรินธร – เข้าสู่ ถ.บรมราชชนนี (หรืออาจขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้า) – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายา- สถานีขนส่งเอกมัย – ม.มหิดล ศาลายา จาก สถานีขนส่งเอกมัย – ถ.สุขุมวิท – เลี้ยวซ้ายเข้า ถ.สุขุมวิท 21 (หรือ ถ.รัชดาภิเษก) – เลี้ยวขวาเข้าสู่ ถ.พระราม 4 – ขึ้นทางด่วนที่ ‘ด่านพระราม 4 ที่ 1’ – ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร – ข้ามสะพานพระราม 9 – ลงทางด่วนเข้าสู่ ถ.พระราม 2 – เข้าสู่ ถ.วงแหวนตะวันตก (สาย 9) – เข้าสู่ ถ.บรมราชชนนี หรือ ถ.ปิ่นเกล้า–นครชัยศรี (สาย 338) – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายา- สถานีขนส่งหมอชิต – ม.มหิดล ศาลายา จาก สถานีขนส่งหมอชิต – มาตาม ถ.กำแพงเพชร 2 – เข้าสู่ ถ.รัชดาภิเษก – ถ.วงศ์สว่าง – ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระราม 7 – ถ.จรัญสนิทวงศ์ – ถ.สิรินธร – เข้าสู่ ถ.บรมราชชนนี (หรืออาจขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้า) – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายา- สถานีขนส่งสายใต้ – ม.มหิดล ศาลายา จากสถานีขนส่งสายใต้ – มาตาม ถ.บรมราชชนี (ทิศทางไป จ.นครปฐม) – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายา- สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) – ม.มหิดล ศาลายา จาก สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) – เข้า ถ.เยาวราช – ถ.จักรเพชร – ข้ามสะพานพระปกเกล้า – ถ.ประชาธิปก – ผ่านวงเวียนใหญ่ – ถ.อินทรพิทักษ์ – ถ.เพชรเกษม – ผ่านแยกท่าพระ – เลี้ยวขวาเข้าสู่ ถ.ราชพฤกษ์ – เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ ถ.บรมราชชนนี – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายารถราง (Tram) ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา รถราง (Tram) ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา. รถราง หรือ รถแทรม เป็นยานพาหนะที่ให้บริการ(ฟรี) แก่ นักศึกษา บุคคลากร และช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา เพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัวภายในมหาวิทยาลัย ให้บริการทั้งหมด 4 สาย ดังนี้- รถรางสายสีเขียว บ้านมหิดล - สวนเจ้าฟ้า - คณะวิทยาศาสตร์ - ลานมหิดล - คณะสังคมศาสตร์ฯ - วิทยาลัยนานาชาติ - สำนักงานอธิการบดี - คณะวิศวกรรมศาสตร์ - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - หอสมุด - คณะสิ่งแวดล้อมฯ - สถาบันวิจัยโภชนาการ - วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา - อาคารอเนกประสงค์ (โรงพละ) - บ้านมหิดล- รถรางสายสีน้ำเงิน บ้านมหิดล - อาคารอนุรักษ์ - ลานจอดรถ4 - คณะสัตวแพทย์ - สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว - คอนโด - สนามฟุตบอล3 - คณะศิลปศาสตร์ - คณะกายภาพบำบัด - โรงเรียนพยาบาลรามาธิปดี - คณะเทคนิคการแพทย์ - สถาบันวิจัยประชากรและสังคม - สถาบันโมเลกุล - ประตู3 - สำนักงานอธิการบดี - สถาบันอาเซียน - เรือนไทย - ศูนย์ศาลายา - ลานจอดรถ2 - อุทยานสิรีรุกชาติ - บ้านมหิดล- รถรางสายสีแดง บ้านมหิดล - สวนเจ้าฟ้า - คณะวิทยาศาสตร์ - เรือนศิลปิน - วิทยาลัยดุริยางค์ - ลานจอดรถ2 - ลานมหิดล - คณะสังคมศาสตร์ - วิทยาลัยนานาชาติ - สำนักงานอธิการบดี - คณะวิศวกรรมศาสตร์ - แปลงผักปลอดสารพิษ - โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี - หอพักพยาบาลรามาธิบดี - คอนโด - สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว - คณะศาสนศึกษา - สนามเปตอง - อาคารอเนกประสงค์ (โรงพละ) - บ้านมหิดล- รถรางสายสีเหลือง อาคารศูนย์การเรียนรู้ - คณะวิทยาศาสตร์ - เรือนศิลปิน - วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ - ลานจอดรถ2 - ลานมหิดล - คณะสังคมศาสตร์ - วิทยาลัยนานาชาติ - สำนักงานอธิการบดี - สถาบันสุขภาพอาเซียน - เรือนไทย - ศูนย์ศาลายา - ลานจอดรถ4จักรยานสาธารณะ จักรยานสาธารณะ. มหาวิทยาลัยมหิดลมีจักรยานสาธารณะให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไป มีชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า จักก้า นักศึกษา บุคลากรและประชาชนสามารถยืมจักรยานฟรีได้ที่ จักก้า เซ็นเตอร์ ตั้งอยู่หน้าหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยต้องแลกบัตรนักศึกษาหรือบัตรประชาชนวันสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลวันสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดล. - วันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายนของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศให้วันดังกล่าวเป็นวันมหิดลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน เพราะพระราชกรณียกิจที่ได้รทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้นได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์และพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศในกาลต่อมา - วันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดลมีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 127 ปี นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระราชทานกำเนิดโรงศิริราชพยาบาล เมื่อปี พ.ศ. 2431 พัฒนาเป็นราชแพทยาลัย โรงเรียนแพทย์แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2433 และได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2486 ประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระนามาภิไธย "มหิดล" ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นนามใหม่ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 และได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทให้พัฒนามหาวิทยาลัย ขยายขอบข่ายวิชาการให้กว้างขวางเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบเช่นในปัจจุบันพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีพระราชทานปริญญาบัตร. ในระหว่างเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 นั้น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบันเมื่อวันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธาน ณ ปะรำพิธีหน้าตึกรังสีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช เมื่อครั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยมีบัณฑิตจากคณะต่าง ๆ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต่อหน้าพระพักตร์ จำนวน 200 คน งานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรยังคงจัดขึ้นที่หอประชุมราชแพทยาลัย ภายในโรงพยาบาลศิริราช เป็นประจำเรื่อยมาทุกปีจนถึงปี พ.ศ. 2520 ต่อมาเมื่อผู้สำเร็จการศึกษามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนมาจัดที่สวนอัมพร ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตเป็นประจำทุกปี โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยในแต่ละปีการศึกษา โดยใช้หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตร ตั้งแต่บัณฑิตปีการศึกษา 2556 เป็นต้นไปการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและยั่งยืนมหาวิทยาลัยสีเขียว การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและยั่งยืน. มหาวิทยาลัยสีเขียว. ตามผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับปี พ.ศ. 2551 คณะผู้บริหารต้องการสร้างมหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็น "มหาวิทยาลัยเมืองในฝัน" ให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีลักษณะทางกายภาพที่ตอบสนองสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังแนวคิดที่ว่า "A promised place to live and learn with nature" ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) ที่มีสภาพแวดล้อมน่าอยู่ รื่นรมย์ เอื้อต่อวิถีชีวิตที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา บุคลากรและชุมชนโดยรอบ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการปรับปรุงในทุกๆ ด้านอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ภูมิทัศน์ ระบบสัญจร ระบบสาธารณูปโภค และพัฒนาโครงการต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาไม่หยุดเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตขอผู้คนซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการปรับนโยบายในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อยกระดับความสำคัญและเอื้อต่อการทำกิจกรรม เช่น- การพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน- จัดกลุ่มพื้นที่กิจกรรมประเภทเดียวกัน อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือต่อเนื่องกัน - เพิ่มความหนาแน่นการใช้ที่ดิน รักษาพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่า 70% ของพื้นที่ทั้งหมด - จัดกลุ่มพื้นที่กิจกรรมเป็นระบบบล็อกย่อย (Sub-block System) - กำหนดพื้นที่สีเขียวและที่ว่างสำคัญ - การพัฒนาระบบภูมิทัศน์- อนุรักษ์พื้นที่สีเขียวและระบบนิเวศของพื้นที่แต่ละส่วนให้มีสภาพความเป็นธรรมชาติให้มากที่สุด - นำพื้นที่ว่างและพื้นที่สีเขียวมาพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับกิจกรรมกีฬา นันทนาการ หรือกิจกรรมการศึกษา - สร้างแนวแกนสีเขียวและเส้นทางสีเขียว (Green Way) เชื่อมต่อพื้นที่ทุกส่วนของมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน - การควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง- ควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารในอนาคต โดยการควบคุมระบบการวางผังอาคารและสิ่งก่อสร้างโดยคานึงถึงหลักเกณฑ์การเกิดอาคารและการออกแบบอาคาร เช่น รูปผังอาคาร ความสูง และระยะถอยร่นอาคาร - การพัฒนาระบบการสัญจร- ลดความสำคัญของการสัญจรทางรถยนต์ โดยการปรับลดผิวถนนหลัก 3 เลน เป็นทางเท้าและทางจักรยาน - จัดทางสัญจรทางรถให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการพัฒนาใหม่เท่าที่จำเป็น - ควบคุมเส้นทางสัญจรทางรถไว้ที่พื้นที่รอบนอกกลุ่มอาคาร เพื่อรักษาพื้นที่ภายในส่วนการศึกษาไว้สำหรับการเดินและการขี่จักรยาน - เน้นบริการรถขนส่งสารธารณะและการสัญจรในมหาวิทยาลัยด้วยการเดินและขี่จักรยาน - การพัฒนาระบบสารธารณูปโภคสาธารณูปการ- ปรับปรุงสารธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยายตัวพื้นที่ในอนาคต โดยคำนึงถึงการลดพลังงาน การักษาสิ่งแวดล้อม และการลดการใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ชุมชนมหาวิทยาลัยยั่งยืน มหาวิทยาลัยยั่งยืน. การปรับกระบวนทัศน์ความคิดในการบริหารจัดการองค์กรสถาบันอุดมศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงใน ศตรวรรษที่ ๒๑ ด้วยเป้าหมายหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ที่มุ่งสร้างให้เกิดดุลยภาพขององค์ประกอบพื้นฐานในมิติสำคัญ ๓ มิติ ได้แก่ มิติเชิงเศรษฐกิจ (Economic) มิติเชิงสิ่งแวดล้อม (Ecology) และมิติเชิงสังคม (Social) โดยคาดหวังผลลัพธ์ของการก่อให้เกิดความเท่าเทียม (Equity) ความมีประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร (Efficient) และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Quality of Life) มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศและภูมิภาค มีปณิธานสำคัญของการเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก โดยมีพันธกิจของสร้างความเป็นเลิศศทางด้านสุขภาพ ศาสตร์ ศิลป์ และนวัตกรรม บนพื้นฐานของคุณธรรม เพื่อสังคมไทย และประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ มหาวิทยาลัยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน ปี 2558-2562 โดยมี 3 กลยุทธ์สำคัญ เริ่มด้วยการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร (Resources Efficiency) โดยจะให้ความสำคัญกับการลดปริมาณกากของเสีย เน้นการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการควบคุมอาคาร รวมถึงจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันยังมีกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน (Community Engagement) ทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้และการศึกษา การวิจัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยสีเขียว ด้านความปลอดภัยและความเสี่ยง ตลอดจนการสนับสนุนโยบายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม สิ่งที่กำลังจะทำคือ Organic Food ให้ชาวบ้านมาปลูกผักในมหาวิทยาลัย และมีนโยบายให้นักศึกษาปลูกผักเอง เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลมีคณะเทคนิคการแพทย์และสถาบันโภชนาการที่สามารถเข้ามาช่วยตรวจวัดปริมาณสารเคมี เพื่อคนจะได้กินผักปลอดสารพิษ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล มีโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ธนาคารขยะรีไซเคิล, ปุ๋ยหมักชีวภาพ, แปลงผักปลอดสารพิษ, จักก้าเซ็นเตอร์และจักรยานสีขาว (จักรยานสาธารณะ), บริการขนส่งสาธารณะ (รถรางNGV), การงดใช้กล่องโฟมในพื้นที่มหาวิทยาลัย, การจัดระบบบำบัดน้ำเสียในทุกอาคาร เป็นต้นอุทยานธรรมชาติอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ อุทยานธรรมชาติ. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในระยะแรกของการดำเนินการ ใช้ชื่อว่า “โครงการปลูกสวนสมุนไพร” โดยดำริของ ศ.นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในระยะนั้น และ ศ.พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ เป็นผู้วางรากฐานและรูปแบบภูมิสถาปัตย์ ศ.นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ ได้เขียนบทความในหนังสือ “สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ” ที่ว่า “ในระยะเวลาที่มีการเตรียมการก่อสร้างที่ศาลายา ได้มีแนวคิดสำคัญประการหนึ่ง คือจะใช้พื้นที่ศาลายาเป็นพื้นที่นันทนาการสำหรับนักศึกษา เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอกด้วย ทั้งนี้โดยคำนึงถึงชุมชนใหม่ระหว่างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ากับศาลายาที่คาดว่าจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นไป” “ท่านศาสตราจารย์พเยาว์ ได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจดำเนินการสร้างสวนแห่งนี้อย่างเต็มที่ นับเป็นโชคดีที่สามารถส่งเสริมให้คนที่รู้วิชาการเภสัชพฤกษศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ได้ทำงานที่ต้องการจะทำ แม้จะไม่มีเงินทองหรือผู้ช่วยที่มากมาย แต่การทำงานด้วยใจรัก ก็สามารถทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้” ซึ่งหนังสือ “สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ” เป็นหนังสือที่ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา พ.ศ. 2539 สื่อถึงแนวคิดและวัตถุประสงค์ที่จะให้สวนสมุนไพรแห่งนี้เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรไทยสำหรับการศึกษา วิจัย พัฒนาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และเป็น “ปอดสีเขียว” ให้บุคลากรในพื้นที่วิทยาเขตศาลายา โดยเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2524 หลังจากปลูกไม้ร่มเงาแล้วจึงนำสมุนไพรไทยทั้งไม้ยืนต้นและไม้พุ่มจัดปลูกลงตามที่สถาปนิกวางรูปแบบไว้ รวบรวมสมุนไพรที่มีศักยภาพและมีรายงานการวิจัยสนับสนุนในพื้นที่ 12 ไร่ พืชสมุนไพรเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อว่า "สิรีรุกขชาติ" และเป็นสวนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัส เมื่อเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสวนสมุนไพรแห่งนี้ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ว่า ปัจจุบันสวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติภายใต้การดูแลและดำเนินการของภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 38 ไร่ รวบรวมพันธุ์สมุนไพรไว้ประมาณ 800 ชนิด จัดปลูกไว้อย่างสวยงาม พร้อมป้ายชื่อพืชสมุนไพรที่ระบุทั้งชื่อไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ และเป็นห้องเรียนธรรมชาติสำหรับ นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ รวมทั้งผู้สนใจที่ได้เข้าเยี่ยมชมเพิ่มขึ้นทุกปี จนได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 และคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาให้เป็นโครงการดีเด่นแห่งชาติ สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ด้านสมุนไพร) ประจำปี พ.ศ. 2539 ภายในอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มีทั้งพรรณไม้สมุนไพรที่พบทั่วไปและใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และสมุนไพรที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่หาได้ยาก พื้นที่ในสวนสมุนไพรแบ่งออกเป็น 3 ส่วน- ส่วนแรก เป็นเรือนเพาะชำ ซึ่งปลูกสมุนไพรที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ไม่ต้องการแสงแดดจัด และขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น ดองดึง หญ้าหวาน รวมทั้งพืชที่มีพิษ เช่น ช้างร้อง สลอด เป็นต้น - ส่วนที่สอง เป็นพื้นที่สวนหย่อมสมุนไพร พื้นที่ประมาณ 12 ไร่ จัดปลูกสมุนไพรเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ไม้เลื้อย และไม้ล้มลุกที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงามเหมาะกับการพักผ่อน และเรียนรู้พืชสมุนไพร ได้แก่ มะเกลือ ส้มเสี้ยว กันเกรา สารภี สีเสียด เป็นต้น - ส่วนสุดท้าย ปลูกในลักษณะสวนป่าในพื้นที่ประมาณ 26 ไร่ เพื่อแสดงระบบนิเวศที่สมุนไพรเติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้น และไม้เล็กที่ขึ้นแซมไม้ใหญ่ ให้ความร่มรื่นเหมาะกับผู้ที่สนใจศึกษาสมุนไพรอย่างเป็นธรรมชาติ พืชในส่วนนี้ เช่น สมอไทย สมอพิเภก สมอดีงู การบูร อบเชย โมกมัน เป็นต้น นอกจากนี้อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มีสมุนไพรที่หาชมได้ยากหลายชนิด เช่น โมกราชินี สิรินธรวัลลี สามสิบกีบน้อย และจิกดง ซึ่งเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก มะลิซาไกสมุนไพรหายากที่ใช้เป็นยาคุมกำเนิดของชนเผ่าซาไก กำแพงเจ็ดชั้น กวาวเครือขาว และกวาวเครือแดงสมุนไพรบำรุงกำลังของไทย รวมทั้งสมุนไพรที่เป็นพืชผักพื้นบ้านอีกหลากหลายชนิด มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้และประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อดูแล ป้องกันและรักษาสุขภาพ พร้อมไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีขณะนั้น จึงดำริที่จะยกระดับพื้นที่สวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ และพื้นที่อนุรักษ์ข้างเคียงบริเวณด้านทิศใต้จำนวน 171 ไร่ ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติระดับชาติและระดับนานาชาติ ในลักษณะ Botanical Garden เพื่อเป็นอุทยานการเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ต่อยอดภูมิปัญญาไทย ให้สามารถเป็นต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาและการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เป็นแหล่งรวบรวมพืช ผลิตและทดลองพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่หลากหลาย เป็นสวนสาธารณะและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางด้านพฤกษศาสตร์และสมุนไพรของจังหวัดนครปฐม และภูมิภาคตะวันตกของประเทศ โดยเริ่มได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปี ๒๕๕๔ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อสวนสมุนไพร “สิรีรุกขชาติ” เป็น "อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ" ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 ประกอบด้วย 7 อาคาร 7 ลาน ดังนี้- อาคารใบไม้สามใบ อาคารต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชมเข้าสู่ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ พร้อมจัดแสดงนิทรรศการถาวร “สมุนไพร ภูมิปัญญาไทยสู่สากล” - ลานนานาสมุนไพร ลานจัดแสดงสมุนไพรไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก ในกระถางขนาดใหญ่รูปดอกไม้บนลานหินกว้าง - บ้านหมอยา อาคารให้บริการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย และให้คำปรึกษาการใช้ยาสมุนไพร พร้อมการนวดรักษาแบบราชสำนัก - สวนสมุนไพร พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ จัดปลูกในรูปแบบสวนสาธารณะ มีไม้ยืนต้นเป็นหลัก พร้อมทั้งไม้เลื้อยขนาดใหญ่ และแซมด้วยพรรณไม้ชนิดอื่นๆ ทำให้มีความร่มรื่นสามารถใช้ศึกษาพืชสมุนไพรและพักผ่อนไปพร้อมๆ กัน - หอดูนก 1 พื้นที่ชุ่มน้ำของอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เป็นแหล่งพักพิงของนกนานาชนิด หอดูนกทั้ง 2 หอจึงเป็นอาคารที่ใช้เพื่อ เฝ้าดูนกและสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนก กิจกรรมการศึกษาจำแนกชนิดนกสำหรับผู้ที่รักธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตรอบตัว - หอดูนก 2 - ลานไม้เลื้อย ลานรวบรวมไม้เลื้อยสมุนไพรขนาดกลางและเล็กปลูกไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวกในการศึกษาเปรียบเทียบ - ลานสมุนไพรวงศ์ขิง ลานปลูกกลุ่มพืชหัววงศ์ขิงที่มีคุณค่าเป็นยา และเป็นพืชในเขตร้อนที่มีความสำคัญทั้งในการใช้ระดับชุมชน และการวิจัยพัฒนายาใหม่ - อาคารใบไม้ใบเดียว อาคารสาธิต การขยายพันธุ์และห้องปฏิบัติการสำหรับการฝึกอบรมต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ผู้พิการ เพื่อการปรับใช้ด้วยตนเอง - ลานสมุนไพรเพื่อคนพิการ ลานสมุนไพรที่อำนวย ความสะดวกในการศึกษาสมุนไพรเป็นพิเศษสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุแห่งแรกในประเทศไทย โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ขึ้นเป็นพิเศษ ผู้พิการทางสายตาจะสามารถสัมผัส ดม และชิมให้เกิดความรู้เชิงประจักษ์ - ศาลาหมอชีวกโกมารภัจน์ ประดิษฐานรูปหล่อหมอชีวกโกมารภัจน์แพทย์ประจำพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นบรมครูแห่งการแพทย์ แผนโบราณ ซึ่งหมอแผนไทยผู้ที่กำลังศึกษาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร รวมทั้งประชาชนทั่วไป ให้ความเคารพ ศรัทธา และกราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล - ลานสมุนไพรเพื่อสุขภาพ รวบรวมสมุนไพรจำนวน 69 ชนิด ที่ผ่านการวิจัย ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีความปลอดภัย สามารถนำไปใช้ป้องกันและรักษาอาการป่วยพื้นฐานในชีวิตประจำวันได้ มีลานสาธิต และทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ พร้อมลานพักผ่อนสันทนาการและเผยแพร่ความรู้ - อาคารสัมมนาห้องอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทางเรื่องการใช้ประโยชน์ สมุนไพรไทย สำหรับประชาชนทั่วไป พร้อมส่วนบริการห้องอาหาร 180 ที่นั่ง ซึ่งจะเน้นอาหารเพื่อสุขภาพ - อาคารวิจัยและพิพิธภัณฑ์พืช ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2ด้าน ได้แก่ ชั้นที่ 1 ห้องปฏิบัติการวิจัยการขยายพันธุ์สมุนไพรพืช ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ชั้นที่ 2 พิพิธภัณฑ์สมุนไพร (Herbarium) ที่รวบรวมตัวอย่างพรรณไม้สมุนไพรแห้ง เพื่อเป็นมาตรฐานเปรียบเทียบให้บริการตรวจสอบชนิดและสร้างเครือข่ายติดต่อกับ พิพิธภัณฑ์พืชในต่างประเทศ รวมทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ อนุรักษ์พันธุ์พืชในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกด้วย ในระดับนานาชาติ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ได้รับการยกย่องเป็น Medicinal Plant Garden แห่งเดียวของประเทศไทย ที่เข้าตามหลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมร่วมอาเซียนและกำหนดขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้และจะเป็นแหล่งศึกษาดูงานที่สำคัญของภูมิภาคบริการวิชาการต่างๆ ที่สำคัญยังถือเป็นสำหรับประชาชน แหล่งเรียนรู้เพื่อปลุกกระแสให้คนไทยหันมาร่วมกันสร้างป่าสมุนไพรในเมืองนักเรียน นักศึกษา เพื่อสุขภาพที่ดีนักวิชาการและความมั่นคงด้านยารักษาโรคนักวิจัย ทั้งวันนี้และอนาคตตลอดไป”บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหิดล บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหิดล. ดูบทความหลักที่ รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหิดล คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุด โดยมีรายพระนาม และรายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย เช่น- สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงบุกเบิกการแพทย์แผนใหม่ในประเทศไทย ผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม 'มหาวิทยาลัยมหิดล' - ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ ปี พ.ศ. 2524 และ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.ณัฐ ภมรประวัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล. มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐสมบูรณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 68 ก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จากนี้สถานภาพของพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ และข้าราชการมีสิทธิที่จะขอเปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานได้ ภายในระยะเวลา 90 วัน และจะไม่มีข้าราชการเพิ่มขึ้นอีกตามมาตรา 78 ของพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัยมหิดลก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ใด
3640
{ "answer_end": [ 201 ], "answer_start": [ 196 ], "text": [ "เขียว" ] }
84036
แซมเสวตร แมวแซมเสวตร [แซมสะเหฺวด] แปลว่า "แซมสีขาว" เป็นแมวชนิดหนึ่งที่ปรากฏใน ตำราแมว ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แมวนี้มีขนสีดำ แซมด้วยสีขาวไปทั้งตัว แต่ขนบางและค่อนข้างสั้น รูปร่างบางเพรียว ตามีสีเขียวเหมือนแสงหิ่งห้อย ซึ่งแท้จริงแล้วแซมเสวตรนี้มิใช่สายพันธุ์ หากแต่เป็นแมวโกนจาที่ป่วยด้วยภาวะ "Fever Coat" อันส่งผลต่อการสร้างเม็ดสีที่ขน เมื่อหายดีขนก็จะกลับมาดำเป็นแมวโกนจาตามเดิม โดยลักษณะทั่วไปของแซมเสวตรจะตรงกันกับแมวโกนจาแต่มีขนสีขาวแซม ในปี พ.ศ. 2548 ได้ค้นพบแมวแซมเสวตรตัวแรกชื่อ "แซม" และตัวที่สองชื่อ "โค้ก" ของอารีย์ อยู่บำรุง และตัวที่สามชื่อ "ข้าวตอก" ของวีระศักดิ์ สร้อยทอง และมีการพบแมวลักษณะนี้อีกหลายครั้ง ต่อมาได้มีคำอธิบายว่าแซมเสวตรคือแมวโกนจาที่เกิดความผิดปกติด้วยภาวะ "Fever Coat" หรือ "แมวป่วย" ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อแม่แมวตั้งท้องแล้วมีไข้ อันส่งผลต่อการสร้างเม็ดสีที่ขนของลูกแมวในครรภ์ทำให้มีสีขาวแซม ขนของมันจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 4-6 เดือน ซึ่งการมีขนสีขาวแซมยังพบได้ในแมวโตขนสีดำที่ถูกกัด ป่วย หรือร่างกายอ่อนแอบทกวีที่เกี่ยวกับแมวแซมเสวตร
ตาของแมวแซมเสวตรมีสีอะไร
3641
{ "answer_end": [ 107 ], "answer_start": [ 105 ], "text": [ "16" ] }
776259
กัลยา เลิศเกษมทรัพย์ กัลยา เลิศเกษมทรัพย์ หรือ เง็ก นักแสดง และนางแบบหญิงชาวไทย เข้าสู่วงการด้วยวัยเพียง 16 ปี จากการเดินเที่ยวห้างที่สยามเซ็นเตอร์ หลังเลิกเรียน จากนั้นมีแมวมองมาติดต่อและขอเบอร์โทรศัพท์เธอไป จากนั้นไม่นานก็ได้ติดต่อให้เธอไปเทสต์โฆษณาหลายครั้ง และได้ถ่ายโฆษณาสกินซิตร้าโลชั่น เป็นงานแรกในวงการบันเทิง หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เรื่อง ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผมเมื่อปี พ.ศ. 2536 แสดงคู่กับศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง โดยรับบทเป็นหมอทิพย์ ต่อด้วยภาพยนตร์สร้างชื่อเสียงให้กับเธอคือ คู่แท้ 2 โลก เมื่อปี พ.ศ. 2537 แสดงคู่กับสหรัถ สังคปรีชา รับบทเป็น ลาน นอกจากนี้ยังมีผลงานถ่ายแบบ และแสดงละครโทรทัศน์จนถึงปัจจุบัน อาทิ ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย, 7 พระกาฬ, เจ้าสาวผมไม่ใช่ผี, พลับพลึงสีชมพู และ เวียงร้อยดาว เป็นต้นผลงานผลงานละครโทรทัศน์ผลงานภาพยนตร์
กัลยา เลิศเกษมทรัพย์ เข้าวงการบันเทิงตอนอายุเท่าไร
3643
{ "answer_end": [ 23 ], "answer_start": [ 12 ], "text": [ "ทะเลสาบบิวะ" ] }
76471
ทะเลสาบบิวะ ทะเลสาบบิวะ () มีชื่อเดิมว่า ทะเลโอ () เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในจังหวัดชิงะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวงเก่าเกียวโต เนื่องจากอยู่ใกล้กับเมืองหลวงเก่า ทะเลสาบแห่งนี้จึงปรากฏอยู่ในวรรณกรรมของญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในกวีนิพนธ์และบันทึกทางประวัติศาสตร์ยามสงครามพื้นที่โดยรอบและการใช้ประโยชน์ พื้นที่โดยรอบและการใช้ประโยชน์. ทะเลสาบแห่งนี้มีขนาดพื้นที่ 670 ตารางกิโลเมตร เท่ากับเกาะอะวะจิ มีแม่น้ำหลายสายไหลจากภูเขารอบๆลงสู่ทะเลสาบ เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญสำหรับเมืองเกียวโตและโอสึ มีการใช้ประโยชน์จากทะเลสาบแห่งนี้มากมายหลายทาง เช่น เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญสำหรับโรงงานทอผ้าในบริเวณใกล้เคียง แหล่งผลิตน้ำดื่มหล่อเลี้ยงคนกว่า 15 ล้านคนทั่วภูมิภาค แหล่งเพาะและผสมพันธุ์ปลาน้ำจืดหลายชนิดอย่างเช่นปลาเทราท์ และแหล่งเลี้ยงหอยในอุตสาหกรรมผลิตไข่มุก แต่ละปีระดับน้ำในทะเลสาบจะสูงขึ้นถึง 3 เมตรใน 2 ช่วงเวลา คือ ในฤดูใบไม้ผลิ เนื่องมาจากฝนและหิมะที่ละลาย และในฤดูใบไม้ร่วง หลังจากพายุไต้ฝุ่น แม่น้ำที่เป็นสาขาหลักของทะเลสาบคือ แม่น้ำเซะตะ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น แม่น้ำโยะโดะ ไหลจากทะเลสาบออกสู่ทะเลที่อ่าวโอซะกะ คลองบิวะโกะ เป็นสาขาหนึ่งของทะเลสาบ ขุดขึ้นเมื่อปลายทศวรรษ 1890 และมีการขยายขึ้นอีกระหว่างสมัยไทโช มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมในเกียวโตให้กลับพลิกฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่ซบเซาลงไปเนื่องจากการย้ายเมืองหลวงไปโตเกียวธรรมชาติของทะเลสาบ ธรรมชาติของทะเลสาบ. ทะเลสาบบิวะเป็นทะเลสาบที่มีอายุเก่าแก่เป็นอันดับสามของโลก โดยถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4 ล้านปีก่อน เนื่องด้วยมีประวัติยาวนาน และแทบไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อครั้งถือกำเนิด ทำให้เป็นสถานที่ที่ระบบนิเวศอันหลากหลายมีวิวัฒนาการเรื่อยมา นักธรรมชาติวิทยาได้ค้นพบและบันทึกรายการสิ่งมีชีวิตในทะเลสาบแล้วประมาณ 1,100 ชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่ 58 ชนิดที่ไม่พบในที่แห่งอื่นในโลก บริเวณทะเลสาบเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของนกน้ำ ทุกปีจะมีนกน้ำกว่า 5,000 ตัวอพยพมาที่ทะเลสาบ แต่เมื่อไม่นานมานี้ ความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลสาบบิวะก็ถูกคุกคามโดยปลาต่างถิ่น อย่างเช่น black bass และ bluegill โดยพันธุ์ปลา bluegill ถูกนำมาถวายแด่องค์จักรพรรดิ แล้วถูกปล่อยลงสู่ทะเลสาบเพื่อให้เป็นอาหารของปลาอื่น ส่วน black bass ถูกนำเข้ามาเพื่อเป็นปลาสำหรับกีฬาตกปลา
ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นคือทะเลสาบใด
3644
{ "answer_end": [ 399 ], "answer_start": [ 396 ], "text": [ "670" ] }
76471
ทะเลสาบบิวะ ทะเลสาบบิวะ () มีชื่อเดิมว่า ทะเลโอ () เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในจังหวัดชิงะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวงเก่าเกียวโต เนื่องจากอยู่ใกล้กับเมืองหลวงเก่า ทะเลสาบแห่งนี้จึงปรากฏอยู่ในวรรณกรรมของญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในกวีนิพนธ์และบันทึกทางประวัติศาสตร์ยามสงครามพื้นที่โดยรอบและการใช้ประโยชน์ พื้นที่โดยรอบและการใช้ประโยชน์. ทะเลสาบแห่งนี้มีขนาดพื้นที่ 670 ตารางกิโลเมตร เท่ากับเกาะอะวะจิ มีแม่น้ำหลายสายไหลจากภูเขารอบๆลงสู่ทะเลสาบ เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญสำหรับเมืองเกียวโตและโอสึ มีการใช้ประโยชน์จากทะเลสาบแห่งนี้มากมายหลายทาง เช่น เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญสำหรับโรงงานทอผ้าในบริเวณใกล้เคียง แหล่งผลิตน้ำดื่มหล่อเลี้ยงคนกว่า 15 ล้านคนทั่วภูมิภาค แหล่งเพาะและผสมพันธุ์ปลาน้ำจืดหลายชนิดอย่างเช่นปลาเทราท์ และแหล่งเลี้ยงหอยในอุตสาหกรรมผลิตไข่มุก แต่ละปีระดับน้ำในทะเลสาบจะสูงขึ้นถึง 3 เมตรใน 2 ช่วงเวลา คือ ในฤดูใบไม้ผลิ เนื่องมาจากฝนและหิมะที่ละลาย และในฤดูใบไม้ร่วง หลังจากพายุไต้ฝุ่น แม่น้ำที่เป็นสาขาหลักของทะเลสาบคือ แม่น้ำเซะตะ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น แม่น้ำโยะโดะ ไหลจากทะเลสาบออกสู่ทะเลที่อ่าวโอซะกะ คลองบิวะโกะ เป็นสาขาหนึ่งของทะเลสาบ ขุดขึ้นเมื่อปลายทศวรรษ 1890 และมีการขยายขึ้นอีกระหว่างสมัยไทโช มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมในเกียวโตให้กลับพลิกฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่ซบเซาลงไปเนื่องจากการย้ายเมืองหลวงไปโตเกียวธรรมชาติของทะเลสาบ ธรรมชาติของทะเลสาบ. ทะเลสาบบิวะเป็นทะเลสาบที่มีอายุเก่าแก่เป็นอันดับสามของโลก โดยถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4 ล้านปีก่อน เนื่องด้วยมีประวัติยาวนาน และแทบไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อครั้งถือกำเนิด ทำให้เป็นสถานที่ที่ระบบนิเวศอันหลากหลายมีวิวัฒนาการเรื่อยมา นักธรรมชาติวิทยาได้ค้นพบและบันทึกรายการสิ่งมีชีวิตในทะเลสาบแล้วประมาณ 1,100 ชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่ 58 ชนิดที่ไม่พบในที่แห่งอื่นในโลก บริเวณทะเลสาบเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของนกน้ำ ทุกปีจะมีนกน้ำกว่า 5,000 ตัวอพยพมาที่ทะเลสาบ แต่เมื่อไม่นานมานี้ ความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลสาบบิวะก็ถูกคุกคามโดยปลาต่างถิ่น อย่างเช่น black bass และ bluegill โดยพันธุ์ปลา bluegill ถูกนำมาถวายแด่องค์จักรพรรดิ แล้วถูกปล่อยลงสู่ทะเลสาบเพื่อให้เป็นอาหารของปลาอื่น ส่วน black bass ถูกนำเข้ามาเพื่อเป็นปลาสำหรับกีฬาตกปลา
ทะเลสาบบิวะมีพื้นที่กี่ตารางกิโลเมตร
3645
{ "answer_end": [ 67 ], "answer_start": [ 63 ], "text": [ "2553" ] }
618930
ระบำดวงดาว ระบำดวงดาว เป็นละครโทรทัศน์ไทย สร้างครั้งแรกปี พ.ศ. 2553 นำแสดงโดย ธนา สุทธิกมล,เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์,ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา,สิรีภรณ์ ยุกตะทัต,ธนากร โปษยานนท์ จากบทประพันธ์ของ อัจฉรียา เขียนบทโทรทัศน์โดย กลีบผกา, นันทพร แก้วอัมพร กำกับการแสดงโดย กฤษฎา เตชะนิโลบล ผลิตโดย บริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทุกคืนวันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 20.30 - 22.30 น. เริ่มตอนแรกเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553–20 ตุลาคม พ.ศ. 2553รายชื่อนักแสดงเพลงประกอบละครเพลงประกอบละคร. - เพลง ขอไปให้ถึงดาว - ธนพร แวกประยูร - เพลง มีกันตลอดไป - ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา - เพลง ของขวัญ - Musketeers
ละครโทรทัศน์ไทยเรื่องระบำดวงดาว ออกฉายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ใด
3646
{ "answer_end": [ 21 ], "answer_start": [ 11 ], "text": [ "ระบำดวงดาว" ] }
618930
ระบำดวงดาว ระบำดวงดาว เป็นละครโทรทัศน์ไทย สร้างครั้งแรกปี พ.ศ. 2553 นำแสดงโดย ธนา สุทธิกมล,เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์,ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา,สิรีภรณ์ ยุกตะทัต,ธนากร โปษยานนท์ จากบทประพันธ์ของ อัจฉรียา เขียนบทโทรทัศน์โดย กลีบผกา, นันทพร แก้วอัมพร กำกับการแสดงโดย กฤษฎา เตชะนิโลบล ผลิตโดย บริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทุกคืนวันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 20.30 - 22.30 น. เริ่มตอนแรกเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553–20 ตุลาคม พ.ศ. 2553รายชื่อนักแสดงเพลงประกอบละครเพลงประกอบละคร. - เพลง ขอไปให้ถึงดาว - ธนพร แวกประยูร - เพลง มีกันตลอดไป - ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา - เพลง ของขวัญ - Musketeers
เพลงขอไปให้ถึงดาว ของธนพร แวกประยูร เป็นเพลงประกอบละครไทยเรื่องใด
3647
{ "answer_end": [ 167 ], "answer_start": [ 157 ], "text": [ "ภาคตะวันตก" ] }
594527
นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกสีน้ำตาล (; ; ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ แซมมวล ทิคเคล นักปักษีวิทยาชาวอังกฤษ) เป็นนกเงือกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศอินเดีย, พม่า และภาคตะวันตกของไทย โดยในบางครั้งจะถูกจัดเป็นชนิดย่อยของนกเงือกสีน้ำตาลคอขาว (A. austeni) มีโหนกเล็ก จะงอยปากสีเหลือง มีหนังรอบตาสีฟ้า ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ด้นล่างแกมส้ม ปลายปีกขาว ปลายขนหาง ยกเว้นคู่บนสุดสีขาว ตัวผู้มีคอสีน้ำตาลแกมส้ม ตัวเมียมีปากเทาดำ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60–65 เซนติเมตร จัดเป็นนกเงือกขนาดกลาง มีเสียงร้อง แอ๊-แอ๊ว หรือ แว้ว-แว้ว แหลมดังไม่เป็นจังหวะ ในประเทศไทยมีถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เป็นป่าจำพวกป่าดิบ, ป่าโปร่ง และป่าเชิงเขาถึงความสูง 1,500 เมตร พบได้ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และผืนป่าด้านตะวันตกเขตจังหวัดตาก (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก)
ภาคใดในประเทศไทยที่จะพบนกเงือกสีน้ำตาล
3648
{ "answer_end": [ 29 ], "answer_start": [ 15 ], "text": [ "มนัส บุญจำนงค์" ] }
115031
มนัส บุญจำนงค์ มนัส บุญจำนงค์ นักมวยสากลสมัครเล่นเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก จากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่ประเทศกรีซ นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 ที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิก และเป็นนักมวยสากลสมัครเล่นคนที่ 3 ต่อจากสมรักษ์ คำสิงห์ และวิจารณ์ พลฤทธิ์ มนัสมีสถิติได้เหรียญจากกีฬาโอลิมปิก 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน, เอเชียนเกมส์ 1 เหรียญทอง, ซีเกมส์ 2 เหรียญทอง และ 1 เหรียญทองแดงจากการแข่งขัน มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลกที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2546ประวัติ ประวัติ. มนัส บุญจำนงค์ มีชื่อเล่นว่า "เติ้ล" เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ที่ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายมโนและนางมาลี บุญจำนงค์ มีน้องชายอีก 2 คนคือ มานนท์ (นน บุญจำนงค์) และ พันธนินทร์ ทั้ง 3 พี่น้องหัดชกมวยมาตั้งแต่สมัยเด็กโอลิมปิก 2004 โอลิมปิก 2004. มนัสลงแข่งขันในรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท (64 กิโลกรัม) ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ เส้นทางสู่เหรียญทองของมนัสคือ- รอบแรก : ชนะสไปริดอน ยอนนิดิส ( กรีซ) 28-16 หมัด - รอบ 16 คนสุดท้าย: ชนะโรมิโอ บริน ( ฟิลิปปินส์) 29-15 หมัด - รอบ 8 คนสุดท้าย: 22 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะวิลลี เบรน ( ฝรั่งเศส) 20-8 หมัด - รอบรองชนะเลิศ: 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะไอโอนัท จอร์จี ( โรมาเนีย) - รอบชิงชนะเลิศ: 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะยูได เซเดอโน่ จอห์นสัน ( คิวบา) 17-11 หมัด มนัสเป็นนักกีฬาไทยคนที่สามที่ได้เหรียญทองจากการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ โดยก่อนหน้า อุดมพร พลศักดิ์ และ ปวีณา ทองสุก นักยกน้ำหนักหญิงทีมชาติไทยได้คว้าเหรียญทองไปแล้วเอเชียนเกมส์ 2006 เอเชียนเกมส์ 2006. หลังจากมนัสได้เหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ ก็ประสบปัญหาครอบครัวและติดการพนัน ทำให้เขาเริ่มมีปัญหาเรื่องระเบียบวินัย ไม่เข้าซ้อมชกมวยบ่อยครั้ง ก่อนจะกลับตัวได้และลงแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยเอาชนะชิน เมียง ฮุน จากเกาหลีใต้ 22-11 หมัด ในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางสมาคมมวยสากลสมัครเล่นได้ส่งมนัสเดินทางไปเก็บตัวที่ประเทศคิวบาเพียงคนเดียวนานถึง 3 เดือน กับโค้ช ฮวน ฟอนตาเนียล ซึ่งก็ทำให้มนัสได้เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นไทยเพียงคนเดียวที่ได้เหรียญทองในการแข่งขันครั้งนี้โอลิมปิก 2008 โอลิมปิก 2008. มนัสกลับมาแข่งขันโอลิมปิกเป็นครั้งที่สอง ในรุ่นเดิม โดยเส้นทางการชกเป็นดังนี้- รอบ 16 คนสุดท้าย (14 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : ชนะ มาซาซึกุ คาวาชิ () 8-1 - รอบ 8 คนสุดท้าย (17 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : ชนะ เซริค ซาพิเยฟ () 7-5 - รอบรองชนะเลิศ (22 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : ชนะ โรเนียล อิกเลเซียส โซโตลองโก () 10-5 - รอบชิงชนะเลิศ (23 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : แพ้ เฟลิกซ์ ดิแอซ () 4-12 โดยถือมนัสเป็นนักกีฬาไทยคนแรก ที่สามารถคว้าเหรียญจากการแข่งขันโอลิมปิกสองสมัยติดต่อกันซีเกมส์ 2011 ซีเกมส์ 2011. ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 ที่เมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย มนัสได้เลื่อนขึ้นไปชกในรุ่นมิดเดิลเวท หรือ 75 กิโลกรัม แต่มนัสเป็นฝ่ายแพ้นักมวยมาเลเซีย มูฮาหมัด ฟาร์ข่าน ไป 9-10 หมัด ในรอบรองชนะเลิศโอลิมปิก 2012 โอลิมปิก 2012. ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 มนัสมีความพยายามฟิตซ้อมเพื่อที่จะกลับมาติมทีมชาติเพื่อไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอีกครั้ง ในกลางปีเดียวกัน โดยสามารถเอาชนะ ปิติพงษ์ สำเภาล่อน นักมวยรุ่นน้องไปได้ ด้วยการสนับสนุนจากสมรักษ์ คำสิงห์ แต่แล้วก็ได้มีปัญหาเรื่องการฟิตซ้อมกับทางสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และในท้ายที่สุดก็ได้ตัดสินใจแขวนนวมไปในที่สุดผลงานผลงาน. - เหรียญทองแดงเวิลด์คัพ - เหรียญทองคิงส์คัพ 2003 ประเทศไทย - เหรียญทองซีเกมส์ ประเทศเวียดนาม - เหรียญเงินไชนาโอเพน ประเทศจีน - เหรียญทองคิงส์คัพ 2004 ประเทศไทย - เหรียญทองโอลิมปิก 2004 ประเทศกรีซ - เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2006 ประเทศกาตาร์ - เหรียญทองซีเกมส์ 2007 ประเทศไทย - เหรียญเงินโอลิมปิก 2008 ประเทศจีนมวยสากลอาชีพ มวยสากลอาชีพ. มนัส ได้ชกมวยสากลอาชีพครั้งแรกเมื่ออายุได้ 35 ปี ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ในสังกัดเกียรติกรีรินทร์โปรโมชัน ของ เอกรัตน์ ไชยโชติช่วง โดยชกครั้งแรกที่อินดอร์สเตเดียมหัวหมาก ด้วยการเอาชนะคะแนน ฮาเหม็ด จาลารันเต นักมวยชาวอินโดนีเซีย ในกำหนดการชก 4 ยก ร่วมรายการเดียวกับที่อำนาจ รื่นเริง ป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกกับ จอห์นเรียล คาซิเมโร ซึ่งมนัสได้ขึ้นชกด้วยสภาพร่างกายที่อ้วนท้วน น้ำหนักกว่า 80 กิโลกรัม ในรุ่นมิดเดิลเวท โดยก่อนหน้านั้นมนัสได้ขึ้นชกมวยเป็นครั้งสุดท้ายในแบบมวยไทยเมื่อกว่า 5 ปีก่อน และในครั้งนี้ได้ลดน้ำหนักกว่า 15 กิโลกรัมเพียงระยะเวลาแค่เดือนเดียว โดยหลังจากนั้น ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558 มนัสขึ้นชกเป็นไฟต์ที่สอง โดยเริ่มใช้ชื่อว่า "มนัส บุญจำนงค์ ศักดิ์กรีรินทร์" โดยพบกับ มาร์โก ทูฮูมูรี นักมวยชาวอินโดนิเซีย ร่วมรายการ ไมค์ พ.ธวัชชัย ชิงแชมป์แพนแปซิฟิค IBF รุ่นซูเปอรฺ์แบนตั้มเวทที่ว่าง ผลปรากฏว่ามนัสชนะคะแนน 4 ยกไปได้ ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี หลังจากชกชนะทูฮูมูรี มนัสตั้งเป้าว่าจะทำน้ำหนักให้ลดลงเหลือ 70 กิโลกรัม และทางเกียรติกรีรินทร์โปรโมชั่นก็วางแผนให้มนัสชกเดือนละครั้ง โดยจะให้ชกกำหนด 6 ยก, 8 ยก, 10 ยก และ 12 ยก ตามลำดับ ในการชกมวยสากลอาชีพครั้งที่ 6 กับ ไรอัน ฟอร์ด นักมวยชาวแคนาดา ซึ่งเป็นอดีตแชมป์การต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมรายการเดียวกับฟ้าลั่นจูเนียร์ ศักดิ์กรีรินทร์ ชิงแชมป์สหพันธ์มวยนานาชาติ แพนแปซิฟิกที่ว่าง กับ เลสเตอร์ อาบูตัน นักมวยชาวฟิลิปปินส์ มนัสเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปในต้นยกที่ 5 หลังจากถูกหมัดขวาของฟอร์ดเข้าอย่างจังที่เบ้าตาซ้าย ในยกที่ 4 ทำให้เจ็บไม่สามารถชกต่อได้ ทำให้มนัสแพ้ครั้งแรกในการชกมวยสากลอาชีพชีวิตส่วนตัว ชีวิตส่วนตัว. มนัสเคยมีภรรยาคือ นางพจนีย์ บุญจำนงค์ (เกตุสวัสดิ์) และมีบุตรด้วยกัน 3 คน ภายหลังจากได้เหรียญทองโอลิมปิก 2004 มนัสได้มีปัญหากับภรรยา และแยกทางกันเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 หลังจากแยกทางกับนางพจนีย์แล้ว ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นางพจนีย์ก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายเพิ่มอีก 1 คน ซึ่งมนัส ยอมรับกับผู้สื่อข่าวว่า บุตรที่เกิดมาภายหลังนี้เป็นบุตรที่เกิดจากตนเช่นกัน จากการที่มักมีปัญหาเรื่องผู้หญิงและครอบครัวแบบนี้ซึ่งส่งผลกระทบถึงการชกมวย จึงทำให้สื่อมวลชนให้ฉายามนัสว่า "เพลย์บอยกลับใจ" ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีการอนุมัติให้มนัสเข้าบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจเนื่องจากสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ โดยจะให้ได้รับยศตามวุฒิการศึกษา นอกจากนี้แล้ว ในทางการเมือง ในการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มนัสได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมกับเพื่อนนักมวยอีก 3 คือ เขาทราย แกแล็คซี่, สมรักษ์ คำสิงห์ และเจริญทอง เกียรติบ้านช่อง โดยมนัสได้รับการจัดรายชื่อในบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 18 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ปัจจุบัน มนัสได้คบหากับแฟนคนปัจจุบัน คือ พิชยาภา พูนิสสัน (ชื่อเล่น: ปัด) หญิงชาวอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ทั้งคู่ร่วมกันทำธุรกิจด้วยกันด้วยการจำหน่ายขนมประเภทซีเรียลใช้ชื่อว่า "มิกซ์ซีเรียล ตราแชมเปี้ยน By มนัส บุญจำนงค์" ผ่านทางเฟซบุกและตามงานจัดเลี้ยงต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วมนัสยังมีธุรกิจเดินรถโดยสารวิ่งระหว่างจังหวัดราชบุรี-กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 คัน และโต๊ะสนุกเกอร์อีกด้วย โดยให้น้องชายและพ่อเป็นผู้ดูแล อีกทั้งยังได้รับเงินจำนวนกว่า 100,000 บาทต่อเดือน จากทั้งการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.), คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท โอสถสภา จำกัด ในฐานะที่เคยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศมาก่อน จนกระทั่งอายุ 60 ปีเครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์. - พ.ศ. 2547 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น ตติยดิเรกคุณาภรณ์
นักมวยคนใดที่ได้เหรียญทองจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่ประเทศกรีซ
3649
{ "answer_end": [ 500 ], "answer_start": [ 495 ], "text": [ "เติ้ล" ] }
115031
มนัส บุญจำนงค์ มนัส บุญจำนงค์ นักมวยสากลสมัครเล่นเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก จากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่ประเทศกรีซ นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 ที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิก และเป็นนักมวยสากลสมัครเล่นคนที่ 3 ต่อจากสมรักษ์ คำสิงห์ และวิจารณ์ พลฤทธิ์ มนัสมีสถิติได้เหรียญจากกีฬาโอลิมปิก 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน, เอเชียนเกมส์ 1 เหรียญทอง, ซีเกมส์ 2 เหรียญทอง และ 1 เหรียญทองแดงจากการแข่งขัน มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลกที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2546ประวัติ ประวัติ. มนัส บุญจำนงค์ มีชื่อเล่นว่า "เติ้ล" เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ที่ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายมโนและนางมาลี บุญจำนงค์ มีน้องชายอีก 2 คนคือ มานนท์ (นน บุญจำนงค์) และ พันธนินทร์ ทั้ง 3 พี่น้องหัดชกมวยมาตั้งแต่สมัยเด็กโอลิมปิก 2004 โอลิมปิก 2004. มนัสลงแข่งขันในรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท (64 กิโลกรัม) ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ เส้นทางสู่เหรียญทองของมนัสคือ- รอบแรก : ชนะสไปริดอน ยอนนิดิส ( กรีซ) 28-16 หมัด - รอบ 16 คนสุดท้าย: ชนะโรมิโอ บริน ( ฟิลิปปินส์) 29-15 หมัด - รอบ 8 คนสุดท้าย: 22 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะวิลลี เบรน ( ฝรั่งเศส) 20-8 หมัด - รอบรองชนะเลิศ: 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะไอโอนัท จอร์จี ( โรมาเนีย) - รอบชิงชนะเลิศ: 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะยูได เซเดอโน่ จอห์นสัน ( คิวบา) 17-11 หมัด มนัสเป็นนักกีฬาไทยคนที่สามที่ได้เหรียญทองจากการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ โดยก่อนหน้า อุดมพร พลศักดิ์ และ ปวีณา ทองสุก นักยกน้ำหนักหญิงทีมชาติไทยได้คว้าเหรียญทองไปแล้วเอเชียนเกมส์ 2006 เอเชียนเกมส์ 2006. หลังจากมนัสได้เหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ ก็ประสบปัญหาครอบครัวและติดการพนัน ทำให้เขาเริ่มมีปัญหาเรื่องระเบียบวินัย ไม่เข้าซ้อมชกมวยบ่อยครั้ง ก่อนจะกลับตัวได้และลงแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยเอาชนะชิน เมียง ฮุน จากเกาหลีใต้ 22-11 หมัด ในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางสมาคมมวยสากลสมัครเล่นได้ส่งมนัสเดินทางไปเก็บตัวที่ประเทศคิวบาเพียงคนเดียวนานถึง 3 เดือน กับโค้ช ฮวน ฟอนตาเนียล ซึ่งก็ทำให้มนัสได้เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นไทยเพียงคนเดียวที่ได้เหรียญทองในการแข่งขันครั้งนี้โอลิมปิก 2008 โอลิมปิก 2008. มนัสกลับมาแข่งขันโอลิมปิกเป็นครั้งที่สอง ในรุ่นเดิม โดยเส้นทางการชกเป็นดังนี้- รอบ 16 คนสุดท้าย (14 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : ชนะ มาซาซึกุ คาวาชิ () 8-1 - รอบ 8 คนสุดท้าย (17 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : ชนะ เซริค ซาพิเยฟ () 7-5 - รอบรองชนะเลิศ (22 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : ชนะ โรเนียล อิกเลเซียส โซโตลองโก () 10-5 - รอบชิงชนะเลิศ (23 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : แพ้ เฟลิกซ์ ดิแอซ () 4-12 โดยถือมนัสเป็นนักกีฬาไทยคนแรก ที่สามารถคว้าเหรียญจากการแข่งขันโอลิมปิกสองสมัยติดต่อกันซีเกมส์ 2011 ซีเกมส์ 2011. ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 ที่เมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย มนัสได้เลื่อนขึ้นไปชกในรุ่นมิดเดิลเวท หรือ 75 กิโลกรัม แต่มนัสเป็นฝ่ายแพ้นักมวยมาเลเซีย มูฮาหมัด ฟาร์ข่าน ไป 9-10 หมัด ในรอบรองชนะเลิศโอลิมปิก 2012 โอลิมปิก 2012. ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 มนัสมีความพยายามฟิตซ้อมเพื่อที่จะกลับมาติมทีมชาติเพื่อไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอีกครั้ง ในกลางปีเดียวกัน โดยสามารถเอาชนะ ปิติพงษ์ สำเภาล่อน นักมวยรุ่นน้องไปได้ ด้วยการสนับสนุนจากสมรักษ์ คำสิงห์ แต่แล้วก็ได้มีปัญหาเรื่องการฟิตซ้อมกับทางสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และในท้ายที่สุดก็ได้ตัดสินใจแขวนนวมไปในที่สุดผลงานผลงาน. - เหรียญทองแดงเวิลด์คัพ - เหรียญทองคิงส์คัพ 2003 ประเทศไทย - เหรียญทองซีเกมส์ ประเทศเวียดนาม - เหรียญเงินไชนาโอเพน ประเทศจีน - เหรียญทองคิงส์คัพ 2004 ประเทศไทย - เหรียญทองโอลิมปิก 2004 ประเทศกรีซ - เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2006 ประเทศกาตาร์ - เหรียญทองซีเกมส์ 2007 ประเทศไทย - เหรียญเงินโอลิมปิก 2008 ประเทศจีนมวยสากลอาชีพ มวยสากลอาชีพ. มนัส ได้ชกมวยสากลอาชีพครั้งแรกเมื่ออายุได้ 35 ปี ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ในสังกัดเกียรติกรีรินทร์โปรโมชัน ของ เอกรัตน์ ไชยโชติช่วง โดยชกครั้งแรกที่อินดอร์สเตเดียมหัวหมาก ด้วยการเอาชนะคะแนน ฮาเหม็ด จาลารันเต นักมวยชาวอินโดนีเซีย ในกำหนดการชก 4 ยก ร่วมรายการเดียวกับที่อำนาจ รื่นเริง ป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกกับ จอห์นเรียล คาซิเมโร ซึ่งมนัสได้ขึ้นชกด้วยสภาพร่างกายที่อ้วนท้วน น้ำหนักกว่า 80 กิโลกรัม ในรุ่นมิดเดิลเวท โดยก่อนหน้านั้นมนัสได้ขึ้นชกมวยเป็นครั้งสุดท้ายในแบบมวยไทยเมื่อกว่า 5 ปีก่อน และในครั้งนี้ได้ลดน้ำหนักกว่า 15 กิโลกรัมเพียงระยะเวลาแค่เดือนเดียว โดยหลังจากนั้น ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558 มนัสขึ้นชกเป็นไฟต์ที่สอง โดยเริ่มใช้ชื่อว่า "มนัส บุญจำนงค์ ศักดิ์กรีรินทร์" โดยพบกับ มาร์โก ทูฮูมูรี นักมวยชาวอินโดนิเซีย ร่วมรายการ ไมค์ พ.ธวัชชัย ชิงแชมป์แพนแปซิฟิค IBF รุ่นซูเปอรฺ์แบนตั้มเวทที่ว่าง ผลปรากฏว่ามนัสชนะคะแนน 4 ยกไปได้ ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี หลังจากชกชนะทูฮูมูรี มนัสตั้งเป้าว่าจะทำน้ำหนักให้ลดลงเหลือ 70 กิโลกรัม และทางเกียรติกรีรินทร์โปรโมชั่นก็วางแผนให้มนัสชกเดือนละครั้ง โดยจะให้ชกกำหนด 6 ยก, 8 ยก, 10 ยก และ 12 ยก ตามลำดับ ในการชกมวยสากลอาชีพครั้งที่ 6 กับ ไรอัน ฟอร์ด นักมวยชาวแคนาดา ซึ่งเป็นอดีตแชมป์การต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมรายการเดียวกับฟ้าลั่นจูเนียร์ ศักดิ์กรีรินทร์ ชิงแชมป์สหพันธ์มวยนานาชาติ แพนแปซิฟิกที่ว่าง กับ เลสเตอร์ อาบูตัน นักมวยชาวฟิลิปปินส์ มนัสเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปในต้นยกที่ 5 หลังจากถูกหมัดขวาของฟอร์ดเข้าอย่างจังที่เบ้าตาซ้าย ในยกที่ 4 ทำให้เจ็บไม่สามารถชกต่อได้ ทำให้มนัสแพ้ครั้งแรกในการชกมวยสากลอาชีพชีวิตส่วนตัว ชีวิตส่วนตัว. มนัสเคยมีภรรยาคือ นางพจนีย์ บุญจำนงค์ (เกตุสวัสดิ์) และมีบุตรด้วยกัน 3 คน ภายหลังจากได้เหรียญทองโอลิมปิก 2004 มนัสได้มีปัญหากับภรรยา และแยกทางกันเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 หลังจากแยกทางกับนางพจนีย์แล้ว ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นางพจนีย์ก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายเพิ่มอีก 1 คน ซึ่งมนัส ยอมรับกับผู้สื่อข่าวว่า บุตรที่เกิดมาภายหลังนี้เป็นบุตรที่เกิดจากตนเช่นกัน จากการที่มักมีปัญหาเรื่องผู้หญิงและครอบครัวแบบนี้ซึ่งส่งผลกระทบถึงการชกมวย จึงทำให้สื่อมวลชนให้ฉายามนัสว่า "เพลย์บอยกลับใจ" ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีการอนุมัติให้มนัสเข้าบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจเนื่องจากสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ โดยจะให้ได้รับยศตามวุฒิการศึกษา นอกจากนี้แล้ว ในทางการเมือง ในการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มนัสได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมกับเพื่อนนักมวยอีก 3 คือ เขาทราย แกแล็คซี่, สมรักษ์ คำสิงห์ และเจริญทอง เกียรติบ้านช่อง โดยมนัสได้รับการจัดรายชื่อในบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 18 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ปัจจุบัน มนัสได้คบหากับแฟนคนปัจจุบัน คือ พิชยาภา พูนิสสัน (ชื่อเล่น: ปัด) หญิงชาวอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ทั้งคู่ร่วมกันทำธุรกิจด้วยกันด้วยการจำหน่ายขนมประเภทซีเรียลใช้ชื่อว่า "มิกซ์ซีเรียล ตราแชมเปี้ยน By มนัส บุญจำนงค์" ผ่านทางเฟซบุกและตามงานจัดเลี้ยงต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วมนัสยังมีธุรกิจเดินรถโดยสารวิ่งระหว่างจังหวัดราชบุรี-กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 คัน และโต๊ะสนุกเกอร์อีกด้วย โดยให้น้องชายและพ่อเป็นผู้ดูแล อีกทั้งยังได้รับเงินจำนวนกว่า 100,000 บาทต่อเดือน จากทั้งการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.), คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท โอสถสภา จำกัด ในฐานะที่เคยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศมาก่อน จนกระทั่งอายุ 60 ปีเครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์. - พ.ศ. 2547 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น ตติยดิเรกคุณาภรณ์
มนัส บุญจำนงค์ มีชื่อเล่นว่าอะไร
3650
{ "answer_end": [ 91 ], "answer_start": [ 79 ], "text": [ "สหรัฐอเมริกา" ] }
19810
การเต้นแท็ป การเต้นแท็ป หรือ แท็ปแดนซ์ () เป็นการเต้นรำชนิดหนึ่งถือกำเนิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปัจจุบันเป็นที่นิยมทั่วโลก ชื่อของการเต้นรำชนิดนี้เกิดมาจากเสียง "แท็ป แท็ป" จากแผ่นเหล็กภายใต้รองเท้าเต้นสัมผัสกับพื้น การเต้นรำชนิดนี้ไม่เพียงแต่ เป็นเพียงการแสดงเต้นรำ แต่รวมถึงการสร้างจังหวะเสียงเหมือนนักดนตรีอีกทางหนึ่งประวัติ ประวัติ. การเต้นแท็ปถือกำเนิดในเขตไฟว์พอยส์ในเมืองนิวยอร์กโดยเกิดจากการผสมผสานของของการเต้นรำของแอฟริกา ไอร์แลนด์ สวีเดนและอังกฤษ ทำให้เกิดการเต้นแท็ปในลักษณะของอเมริกันถือกำเนิดขึ้น และได้เป็นที่นิยมเมื่อมีการแสดงลักษณะวอเดอวิลล์ (Vaudeville) ในโรงละครบรอดเวย์ ซึ่งในช่วงเวลานั้น การเต้นแท็ป ยังคงเรียกว่า การเต้นแจ๊ส (jazz dance) เนื่องมาจากเพลงหลักที่ใช้ในแท็ปคือแจ๊สลักษณะเฉพาะของแท็ป ลักษณะเฉพาะของแท็ป. รองเท้าแท็ปจะมีแผ่นเหล็กสองแผ่นที่ปลายเท้าและส้นเท้าสำหรับสร้างจังหวะ จังหวะของแท็ปปกติจะใช้ที่ 8 จังหวะ (1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, หยุด, 1, 2, ...) และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจังหวะของตัวเอง แท็ปสามารถเต้นตามจังหวะของเพลง หรือขึ้นจังหวะเอกได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเพลงกำกับ ท่าเต้นพื้นฐานของแท็ปได้แก่- แฟลป เสียงจังหวะที่ปลายเท้าสัมผัสกับพื้น 1 จังหวะ และหยุด - บรัช เสียงจังหวะปลายเท้า 1 จังหวะ เหมือนกับการกวาดพื้นด้วยปลายเท้า - ชัฟเฟิล เสียงจังหวะที่ปลายเท้า 2 จังหวะ โดยเป็นการสะบัดปลายเท้าไปและกลับ (เหมือนกับ บรัชและย้อนกลับ) ตัวอย่างการผสมของท่าแท็ปพื้นฐาน อาจผสมได้หลายอย่างเช่น แฟลป 4 ครั้ง เป็น 8 จังหวะ หรือ ชัฟเฟิล 3 ครั้ง (6 จังหวะ) รวมกับเคาะที่ส้นเท้าอีก 2 จังหวะ
การเต้นแท็ปมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอะไร
3651
{ "answer_end": [ 828 ], "answer_start": [ 817 ], "text": [ "สร้างจังหวะ" ] }
19810
การเต้นแท็ป การเต้นแท็ป หรือ แท็ปแดนซ์ () เป็นการเต้นรำชนิดหนึ่งถือกำเนิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปัจจุบันเป็นที่นิยมทั่วโลก ชื่อของการเต้นรำชนิดนี้เกิดมาจากเสียง "แท็ป แท็ป" จากแผ่นเหล็กภายใต้รองเท้าเต้นสัมผัสกับพื้น การเต้นรำชนิดนี้ไม่เพียงแต่ เป็นเพียงการแสดงเต้นรำ แต่รวมถึงการสร้างจังหวะเสียงเหมือนนักดนตรีอีกทางหนึ่งประวัติ ประวัติ. การเต้นแท็ปถือกำเนิดในเขตไฟว์พอยส์ในเมืองนิวยอร์กโดยเกิดจากการผสมผสานของของการเต้นรำของแอฟริกา ไอร์แลนด์ สวีเดนและอังกฤษ ทำให้เกิดการเต้นแท็ปในลักษณะของอเมริกันถือกำเนิดขึ้น และได้เป็นที่นิยมเมื่อมีการแสดงลักษณะวอเดอวิลล์ (Vaudeville) ในโรงละครบรอดเวย์ ซึ่งในช่วงเวลานั้น การเต้นแท็ป ยังคงเรียกว่า การเต้นแจ๊ส (jazz dance) เนื่องมาจากเพลงหลักที่ใช้ในแท็ปคือแจ๊สลักษณะเฉพาะของแท็ป ลักษณะเฉพาะของแท็ป. รองเท้าแท็ปจะมีแผ่นเหล็กสองแผ่นที่ปลายเท้าและส้นเท้าสำหรับสร้างจังหวะ จังหวะของแท็ปปกติจะใช้ที่ 8 จังหวะ (1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, หยุด, 1, 2, ...) และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจังหวะของตัวเอง แท็ปสามารถเต้นตามจังหวะของเพลง หรือขึ้นจังหวะเอกได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเพลงกำกับ ท่าเต้นพื้นฐานของแท็ปได้แก่- แฟลป เสียงจังหวะที่ปลายเท้าสัมผัสกับพื้น 1 จังหวะ และหยุด - บรัช เสียงจังหวะปลายเท้า 1 จังหวะ เหมือนกับการกวาดพื้นด้วยปลายเท้า - ชัฟเฟิล เสียงจังหวะที่ปลายเท้า 2 จังหวะ โดยเป็นการสะบัดปลายเท้าไปและกลับ (เหมือนกับ บรัชและย้อนกลับ) ตัวอย่างการผสมของท่าแท็ปพื้นฐาน อาจผสมได้หลายอย่างเช่น แฟลป 4 ครั้ง เป็น 8 จังหวะ หรือ ชัฟเฟิล 3 ครั้ง (6 จังหวะ) รวมกับเคาะที่ส้นเท้าอีก 2 จังหวะ
แผ่นเหล็กสองแผ่นที่ปลายรองเท้าแท็ปมีไว้สำหรับทำอะไร
3652
{ "answer_end": [ 50 ], "answer_start": [ 32 ], "text": [ "สุริยุปราคาเต็มดวง" ] }
769980
สุริยุปราคา 20 มีนาคม พ.ศ. 2577 สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2577 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตรภาพ ภาพ. ภาพเคลื่อนไหวแนวเส้นทางอุปราคาที่เกี่ยวข้องสุริยุปราคา พ.ศ. 2576–2579ซารอส 130
ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2577 จะเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอะไร
3653
{ "answer_end": [ 135 ], "answer_start": [ 116 ], "text": [ "Nebrius ferrugineus" ] }
669124
ปลาฉลามพยาบาลสีน้ำตาล ปลาฉลามพยาบาลสีน้ำตาล หรือ ปลาฉลามขี้เซาสีน้ำตาล () เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nebrius ferrugineus (นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ปลาฉลามพยาบาล หรือ ปลาฉลามขี้เซา) อยู่ในวงศ์ Ginglymostomatidae เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Nebrius จัดเป็นปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes หรือปลาฉลามหน้าดินขนาดใหญ่ จะงอยปากยื่นยาว ตาเล็กมาก มีรูหายใจเล็ก ๆ อยู่หลังตา ครีบใหญ่ ปลายครีบแหลม ครีบอกโค้งยาว ครีบหางยาว มีครีบก้น ลำตัวสีน้ำตาลเข้มหรือสีเทาอมน้ำตาลอ่อน และอาจมีจุดกระสีดำเล็ก ๆ กระจายไปทั่ว ซึ่งในครั้งหนึ่งเคยสร้างความสับสนให้แก่แวดวงวิชาการว่ามี 2 ชนิดหรือไม่ แต่ในปัจจุบันได้จัดแบ่งออกมาเป็นอีกชนิด คือ ปลาฉลามพยาบาล (Ginglymostoma cirratum) ซึ่งเป็นปลาฉลามพยาบาลชนิดที่พบได้ในทวีปอเมริกา มีขากรรไกรที่แข็งแรง ในปากมีฟันที่แบนและงุ้มเข้าภายใน ใช้สำหรับงับอาหารซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กกว่าตามหน้าดินและสัตว์มีกระดองและมอลลัสคาต่าง ๆ รวมถึงหอยเม่นให้อยู่และกัดให้แตก โดยใช้อวัยวะที่คล้ายหนวดเป็นเครื่องนำทางและเป็นประสาทสัมผัส จะใช้วิธีการกินด้วยการดูดเข้าปาก เป็นปลาที่อาศัยและหากินตามพื้นน้ำในความลึกไม่เกิน 70 เมตร ตามกองหินหรือแนวปะการังใต้น้ำ บางครั้งพบได้ใกล้ชายฝั่งหรือป่าชายเลน เนื่องจากเข้ามาหาอาหารกิน ใช้เวลาหากินในเวลากลางคืน และนอนหลับตามโพรงถ้ำหรือกองหินในเวลากลางวัน เป็นปลาที่มักจะอยู่นิ่ง ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งบางครั้งอาจพบรวมตัวกันได้นับสิบตัว จัดเป็นปลาหน้าดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้แถบอินโด-แปซิฟิก เนื่องจากมีความยาวเกือบ 2 เมตร โดยปกติเป็นปลาที่ไม่ทำอันตรายมนุษย์ จึงเป็นที่ชื่นชอบของนักดำน้ำที่จะถ่ายรูปเช่นเดียวกับ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum) แต่ก็สามารถทำร้ายมนุษย์ได้ หากไปรบกวนเข้าด้วยการกัดและดูดที่ทรงพลัง ในน่านน้ำไทยจะพบได้มากที่ฝั่งทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยออกเป็นไข่ ซึ่งตัวอ่อนจะพัฒนาอยู่ในไข่ ออกลูกครั้งละประมาณ 2 ตัว ไม่เกิน 4 ตัว เนื่องจากมี 2 มดลูก โดยตัวอ่อนจะไม่ได้รับอาหารผ่านทางรก แต่จะได้รับอาหารจากถุงไข่แดงแทน ระยะเวลาในการเจริญเติบโตจนฟักเป็นประมาณ 6 เดือน ซึ่งเมื่อคลอดออกมาแล้ว ปลาฉลามพยาบาลสีน้ำตาลจะกัดกินกันเองจนเหลืออยู่เพียงตัวเดียวในมดลูกของแม่ เมื่อแรกเกิดมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร และมีจุดกระดำกระจายไปทั่ว เมื่อกลางปี พ.ศ. 2553 มีปลาฉลามพยาบาลสีน้ำตาลตกลูกในที่เลี้ยง (ไม่ใช่แหล่งน้ำธรรมชาติ) ที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ สงขลา จังหวัดสงขลา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและโลก และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งอื่น ๆ ที่มีเลี้ยงนั้น ได้แก่ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี และภายในสวนสัตว์ดุสิต หรือ เขาดินวนา ในกรุงเทพมหานคร
ปลาฉลามพยาบาลสีน้ำตาลมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอะไร
3654
{ "answer_end": [ 155 ], "answer_start": [ 132 ], "text": [ "ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์" ] }
275733
การเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ต การเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ต หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มูแล็งเดอลากาแล็ต () เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ จิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสต์คนสำคัญชาวฝรั่งเศส ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศสประวัติ ประวัติ. ภาพ “การเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ต” เป็นภาพเขียนชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของสมัยอิมเพรสชันนิสม์ที่เขียนในปี ค.ศ. 1876 เป็นภาพบรรยากาศบ่ายวันอาทิตย์ที่พบทั่วไปที่มูแล็งเดอลากาแล็ตในเขตมงมาทร์ในปารีส บ่ายวันอาทิตย์ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชนชั้นแรงงานในปารีสนิยมแต่งตัวกันอย่างสวยงามเพื่อออกไปสังสรรค์ เต้นรำ กินของหวาน (galette) กันจนค่ำ งานชิ้นนี้ก็เช่นเดียวกับงานชิ้นอื่นของเรอนัวร์ที่เป็นงานที่เป็นลักษณะของศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ที่เป็นภาพที่จับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชั่วขณะหนึ่งของชีวิตจริง ลักษณะของภาพเป็นการแสดงความสมบูรณ์ของรูปทรง และความอ่อนหวานของฝีแปรง และการแสดงแสงระยับของยามบ่าย ระหว่าง ค.ศ. 1879 ถึง ค.ศ. 1894 ภาพนี้เป็นสมบัติของจิตรกรฝรั่งเศส กุสตาฟว์ กายบ็อต (Gustave Caillebotte) เมื่อกายบ็อตเสียชีวิตภาพเขียนก็ตกไปเป็นสมบัติของสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นใช้เป็นค่าภาษีมรดก (Inheritance tax) ระหว่าง ค.ศ. 1896 ถึง ค.ศ. 1929 1896 to 1929 ภาพเขียนตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลักเซมเบิร์กในปารีส ตั้งแต่ ค.ศ. 1929 ภาพเขียนก็ถูกย้ายไปตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์จนกระทั่งย้ายไปยังพิพิธภัณฑ์ออร์แซในปี ค.ศ. 1986ภาพขนาดย่อ ภาพขนาดย่อ. เรอนัวร์เขียนภาพเดียวกันที่มีขนาดเล็กกว่า (78 × 114 เซนติเมตร) ที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมส่วนบุคคล ภาพนี้เป็นของจอห์น เฮย์ วิทนีย์อยู่หลายปี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ภรรยาหม้ายของวิทนีย์ก็ขายภาพเขียนในการประมูลที่ซัทเธอร์บีส์ในนครนิวยอร์กเป็นจำนวน 78 ล้านเหรียญสหรัฐแก่ซะอิโต เรียวเอ (Saitō Ryōei) ประธานของบริษัทผลิตกระดาษของญี่ปุ่น ในปีที่ขายภาพเขียนเป็นหนึ่งในสองภาพเขียนที่เป็นภาพเขียนที่มีราคาสูงที่สุดตั้งแต่มีประมูลภาพเขียนกันมา อีกภาพหนึ่งคือ "ภาพเหมือนของนายแพทย์กาเชต์" (Portrait of Dr. Gachet) ซึ่งก็ซื้อโดยะอิโต เรียวเอ เช่นกัน ในปี ค.ศ. 1991 ซะอิโต เรียวเอ สร้างความโกรธเคืองระดับโลกเมื่อกล่าวว่าจะเผาภาพเขียนทั้งสองภาพพร้อมกับการเผาศพตนเอง แต่หลังจากนั้น ซะอิโตและบริษัทก็ประสบกับปัญหาทางการเงินซึ่งทำให้ต้องใช้ภาพเขียนค้ำประกันกับธนาคาร ธนาคารขายภาพเขียนให้แก่ผู้ซื้อผู้ไม่ประสงค์จะออกนามผ่านซัทเธอร์บีส์ แม้ว่าจะไม่ทราบอย่างแน่นอนว่าเจ้าของภาพเขียนในปัจจุบันคือใครแต่สันนิษฐานกันว่าอยู่ในมือของนักสะสมชาวสวิส
ใครเป็นผู้วาดภาพเขียนสีน้ำมันที่มีชื่อว่าการเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ต
3655
{ "answer_end": [ 544 ], "answer_start": [ 538 ], "text": [ "รสชาติ" ] }
629499
โยเกิร์ตบัลแกเรีย โยเกิร์ตบัลแกเรีย (, kiselo mlyako; ) เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวชนิดหนึ่ง เดิมเป็นโยเกิร์ตประกอบด้วยนมล้วน แต่โยเกิร์ตบัลแกเรียได้ผ่านกรรมวิธีการทำนมเปรี้ยวด้วยแบคทีเรียที่ยังมีชีวิต ชื่อว่า Lactobacillus bulgaricus และ Streptococcus thermophiles กระบวนการหมักนมเปรี้ยวจะเสร็จสิ้นเมื่อโยเกิร์ตถูกทำให้เย็นลง และให้คงอุณหภูมิคงที่ไว้จะทำให้โยเกิร์ตเก็บไว้ได้นาน และจะเริ่มมีรสชาติที่เปรี้ยวยิ่งขึ้นจุดเด่น จุดเด่น. โยเกิร์ตบัลแกเรียคล้ายกับโยเกิร์ตทั่ว ๆ ไปที่ผลิตในคาบสมุทรบอลข่าน แต่สิ่งที่แตกต่างจากโยเกิร์ตทั่วไป นั่นคือ รสชาติแหล่งกำเนิด แหล่งกำเนิด. แหล่งกำเนิดของโยเกิร์ตบัลแกเรีย ยากที่จะพิสูจน์อย่างชัดเจน ซึ่งแท้จริงแล้ว ประเพณีของบัลแกเรียนิยมทำโยเกิร์ต ชาวบัลแกเรียดั้งเดิมนิยมบริโภคโยเกิร์ตปริมาณมากต่อหนึ่งคน และมีการบันทึกในประวัติศาสตร์ว่า มีการผลิตโยเกิร์ตคุณภาพดี รวมถึงการใช้ความหลากหลายที่เป็นเอกลักษณ์ของจุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ที่เรียกว่า Lactobacillus bulgaricus บางกระแสกล่าวกันว่า โยเกิร์ตมีต้นกำเนิดมาจากบัลแกเรีย แม้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ แต่บางส่วนของภูมิภาคบังแกเรียก็เป็นแหล่งเพาะปลูกและบริโภคโยเกิร์ต มายาวนานตั้งแต่ก่อนปีคริสต์ศักราช 3000 นักประวัติศาสตร์บางท่านก็มองว่า บริเวณคามสมุทรบอลข่านก็เปรียบเสมือนถิ่นกำเนิดของโยเกิร์ตเช่นกัน
โยเกิร์ตบัลแกเรียแตกต่างจากโยเกิร์ตทั่วไปที่อะไร
3656
{ "answer_end": [ 49 ], "answer_start": [ 38 ], "text": [ "ภูมิต้านทาน" ] }
97640
วัณโรคปอด วัณโรคปอดพบได้บ่อยในผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ (โดยเฉพาะคนไข้ติดเชื้อเอดส์) คนไข้เบาหวาน ตับแข็ง โรคไต ผู้ที่ติดยาเสพติด ดื่มเหล้าจัดหรือพบได้มากในบริเวณที่มีคนอยู่กันอย่างแออัด วัณโรคปอด (Tuberculosis,tubercle bacillus เรียกสั้นๆ ว่า "ทีบี") เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย(ประเภท acid-fast bacillus)ชื่อ ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซีส (Mycobacterium Tuberculosis) เชื้อตัวนี้สามารถก่อให้เกิดโรคได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย มิใช่เฉพาะที่ปอดอย่างเดียวการติดต่อ การติดต่อ. การติดต่อของโรคมักจะรับเชื้อเข้าไปในปอดโดยตรงจากการหายใจ การไอ การจาม หรือการพูดคุยกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี นอกจากจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังสามารถเพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ทำสำคัญการแพร่กระจายเชื้อมักจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากติดต่อได้ง่ายโดยระบบทางเดินหายใจอาการ อาการ. ใครที่มีอาการน่าสงสัยดังต่อไปนี้ ควรรีปไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบและวินิจฉัยโดยเร็ว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือเย็น เหงื่อออกตอนกลางวัน มีอาการเจ็บหน้าอก อาการไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์ หรือไอมีเสมหะปนเลือดการรักษา การรักษา. แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งเอกซเรย์ปอด เก็บเสมหะตรวจและเพาะเชื้อ เผื่อดูผลตรวจยืนยันว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ การรักษาในปัจจุบันมี่ความก้าวหน้าไปมาก วัณโรคปอดสามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยยาที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้เวลาเพียว 6 เดือนเท่านั้น ส่วนใหญ่หลังรักษาไปแล้ว 2 สัปดาห์ โอกาสแพร่เชื้อจะต่ำลงมากคนไข้สามารถทำงานได้ตามปกติ หากมุ่งหวังผลการรักษาที่สมบูรณ์ คนไข้จะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ตามชนิดและขาดที่แพทย์สั่งจนครบ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด มาเอกซเรย์และตรวจเสมหะตามกำหนดนัดของแพทย์ นอกจากการรับประทานยาแล้ว คนไข้ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ไข่ นม ผลไม้ งดสิ่งเสพติดทุกชนิดและมาพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการผื่นคัน ตัวเหลือง ตาเหลือง (ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากยาที่รับประทานอยู่) คนไข้ควรระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น เช่น การใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร ไอหรือจามใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากการป้องกัน การป้องกัน. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาจจะตรวจร่างกายโดยการเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละครั้ง ถ้าพบว่าเป็นจะได้รักษาก่อนที่โรคจะลุกลามบรรณานุกรม บรรณานุกรม. หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
วัณโรคปอดมักพบในผู้ป่วยที่มีสิ่งใดในร่างกายต่ำ
3657
{ "answer_end": [ 50 ], "answer_start": [ 25 ], "text": [ "ไม่ประพฤติตามจารีตประเพณี" ] }
453923
นอกรีต นอกรีต () หมายถึง ไม่ประพฤติตามจารีตประเพณี เป็นคำที่ใช้เรียกทรรศนะของผู้อื่นซึ่งขัดแย้งกับทรรศนะของตน ในโลกตะวันตกคริสตจักรโรมันคาทอลิกเริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงแนวความเชื่อใด ๆ ที่ขัดแย้งกับคำสอนต้องเชื่อที่คริสตจักรกำหนด ต่อมาคำนี้ถูกใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือเป็นข้อกล่าวหาที่คนกลุ่มหนึ่งใช้เรียกคนอีกฝ่ายหนึ่งที่มีความเชื่อขัดกับผู้กล่าวหา มักใช้ในกรณีที่มีการละเมิดกฎศาสนาหรือแบบแผนประเพณี ในทางการเมืองนักการเมืองหัวรุนแรงก็อาจใช้คำนี้กล่าวหาฝ่ายตรงข้าม คำนี้ยังมีความหมายโดยนัยถึงพฤติกรรมหรือความเชื่อที่อาจบ่อนทำลายศีลธรรมที่สังคมยอมรับกันอยู่ การนอกรีตต่างจากการละทิ้งความเชื่อซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อทางศาสนาหรือการเมืองเดิมของตน และต่างจากความผิดฐานเหยียดหยามศาสนา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกว่าไม่เคารพพระเป็นเจ้าหรือศาสนา แต่การนอกรีตนั้นรวมถึงการเชื่อในศาสนาแต่ต่างจากรูปแบบที่คนส่วนใหญ่ยอมรับศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธ. ในศาสนาพุทธเรียกความเชื่อนอกรีตว่า ติตถายตนะ หรือ มิจฉาทิฐิ (ทิฏฐิ) ติตถายตนะ 3 ได้แก่
นอกรีตแปลว่าอะไร
3658
{ "answer_end": [ 57 ], "answer_start": [ 29 ], "text": [ "กระบวนการทำลายเชื้อแบคทีเรีย" ] }
56489
พาสเจอร์ไรซ์ พาสเจอร์ไรซ์ คือกระบวนการทำลายเชื้อแบคทีเรียบางชนิด โดยผู้คิดค้นวิธีการนี้คือ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เขาสังเกตว่าไวน์ผลไม้ก่อนที่จะจำหน่ายบางส่วนนั้นมีรสชาติเปรี้ยวเนื่องจากกิจกรรมของจุลินทรีย์บางชนิด เขาจึงนำไวน์ดังกล่าวไปผ่านความร้อน 50 - 55 องศาเซลเซียส พบว่าไวน์กลับมามีรสชาติไม่เปรี้ยว เขาจึงสันนิษฐานว่า รสเปรี้ยวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสาเหตุมาจากอุปกรณ์ที่ใช้หมักไวน์มีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ หลักการนี้จึงนำมาใช้ในขั้นตอนการผลิตนมในปัจจุบัน เรียกว่า กระบวนการพลาสเจอร์ไรเซชันในที่สุดกระบวนการ กระบวนการ. ปัจจุบันการพาสเจอร์ไรเซซัน pasteurizationใช้เวลาและอุณหภูมิแตกต่างกัน เช่น อุณหภูมิ 62.8 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที หรือ 77 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที การใช้อุณหภูมิ และเวลานี้ยังไม่สามารถทำลายแบคทีเรียที่ทนร้อนอีกหลายชนิด จึงต้องเก็บผลิตภัณฑ์พาสเจอร์ไรซ์ไว้ที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญของเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น สำหรับนมที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อนี้จะมีคุณค่าสารอาหารเกือบเท่ากับ น้ำนมก่อนผ่านการฆ่าเชื้อ ตลอดจนรสชาติของนมจะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ น้ำนมตามธรรมชาติมากกว่าวิธีอื่น
พาสเจอร์ไรซ์คืออะไร
3659
{ "answer_end": [ 217 ], "answer_start": [ 196 ], "text": [ "ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์" ] }
684064
น้ำตากามเทพ น้ำตากามเทพ () เป็นละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2558 ประเภทละครชุดแนวเมโลดราม่าเสียดสีสังคม ผลิตโดยจีทีเอชและหับโห้หิ้น บางกอก สร้างเรื่อง-เขียนบทและกำกับโดย อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม นำแสดงโดย ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ อังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธา และ อภิษฎา เครือคงคา ออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียม จีทีเอชออนแอร์ และสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน จีเอ็มเอ็ม 25 เดิมทีละครเรื่องนี้ เป็นละครสั้นซ้อนภาพยนตร์ในเรื่อง รถไฟฟ้า มาหานะเธอ ที่ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2552 นำแสดงโดย ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ และ ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ แต่หลังจากภาพยนตร์ออกฉาย ละครเรื่องดังกล่าวก็ได้รับการพูดถึงอย่างมาก เนื่องจากมีเนื้อหาที่เสียดสีวงการละครไทยแทบทุกจุด รวมถึงกระแสที่อยากให้จีทีเอชนำกลับมาสร้างเป็นละครยาว ดังนั้นใน พ.ศ. 2557 จีทีเอชจึงนำละครเรื่องนี้มาทำใหม่เป็นละครชุดเต็มตัวเพื่อออกฉายใน พ.ศ. 2558 ภายหลังจากออกอากาศได้สักพัก ทางสถานีโทรทัศน์ จีเอ็มเอ็ม 25 ได้เปิดตัวโปรเจกต์ จีเอ็มเอ็ม 25 ละครสนุก ความสุข 2 ทุ่ม และได้นำละครเรื่องนี้มาออกอากาศใหม่ในทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.00 น. ในวันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน จนถึงวันอังคารที่ 29 กรกฎาคม 2558 ออกอากาศซ้ำทุกวันอังคาร-พุธ เวลา 9.30 น. และ 14.00 น. ในวันอังคารที่ 17 มิถุนายน จนถึงวันพุธที่ 30 กรกฎาคม 2558 เพื่อเป็นการปูทางให้ละครเรื่องถัดไปอย่าง I Wanna Be Sup'Tar วันหนึ่งจะเป็นซุปตาร์นักแสดงนักแสดงหลักนักแสดงสมทบนักแสดง. นักแสดงสมทบ. - ปิยะชาติ ทองอ่วม รับบท ตุ๊กติ๊ก (คนรับใช้) - จารุณี บุญเสก รับบท แมว (คนรับใช้) - จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร รับบท พิสิทธิ์ (พ่อของพิศาล) - จารุภัส ปัทมะศิริ รับบท ป้าช้อย (แม่ครัว) - ด.ญ.กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ รับบท อารยา (ตอนเด็ก) - ด.ญ.นภัสธนันท์ นิมจิรวัฒน์ รับบท ด.ญ. รำไพ อมราภรณ์ (หนูรำ) - ด.ญ.ชินารดี อนุพงษ์ภิชาติ รับบท เคท (เพื่อนของหนูรำ)รายชื่อตอน
นักแสดงคนใดที่แสดงเป็นพระเอกในละครโทรทัศน์ไทยเรื่องน้ำตากามเทพ
3660
{ "answer_end": [ 185 ], "answer_start": [ 166 ], "text": [ "อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม" ] }
684064
น้ำตากามเทพ น้ำตากามเทพ () เป็นละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2558 ประเภทละครชุดแนวเมโลดราม่าเสียดสีสังคม ผลิตโดยจีทีเอชและหับโห้หิ้น บางกอก สร้างเรื่อง-เขียนบทและกำกับโดย อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม นำแสดงโดย ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ อังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธา และ อภิษฎา เครือคงคา ออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียม จีทีเอชออนแอร์ และสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน จีเอ็มเอ็ม 25 เดิมทีละครเรื่องนี้ เป็นละครสั้นซ้อนภาพยนตร์ในเรื่อง รถไฟฟ้า มาหานะเธอ ที่ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2552 นำแสดงโดย ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ และ ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ แต่หลังจากภาพยนตร์ออกฉาย ละครเรื่องดังกล่าวก็ได้รับการพูดถึงอย่างมาก เนื่องจากมีเนื้อหาที่เสียดสีวงการละครไทยแทบทุกจุด รวมถึงกระแสที่อยากให้จีทีเอชนำกลับมาสร้างเป็นละครยาว ดังนั้นใน พ.ศ. 2557 จีทีเอชจึงนำละครเรื่องนี้มาทำใหม่เป็นละครชุดเต็มตัวเพื่อออกฉายใน พ.ศ. 2558 ภายหลังจากออกอากาศได้สักพัก ทางสถานีโทรทัศน์ จีเอ็มเอ็ม 25 ได้เปิดตัวโปรเจกต์ จีเอ็มเอ็ม 25 ละครสนุก ความสุข 2 ทุ่ม และได้นำละครเรื่องนี้มาออกอากาศใหม่ในทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.00 น. ในวันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน จนถึงวันอังคารที่ 29 กรกฎาคม 2558 ออกอากาศซ้ำทุกวันอังคาร-พุธ เวลา 9.30 น. และ 14.00 น. ในวันอังคารที่ 17 มิถุนายน จนถึงวันพุธที่ 30 กรกฎาคม 2558 เพื่อเป็นการปูทางให้ละครเรื่องถัดไปอย่าง I Wanna Be Sup'Tar วันหนึ่งจะเป็นซุปตาร์นักแสดงนักแสดงหลักนักแสดงสมทบนักแสดง. นักแสดงสมทบ. - ปิยะชาติ ทองอ่วม รับบท ตุ๊กติ๊ก (คนรับใช้) - จารุณี บุญเสก รับบท แมว (คนรับใช้) - จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร รับบท พิสิทธิ์ (พ่อของพิศาล) - จารุภัส ปัทมะศิริ รับบท ป้าช้อย (แม่ครัว) - ด.ญ.กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ รับบท อารยา (ตอนเด็ก) - ด.ญ.นภัสธนันท์ นิมจิรวัฒน์ รับบท ด.ญ. รำไพ อมราภรณ์ (หนูรำ) - ด.ญ.ชินารดี อนุพงษ์ภิชาติ รับบท เคท (เพื่อนของหนูรำ)รายชื่อตอน
ผู้กำกับของละครโทรทัศน์ไทยเรื่องน้ำตากามเทพคือใคร
3661
{ "answer_end": [ 27 ], "answer_start": [ 14 ], "text": [ "สิงห์รถบรรทุก" ] }
716246
สิงห์รถบรรทุก สิงห์รถบรรทุก เป็นภาพยนตร์ไทยที่สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยสร้างจากบทประพันธ์ของ เพชร สถาบัน นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี , มยุรา ธนะบุตร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558 บริษัท ป๊าสั่งย่าสอน จำกัด ได้นำเรื่องนี้มาสร้างในรูปแบบละครโทรทัศน์ ทางช่อง 7 และได้ ภูเขา เป็นผู้ดัดแปลงเป็นบทโทรทัศน์ นำแสดงโดย ชนะพล สัตยา , กวิตา รอดเกิด และนักแสดงอีกคับคั่ง กำกับการแสดงโดย นิรัตติศัย กัลย์จาฤก และ สุทธิพร เมธา ผลิตโดย บริษัท ป๊าสั่งย่าสอน จำกัด ออกอากาศทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลา 20.20 น. - 22.30 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7นักแสดงเพลงประกอบละครเพลงประกอบละคร. - ยาชูกำลัง(ใจ) ขับร้องโดย พลากร ปั้นบำรุงสุข - ลมสุดท้ายที่หายใจ ขับร้องโดย แด๊กซ์ ร็อคไรเดอร์
เพลงลมสุดท้ายที่หายใจ ของแด๊กซ์ ร็อคไรเดอร์ เป็นเพลงประกอบละครไทยเรื่องใด
3662
{ "answer_end": [ 383 ], "answer_start": [ 376 ], "text": [ "Drosera" ] }
257649
หยาดน้ำค้าง (สกุล) หยาดน้ำค้าง () เป็นพืชกินสัตว์สกุลใหญ่สกุลหนึ่ง ในวงศ์หญ้าน้ำค้าง มีประมาณ 194 ชนิด สามารถล่อ จับ และย่อยแมลงด้วยต่อมเมือกของมันที่ปกคลุมอยู่ที่ผิวใบ โดยเหยื่อที่จับได้จะใช้เป็นสารเสริมทดแทนสารอาหารที่ขาดไป พืชในสกุลหยาดน้ำค้างมีหลายรูปแบบและหลายขนาดต่างกันไปในแต่ละชนิด สามารถพบได้แทบทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ชื่อวิทยาศาสตร์ของหยาดน้ำค้าง คือ Drosera มาจากคำในภาษากรีก δρόσος: "drosos" แปลว่า "หยดน้ำ หรือ น้ำค้าง" รวมทั้งชื่อในภาษาอังกฤษ "sundew" กลายมาจาก ros solis ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า "น้ำตาพระอาทิตย์" โดยมีที่มาจากเมือกบนปลายหนวดแต่ละหนวดที่แวววาวคล้ายน้ำค้างยามเช้า ในประเทศไทยพบหยาดน้ำค้างอยู่ 3 ชนิดคือ จอกบ่วาย (Drosera burmannii Vahl), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica L.) และ หญ้าไฟตะกาด (Drosera peltata Sm.)ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์. หยาดน้ำค้างเป็นพืชหลายปี (มีไม่กี่ชนิดที่เป็นพืชปีเดียว) โตชั่วฤดู มีรูปแบบเป็นใบกระจุกทอดนอนไปกับพื้นหรือแตกกิ่งก้านตั้งตรงกับพื้นดิน มีขนาดความสูง 1 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ขึ้นอยู่กับชนิด ในชนิดที่มีรูปแบบลำต้นเลื้อยไต่สามารถยาวได้ถึง 3 เมตร เช่น ชนิด D. erythrogyne หยาดน้ำค้างสามารถมีช่วงชีวิตได้ถึง 50 ปี พืชสกุลนี้มีความสามารถในการดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้เพราะหยาดน้ำค้างขนาดเล็กจะไม่มีเอนไซม์ (โดยเฉพาะไนเตรทรีดักเตส) ที่ต้นไม้ทั่วไปใช้ดูดซึมสารประกอบไนโตรเจนในดินลักษณะวิสัย ลักษณะวิสัย. สกุลสามารถแบ่งได้ตามรูปแบบการเจริญเติบโต:- หยาดน้ำค้างเขตอบอุ่น (Temperate Sundews): เป็นชนิดที่เป็นกลุ่มใบคลี่ออกหนาแน่นหรือที่เรียกว่าหน่องันที่จำศลีในฤดูหนาว มีถิ่นอาศัยในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป Drosera arcturi จากออสเตรเลีย (รวมทั้งแทสมาเนีย) และนิวซีแลนด์เป็นอีกหนึ่งชนิดของหยาดน้ำค้างเขตอบอุ่นที่ตายลงกลับไปสู่หน่องันรูปเขาสัตว์ - หยาดน้ำค้างใกล้เขตร้อน (Subtropical Sundews): หยาดน้ำค้างชนิดนี้เป็นการเติบโตไม่อาศัยเพศมีวงจรการเติบโตเพียงหนึ่งรอบปีภายใต้ภูมิอากาศใกล้เขตร้อนหรือเกือบใกล้เขตร้อน - หยาดน้ำค้างแคระ (Pygmy Sundews): มีประมาณ 40 ชนิดในออสเตรเลีย มีขนาดเล็กมาก มีการสร้างหน่อ (เจมมา) สำหรับการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และมีขนหนาแน่นบริเวณกะบังรอบตรงกลาง ซึ่งขนเหล่านี้ใช้ปกป้องต้นไม้จากแสงอันร้อนแรงของพระอาทิตย์ในฤดูร้อนของทวีปออสเตรเลีย หยาดน้ำค้างแคระได้รับการจัดเป็นสกุลย่อย Bryastrum - หยาดน้ำค้างมีหัว (Tuberous Sundews): มีเกือบ 50 ชนิดในประเทศออสเตรเลีย ที่มีหัวอยู่ใต้ดินเพื่อจะได้มีชีวิตรอดจากฤดูร้อนที่สุดโต่งในถิ่นที่อยู่อาศัย และจะแตกใบใหม่ในฤดูใบไม้ร่วง แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือลำต้นใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อนและลำต้นแบบเลื้อยไต่ หยาดน้ำค้างมีหัวได้รับการจัดเป็นสกุลย่อย Ergaleium - หยาดน้ำค้าก้านใบเป็นปมตรงปลาย (Petiolaris Complex): กลุ่มของหยาดน้ำค้างเขตร้อนของประเทศออสเตรเลียที่ถิ่นอาศัยมีอากาศอบอุ่นคงที่แต่ปัจัยความเปียกชื้นไม่สม่ำเสมอ มีประมาณ 14 ชนิดที่วิวัฒนาการเป็นพิเศษเพื่อรับมือกับสิ่งแวดล้อมแห้งแล้งแต่ผันผวนนั้น เช่น มีขนปกคลุมก้านใบหนาแน่น ซึ่งจะรักษาความชุ่มชื้นไว้ และเพิ่มผิวสำหรับการควบแน่นน้ำค้างยามเช้า ถึงแม้ว่าหยาดน้ำค้างเหล่านี้ไม่ได้เป็นรูปแบบการเจริญเติบโตแบบเดียวกันอย่างชัดเจน แต่มักจะรวบกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน:- หยาดน้ำค้างควีนแลนด์ (Queensland Sundews): เป็นกลุ่มเล็กมี 3 ชนิด (D. adelae D. schizandra และ D. prolifera) ทั้งหมดเติบโตในถิ่นที่อยู่ที่มีความชื้นสูงในร่มเงาของป่าฝนประเทศออสเตรเลียใบและกับดัก ใบและกับดัก. หยาดน้ำค้างมีต่อมหนวดจับ ที่ปลายของหนวดมีสารคัดหลั่งเหนียวปกคลุมแผ่นใบ กลไกการจับและย่อยเหยื่อปกติใช้ต่อมสองชนิด ชนิดแรกคือต่อมมีก้านที่หลั่งเมือกรสหวานออกมาดึงดูดและดักจับแมลง และหลั่งเอนไซม์ออกมาเพื่อย่อยแมลงนั้น ชนิดที่สองคือต่อมไร้ก้านที่ดูดซึมสารอาหารที่ได้จากการย่อย (หยาดน้ำค้างบางชนิดไม่มีต่อมไร้ก้าน เช่น D. erythrorhiza) เหยื่อขนาดเล็กซึ่งส่วนมากจะเป็นแมลงจะถูกดึงดูดโดยสารคัดหลั่งรสหวานที่หลั่งออกมาจากต่อมมีก้าน เมื่อแมลงแตะลงบนหนวด แมลงก็จะถูกจับไว้ด้วยเมือกเหนียว และในที่สุดเหยื่อก็จะยอมจำนนต่อความตายด้วยความเหนื่อยอ่อนหรือการขาดอากาศหายใจเพราะเมือกจะห่อหุ้มตัวและอุดทางเดินหายใจของเหยื่อนั้น ซึ่งส่วนมากจะกินเวลา 15 นาที ต้นไม้จะหลั่งเอนไซม์ esterase, peroxidase, phosphatase และ proteaseออกมา เอนไซม์เหล่านี้จะย่อยและปลดปล่อยสารอาหารออกจากแมลง สารอาหารจะถูกดูดซึมผ่านทางผิวใบเพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ต่อไป หยาดน้ำค้างทุกชนิดสามารถเคลื่อนไหวหนวดของมันได้ ซึ่งการเคลื่อนไหวนั้นจะตอบสนองต่อการสัมผัสของเหยื่อ หนวดจะไวต่อการกระตุ้นอย่างมากและจะงอเข้าหากลางใบเพื่อนำเหยื่อมาสัมผัสกับต่อมมีก้านให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตามคำกล่าวของชาลส์ ดาร์วิน การสัมผัสของขาแมลงขนาดเล็กกับหนวดของหยาดน้ำค้างเพียงหนวดเดียวก็เพียงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองนั้นได้ การตอบสนองต่อการสัมผัสเรียกว่าทิกมอทรอปิซึม (thigmotropism, การเคลื่อนไหวของพืชโดยมีสัมผัสเป็นสิ่งเร้า) และในหยาดน้ำค้างบางชนิดการตอบสนองนี้จะเกิดรวดเร็วมาก หนวดรอบนอกของ D. burmannii และ D. sessilifolia สามารถงอเข้าสู่ภายในภายในไม่กี่วินาทีเมื่อถูกสัมผัส ในขณะที่ D. glanduligera สามารถงอหนวดรัดเหยื่อได้ในสิบวินาที หยาดน้ำค้างบางชนิดสามารถงอแผ่นใบได้หลายองศาเพื่อให้สัมผัสเหยื่อมากที่สุด D. capensis มีการเคลื่อนไหวที่น่าทึ่งที่สุด ใบของมันจะงอล้อมรอบตัวเหยื่อได้ใน 30 นาที และในหยาดน้ำค้างบางชนิดอย่างเช่น D. filiformis ไม่สามารถงอใบตอบสนองเหยื่อได้ ในหยาดน้ำค้างในออสเตรเลียบางชนิด (D. hartmeyerorum, D. indica) มีรูปแบบขนติ่ง (แข็งมีสีแดงหรือเหลือง) เพิ่มเข้ามา ซึ่งอาจจะใช้ในการช่วยจับเหยื่อ แต่หน้าที่แท้จริงของมันนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด รูปร่างสัณฐานของใบในสกุลหยาดน้ำค้างนั้นมีความหลากหลายแบบสุดโต่ง มีตั้งแต่ใบรูปไข่ไร้ก้านของ D. erythrorhiza จนถึงใบรูปเข็มกึ่งแบบขนนกสองชั้นของ D. binataดอกและผล ดอกและผล. ดอกของหยาดน้ำค้างคล้ายกับพืชกินสัตว์ชนิดอื่นๆที่ชูดอกอยู่เหนือใบของมันด้วยก้านดอกที่ยาว การที่ดอกและกับดักอยู่ห่างกันนั้นน่าจะเกิดจากการปรับตัวเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้พาหะถ่ายเรณูมาติดกับดักของมัน อย่างไรก็ตาม มีการแสดงว่าหยาดน้ำค้างดึงดูดแมลงต่างชนิดกันสำหรับพาหะถ่ายเรณูและเหยื่อซึ่งชนิดของแมลงทั้งสองประเภทนั้นคาบเกี่ยวกันเพียงเล็กน้อย ความสูงของก้านดอกนั้นอาจเป็นไปได้ที่ใช้ยกดอกให้สูงขึ้นเพื่อให้พาหะถ่ายเรณูสนใจ ส่วนมากช่อดอกจะเป็นช่อเชิงลด ดอกจะบานออกโดยการตอบสนองต่อความเข้มของแสง(เปิดเฉพาะเมื่อได้รับแสงแดดโดยตรง)และดอกจะเบนตามแสงแดดโดยตอบสนองต่อพระอาทิตย์ ดอกของหยาดน้ำค้างจะเป็นวงกลมสมมาตรกัน มีห้ากลีบ (ยกเว้นในบางชนิดที่มีสี่กลีบดอก; D. pygmaea และแปดถึงสิบสองกลีบดอก; D. heterophylla) โดยมากมีดอกขนา
ต้นหยาดน้ำค้างมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอะไร
3664
{ "answer_end": [ 184 ], "answer_start": [ 168 ], "text": [ "ทรัพยากรธรรมชาติ" ] }
74435
ดาวเทียมไทยโชต ดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) หรือ ดาวเทียมธีออส (THEOS: Thailand Earth Observation Satellite) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ. หรือ GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท อี เอ ดี เอส แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6,000 ล้านบาท นับเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชื่อเรียก ชื่อเรียก. ชื่อ THEOS มาจากคำย่อภาษาอังกฤษว่า Thailand Earth Observation Satellite หมายถึง ระบบสำรวจพื้นผิวโลกโดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียมของประเทศไทย โดยพ้องกับภาษากรีก แปลว่า พระเจ้า วันที่ 20 มกราคม 2554 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีหนังสือไปยัง สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อขอพระราชทานชื่อใหม่ให้ดาวเทียม THEOS ต่อมา วันที่ 18 มกราคม 2555 สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือตอบกลับความว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดาวเทียมดังกล่าว ว่า ไทยโชต และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Thaichote ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2554 สืบไป โดยมีความหมายว่า "ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง"ลักษณะ ลักษณะ. ดาวเทียมไทยโชต เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม เป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit: LEO) โคจรสูงจากพื้นโลกประมาณ 820 กิโลเมตร โคจรรอบโลกซ้ำแนวโคจรเดิมทุก 26 วัน มีอายุทางเทคโนโลยีขั้นต่ำ 5 ปี แต่อายุการใช้งานจริงมากกว่านั้น มีกล้องถ่ายภาพ 2 กล้อง ใช้ระบบซีซีดี สามารถบันทึกภาพจากการสะท้อนแสงของพื้นโลก (ต้องการแสงอาทิตย์) ได้ทั้ง ภาพแบบขาวดำ (Panchromatic) ที่รายละเอียด 2 เมตร ความกว้างของภาพที่มุมตั้งฉากกับพื้นผิวโลก 22 กม. และภาพแบบหลายช่วงคลื่น (Multispectral) เพื่อนำมาแสดงร่วมกันให้เห็นเป็นภาพสี จำนวน 4 ช่วงคลื่น ที่รายละเอียด 15 เมตร ความกว้างของภาพที่มุมตั้งฉากกับพื้นผิวโลก 90 กิโลเมตร ได้แก่ 3 ช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น (ช่วงคลื่นแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน) และ 1 ช่วงคลื่น ใกล้อินฟราเรด (Near IR)การส่งขึ้นสู่อวกาศ การส่งขึ้นสู่อวกาศ. ดาวเทียมธีออส ขึ้นสู่อวกาศ วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลาในประเทศไทย 13:37:16 น. หรือ 6:37:16 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC) โดยจรวดนำส่ง เนปเปอร์ (Dnepr) ของบริษัท ISC Kosmotras ประเทศยูเครน จากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย เหตุการณ์การส่งดาวเทียมไม่สามารถถ่ายทอดสดได้ เนื่องจากฐานส่งจรวดที่เมืองยาสนีเป็นเขตทหาร จึงเป็นการรายงานสดทางโทรศัพท์มายังสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จรวดถูกยิงสู่ท้องฟ้าจากไซโลด้วยแรงขับเคลื่อนของจรวดท่อนที่ 1 ไปทางทิศใต้ตามแนวขั้วโลกมีมุมเอียงไปทางตะวันตก 8.9 องศา จรวดท่อนที่ 1 ขับเคลื่อนจากพื้นดินเป็นเวลา 110 วินาทีขึ้นไปที่ระดับสูง 60 กิโลเมตร แล้วแยกตัวออกและตกลงสู่พื้นโลกที่ประเทศคาซัคสถาน ต่อจากนั้นจรวดท่อนที่ 2 ขับเคลื่อนและนำดาวเทียมขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลา 180 วินาที ได้ระดับความสูง 300 กิโลเมตร หรือเมื่อผ่านไป 290 วินาทีจาก Lift-off แล้วจรวดท่อนที่ 2 แยกตัวและตกลงในมหาสมุทรอินเดีย จรวดส่วนสุดท้ายพร้อมดาวเทียม เคลื่อนต่อไปตามวิถีการส่งจนถึงระดับความสูง 690 กิโลเมตร ดาวเทียมแยกตัวออกมาโคจรเป็นอิสระจากจรวดส่วนสุดท้าย ที่เวลาในประเทศไทย 15:09 น. สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมที่เมืองคิรูนา (Kiruna) ประเทศสวีเดน จะเป็นสถานีแรกที่ติดต่อกับดาวเทียมได้ (First Contact) ต่อจากนั้นดาวเทียมโคจรผ่านประเทศไทยครั้งแรก เวลา 21:16 น. ซึ่งสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา เริ่มปฏิบัติการควบคุมการโคจรดาวเทียมและตรวจสอบการทำงานต่างๆ เพื่อให้ดาวเทียม THEOS มีความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน อันเป็นงานและภารกิจหลักในการให้บริการข้อมูลดาวเทียมแก่หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศสถานีรับสัญญาณ สถานีรับสัญญาณ. สถานีรับสัญญาณดาวเทียมอยู่ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และสถานีควบคุมดาวเทียม อยู่ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีผลประโยชน์ผลประโยชน์. - สิทธิการใช้งาน ตัวดาวเทียมธีออส และสถานีควบคุมและรับสัญญาณภาคพื้นดิน- ใช้สำรวจทรัพยากรทั้งภายในประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน แสดงความประสงค์นำข้อมูลดาวเทียมธีออสไปใช้ประโยชน์ในการสำรวจหาข้อมูล และใช้ทำแผนที่ในภารกิจที่รับผิดชอบ เช่น เช่น การสำรวจหาชนิดของพืชผลการเกษตร, การประเมินหาผลผลิตการเกษตร, การสำรวจหาพื้นที่ป่าไม้, การสำรวจหาพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทำลาย, การสำรวจหาพื้นที่ป่าถูกไฟไหม้, การสำรวจหาพื้นที่สวนป่า, การสำรวจหาชนิดป่า, การสำรวจหาพื้นที่ทำนากุ้งและประมงชายฝั่ง, การสำรวจหามลพิษจากคราบน้ำมันในทะเล, การสำรวจหาแหล่งน้ำ, การสำรวจหาแหล่งชุมชน, การสำรวจหาพื้นที่ปลูกฝิ่น, การวางผังเมือง, การสร้างถนนและวางแผนจราจร, การทำแผนที่, การสำรวจหาบริเวณที่เกิดอุทกภัย, การสำรวจหาพื้นที่ที่เกิดดินถล่ม, การสำรวจหาพื้นที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ - ลดค่าใช้จ่ายการสั่งซื้อภาพจากดาวเทียมต่างประเทศ และสามารถขายข้อมูลการสำรวจทรัพยากรระหว่างประเทศ- ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการออกแบบและสร้างดาวเทียม แก่บุคลากรไทย- การพัฒนาระบบดาวเทียม ระบบภาคพื้นดิน การควบคุมรับสัญญาณ และการจัดทำผลิตภัณฑ์ภาพ - ได้สิทธิ์ในการรับสัญญาณและการให้บริการข้อมูลดาวเทียม SPOT-2, 4, และ 5 ก่อนดาวเทียมธีออสจะขึ้นสู่อวกาศ - ได้สิทธิ์ในการพัฒนาบุคลากร ทั้งจากการได้ทุนการศึกษา ตลอดระยะเวลา 10 ปี โดยเป็นทุนฝึกอบรมในฝรั่งเศส สำหรับเจ้าหน้าที่ไทย ในด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและการประยุกต์ใช้ จำนวน 80 ทุน และทุนการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก จำนวนทั้งสิ้น 24 ทุน นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากฝรั่งเศสจะเดินทางมาเพื่ออบรม และจัดสัมมนาให้แก่เจ้าหน้าที่ไทยทุกปี
ดาวเทียมไทยโชตเป็นดาวเทียมที่ใช้สำรวจอะไร
3665
{ "answer_end": [ 55 ], "answer_start": [ 45 ], "text": [ "นิวซีแลนด์" ] }
42709
หมู่เกาะคุก หมู่เกาะคุก เป็นเขตปกครองตนเองของนิวซีแลนด์ ประกอบไปด้วยเกาะเล็ก ๆ 15 เกาะ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 240 ตาราง กิโลเมตร รายได้สำคัญของหมู่เกาะคุกมาจากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของประเทศ เนื่องด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังมีการส่งผลไม้ขายออกนอกประเทศอีกด้วย
หมู่เกาะคุกเป็นเขตปกครองตนเองของประเทศใด
3666
{ "answer_end": [ 81 ], "answer_start": [ 79 ], "text": [ "15" ] }
42709
หมู่เกาะคุก หมู่เกาะคุก เป็นเขตปกครองตนเองของนิวซีแลนด์ ประกอบไปด้วยเกาะเล็ก ๆ 15 เกาะ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 240 ตาราง กิโลเมตร รายได้สำคัญของหมู่เกาะคุกมาจากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของประเทศ เนื่องด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังมีการส่งผลไม้ขายออกนอกประเทศอีกด้วย
หมู่เกาะคุกประกอบไปด้วยเกาะกี่เกาะ
3667
{ "answer_end": [ 137 ], "answer_start": [ 133 ], "text": [ "2553" ] }
320722
เราสองสามคน เราสองสามคน (อังกฤษ : That Sounds Good) เป็นภาพยนตร์ไทย แนวรักโรแมนติก ผลิตโดย เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ กำหนดออกฉาย 24 มิถุนายน 2553 ผลงานการกำกับโดย เรียว กิตติกร เลียวศิริกุล นำแสดงโดย เจ มณฑล รมิตา มหาพฤกษ์พงศ์ รัตนรัตน์ เอื้อทวีกุลเนื้อเรื่องย่อ เนื้อเรื่องย่อ. เมื่อ สุนทรีย์ (พลอย รัตนรัตน์) สาวหูตึงหลงรักหนุ่มออฟโรดที่ชื่อ ส้มฉุน (เจ มณฑล) ในทริปคาราวานทัวร์ออฟโรดไป เวียดนาม...ในระหว่างการเดินทางเธอได้ปะติดต่อเรื่องราวความรักของเธอกับ ส้มฉุนด้วยความเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างเพราะเครื่องช่วยฟังไม่ค่อย ชัดนัก…สุนทรีย์กลับพบว่าเต๋อเพื่อนสาวสายตาสั้นจอมเฟอะฟะที่ ร่วมเดินทางมาพร้อมกันในครั้งนี้คือคนที่ส้มฉุนจีบและทั้งสองแอบใจตรงกัน "แต่ความรู้สึกของเต๋อละ" เธอจะทำยังไงกับความรู้สึกของเธอ…นักแสดงนักแสดง. - มณฑล จิรา รับบท ส้มฉุน - รัตนรัตน์ เอื้อทวีกุล รับบท สุนทรีย์ - รมิตา มหาพฤกษ์พงศ์ รับบท เต๋อเพลงประกอบภาพยนตร์เพลงประกอบภาพยนตร์. - เพลง "เราสองสามคน" โดย อัสนี-วสันต์ - เพลง "เพราะเรานั้นคู่กัน" โดย แบล็คเฮด (ต้นฉบับ คาไลโดสโคป) - เพลง "I Love You" โดย มณฑล จิรา (ต้นฉบับ Ippudo) - เพลง "คนล่าฝัน" โดย อัมรินทร์ นิติพน (ต้นฉบับ คาราบาว)
ภาพยนตร์ไทยเรื่องเราสองสามคน ออกฉายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ใด
3668
{ "answer_end": [ 301 ], "answer_start": [ 287 ], "text": [ "พลอย รัตนรัตน์" ] }
320722
เราสองสามคน เราสองสามคน (อังกฤษ : That Sounds Good) เป็นภาพยนตร์ไทย แนวรักโรแมนติก ผลิตโดย เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ กำหนดออกฉาย 24 มิถุนายน 2553 ผลงานการกำกับโดย เรียว กิตติกร เลียวศิริกุล นำแสดงโดย เจ มณฑล รมิตา มหาพฤกษ์พงศ์ รัตนรัตน์ เอื้อทวีกุลเนื้อเรื่องย่อ เนื้อเรื่องย่อ. เมื่อ สุนทรีย์ (พลอย รัตนรัตน์) สาวหูตึงหลงรักหนุ่มออฟโรดที่ชื่อ ส้มฉุน (เจ มณฑล) ในทริปคาราวานทัวร์ออฟโรดไป เวียดนาม...ในระหว่างการเดินทางเธอได้ปะติดต่อเรื่องราวความรักของเธอกับ ส้มฉุนด้วยความเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างเพราะเครื่องช่วยฟังไม่ค่อย ชัดนัก…สุนทรีย์กลับพบว่าเต๋อเพื่อนสาวสายตาสั้นจอมเฟอะฟะที่ ร่วมเดินทางมาพร้อมกันในครั้งนี้คือคนที่ส้มฉุนจีบและทั้งสองแอบใจตรงกัน "แต่ความรู้สึกของเต๋อละ" เธอจะทำยังไงกับความรู้สึกของเธอ…นักแสดงนักแสดง. - มณฑล จิรา รับบท ส้มฉุน - รัตนรัตน์ เอื้อทวีกุล รับบท สุนทรีย์ - รมิตา มหาพฤกษ์พงศ์ รับบท เต๋อเพลงประกอบภาพยนตร์เพลงประกอบภาพยนตร์. - เพลง "เราสองสามคน" โดย อัสนี-วสันต์ - เพลง "เพราะเรานั้นคู่กัน" โดย แบล็คเฮด (ต้นฉบับ คาไลโดสโคป) - เพลง "I Love You" โดย มณฑล จิรา (ต้นฉบับ Ippudo) - เพลง "คนล่าฝัน" โดย อัมรินทร์ นิติพน (ต้นฉบับ คาราบาว)
นักแสดงคนใดได้รับบทสุนทรีย์ ในภาพยนตร์ไทยเรื่องเราสองสามคน
3669
{ "answer_end": [ 175 ], "answer_start": [ 163 ], "text": [ "สหรัฐอเมริกา" ] }
258920
โอลิมปิกฤดูหนาว 1960 มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 8 ประจำปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) () เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 8 จัดขึ้น ณ เมืองสควอว์วัลเลย์ สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 18-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ. - Innsbruck (AUT) - St. Moritz (SUI) - Garmisch-Partenkirchen (GER)ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาที่แข่งขันกีฬาที่แข่งขัน. - Biathlon - Ice Hockey - Skating - Skiingสรุปเหรียญการแข่งขัน สรุปเหรียญการแข่งขัน. ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 8 ประจำปี ค.ศ. 1960 จัดขึ้นที่ประเทศใด
3672
{ "answer_end": [ 91 ], "answer_start": [ 77 ], "text": [ "พระเจ้าเมงจีโย" ] }
908058
พระนางรัตนาเทวีแห่งตองอู พระนางรัตนาเทวีแห่งตองอู (, ) หนึ่งในห้าพระมเหสีของ พระเจ้าเมงจีโย ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์ตองอู และเป็นพระมารดาของ พระนางอตุลสิริมหาราชเทวี พระอัครมเหสีใน พระเจ้าบุเรงนอง มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า ขิ่นเว
พระนางรัตนาเทวีแห่งตองอูเป็นหนึ่งในห้าพระมเหสีของกษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูพระองค์ใด
3673
{ "answer_end": [ 101 ], "answer_start": [ 84 ], "text": [ "Cardcaptor Sakura" ] }
14447
ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์ การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ () หรือที่รู้จักกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Cardcaptor Sakura โดยมักเขียนในรูปอักษรย่อว่า CCS เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงที่มีพลังพิเศษ ผลงานของกลุ่มนักเขียน แคลมป์ การ์ตูนเรื่องนี้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โคดันฉะ ความยาวทั้งหมด 12 เล่มจบ และยังมีมังงะภาคต่อใช้ชื่อว่า "ภาคเคลียร์การ์ด" ทางด้านการ์ตูนอะนิเมะ (ออกอากาศเมื่อปี ค.ศ. 1998 - ค.ศ. 2000) มีพื้นเรื่องมาจากหนังสือการ์ตูนประกอบไปด้วยตอนทั้งหมด 70 ตอน ตอนละครึ่งชั่วโมง และกับอีก 2 ตอนพิเศษ แต่เมื่อปี 2017 ได้ทำอะนิเมะในรูปแบบ OVA ที่เป็นตอนจบตามมังงะ และหลังจากนี้ในปี 2018 ได้มีการทำอะนิเมะภาคต่อใช้ชื่อว่า "ภาคเคลียร์การ์ด" เรื่องราวของเรื่องเริ่มต้นจากความฝันที่จะบอกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ คล้ายกับเรื่อง เมจิกไนท์ เรย์เอิร์ธ ผลงานก่อนหน้าของกลุ่มแคลมป์ ถึงแม้เนื้อหาของ การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จะเปลี่ยนไป แต่ก็ยังจัดอยู่ในการ์ตูนประเภทเดียวกัน ทางด้านตัวละครของเรื่องแล้ว การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จัดได้ว่าได้รับความนิยมจากผู้ที่ชื่นชอบบนอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มประเภทของ ยาโออิ, โชโจะ, ยูริ,โลลิค่อน และ โมเอะ ตัวละครส่วนใหญ่ในเรื่อง การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จะไปปรากฏอยู่ในหนังสือการ์ตูนอีกเรื่องหนึ่งของทีมแคลมป์ นั่นคือ สึบาสะ สงครามเทพข้ามมิติเนื้อเรื่อง เนื้อเรื่อง. เรื่องราวเริ่มจากเด็กผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง อายุ 10 ขวบ ชื่อว่า ซากุระ คิโนโมโตะ ได้พบกับหนังสือการ์ดเล่มหนึ่งในห้องทำงานชั้นใต้ดินของพ่อของเธอ และทำการเปิดมันออก เป็นเหตุให้การ์ดทั้งหมดในหนังสือกระจายหายไปตามที่ต่าง ๆ ของเมือง ด้วยเหตุนี้เองทำให้เธอต้องรับผิดชอบโดยการตามหาการ์ดที่หายไปทั้งหมด ซึ่งในการค้นหาการ์ดแต่ละใบนั้นเธอต้องใช้พลังเวทมนตร์ เข้าต่อสู้กับการ์ดก่อนที่จะทำการเปลี่ยนให้การ์ดกลับคืนสู่สภาพเดิม โดยมีผู้ช่วยคือ เคลเบรอส หรือที่รู้จักในชื่อว่า เคโระจัง ซึ่งจะคอยให้คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับการ์ด และ วิธีการใช้การ์ดต่าง ๆ ในตอนที่ 1 เขาได้มอบกุญแจผนึกกับเธอเพื่อใช้ในการต่อสู้และจับการ์ดภาคโคลว์การ์ด ภาคโคลว์การ์ด. ภาคโคลว์การ์ด () ประกอบด้วย ภาคแรก และ ภาค 2 (ในการ์ตูนอะนิเมะะจะอยู่ระหว่างตอนที่ 1-46 ส่วนหนังสือการ์ตูนจะอยู่ในเล่มที่ 1 ถึงเล่มที่ 6) เนื้อเรื่องในตอนแรก ๆ ซากุระจะเป็นผู้ทำการต่อสู้และเปลี่ยนการ์ดกลับคืนสภาพเดิมโดยมี เคลเบรอสเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ นอกจากนี้ยังมี โทโมโยะ ไดโดจิ เพื่อนร่วมชั้นของเธอคอยติดตามมาด้วย เธอจะเป็นคนคอยออกแบบชุดต่อสู้ต่าง ๆ ให้แก่ซากุระใส่และคอยถ่ายวิดีโอการผจญภัยต่าง ๆ ของเธอ หลังจากตอนที่ 8 ซากุระได้พบกับคู่แข่งชื่อว่า ลี่ เชาหลาง เขามีสายเลือดของโคลว์รีด เดินทางมาจากฮ่องกงเพื่อตามหาการ์ด ในการ์ตูนอะนิเมะ เขาจะมาปรากฏตัวในตอนที่ 7 เรื่อยไปจนจบ เรื่องราวของภาคนี้จะสิ้นสุดเมื่อถึงการตัดสินครั้งสุดท้าย โดยทั้งซากุระ และ เชาหลาง จะต้องต่อสู้กับ ยูเอะ ซึ่งผู้ที่ชนะจะได้เป็นผู้ที่ครอบครองโคลว์การ์ดทั้งหมดภาพยนตร์ภาคแรก ภาพยนตร์ภาคแรก. การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาพยนตร์ภาคแรก () เรื่องราวของภาพยนตร์ตอนพิเศษนี้จะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างตอนในอะนิเมะะที่ 35 และ 36 เนื้อเรื่องจะอยู่ในช่วงปิดเทอม ซากุระซึ่งในครั้งนั้นเธอจับลูกบอลรางวัลได้รางวัลไปเที่ยวฮ่องกง และเมื่อไปถึงฮ่องกง พวกเธอก็ได้พบว่าการมาฮ่องกงครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ ในตอนพิเศษนี้ ซากุระไม่ได้ต่อสู้กับโคลว์การ์ด หากแต่เป็นวิญญาณของหญิงสาวที่มีความเกี่ยวพันกับ โคลว์รีด ในอดีตภาคซากุระการ์ด ภาคซากุระการ์ด. ภาคซากุระการ์ด () เป็นภาค 2 ของการ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ(ในการ์ตูนอะนิเมะะจะอยู่ระหว่างตอนที่ 47 - ตอนที่ 70 ส่วนหนังสือการ์ตูนจะอยู่ในเล่มที่ 7 ถึงเล่มที่ 12) ในภาคนี้จะมีตัวละครใหม่มาเพิ่ม นั่นคือ เอเรียล ฮิอิรางิซาวะ เมื่อซากุระได้เป็นผู้ครอบครองโคลว์การ์ด เธอต้องทำการเปลี่ยนมันไปเป็นซากุระการ์ด เพื่อให้การ์ดเหล่านั้นเป็นการ์ดของเธอโดยสมบูรณ์ ในภาคนี้ เชารันจะมาคอยให้ความช่วยเหลือ และ นอกจากนั้นเขาก็จะพยายามหาทางบอกความรู้สึกของเขาที่มีต่อเธอด้วยภาพยนตร์ภาคสอง – การ์ดที่ถูกผนึก ภาพยนตร์ภาคสอง – การ์ดที่ถูกผนึก. การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาพยนตร์ภาคที่สอง – การ์ดที่ถูกผนึก () เป็นเรื่องราวต่อจากตอนจบของภาคที่ 2 ภาคซากุระการ์ด เนื้อเรื่องจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ซากุระ กับ เชารัน หลังจากที่เชารันกลับฮ่องกงไป (ในตอบจบของภาคซากุระการ์ด ตอนที่ 70) เชารันได้บอกความรู้สึกของเขาที่มีต่อซากุระไปแล้ว แต่เธอยังไม่ให้คำตอบนั้นกับเขา เนื้อเรื่องในตอนพิเศษนี้อยู่ในช่วงเทศกาลนาเดชิโกะ เทศกาลประจำปีของเมืองโทโมเอดะ เชารันกลับมาญี่ปุ่นอีกครั้ง และเข้าร่วมการซ้อมละครเวทีกับซากุระ ระหว่างนี้ ซากุระเองก็พยายามที่จะให้คำตอบกับเชารัน แต่ระหว่างนั้นกลับมีโคลว์การ์ดใบที่ 53 ชื่อว่า The Nothing ออกมาสร้างปัญหาให้กับเมืองโทโมเอดะ ซากุระจึงต้องใช้เวทมนตร์อีกครั้งภาคเคลียร์การ์ด ภาคเคลียร์การ์ด. ภาคเคลียร์การ์ด () เป็นภาคที่ยังมีการฉายอยู่ ณ ปัจจุบันที่ญี่ปุ่น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการ์ดในรูปแบบใหม่ เป็นการ์ดใสๆ เหมือนกระจก และซากุระการ์ดที่เคยมีมาก็ถูกบุคคลปริศนาที่อยู่ในฝันชิงไป แล้วยังเกิดเหตุการณ์แปลกประหลาดที่ทำให้ได้เก็บการ์ดใหม่ๆในรูปแบบใหม่ด้วย ตัวละครใหม่ที่มีเพิ่มในภาคนี้คือ สาวน้อยน่ารัก ชื่อว่า ชิโนโมโตะ อากิโฮะ ซึ่งมีอะไรหลายๆอย่างที่สื่อให้เห็นว่าอาจเป็นจอมเวทย์อีกคนหนึ่ง ทั้งเรื่องที่ย้ายเข้ามาอยู่บ้านของเอเรียล เรื่องตุ๊กตากระต่ายตัวน้อยที่พกไปด้วยตลอด เรื่องผู้ดูแลที่บ้านคนใหม่ด้วย..โควล์การ์ด โควล์การ์ด. การ์ดในเรื่องนี้ แคลมป์ได้ไอเดียจากการผสานระหว่างเวทมนตร์ฝังตะวันตก และ เวทมนตร์ฝังตะวันออก โดยเนื้อเรื่องกล่าวไว้ว่า โคลว์รีด ผู้สร้าง โคลว์การ์ดขึ้นมา มีแม่เป็นจอมเวทย์ชาวจีน และมีพ่อเป็นจอมเวทย์ฝังตะวันตก จึงเป็นผู้ผสานพลังทั้งสองฝัง สามารถสังเกตได้ในการ์ด จะมีทั้งตัวอักษรจีน และตัวอักษรโรมัน อยู่ในวงเวทย์นั้นเองตัวละครคิโนโมโตะ ซากุระ ตัวละคร. คิโนโมโตะ ซากุระ. คิโนโมโตะ ซากุระ () สาวน้อยอายุ 10 ขวบ เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมโทโมเอดะ อาศัยอยู่กับพ่อและพี่ชาย แม่ของเธอเสียชีวิตไปตั้งแต่เธออายุได้ 3 ขวบ ความสามารถพิเศษคือการเล่นกีฬา นอกจากนั้นเธอยังเป็นสมาชิกของชมรมเชียร์อีกด้วย เพื่อนสนิทของเธอคือ โทโมโยะ ไดโดจิ สิ่งกลัวมากสุดคือผี แต่แล้ววันหนึ่งเธอได้ปลดผนึกโคลว์การ์ดออกโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เธอต้องออกตามหาโคลว์การ์ดกลับมา (CV:ซากุระ ทันเกะ)ลี่ เชาหลาง ลี่ เชาหลาง. ลี เชาหลาง () หรืออ่านตามสำเนียงภาษาจีนว่า หลีเสี่ยวหลาง (พินอิน:Lǐ Xiǎoláng) นักเรียนแลกเปลี่ยนจากเกาะฮ่องกง เข้ามาเรียนอยู่ห้องเดียวกันกับซากุระและโทโมโยะ เขาเป็นทายาทสืบเชื้อสายฝั่งแม่ของโควล์และสามารถใช้พลังเวทมนตร์ได้ เขามายังเมืองโทโมเอดะเพื่อทำการรวบรวมโคลว์การ์ด แต่ถึงอย่างนั้น คนที่สามารถทำให้การ์ดต่าง ๆ กลับคืนสู่การ์ดได้ก็มีเพียงแค่ซากุระกับโคลวรีด เท่านั้น (เนื่องจากการทำให้โควล์การ์ดกลับคืนสู่สภาพเดิมจำเป็นต้องใช้กุญแจผนึก) ที่เมืองโทโมเอดะ เขาอาศัยอยู่กับพ่อบ้านเหว่ย แต่ในตอนกลางลี่ เหม่ยหลิงจะมาอาศัยอยู่กับเขาด้วย (CV:โมโตโกะ คุมาอิ) ไดโดจิ โทโมโยะ ไดโดจิ โทโมโยะ. ไดโดจิ โทโมโยะ () เพื่อนร่วมชั้นเรียนของซากุระ เธอมีงานอดิเรกคือถ่ายวิดีโอต่าง ๆ เกี่ยวกับซากุระ แม่ของเธอมีชื่อว่า โซโนมิ เป็นเจ้าของบริษัทผลิตของเล่น ดังนั้นจึงจัดได้ว่าครอบครัวของโทโมโยะเป็นครอบครัวที่รวยมากครอบครัวหนึ่ง โทโมโยะอาศัยอยู่ในคฤหาสหลังใหญ่และมีองครักษ์คอยคุ้มกันหลายคน งานอดิเรกอีกอย่างหนึ่งของโทโมโยะคือออกแบบและตัดชุดให้ซากุระสำหรับใส่ต่อสู้กับโคลว์การ์ดและโอกาสพิเศษอื่น ๆ ในความจริงแล้วโทโมโยะชอบซากุระเอามาก ๆ สิ่งเดียวที่เธอต้องการคือเห็นซากุระมีความสุข ที่สำคัญในตอนท้ายเธอยังช่วยเหลือให้ซากุระได้รับรู้ว่าแท้จริงแล้วคนที่ซากุระรักนั้นคือใคร (CV:จุนโกะ อิวาโอะ) เคลเบรอส (เคโระจัง) เคลเบรอส (เคโระจัง). เคลเบรอส () หรือเคโระจัง สัตว์อสูรที่ดูหมือนกับตุ๊กตายัดนุ่นทั่วไป แต่แท้จริงแล้วเขาเป็นสัตว์อสูรผู้คอยดูแลโคลว์การ์ด เขาถูกโควล์ รีดสร้างขึ้นมาเมื่อนานมาแล้วเพื่อทำหน้าที่เสาะหาเจ้าของโควล์การ์ดคนใหม่ แต่ได้สูญเสียพลังไป หลังจากที่ซากุระสามารถจับไพ่ไฟ The Fiery และไพ่ปฐพี The Earthy ได้แล้วนั้นเขาก็ได้รับพลังทั้งหมดกลับคืนมา สัญลักษณ์ของเขาคือดวงอาทิตย์ ซึ่งถือว่าเป็นการ์ดหลักของการ์ดธาตุไฟ งานอดิเรกคือกิน นอน หรือ เล่นเกม นอกจากนั้นเขามักชอบบ่นเรื่องที่ซากุระมักจะปฏิบัติกับเขาแตกต่างกับยูเอะเสมอ (CV:อายะ ฮิซาคาวะ ร่างเคโระจัง / มาซายะ โอโนซากะ ร่างเคลเบรอส)ภาคหนังสือการ์ตูน ภาคหนังสือการ์ตูน. การ์ดแค๊ปเตอร์ซากุระภาคหนังสือการ์ตูน วาดโดยนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่น แคลมป์ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 12 เล่ม ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ จัดพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 แบบปกในธรรมดา และยังมีภาคแอนิเมชัน อีกด้วย ในประเทศญี่ปุ่นลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์โคดันฉะ จัดพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 พิมพ์ทั้งหมด 12 เล่มจบ ปกใน รูป เคโระจัง และยังมีของแถม เป็นโคลว์การ์ด และซากุระการ์ด รูปตัวละคร, รูป Pin Up และโฆษณาข่าวสารของ CLAMP อีกด้วย เนื้อเรื่องสามารถแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้เช่นเดียวกันกับในภาคแอนิเมชัน ดังนี้- ช่วงแรก เล่มที่ 1 - 6 (โคลว์การ์ด) สังเกตได้จาก- หน้าปก ซากุระจะถือคฑาเวทย์ของโคลว์ ลีด - หน้าด้านใน จะมีรูป คัมภีย์เวทมนตร์ของโคลว์ และคำว่า "โคลว์การ์ด" ยามใดเมื่อผนึกนี้คลายลง เมื่อนั้นหายนะจะเกิดขึ้นในโลกนี้...- ช่วงหลัง เล่มที่ 7 - 12 (การ์ดซากุระ) สังเกตได้จาก- หน้าปก ซากุระจะถือคฑาเวทย์ของซากุระ - หน้าด้านใน จะมีรูป โคลว์ รีด และคำว่า แบบนี้แล้ว "ผม" คงจะต้องสร้างความลำบากให้บ้าง... แต่ถ้าเป็นคุณแล้วล่ะก็... "ไม่เป็นไรแน่นอน"ภาคแอนิเมชัน ภาคแอนิเมชัน. การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระภาคแอนิเมชัน มีเคร้าโครงเรื่องจาก ภาคหนังสือการ์ตูน ซึ่งวาดโดยแคลมป์ ซึ่งใช้ทีมวาดโดยนักงานของ สตูดิโอ NHK แต่ ดีไซน์ตัวละครและเค้าโครงเรื่องโดย แคลมป์ มีด้วยกันทั้งหมด 70 ตอน และยังมีเนื้อเรื่องเชื่อมต่อกับภาคหนังโรง คือ การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาคหนังโรง (劇場版 カードキャプターさくら) และ การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาคหนังโรง - การ์ดที่ถูกผนึก - (劇場版カードキャプターさくら -封印されたカード-) อีกด้วย ต่อมาในปี 2018 ได้มีการทำอะนิเมะภาคต่อใช้ชื่อว่า "ภาคเคลียร์การ์ด" ในประเทศไทย การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาคแอนิเมชัน เคยออกอากาศในโทรทัศน์ ทั้งแบบ เคเบิลทีวี และ ทีวีเสรี โดยบริษัท UBC และ โมเดิร์นไนน์ทีวี ปัจจุบันออกอากาศทาง Cartoon Club Channel และยังมี บริษัท DEX เป็นผู้นำเข้า มาผลิตเป็น วีซีดี และ ดีวีดี(2548-2550)จนครบภาคหลัก เว้นแต่ตอนพิเศษที่ไม่ได้รับการรวบรวมเท่านั้น อีกด้วย- ช่วงของเนื้อหา เนื้อเรื่องสามารถแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้เช่นเดียวกันกับในภาคหนังสือการ์ตูน ดังนี้- ช่วงแรก ตอนที่ 1 - 46 (โคลว์การ์ด) สังเกตได้จาก- เพลงเปิด : ตอนที่ 1 ถึง 35 ใช้เพลง Catch You Catch Me ตอนที่ 36 ถึง 46 ใช้เพลง 扉をあけて (อ่านว่า:โทบิระ โวะ อะเคะตะ, ความหมาย: เปิดประตู) - เพลงปิด : ตอนที่ 1 ถึง 35 ใช้เพลง Groovy! ตอนที่ 36 ถึง 46 ใช้เพลง Honey - เนื้อเรื่อง :ซากุระตามล่าโคลว์การ์ด- ช่วงหลัง ตอนที่ 47 - 70 (ซากุระการ์ด) สังเกตได้จาก- เพลงเปิด : ใช้เพลง プラチナ (อ่านว่า:พุระจินะ, ความหมาย: แพลตินัม) - เพลงปิด :ใช้เพลง Fruits Candy - เนื้อเรื่อง :ซากุระตามหาโคลว์ลีด และแปลงเป็นซากุระการ์ด- ภาคเคลียร์ (ภาคใหม่) สังเกตได้จาก- เพลงเปิด : ใช้เพลง Clear - เพลงปิด : ใช้เพลง Jewelry - เนื้อเรื่อง : ซากุระตามล่าการ์ดใส
การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าอะไร
3674
{ "answer_end": [ 201 ], "answer_start": [ 195 ], "text": [ "แคลมป์" ] }
14447
ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์ การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ () หรือที่รู้จักกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Cardcaptor Sakura โดยมักเขียนในรูปอักษรย่อว่า CCS เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงที่มีพลังพิเศษ ผลงานของกลุ่มนักเขียน แคลมป์ การ์ตูนเรื่องนี้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โคดันฉะ ความยาวทั้งหมด 12 เล่มจบ และยังมีมังงะภาคต่อใช้ชื่อว่า "ภาคเคลียร์การ์ด" ทางด้านการ์ตูนอะนิเมะ (ออกอากาศเมื่อปี ค.ศ. 1998 - ค.ศ. 2000) มีพื้นเรื่องมาจากหนังสือการ์ตูนประกอบไปด้วยตอนทั้งหมด 70 ตอน ตอนละครึ่งชั่วโมง และกับอีก 2 ตอนพิเศษ แต่เมื่อปี 2017 ได้ทำอะนิเมะในรูปแบบ OVA ที่เป็นตอนจบตามมังงะ และหลังจากนี้ในปี 2018 ได้มีการทำอะนิเมะภาคต่อใช้ชื่อว่า "ภาคเคลียร์การ์ด" เรื่องราวของเรื่องเริ่มต้นจากความฝันที่จะบอกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ คล้ายกับเรื่อง เมจิกไนท์ เรย์เอิร์ธ ผลงานก่อนหน้าของกลุ่มแคลมป์ ถึงแม้เนื้อหาของ การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จะเปลี่ยนไป แต่ก็ยังจัดอยู่ในการ์ตูนประเภทเดียวกัน ทางด้านตัวละครของเรื่องแล้ว การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จัดได้ว่าได้รับความนิยมจากผู้ที่ชื่นชอบบนอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มประเภทของ ยาโออิ, โชโจะ, ยูริ,โลลิค่อน และ โมเอะ ตัวละครส่วนใหญ่ในเรื่อง การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จะไปปรากฏอยู่ในหนังสือการ์ตูนอีกเรื่องหนึ่งของทีมแคลมป์ นั่นคือ สึบาสะ สงครามเทพข้ามมิติเนื้อเรื่อง เนื้อเรื่อง. เรื่องราวเริ่มจากเด็กผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง อายุ 10 ขวบ ชื่อว่า ซากุระ คิโนโมโตะ ได้พบกับหนังสือการ์ดเล่มหนึ่งในห้องทำงานชั้นใต้ดินของพ่อของเธอ และทำการเปิดมันออก เป็นเหตุให้การ์ดทั้งหมดในหนังสือกระจายหายไปตามที่ต่าง ๆ ของเมือง ด้วยเหตุนี้เองทำให้เธอต้องรับผิดชอบโดยการตามหาการ์ดที่หายไปทั้งหมด ซึ่งในการค้นหาการ์ดแต่ละใบนั้นเธอต้องใช้พลังเวทมนตร์ เข้าต่อสู้กับการ์ดก่อนที่จะทำการเปลี่ยนให้การ์ดกลับคืนสู่สภาพเดิม โดยมีผู้ช่วยคือ เคลเบรอส หรือที่รู้จักในชื่อว่า เคโระจัง ซึ่งจะคอยให้คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับการ์ด และ วิธีการใช้การ์ดต่าง ๆ ในตอนที่ 1 เขาได้มอบกุญแจผนึกกับเธอเพื่อใช้ในการต่อสู้และจับการ์ดภาคโคลว์การ์ด ภาคโคลว์การ์ด. ภาคโคลว์การ์ด () ประกอบด้วย ภาคแรก และ ภาค 2 (ในการ์ตูนอะนิเมะะจะอยู่ระหว่างตอนที่ 1-46 ส่วนหนังสือการ์ตูนจะอยู่ในเล่มที่ 1 ถึงเล่มที่ 6) เนื้อเรื่องในตอนแรก ๆ ซากุระจะเป็นผู้ทำการต่อสู้และเปลี่ยนการ์ดกลับคืนสภาพเดิมโดยมี เคลเบรอสเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ นอกจากนี้ยังมี โทโมโยะ ไดโดจิ เพื่อนร่วมชั้นของเธอคอยติดตามมาด้วย เธอจะเป็นคนคอยออกแบบชุดต่อสู้ต่าง ๆ ให้แก่ซากุระใส่และคอยถ่ายวิดีโอการผจญภัยต่าง ๆ ของเธอ หลังจากตอนที่ 8 ซากุระได้พบกับคู่แข่งชื่อว่า ลี่ เชาหลาง เขามีสายเลือดของโคลว์รีด เดินทางมาจากฮ่องกงเพื่อตามหาการ์ด ในการ์ตูนอะนิเมะ เขาจะมาปรากฏตัวในตอนที่ 7 เรื่อยไปจนจบ เรื่องราวของภาคนี้จะสิ้นสุดเมื่อถึงการตัดสินครั้งสุดท้าย โดยทั้งซากุระ และ เชาหลาง จะต้องต่อสู้กับ ยูเอะ ซึ่งผู้ที่ชนะจะได้เป็นผู้ที่ครอบครองโคลว์การ์ดทั้งหมดภาพยนตร์ภาคแรก ภาพยนตร์ภาคแรก. การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาพยนตร์ภาคแรก () เรื่องราวของภาพยนตร์ตอนพิเศษนี้จะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างตอนในอะนิเมะะที่ 35 และ 36 เนื้อเรื่องจะอยู่ในช่วงปิดเทอม ซากุระซึ่งในครั้งนั้นเธอจับลูกบอลรางวัลได้รางวัลไปเที่ยวฮ่องกง และเมื่อไปถึงฮ่องกง พวกเธอก็ได้พบว่าการมาฮ่องกงครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ ในตอนพิเศษนี้ ซากุระไม่ได้ต่อสู้กับโคลว์การ์ด หากแต่เป็นวิญญาณของหญิงสาวที่มีความเกี่ยวพันกับ โคลว์รีด ในอดีตภาคซากุระการ์ด ภาคซากุระการ์ด. ภาคซากุระการ์ด () เป็นภาค 2 ของการ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ(ในการ์ตูนอะนิเมะะจะอยู่ระหว่างตอนที่ 47 - ตอนที่ 70 ส่วนหนังสือการ์ตูนจะอยู่ในเล่มที่ 7 ถึงเล่มที่ 12) ในภาคนี้จะมีตัวละครใหม่มาเพิ่ม นั่นคือ เอเรียล ฮิอิรางิซาวะ เมื่อซากุระได้เป็นผู้ครอบครองโคลว์การ์ด เธอต้องทำการเปลี่ยนมันไปเป็นซากุระการ์ด เพื่อให้การ์ดเหล่านั้นเป็นการ์ดของเธอโดยสมบูรณ์ ในภาคนี้ เชารันจะมาคอยให้ความช่วยเหลือ และ นอกจากนั้นเขาก็จะพยายามหาทางบอกความรู้สึกของเขาที่มีต่อเธอด้วยภาพยนตร์ภาคสอง – การ์ดที่ถูกผนึก ภาพยนตร์ภาคสอง – การ์ดที่ถูกผนึก. การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาพยนตร์ภาคที่สอง – การ์ดที่ถูกผนึก () เป็นเรื่องราวต่อจากตอนจบของภาคที่ 2 ภาคซากุระการ์ด เนื้อเรื่องจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ซากุระ กับ เชารัน หลังจากที่เชารันกลับฮ่องกงไป (ในตอบจบของภาคซากุระการ์ด ตอนที่ 70) เชารันได้บอกความรู้สึกของเขาที่มีต่อซากุระไปแล้ว แต่เธอยังไม่ให้คำตอบนั้นกับเขา เนื้อเรื่องในตอนพิเศษนี้อยู่ในช่วงเทศกาลนาเดชิโกะ เทศกาลประจำปีของเมืองโทโมเอดะ เชารันกลับมาญี่ปุ่นอีกครั้ง และเข้าร่วมการซ้อมละครเวทีกับซากุระ ระหว่างนี้ ซากุระเองก็พยายามที่จะให้คำตอบกับเชารัน แต่ระหว่างนั้นกลับมีโคลว์การ์ดใบที่ 53 ชื่อว่า The Nothing ออกมาสร้างปัญหาให้กับเมืองโทโมเอดะ ซากุระจึงต้องใช้เวทมนตร์อีกครั้งภาคเคลียร์การ์ด ภาคเคลียร์การ์ด. ภาคเคลียร์การ์ด () เป็นภาคที่ยังมีการฉายอยู่ ณ ปัจจุบันที่ญี่ปุ่น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการ์ดในรูปแบบใหม่ เป็นการ์ดใสๆ เหมือนกระจก และซากุระการ์ดที่เคยมีมาก็ถูกบุคคลปริศนาที่อยู่ในฝันชิงไป แล้วยังเกิดเหตุการณ์แปลกประหลาดที่ทำให้ได้เก็บการ์ดใหม่ๆในรูปแบบใหม่ด้วย ตัวละครใหม่ที่มีเพิ่มในภาคนี้คือ สาวน้อยน่ารัก ชื่อว่า ชิโนโมโตะ อากิโฮะ ซึ่งมีอะไรหลายๆอย่างที่สื่อให้เห็นว่าอาจเป็นจอมเวทย์อีกคนหนึ่ง ทั้งเรื่องที่ย้ายเข้ามาอยู่บ้านของเอเรียล เรื่องตุ๊กตากระต่ายตัวน้อยที่พกไปด้วยตลอด เรื่องผู้ดูแลที่บ้านคนใหม่ด้วย..โควล์การ์ด โควล์การ์ด. การ์ดในเรื่องนี้ แคลมป์ได้ไอเดียจากการผสานระหว่างเวทมนตร์ฝังตะวันตก และ เวทมนตร์ฝังตะวันออก โดยเนื้อเรื่องกล่าวไว้ว่า โคลว์รีด ผู้สร้าง โคลว์การ์ดขึ้นมา มีแม่เป็นจอมเวทย์ชาวจีน และมีพ่อเป็นจอมเวทย์ฝังตะวันตก จึงเป็นผู้ผสานพลังทั้งสองฝัง สามารถสังเกตได้ในการ์ด จะมีทั้งตัวอักษรจีน และตัวอักษรโรมัน อยู่ในวงเวทย์นั้นเองตัวละครคิโนโมโตะ ซากุระ ตัวละคร. คิโนโมโตะ ซากุระ. คิโนโมโตะ ซากุระ () สาวน้อยอายุ 10 ขวบ เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมโทโมเอดะ อาศัยอยู่กับพ่อและพี่ชาย แม่ของเธอเสียชีวิตไปตั้งแต่เธออายุได้ 3 ขวบ ความสามารถพิเศษคือการเล่นกีฬา นอกจากนั้นเธอยังเป็นสมาชิกของชมรมเชียร์อีกด้วย เพื่อนสนิทของเธอคือ โทโมโยะ ไดโดจิ สิ่งกลัวมากสุดคือผี แต่แล้ววันหนึ่งเธอได้ปลดผนึกโคลว์การ์ดออกโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เธอต้องออกตามหาโคลว์การ์ดกลับมา (CV:ซากุระ ทันเกะ)ลี่ เชาหลาง ลี่ เชาหลาง. ลี เชาหลาง () หรืออ่านตามสำเนียงภาษาจีนว่า หลีเสี่ยวหลาง (พินอิน:Lǐ Xiǎoláng) นักเรียนแลกเปลี่ยนจากเกาะฮ่องกง เข้ามาเรียนอยู่ห้องเดียวกันกับซากุระและโทโมโยะ เขาเป็นทายาทสืบเชื้อสายฝั่งแม่ของโควล์และสามารถใช้พลังเวทมนตร์ได้ เขามายังเมืองโทโมเอดะเพื่อทำการรวบรวมโคลว์การ์ด แต่ถึงอย่างนั้น คนที่สามารถทำให้การ์ดต่าง ๆ กลับคืนสู่การ์ดได้ก็มีเพียงแค่ซากุระกับโคลวรีด เท่านั้น (เนื่องจากการทำให้โควล์การ์ดกลับคืนสู่สภาพเดิมจำเป็นต้องใช้กุญแจผนึก) ที่เมืองโทโมเอดะ เขาอาศัยอยู่กับพ่อบ้านเหว่ย แต่ในตอนกลางลี่ เหม่ยหลิงจะมาอาศัยอยู่กับเขาด้วย (CV:โมโตโกะ คุมาอิ) ไดโดจิ โทโมโยะ ไดโดจิ โทโมโยะ. ไดโดจิ โทโมโยะ () เพื่อนร่วมชั้นเรียนของซากุระ เธอมีงานอดิเรกคือถ่ายวิดีโอต่าง ๆ เกี่ยวกับซากุระ แม่ของเธอมีชื่อว่า โซโนมิ เป็นเจ้าของบริษัทผลิตของเล่น ดังนั้นจึงจัดได้ว่าครอบครัวของโทโมโยะเป็นครอบครัวที่รวยมากครอบครัวหนึ่ง โทโมโยะอาศัยอยู่ในคฤหาสหลังใหญ่และมีองครักษ์คอยคุ้มกันหลายคน งานอดิเรกอีกอย่างหนึ่งของโทโมโยะคือออกแบบและตัดชุดให้ซากุระสำหรับใส่ต่อสู้กับโคลว์การ์ดและโอกาสพิเศษอื่น ๆ ในความจริงแล้วโทโมโยะชอบซากุระเอามาก ๆ สิ่งเดียวที่เธอต้องการคือเห็นซากุระมีความสุข ที่สำคัญในตอนท้ายเธอยังช่วยเหลือให้ซากุระได้รับรู้ว่าแท้จริงแล้วคนที่ซากุระรักนั้นคือใคร (CV:จุนโกะ อิวาโอะ) เคลเบรอส (เคโระจัง) เคลเบรอส (เคโระจัง). เคลเบรอส () หรือเคโระจัง สัตว์อสูรที่ดูหมือนกับตุ๊กตายัดนุ่นทั่วไป แต่แท้จริงแล้วเขาเป็นสัตว์อสูรผู้คอยดูแลโคลว์การ์ด เขาถูกโควล์ รีดสร้างขึ้นมาเมื่อนานมาแล้วเพื่อทำหน้าที่เสาะหาเจ้าของโควล์การ์ดคนใหม่ แต่ได้สูญเสียพลังไป หลังจากที่ซากุระสามารถจับไพ่ไฟ The Fiery และไพ่ปฐพี The Earthy ได้แล้วนั้นเขาก็ได้รับพลังทั้งหมดกลับคืนมา สัญลักษณ์ของเขาคือดวงอาทิตย์ ซึ่งถือว่าเป็นการ์ดหลักของการ์ดธาตุไฟ งานอดิเรกคือกิน นอน หรือ เล่นเกม นอกจากนั้นเขามักชอบบ่นเรื่องที่ซากุระมักจะปฏิบัติกับเขาแตกต่างกับยูเอะเสมอ (CV:อายะ ฮิซาคาวะ ร่างเคโระจัง / มาซายะ โอโนซากะ ร่างเคลเบรอส)ภาคหนังสือการ์ตูน ภาคหนังสือการ์ตูน. การ์ดแค๊ปเตอร์ซากุระภาคหนังสือการ์ตูน วาดโดยนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่น แคลมป์ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 12 เล่ม ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ จัดพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 แบบปกในธรรมดา และยังมีภาคแอนิเมชัน อีกด้วย ในประเทศญี่ปุ่นลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์โคดันฉะ จัดพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 พิมพ์ทั้งหมด 12 เล่มจบ ปกใน รูป เคโระจัง และยังมีของแถม เป็นโคลว์การ์ด และซากุระการ์ด รูปตัวละคร, รูป Pin Up และโฆษณาข่าวสารของ CLAMP อีกด้วย เนื้อเรื่องสามารถแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้เช่นเดียวกันกับในภาคแอนิเมชัน ดังนี้- ช่วงแรก เล่มที่ 1 - 6 (โคลว์การ์ด) สังเกตได้จาก- หน้าปก ซากุระจะถือคฑาเวทย์ของโคลว์ ลีด - หน้าด้านใน จะมีรูป คัมภีย์เวทมนตร์ของโคลว์ และคำว่า "โคลว์การ์ด" ยามใดเมื่อผนึกนี้คลายลง เมื่อนั้นหายนะจะเกิดขึ้นในโลกนี้...- ช่วงหลัง เล่มที่ 7 - 12 (การ์ดซากุระ) สังเกตได้จาก- หน้าปก ซากุระจะถือคฑาเวทย์ของซากุระ - หน้าด้านใน จะมีรูป โคลว์ รีด และคำว่า แบบนี้แล้ว "ผม" คงจะต้องสร้างความลำบากให้บ้าง... แต่ถ้าเป็นคุณแล้วล่ะก็... "ไม่เป็นไรแน่นอน"ภาคแอนิเมชัน ภาคแอนิเมชัน. การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระภาคแอนิเมชัน มีเคร้าโครงเรื่องจาก ภาคหนังสือการ์ตูน ซึ่งวาดโดยแคลมป์ ซึ่งใช้ทีมวาดโดยนักงานของ สตูดิโอ NHK แต่ ดีไซน์ตัวละครและเค้าโครงเรื่องโดย แคลมป์ มีด้วยกันทั้งหมด 70 ตอน และยังมีเนื้อเรื่องเชื่อมต่อกับภาคหนังโรง คือ การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาคหนังโรง (劇場版 カードキャプターさくら) และ การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาคหนังโรง - การ์ดที่ถูกผนึก - (劇場版カードキャプターさくら -封印されたカード-) อีกด้วย ต่อมาในปี 2018 ได้มีการทำอะนิเมะภาคต่อใช้ชื่อว่า "ภาคเคลียร์การ์ด" ในประเทศไทย การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาคแอนิเมชัน เคยออกอากาศในโทรทัศน์ ทั้งแบบ เคเบิลทีวี และ ทีวีเสรี โดยบริษัท UBC และ โมเดิร์นไนน์ทีวี ปัจจุบันออกอากาศทาง Cartoon Club Channel และยังมี บริษัท DEX เป็นผู้นำเข้า มาผลิตเป็น วีซีดี และ ดีวีดี(2548-2550)จนครบภาคหลัก เว้นแต่ตอนพิเศษที่ไม่ได้รับการรวบรวมเท่านั้น อีกด้วย- ช่วงของเนื้อหา เนื้อเรื่องสามารถแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้เช่นเดียวกันกับในภาคหนังสือการ์ตูน ดังนี้- ช่วงแรก ตอนที่ 1 - 46 (โคลว์การ์ด) สังเกตได้จาก- เพลงเปิด : ตอนที่ 1 ถึง 35 ใช้เพลง Catch You Catch Me ตอนที่ 36 ถึง 46 ใช้เพลง 扉をあけて (อ่านว่า:โทบิระ โวะ อะเคะตะ, ความหมาย: เปิดประตู) - เพลงปิด : ตอนที่ 1 ถึง 35 ใช้เพลง Groovy! ตอนที่ 36 ถึง 46 ใช้เพลง Honey - เนื้อเรื่อง :ซากุระตามล่าโคลว์การ์ด- ช่วงหลัง ตอนที่ 47 - 70 (ซากุระการ์ด) สังเกตได้จาก- เพลงเปิด : ใช้เพลง プラチナ (อ่านว่า:พุระจินะ, ความหมาย: แพลตินัม) - เพลงปิด :ใช้เพลง Fruits Candy - เนื้อเรื่อง :ซากุระตามหาโคลว์ลีด และแปลงเป็นซากุระการ์ด- ภาคเคลียร์ (ภาคใหม่) สังเกตได้จาก- เพลงเปิด : ใช้เพลง Clear - เพลงปิด : ใช้เพลง Jewelry - เนื้อเรื่อง : ซากุระตามล่าการ์ดใส
ใครเป็นผู้วาดการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์
3675
{ "answer_end": [ 123 ], "answer_start": [ 102 ], "text": [ "เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์" ] }
95585
วัดร่องขุ่น วัดร่องขุ่น เป็นวัดพุทธ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ออกแบบและก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉลิมชัยคาดว่างานก่อสร้างวัดร่องขุ่นจะไม่เสร็จลงภายในช่วงชีวิตของตน วัดร่องขุ่นถอดแบบมาจากวัดมิ่งเมือง จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 18.05 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย และแผ่นดินไหวตามหลายครั้ง สร้างความเสียหายให้กับวัดร่องขุ่นเป็นอย่างมาก เช่น ผนังโบสถ์ปูนกระเทาะออก กระเบื้องหลุด ยอดพระธาตุหัก ภาพเขียนเสียหายหมด ทำให้ต้องปิดวัดเพื่อซ่อมแซมตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม ปีเดียวกันประวัติ ประวัติ. อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ1. ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน 2. ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา 3. พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหลายครั้ง ทำให้เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่านความหมายของอุโบสถความหมายของอุโบสถ. - สีขาว : พระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า - สะพาน : การเดินข้ามจากวัฏสงสารสู่พุทธภูมิ - เขี้ยว หรือ ปากพญามาร : กิเลสในใจ - สันของสะพาน : มีอสูรอมกัน ข้างละ 8 ตัว 2 ข้าง รวมกันแทนอุปกิเลส 16 - กึ่งกลางของสะพาน : เขาพระสุเมรุ - ดอกบัวทิพย์ : มี 4 ดอกใหญ่ตรงทางขึ้นด้านข้างอุโบสถแทนซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ - บันไดทางขึ้น : มี 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ใครคือผู้ออกแบบและก่อสร้างวัดร่องขุ่น ในจังหวัดเชียงราย
3676
{ "answer_end": [ 1275 ], "answer_start": [ 1247 ], "text": [ "พระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า" ] }
95585
วัดร่องขุ่น วัดร่องขุ่น เป็นวัดพุทธ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ออกแบบและก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉลิมชัยคาดว่างานก่อสร้างวัดร่องขุ่นจะไม่เสร็จลงภายในช่วงชีวิตของตน วัดร่องขุ่นถอดแบบมาจากวัดมิ่งเมือง จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 18.05 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย และแผ่นดินไหวตามหลายครั้ง สร้างความเสียหายให้กับวัดร่องขุ่นเป็นอย่างมาก เช่น ผนังโบสถ์ปูนกระเทาะออก กระเบื้องหลุด ยอดพระธาตุหัก ภาพเขียนเสียหายหมด ทำให้ต้องปิดวัดเพื่อซ่อมแซมตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม ปีเดียวกันประวัติ ประวัติ. อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ1. ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน 2. ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา 3. พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหลายครั้ง ทำให้เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่านความหมายของอุโบสถความหมายของอุโบสถ. - สีขาว : พระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า - สะพาน : การเดินข้ามจากวัฏสงสารสู่พุทธภูมิ - เขี้ยว หรือ ปากพญามาร : กิเลสในใจ - สันของสะพาน : มีอสูรอมกัน ข้างละ 8 ตัว 2 ข้าง รวมกันแทนอุปกิเลส 16 - กึ่งกลางของสะพาน : เขาพระสุเมรุ - ดอกบัวทิพย์ : มี 4 ดอกใหญ่ตรงทางขึ้นด้านข้างอุโบสถแทนซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ - บันไดทางขึ้น : มี 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สีขาวของอุโบสถของวัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย สื่อถึงอะไร
3677
{ "answer_end": [ 942 ], "answer_start": [ 934 ], "text": [ "ทาทา ยัง" ] }
548875
วรานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ วรานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ (ชื่อเดิม: พรรณวรินทร์ ศรีสวัสดิ์) ชื่อเล่น บีม เป็นนักแสดง นางแบบชาวไทย เข้าสู่วงการด้วยการถ่ายมิวสิควีดีโอ และเล่นโฆษณาประวัติ ประวัติ. วรานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ หรือชื่อเดิม "พรรณวรินทร์ ศรีสวัสดิ์" ,"วรรณวณัช ศรีสวัสดิ์" ชื่อเล่น บีม เกิดในประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นนักแสดงชาวไทย เธอเป็นบุตรสาวของ นายศุภกรณ์ ศรีสวัสดิ์ หรือ ดี๋ ดอกมะดัน นักแสดงตลกชื่อดัง และนางรัตตินันท์ จิราโรจน์เจริญ เธอเป็นลูกสาวคนแรกของครอบครัวและมีน้องสาว 1 คน มนชญา ศรีสวัสดิ์ หรือปัจจุบันชื่อ ชยานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ (ชื่อเล่น เบล) ซึ่งมีอายุห่างกับบีม 5 ปี เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปริญญาโท วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาการบริหารงานวัฒนธรรม ผลงานชิ้นแรกของเธอถ่ายมิวสิควีดีโอของ ทาทา ยัง เพลง "ขอได้ไหม" ต่อด้วยโฆษณาหลายๆชิ้น แต่เธอเป็นที่รู้จักกันในการถ่ายแบบชุดว่ายน้ำงานบันเทิง งานบันเทิง. พรรณวรินทร์ ศรีสวัสดิ์ เข้าวงการจากการถ่ายมิวสิควีดีโอของ ทาทา ยัง ขณะที่มีอายุเพียง 15 ปี มีงานด้านละครโทรทัศน์ อาทิเช่น ละครเรื่อง ฉันไม่รอวันนั้น แสดงคู่กับ กรุณพล เทียนสุวรรณ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ต่อด้วยซิตคอมเรื่อง โคกคูนตระกูลไข่ แสดงคู่กับ พิพัฒน์ วิทยาปัญญานนท์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และละครเรื่อง ผีเพื่อนรัก แสดงคู่กับ นันทศัย พิศลยบุตร ทางช่องไอทีวี ด้านภาพยนตร์มีผลงานสร้างชื่อคือภาพยนตร์เรื่อง 7 ประจัญบาน แสดงเป็น แสงดาว จนทำให้มีผลงานรายการโทรทัศน์ รวมถึงถ่ายแบบนิตยสารภาพนิ่ง ถ่ายงานโฆษณาตามมาอีกมากมายผลงานละครโทรทัศน์ผลงาน. ละครโทรทัศน์. - 2537 ละคร สนทนาประสาจน ทางช่อง 5 - 2538 ละคร ยอดคุณลูก ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 - 2544 ละคร ฉันไม่รอวันนั้น แสดงคู่กับ กรุณพล เทียนสุวรรณ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 - 2546 ละคร โคกคูนตระกูลไข่ แสดงคู่กับ พิพัฒน์ วิทยาปัญญานนท์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 - 2547 ละคร ตีลังกาท้าฝัน ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ - 2549 ละคร ผีเพื่อนรัก แสดงคู่กับ นันทศัย พิศลยบุตร ทางช่องไอทีวี - 2560 ละคร สื่อสองโลก ทางช่องสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (รับเชิญ) - 2561 ละคร พรหมไม่ได้ลิขิต ทางช่องช่องวันภาพยนตร์ภาพยนตร์. - 2544 ภาพยนตร์วีซีดี "ขีดเส้นตาย" แสดงคู่กับ นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล - 2545 ภาพยนตร์วีซีดี "ชีวิต...เดียว" แสดงคู่กับ สุพจน์ จันทร์เจริญ - 2545 ภาพยนตร์เรื่อง 7 ประจัญบาน แสดงเป็น แสงดาว - 2547 ภาพยนตร์วีซีดี "หอผี Ghost Dormitory" แสดงคู่กับ เทวินธวิ์ คุณารัตนวัฒน์ - 2548 ภาพยนตร์วีซีดี "ทิม มวยไทย หัวใจติดเพลง" แสดงคู่กับ เกริกไกร อันสนธิ์ - 2551 ภาพยนตร์เรื่อง "แฮปปี้เบิร์ธเดย์"มิวสิควีดีโอมิวสิควีดีโอ. - 2538 เพลง "ขอได้ไหม" ศิลปิน ทาทา ยัง - 2538 เพลง "หัวใจสลาย" ศิลปิน เรนโบว์ - 2544 เพลง "ไม่ใช่เจ้าชาย" ศิลปิน ออดี้ - 2545 เพลง "รักคนอื่นไม่เป็น" ศิลปิน ดัง พันกร - 2549 เพลง "สิบปาก" ศิลปิน โบ สุนิตาพิธีกรพิธีกร. - 2556 รายการ "BEAUTY EXPERT" คู่กับ อรนภา กฤษฎี ช่อง H Channel - 2556 รายการ "Entertainment update" ช่อง acts channel - 2557 พิธีกรภาคสนามรายการ "นอกรอบ" ช่อง 5
วรานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ เข้าวงการบันเทิงจากการถ่ายมิวสิควีดีโอของนักร้องคนใด
3678
{ "answer_end": [ 439 ], "answer_start": [ 432 ], "text": [ "น้ำเงิน" ] }
574592
นกยูงอินเดีย นกยูงอินเดีย หรือ นกยูงสีน้ำเงิน (; ) เป็นนกยูงชนิดหนึ่ง ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล, บังกลาเทศ, ภูฏาน และศรีลังกา มีขนาดเล็กกว่านกยูงไทย (P. muticus) ซึ่งเป็นนกยูงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนจนถึงแหลมมลายูเล็กน้อย ขนหงอนจะมีลักษณะเป็นรูปพัดต่างจากนกยูงไทยที่เป็นกระจุก สีของผิวหนังบริเวณหน้าจะมีสีขาว และมีสีดำคาดบริเวณตา ขนบริเวณคอและอกมีสีน้ำเงิน ขนบริเวณปีกเป็นลายสีขาวสลับกับสีดำ ขนตามลำตัวจะมีสีเขียวอมน้ำเงิน ด้านหลังเป็นเกล็ดคล้ายใบไม้ ในตัวเมียนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ ขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาล ขนคอและหลังจะมีสีอ่อนกว่าตัวผู้ นกยูงอินเดียตัวผู้ตัวเต็มวัย เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูสืบพันธุ์จะมีขนคลุมหางที่ยาวออกมา ประมาณ 2 เท่าของลำตัวหรือประมาณ 150 เซนติเมตร ประกอบด้วยขน 2 ประเภทด้วยกัน คือ ขนที่มีวงกลม ซึ่งเรียกว่า "แววมยุรา" และขนที่อยู่บริเวณขอบ เรียกว่า "T Feathers" ซึ่งบริเวณนี้จะไม่มีแววมยุรา ขนคลุมหางของนกยูงหนึ่งตัวจะประกอบด้วยขนคลุมหางประมาณ 200 เส้น แบ่งเป็นขนที่มีแววมยุรา ประมาณ 170 เส้น และขนคลุมหางที่เป็นขอบหรือ T-feathers อีกประมาณ 30 เส้น ซึ่งขนคลุมหางนี้จะมีเพื่อการเกี้ยวพาราสีตัวเมียในฤดูสืบพันธุ์ ที่เรียกว่า "การรำแพน" นกยูงอินเดียวางไข่ ครั้งละ 5-8 ฟอง ระยะฟักไข่นาน 28 วัน และในระยะที่เป็นวัยอ่อนนั้นจะมีความแตกต่างกับนกยูงที่ตัวโตเต็มวัยทั้งสีขนและขนาดของลำตัว ลูกนกยูงในวัยนี้จะไม่สามารถระบุเพศได้จากการสังเกตลักษณะและสีของขนจากภายนอก จนกว่าลูกนกจะมีอายุ 8 เดือน จึงจะสามารถระบุเพศด้วยจากการสังเกตลักษณะภายนอกและสีของขนได้ แต่ถ้ามองผิวเผินอาจจะเหมารวมได้ว่าเป็นลูกนกชนิดเดียวกันดังนั้นจะต้องสังเกตอย่างละเอียด โดยลูกของนกยูงไทยจะมีสีเขียวเป็นมันเหลือบบริเวณปลายขนแต่ละเส้นจะมีสีน้ำตาลแต้ม ขนบริเวณหัวและคอจะมีสีเขียวเป็นมันเหลือบและจะมีขนสีขาวแซมประปราย ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลทองและมีสีดำแต้มบ้าง ส่วนลูกนกยูงอินเดียจะมีลักษณะแตกต่างกันที่ขน บริเวณลำตัวและหลังจะมีลายสีน้ำตาลประทั้งเส้น ขนบริเวณคอจะมีสีขาวเทาและมีสีเขียวเป็นมันเหลือบแซมประปราย ส่วนขนบริเวณคอส่วนล่างและหน้าอกจะเริ่มเห็นสีน้ำเงินแซมเป็นจุด ๆ ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลลายดำ เมื่อมองโดยรวมก็จะพบว่าลูกนกยูงอินเดียจะมีสีที่อ่อนและหม่นกว่าลูกนกยูงไทย มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าดงดิบทึบ ตัวผู้ชอบทำลานเอาไว้รำแพนหาง และจะรักษาความสะอาดลานอย่างดี เป็นนกที่ระวังตัวมากและสายตาไวมาก ยากที่จะเข้าใกล้ตัวได้ จะบินหนีก่อน เป็นนกที่บินเก่ง ชอบนอนที่สูงและชอบร้องเวลาเช้าและเย็น เป็นนกที่จดจำที่อยู่ของตนได้เป็นอย่างดี นกยูงอินเดีย ถือเป็นสัตว์ประจำชาติของอินเดีย ในต้นปี ค.ศ. 2016 รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐกัว รัฐทางทิศตะวันออกติดชายฝั่งของอินเดียมีความพยายามจะจัดให้นกยูงอินเดียเป็นสัตว์รำคาญ ซึ่งสามารถฆ่าได้ ทำลายได้ เพราะมองว่าสร้างความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตร แต่เรื่องนี้ก็มีการคัดค้านอย่างกว้างขวาง
ขนบริเวณคอและอกของนกยูงอินเดียมีสีอะไร
3679
{ "answer_end": [ 29 ], "answer_start": [ 15 ], "text": [ "ศิริพร อยู่ยอด" ] }
292956
ศิริพร อยู่ยอด ศิริพร อยู่ยอด หรือชื่อที่ใช้ในวงการบันเทิงว่า ตั๊ก ลีลา เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2515 ที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นนักร้องและนักแสดงตลกหญิงชาวไทย การศึกษา โพธิสารศึกษา ตั๊ก เริ่มต้นร้องเพลงตั้งแต่อายุ 14 ปี ด้วยการเดินสายประกวดที่จังหวัดนครสวรรค์ บ้านเกิด จากนั้นเมื่ออายุ 17 ปีได้เข้าประกวดร้องเพลงของสยามกลการ เมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้รับรางวัลนักร้องดีเด่น จากนั้นจึงได้เข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัวจากการสนับสนุนของ แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ โดยเป็นนักร้องในสังกัดอีเทอร์ทัล ค่ายเพลงของดนุพล มีอัลบั้มออกมาทั้งสิ้น 9 ชุด ในสังกัดนี้ มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น ฉันไม่ใช่นางเอก, ธุรกิจเธอ, หมดห่วง, ไม่มีฝีมือ ต่อมาจนถึงปัจจุบัน ได้หันมาเปลี่ยนบทบาทด้วยการแสดงแนวตลก ชีวิตส่วนตัวได้สมรสกับนุ้ย เชิญยิ้ม (ชูเกียรติ เอี่ยมสุข) นักแสดงตลก ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกันคนเดียวชื่อภูสิษฐ์ เอี่ยมสุข (ชื่อเล่น ภู)ผลงานผลงานเพลงผลงาน. ผลงานเพลง. - เพลงเดี่ยว- ชุด ตั๊ก ลีลา 2 นอนคนเดียว- ชุด ตั๊ก..เต็มโชว์- ชุด ตั๊ก..อันตราย- ชุด ตั๊ก..เต็มฮิต- ชุด อยากทำให้เธอรัก- ชุด มายา- ชุด วันที่รักร้าว- ชุด มีเยอะมั้ย- ชุด ครบวงจร- ชุด เธคแตก- ชุด ฉันคงไม่ลืม- ชุด Remember Five ร่วมกับ นิตยา บุญสูงเนิน, วารุณี สุนทรีสวัสดิ์, พรพิมล ธรรมสาร, นิภาพรรณ เครือนวล- เพลงประกอบละคร ต้มยำลำซิ่ง- ชุด หัวกะทิ- 16 ลีลา ตั๊กโชว์ เต็มฮิตผลงานละครผลงานละคร. - ตัวละครหลักละคร เรื่อง ผู้ใหญ่ลีกับนางมา รับบท ปทุม (2538) ช่อง 5 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง สวรรค์บ้านทุ่ง (2541) ช่อง 9 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง เมียหลวง รับบท นวลรัตน์ (2542) ช่อง 3 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง ท่านชายในสายหมอก (2542) ช่อง 3 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง ผู้ชายก็ท้องได้ (2543) ช่อง 7 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง แม่ย่านาง รับบท บุญเกลียว (2543) ช่อง 7 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง แม่ปูเปรี้ยว (2544) ช่อง 3 - ตัวละครหลักเรื่อง เรื่อง บ้านสาวโสด (2544) ช่อง 3 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง ชายครับเมื่อผมเป็นชาย รับบท นางชมพู (2544) ช่อง 5 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง นายฮ้อยทมิฬ (2544) ช่อง 7 (รับเชิญ) - ตัวละครหลักละคร เรื่อง ไปแล้วกลับ หลับแล้วตื่น ฟื้นเพื่อเธอ รับบท จินดา แสดงคู่กับชูเกียรติ เอี่ยมสุข ช่อง ITV - ตัวละครรับเชิญซิตคอม เรื่อง ผู้กองเจ้าเสน่ห์ ตอน ดำเกิงเจ้าเสน่ห์ รับบท น้อยหน่า (รับเชิญ) ช่อง 3 - ตัวละครรองซิตคอม เรื่อง บ้านนี้มีรัก รับบท อมรา (รับเชิญ) ช่อง 9 - ตัวละครหลักซิตคอม เรื่อง เฮฮาหน้าซอย ช่อง 7 - ตัวละครหลักซิตคอม เรื่อง หมู่บ้านจำอวด ช่อง 3 - ตัวละครหลักซิตคอม เรื่อง ก่อนบ่ายคลายเครียด ช่อง 3 - ตัวละครหลักเรื่อง เรื่อง นางสาวผ้าขี้ริ้ว (2551) - ตัวละครหลักเรื่อง เรื่อง วงเวียนหัวใจ (2552) - ตัวละครรับเชิญซิตคอม เรื่อง ผีเฮี้ยนโฮเต็ล (รับเชิญ) ช่อง 7 - ตัวละครหลักซิตคอม เรื่อง คนเยอะเรื่องแยะ รับบท คุณนายปานเพชร ช่อง 7 - เรื่อง วิวาห์ว้าวุ่น รับบท - ตัวละครหลักเรื่อง ส้มหวานน้ำตาลเปรี้ยว รับบท อาจารย์โสภิต (2554) ช่อง 7 - ตัวละครหลักเรื่อง ต้มยำลำซิ่ง รับบท ขวัญข้าว (2555) ช่อง 3 - เรื่อง ซินเดอเรลล่ารองเท้าแตะ (2556) รับบท น้าตุ้ม ช่อง 7 - เรื่อง วิวาห์ป่าช้าแตก (2556) - เรื่อง สัญญาเมื่อสายยัณห์ รับบท นิ่ม (รับเชิญ)พิธีกรพิธีกร. - รายการ สายด่วนลูกทุ่ง ทาง ช่องไอทีวี - รายการ โชว์แหลก คู่กับ นุ้ย เชิญยิ้ม - รายการ สมาคมสมหญิง คู่กับ ปนัดดา วงศ์ผู้ดี - รายการ เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ทาง ช่อง 7 สี - รายการ เสียงสวรรค์พิชิตฝัน ทาง ช่อง 8 - รายการ โชว์แตกฟอง คู่ก้บ พิมลวรรณ หุ่นทองคำ ทาง ช่อง 2 - รายการ สมาคมเมียจ๋า ทาง ททบ.5 - รายการ Joker Variety วาไรตี้จี้เส้น ทาง ช่อง 3 - รายการ คู่ซ่าภารกิจแซ่บ คู่กับ นุ้ย เชิญยิ้ม ทาง ทาง ช่อง 7 สี (ปัจจุบัน) - รายการ The Show ศึกชิงเวที ทางช่อง เวิร์คพอยท์ - รายการ ตลกแหลก คู่กับ นุ้ย เชิญยิ้ม ทาง ช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 (ปัจจุบัน)กรรมการตัดสินกรรมการตัดสิน. - รายการ มาสเตอร์คีย์ เวทีแจ้งเกิด ทาง ช่อง 3 (ปัจจุบัน) - รายการ กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงาเสียง ทาง ช่อง 7 สี (ปัจจุบัน) - รายการ เสียงสวรรค์พิชิตล้าน ทาง ช่อง 8 (ปัจจุบัน) - รายการ เซียนแกะสูตร ทาง ช่องวัน - รายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ทางช่อง เวิร์คพอยท์ (ปัจจุบัน) - รายการ I Can See Your Voice Thailand นักร้องซ่อนแอบ ทางช่อง เวิร์คพอยท์ (ปัจจุบัน) - รายการ บัลลังก์เสียงทอง ทาง ช่อง 3 (ปัจจุบัน) - รายการ We Kid Thailand เด็กร้องก้องโลก 2 ช่องเวิร์คพอยท์(ปัจจุบัน)ผลงานภาพยนตร์ผลงานภาพยนตร์. - เหยิน เป๋ เหล่ เซมากูเตะ (2550) ...พยาบาลที่ตายแล้ว - ก่อนบ่ายเดอะมูฟวี ตอนรักนะ...พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง (2550) ...อ้อย - Super แหบ-แสบ-สะบัด (2551) ...อุมาพร - โป๊ะแตก (2553) ...ตั๊ก - ยายสั่งมาใหญ่ (2553) ...ยายรางวัลที่ได้รับรางวัลที่ได้รับ. - นักร้องหญิงดีเด่น จากสยามกลการ ปี 2532 - ศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม จากสีสันอะวอร์ดส์ ปี 2535 - นักร้องหญิงดาวรุ่งยอดเยี่ยม จาก สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ปี 2535 - รางวัลดันดาราอวอดส์ จากรายการ ตีสิบ - รางวัลพระราชทานเทพทอง ครั้งที่14 ปี 2556
ตั๊ก ลีลา มีชื่อจริงว่าอะไร
3680
{ "answer_end": [ 220 ], "answer_start": [ 218 ], "text": [ "14" ] }
292956
ศิริพร อยู่ยอด ศิริพร อยู่ยอด หรือชื่อที่ใช้ในวงการบันเทิงว่า ตั๊ก ลีลา เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2515 ที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นนักร้องและนักแสดงตลกหญิงชาวไทย การศึกษา โพธิสารศึกษา ตั๊ก เริ่มต้นร้องเพลงตั้งแต่อายุ 14 ปี ด้วยการเดินสายประกวดที่จังหวัดนครสวรรค์ บ้านเกิด จากนั้นเมื่ออายุ 17 ปีได้เข้าประกวดร้องเพลงของสยามกลการ เมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้รับรางวัลนักร้องดีเด่น จากนั้นจึงได้เข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัวจากการสนับสนุนของ แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ โดยเป็นนักร้องในสังกัดอีเทอร์ทัล ค่ายเพลงของดนุพล มีอัลบั้มออกมาทั้งสิ้น 9 ชุด ในสังกัดนี้ มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น ฉันไม่ใช่นางเอก, ธุรกิจเธอ, หมดห่วง, ไม่มีฝีมือ ต่อมาจนถึงปัจจุบัน ได้หันมาเปลี่ยนบทบาทด้วยการแสดงแนวตลก ชีวิตส่วนตัวได้สมรสกับนุ้ย เชิญยิ้ม (ชูเกียรติ เอี่ยมสุข) นักแสดงตลก ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกันคนเดียวชื่อภูสิษฐ์ เอี่ยมสุข (ชื่อเล่น ภู)ผลงานผลงานเพลงผลงาน. ผลงานเพลง. - เพลงเดี่ยว- ชุด ตั๊ก ลีลา 2 นอนคนเดียว- ชุด ตั๊ก..เต็มโชว์- ชุด ตั๊ก..อันตราย- ชุด ตั๊ก..เต็มฮิต- ชุด อยากทำให้เธอรัก- ชุด มายา- ชุด วันที่รักร้าว- ชุด มีเยอะมั้ย- ชุด ครบวงจร- ชุด เธคแตก- ชุด ฉันคงไม่ลืม- ชุด Remember Five ร่วมกับ นิตยา บุญสูงเนิน, วารุณี สุนทรีสวัสดิ์, พรพิมล ธรรมสาร, นิภาพรรณ เครือนวล- เพลงประกอบละคร ต้มยำลำซิ่ง- ชุด หัวกะทิ- 16 ลีลา ตั๊กโชว์ เต็มฮิตผลงานละครผลงานละคร. - ตัวละครหลักละคร เรื่อง ผู้ใหญ่ลีกับนางมา รับบท ปทุม (2538) ช่อง 5 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง สวรรค์บ้านทุ่ง (2541) ช่อง 9 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง เมียหลวง รับบท นวลรัตน์ (2542) ช่อง 3 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง ท่านชายในสายหมอก (2542) ช่อง 3 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง ผู้ชายก็ท้องได้ (2543) ช่อง 7 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง แม่ย่านาง รับบท บุญเกลียว (2543) ช่อง 7 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง แม่ปูเปรี้ยว (2544) ช่อง 3 - ตัวละครหลักเรื่อง เรื่อง บ้านสาวโสด (2544) ช่อง 3 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง ชายครับเมื่อผมเป็นชาย รับบท นางชมพู (2544) ช่อง 5 - ตัวละครหลักละคร เรื่อง นายฮ้อยทมิฬ (2544) ช่อง 7 (รับเชิญ) - ตัวละครหลักละคร เรื่อง ไปแล้วกลับ หลับแล้วตื่น ฟื้นเพื่อเธอ รับบท จินดา แสดงคู่กับชูเกียรติ เอี่ยมสุข ช่อง ITV - ตัวละครรับเชิญซิตคอม เรื่อง ผู้กองเจ้าเสน่ห์ ตอน ดำเกิงเจ้าเสน่ห์ รับบท น้อยหน่า (รับเชิญ) ช่อง 3 - ตัวละครรองซิตคอม เรื่อง บ้านนี้มีรัก รับบท อมรา (รับเชิญ) ช่อง 9 - ตัวละครหลักซิตคอม เรื่อง เฮฮาหน้าซอย ช่อง 7 - ตัวละครหลักซิตคอม เรื่อง หมู่บ้านจำอวด ช่อง 3 - ตัวละครหลักซิตคอม เรื่อง ก่อนบ่ายคลายเครียด ช่อง 3 - ตัวละครหลักเรื่อง เรื่อง นางสาวผ้าขี้ริ้ว (2551) - ตัวละครหลักเรื่อง เรื่อง วงเวียนหัวใจ (2552) - ตัวละครรับเชิญซิตคอม เรื่อง ผีเฮี้ยนโฮเต็ล (รับเชิญ) ช่อง 7 - ตัวละครหลักซิตคอม เรื่อง คนเยอะเรื่องแยะ รับบท คุณนายปานเพชร ช่อง 7 - เรื่อง วิวาห์ว้าวุ่น รับบท - ตัวละครหลักเรื่อง ส้มหวานน้ำตาลเปรี้ยว รับบท อาจารย์โสภิต (2554) ช่อง 7 - ตัวละครหลักเรื่อง ต้มยำลำซิ่ง รับบท ขวัญข้าว (2555) ช่อง 3 - เรื่อง ซินเดอเรลล่ารองเท้าแตะ (2556) รับบท น้าตุ้ม ช่อง 7 - เรื่อง วิวาห์ป่าช้าแตก (2556) - เรื่อง สัญญาเมื่อสายยัณห์ รับบท นิ่ม (รับเชิญ)พิธีกรพิธีกร. - รายการ สายด่วนลูกทุ่ง ทาง ช่องไอทีวี - รายการ โชว์แหลก คู่กับ นุ้ย เชิญยิ้ม - รายการ สมาคมสมหญิง คู่กับ ปนัดดา วงศ์ผู้ดี - รายการ เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ทาง ช่อง 7 สี - รายการ เสียงสวรรค์พิชิตฝัน ทาง ช่อง 8 - รายการ โชว์แตกฟอง คู่ก้บ พิมลวรรณ หุ่นทองคำ ทาง ช่อง 2 - รายการ สมาคมเมียจ๋า ทาง ททบ.5 - รายการ Joker Variety วาไรตี้จี้เส้น ทาง ช่อง 3 - รายการ คู่ซ่าภารกิจแซ่บ คู่กับ นุ้ย เชิญยิ้ม ทาง ทาง ช่อง 7 สี (ปัจจุบัน) - รายการ The Show ศึกชิงเวที ทางช่อง เวิร์คพอยท์ - รายการ ตลกแหลก คู่กับ นุ้ย เชิญยิ้ม ทาง ช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 (ปัจจุบัน)กรรมการตัดสินกรรมการตัดสิน. - รายการ มาสเตอร์คีย์ เวทีแจ้งเกิด ทาง ช่อง 3 (ปัจจุบัน) - รายการ กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงาเสียง ทาง ช่อง 7 สี (ปัจจุบัน) - รายการ เสียงสวรรค์พิชิตล้าน ทาง ช่อง 8 (ปัจจุบัน) - รายการ เซียนแกะสูตร ทาง ช่องวัน - รายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ทางช่อง เวิร์คพอยท์ (ปัจจุบัน) - รายการ I Can See Your Voice Thailand นักร้องซ่อนแอบ ทางช่อง เวิร์คพอยท์ (ปัจจุบัน) - รายการ บัลลังก์เสียงทอง ทาง ช่อง 3 (ปัจจุบัน) - รายการ We Kid Thailand เด็กร้องก้องโลก 2 ช่องเวิร์คพอยท์(ปัจจุบัน)ผลงานภาพยนตร์ผลงานภาพยนตร์. - เหยิน เป๋ เหล่ เซมากูเตะ (2550) ...พยาบาลที่ตายแล้ว - ก่อนบ่ายเดอะมูฟวี ตอนรักนะ...พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง (2550) ...อ้อย - Super แหบ-แสบ-สะบัด (2551) ...อุมาพร - โป๊ะแตก (2553) ...ตั๊ก - ยายสั่งมาใหญ่ (2553) ...ยายรางวัลที่ได้รับรางวัลที่ได้รับ. - นักร้องหญิงดีเด่น จากสยามกลการ ปี 2532 - ศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม จากสีสันอะวอร์ดส์ ปี 2535 - นักร้องหญิงดาวรุ่งยอดเยี่ยม จาก สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ปี 2535 - รางวัลดันดาราอวอดส์ จากรายการ ตีสิบ - รางวัลพระราชทานเทพทอง ครั้งที่14 ปี 2556
ตั๊ก ลีลา เริ่มร้องเพลงตั้งแต่อายุกี่ปี
3681
{ "answer_end": [ 548 ], "answer_start": [ 529 ], "text": [ "มหาสมุทรแอนตาร์กติก" ] }
116439
แมงมุมทะเล แมงมุมทะเล () หรือ พีคโนโกนิดา เป็นสัตว์ทะเลไม่มีแกนสันหลังที่ในไฟลัมอาร์โธพอด จัดอยู่ในชั้น Pycnogonida และอันดับ Pantopoda แมงมุมทะเล เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกับแมงมุม ที่เป็นอาร์โธพอดจำพวกแมงที่อยู่บนพื้นผิวโลก แต่ทั้งสองมิได้เกี่ยวเนื่องอะไรกันเลยนอกจากจะอยู่ในไฟลัมเดียวกัน แมงมุมทะเลมีลักษณะเด่น คือ ส่วนขาที่ยาวที่อาจยาวได้ถึง 25 เซนติเมตร เป็นสัตว์นักล่าที่โดยดูดกินเนื้อเยื่อสัตว์อื่นเป็นอาหาร ที่อาศัยที่พื้นทะเล พบได้ในทะเลต่าง ๆ เช่น ทะเลเมดิเตอเรเนียนและทะเลแคริบเบียน รวมถึงมหาสมุทรอาร์กติก แต่พบมากที่มหาสมุทรแอนตาร์กติก โดยที่มหาสมุทรแอนตาร์กติกนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่พบในที่อื่น แมงมุมทะเลเป็นสัตว์ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำและเบามาก โดยระบบการไหลเวียนของเลือดจะอยู่ช่วงล่างของลำตัว ขณะที่ลำไส้ที่เป็นท่อลงไปและช่วงขาที่มีความแข็งแรง ลักษณะการเดินของแมงมุมทะเล เป็นไปในลักษณะขึ้น ๆ ลง ๆ เรียกว่า เพอริสทอลซิส (Peristalsis) คือ กระบวนการที่กล้ามเนื้อบีบรัดและคลายตัวอย่างมีจังหวะ เป็นกระบวนการเช่นเดียวกับการย่อยอาหารในกระเพาะอาหารไปจนถึงลำไส้ของมนุษย์ หากแต่กระบวนนี้ในแมงมุมทะเลอยู่ไกลกว่าจะเป็นที่ต้องการสำหรับการย่อยอาหาร เพราะต้องได้รับออกซิเจนเพียงพอในร่างกายด้วย
แมงมุมทะเลพบมากที่มหาสมุทรใด
3682
{ "answer_end": [ 663 ], "answer_start": [ 650 ], "text": [ "แอร์บัส เอ300" ] }
5480
แอร์บัส แอร์บัส (Airbus) โรงงานผลิตและประกอบเครื่องบินของแอร์บัสกรุ๊ป มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส โรงงานนี้รับผิดชอบในสายงานผลิตเครื่องบินพลเรือน โดยชิ้นส่วนต่างๆที่นำมาประกอบเครื่องบินในโรงงานนี้ ถูกผลิตจากฐานการผลิตย่อยกว่า 16 แห่งในฝรั่งเศส, เยอรมนี, สเปน, จีน, สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา โรงงานนี้มีลูกจ้างทั้งหมด 73,958 คน โรงงานแห่งนี้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2513 โดยใช้ชื่อว่า แอร์บัสอินดัสทรีย์ (Airbus Industrie) จากร่วมทุนโดยบริษัทเอกชนด้านการบินหลายๆแห่งในยุโรป โดยหวังเป็นคู่แข่งกับบริษัทซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาอย่าง โบอิง, แมคดอนเนลล์ดักลาส เป็นต้น โดยเครื่องบินแบบแรกที่ถูกผลิตขึ้นจากโรงงานนี้คือ แอร์บัส เอ300 ซึ่งขึ้นบินครั้งแรกในปี พ.ศ. 2515 และถือเป็นเครื่องบินที่มีทางเดินผู้โดยสารสองทางและเป็นเครื่องบินเครื่องยนต์แฝดชนิดแรกของโลกโรงงานผลิตของแอร์บัสสายการผลิตสายการผลิตในปัจจุบัน สายการผลิต. สายการผลิตในปัจจุบัน. 1. แอร์บัส เอ 320 1.1 แอร์บัส เอ 319,320,321 1.2 แอร์บัส เอ 319,320,321 นีโอ 2. แอร์บัส เอ 330 3. แอร์บัส เอ 330 นีโอ 4. แอร์บัส เอ 350 5. แอร์บัส เอ 380สายการผลิตในอดีต สายการผลิตในอดีต. 1. แอร์บัส เอ 300 2. แอร์บัส เอ 310 3. แอร์บัส เอ 318 4. แอร์บัส เอ 340
เครื่องบินแบบแรกที่ถูกผลิตขึ้นจากโรงงานผลิตและประกอบเครื่องบินของแอร์บัสกรุ๊ปในฝรั่งเศสคือรุ่นใด
3683
{ "answer_end": [ 235 ], "answer_start": [ 226 ], "text": [ "84 ล้านคน" ] }
2026
ภาษาฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส ( ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทยประวัติ ประวัติ. ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาละตินที่พูดกันในจักรวรรดิโรมันโบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกโกล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกโกล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ หลังจากที่ชาวโรมันได้เข้ามายึดดินแดนของพวกโกล คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้เปลี่ยนมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุงโรม แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษาโกลมาเรียกสิ่งของเหล่านั้น เช่น les braies ซึ่งแปลว่าเครื่องแต่งกายจำพวกกางเกงของชาวโกลยุคอาณาจักรแฟรงก์ ยุคอาณาจักรแฟรงก์. หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมอำนาจ ดินแดนหลายส่วนของจักรวรรดิโรมันตกอยู่ในเงื้อมมือของชนเผ่าป่าเถื่อนหลายพวก ชนเผ่าป่าเถื่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่าแฟรงก์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือ ชนเผ่าวิซิกอทที่อาศัยอยู่ทางใต้ ชนเผ่าเบอร์กันดีในบริเวณริมแม่น้ำโรน และชนเผ่าเอลแมนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ชนเผ่าป่าเถื่อนเหล่านี้พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิก สำเนียงของชนเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาษาละตินที่เคยพูดอยู่เดิมในฝรั่งเศส และคำจากภาษาของชนป่าเถื่อน ได้แก่ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีในการรบ และชนชั้นทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้ในภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศส โดยภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันมีคำที่มีที่มาจากคำในภาษาของชนป่าเถื่อนอยู่ประมาณ ร้อยละ 60ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง. นักภาษาศาสตร์ได้จัดจำแนกภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 จำพวก คือ พวกแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ พวกที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และพวกที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก Langue d'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ภาษา Langue d'oïl เติบโตต่อมาจนกลายเป็นภาษาฝรั่งเศสเก่า ช่วงระยะเวลาของภาษาฝรั่งเศสเก่าอยู่ระหว่าง ศตวรรษที่ 8 กับ ศตวรรษที่ 14 ภาษาฝรั่งเศสเก่ามีลักษณะร่วมกันหลายอย่างกับภาษาลาติน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลำดับคำในประโยคซึ่งมีอิสระสูงเหมือนภาษาลาติน และต่างกับการบังคับทางไวยกรณ์ของภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïlภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่. นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสเก่า เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสเก่า คือ "คำปฏิญาณแห่งสตราสบูร์ก" (Strasbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385 ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่าง ๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2177 พระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Richelieu) ได้ก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า L'Académie Française (ลากาเดมี ฟรองแซส หรือ วิทยสถานแห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเปรียบได้กับราชบัณฑิตยสถานของไทย) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ไม่ให้วิบัติ และคงภาษาฝรั่งเศสให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ฝรั่งเศสได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางของปรัชญารู้แจ้งที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น ทำให้อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสแผ่ออกไปกว้างขวางและกลายเป็นภาษากลางของยุโรป มีบทบาทสำคัฐทางการทูต วรรณคดี และศิลปะ มหาราชในยุคนั้นสองพระองค์ คือ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย สามารถตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ดีภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน. ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้นสถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส. ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้ควบคุมการใช้ภาษาในเอกสารของเอกชน และในเว็บไซต์ของเอกชน ซึ่งหากทำการควบคุมแล้ว ก็อาจขัดต่อหลักการเสรีภาพในการพูดได้สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา. ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็นชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่าง ๆ ของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่าง ๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียวของรัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ในปี พ.ศ. 2536 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้ รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐนิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิโทบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาทางการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มากสถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์. ภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษาโรมานช์ภาษาฝรั่งเศสในโลก ภาษาฝรั่งเศสในโลก. ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการในประเทศต่อไปนี้
ในปี พ.ศ. 2558 มีการบันทึกว่ามีผู้พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่จำนวนประมาณกี่คน
3684
{ "answer_end": [ 151 ], "answer_start": [ 144 ], "text": [ "ฟ้าอ่อน" ] }
734818
โกฐก้านพร้าว โกฐก้านพร้าว อยู่ในวงศ์ Plantaginaceae เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้าอวบ เกาะเลื้อย ใบออกเป็นกระจุกใกล้เหง้า ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยสีฟ้าอ่อนจำนวนมาก มีขนหยาบแข็ง ผลแห้งแบบแคบซูล มีเมล็ดจำนวนมาก กระจายพันธุ์ในเขตเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ปากีสถาน จนกระทั่งรัฐอุตตรประเทศและแคชเมียร์ของอินเดีย จนถึงสิกขิมและเนปาล เหง้าของพืชชนิดนี้ตากแดดให้แห้ง ใช้ทำยา ลักษณะเป็นเหง้ายาว ทรงกระบอก เปลือกหนา ผิวมีรอยย่น สีน้ำตาลอมเทา ใช้แก้ไข้เรื้อรัง เสมหะเป็นพิษ ในอินเดียและศรีลังกาใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในยาถ่ายหลายขนาน ในอินเดียบางแห่งใช้แก้พิษแมลงป่อง เป็นยาที่ใช้ในตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย พืชชนิดนี้มีปลูกอยู่ทั่วไป แต่มีความต้องการให้อนุรักษ์ไว้ในป่าตามธรรมชาติด้วย
ดอกของต้นโกฐก้านพร้าวมีสีอะไร
3685
{ "answer_end": [ 562 ], "answer_start": [ 554 ], "text": [ "แมลงป่อง" ] }
734818
โกฐก้านพร้าว โกฐก้านพร้าว อยู่ในวงศ์ Plantaginaceae เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้าอวบ เกาะเลื้อย ใบออกเป็นกระจุกใกล้เหง้า ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยสีฟ้าอ่อนจำนวนมาก มีขนหยาบแข็ง ผลแห้งแบบแคบซูล มีเมล็ดจำนวนมาก กระจายพันธุ์ในเขตเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ปากีสถาน จนกระทั่งรัฐอุตตรประเทศและแคชเมียร์ของอินเดีย จนถึงสิกขิมและเนปาล เหง้าของพืชชนิดนี้ตากแดดให้แห้ง ใช้ทำยา ลักษณะเป็นเหง้ายาว ทรงกระบอก เปลือกหนา ผิวมีรอยย่น สีน้ำตาลอมเทา ใช้แก้ไข้เรื้อรัง เสมหะเป็นพิษ ในอินเดียและศรีลังกาใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในยาถ่ายหลายขนาน ในอินเดียบางแห่งใช้แก้พิษแมลงป่อง เป็นยาที่ใช้ในตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย พืชชนิดนี้มีปลูกอยู่ทั่วไป แต่มีความต้องการให้อนุรักษ์ไว้ในป่าตามธรรมชาติด้วย
ชาวอินเดียใช้เหง้าของต้นโกฐก้านพร้าวแก้พิษสัตว์ชนิดใด
3686
{ "answer_end": [ 331 ], "answer_start": [ 320 ], "text": [ "พจน์ อานนท์" ] }
150100
ศรัณย์ สาครสิน ศรัณย์ สาครสิน (ชื่อเล่น: เล็ก) หรือชื่อจริง สมนึก สาครสิน เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2518 อดีตนักแสดงชายชาวไทย เป็นคนจังหวัดนครสวรรค์ คุณพ่อเสียชีวิตตั้งแต่เขายังไม่เกิด ส่วนคุณแม่แต่งงานมีครอบครัวใหม่ ทำให้ต้องอยู่กับอาม่าเง็กซิม แซ่ลิ้ม ศรัณย์เข้าสู่วงการบันเทิงในปี พ.ศ. 2534 โดยการชักชวนของ พจน์ อานนท์ ในการถ่ายแบบลงนิตยสารวัยรุ่น ก่อนที่จะมีงานแสดงในภาพยนตร์เรื่อง สะแด่วแห้ว ก็เริ่มมีชื่อเสียง และได้แสดงหนังอีกหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น ตุ๊ต๊ะต๋อมแต๋ม สุภาพบุรุษตัว ต., ม.6/2 ห้องครูวารี, ม.6/2 ห้องครูวารี เทอม 2 ตอน 6 เดือนไม่ขาดเพื่อนสักวัน, มัจจุราชตามล่าข้าไม่สน, ตัวเก็งเต็งหนึ่ง, ก ข ค โรงเรียนนอก ทางด้านงานละคร มีผลงานอย่าง กุหลาบในเปลวไฟ, เพลงใบไม้ร่วง, ปูลม, กว่าจะถึงวันนั้น ฯลฯ จนกระทั่งงานแสดงเรื่องสุดท้ายกับละครเรื่อง คู่เขย-คู่ขวัญ ทางด้านชีวิตส่วนตัว ศรัณย์ได้คบกับแฟนสาวที่ชื่อ ลันดา โสภาพรรณ ซึ่งเป็นแอร์โฮสเตส เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ศรัณย์ได้หายตัวไปจากบ้านพักอย่างลึกลับหลังจากไปให้ของขวัญวันเกิดกับแฟนสาว ก่อนที่ช่วงสายๆของวันถัดมา นายสมศักดิ์ หงส์อ่อน อายุ 35 ปี เรือหางยาวรับจ้าง ในแถวคลองลาดพร้าวพบศพศรัณย์ในลักษณะไม่ใส่เสื้อผ้า ใส่เพียงกางเกงวอร์มสีเทา จึงแจ้งตำรวจให้มาตรวจสอบ สภาพศพเบื้องต้นมีเลือดออกทางปากและจมูก ใบหน้ามีรอยเขียวช้ำและบวม ท้องบวม ร่างกายบวมและเริ่มอืด ซึ่งวันก่อนหน้านั้นมีคนมาแจ้งว่าศรัณย์ได้กระโดดลงน้ำดำเหม็นคลุ้งลึกกว่า 5 เมตรและจมหายไปผลงานภาพยนตร์ละคร
ศรัณย์ สาครสิน เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยคำชักชวนของบุคคลใด
3687
{ "answer_end": [ 77 ], "answer_start": [ 72 ], "text": [ "พัดชา" ] }
584431
สามี (ละครโทรทัศน์) สามี เป็นละครโทรทัศน์ไทย แนวดราม่า จากบทประพันธ์ของ พัดชา ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 2 ครั้ง ทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2556 โดยนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 สร้างโดยบริษัท ละครไท จำกัด บทโทรทัศน์โดย ละลิตา ฉันทศาสตร์โกศล และ นันทวรรณ รุ่งวงศ์พาณิชย์ กำกับการแสดงโดย ยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์ นำแสดงโดย พล ตัณฑเสถียร และ ศิริลักษณ์ ผ่องโชค ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2556 บริษัท เมคเกอร์ เจ กรุ๊ป จำกัด นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง บทโทรทัศน์โดย สองปุณณณฐ ควบคุมการผลิตโดย จริยา แอนโฟเน่ กำกับการแสดงโดย เมธี เจริญพงศ์ นำแสดงโดย วรินทร ปัญหกาญจน์ และ รณิดา เตชสิทธิ์ ออกอากาศทุกคืนวันพุธ-วันพฤหัสบดี เวลา 20.15 - 22.45 น. ออกอากาศตั้งแต่วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึง วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557รายชื่อนักแสดงนำในครั้งต่างๆการออกอากาศในต่างประเทศการออกอากาศในต่างประเทศ. - เมียนมาร์ ทางช่อง 7 เมียนมาร์ ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 18.00 - 19.45 น. (ตุลาคม - พฤศจิกายน 2560)
ละครโทรทัศน์ไทยเรื่องสามี ดัดแปลงมาจากนวนิยายที่เขียนโดยผู้ใด
3688
{ "answer_end": [ 210 ], "answer_start": [ 206 ], "text": [ "2542" ] }
584431
สามี (ละครโทรทัศน์) สามี เป็นละครโทรทัศน์ไทย แนวดราม่า จากบทประพันธ์ของ พัดชา ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 2 ครั้ง ทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2556 โดยนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 สร้างโดยบริษัท ละครไท จำกัด บทโทรทัศน์โดย ละลิตา ฉันทศาสตร์โกศล และ นันทวรรณ รุ่งวงศ์พาณิชย์ กำกับการแสดงโดย ยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์ นำแสดงโดย พล ตัณฑเสถียร และ ศิริลักษณ์ ผ่องโชค ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2556 บริษัท เมคเกอร์ เจ กรุ๊ป จำกัด นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง บทโทรทัศน์โดย สองปุณณณฐ ควบคุมการผลิตโดย จริยา แอนโฟเน่ กำกับการแสดงโดย เมธี เจริญพงศ์ นำแสดงโดย วรินทร ปัญหกาญจน์ และ รณิดา เตชสิทธิ์ ออกอากาศทุกคืนวันพุธ-วันพฤหัสบดี เวลา 20.15 - 22.45 น. ออกอากาศตั้งแต่วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึง วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557รายชื่อนักแสดงนำในครั้งต่างๆการออกอากาศในต่างประเทศการออกอากาศในต่างประเทศ. - เมียนมาร์ ทางช่อง 7 เมียนมาร์ ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 18.00 - 19.45 น. (ตุลาคม - พฤศจิกายน 2560)
ละครโทรทัศน์ไทยเรื่องสามี ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ใด
3689
{ "answer_end": [ 205 ], "answer_start": [ 175 ], "text": [ "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" ] }
348613
โรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ โรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ในเขตภาคใต้ตอนล่าง สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เขตการศึกษาโคกเคียน ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและปรับภูมิทัศน์ประวัติ ประวัติ. เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 สภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีมติจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้น เพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและคณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดใกล้เคียงให้ดีขึ้น และเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานสากล ตามหลักปรัชญาที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มุ่งหวังให้มีเป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ได้มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของงานวิจัย ให้บริการวิชาการและวิชาชีพด้านสุขภาพ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2552 จึงได้อนุมัติให้ดำเนินการสร้างอาคารโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ขึ้น เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4-6) และนักศึกษาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ที่กำลังจะมีการจัดตั้งขึ้นต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้ที่สำคัญที่สุด คือ การเป็นศูนย์วิจัยและบริการวิชาการทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทยในเขตภาคใต้ตอนล่าง รวมทั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพของการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลแก่พี่น้องประชาชชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้และจังหวัดใกล้เคียง และยังรวมถึงประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคประชาคมอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ เป็นต้น ให้ได้มากยิ่งขึ้น โรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ (ชื่อเดิม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ หรือ ศูนย์การแพทย์นราธิวาสราชนครินทร์ ) ได้ก่อตั้งขึ้น ณ เขตการศึกษาโคกเคียน มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ หรือบริเวณศูนย์ราชการแห่งใหม่ของจังหวัดนราธิวาส ซึ่งลักษณะโรงพยาบาลเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 12 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 19,000 ตารางเมตร โดยเป็นแหล่งปฏิบัติงานรวมทั้งแหล่งการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และเป็นสถาบันหลักในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขตามความต้องการของภาคใต้และของภูมิภาค ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะนำภูมิภาคนี้และประเทศไทยไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่ดีขึ้นโดยในเบื้องต้น โรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ จะเริ่มเปิดให้บริการทางการแพทย์และรักษาพยาบาลเฉพาะแผนกผู้ป่วยนอก (OPD ; Outpatient department) เป็นเบื้องต้นในระยะแรกไปก่อน จนกว่าการก่อสร้างอาคารและสาธารณูปโภคต่างๆ จะเสร็จสมบูรณ์
โรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยใด
3690
{ "answer_end": [ 412 ], "answer_start": [ 403 ], "text": [ "เขตบางรัก" ] }
23996
โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนอัสสัมชัญ (บ้างเรียก อัสสัมชัญบางรัก หรือ อัสสัมชัญกรุงเทพ, ย่อ: อสช, AC) เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ในกลุ่มจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แผนกประถม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ และแผนกมัธยม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการขึ้นโดยบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 ที่ใช้เรือนไม้ขนาดเล็ก เป็นที่สอนหนังสือแก่เด็กยากจน และกำพร้า จนเมื่อมีนักเรียนเข้าศึกษาเพิ่มมากขึ้น บาทหลวงกอลมเบต์จึงได้ขอเรี่ยไรเงินบริจาคเพื่อสร้างอาคารเรียนถาวรซึ่งก็คือ "ตึกเก่า" ขึ้นเป็นหลังแรกของโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2444 ภราดา 5 ท่าน โดยการนำของภราดามาร์ติน เดอ ตูรส์ ภราดาอาแบล ภราดาออกุสต์ ภราดาคาเบรียล เฟอร์เร็ตตี และภราดาฟ. ฮีแลร์ ได้เดินทางมายังกรุงเทพมหานคร เพื่อสานต่องานด้านการศึกษาจากบาทหลวงกอลมเบต์ ทำให้โรงเรียนอัสสัมชัญ กลายเป็นโรงเรียนแห่งแรกในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์หลุยส์ และโรงเรียนที่ใช้คำนำหน้าว่า "อัสสัมชัญ" ด้วยกัน 11 แห่ง และมหาวิทยาลัย 1 แห่ง ภายหลังการเข้ามาของคณะภราดาเซนต์คาเบรียลทั้งห้า โรงเรียนอัสสัมชัญได้พัฒนาการไปสู่สถานศึกษาของชนชั้นกลางถึงชั้นเจ้านายมากกว่าจะเป็นโรงเรียนของเด็กเข้ารีตหรือลูกกำพร้าตามวัตถุประสงค์เดิมที่บาทหลวงกอลมเบต์ ได้ตั้งไว้ตั้งแต่เริ่ม อนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผล คือ การเรียนการสอนซึ่งเป็นแบบตะวันตกในขณะนั้น และทำเลที่ตั้งซึ่งตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจสำคัญ นับจากอดีตจนถึงปัจจุบันโรงเรียนมีอธิการมาแล้ว 17 คน อธิการคนปัจจุบัน คือ ภราดาวิริยะ ฉันทวโรดม ส่วนผู้อำนวยการโรงเรียนคือ ภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์ แต่เดิมโรงเรียนชื่อ "โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ" ซึ่งแปลมาจากภาษาฝรั่งเศสของคำว่า "Le Collège de l'Assomption" จนในปี พ.ศ. 2453 ภราดาฮีแลร์จึงได้แจ้งไปทางกรมการศึกษาเพื่อขอเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนอาศรมชัญ" แต่พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ อธิบดีกรมศึกษาขณะนั้น แนะนำว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนอัสสัมชัญ" ซึ่งกลายเป็นชื่อที่ใช้มาจวบจนถึงทุกวันนี้ โรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นผู้บุกเบิกการแปรอักษรที่นำเข้ามาใช้ในการทำเชียร์ครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นแนวคิดของมาสเตอร์เฉิด สุดารา จนในเวลาต่อมา ก็ได้มีการเผยแพร่ไปสู่การแปรอักษรทั้งในงานจตุรมิตรสามัคคี และงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ ปี เป็นโรงเรียนชายที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และเป็นโรงเรียนโรมันคาทอลิกแห่งแรกของประเทศ มีศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันรวมแล้วกว่า 5 หมื่นคน ซึ่งคนที่จบจากโรงเรียนอัสสัมชัญจะใช้คำว่า "อัสสัมชนิก" โรงเรียนอัสสัมชัญมีศิษย์เก่าที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในแขนงต่าง ๆ ทั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 2 คน, องคมนตรี 15 คน นายกรัฐมนตรี 4 คน และนักธุรกิจ ผู้บริหารอีกหลายคน จากการจัดอันดับหัวข้อ "มหาเศรษฐีในไทยประจำปี 2016" ของฟอร์บส์ประเทศไทย โดยเพียง 10 อันดับแรกก็มีบุคคลหรือทายาทในตระกูลที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมขัญ ติดอันดับรวม 3 อันดับด้วยกันประวัติช่วงแรก ประวัติ. ช่วงแรก. ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนอัสสัมชัญ คือ บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ (คุณพ่อกอลมเบต์) อธิการโบสถ์อัสสัมชัญ ชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2420 โดยเริ่มจากการให้การศึกษาแก่เด็กคาทอลิก (คริสตัง) ณ วัดสวนท่าน อันเป็นโบสถ์คาทอลิกแห่งหนึ่งในชุมชนแถบบางรัก ใกล้ริมฝั่งเจ้าพระยา เขาเข้ามาอาศัยในประเทศสยามแล้วประมาณ 5 ปี ท่านได้เริ่มให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ในละแวกนั้น ซึ่งมีทั้งเด็กคาทอลิกที่ยากจน และกำพร้า เพื่อให้เด็กเหล่านั้นได้มีความรู้ ด้วยการสอนวิชาความรู้และศาสนาควบคู่กันไป จากหนังสือประวัติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2435 - พ.ศ. 2507 กล่าวถึงการจัดการศึกษาฝ่ายโรงเรียนราษฎร ว่า "...ใน พ.ศ. 2420 มีโรงเรียนไทย-ฝรั่ง ซึ่งต่อมาเรียกว่าโรงเรียนอัสสัมชัญ..." อันที่จริง โรงเรียนไทย-ฝรั่งที่ว่านี้ ที่ถูกต้องคือ โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศส วัดสวนท่าน ซึ่งตั้งขึ้น โดยบาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ (Piere Emile Colombet) นั่นเอง โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศสแห่งนี้ กล่าวได้ว่าคือรากฐานที่พัฒนามาสู่โรงเรียนอัสสัมชัญในอีก 8 ปีต่อมา โดยแรกเริ่มมีนักเรียน 12 คน ในช่วงปีแรกนั้น นักเรียนยังมีจำนวนน้อย ท่านต้องเดินไปตามบ้านเพื่อขอร้องให้ผู้ปกครองส่งเด็กมาเรียนหนังสือกับท่าน จนต่อมาท่านก็ได้ใช้เนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 3 งาน ตรงบริเวณนั้นก็มีบ้านของคุณพ่อกังตอง (pere Ganton) อันเป็นเรือนไม้เก่าขนาดเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นโดยมุขนายกฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว เมื่อ พ.ศ. 2392 เป็นบริเวณที่พักของคุณพ่อกังตองซึ่งเป็นหัวแรงใหญ่ในการดูแลงานโรงเรียน มีเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ซึ่งกั้นเป็นห้องเรียนได้ 1 ห้อง และบนเรือนเป็นห้องเรียนได้อีก 1 ห้อง เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน และมีลานเล่นทีมีหลังคามุงด้วยจาก พอให้นักเรียนได้มีที่กำบังแดดและฝนยามวิ่งเล่นอีกหลังหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้คุณพ่อกอลมเบต์ยังได้จ้างนายคอนอแว็น ชาวอังกฤษให้มาเป็นครูใหญ่ โรงเรียนของท่านได้เริ่มเปิดเรียนวันแรกในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 ตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศ (Le Collège de l'Assomption) ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้ ซึ่งในขณะนั้นมีนักเรียน 33 คน ด้วยจำนวนนักเรียนเพียง 33 คน ทำให้ครูใหญ่รู้สึกท้อถอยและคิดจะลาออกกลับไปยังประเทศของตน แต่คุณพ่อกอลมเบต์ก็ได้ปลุกปลอบและให้กำลังใจเรื่อยมา จนในที่สุดก็มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 80 คน โดยนักเรียนคนแรกของโรงเรียน คือ ยวงบัปติส เซียวเม่งเต็ก (อสช 1) ปีต่อมามีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 130 คน การเรียนการสอนในยุคแรกเป็นภาษาไทยควบคู่กับภาษาฝรั่งเศส เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สถานที่จึงคับแคบลง คุณพ่อกอลมเบต์ปรารถนาที่จะสร้างอาคารใหม่ ท่านจึงได้ออกเรี่ยไรเงินไปตามบ้านผู้มีจิตศรัทธาต่าง ๆ และได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาไปถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ก็ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับคุณพ่อกอลมเบต์เพื่อใช้ในการดำเนินงานการก่อสร้างเรียนครั้งนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน 50 ชั่ง (4,000 บาท) และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระราชทาน 25 ชั่ง (2,000 บาท) พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และเจ้าขุนมูลนายต่าง ๆ ก็ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วย 23 เมษายน พ.ศ. 2430 คุณพ่อกอลมเบต์ลงนามสัญญาก่อสร้างตึกเรียนหลังแรกกับมิวเตอร์กราซี (Mr. Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลี ด้วยจำนวนเงิน 50,000 บาท และได้เริ่มวางรากฐานการก่อสร้างตึกหลังแรกของโรงเรียนซึ่งมีชื่อว่า "Le Collège de l'Assomption" (ซึ่งต่อมาเรียกว่า "ตึกเก่า") ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 และในวันที่ 15 สิงหาคม ปีนั้น อันเป็นวันสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (อัสสัมชัญ) ซึ่งนับว่าเป็นฤกษ์ดี คุณพ่อกอลมเบต์จึงเลือกการวางศิลารากโรงเรียนในวันนั้น โดยเชิญคุณพ่อดองต์ (d'Hondt) ผู้ช่วยมุขนายกมิสซังกรุงเทพมหานคร มาทำการเสกศิลา และได้พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งกลไฟชื่อ "อาเลกซันตรา" ซึ่งกรมหมื่นดำรงราชนุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ พระยาภาสกรวงษ์ ผู้แทนเสนาบดีว่าการต่างประเทศ ได้นำคุณพ่อดองต์ และคุณพ่อกอลมเบต์ ไปรับเสด็จที่ท่า ผ่านกระบวนนักเรียน ตามทางประดับด้วยผ้าแดง ธงต่าง ๆ ต้นกล้วย ใบไม้ เสื่อลวด ดังปรากฏหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 4 แผ่นที่ 18 หมายเลข 138 ว่า "ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ เวลาบ่าย 4 โมงเสศ...ทรงจับฆ้อนเคาะแผ่นศิลานั้น" แล้วดำรัสว่า ให้ที่นี้ถาวรมั่นคงสืบไป อาคารใหม่ (ตึกเก่า) หลังนี้ได้สร้างสำเร็จบริบูรณ์ใน พ.ศ. 2433 ปี พ.ศ. 2439 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจนถึง 300 คน และเพิ่มเป็น 400 คนในปีต่อมา จนทำให้ภาระของคุณพ่อกอลมเบต์เพิ่มมากขึ้น ศิษย์ของท่านมีทั้งชาวไทย ชาวจีน แขก ฝรั่ง ทั้งที่นับถือศาสนาพุทธ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ ศาสนาอิสลาม ลัทธิขงจื๊อ ฯลฯ ทำให้ท่านมีเวลาเพื่อศาสนากิจอันเป็นงานหลักของท่านน้อยเกินไป ดังนั้นเมื่อตึกเรียนได้เริ่มใช้งานมา 10 ปีแล้ว คือเริ่มใช้งานในปี พ.ศ. 2433 การดำเนินงานของโรงเรียนก็เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น เมื่อท่านป่วยและต้องเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเพื่อรักษาตัวในปี พ.ศ. 2433 ท่านจึงได้มอบหมายภาระทางด้านโรงเรียนนี้ให้กับคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เพื่อมาดำเนินงานต่อจากท่าน เมื่อท่านได้กลับมาประเทศไทย หลังจากที่รักษาตัวที่อยู่ที่ฝรั่งเศสเกือบ 3 ปี ท่านยังแวะเวียนมาดูแลภราดรและโรงเรียนบ่อยครั้ง โดยเฉพาะทุกวันอาทิตย์และทุกปิดเทอมที่ท่านร่วมขบวนทัศนาจรด้วย ความแตกต่างระหว่างโรงเรียนเก่า (พ.ศ. 2420 - พ.ศ. 2427) กับโรงเรียนใหม่ (พ.ศ. 2428 เป็นต้นมา) ของคุณพ่อกอลมเบต์ก็คือ โรงเรียนใหม่มิได้มุ่งสอนเฉพาะเด็กโรมันคาทอลิกอีกต่อไป หากเปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกเชื้อชาติ ศาสนา เมื่อพิจารณาช่วงเวลาที่โรงเรียนแห่งนี้เปิดสอนคือ พ.ศ. 2428 จะเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่รัฐกำลังจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัด เพื่อให้ราษฎรทั่วไปมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนตามแบบหลวงที่ได้จัดให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และบุตรหลานข้าราชการมาก่อนแล้ว เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ หรืออาซมซาน กอเล็ศ เปิดขึ้นจึงเป็นการสอดรับกับนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐพอดี ทั้งยังเป็นการช่วยขยายการศึกษาออกสู่ราษฎรอีกประการหนึ่งคณะเซนต์คาเบรียลรับช่วงต่อ คณะเซนต์คาเบรียลรับช่วงต่อ. ในปี พ.ศ. 2443 บาทหลวงกอลมเบต์ได้ติดต่อขอความช่วยเหลือด้านบุคลากรมาจากคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ณ ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2444 ภราดา 5 ท่าน โดยการนำของภราดามาร์ติน เดอ ตูรส์ ภราดาอาแบล ภราดาออกุสต์ ภราดาคาเบรียล เฟอร์เร็ตตี และภราดาฮีแลร์ ได้เดินทางถึงกรุงเทพมหานคร และเข้ารับช่วงงานและสานต่องานด้านการศึกษาจากบาทหลวงกอลมเบต์ ทำให้โรงเรียนอัสสัมชัญกลายเป็นโรงเรียนแห่งแรกในมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ในเวลานั้นโรงเรียนมีอาคารอยู่ 3 หลังด้วยกันคือ "ตึกเก่า" เรือนไม้หลังแรก บ้านคุณพ่อกังตอง และลานเล่นที่มุมด้วยหลังคาจาก ซึ่งเป็นที่เล่น พักผ่อน และที่ทำโทษให้ "ยืนเสา" เมื่อทำผิด เมื่อท่านภราดาเพิ่งเข้ามารับการสอนแทนคุณพ่อกอลมเบต์ใหม่ ๆ นั้น คุณพ่ออื่น ๆ ที่เคยเป็นครูก็ออกไปสอนศาสนากันทั้งสิ้น เหลือแต่คุณพ่อกังตองผู้เดียวที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่เหล่าภราดาและนักเรียน จนกระทั่งวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2455 คุณพ่อกังตองก็จากไปรับตำแหน่งใหม่ที่ฮ่องกง และมรณภาพที่นั่นในปีต่อมา ตอนนั้นเหล่าภราดาที่เข้ามาอยู่ใหม่ ๆ ยังไม่ชำนาญภาษาไทย จึงได้มีการจัดให้มีครูไทยกำกับแปลในชั้นเรียนต่ำ ๆ ที่เด็กยังไม่เข้าใจภาษาต่างประเทศ ปอล จำเริญ (ขุนสถลรถกิจ) จึงได้สมัครมาช่วยเป็นครูแปลให้ จนสิ้นปี พ.ศ. 2445 ภราดาต่าง ๆ ก็สามารถจะพูดไทยได้ดีขึ้น ในสมัยนั้นคณะภราดาจะทำหน้าที่สอนภาษาฝรั่งเศสและจ้างครูมาสอนภาษาอังกฤษแต่มิได้เป็นครูประจำ ครูประจำมีแต่ภาษาไทยเท่านั้น แต่เมื่อชั้นเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องหาครูมาประจำตอนแรกก็เป็นพวกลูกครึ่งแขก-อังกฤษหรือลูกครึ่งโปรตุเกสบ้าง แต่แล้วในที่สุดก็พบว่านักเรียนเก่าของโรงเรียนที่จบออกมาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้านั้นสามารถทำงานได้อย่างดี เพราะคุ้นเคยกับวิธีการสอน และระบบการทำงานของโรงเรียนมากกว่าคนนอก ตั้งแต่เริ่มแรก การเรียนปีหนึ่งจะเริ่มจากสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์และเรียนเรื่อยไปจนวันที่ 21 ธันวาคมของทุกปี อันเป็นวันแจก Diploma Certificater และรางวัลต่าง ๆ สำหรับผู้ที่จบหลักสูตรและมีผลการเรียนดีเด่น ในวันนั้นจะมีการแสดงละครทั้งภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ เป็นประเพณีทุกปี บรรดาผู้ปกครองได้รับเชิญให้มาร่วมในงานนี้ด้วยการพัฒนาโรงเรียนในช่วงก่อน พ.ศ. 2475 การพัฒนาโรงเรียนในช่วงก่อน พ.ศ. 2475. วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ภราดามาร์ตินได้ขอเปลี่ยนโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งขึ้นทะเบียนของกระทรวงธรรมการอย่างโรงเรียนมัธยมพิเศษ เป็นโรงเรียนอุดมศึกษา และขอให้เจ้าพนักงานไปควบคุมการสอบไล่ของนักเรียน พ.ศ. 2455 แต่ทางกระทรวงฯ ก็ยังไม่ได้รับรองเทียบเท่าชั้นมัธยม 6 ให้เพราะจัดสอบไล่เองและข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด กระทรวงฯ มิได้เป็นผู้ตัดสินและตรวงสอบ จนกระทั่งในการสอบปลายปี 2485 โรงเรียนจึงได้ใช้ข้อสอบของกระทรวงฯ ซึ่งเป็นภาษาไทยแทน ในปี พ.ศ. 2456 ได้มีการจัดตั้งสภานักแต่งชื่อ "อัสสัมชัญอาคาเดมี" ขึ้นเพื่อรับสมาชิกเอก โท ตรี สำหรับนักเรียนที่ยังเรียนอยู่ และผู้ที่ออกไปแล้วจะได้หัดแต่งเรื่องราวให้มีโวหารสำนวนน่าชวนอ่าน และได้มีการจัดตั้ง "อัสสัมชัญยังแม็น" (A.C.Y.M.A.) สำหรับนักเรียนใหม่มีโอกาสรื่นเริงบันเทิงใจด้วยกัน และคบหาสมาคมกับนักเรียนเก่าที่เป็นผู้ใหญ่ รู้ขนบธรรมเนียมของโลกและการงานต่าง ๆ ด้วย ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2457 ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นแถวบางรัก เพลิงโหมตั้งแต่บ่ายสามถึงราวเที่ยงคืน อยู่ห่างจากโรงเรียนเพียง 2-3 ร้อยหลา ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2457 ได้มีการเปิดการแข่งขันกรีฑาของคณะเซนต์คาเบรียล (Gymkhana) ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยโรงเรียนอัสสัมชัญก็ได้เข้าร่วมในกรีฑาครั้งนี้ด้วย และในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เป็นวันที่โรงเรียนมีนักเรียนที่กำลงศึกษาอยู่ถึง 1,000 คน จากนั้น 2 ปี เกิดเหตุการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดในช่วงวันที่ 15-25 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ทำให้โรงเรียนหยุดชั่วคราว มีครูและนักเรียนป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่เป็นอันมาก ต่อมา เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เมื่อตี 4 ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ที่บ้านติดกับเรือนไม้ของโรงเรียน ทุกคนเห็นตรงกันว่า โรงเรียนรอดมาได้ราวกับปฏิหาริย์ เพราะคำภาวนาของท่านภราดามาร์ติน เดอ ตูรส์ ซึ่งคุกเข่าสวดมนต์หันหน้าเข้าหาไฟอยู่บนระเบียงของเรือนไม้ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2463 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สภานายกหอสมุดวิชรญาณสำหรับพระนคร ได้เสด็จทรงเยี่ยมดูโรงเรียนและพบปะกับภราดาฮีแลร์เพื่ออธิบายความคิดเห็นของพระองค์ในเรื่องหนังสือดรุณศึกษา ซึ่งภราดาฮีแลร์เป็นผู้แต่งขึ้นสำหรับใช้สอนภาษาไทยให้กับเด็กๆ โดยมีภราดาหลุยส์ อีแบร์ ครูวาดเขียนเป็นผู้วาดรูปถ่าน และรูปสีต่างๆประกอบ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเยี่ยมชมกิจการของโรงเรียน พระองค์ได้ประทาน พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2470 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการก็ได้เสด็จทรงเยี่ยมโรงเรียนอย่างเป็นทางการ โรงเรียนได้จัดงาน "สุวรรณสมโภช" หรือการฉลองครบรอบ 50 ปีในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2476การนัดหยุดเรียนประท้วงของนักเรียนอัสสัมชัญและเซนต์คาเบรียล การนัดหยุดเรียนประท้วงของนักเรียนอัสสัมชัญและเซนต์คาเบรียล. ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2475 นักเรียนชั้นโตของโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนเซนต์คาเบรียล นัดหยุดเรียน และไปชุมนุมในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2475 ที่บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงการธรรมการ เพื่อเสนอข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ ให้ลดค่าเล่าเรียนตามสมควร ให้หยุดเรียนในวันพิธีของศาสนาพุทธ และให้รับนักเรียนที่ถูกไล่ออกกลับเข้าเรียน ในที่สุด โรงเรียนให้คำตอบ ปรกติโรงเรียนก็พิจารณาลดค่าเล่าเรียนให้นักเรียนที่มีฐานะไม่ดีจ่ายค่าเล่าเรียนตามกำลังทรัพย์อยู่แล้ว และโรงเรียนยังมีเด็กกำพร้าและเด็กอนาถาที่งดเก็บค่าเล่าเรียน และจะต้องเลี้ยงดูอยู่หลายร้อยคน จึงขอให้พวกมีฐานะที่จะเสียได้ ได้ช่วยกันเสียค่าเล่าเรียนตามที่กำหนดด้วย ส่วนวันหยุดนั้นไม่อาจจะวางตายตัวได้ เพราะที่โรงเรียนเรียนมีนักเรียนหลายศาสนามาก หากหยุดก็ต้องหยุดในวันศาสนาอื่น ๆ ด้วย ซึ่งจะเป็นการยุ่งยาก แต่อย่างไรก็ตามก็ได้อนุญาตให้นักเรียนลาหยุดในวันศาสนาของแต่ละคนอยู่แล้วมิได้ขัดขวาง ส่วนจะให้รับนักเรียนที่ถูกไล่ออกไปกลับเข้าเรียนตามเดิมนั้นคงจะเป็นไปไม่ได้ ด้วยจะทำให้โรงเรียนเสียระบบการปกครองไป ในการหยุดเรียนคราวนั้นโรงเรียนได้ปิดตัวเองไปเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม ๆ โดยถือโอกาสเป็นปิดเทอมแทนเดือนตุลาคมไป และเปิดเรียนใหม่อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2475 เหตุการณ์ครั้งนั้นนับว่าเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของนักเรียนบางคนเท่านั้นการพัฒนาโรงเรียนหลัง พ.ศ. 2475 การพัฒนาโรงเรียนหลัง พ.ศ. 2475. ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 โรงเรียนก็ได้เปิดแผนกพาณิชย์ขึ้นในโรงเรียน โดยมีภราดาโรกาเซียงเป็นผู้ควบคุมดูแล ต่อมาแผนกนี้ได้ถูกย้ายไปเปิดเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการปัจจุบัน ต่อมาโรงเรียนอัสสัมชัญได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จเยี่ยมโรงเรียนอย่างไม่เป็นทางการ โดยทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมอาสนวิหารอัสสัมชัญ ก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ โดยคุณพ่อโชแรง บาทหลวงอาสนวิหารอัสสัมชัญ ได้นำเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชมโรงเรียนอัสสัมชัญด้วย และในปี พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงคอนเสิร์ต ซึ่งจัดโดยสถานทูตฝรั่งเศส ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช ในวโรกาสที่โรงเรียนเฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปี วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานวชิรสมโภชอีกด้วย จากความคิดเพื่อต้องการเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์และนักเรียน ระหว่างโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่ทั้ง 4 แห่งของไทย ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และโรงเรียนอัสสัมชัญ มาสเตอร์บรรณา ชโนดม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนอัสสัมชัญในขณะนั้น จึงตัดสินใจร่วมมือจัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีระหว่าง 4 สถาบันขึ้น ซึ่งได้เริ่มขึ้นครั้งแรกในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม. สืบเนื่องจากโรงเรียนอัสสัมชัญคับแคบ ประกอบกับจำนวนนักเรียนทุกระดับชั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้ต่อมาได้มีแนวคิดที่จะแยกแผนกประถมและแผนกมัธยมศึกษาออกจากกัน และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ก็เริ่มมีการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกของแผนกประถมศึกษา คือ "ตึกมาร์ติน เดอ ตูรส์" บนสนามส่วนหนึ่งของโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ด้านติดเซนต์หลุยส์ซอย 3 ถนนสาทรใต้ ซึ่งมีเนื้อที่กว่า 5 ไร่ 4 งาน ใน พ.ศ. 2509 นักเรียนชั้นประถม 1-4 ได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมม ณ เลขที่ 90/1 ซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพฯ เพื่อลดจำนวนนักเรียนลงให้พอกับห้องเรียนที่มีอยู่ขณะนั้น เปิดสอนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 มีภราดาวิริยะ ฉันทวโรดมดำรงตำแหน่งอธิการ และเริ่มให้นักเรียนเข้าเรียนวันแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 โดยพระคุณเจ้ายวง นิตโย เป็นผู้เสกอาคาร และหม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี ปัจจุบันโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ส่วนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ใช้ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรักเช่นเดิมหลังแยกแผนกประถมศึกษา หลังแยกแผนกประถมศึกษา. ใน พ.ศ. 2511 ภราดาพยุง ประจงกิจได้ตั้งคณะ "วาย.ซี.เอส" (Y.C.S) ขึ้นเพื่ออบรมสั่งสอนให้นักเรียนคาทอลิกได้รู้จักการเป็นคาทอลิกที่ดีอยู่ในศีลธรรม ตามคำสอนของศาสนา ส่วนบัตรประจำตัวนักเรียนเริ่มใช้ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2513 เป็นวันแรก ใน พ.ศ. 2513 ตึกเก่า ซึ่งมีอายุได้ 80 ปีแล้ว ถูกรื้อถอนเพื่ร้างอาคารเรียนหลังใหม่ชื่อ ตึก ฟ.ฮีแลร์ ในช่วงระหว่างกำลังก่อสร้างอาคาร ทำให้ห้องเรียนไม่เพียงพอสำหรับใช้ในการเรียนการสอน นักเรียนในขณะนั้นต้องผลัดกันเรียนเป็นผลัดเช้าและผลัดบ่ายที่ตึกกอลมเบต์ จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่น สองผลัด ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2515 และนักเรียนรุ่นนั้น (พ.ศ. 2505 - 2517) ยังเป็นนักเรียนรุ่นสุดท้ายที่ได้เรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก ตลอดตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 จนจบการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รุ่นต่อจากนี้จะย้ายไปเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมแทน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเปิด ตึก ฟ.ฮีแลร์ ในปีเดียวกัน วันที่ 30 มิถุนายน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินมายังหอประชุมสุวรรณสมโภชของโรงเรียน เพื่อทอดพระเนตรละครเรื่อง "อานุภาพแห่งความเสียสละ" ซึ่งจัดขึ้น ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช และได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 2,000 บาท แก่โรงเรียนเพื่อสมทบทุนสร้างตึก "ฟ. ฮีแลร์" ต่อมาในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้มาเป็นประธานเปิดงานชุมนุมผู้แทนองค์การศาสนา ครั้งที่ 8 ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช สองปีถัดมาในปี พ.ศ. 2517 มีการจัดตั้งสภานักเรียนขึ้น ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นคณะกรรมการนักเรียน ใน พ.ศ. 2527 โรงเรียนอัสสัมชัญมีอายุครบ 100 ปี ขณะนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 อยู่ระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย และพระองค์ทรงเสกศิลาฤกษ์ ตึกอัสสัมชัญ 100 ปี ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2529 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงโขนชุด "สมโภชพระราม" ในงานสมโภชอัสสัมชัญ 100 ปี ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช ภายในโรงเรียน วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2530 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานงานเฉลิมฉลองวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนครบรอบ 100 ปี (15 สิงหาคม 2430) และเป็นครั้งแรกที่คณะนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญร่วมกันแปรอักษร ที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์คอมพิวเตอร์แห่งใหม่ในโรงเรียนอัสสัมชัญ ในโอกาส "ครบรอบ 108 ปี โรงเรียนอัสสัมชัญ" ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในศุภวาระสมโภชครั้งนี้ด้วย ต่อมา ในสมัยภราดาวิริยะ ฉันทวโรดม เป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญสมัยที่ 2 นับได้ว่าเป็นช่วงสำคัญของโรงเรียนอัสสัมชัญ อาทิเช่น โรงเรียนได้รับเชิญจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา ไปแสดงศิลปะและวัฒนธรรมไทยเทิดพระเกียรติ ณ โอเปร่าฮอล กรุงออตตาวา เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 เป็นต้น ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โรงเรียนอัสสัมชัญได้เป็นเจ้าภาพเปิดงานประชุมสมัชชาภราดาภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ในเครือนักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ต ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2542 คณะนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ร่วมแปรอักษรกับ 4 สถาบันจตุรมิตรในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 ณ สนามศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต นอกจากนี้ ทุก 2 ปี ในวันที่ 1 กรกฎาคม คณะนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญจะร่วมแปรอักษรกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ (ยกเว้น พ.ศ. 2554 โรงเรียนกลุ่มจตุรมิตรสามัคคีร่วมแปรอักษรในวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ครบ 100 ปี) วัที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ มีการรวมตัวของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มกู้อัสสัมชัญ" ซึ่งอ้างว่าภราดา อานันท์ ปรีชาวุฒิ อธิการโรงเรียน ใช้เงินฟุ้มเฟือย เช่น นำเงินของนักเรียนและผู้ปกครองไปสร้าง โรงเรียนอัสสัมชัญหลักสูตรภาษาอังกฤษ การเรียกเงินบริจาค (แป๊ะเจี๊ย) ในราคาสูง เป็นต้น และการบริหารโรงเรียนจนตกต่ำ จำนวนนักเรียน ป.6 ที่เลือกลาออกไม่ต่อ ม.1 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ 5 เท่า จนทำให้หลายฝ่าย ทั้งคณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ศิษย์ปัจจุบัน และศิษย์เก่า รวมตัวกันขับไล่ภราดา อานันท์ ให้ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยช่องทาง เช่น เฟซบุ๊คของกลุ่ม "กู้อัสสัมชัญ" จนเมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกาของวันที่ 25 มกราคม 2556 ได้มีคำสั่งหยุดโรงเรียนอย่างกะทันหันจากผู้มีอำนาจสั่งการตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2556 แล้วภราดา อานันท์ ปรีชาวุฒิ ก็ไม่ได้ปรากฏตัวอีกเลยนับตั้งแต่เหตุการณ์นั้น จนมีคำสั่งให้พักการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญประถม มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยลงนามให้ ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญประถม ชั่วคราว จนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ภราดา วิริยะ ฉันทวโรดม ดำรงตำแหน่งอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญ และภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ จนถึงปัจจุบัน นับเป็นการแบ่งตำแหน่งผู้อำนวยการและอธิการเป็นครั้งแรกสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนชื่ออัสสัมชัญ สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน. ชื่ออัสสัมชัญ. เดิมโรงเรียนใช้ภาษาฝรั่งเศส "Le Collège de l'Assomption" ซึ่งคุณพ่อกอลมเบต์ใช้ชื่อในภาษาไทยว่า "โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ" แต่คนภายนอกมักเรียกและเขียนผิด ๆ เนื่องจากคำนั้นออกเสียงยากและประกอบกับกรมศึกษา กระทรวงธรรมการ มีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นภาษาไทย ดังนั้น ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2453 ภราดาฮีแลร์จึงได้แจ้งไปทางกรมการศึกษาเพื่อขอเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอาศรมชัญ แต่อธิบดีกรมศึกษา พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ แนะนำว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอัสสัมชัญ ไม่เพียงแต่การออกเสียงยังคล้ายกับชื่อเดิม ความหมายก็คงไว้ตามเดิมของคำว่า "อาศรมชัญ" ด้วย ดังนั้นในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2453 โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น โรงเรียนอัสสัมชัญ คำว่า "อัสสัมชัญ" นี้ออกเสียงคล้ายกับภาษาอังกฤษว่า "Assumption" และยังมีคำในภาษาบาลีว่า "อัสสโม" แผลงเป็นไทยว่า "อาศรม" ซึ่งหมายความถึง "กุฏิที่ถือศีลกินพรต" ส่วนคำว่า "ชัญ" ก็ จะแยกตาม ชาติศัพท์เดิม ก็ได้แก่ ธาตุศัพท์ว่า "ช" ซึ่งแปลว่า เกิด และ "ญ" ซึ่งแปลว่าญาณ ความรู้ รวมความได้ว่า "ชัญ" คือที่สำหรับเกิด ญาณความรู้ เมื่อรวมสองศัพท์ มาเป็นศัพท์เดียวกันแล้ว ได้ว่า "อัสสัมชัญ" คือ "ที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้"ความหมายของตราโรงเรียนอัสสัมชัญ ความหมายของตราโรงเรียนอัสสัมชัญ. ตราโล่ คือ เครื่องป้องกันศัสตราวุธทั้งปวง มีลักษณะเป็นโล่ พื้นสีแดงคาดสีขาวตรงกลาง มีตัวอักษร AC สีน้ำเงินไขว้กันอยู่กลางโล่ และตัวเลข 1885 คือปีคริสต์ศักราชที่บาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ ก่อตั้งโรงเรียน นอกจากนี้ สีที่ปรากฏบนโล่ยังเตือนใจให้รำลึกถึงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ธงประจำโรงเรียน ธงประจำโรงเรียน. ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 4 x 6 ส่วน มีสีพื้นแบ่งเป็น สามแถบเท่ากันตามแนวนอน เป็นสีประจำโรงเรียน โดยสีแดงอยู่แถบบนและล่าง มีสีขาวอยู่แถบกลาง และมีตัวอักษร AC สีน้ำเงินไขว้อยู่กลางผืนธงเครื่องแบบนักเรียน เครื่องแบบนักเรียน. เมื่อแรกตั้งโรงเรียน การแต่งกายของนักเรียนในสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องแบบ นักเรียนแต่งกายตามชาติศาสนาของตน ทุกคนใช้หมวกสวมเสื้อนอกคอตั้งหรือเสื้อกุยเฮง แต่สำหรับนักเรียนประจำจะสวมเสื้อกางเกงตามแบบต่างประเทศ ตัดเย็บด้วยผ้าเนื้อดีลายเป็นตาสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีดำแกมสีฟ้าเข้ม ดูไกล ๆ เป็นสีเทาคล้าม ๆ แต่จะไม่นิยมสวมรองเท้า มักจะสวมกันในวันแจกรางวัล และมีละครเมื่อปิดภาคปลายปีเท่านั้น และจะสวมเสื้อนอก กลัดกระดุมเรียบร้อยด้วย บรรยากาศใหม่ ๆ ของโรงเรียนอัสสัมชัญ เริ่มขึ้นในวันเปิดเรียนวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 นักเรียนแต่งเครื่องแบบกันแล้ว เป็นเสื้อราชปะแตสีขาว กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน ถุงน่องสีขาว รองเท้าดำและหมวกหม้อตาลสีขาว ครบชุด นับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เครื่องแบบนักเรียนอัสสัมชัญเปลี่ยนจากเสื้อราชประแตนมาเป็นเชิ้ตสีขาวปักอัษรย่อของโรงเรียนและหมายเลขประจำตัวสีแดงเหนือปากกระเป๋าเสื้อด้านซ้าย ต่อมาได้ย้ายมาปักทางด้านขวาในระดับเดิมแทน และใช้กันจนทุกวันนี้ สำหรับนักเรียนเมื่อเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต้องมีเข็มตราโรงเรียน (เข็ม AC) ที่มุมบนด้านขวาของกระเป๋าเสื้อนักเรียนซึ่งอยู่ที่อกด้านซ้ายเป็นสัญลักษณ์ทุกคนอาคารเรียน อาคารเรียน. โรงเรียนอัสสัมชัญมีที่ดินทั้งหมด 8 ไร่ 3 งาน ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังอาสนวิหารอัสสัมชัญ โดยก่อนที่โรงเรียนอัสสัมชัญเปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการ โรงเรียนมีอาคารชั่วคราวหลังหนึ่ง คือ บ้านของคุณพ่อกังตอง ซึ่งถือเป็นอาคารเรียนชั่วคราวแห่งแรกของโรงเรียน และอาคารหลังที่สองที่ได้รับเงินบริจาคมา คือ ตึกเก่า ส่วน "ตึกเตี้ย" คือตึกด้านข้างที่เชื่อมกันระหว่างตึกเก่า ต่อมาในปี พ.ศ. 2428 โรงเรียนอัสสัมชัญก็ได้เปิดเรียนอย่างเป็นทางการ มีการพัฒนาอาคารเรียนขึ้นตามลำดับ นับจากโรงเรียนก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2428 โรงเรียนมีทั้งหมด 9 อาคาร โดยอาคารปัจจุบันที่ยังคงเหลืออยู่ได้แก่ ตึกกอลมเบต์, ตึก ฟ.ฮีแลร์, อาคารอัสสัมชัญ 2003 และอาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ ส่วนภูมิทัศน์ (Landscape) บริเวณโดยรอบโรงเรียนทั้งด้านหน้าทางเข้าที่ก่อสร้างเป็นวงเวียนรอบอนุสาวรีย์คุณพ่อกอลมเบต์ บริเวณลานแดง ได้รับการออกแบบจากบริษัทสถาปนิก 49 (A49) โดยประภากร วทานยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทสถาปนิก 49 และศิษย์เก่าอัสสัมชัญรุ่น 87 รายละเอียดอาคารแต่ละหลังมีดังนี้- ตึกเก่า (พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2513) ถือเป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนอย่างแท้จริง สร้างขึ้นเพื่อทดแทนอาคารไม้หลังแรก โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ ใน พ.ศ. 2430 ลักษณะอาคารเป็นแบบนีโอคลาสสิก ออกแบบโดยนายโยอาคิม กรัสซี (Joachim Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลี นายช่างเอกประจำราชสำนักสยาม โดยมีอาคารคู่แฝดอีกหลัง ซึ่งก็คืออาคารศุลกสถานตั้งอยู่ไม่ห่างกันมาก (ปัจจุบันเป็นอาคารสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก และได้รับการขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร) 80 ปีต่อมา ถูกรื้อถอนเพื่อสร้าง ตึก ฟ.ฮีแลร์ ซึ่งสามารถรองรับนักเรียนได้มากขึ้น หากแต่สัญลักษณ์ของตึกเก่าที่ยังคงหลงเหลือคือ ศิลาฤกษ์ที่ตั้งอยู่ข้างตึก ฟ.ฮีแลร์ปัจจุบัน- ตึกกอลมเบต์ (พ.ศ. 2479 - ปัจจุบัน) เป็นตึกที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาตึกที่เหลืออยู่ สร้างขึ้นโดยภราดาฮีแลร์ ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการออกเรี่ยไรเงินทั้งในพระนครและต่างจังหวัดเพื่อให้ได้งบประมาณถึงแสนบาทเศษ จี. เบกเกอร์ (Mr. G. Begger) เป็นผู้รับงานเกี่ยวกับลงรากฐานตึก เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 ทำพิธีวางศิลาฤกษ์วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2479 และเซ็นสัญญาก่อสร้างตึกกับบริษัทคริสตินี่ ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2480 และได้เข้าเกณฑ์ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรเพื่อการอนุรักษ์ แต่ยังไม่จดทะเบียน เดิมใช้เป็นห้องเรียนในระดับมัธยมต้น ปัจจุบันใช้เป็นที่เรียนของนักเรียนในแผนก English Program และเป็นสถานที่ตั้งของงานอภิบาล ตึกนี้เคยถูกระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดนหอนาฬิกาของตึกซึ่งมุมนั้นเคยเป็นห้องพักของภราดา ฟ.ฮีแลร์ ตึกหลังนี้ถูกออกแบบในสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่คุณพ่อกอลมเบต์ ผู้สถาปนาและผู้ดำรงตำแหน่งอธิการคนแรกของโรงเรียนอัสสัมชัญ- หอประชุมสุวรรณสมโภช (พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2544) เป็นหอประชุมแห่งแรกของโรงเรียนอัสสัมชัญ สร้างเมื่อโรงเรียนมีอายุ 80 ปี ภายหลังมีการสร้างทางเดินจากอาคารหอประชุมฯ กับอาคารข้างเคียง คือ ตึก ฟ.ฮีแลร์ และตึกกอลมเบต์ โดยทางเชื่อมฝั่งตึกกอลมเบต์เดิม ชั้นล่างเป็นที่ตั้งห้องน้ำเดิมของโรงเรียน และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ถัดขึ้นมาเป็นห้องเรียนและห้องพักครูภาษาอังกฤษ ม.ต้น สำหรับทางเชื่อมฝั่ง ตึก ฟ.ฮีแลร์ เดิม ชั้นล่างเป็น ฝ่ายวิชาการ ถัดขึ้นมาเป็นห้องพักครู และห้องปฏิบัติการชีววิทยา สำหรับใต้หอประชุมเดิมเป็นห้องเก็บของ และเป็นห้องเรียนวิชาไฟฟ้าและเขียนแบบ ต่อมามีการพัฒนาเป็นห้องเรียนในระดับมัธยมต้นเพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 เนื่องจากปริมาณนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นและห้องเรียนในตึกกอลมเบต์ไม่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนได้หมด อาคารแห่งนี้ได้ถูกรื้อถอนเมื่อปี พ.ศ. 2544 เพื่อที่จะสร้างอาคารคู่ประกอบ 2 อาคาร คือ อาคารอัสสัมชัญ 2003 และ อาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ และเมื่อปี พ.ศ. 2545 จะเป็นปีที่หอประชุมนี้จะมีอายุครบ 50 ปี- ตึกอัสสัมชัญ 100 ปี (พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2547) เป็นอาคารอเนกประสงค์ สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการก่อตั้งโรงเรียนครบ 100 ปี ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นสองเป็นห้องสมุด และชั้นสามเป็นโรงพลศึกษา ใช้สำหรับเล่นกีฬาในร่ม ซ้อมเชียร์และการแปรอักษร อาคารมีทางเดินเชื่อมต่อไปยัง ตึกฟ.ฮีแลร์ และ ตึกกอลมเบต์ โดยทางเชื่อมไปยัง ตึก ฟ.ฮีเลร์ ชั้นบนสุดเป็นลานเอนกประสงค์ พื้นทาด้วยสีเขียว เรียกทั่วไปว่า "ลานเขียว" ภายหลัง ตึกได้ถูกรื้อถอนใน พ.ศ. 2547 เพื่อสร้างอาคารคู่ประกอบ 2 อาคาร- ตึกฟ.ฮีแลร์ (พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน) เดิมเป็นตึกเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในแต่ละชั้นมี 6 ห้อง ชั้นล่างเป็นโถงกว้างตลอดความยาวของตัวอาคาร ใช้สำหรับทำกิจกรรมทั่วไป โดยบริเวณด้านหน้าอาคารเป็น ลานแดง สถานที่ซึ่งใช้เข้าแถวตอนเช้า ประกอบด้วยเสาธงชาติ และเสาธงโรงเรียน รูปปั้นภราดา ฟ.ฮีแลร์ ส่วนด้านหลังอาคารเป็นสนามฟุตซอลขนาดเล็ก ชั้นบนสุดเป็นห้องพักของคณะภราดา ภายหลังใช้เป็นห้องเรียนสำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 รวมถึงใช้เป็นห้องกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ห้องเอซีแบนด์ ห้องดนตรีไทย ห้องกีต้าร์ ห้องไวโอลิน ศูนย์คอมพิวเตอร์1 และ ร้านถ่ายเอกสาร เป็นต้น- อาคารอัสสัมชัญ 2003 (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน) เป็นอาคารโมเดิร์นสูง 13 ชั้น (เมื่อนับรวมชั้น M) ออกแบบโดย ดร.อัชชพล ดุสิตนานนท์ สถาปนิกอาวุโสและศิษย์เก่าอัสสัมชัญรุ่น 2511 (อสช 20971) อาคารมีลิฟต์จำนวน 7 ตัว โดย 6 ตัวสำหรับนักเรียน และ 1 ตัวสำหรับครู ตัวอาคารประกอบด้วยห้องใต้ดินไว้สำหรับเก็บเพลทสำหรับงานแปรอักษร ห้องเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ห้องปฏิบัติการทางเคมี ห้องครุภัณฑ์ ห้องบริหารฝ่ายต่าง ๆ สำนักอธิการ หอประชุมออดิทอเรี่ยม ห้องประชุมย่อย 4 ห้อง ห้องแยกเรียน ที่พักภราดา พิพิธภัณฑ์อัสสัมชัญ และมีทางเดินเชื่อมสู่ อาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ ซึ่งได้แก่ ชั้น 2,3,4,5 และ 6- อาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน) เป็นอาคารสูง 6 ชั้น ใช้เงินลงทุนกว่า 5 ร้อยล้านบาท ประกอบด้วย ลิฟท์ 2 ตัว ชั้น 1 เป็นห้องอาหาร สำหรับนักเรียนและครู โดยมีการใช้บัตรนักเรียนที่เรียกว่า Student Smart Card เข้ามาใช้ในการซื้ออาหารรวมถึงเป็นบัตรเดบิตการ์ดของธนาคารกรุงเทพ ถือเป็นแห่งแรกของประเทศ ชั้นที่ 2 เป็นห้องมัลมีเดีย หรือสื่อการเรียนทางคอมพิวเตอร์ เป็นห้องถ่ายภาพ ห้องผลิตสื่อ ห้องคาราโอเกะ ภายในมีบันไดเชื่อมต่อไปยังชั้น 3 และชั้น 4 ซึ่งควบกัน เป็นชั้นของ ห้องสมุดมาร์ติน เดอ ตูรส์ อออกแบบโดยให้บรรยากาศโล่ง ๆ และรับแสงธรรมชาติ ส่วนชั้น 5 ซึ่งเป็นชั้นลอยของชั้น 4 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และห้อง Robot โดยภายในพื้นที่ทั้งหมดรองรับด้วย WiFi ชั้น 6 เป็นหอประชุมขนาดใหญ่ โดยการออกแบบความสูงเท่าอาคาร 3 ชั้น ภายในออกแบบมาเพื่อ กีฬาในร่มอย่างเช่น แบดมินตัน รวมถึงใช้จัดกิจกรรมต่างๆภายในด้วยกิจกรรมนักเรียนกีฬา กิจกรรมนักเรียน. กีฬา. โรงเรียนอัสสัมชัญมีสนามฟุตซอล 1 สนามตรงด้านหลังอาคาร ฟ. ฮีแลร์ สนามบาสเกตบอล 2 สนามใต้อาคารอาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ และสนามแบตมินตัน 6 สนาม บนหอประชุมหลุยส์ มารีย์ แกรนด์ ฮอล์ นักกีฬาโครงการฟุตบอลไปฝึกซ้อมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2 แทนทั้งหมดทีมฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ ทีมฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ. นับตั้งแต่โรงเรียนมีสนามวิลลามงฟอร์ตที่ข้างโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ในปี พ.ศ. 2457 เป็นต้นมา ทีมฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญก็ได้นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนเป็นอันมาก ในการแข่งที่ต่าง ๆ ทีมอัสสัมชัญมักจะได้ถ้วยชนะเลิศเสมอ โดยเฉพาะในสมัยที่เขตร ศรียาภัย ดาราฟุตบอลสมญา "แบ็คเขตร" ของทีมอัสสัมชัญ เป็นหัวหน้าทีม ตอนนั้นทีมฟุตบอลอัสสัมชัญแกร่งและมีชื่อเสียงมาก ในปี พ.ศ. 2469 ได้ชื่อว่าเป็นทีมที่แกร่งที่สุด เคยชนะถ้วยไซ่ง่อนในปี พ.ศ. 2474 และได้รับรางวัลเครื่องบินของกองทัพอากาศในปี พ.ศ. 2478 จนเมื่อคราวที่โรงเรียนฉลองสุวรรณสมโภชในปี พ.ศ. 2478 เขตรได้รับรางวัลเหรียญทองคำจารึกเป็นภาษาละตินว่า "SEMPER FIDELIS" แปลเป็นภาษาไทยว่า "ซื่อสัตย์ตลอดกาล" อันเป็นเหรียญเดียวที่โรงเรียนมอบให้นักเรียนตั้งแต่สร้างโรงเรียนมาตลอดเวลา 100 ปี ปี พ.ศ. 2507 เริ่มการแข่งขันฟุตบอล "จตุรมิตรสามัคคี" ระหว่างโรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและโรงเรียนเทพศิรินทร์ขึ้นเป็นครั้งแรก และนับแต่นั้นก็ได้จัดเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าทีมฟุตบอลของอัสสัมชัญจะมีชื่อเสียงมากในด้านความแข่งแกร่งในยุคของเขตร แต่ในงานกีฬาจตุรมิตร กีฬาฟุตบอลของอัสสัมชัญยังคงครองอันดับ 3 เหนือเทพศิรินทร์ ทิ้งห่างสวนกุหลาบและกรุงเทพคริสเตียน ปี พ.ศ. 2515 เริ่มมีการแข่งขันกีฬาสีอันเป็นกีฬาภายในของโรงเรียน และมีการฟื้นฟูการแข่งขันกีฬาของเครือของคณะภราดาเซนต์คาเบรียล (Gymkhana) ในปี พ.ศ. 2522 อีกด้วย ปัจจุบัน นักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ อยู่ในการกำกับของ "โครงการช้างเผือกอัสสัมชัญ" ซึ่งเป็นโครงการนักเรียนทุนมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับเด็กต่างจังหวัดที่มีความสามารถด้านกีฬาฟุตบอลแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยโครงการนี้จะมีสนามฟุตบอลเพื่อฝึกซ้อมและมีหอพักสำหรับนักกีฬา ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2ทีมบาสเกตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ ทีมบาสเกตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ. โรงเรียนอัสสัมชัญ เริ่มมีชื่อเสียงในทีมบาสเกตบอลมากขึ้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา โรงเรียนอัสสัมชัญก็ได้คว้าแชมป์บาสเกตบอลหลายรายการ เช่น รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ในรายการ “อัสสัมชัญ บาสเกตบอล อินวิเตชั่น 2012” รุ่นอายุ 13 ปี ในรายการแข่งขัน "สพฐ. เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" ( SPONSOR THAILAND CHAMPIONSHIP 2013 ) ในปัจจุบันทีมบาสเกตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญอยู่ภายใต้การดูแลของ "งานกีฬาโรงเรียนอัสสัมชัญ" และ "ชมรมบาสเกตบอลผู้ปกครองอัสสัมชัญ" โดยมี กฤษณะ วจีไกรลาศ (อัสสัมชนิก) เป็นผู้จัดการทีมคนปัจจุบัน มาสเตอร์ธงไชย มุขพันธ์ เป็นผู้ควบคุมทีม มาสเตอร์ภูริพันธ์ โชติหิรัญธนนนท์ และเกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ เป็นผู้ฝึกสอนเชียร์และแปรอักษร เชียร์และแปรอักษร. ราวกลางปี พ.ศ. 2487 ในวันชิงชนะเลิศฟุตบอลรุ่นกลางระหว่างอัสสัมชัญกับอุเทนถวาย มาสเตอร์เฉิด สุดาราจัดให้นักเรียนที่แต่งเครื่องแบบ ซึ่งเป็นเสื้อสีขาวติดกระดุม 5 เม็ด สวมหมวกหม้อตาลสีขาว และกางเกงสีน้ำเงินมาบรรจุให้เต็มเป็นพื้น จึงทำให้เกิดรูป "อสช" อย่างชัดเจน นับว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพแรกของการแปรอักษรในประเทศไทย ณ สนามศุภชลาศัย และในปีต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงแก้ไขมาเป็นภาพที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยอาศัยการย้ายตำแหน่งผู้แปร ต่อมาก็ดัดแปลงเป็นการใช้กระดาษสี ผ้าสี จนกระทั่งมาเป็นการใช้ "เพลท" และ "โค้ต" ดังในปัจจุบันหนังสือโรงเรียน หนังสือโรงเรียน. ในปี พ.ศ. 2456 ภราดาฟ. ฮีแลร์ ได้เริ่มจัดพิมพ์หนังสือของโรงเรียน ซึ่งมีทั้งภาษาไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส รวมอยู่ในเล่มเดียวกันชื่อ "อัสสัมชัญอุโฆษสมัย" ( Echo de L'Assomption) ฉบับแรกออกในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2456 และออกทุก 4 เดือน เพื่อเสนอเกี่ยวกับข่าวทั่วไปของโรงเรียน เช่น ข่าวเหตุการณ์ ข่าวกีฬา หรือข่าวมรณะ ตลอดจนบทความต่าง ๆ แต่แล้วเมื่อเกิดสงครามอินโดจีนในปี พ.ศ. 2484 ภราดาฮีแลร์ ต้องอพยพไปอยู่ที่เมืองปุทุจเจรี ในเขตปกครองปุทุจเจรี ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสในสมัยนั้น อีกทั้งกระดาษที่จะใช้พิมพ์หนังสือก็หาได้ยากเนื่องจากสภาวะสงครามจึงทำให้หนังสือ "อัสสัมชัญอุโฆษสมัย" ต้องถึงแก่กาลอวสานไป ในปี พ.ศ. 2495 ในสมัยของเจษฎาธิการอูรแบง นักเรียนชั้นโตของโรงเรียนได้ร่วมกันจัดทำหนังสือ "อุโฆษสาร" ขึ้นแทนหนังสือ "อัสสัมชัญอุโฆษสมัย" โดยทำเป็น 3 ภาษาเช่นเดิมและคอลัมน์หลักก็คล้ายคลึงกับของเดิม ฉบับปฐมฤกษ์ได้พิมพ์ออกมาในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2495 แต่ออกมาได้เพียง 4-5 เล่มก็ต้องหยุดไป มาเริ่มใหม่ในปี พ.ศ. 2506-2524 ก็หยุดไปอีก ในช่วงหลังนี้รูปแบบของหนังสือได้เปลี่ยนไปเป็นแนวหนังสือประจำปีของโรงเรียนมากกว่า ดังนั้นเพื่อให้ยังคงมีการเล่าข่าวคราวของโรงเรียน และเป็นสนามฝึกนักแต่งทั้งหลายเช่นเดิม ทางชุมนุม ภาษา และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีมาสเตอร์ประถม โสจนานนท์ และมาสเตอร์ชาลี เชาวน์ศิริ เป็นหัวเรือใหญ่ ก็ได้ออกหนังสือรายเดือนชื่อ "อัสสัมชัญสาส์น" ขึ้นเป็นฉบับแรกในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 และต่อมาภายหลังได้มีผู้รับช่วงงานติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ได้เป็นหนังสือที่ออกโดยทางโรงเรียนเป็นครั้งเป็นคราวไปกิจกรรมด้านศาสนา กิจกรรมด้านศาสนา. โรงเรียนอัสสัมชัญมีกิจกรรมด้านศาสนาหลายกิจกรรม ซึ่งโดยหลักแล้วเป็นกิจกรรมทางศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก ได้แก่ วจนพิธีกรรม เปิดปีการศึกษา, พิธีมิสซาศุกร์ต้นเดือน, พิธีสมโภชพระวรกาย และพระโลหิตพระคริสตเจ้า, พิธีฉลองศาสนนามท่านผู้อำนวยการ, พิธีวันฉลองนักบุญเปโตร อัครสาวก, วันระลึกถึงการสถาปนานักบุญหลุยส์-มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต, พิธีบูชามิสซาสมโภชแม่พระ และพิธีเปิดไฟคริสต์มาสและพิธีเสกถ้ำพระกุมาร นอกจากนี้โรงเรียนอัสสัมชัญยังได้ส่งเสริมกิจกรรมทางพุทธศาสนาด้วย เช่น การถวายเทียนจำนำพรรษาและหล่อเทียนพรรษา กิจกรรมฟังธรรมะบรรยายในทุกวันศุกร์ต้นเดือนหลักสูตร หลักสูตร. โรงเรียนอัสสัมชัญได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยยึดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และพุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรแกนกลาง และสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 นอกจากนี้โรงเรียนอัสสัมชัญกำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วยการประเมินคุณภาพภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพภายนอก โดยประกอบด้วย การประเมินคุณภาพภายนอก และการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาการจัดการศึกษาแผนการเรียน แผนการเรียน. โรงเรียนอัสสัมชัญมีแผนการเรียนให้นักเรียนเลือกตามความถนัดและความชอบ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น1. แผนการเรียนเน้นภาษาอังกฤษ (Bell) จำนวน 3 ห้อง รับ 144 คน 2. แผนการเรียนเน้นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 ห้อง รับ 250 คน 3. แผนการเรียนเน้นวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พิเศษ(Gifted) จำนวน 2 ห้อง รับ 70 คน (ห้องละ 20-35 คน) 4. แผนการเรียน English program (นักเรียน Ep -M.1-2)- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย- ม.41. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (อสช.) จำนวน 1 ห้อง 2. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 4 ห้อง 3. แผนการเรียนศิลป์คำนวณ จำนวน 2 ห้อง 4. แผนการเรียนศิลป์ออกแบบ จำนวน 1 ห้อง 5. แผนการเรียนศิลป์กีฬา จำนวน 1 ห้อง 6. แผนการเรียนศิลป์ภาษา ภาษาจีน-ภาษาอังกฤษฯ หรือ ภาษาฝรั่งเศส-ภาษาอังกฤษฯ จำนวน 1 ห้อง และ English Program - ม.51. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (อสช.) จำนวน 2 ห้อง 2. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง 3. แผนการเรียนศิลป์คำนวณ จำนวน 3 ห้อง 4. แผนการเรียนศิลป์ออกแบบ จำนวน 1 ห้อง 5. แผนการเรียนศิลป์ภาษา ภาษาจีน-ภาษาอังกฤษฯ หรือ ภาษาฝรั่งเศส-ภาษาอังกฤษฯ จำนวน 1 ห้อง และ English Program - ม.61. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (อสช.) จำนวน 2 ห้อง 2. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง 3. แผนการเรียนศิลป์คำนวณ จำนวน 4 ห้อง 4. แผนการเรียนศิลป์ออกแบบ จำนวน 1 ห้อง 5. แผนการเรียนศิลป์ภาษา จำนวน 1 ห้อง และ English programอธิการมาตรฐานคุณภาพ มาตรฐานคุณภาพ. ในปี พ.ศ. 2555 คณะกรรมการประเมินมาตรฐานการศึกษา ฝ่ายการศึกษามูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ประเมินมาตรฐานคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญ และเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินมาตรฐานการศึกษารอบสามจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ผลการตรวจประเมินโรงเรียนอัสสัมชัญอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 4 ตัวบ่งชี้ และระดับคุณภาพดี 3 ตัวบ่งชี้จาก 12 ตัวบ่งชี้สมาคมสมาคมอัสสัมชัญ สมาคม. สมาคมอัสสัมชัญ. จุดเริ่มต้นของสมาคมอัสสัมชัญนั้น สืบเนื่องมาจากการที่คุณพ่อกอลมเบต์ได้กลับจากการรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2446 ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านได้พากันไปต้อนรับ เมื่อได้พบปะกันก็ได้หารือกัน ในที่สุดสมาคมอัสสัมชัญก็ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นทางการในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 ทำให้สมาคมอัสสัมชัญเป็นหนึ่งในสมาคมศิษย์เก่าแห่งแรกของประเทศไทย เดิมทีต้องย้ายสถานที่ทำการบ่อย ๆ สุดท้ายได้ที่ทำการถาวรอยู่บริเวณกล้วยน้ำไท ถนนพระราม 4 นายกสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญคนปัจจุบัน คือ ดร.ปิยะบุตร ชลวิจารณ์สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ. ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 มีการเปิด "สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ" โดยสัญญา ธรรมศักดิ์ ศิษย์เก่าและนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก จัดสร้างขึ้นเพื่อความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองและครูในการดูแลนักเรียน นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ ดร. เกื้อ วงศ์บุญสินศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง. ในบรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่มีถึง 50,000 คน มีบุคคลเป็นจำนวนมากประสบความสำเร็จมากมายทั้งในด้านการเมือง ในด้านวิชาการ ในด้านธุรกิจ และในวงการบันเทิง โดยมีศิษย์เก่าเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 2 คน, องคมนตรี 15 คน และ นายกรัฐมนตรี 4 คน มีนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่ติดอันดับเศรษฐีที่รวยที่สุดในไทยหลายคน และบุคคลในวงการอื่นๆมากมาย กล่าวได้ว่าเกือบทุกคณะรัฐมนตรีของไทยจะต้องมีศิษย์เก่าอัสสัมชัญที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคณะรัฐมนตรีนั้นด้วย โดยตั้งแต่ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 - ปัจจุบัน มีเพียง คณะที่ 39 และ 44 เท่านั้น ที่ไม่มีศิษย์เก่าดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนอัสสัมชัญก็มีศิษย์เก่าที่เป็นเสรีไทย สายในประเทศ 26 คน, สายอังกฤษ 13 คน และสายอเมริกา 13 คน ศิษย์เก่าที่เป็นนักการเมืองได้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย, พันตรี ควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของไทย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของไทย และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนแรก, ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรีคนแรก นายกรัฐมนตรีคนที่ 12 ของไทย, พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน เป็นต้น ศิษย์เก่าที่ดำรงตำแหน่งทางตุลาการ เช่น ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานศาลฎีกา, สันติ ทักราล อดีตประธานศาลฎีกา, ประมาณ ชันซื่อ อดีตประธานศาลฎีกา อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นต้น โรงเรียนอัสสัมชัญนับเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่สร้างเครือข่ายนักธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย อ้างจากการจัดอันดับหัวข้อ "มหาเศรษฐีในไทยประจำปี 2016" ของฟอร์บส์ประเทศไทย โดยเพียง 10 อันดับแรกก็มีศิษย์เก่าติดอันดับถึง 3 อันดับ หรือถ้านับรวมทายาทในตระกูล ก็จะทำให้มีศิษย์เก่าอัสสัมชัญเข้าไปเกี่ยวข้องถึง 5 อันดับด้วยกัน ศิษย์เก่าที่เป็นนักธุรกิจ ผู้บริหารระดับสูง หรือประกอบอาชีพทางเศรษฐกิจ เช่น วันชัย จิราธิวัฒน์ ประธานบริษัทในเครือเซ็นทรัล, ดร.วัลลภ เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์, ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECON, ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ, อุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ ธนาคารศรีนคร และผู้ก่อตั้ง มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, อนันต์ อัศวโภคิน ประธานและกรรมการผู้จัดการบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย, ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ฐาปน สิริวัฒนภักดี (AC107) กรรมการและรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ศิษย์เก่าที่เป็นนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักเขียน นักประพันธ์ ที่มีผลต่อสังคมไทย เช่น สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียน นักคิดคนสำคัญของประเทศไทย มีผลงานพิมพ์รวมเล่มแล้วมากกว่า 200 เล่ม ได้รับรางวัลและการประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ มากมาย เมื่อปี 2538 ได้รับรางวัล Alternative nobel จากรัฐสภาสวีเดน และได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนที่ 6 (พ.ศ. 2537) นอกจากนี้ ยังเคยได้เสนอชื่อเข้ารับ รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ถึง 2 ครั้ง, หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ นักประพันธ์ เป็นที่รู้จักในนามปากกา "วรเศวต", ศาสตราจารย์ พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล) อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ.นพ.บุญสม มาร์ติน ผู้บุกเบิกก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณบดีคนแรก, ดร.เกริก มังคละพฤกษ์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกริก, ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อดีตหัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ธเนศ วงศ์ยานนาวา เจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์นประเทศไทย อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตนายกสโมสรนิสิต แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ศิษย์เก่าที่เป็นนักแสดง นายแบบ นักร้อง วงการบันเทิง นักข่าว และสื่อมวลชน เช่น เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ นักดนตรี วงลายคราม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีสากล, จิตต์ จงมั่นคง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ), บัณฑิต อึ้งรังษี อดีตนักวาทยากรอันดับหนึ่งของโลก, กษิติ กมลนาวิน ผู้ประกาศข่าว, ผู้ดำเนินรายการ สายเลือดบอลไทย, นักแสดงและนายแบบ พีรพล เอื้ออารียกูล ผู้ประกาศข่าวกีฬา รายการทันโลกกีฬา, เป้ อารักษ์ อมรศุภศิริ นักแสดงและนายแบบ, อาเล็ก ธีรเดช เมธาวรายุทธ นักแสดงและนายแบบ, บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ นักแสดงและนายแบบ, เทียรี่ เมฆวัฒนา นักร้องและนักกีตาร์ วงคาราบาว, นิรุตต์ ศิริจรรยา นักแสดง, ดอม เหตระกูล นักแสดง, ณวัชร์ พุ่มโพธิงาม นักแสดง เป็นต้น สำหรับนักเรียนที่เรียนจบจากโรงเรียนอัสสัมชัญทุกคน จะเรียกว่า "อัสสัมชนิก" (Assumptionist) หรือบางครั้งก็เรียกว่า "โอแม็ก" (OMAC) ซึ่งย่อมาจาก Old Man Assumption College ถึงอย่างไรก็ดี คำว่า OMAC ก็ยังรวมถึงคุณครูทุกคนที่สอนโรงเรียนอัสสัมชัญจนเกษียนอายุด้วย
โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม ตั้งอยู่ที่เขตใดในกรุงเทพมหานคร
3691
{ "answer_end": [ 497 ], "answer_start": [ 468 ], "text": [ "บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์" ] }
23996
โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนอัสสัมชัญ (บ้างเรียก อัสสัมชัญบางรัก หรือ อัสสัมชัญกรุงเทพ, ย่อ: อสช, AC) เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ในกลุ่มจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แผนกประถม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ และแผนกมัธยม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการขึ้นโดยบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 ที่ใช้เรือนไม้ขนาดเล็ก เป็นที่สอนหนังสือแก่เด็กยากจน และกำพร้า จนเมื่อมีนักเรียนเข้าศึกษาเพิ่มมากขึ้น บาทหลวงกอลมเบต์จึงได้ขอเรี่ยไรเงินบริจาคเพื่อสร้างอาคารเรียนถาวรซึ่งก็คือ "ตึกเก่า" ขึ้นเป็นหลังแรกของโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2444 ภราดา 5 ท่าน โดยการนำของภราดามาร์ติน เดอ ตูรส์ ภราดาอาแบล ภราดาออกุสต์ ภราดาคาเบรียล เฟอร์เร็ตตี และภราดาฟ. ฮีแลร์ ได้เดินทางมายังกรุงเทพมหานคร เพื่อสานต่องานด้านการศึกษาจากบาทหลวงกอลมเบต์ ทำให้โรงเรียนอัสสัมชัญ กลายเป็นโรงเรียนแห่งแรกในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์หลุยส์ และโรงเรียนที่ใช้คำนำหน้าว่า "อัสสัมชัญ" ด้วยกัน 11 แห่ง และมหาวิทยาลัย 1 แห่ง ภายหลังการเข้ามาของคณะภราดาเซนต์คาเบรียลทั้งห้า โรงเรียนอัสสัมชัญได้พัฒนาการไปสู่สถานศึกษาของชนชั้นกลางถึงชั้นเจ้านายมากกว่าจะเป็นโรงเรียนของเด็กเข้ารีตหรือลูกกำพร้าตามวัตถุประสงค์เดิมที่บาทหลวงกอลมเบต์ ได้ตั้งไว้ตั้งแต่เริ่ม อนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผล คือ การเรียนการสอนซึ่งเป็นแบบตะวันตกในขณะนั้น และทำเลที่ตั้งซึ่งตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจสำคัญ นับจากอดีตจนถึงปัจจุบันโรงเรียนมีอธิการมาแล้ว 17 คน อธิการคนปัจจุบัน คือ ภราดาวิริยะ ฉันทวโรดม ส่วนผู้อำนวยการโรงเรียนคือ ภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์ แต่เดิมโรงเรียนชื่อ "โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ" ซึ่งแปลมาจากภาษาฝรั่งเศสของคำว่า "Le Collège de l'Assomption" จนในปี พ.ศ. 2453 ภราดาฮีแลร์จึงได้แจ้งไปทางกรมการศึกษาเพื่อขอเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนอาศรมชัญ" แต่พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ อธิบดีกรมศึกษาขณะนั้น แนะนำว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนอัสสัมชัญ" ซึ่งกลายเป็นชื่อที่ใช้มาจวบจนถึงทุกวันนี้ โรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นผู้บุกเบิกการแปรอักษรที่นำเข้ามาใช้ในการทำเชียร์ครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นแนวคิดของมาสเตอร์เฉิด สุดารา จนในเวลาต่อมา ก็ได้มีการเผยแพร่ไปสู่การแปรอักษรทั้งในงานจตุรมิตรสามัคคี และงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ ปี เป็นโรงเรียนชายที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และเป็นโรงเรียนโรมันคาทอลิกแห่งแรกของประเทศ มีศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันรวมแล้วกว่า 5 หมื่นคน ซึ่งคนที่จบจากโรงเรียนอัสสัมชัญจะใช้คำว่า "อัสสัมชนิก" โรงเรียนอัสสัมชัญมีศิษย์เก่าที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในแขนงต่าง ๆ ทั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 2 คน, องคมนตรี 15 คน นายกรัฐมนตรี 4 คน และนักธุรกิจ ผู้บริหารอีกหลายคน จากการจัดอันดับหัวข้อ "มหาเศรษฐีในไทยประจำปี 2016" ของฟอร์บส์ประเทศไทย โดยเพียง 10 อันดับแรกก็มีบุคคลหรือทายาทในตระกูลที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมขัญ ติดอันดับรวม 3 อันดับด้วยกันประวัติช่วงแรก ประวัติ. ช่วงแรก. ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนอัสสัมชัญ คือ บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ (คุณพ่อกอลมเบต์) อธิการโบสถ์อัสสัมชัญ ชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2420 โดยเริ่มจากการให้การศึกษาแก่เด็กคาทอลิก (คริสตัง) ณ วัดสวนท่าน อันเป็นโบสถ์คาทอลิกแห่งหนึ่งในชุมชนแถบบางรัก ใกล้ริมฝั่งเจ้าพระยา เขาเข้ามาอาศัยในประเทศสยามแล้วประมาณ 5 ปี ท่านได้เริ่มให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ในละแวกนั้น ซึ่งมีทั้งเด็กคาทอลิกที่ยากจน และกำพร้า เพื่อให้เด็กเหล่านั้นได้มีความรู้ ด้วยการสอนวิชาความรู้และศาสนาควบคู่กันไป จากหนังสือประวัติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2435 - พ.ศ. 2507 กล่าวถึงการจัดการศึกษาฝ่ายโรงเรียนราษฎร ว่า "...ใน พ.ศ. 2420 มีโรงเรียนไทย-ฝรั่ง ซึ่งต่อมาเรียกว่าโรงเรียนอัสสัมชัญ..." อันที่จริง โรงเรียนไทย-ฝรั่งที่ว่านี้ ที่ถูกต้องคือ โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศส วัดสวนท่าน ซึ่งตั้งขึ้น โดยบาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ (Piere Emile Colombet) นั่นเอง โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศสแห่งนี้ กล่าวได้ว่าคือรากฐานที่พัฒนามาสู่โรงเรียนอัสสัมชัญในอีก 8 ปีต่อมา โดยแรกเริ่มมีนักเรียน 12 คน ในช่วงปีแรกนั้น นักเรียนยังมีจำนวนน้อย ท่านต้องเดินไปตามบ้านเพื่อขอร้องให้ผู้ปกครองส่งเด็กมาเรียนหนังสือกับท่าน จนต่อมาท่านก็ได้ใช้เนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 3 งาน ตรงบริเวณนั้นก็มีบ้านของคุณพ่อกังตอง (pere Ganton) อันเป็นเรือนไม้เก่าขนาดเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นโดยมุขนายกฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว เมื่อ พ.ศ. 2392 เป็นบริเวณที่พักของคุณพ่อกังตองซึ่งเป็นหัวแรงใหญ่ในการดูแลงานโรงเรียน มีเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ซึ่งกั้นเป็นห้องเรียนได้ 1 ห้อง และบนเรือนเป็นห้องเรียนได้อีก 1 ห้อง เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน และมีลานเล่นทีมีหลังคามุงด้วยจาก พอให้นักเรียนได้มีที่กำบังแดดและฝนยามวิ่งเล่นอีกหลังหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้คุณพ่อกอลมเบต์ยังได้จ้างนายคอนอแว็น ชาวอังกฤษให้มาเป็นครูใหญ่ โรงเรียนของท่านได้เริ่มเปิดเรียนวันแรกในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 ตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศ (Le Collège de l'Assomption) ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้ ซึ่งในขณะนั้นมีนักเรียน 33 คน ด้วยจำนวนนักเรียนเพียง 33 คน ทำให้ครูใหญ่รู้สึกท้อถอยและคิดจะลาออกกลับไปยังประเทศของตน แต่คุณพ่อกอลมเบต์ก็ได้ปลุกปลอบและให้กำลังใจเรื่อยมา จนในที่สุดก็มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 80 คน โดยนักเรียนคนแรกของโรงเรียน คือ ยวงบัปติส เซียวเม่งเต็ก (อสช 1) ปีต่อมามีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 130 คน การเรียนการสอนในยุคแรกเป็นภาษาไทยควบคู่กับภาษาฝรั่งเศส เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สถานที่จึงคับแคบลง คุณพ่อกอลมเบต์ปรารถนาที่จะสร้างอาคารใหม่ ท่านจึงได้ออกเรี่ยไรเงินไปตามบ้านผู้มีจิตศรัทธาต่าง ๆ และได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาไปถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ก็ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับคุณพ่อกอลมเบต์เพื่อใช้ในการดำเนินงานการก่อสร้างเรียนครั้งนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน 50 ชั่ง (4,000 บาท) และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระราชทาน 25 ชั่ง (2,000 บาท) พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และเจ้าขุนมูลนายต่าง ๆ ก็ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วย 23 เมษายน พ.ศ. 2430 คุณพ่อกอลมเบต์ลงนามสัญญาก่อสร้างตึกเรียนหลังแรกกับมิวเตอร์กราซี (Mr. Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลี ด้วยจำนวนเงิน 50,000 บาท และได้เริ่มวางรากฐานการก่อสร้างตึกหลังแรกของโรงเรียนซึ่งมีชื่อว่า "Le Collège de l'Assomption" (ซึ่งต่อมาเรียกว่า "ตึกเก่า") ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 และในวันที่ 15 สิงหาคม ปีนั้น อันเป็นวันสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (อัสสัมชัญ) ซึ่งนับว่าเป็นฤกษ์ดี คุณพ่อกอลมเบต์จึงเลือกการวางศิลารากโรงเรียนในวันนั้น โดยเชิญคุณพ่อดองต์ (d'Hondt) ผู้ช่วยมุขนายกมิสซังกรุงเทพมหานคร มาทำการเสกศิลา และได้พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งกลไฟชื่อ "อาเลกซันตรา" ซึ่งกรมหมื่นดำรงราชนุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ พระยาภาสกรวงษ์ ผู้แทนเสนาบดีว่าการต่างประเทศ ได้นำคุณพ่อดองต์ และคุณพ่อกอลมเบต์ ไปรับเสด็จที่ท่า ผ่านกระบวนนักเรียน ตามทางประดับด้วยผ้าแดง ธงต่าง ๆ ต้นกล้วย ใบไม้ เสื่อลวด ดังปรากฏหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 4 แผ่นที่ 18 หมายเลข 138 ว่า "ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ เวลาบ่าย 4 โมงเสศ...ทรงจับฆ้อนเคาะแผ่นศิลานั้น" แล้วดำรัสว่า ให้ที่นี้ถาวรมั่นคงสืบไป อาคารใหม่ (ตึกเก่า) หลังนี้ได้สร้างสำเร็จบริบูรณ์ใน พ.ศ. 2433 ปี พ.ศ. 2439 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจนถึง 300 คน และเพิ่มเป็น 400 คนในปีต่อมา จนทำให้ภาระของคุณพ่อกอลมเบต์เพิ่มมากขึ้น ศิษย์ของท่านมีทั้งชาวไทย ชาวจีน แขก ฝรั่ง ทั้งที่นับถือศาสนาพุทธ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ ศาสนาอิสลาม ลัทธิขงจื๊อ ฯลฯ ทำให้ท่านมีเวลาเพื่อศาสนากิจอันเป็นงานหลักของท่านน้อยเกินไป ดังนั้นเมื่อตึกเรียนได้เริ่มใช้งานมา 10 ปีแล้ว คือเริ่มใช้งานในปี พ.ศ. 2433 การดำเนินงานของโรงเรียนก็เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น เมื่อท่านป่วยและต้องเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเพื่อรักษาตัวในปี พ.ศ. 2433 ท่านจึงได้มอบหมายภาระทางด้านโรงเรียนนี้ให้กับคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เพื่อมาดำเนินงานต่อจากท่าน เมื่อท่านได้กลับมาประเทศไทย หลังจากที่รักษาตัวที่อยู่ที่ฝรั่งเศสเกือบ 3 ปี ท่านยังแวะเวียนมาดูแลภราดรและโรงเรียนบ่อยครั้ง โดยเฉพาะทุกวันอาทิตย์และทุกปิดเทอมที่ท่านร่วมขบวนทัศนาจรด้วย ความแตกต่างระหว่างโรงเรียนเก่า (พ.ศ. 2420 - พ.ศ. 2427) กับโรงเรียนใหม่ (พ.ศ. 2428 เป็นต้นมา) ของคุณพ่อกอลมเบต์ก็คือ โรงเรียนใหม่มิได้มุ่งสอนเฉพาะเด็กโรมันคาทอลิกอีกต่อไป หากเปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกเชื้อชาติ ศาสนา เมื่อพิจารณาช่วงเวลาที่โรงเรียนแห่งนี้เปิดสอนคือ พ.ศ. 2428 จะเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่รัฐกำลังจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัด เพื่อให้ราษฎรทั่วไปมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนตามแบบหลวงที่ได้จัดให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และบุตรหลานข้าราชการมาก่อนแล้ว เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ หรืออาซมซาน กอเล็ศ เปิดขึ้นจึงเป็นการสอดรับกับนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐพอดี ทั้งยังเป็นการช่วยขยายการศึกษาออกสู่ราษฎรอีกประการหนึ่งคณะเซนต์คาเบรียลรับช่วงต่อ คณะเซนต์คาเบรียลรับช่วงต่อ. ในปี พ.ศ. 2443 บาทหลวงกอลมเบต์ได้ติดต่อขอความช่วยเหลือด้านบุคลากรมาจากคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ณ ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2444 ภราดา 5 ท่าน โดยการนำของภราดามาร์ติน เดอ ตูรส์ ภราดาอาแบล ภราดาออกุสต์ ภราดาคาเบรียล เฟอร์เร็ตตี และภราดาฮีแลร์ ได้เดินทางถึงกรุงเทพมหานคร และเข้ารับช่วงงานและสานต่องานด้านการศึกษาจากบาทหลวงกอลมเบต์ ทำให้โรงเรียนอัสสัมชัญกลายเป็นโรงเรียนแห่งแรกในมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ในเวลานั้นโรงเรียนมีอาคารอยู่ 3 หลังด้วยกันคือ "ตึกเก่า" เรือนไม้หลังแรก บ้านคุณพ่อกังตอง และลานเล่นที่มุมด้วยหลังคาจาก ซึ่งเป็นที่เล่น พักผ่อน และที่ทำโทษให้ "ยืนเสา" เมื่อทำผิด เมื่อท่านภราดาเพิ่งเข้ามารับการสอนแทนคุณพ่อกอลมเบต์ใหม่ ๆ นั้น คุณพ่ออื่น ๆ ที่เคยเป็นครูก็ออกไปสอนศาสนากันทั้งสิ้น เหลือแต่คุณพ่อกังตองผู้เดียวที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่เหล่าภราดาและนักเรียน จนกระทั่งวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2455 คุณพ่อกังตองก็จากไปรับตำแหน่งใหม่ที่ฮ่องกง และมรณภาพที่นั่นในปีต่อมา ตอนนั้นเหล่าภราดาที่เข้ามาอยู่ใหม่ ๆ ยังไม่ชำนาญภาษาไทย จึงได้มีการจัดให้มีครูไทยกำกับแปลในชั้นเรียนต่ำ ๆ ที่เด็กยังไม่เข้าใจภาษาต่างประเทศ ปอล จำเริญ (ขุนสถลรถกิจ) จึงได้สมัครมาช่วยเป็นครูแปลให้ จนสิ้นปี พ.ศ. 2445 ภราดาต่าง ๆ ก็สามารถจะพูดไทยได้ดีขึ้น ในสมัยนั้นคณะภราดาจะทำหน้าที่สอนภาษาฝรั่งเศสและจ้างครูมาสอนภาษาอังกฤษแต่มิได้เป็นครูประจำ ครูประจำมีแต่ภาษาไทยเท่านั้น แต่เมื่อชั้นเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องหาครูมาประจำตอนแรกก็เป็นพวกลูกครึ่งแขก-อังกฤษหรือลูกครึ่งโปรตุเกสบ้าง แต่แล้วในที่สุดก็พบว่านักเรียนเก่าของโรงเรียนที่จบออกมาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้านั้นสามารถทำงานได้อย่างดี เพราะคุ้นเคยกับวิธีการสอน และระบบการทำงานของโรงเรียนมากกว่าคนนอก ตั้งแต่เริ่มแรก การเรียนปีหนึ่งจะเริ่มจากสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์และเรียนเรื่อยไปจนวันที่ 21 ธันวาคมของทุกปี อันเป็นวันแจก Diploma Certificater และรางวัลต่าง ๆ สำหรับผู้ที่จบหลักสูตรและมีผลการเรียนดีเด่น ในวันนั้นจะมีการแสดงละครทั้งภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ เป็นประเพณีทุกปี บรรดาผู้ปกครองได้รับเชิญให้มาร่วมในงานนี้ด้วยการพัฒนาโรงเรียนในช่วงก่อน พ.ศ. 2475 การพัฒนาโรงเรียนในช่วงก่อน พ.ศ. 2475. วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ภราดามาร์ตินได้ขอเปลี่ยนโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งขึ้นทะเบียนของกระทรวงธรรมการอย่างโรงเรียนมัธยมพิเศษ เป็นโรงเรียนอุดมศึกษา และขอให้เจ้าพนักงานไปควบคุมการสอบไล่ของนักเรียน พ.ศ. 2455 แต่ทางกระทรวงฯ ก็ยังไม่ได้รับรองเทียบเท่าชั้นมัธยม 6 ให้เพราะจัดสอบไล่เองและข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด กระทรวงฯ มิได้เป็นผู้ตัดสินและตรวงสอบ จนกระทั่งในการสอบปลายปี 2485 โรงเรียนจึงได้ใช้ข้อสอบของกระทรวงฯ ซึ่งเป็นภาษาไทยแทน ในปี พ.ศ. 2456 ได้มีการจัดตั้งสภานักแต่งชื่อ "อัสสัมชัญอาคาเดมี" ขึ้นเพื่อรับสมาชิกเอก โท ตรี สำหรับนักเรียนที่ยังเรียนอยู่ และผู้ที่ออกไปแล้วจะได้หัดแต่งเรื่องราวให้มีโวหารสำนวนน่าชวนอ่าน และได้มีการจัดตั้ง "อัสสัมชัญยังแม็น" (A.C.Y.M.A.) สำหรับนักเรียนใหม่มีโอกาสรื่นเริงบันเทิงใจด้วยกัน และคบหาสมาคมกับนักเรียนเก่าที่เป็นผู้ใหญ่ รู้ขนบธรรมเนียมของโลกและการงานต่าง ๆ ด้วย ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2457 ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นแถวบางรัก เพลิงโหมตั้งแต่บ่ายสามถึงราวเที่ยงคืน อยู่ห่างจากโรงเรียนเพียง 2-3 ร้อยหลา ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2457 ได้มีการเปิดการแข่งขันกรีฑาของคณะเซนต์คาเบรียล (Gymkhana) ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยโรงเรียนอัสสัมชัญก็ได้เข้าร่วมในกรีฑาครั้งนี้ด้วย และในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เป็นวันที่โรงเรียนมีนักเรียนที่กำลงศึกษาอยู่ถึง 1,000 คน จากนั้น 2 ปี เกิดเหตุการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดในช่วงวันที่ 15-25 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ทำให้โรงเรียนหยุดชั่วคราว มีครูและนักเรียนป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่เป็นอันมาก ต่อมา เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เมื่อตี 4 ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ที่บ้านติดกับเรือนไม้ของโรงเรียน ทุกคนเห็นตรงกันว่า โรงเรียนรอดมาได้ราวกับปฏิหาริย์ เพราะคำภาวนาของท่านภราดามาร์ติน เดอ ตูรส์ ซึ่งคุกเข่าสวดมนต์หันหน้าเข้าหาไฟอยู่บนระเบียงของเรือนไม้ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2463 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สภานายกหอสมุดวิชรญาณสำหรับพระนคร ได้เสด็จทรงเยี่ยมดูโรงเรียนและพบปะกับภราดาฮีแลร์เพื่ออธิบายความคิดเห็นของพระองค์ในเรื่องหนังสือดรุณศึกษา ซึ่งภราดาฮีแลร์เป็นผู้แต่งขึ้นสำหรับใช้สอนภาษาไทยให้กับเด็กๆ โดยมีภราดาหลุยส์ อีแบร์ ครูวาดเขียนเป็นผู้วาดรูปถ่าน และรูปสีต่างๆประกอบ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเยี่ยมชมกิจการของโรงเรียน พระองค์ได้ประทาน พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2470 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการก็ได้เสด็จทรงเยี่ยมโรงเรียนอย่างเป็นทางการ โรงเรียนได้จัดงาน "สุวรรณสมโภช" หรือการฉลองครบรอบ 50 ปีในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2476การนัดหยุดเรียนประท้วงของนักเรียนอัสสัมชัญและเซนต์คาเบรียล การนัดหยุดเรียนประท้วงของนักเรียนอัสสัมชัญและเซนต์คาเบรียล. ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2475 นักเรียนชั้นโตของโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนเซนต์คาเบรียล นัดหยุดเรียน และไปชุมนุมในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2475 ที่บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงการธรรมการ เพื่อเสนอข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ ให้ลดค่าเล่าเรียนตามสมควร ให้หยุดเรียนในวันพิธีของศาสนาพุทธ และให้รับนักเรียนที่ถูกไล่ออกกลับเข้าเรียน ในที่สุด โรงเรียนให้คำตอบ ปรกติโรงเรียนก็พิจารณาลดค่าเล่าเรียนให้นักเรียนที่มีฐานะไม่ดีจ่ายค่าเล่าเรียนตามกำลังทรัพย์อยู่แล้ว และโรงเรียนยังมีเด็กกำพร้าและเด็กอนาถาที่งดเก็บค่าเล่าเรียน และจะต้องเลี้ยงดูอยู่หลายร้อยคน จึงขอให้พวกมีฐานะที่จะเสียได้ ได้ช่วยกันเสียค่าเล่าเรียนตามที่กำหนดด้วย ส่วนวันหยุดนั้นไม่อาจจะวางตายตัวได้ เพราะที่โรงเรียนเรียนมีนักเรียนหลายศาสนามาก หากหยุดก็ต้องหยุดในวันศาสนาอื่น ๆ ด้วย ซึ่งจะเป็นการยุ่งยาก แต่อย่างไรก็ตามก็ได้อนุญาตให้นักเรียนลาหยุดในวันศาสนาของแต่ละคนอยู่แล้วมิได้ขัดขวาง ส่วนจะให้รับนักเรียนที่ถูกไล่ออกไปกลับเข้าเรียนตามเดิมนั้นคงจะเป็นไปไม่ได้ ด้วยจะทำให้โรงเรียนเสียระบบการปกครองไป ในการหยุดเรียนคราวนั้นโรงเรียนได้ปิดตัวเองไปเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม ๆ โดยถือโอกาสเป็นปิดเทอมแทนเดือนตุลาคมไป และเปิดเรียนใหม่อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2475 เหตุการณ์ครั้งนั้นนับว่าเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของนักเรียนบางคนเท่านั้นการพัฒนาโรงเรียนหลัง พ.ศ. 2475 การพัฒนาโรงเรียนหลัง พ.ศ. 2475. ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 โรงเรียนก็ได้เปิดแผนกพาณิชย์ขึ้นในโรงเรียน โดยมีภราดาโรกาเซียงเป็นผู้ควบคุมดูแล ต่อมาแผนกนี้ได้ถูกย้ายไปเปิดเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการปัจจุบัน ต่อมาโรงเรียนอัสสัมชัญได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จเยี่ยมโรงเรียนอย่างไม่เป็นทางการ โดยทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมอาสนวิหารอัสสัมชัญ ก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ โดยคุณพ่อโชแรง บาทหลวงอาสนวิหารอัสสัมชัญ ได้นำเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชมโรงเรียนอัสสัมชัญด้วย และในปี พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงคอนเสิร์ต ซึ่งจัดโดยสถานทูตฝรั่งเศส ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช ในวโรกาสที่โรงเรียนเฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปี วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานวชิรสมโภชอีกด้วย จากความคิดเพื่อต้องการเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์และนักเรียน ระหว่างโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่ทั้ง 4 แห่งของไทย ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และโรงเรียนอัสสัมชัญ มาสเตอร์บรรณา ชโนดม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนอัสสัมชัญในขณะนั้น จึงตัดสินใจร่วมมือจัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีระหว่าง 4 สถาบันขึ้น ซึ่งได้เริ่มขึ้นครั้งแรกในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม. สืบเนื่องจากโรงเรียนอัสสัมชัญคับแคบ ประกอบกับจำนวนนักเรียนทุกระดับชั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้ต่อมาได้มีแนวคิดที่จะแยกแผนกประถมและแผนกมัธยมศึกษาออกจากกัน และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ก็เริ่มมีการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกของแผนกประถมศึกษา คือ "ตึกมาร์ติน เดอ ตูรส์" บนสนามส่วนหนึ่งของโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ด้านติดเซนต์หลุยส์ซอย 3 ถนนสาทรใต้ ซึ่งมีเนื้อที่กว่า 5 ไร่ 4 งาน ใน พ.ศ. 2509 นักเรียนชั้นประถม 1-4 ได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมม ณ เลขที่ 90/1 ซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพฯ เพื่อลดจำนวนนักเรียนลงให้พอกับห้องเรียนที่มีอยู่ขณะนั้น เปิดสอนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 มีภราดาวิริยะ ฉันทวโรดมดำรงตำแหน่งอธิการ และเริ่มให้นักเรียนเข้าเรียนวันแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 โดยพระคุณเจ้ายวง นิตโย เป็นผู้เสกอาคาร และหม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี ปัจจุบันโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ส่วนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ใช้ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรักเช่นเดิมหลังแยกแผนกประถมศึกษา หลังแยกแผนกประถมศึกษา. ใน พ.ศ. 2511 ภราดาพยุง ประจงกิจได้ตั้งคณะ "วาย.ซี.เอส" (Y.C.S) ขึ้นเพื่ออบรมสั่งสอนให้นักเรียนคาทอลิกได้รู้จักการเป็นคาทอลิกที่ดีอยู่ในศีลธรรม ตามคำสอนของศาสนา ส่วนบัตรประจำตัวนักเรียนเริ่มใช้ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2513 เป็นวันแรก ใน พ.ศ. 2513 ตึกเก่า ซึ่งมีอายุได้ 80 ปีแล้ว ถูกรื้อถอนเพื่ร้างอาคารเรียนหลังใหม่ชื่อ ตึก ฟ.ฮีแลร์ ในช่วงระหว่างกำลังก่อสร้างอาคาร ทำให้ห้องเรียนไม่เพียงพอสำหรับใช้ในการเรียนการสอน นักเรียนในขณะนั้นต้องผลัดกันเรียนเป็นผลัดเช้าและผลัดบ่ายที่ตึกกอลมเบต์ จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่น สองผลัด ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2515 และนักเรียนรุ่นนั้น (พ.ศ. 2505 - 2517) ยังเป็นนักเรียนรุ่นสุดท้ายที่ได้เรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก ตลอดตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 จนจบการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รุ่นต่อจากนี้จะย้ายไปเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมแทน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเปิด ตึก ฟ.ฮีแลร์ ในปีเดียวกัน วันที่ 30 มิถุนายน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินมายังหอประชุมสุวรรณสมโภชของโรงเรียน เพื่อทอดพระเนตรละครเรื่อง "อานุภาพแห่งความเสียสละ" ซึ่งจัดขึ้น ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช และได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 2,000 บาท แก่โรงเรียนเพื่อสมทบทุนสร้างตึก "ฟ. ฮีแลร์" ต่อมาในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้มาเป็นประธานเปิดงานชุมนุมผู้แทนองค์การศาสนา ครั้งที่ 8 ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช สองปีถัดมาในปี พ.ศ. 2517 มีการจัดตั้งสภานักเรียนขึ้น ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นคณะกรรมการนักเรียน ใน พ.ศ. 2527 โรงเรียนอัสสัมชัญมีอายุครบ 100 ปี ขณะนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 อยู่ระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย และพระองค์ทรงเสกศิลาฤกษ์ ตึกอัสสัมชัญ 100 ปี ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2529 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงโขนชุด "สมโภชพระราม" ในงานสมโภชอัสสัมชัญ 100 ปี ณ หอประชุมสุวรรณสมโภช ภายในโรงเรียน วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2530 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานงานเฉลิมฉลองวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนครบรอบ 100 ปี (15 สิงหาคม 2430) และเป็นครั้งแรกที่คณะนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญร่วมกันแปรอักษร ที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์คอมพิวเตอร์แห่งใหม่ในโรงเรียนอัสสัมชัญ ในโอกาส "ครบรอบ 108 ปี โรงเรียนอัสสัมชัญ" ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในศุภวาระสมโภชครั้งนี้ด้วย ต่อมา ในสมัยภราดาวิริยะ ฉันทวโรดม เป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญสมัยที่ 2 นับได้ว่าเป็นช่วงสำคัญของโรงเรียนอัสสัมชัญ อาทิเช่น โรงเรียนได้รับเชิญจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา ไปแสดงศิลปะและวัฒนธรรมไทยเทิดพระเกียรติ ณ โอเปร่าฮอล กรุงออตตาวา เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 เป็นต้น ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โรงเรียนอัสสัมชัญได้เป็นเจ้าภาพเปิดงานประชุมสมัชชาภราดาภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ในเครือนักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ต ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2542 คณะนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ร่วมแปรอักษรกับ 4 สถาบันจตุรมิตรในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 ณ สนามศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต นอกจากนี้ ทุก 2 ปี ในวันที่ 1 กรกฎาคม คณะนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญจะร่วมแปรอักษรกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ (ยกเว้น พ.ศ. 2554 โรงเรียนกลุ่มจตุรมิตรสามัคคีร่วมแปรอักษรในวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ครบ 100 ปี) วัที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ มีการรวมตัวของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มกู้อัสสัมชัญ" ซึ่งอ้างว่าภราดา อานันท์ ปรีชาวุฒิ อธิการโรงเรียน ใช้เงินฟุ้มเฟือย เช่น นำเงินของนักเรียนและผู้ปกครองไปสร้าง โรงเรียนอัสสัมชัญหลักสูตรภาษาอังกฤษ การเรียกเงินบริจาค (แป๊ะเจี๊ย) ในราคาสูง เป็นต้น และการบริหารโรงเรียนจนตกต่ำ จำนวนนักเรียน ป.6 ที่เลือกลาออกไม่ต่อ ม.1 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ 5 เท่า จนทำให้หลายฝ่าย ทั้งคณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ศิษย์ปัจจุบัน และศิษย์เก่า รวมตัวกันขับไล่ภราดา อานันท์ ให้ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยช่องทาง เช่น เฟซบุ๊คของกลุ่ม "กู้อัสสัมชัญ" จนเมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกาของวันที่ 25 มกราคม 2556 ได้มีคำสั่งหยุดโรงเรียนอย่างกะทันหันจากผู้มีอำนาจสั่งการตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2556 แล้วภราดา อานันท์ ปรีชาวุฒิ ก็ไม่ได้ปรากฏตัวอีกเลยนับตั้งแต่เหตุการณ์นั้น จนมีคำสั่งให้พักการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญประถม มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยลงนามให้ ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญประถม ชั่วคราว จนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ภราดา วิริยะ ฉันทวโรดม ดำรงตำแหน่งอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญ และภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ จนถึงปัจจุบัน นับเป็นการแบ่งตำแหน่งผู้อำนวยการและอธิการเป็นครั้งแรกสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนชื่ออัสสัมชัญ สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน. ชื่ออัสสัมชัญ. เดิมโรงเรียนใช้ภาษาฝรั่งเศส "Le Collège de l'Assomption" ซึ่งคุณพ่อกอลมเบต์ใช้ชื่อในภาษาไทยว่า "โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ" แต่คนภายนอกมักเรียกและเขียนผิด ๆ เนื่องจากคำนั้นออกเสียงยากและประกอบกับกรมศึกษา กระทรวงธรรมการ มีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นภาษาไทย ดังนั้น ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2453 ภราดาฮีแลร์จึงได้แจ้งไปทางกรมการศึกษาเพื่อขอเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอาศรมชัญ แต่อธิบดีกรมศึกษา พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ แนะนำว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอัสสัมชัญ ไม่เพียงแต่การออกเสียงยังคล้ายกับชื่อเดิม ความหมายก็คงไว้ตามเดิมของคำว่า "อาศรมชัญ" ด้วย ดังนั้นในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2453 โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น โรงเรียนอัสสัมชัญ คำว่า "อัสสัมชัญ" นี้ออกเสียงคล้ายกับภาษาอังกฤษว่า "Assumption" และยังมีคำในภาษาบาลีว่า "อัสสโม" แผลงเป็นไทยว่า "อาศรม" ซึ่งหมายความถึง "กุฏิที่ถือศีลกินพรต" ส่วนคำว่า "ชัญ" ก็ จะแยกตาม ชาติศัพท์เดิม ก็ได้แก่ ธาตุศัพท์ว่า "ช" ซึ่งแปลว่า เกิด และ "ญ" ซึ่งแปลว่าญาณ ความรู้ รวมความได้ว่า "ชัญ" คือที่สำหรับเกิด ญาณความรู้ เมื่อรวมสองศัพท์ มาเป็นศัพท์เดียวกันแล้ว ได้ว่า "อัสสัมชัญ" คือ "ที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้"ความหมายของตราโรงเรียนอัสสัมชัญ ความหมายของตราโรงเรียนอัสสัมชัญ. ตราโล่ คือ เครื่องป้องกันศัสตราวุธทั้งปวง มีลักษณะเป็นโล่ พื้นสีแดงคาดสีขาวตรงกลาง มีตัวอักษร AC สีน้ำเงินไขว้กันอยู่กลางโล่ และตัวเลข 1885 คือปีคริสต์ศักราชที่บาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ ก่อตั้งโรงเรียน นอกจากนี้ สีที่ปรากฏบนโล่ยังเตือนใจให้รำลึกถึงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ธงประจำโรงเรียน ธงประจำโรงเรียน. ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 4 x 6 ส่วน มีสีพื้นแบ่งเป็น สามแถบเท่ากันตามแนวนอน เป็นสีประจำโรงเรียน โดยสีแดงอยู่แถบบนและล่าง มีสีขาวอยู่แถบกลาง และมีตัวอักษร AC สีน้ำเงินไขว้อยู่กลางผืนธงเครื่องแบบนักเรียน เครื่องแบบนักเรียน. เมื่อแรกตั้งโรงเรียน การแต่งกายของนักเรียนในสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องแบบ นักเรียนแต่งกายตามชาติศาสนาของตน ทุกคนใช้หมวกสวมเสื้อนอกคอตั้งหรือเสื้อกุยเฮง แต่สำหรับนักเรียนประจำจะสวมเสื้อกางเกงตามแบบต่างประเทศ ตัดเย็บด้วยผ้าเนื้อดีลายเป็นตาสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีดำแกมสีฟ้าเข้ม ดูไกล ๆ เป็นสีเทาคล้าม ๆ แต่จะไม่นิยมสวมรองเท้า มักจะสวมกันในวันแจกรางวัล และมีละครเมื่อปิดภาคปลายปีเท่านั้น และจะสวมเสื้อนอก กลัดกระดุมเรียบร้อยด้วย บรรยากาศใหม่ ๆ ของโรงเรียนอัสสัมชัญ เริ่มขึ้นในวันเปิดเรียนวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 นักเรียนแต่งเครื่องแบบกันแล้ว เป็นเสื้อราชปะแตสีขาว กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน ถุงน่องสีขาว รองเท้าดำและหมวกหม้อตาลสีขาว ครบชุด นับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เครื่องแบบนักเรียนอัสสัมชัญเปลี่ยนจากเสื้อราชประแตนมาเป็นเชิ้ตสีขาวปักอัษรย่อของโรงเรียนและหมายเลขประจำตัวสีแดงเหนือปากกระเป๋าเสื้อด้านซ้าย ต่อมาได้ย้ายมาปักทางด้านขวาในระดับเดิมแทน และใช้กันจนทุกวันนี้ สำหรับนักเรียนเมื่อเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต้องมีเข็มตราโรงเรียน (เข็ม AC) ที่มุมบนด้านขวาของกระเป๋าเสื้อนักเรียนซึ่งอยู่ที่อกด้านซ้ายเป็นสัญลักษณ์ทุกคนอาคารเรียน อาคารเรียน. โรงเรียนอัสสัมชัญมีที่ดินทั้งหมด 8 ไร่ 3 งาน ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังอาสนวิหารอัสสัมชัญ โดยก่อนที่โรงเรียนอัสสัมชัญเปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการ โรงเรียนมีอาคารชั่วคราวหลังหนึ่ง คือ บ้านของคุณพ่อกังตอง ซึ่งถือเป็นอาคารเรียนชั่วคราวแห่งแรกของโรงเรียน และอาคารหลังที่สองที่ได้รับเงินบริจาคมา คือ ตึกเก่า ส่วน "ตึกเตี้ย" คือตึกด้านข้างที่เชื่อมกันระหว่างตึกเก่า ต่อมาในปี พ.ศ. 2428 โรงเรียนอัสสัมชัญก็ได้เปิดเรียนอย่างเป็นทางการ มีการพัฒนาอาคารเรียนขึ้นตามลำดับ นับจากโรงเรียนก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2428 โรงเรียนมีทั้งหมด 9 อาคาร โดยอาคารปัจจุบันที่ยังคงเหลืออยู่ได้แก่ ตึกกอลมเบต์, ตึก ฟ.ฮีแลร์, อาคารอัสสัมชัญ 2003 และอาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ ส่วนภูมิทัศน์ (Landscape) บริเวณโดยรอบโรงเรียนทั้งด้านหน้าทางเข้าที่ก่อสร้างเป็นวงเวียนรอบอนุสาวรีย์คุณพ่อกอลมเบต์ บริเวณลานแดง ได้รับการออกแบบจากบริษัทสถาปนิก 49 (A49) โดยประภากร วทานยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทสถาปนิก 49 และศิษย์เก่าอัสสัมชัญรุ่น 87 รายละเอียดอาคารแต่ละหลังมีดังนี้- ตึกเก่า (พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2513) ถือเป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนอย่างแท้จริง สร้างขึ้นเพื่อทดแทนอาคารไม้หลังแรก โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ ใน พ.ศ. 2430 ลักษณะอาคารเป็นแบบนีโอคลาสสิก ออกแบบโดยนายโยอาคิม กรัสซี (Joachim Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลี นายช่างเอกประจำราชสำนักสยาม โดยมีอาคารคู่แฝดอีกหลัง ซึ่งก็คืออาคารศุลกสถานตั้งอยู่ไม่ห่างกันมาก (ปัจจุบันเป็นอาคารสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก และได้รับการขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร) 80 ปีต่อมา ถูกรื้อถอนเพื่อสร้าง ตึก ฟ.ฮีแลร์ ซึ่งสามารถรองรับนักเรียนได้มากขึ้น หากแต่สัญลักษณ์ของตึกเก่าที่ยังคงหลงเหลือคือ ศิลาฤกษ์ที่ตั้งอยู่ข้างตึก ฟ.ฮีแลร์ปัจจุบัน- ตึกกอลมเบต์ (พ.ศ. 2479 - ปัจจุบัน) เป็นตึกที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาตึกที่เหลืออยู่ สร้างขึ้นโดยภราดาฮีแลร์ ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการออกเรี่ยไรเงินทั้งในพระนครและต่างจังหวัดเพื่อให้ได้งบประมาณถึงแสนบาทเศษ จี. เบกเกอร์ (Mr. G. Begger) เป็นผู้รับงานเกี่ยวกับลงรากฐานตึก เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 ทำพิธีวางศิลาฤกษ์วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2479 และเซ็นสัญญาก่อสร้างตึกกับบริษัทคริสตินี่ ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2480 และได้เข้าเกณฑ์ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรเพื่อการอนุรักษ์ แต่ยังไม่จดทะเบียน เดิมใช้เป็นห้องเรียนในระดับมัธยมต้น ปัจจุบันใช้เป็นที่เรียนของนักเรียนในแผนก English Program และเป็นสถานที่ตั้งของงานอภิบาล ตึกนี้เคยถูกระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดนหอนาฬิกาของตึกซึ่งมุมนั้นเคยเป็นห้องพักของภราดา ฟ.ฮีแลร์ ตึกหลังนี้ถูกออกแบบในสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่คุณพ่อกอลมเบต์ ผู้สถาปนาและผู้ดำรงตำแหน่งอธิการคนแรกของโรงเรียนอัสสัมชัญ- หอประชุมสุวรรณสมโภช (พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2544) เป็นหอประชุมแห่งแรกของโรงเรียนอัสสัมชัญ สร้างเมื่อโรงเรียนมีอายุ 80 ปี ภายหลังมีการสร้างทางเดินจากอาคารหอประชุมฯ กับอาคารข้างเคียง คือ ตึก ฟ.ฮีแลร์ และตึกกอลมเบต์ โดยทางเชื่อมฝั่งตึกกอลมเบต์เดิม ชั้นล่างเป็นที่ตั้งห้องน้ำเดิมของโรงเรียน และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ถัดขึ้นมาเป็นห้องเรียนและห้องพักครูภาษาอังกฤษ ม.ต้น สำหรับทางเชื่อมฝั่ง ตึก ฟ.ฮีแลร์ เดิม ชั้นล่างเป็น ฝ่ายวิชาการ ถัดขึ้นมาเป็นห้องพักครู และห้องปฏิบัติการชีววิทยา สำหรับใต้หอประชุมเดิมเป็นห้องเก็บของ และเป็นห้องเรียนวิชาไฟฟ้าและเขียนแบบ ต่อมามีการพัฒนาเป็นห้องเรียนในระดับมัธยมต้นเพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 เนื่องจากปริมาณนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นและห้องเรียนในตึกกอลมเบต์ไม่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนได้หมด อาคารแห่งนี้ได้ถูกรื้อถอนเมื่อปี พ.ศ. 2544 เพื่อที่จะสร้างอาคารคู่ประกอบ 2 อาคาร คือ อาคารอัสสัมชัญ 2003 และ อาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ และเมื่อปี พ.ศ. 2545 จะเป็นปีที่หอประชุมนี้จะมีอายุครบ 50 ปี- ตึกอัสสัมชัญ 100 ปี (พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2547) เป็นอาคารอเนกประสงค์ สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการก่อตั้งโรงเรียนครบ 100 ปี ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นสองเป็นห้องสมุด และชั้นสามเป็นโรงพลศึกษา ใช้สำหรับเล่นกีฬาในร่ม ซ้อมเชียร์และการแปรอักษร อาคารมีทางเดินเชื่อมต่อไปยัง ตึกฟ.ฮีแลร์ และ ตึกกอลมเบต์ โดยทางเชื่อมไปยัง ตึก ฟ.ฮีเลร์ ชั้นบนสุดเป็นลานเอนกประสงค์ พื้นทาด้วยสีเขียว เรียกทั่วไปว่า "ลานเขียว" ภายหลัง ตึกได้ถูกรื้อถอนใน พ.ศ. 2547 เพื่อสร้างอาคารคู่ประกอบ 2 อาคาร- ตึกฟ.ฮีแลร์ (พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน) เดิมเป็นตึกเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในแต่ละชั้นมี 6 ห้อง ชั้นล่างเป็นโถงกว้างตลอดความยาวของตัวอาคาร ใช้สำหรับทำกิจกรรมทั่วไป โดยบริเวณด้านหน้าอาคารเป็น ลานแดง สถานที่ซึ่งใช้เข้าแถวตอนเช้า ประกอบด้วยเสาธงชาติ และเสาธงโรงเรียน รูปปั้นภราดา ฟ.ฮีแลร์ ส่วนด้านหลังอาคารเป็นสนามฟุตซอลขนาดเล็ก ชั้นบนสุดเป็นห้องพักของคณะภราดา ภายหลังใช้เป็นห้องเรียนสำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 รวมถึงใช้เป็นห้องกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ห้องเอซีแบนด์ ห้องดนตรีไทย ห้องกีต้าร์ ห้องไวโอลิน ศูนย์คอมพิวเตอร์1 และ ร้านถ่ายเอกสาร เป็นต้น- อาคารอัสสัมชัญ 2003 (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน) เป็นอาคารโมเดิร์นสูง 13 ชั้น (เมื่อนับรวมชั้น M) ออกแบบโดย ดร.อัชชพล ดุสิตนานนท์ สถาปนิกอาวุโสและศิษย์เก่าอัสสัมชัญรุ่น 2511 (อสช 20971) อาคารมีลิฟต์จำนวน 7 ตัว โดย 6 ตัวสำหรับนักเรียน และ 1 ตัวสำหรับครู ตัวอาคารประกอบด้วยห้องใต้ดินไว้สำหรับเก็บเพลทสำหรับงานแปรอักษร ห้องเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ห้องปฏิบัติการทางเคมี ห้องครุภัณฑ์ ห้องบริหารฝ่ายต่าง ๆ สำนักอธิการ หอประชุมออดิทอเรี่ยม ห้องประชุมย่อย 4 ห้อง ห้องแยกเรียน ที่พักภราดา พิพิธภัณฑ์อัสสัมชัญ และมีทางเดินเชื่อมสู่ อาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ ซึ่งได้แก่ ชั้น 2,3,4,5 และ 6- อาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน) เป็นอาคารสูง 6 ชั้น ใช้เงินลงทุนกว่า 5 ร้อยล้านบาท ประกอบด้วย ลิฟท์ 2 ตัว ชั้น 1 เป็นห้องอาหาร สำหรับนักเรียนและครู โดยมีการใช้บัตรนักเรียนที่เรียกว่า Student Smart Card เข้ามาใช้ในการซื้ออาหารรวมถึงเป็นบัตรเดบิตการ์ดของธนาคารกรุงเทพ ถือเป็นแห่งแรกของประเทศ ชั้นที่ 2 เป็นห้องมัลมีเดีย หรือสื่อการเรียนทางคอมพิวเตอร์ เป็นห้องถ่ายภาพ ห้องผลิตสื่อ ห้องคาราโอเกะ ภายในมีบันไดเชื่อมต่อไปยังชั้น 3 และชั้น 4 ซึ่งควบกัน เป็นชั้นของ ห้องสมุดมาร์ติน เดอ ตูรส์ อออกแบบโดยให้บรรยากาศโล่ง ๆ และรับแสงธรรมชาติ ส่วนชั้น 5 ซึ่งเป็นชั้นลอยของชั้น 4 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และห้อง Robot โดยภายในพื้นที่ทั้งหมดรองรับด้วย WiFi ชั้น 6 เป็นหอประชุมขนาดใหญ่ โดยการออกแบบความสูงเท่าอาคาร 3 ชั้น ภายในออกแบบมาเพื่อ กีฬาในร่มอย่างเช่น แบดมินตัน รวมถึงใช้จัดกิจกรรมต่างๆภายในด้วยกิจกรรมนักเรียนกีฬา กิจกรรมนักเรียน. กีฬา. โรงเรียนอัสสัมชัญมีสนามฟุตซอล 1 สนามตรงด้านหลังอาคาร ฟ. ฮีแลร์ สนามบาสเกตบอล 2 สนามใต้อาคารอาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ และสนามแบตมินตัน 6 สนาม บนหอประชุมหลุยส์ มารีย์ แกรนด์ ฮอล์ นักกีฬาโครงการฟุตบอลไปฝึกซ้อมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2 แทนทั้งหมดทีมฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ ทีมฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ. นับตั้งแต่โรงเรียนมีสนามวิลลามงฟอร์ตที่ข้างโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ในปี พ.ศ. 2457 เป็นต้นมา ทีมฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญก็ได้นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนเป็นอันมาก ในการแข่งที่ต่าง ๆ ทีมอัสสัมชัญมักจะได้ถ้วยชนะเลิศเสมอ โดยเฉพาะในสมัยที่เขตร ศรียาภัย ดาราฟุตบอลสมญา "แบ็คเขตร" ของทีมอัสสัมชัญ เป็นหัวหน้าทีม ตอนนั้นทีมฟุตบอลอัสสัมชัญแกร่งและมีชื่อเสียงมาก ในปี พ.ศ. 2469 ได้ชื่อว่าเป็นทีมที่แกร่งที่สุด เคยชนะถ้วยไซ่ง่อนในปี พ.ศ. 2474 และได้รับรางวัลเครื่องบินของกองทัพอากาศในปี พ.ศ. 2478 จนเมื่อคราวที่โรงเรียนฉลองสุวรรณสมโภชในปี พ.ศ. 2478 เขตรได้รับรางวัลเหรียญทองคำจารึกเป็นภาษาละตินว่า "SEMPER FIDELIS" แปลเป็นภาษาไทยว่า "ซื่อสัตย์ตลอดกาล" อันเป็นเหรียญเดียวที่โรงเรียนมอบให้นักเรียนตั้งแต่สร้างโรงเรียนมาตลอดเวลา 100 ปี ปี พ.ศ. 2507 เริ่มการแข่งขันฟุตบอล "จตุรมิตรสามัคคี" ระหว่างโรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและโรงเรียนเทพศิรินทร์ขึ้นเป็นครั้งแรก และนับแต่นั้นก็ได้จัดเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าทีมฟุตบอลของอัสสัมชัญจะมีชื่อเสียงมากในด้านความแข่งแกร่งในยุคของเขตร แต่ในงานกีฬาจตุรมิตร กีฬาฟุตบอลของอัสสัมชัญยังคงครองอันดับ 3 เหนือเทพศิรินทร์ ทิ้งห่างสวนกุหลาบและกรุงเทพคริสเตียน ปี พ.ศ. 2515 เริ่มมีการแข่งขันกีฬาสีอันเป็นกีฬาภายในของโรงเรียน และมีการฟื้นฟูการแข่งขันกีฬาของเครือของคณะภราดาเซนต์คาเบรียล (Gymkhana) ในปี พ.ศ. 2522 อีกด้วย ปัจจุบัน นักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ อยู่ในการกำกับของ "โครงการช้างเผือกอัสสัมชัญ" ซึ่งเป็นโครงการนักเรียนทุนมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับเด็กต่างจังหวัดที่มีความสามารถด้านกีฬาฟุตบอลแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยโครงการนี้จะมีสนามฟุตบอลเพื่อฝึกซ้อมและมีหอพักสำหรับนักกีฬา ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2ทีมบาสเกตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ ทีมบาสเกตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ. โรงเรียนอัสสัมชัญ เริ่มมีชื่อเสียงในทีมบาสเกตบอลมากขึ้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา โรงเรียนอัสสัมชัญก็ได้คว้าแชมป์บาสเกตบอลหลายรายการ เช่น รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ในรายการ “อัสสัมชัญ บาสเกตบอล อินวิเตชั่น 2012” รุ่นอายุ 13 ปี ในรายการแข่งขัน "สพฐ. เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" ( SPONSOR THAILAND CHAMPIONSHIP 2013 ) ในปัจจุบันทีมบาสเกตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญอยู่ภายใต้การดูแลของ "งานกีฬาโรงเรียนอัสสัมชัญ" และ "ชมรมบาสเกตบอลผู้ปกครองอัสสัมชัญ" โดยมี กฤษณะ วจีไกรลาศ (อัสสัมชนิก) เป็นผู้จัดการทีมคนปัจจุบัน มาสเตอร์ธงไชย มุขพันธ์ เป็นผู้ควบคุมทีม มาสเตอร์ภูริพันธ์ โชติหิรัญธนนนท์ และเกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ เป็นผู้ฝึกสอนเชียร์และแปรอักษร เชียร์และแปรอักษร. ราวกลางปี พ.ศ. 2487 ในวันชิงชนะเลิศฟุตบอลรุ่นกลางระหว่างอัสสัมชัญกับอุเทนถวาย มาสเตอร์เฉิด สุดาราจัดให้นักเรียนที่แต่งเครื่องแบบ ซึ่งเป็นเสื้อสีขาวติดกระดุม 5 เม็ด สวมหมวกหม้อตาลสีขาว และกางเกงสีน้ำเงินมาบรรจุให้เต็มเป็นพื้น จึงทำให้เกิดรูป "อสช" อย่างชัดเจน นับว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพแรกของการแปรอักษรในประเทศไทย ณ สนามศุภชลาศัย และในปีต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงแก้ไขมาเป็นภาพที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยอาศัยการย้ายตำแหน่งผู้แปร ต่อมาก็ดัดแปลงเป็นการใช้กระดาษสี ผ้าสี จนกระทั่งมาเป็นการใช้ "เพลท" และ "โค้ต" ดังในปัจจุบันหนังสือโรงเรียน หนังสือโรงเรียน. ในปี พ.ศ. 2456 ภราดาฟ. ฮีแลร์ ได้เริ่มจัดพิมพ์หนังสือของโรงเรียน ซึ่งมีทั้งภาษาไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส รวมอยู่ในเล่มเดียวกันชื่อ "อัสสัมชัญอุโฆษสมัย" ( Echo de L'Assomption) ฉบับแรกออกในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2456 และออกทุก 4 เดือน เพื่อเสนอเกี่ยวกับข่าวทั่วไปของโรงเรียน เช่น ข่าวเหตุการณ์ ข่าวกีฬา หรือข่าวมรณะ ตลอดจนบทความต่าง ๆ แต่แล้วเมื่อเกิดสงครามอินโดจีนในปี พ.ศ. 2484 ภราดาฮีแลร์ ต้องอพยพไปอยู่ที่เมืองปุทุจเจรี ในเขตปกครองปุทุจเจรี ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสในสมัยนั้น อีกทั้งกระดาษที่จะใช้พิมพ์หนังสือก็หาได้ยากเนื่องจากสภาวะสงครามจึงทำให้หนังสือ "อัสสัมชัญอุโฆษสมัย" ต้องถึงแก่กาลอวสานไป ในปี พ.ศ. 2495 ในสมัยของเจษฎาธิการอูรแบง นักเรียนชั้นโตของโรงเรียนได้ร่วมกันจัดทำหนังสือ "อุโฆษสาร" ขึ้นแทนหนังสือ "อัสสัมชัญอุโฆษสมัย" โดยทำเป็น 3 ภาษาเช่นเดิมและคอลัมน์หลักก็คล้ายคลึงกับของเดิม ฉบับปฐมฤกษ์ได้พิมพ์ออกมาในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2495 แต่ออกมาได้เพียง 4-5 เล่มก็ต้องหยุดไป มาเริ่มใหม่ในปี พ.ศ. 2506-2524 ก็หยุดไปอีก ในช่วงหลังนี้รูปแบบของหนังสือได้เปลี่ยนไปเป็นแนวหนังสือประจำปีของโรงเรียนมากกว่า ดังนั้นเพื่อให้ยังคงมีการเล่าข่าวคราวของโรงเรียน และเป็นสนามฝึกนักแต่งทั้งหลายเช่นเดิม ทางชุมนุม ภาษา และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีมาสเตอร์ประถม โสจนานนท์ และมาสเตอร์ชาลี เชาวน์ศิริ เป็นหัวเรือใหญ่ ก็ได้ออกหนังสือรายเดือนชื่อ "อัสสัมชัญสาส์น" ขึ้นเป็นฉบับแรกในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 และต่อมาภายหลังได้มีผู้รับช่วงงานติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ได้เป็นหนังสือที่ออกโดยทางโรงเรียนเป็นครั้งเป็นคราวไปกิจกรรมด้านศาสนา กิจกรรมด้านศาสนา. โรงเรียนอัสสัมชัญมีกิจกรรมด้านศาสนาหลายกิจกรรม ซึ่งโดยหลักแล้วเป็นกิจกรรมทางศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก ได้แก่ วจนพิธีกรรม เปิดปีการศึกษา, พิธีมิสซาศุกร์ต้นเดือน, พิธีสมโภชพระวรกาย และพระโลหิตพระคริสตเจ้า, พิธีฉลองศาสนนามท่านผู้อำนวยการ, พิธีวันฉลองนักบุญเปโตร อัครสาวก, วันระลึกถึงการสถาปนานักบุญหลุยส์-มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต, พิธีบูชามิสซาสมโภชแม่พระ และพิธีเปิดไฟคริสต์มาสและพิธีเสกถ้ำพระกุมาร นอกจากนี้โรงเรียนอัสสัมชัญยังได้ส่งเสริมกิจกรรมทางพุทธศาสนาด้วย เช่น การถวายเทียนจำนำพรรษาและหล่อเทียนพรรษา กิจกรรมฟังธรรมะบรรยายในทุกวันศุกร์ต้นเดือนหลักสูตร หลักสูตร. โรงเรียนอัสสัมชัญได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยยึดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และพุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรแกนกลาง และสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 นอกจากนี้โรงเรียนอัสสัมชัญกำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วยการประเมินคุณภาพภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพภายนอก โดยประกอบด้วย การประเมินคุณภาพภายนอก และการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาการจัดการศึกษาแผนการเรียน แผนการเรียน. โรงเรียนอัสสัมชัญมีแผนการเรียนให้นักเรียนเลือกตามความถนัดและความชอบ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น1. แผนการเรียนเน้นภาษาอังกฤษ (Bell) จำนวน 3 ห้อง รับ 144 คน 2. แผนการเรียนเน้นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 ห้อง รับ 250 คน 3. แผนการเรียนเน้นวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พิเศษ(Gifted) จำนวน 2 ห้อง รับ 70 คน (ห้องละ 20-35 คน) 4. แผนการเรียน English program (นักเรียน Ep -M.1-2)- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย- ม.41. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (อสช.) จำนวน 1 ห้อง 2. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 4 ห้อง 3. แผนการเรียนศิลป์คำนวณ จำนวน 2 ห้อง 4. แผนการเรียนศิลป์ออกแบบ จำนวน 1 ห้อง 5. แผนการเรียนศิลป์กีฬา จำนวน 1 ห้อง 6. แผนการเรียนศิลป์ภาษา ภาษาจีน-ภาษาอังกฤษฯ หรือ ภาษาฝรั่งเศส-ภาษาอังกฤษฯ จำนวน 1 ห้อง และ English Program - ม.51. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (อสช.) จำนวน 2 ห้อง 2. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง 3. แผนการเรียนศิลป์คำนวณ จำนวน 3 ห้อง 4. แผนการเรียนศิลป์ออกแบบ จำนวน 1 ห้อง 5. แผนการเรียนศิลป์ภาษา ภาษาจีน-ภาษาอังกฤษฯ หรือ ภาษาฝรั่งเศส-ภาษาอังกฤษฯ จำนวน 1 ห้อง และ English Program - ม.61. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (อสช.) จำนวน 2 ห้อง 2. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง 3. แผนการเรียนศิลป์คำนวณ จำนวน 4 ห้อง 4. แผนการเรียนศิลป์ออกแบบ จำนวน 1 ห้อง 5. แผนการเรียนศิลป์ภาษา จำนวน 1 ห้อง และ English programอธิการมาตรฐานคุณภาพ มาตรฐานคุณภาพ. ในปี พ.ศ. 2555 คณะกรรมการประเมินมาตรฐานการศึกษา ฝ่ายการศึกษามูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ประเมินมาตรฐานคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญ และเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินมาตรฐานการศึกษารอบสามจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ผลการตรวจประเมินโรงเรียนอัสสัมชัญอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 4 ตัวบ่งชี้ และระดับคุณภาพดี 3 ตัวบ่งชี้จาก 12 ตัวบ่งชี้สมาคมสมาคมอัสสัมชัญ สมาคม. สมาคมอัสสัมชัญ. จุดเริ่มต้นของสมาคมอัสสัมชัญนั้น สืบเนื่องมาจากการที่คุณพ่อกอลมเบต์ได้กลับจากการรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2446 ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านได้พากันไปต้อนรับ เมื่อได้พบปะกันก็ได้หารือกัน ในที่สุดสมาคมอัสสัมชัญก็ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นทางการในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 ทำให้สมาคมอัสสัมชัญเป็นหนึ่งในสมาคมศิษย์เก่าแห่งแรกของประเทศไทย เดิมทีต้องย้ายสถานที่ทำการบ่อย ๆ สุดท้ายได้ที่ทำการถาวรอยู่บริเวณกล้วยน้ำไท ถนนพระราม 4 นายกสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญคนปัจจุบัน คือ ดร.ปิยะบุตร ชลวิจารณ์สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ. ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 มีการเปิด "สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ" โดยสัญญา ธรรมศักดิ์ ศิษย์เก่าและนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก จัดสร้างขึ้นเพื่อความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองและครูในการดูแลนักเรียน นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ ดร. เกื้อ วงศ์บุญสินศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง. ในบรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่มีถึง 50,000 คน มีบุคคลเป็นจำนวนมากประสบความสำเร็จมากมายทั้งในด้านการเมือง ในด้านวิชาการ ในด้านธุรกิจ และในวงการบันเทิง โดยมีศิษย์เก่าเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 2 คน, องคมนตรี 15 คน และ นายกรัฐมนตรี 4 คน มีนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่ติดอันดับเศรษฐีที่รวยที่สุดในไทยหลายคน และบุคคลในวงการอื่นๆมากมาย กล่าวได้ว่าเกือบทุกคณะรัฐมนตรีของไทยจะต้องมีศิษย์เก่าอัสสัมชัญที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคณะรัฐมนตรีนั้นด้วย โดยตั้งแต่ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 - ปัจจุบัน มีเพียง คณะที่ 39 และ 44 เท่านั้น ที่ไม่มีศิษย์เก่าดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนอัสสัมชัญก็มีศิษย์เก่าที่เป็นเสรีไทย สายในประเทศ 26 คน, สายอังกฤษ 13 คน และสายอเมริกา 13 คน ศิษย์เก่าที่เป็นนักการเมืองได้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย, พันตรี ควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของไทย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของไทย และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนแรก, ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรีคนแรก นายกรัฐมนตรีคนที่ 12 ของไทย, พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน เป็นต้น ศิษย์เก่าที่ดำรงตำแหน่งทางตุลาการ เช่น ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานศาลฎีกา, สันติ ทักราล อดีตประธานศาลฎีกา, ประมาณ ชันซื่อ อดีตประธานศาลฎีกา อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นต้น โรงเรียนอัสสัมชัญนับเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่สร้างเครือข่ายนักธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย อ้างจากการจัดอันดับหัวข้อ "มหาเศรษฐีในไทยประจำปี 2016" ของฟอร์บส์ประเทศไทย โดยเพียง 10 อันดับแรกก็มีศิษย์เก่าติดอันดับถึง 3 อันดับ หรือถ้านับรวมทายาทในตระกูล ก็จะทำให้มีศิษย์เก่าอัสสัมชัญเข้าไปเกี่ยวข้องถึง 5 อันดับด้วยกัน ศิษย์เก่าที่เป็นนักธุรกิจ ผู้บริหารระดับสูง หรือประกอบอาชีพทางเศรษฐกิจ เช่น วันชัย จิราธิวัฒน์ ประธานบริษัทในเครือเซ็นทรัล, ดร.วัลลภ เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์, ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECON, ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ, อุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ ธนาคารศรีนคร และผู้ก่อตั้ง มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, อนันต์ อัศวโภคิน ประธานและกรรมการผู้จัดการบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย, ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ฐาปน สิริวัฒนภักดี (AC107) กรรมการและรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ศิษย์เก่าที่เป็นนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักเขียน นักประพันธ์ ที่มีผลต่อสังคมไทย เช่น สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียน นักคิดคนสำคัญของประเทศไทย มีผลงานพิมพ์รวมเล่มแล้วมากกว่า 200 เล่ม ได้รับรางวัลและการประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ มากมาย เมื่อปี 2538 ได้รับรางวัล Alternative nobel จากรัฐสภาสวีเดน และได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนที่ 6 (พ.ศ. 2537) นอกจากนี้ ยังเคยได้เสนอชื่อเข้ารับ รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ถึง 2 ครั้ง, หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ นักประพันธ์ เป็นที่รู้จักในนามปากกา "วรเศวต", ศาสตราจารย์ พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล) อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ.นพ.บุญสม มาร์ติน ผู้บุกเบิกก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณบดีคนแรก, ดร.เกริก มังคละพฤกษ์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกริก, ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อดีตหัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ธเนศ วงศ์ยานนาวา เจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์นประเทศไทย อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตนายกสโมสรนิสิต แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ศิษย์เก่าที่เป็นนักแสดง นายแบบ นักร้อง วงการบันเทิง นักข่าว และสื่อมวลชน เช่น เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ นักดนตรี วงลายคราม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีสากล, จิตต์ จงมั่นคง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ), บัณฑิต อึ้งรังษี อดีตนักวาทยากรอันดับหนึ่งของโลก, กษิติ กมลนาวิน ผู้ประกาศข่าว, ผู้ดำเนินรายการ สายเลือดบอลไทย, นักแสดงและนายแบบ พีรพล เอื้ออารียกูล ผู้ประกาศข่าวกีฬา รายการทันโลกกีฬา, เป้ อารักษ์ อมรศุภศิริ นักแสดงและนายแบบ, อาเล็ก ธีรเดช เมธาวรายุทธ นักแสดงและนายแบบ, บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ นักแสดงและนายแบบ, เทียรี่ เมฆวัฒนา นักร้องและนักกีตาร์ วงคาราบาว, นิรุตต์ ศิริจรรยา นักแสดง, ดอม เหตระกูล นักแสดง, ณวัชร์ พุ่มโพธิงาม นักแสดง เป็นต้น สำหรับนักเรียนที่เรียนจบจากโรงเรียนอัสสัมชัญทุกคน จะเรียกว่า "อัสสัมชนิก" (Assumptionist) หรือบางครั้งก็เรียกว่า "โอแม็ก" (OMAC) ซึ่งย่อมาจาก Old Man Assumption College ถึงอย่างไรก็ดี คำว่า OMAC ก็ยังรวมถึงคุณครูทุกคนที่สอนโรงเรียนอัสสัมชัญจนเกษียนอายุด้วย
ใครเป็นผู้สถาปนาโรงเรียนอัสสัมชัญ
3692
{ "answer_end": [ 75 ], "answer_start": [ 71 ], "text": [ "1992" ] }
120647
โอลิมปิกฤดูร้อน 1992 มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 22 ประจำปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) จัดที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ถูกเรียกว่าเป็น Money Game เพราะว่านักกีฬาทั้งชายและหญิงต่างทำการแข่งขันเพื่ออะไรก็ตามที่สามารถทำเงินได้ หรือแม้แต่ Jordan ได้ใช้ธงชาติสหรัฐอเมริกาคลุมป้ายผู้สนับสนุนกีฬาอย่างเป็นทางการของทีมบาสเกตบอลสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ใช้เป็นบริษัทผลิตรองเท้ากีฬาที่ใช้ชื่อของเขาในการขายสินค้า สิ่งที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนทั่วไปจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคในปี 1992 ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้แก่ Dream Team ซึ่งในครั้งนั้น ไมเคิล จอร์แดน,แมจิก จอห์นสัน,แลรี่ เบิร์ด,ชาร์ล บาร์คเลย์,แพทริก อิววิง,เดวิด รอบินสัน,คาร์ล มาโลนและ สก็อตตี พิพเพน เป็นนักบาสเกตบอลที่โดดเด่นมากในทีมสหรัฐอเมริกา ทีมบาสเกตบอลสหรัฐอเมริกาในปีนั้นได้เอาชนะคู่ต่อสู้จากประเทศต่างๆได้อย่างราบคาบภายใต้การนำของ Coach Chuck Daly นักกีฬาจากประเทศอื่นๆที่ได้รับความชื่นชมในการแข่งขันกีฬาปีนั้นเช่น Joynor-Kersee ผู้ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันขันสัตตกรีฑา หญิง ในปีนั้นนักกีฬาว่ายน้ำหญิงจากสาธารณรัฐประชาชนจีนได้สร้างความหวาดผวาให้กับนักว่ายน้ำชาติอื่นๆด้วยการชนะการแข่งขันประเภทต่างๆแบบทำลายสถิติ แต่ในที่สุดก็มีการพิสูจน์ได้ว่านักกีฬาหญิงผู้นั้นได้ใช้ยากระตุ้นกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ. การตัดสินรอบสุดท้าย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2528 ในการประชุม IOC Session ครั้งที่ 91 ที่ Lausanneชนิดกีฬาที่แข่งขันกีฬาสาธิตชนิดกีฬาที่แข่งขัน. กีฬาสาธิต. - Basque pelota - Roller hockey (quad)ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันสรุปเหรียญการแข่งขันสรุปเหรียญการแข่งขัน. - ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 22 ณ ประเทศสเปนจัดขึ้นเมื่อปีค.ศ.ใด
3694
{ "answer_end": [ 131 ], "answer_start": [ 121 ], "text": [ "อาร์ตเดคโค" ] }
125629
ตึกไครสเลอร์ ตึกไครสเลอร์ () เป็นอาคารที่มีชื่อเสียงอีกแห่งในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ตัวอาคารตกแต่งตามสถาปัตยกรรม อาร์ตเดคโค ( Art Deco) ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของเกาะแมนฮัตตัน บริเวณจุดตัดของถนน 42 Avenue และ ถนนเลกซิงตัน (Lexington Avenue) มีความสูงทั้งสิ้น 77 ชั้น ด้วยความสูง 1,046 ฟุต กับอีก 4.5 นิ้ว หรือประมาณ 319 เมตร ตึกไครสเลอร์ เคยเป็นอาคารสูงที่สุดในโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2473 นาน 11 เดือนก่อนที่จะถูกล้มตำแหน่งโดย ตึกเอ็มไพร์สเตต (Empire State Building) ที่สร้างเสร็จใน พ.ศ. 2480 (1931) ตึกไครสเลอร์เป็นตัวอย่างที่คลาสสิกของสถาปัตยกรรม อาร์ตเดคโค (Art Deco) ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ วิลเลียม แวน อเล็น (William Van Alen) และผ่านการพิจารณาโดยสถาปนิกร่วมสมัยว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่ดีที่สุดในนครนิวยอร์ก ในปี 2007
ตัวอาคารตึกไครสเลอร์ที่มีชื่อเสียงในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ตกแต่งตามสถาปัตยกรรมแบบใด
3695
{ "answer_end": [ 608 ], "answer_start": [ 590 ], "text": [ "วิลเลียม แวน อเล็น" ] }
125629
ตึกไครสเลอร์ ตึกไครสเลอร์ () เป็นอาคารที่มีชื่อเสียงอีกแห่งในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ตัวอาคารตกแต่งตามสถาปัตยกรรม อาร์ตเดคโค ( Art Deco) ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของเกาะแมนฮัตตัน บริเวณจุดตัดของถนน 42 Avenue และ ถนนเลกซิงตัน (Lexington Avenue) มีความสูงทั้งสิ้น 77 ชั้น ด้วยความสูง 1,046 ฟุต กับอีก 4.5 นิ้ว หรือประมาณ 319 เมตร ตึกไครสเลอร์ เคยเป็นอาคารสูงที่สุดในโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2473 นาน 11 เดือนก่อนที่จะถูกล้มตำแหน่งโดย ตึกเอ็มไพร์สเตต (Empire State Building) ที่สร้างเสร็จใน พ.ศ. 2480 (1931) ตึกไครสเลอร์เป็นตัวอย่างที่คลาสสิกของสถาปัตยกรรม อาร์ตเดคโค (Art Deco) ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ วิลเลียม แวน อเล็น (William Van Alen) และผ่านการพิจารณาโดยสถาปนิกร่วมสมัยว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่ดีที่สุดในนครนิวยอร์ก ในปี 2007
ใครคือผู้ออกแบบตึกไครสเลอร์ที่มีชื่อเสียงในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
3696
{ "answer_end": [ 1480 ], "answer_start": [ 1468 ], "text": [ "ฮั่นตะวันออก" ] }
88101
ยุคสามก๊ก สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; ; ) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน ค.ศ. 220 และการพิชิตรัฐง่อโดยราชวงศ์จิ้นใน ค.ศ. 280 ส่วนแรก ๆ ซึ่งเป็นส่วน "ไม่เป็นทางการ" ของยุคสามก๊ก ตั้งแต่ ค.ศ. 184 ถึง 220 นั้น มีลักษณะการต่อสู้อุตลุดระหว่างขุนศึกในส่วนต่าง ๆ ของจีน ส่วนกลางของยุค ตั้งแต่ ค.ศ. 220 ถึง 263 มีลักษณะเป็นการจัดการที่เสถียรทางทหารมากกว่าระหว่างสามรัฐคู่แข่งวุย จ๊กและง่อ ส่วนหลังของยุคนี้มีลักษณะการล่มสลายของสถานการณ์ไตรภาคีซึ่งรวมการพิชิตจ๊กโดยวุย (ค.ศ. 263) การโค่นวุยโดยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265) และการพิชิตง่อโดยจิ้น (ค.ศ. 280) ยุคสามก๊กเป็นยุคที่นองเลือดที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน สำมะโนประชากรระหว่างสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกรายงานประชากรไว้ประมาณ 50 ล้านคน แต่สำมะโนประชากรระหว่างต้นราชวงศ์จิ้นตะวันตกรายงานประชากรไว้ประมาณ 16 ล้านคน แม้เป็นยุคที่ค่อนข้างสั้น แต่ยุคนี้ถูกตีความแบบโรมานซ์ (romanticize) อย่างมากในวัฒนธรรมจีน ญี่ปุ่น เกาหลีและเวียดนาม มีการเฉลิมฉลองและเผยแพร่ในอุปรากร นิยายพื้นบ้าน นวนิยายและในสมัยหลัง ภาพยนตร์ โทรทัศน์และวิดีโอเกม งานที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) ของหลัว กวั้นจง ซึ่งเป็นนวนิยายประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์หมิงอิงเหตุการณ์ในยุคสามก๊กจุดเกิดยุคสามก๊ก จุดเกิดยุคสามก๊ก. จุดเกิดของยุคสามก๊กในประวัติศาสตร์จีน มีจุดเริ่มต้นในยุคสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกซึ่งปกครองโดยพระเจ้าเหี้ยนเต้ ภายหลังถูกตั๋งโต๊ะเข้ายึดครองอำนาจทั้งหมดไว้เป็นของตน สถาปนาตนเองเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ภายหลังตั๋งโต๊ะถูกลอบสังหาร ราชสำนักและราชวงศ์เกิดความวุ่นวาย โจโฉฉวยโอกาสในสถานการณ์ที่เกิดความขัดแย้งและปั่นป่วนเข้ายึดครองอำนาจและบังคับควบคุมให้พระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ภายใต้การปกครอง แต่งตั้งตนเองเป็นมหาอุปราช มีอำนาจเด็ดขาดแก่เหล่าขุนศึก กองกำลังทหารและไพร่พล ครอบครองดินแดนทางเหนือส่วนหนึ่งไว้เป็นของตน อ้วนเสี้ยวเป็นผู้มีอำนาจและกองกำลังทหารและไพร่พลเป็นจำนวนมาก ครอบครองพื้นที่บริเวณตอนกลางและตอนปลายของลุ่มแม่น้ำฮวงโห กองทัพอ้วนเสี้ยวจัดเป็นกองกำลังทหารที่มีอำนาจสูงสุดทางภาคเหนือเช่นเดียวกับกองทัพของโจโฉ ภายหลังโจโฉสามารถนำกำลังทหารเข้าโจมตีและเอาชนะอ้วนเสี้ยวได้สำเร็จ จึงรวบรวมดินแดนทางเหนือทั้งหมดไว้เป็นของตน สำหรับดินแดนภาคใต้บริเวณตอนกลางลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นเขตดินแดนปกครองของเล่าเปียวซึ่งปกครองดินแดนด้วยความสงบและมั่นคง และตอนปลายแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นเขตแดนปกครองของซุนกวนศึกสงคราม ศึกสงคราม. ในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีความยาวนานมากกว่าร้อยปี ในระหว่างช่วงเวลานี้เกิดศึกสงครามใหญ่เพื่อแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่นับร้อยครั้ง และศึกเล็กศึกน้อยอีกนับครั้งไม่ถ้วน เช่นศึกโจรโพกผ้าเหลือง, ศึกกัวต๋อ, ศึกทุ่งพกบ๋อง ฯลฯ สำหรับศึกสงครามในสามก๊กที่ถือเป็นศึกใหญ่ที่ต้องจารึกในประวัติศาสตร์ได้แก่ศึกผาแดงหรือศึกเซ็กเพ็ก ในปี พ.ศ. 751 ซึ่งเป็นศึกสงครามระหว่างโจโฉ, เล่าปี่และซุนกวน โดยมีจุดเกิดของสงครามจากโจโฉ ที่ส่งกองกำลังทหารของตนลงใต้เพื่อโจมตีดินแดนของเล่าเปียว โดยใช้กองกำลังทหารเรือจิงโจวบุกประชิดเมืองซินเอี๋ยทั้งทางบกและทางน้ำ ระหว่างที่โจโฉนำกองกำลังทหารเพื่อทำศึกสงคราม เล่าเปียวเกิดป่วยและเสียชีวิต เล่าจ๋องยอมจำนนและยกเมืองเกงจิ๋วแก่โจโฉ เล่าปี่ซึ่งอาศัยอยู่กับเล่าเปียวไม่ยอมจำนนต่อโจโฉ จึงแตกทัพจากเมืองซินเอี๋ยไปยังเมืองอ้วนเซีย ระหว่างทางอพยพเกิดศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวซึ่งเป็นศึกใหญ่อีกศึกในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขงเบ้งรับอาสาเป็นฑุตไปเจรจาขอเป็นพันธมิตรกับซุนกวนเพื่อร่วมกันต้านทัพของโจโฉ โดยเกลี้ยกล่อมซุนกวนและจิวยี่จนยอมเปิดศึกสงครามกับโจโฉ ไล่ต้อนเผากองทัพเรือของโจโฉจนวอดวาย ได้รับชัยชนะจากศึกเซ็กเพ็กอย่างงดงามอาณาจักรสามก๊ก อาณาจักรสามก๊ก. ในการปกครองบ้านเมืองของจีน ราชวงศ์ฮั่นถือเป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ราชวงศ์หนึ่ง ซึ่งได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปไกล ขับไล่ชนเผ่านอกด่านออกไปจากภาคเหนือของประเทศได้ ด้านทิศเหนือครอบครองแมนจูเรียและเกาหลีบางส่วน ทิศใต้ครองมณฑลกวางตุ้งและกว่างซีรวมถึงตอนเหนือของเวียดนาม ครั้นถึงปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกหรือตงฮั่น จักรพรรดิทรงอ่อนแอ ขันทีมีอำนาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ขุนศึกหัวเมืองต่าง ๆ พากันกระด้างกระเดื่องและตั้งกองกำลังส่วนตัวขึ้น ก่อความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านไปทั่วแผ่นดิน ราษฎรได้รับความเดือนร้อนไปทั่วจนทำให้เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลืองขึ้น กลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันโดยไม่สนใจรัฐบาลกลาง ในที่สุดแผ่นดินจีนแตกออกเป็นสามก๊กอย่างชัดเจนภายหลังจากที่โจโฉพ่ายแพ้แก่เล่าปี่และซุนกวนในการศึกที่ผาแดง เมื่อปี พ.ศ. 751 ภายหลังจากศึกเซ็กเพ็ก อำนาจความเป็นใหญ่ในแผ่นดินจีนแบ่งเป็นสามฝ่ายอย่างชัดเจน ต่างครอบครองเขตแดน ความยิ่งใหญ่และความแข็งแกร่งของกองกำลังทหาร คานอำนาจซึ่งกันและกันระหว่างโจโฉ ซุนกวนและเล่าปี่ ทำศึกสงครามและเป็นพันธมิตรร่วมกันมาตลอด โจโฉครอบครองดินแดนทางเหนือทั้งหมดเป็นแคว้นวุย ครองอำนาจบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห แคว้นวุยจัดเป็นแคว้นที่แข็งแกร่งที่สุด มีกองกำลังทหาร ขุนศึก ที่ปรึกษาเป็นกำลังจำนวนมาก โดยเฉพาะตระกูลสุมา ซึ่งภายหลังได้ทำการยึดครองอำนาจจากราชวงศ์วุยและสถาปนาราชวงศ์จิ้นแทน ซุนกวนครอบครองดินแดนทางตะวันออกบริเวณทางใต้ทั้งหมดเป็นแคว้นง่อ ครองอำนาจบริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง มีกองกำลังทหาร ขุนศึกและที่ปรึกษาจำนวนมากเช่นเดียวกับแคว้นวุย เช่นจิวยี่ เตียวเจียว กำเหลง ลิบอง ลกซุนและโลซก เล่าปี่ ครองอำนาจดินแดนทางภาคตะวันตกในแถบชิงอี้โจวกับฮั่นจงเป็นแคว้นจ๊ก มีกองกำลังทหาร ขุนศึกและที่ปรึกษา เช่น กวนอู เตียวหุย จูล่ง ม้าเฉียว ฮองตงและขงเบ้ง แคว้นจ๊กจัดเป็นแคว้นที่มีอายุน้อยที่สุดก่อนล่มสลายด้วยกองกำลังทหารของแคว้นวุยแคว้นวุย แคว้นวุย. วุยหรือเฉาเวย () จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่1. พระเจ้าโจผี ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 763 - 769 2. พระเจ้าโจยอย ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 769 - 782 3. พระเจ้าโจฮอง ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 782 - 797 4. พระเจ้าโจมอ ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 797 - 803 5. พระเจ้าโจฮวน ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 803 - 808 วุยก๊กถูกโจมตีและโค่นล้มราชวงศ์วุยโดยสุมาเอี๋ยน ซึ่งต่อมาภายหลังได้สถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนและรวบรวมแผ่นดินที่แบ่งเป็นก๊กต่าง ๆ เข้าด้วยกันแคว้นจ๊ก แคว้นจ๊ก. จ๊กหรือสู่ฮั่น () เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่1. พระเจ้าเล่าปี่ ปกครองจ๊กก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 764 - 766 2. พระเจ้าเล่าเสี้ยน ปกครองจ๊กก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 766 - 806 จ๊กก๊กมีอายุได้แค่เพียง 42 ปีก็ล่มสลายลงด้วยกองทัพของวุยก๊ก เนื่องจากการปกครองแผ่นดินที่ล้มเหลวของพระเจ้าเล่าเสี้ยนแคว้นง่อ แคว้นง่อ. ง่อหรืออาณาจักรอู่ตะวันออก () เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ สถาปนาซุนเกี๋ยนผู้พ่อและซุนเซ็กผู้พี่เป็นจักรพรรดิย้อนหลัง 2 พระองค์ ได้แก่1. พระเจ้าซุนกวน ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 765 - 795 2. พระเจ้าซุนเหลียง ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 795 - 801 3. พระเจ้าซุนฮิว ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 801 - 807 4. พระเจ้าซุนโฮ ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 807 - 823 ง่อก๊กเป็นอาณาจักรสุดท้ายในบรรดาอาณาจักรสามก๊กที่ล่มสลายโดยกองทัพของสุมาเอี๋ยนและราชวงศ์จิ้นการรวมแผ่นดิน การรวมแผ่นดิน. ภายหลังจากแผ่นดินจีนแตกแยกออกเป็นแคว้นใหญ่สามแคว้น ต่างครองอำนาจและความเป็นใหญ่ คานอำนาจซึ่งกันและกันรวมทั้งเกิดศึกสงครามแย่งชิงดินแดนบางส่วนของแคว้นจ๊ก การเป็นพันธมิตรระหว่างแคว้นง่อและแคว้นวุยจนเป็นเหตุให้แคว้นจ๊กเปิดศึกสงครามกับแคว้นง่อจนพ่ายแพ้ยับเยิน เป็นเหตุให้พระเจ้าเล่าปี่สิ้นพระชนม์ ขงเบ้งจึงเป็นผู้รับสืบทอดเจตนารมณ์ในการรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งสืบต่อไป แคว้นจ๊กเปิดศึกสงครามกับแคว้นวุยนับครั้งไม่ถ้วน แต่ก็ไม่อาจยึดครองดินแดนทั้งสามให้เป็นหนึ่งได้สำเร็จจนเสียชีวิตในระหว่างศึกอู่จั้งหยวน และหลังจากขงเบ้งเสียชีวิต พระเจ้าเล่าเสี้ยนไม่สามารถปกครองแคว้นจ๊กได้ เป็นเหตุแคว้นจ๊กก๊กเกิดความอ่อนแอและล่มสลาย แคว้นวุยซึ่งปกครองโดยโจโฉผลัดแผ่นดินใหม่โดยโจผีเป็นผู้ครองแคว้นสืบต่อไป โดยแย่งชิงอำนาจจากพระเจ้าเหี้ยนเต้และตั้งตนเป็นจักรพรรดิ สถาปนาราชวงศ์วุยแทนราชวงศ์ฮั่น ภายหลังถูกสุมาเอี๋ยนแย่งชิงราชบัลลังก์และสถาปนาราชวงศ์จิ้นแทน รวมทั้งนำกำลังทหารบุกโจมตีแคว้นง่อจนเป็นเหตุให้พระเจ้าซุนโฮยอมสวามิภักดิ์ และรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกออกเป็นสามก๊กให้รวมเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ
จุดเกิดของยุคสามก๊กในประวัติศาสตร์จีน มีจุดเริ่มต้นในยุคสมัยปลายราชวงศ์ใด
3697
{ "answer_end": [ 132 ], "answer_start": [ 130 ], "text": [ "19" ] }
642598
บราวนีช็อกโกแลต บราวนี่ช็อกโกแลต มีลักษณะแบนแบบสี่เหลี่ยมหรือบาร์ที่ถูกนำไปอบเริ่มพัฒนาขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาตอนปลายศตวรรษที่ 19 และเป็นที่ชื่นชอบทั้งในสหรัฐและแคนาดา ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 บราวนีเป็นลูกครึ่งระหว่างเค้กกับคุกกี้ บราวนีถูกผลิตมาในรูปแบบต่าง ๆ บางครั้งก็มีความหนึบหรือเป็นเนื้อเค้กขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและอาจจะมีส่วนผสมของถั่วชนิดต่าง ๆ, เคลือบน้ำตาล, วิปครีม, ช็อกโกแลตชิป, หรือส่วนผสมอื่น ๆ อาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบการทำเช่น ใช้น้ำตาลแดงและไม่ใส่ช็อกโกแลต โดยจะเรียกว่าบลอนดี บราวนีมักจะเป็นส่วนหนึ่งของกล่องอาหารกลางวัน เพราะสามารถใช้มือจับทานได้สะดวกและมักจะทานร่วมกับนมหรือกาแฟ บางครั้งก็เสิร์ฟแบบอุ่น ๆ กับไอศกรีม (อาลามอด) ราดหน้าด้วยวิปครีมหรือมาร์ซิแพนหรือโรยด้วยน้ำตาลไอซิ่ง บราวนีเป็นที่นิยมอย่างมากในร้านอาหารทั่วไป พบมากอย่างหลากหลายในรายการของหวานประวัติ ประวัติ. พ่อครัวคนหนึ่งในโรงแรมพาล์มเมอร์เฮาส์ที่ชิคาโกได้คิดขนมขึ้นมาชนิดหนึ่ง จากที่เบอร์ธา พาล์มเมอร์อยากจะได้ของหวานสำหรับสุภาพสตรีที่มาเข้าร่วมในงานแสดงสินค้านานาชาติที่ชิคาโกในปี ค.ศ. 1893 เธอบอกว่า ของหวานนั้นน่าจะต้องมีขนาดเล็กกว่าเค้ก แต่ก็ต้องยังคงมีลักษณะคล้ายเค้กและสามารถรับประทานได้ง่ายโดยจะบรรจุในกล่องอาหารกลางวัน บราวนีชนิดแรกที่ว่านี้มีส่วนผสมของแอพริคอตโรยหน้าและวอลนัต และปัจจุบันที่โรงแรมก็ยังทำบราวนีตามสูตรดั้งเดิมขายอยู่ สูตรบราวนีที่ทำกันในปัจจุบันที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ การปรุงอาหารในบ้าน (ปี 1904, ลาโคเนีย, นิวแฮมเชียร์), หนังสือตำราอาหารของสโมสรบริการ (1904, ชิคาโก, อิลินอยส์), เดอะบอสตันโกลบ (2 เมษายน 1905 หน้า 34), และ ตำราอาหารของโรงเรียนสอนการทำอาหารบอสตัน ฉบับที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1906 เขียนโดยแฟนนี่ เมอร์ริท ฟาร์มเมอร์ สูตรอาหารเหล่านี้เป็นบราวนีที่มีรสชาติค่อนข้างนุ่มนวลและมีลักษณะคล้ายเค้ก ชื่อของ "บราวนี" เกิดขึ้นครั้งแรกในตำราอาหารที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1896 แต่ถูกกล่าวถึงในรูปของเค้กที่ทำจากกากน้ำตาลในแม่พิมพ์ดีบุกไม่ใช่บราวนีจริง ๆ สูตรอาหารที่สองถูกพบเมื่อปี ค.ศ. 1907 ใน ตำราอาหารของลอว์นี เขียนโดยมาเรีย วิลเลท โฮเวิร์ดตีพิมพ์โดยบริษัท วอลเตอร์ เอ็ม ลอว์นี่แห่งบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สูตรนี้มีการเพิ่มไข่และแท่งช็อกโกแลตลงในสูตรของโรงเรียนสอนการทำอาหารบอสตันทำให้บราวนีมีรสชาติเข้มข้นและหนึบมากขึ้น สูตรนี้มีชื่อว่า แบงกอร์บราวนี ซึ่งอาจมาจากเหตุผลที่ว่าสูตรนี้ สุภาพสตรีชาวแบงกอร์ รัฐเมน แบงกอร์บราวนีได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 3 จาก 10 สุดยอดอาหารว่างใน 2-3 ปีต่อมาตำนานเกี่ยวกับที่มาของบราวนี ตำนานเกี่ยวกับที่มาของบราวนี. มีตำนานอยู่ 3 เรื่องเกี่ยวกับที่มาของบราวนี ตำนานแรกกล่าวว่า พ่อครัวได้ใส่ช็อกโกแลตละลายลงในก้อนแป้งบิสกิตโดยไม่ได้ตั้งใจ ตำนานที่สองกล่าวว่า พ่อครัวลืมเติมแป้งเข้าไปในส่วนผสมของที่ตีรวมกันแล้ว และตำนานที่สามที่เป็นความเชื่อที่เป็นที่นิยมคือ แม่บ้านคนหนึ่งไม่มีผงฟูเลยดัดแปลงสูตรใหม่ ว่ากันว่าเธอเตรียมของหวานสำหรับแขกและตัดสินใจที่จะเสิร์ฟเค้กแบน ๆ ที่อบแล้วนี้ ตำนานทั้งสามเรื่องเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
บราวนี่ช็อกโกแลตเป็นขนมชนิดหนึ่งที่เริ่มพัฒนาขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาตอนปลายศตวรรษที่เท่าไร
3698
{ "answer_end": [ 173 ], "answer_start": [ 158 ], "text": [ "ฝาปิดกล่องเสียง" ] }
168665
ช่องคอ ในทางกายวิภาคศาสตร์ ช่องคอ () เป็นส่วนหน้าของคอ ด้านหน้าต่อกระดูกสันหลัง ประกอบด้วยคอหอย (pharynx) และกล่องเสียง (larynx) โครงสร้างที่สำคัญของช่องคอคือฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) ซึ่งเป็นแผ่นที่แยกหลอดอาหาร (esophagus) และท่อลม (trachea) และป้องกันไม่ให้อาหารหรือเครื่องดื่มตกลงไปในท่อลม ช่องคอประกอบด้วยหลอดเลือดและกล้ามเนื้อคอหอยจำนวนมาก รวมทั้งท่อลมและหลอดอาหาร กระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) และกระดูกไหปลาร้า (clavicle) เป็นกระดูกเพียง 2 ชิ้นที่ตั้งอยู่ในช่องคอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
แผ่นที่แยกหลอดอาหารและท่อลมในช่องคอคือสิ่งใด
3699
{ "answer_end": [ 97 ], "answer_start": [ 89 ], "text": [ "อัยยูบิด" ] }
748985
การล้อมไทร์ (ค.ศ. 1187) การล้อมไทร์ () เป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายนักรบครูเสดกับมุสลิมราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid) ที่เมืองไทร์ เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1187–1 มกราคม ค.ศ. 1188 หลังยุทธการฮัททินในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1187 พื้นที่ส่วนใหญ่ของดินแดนศักดิ์สิทธิ์รวมถึงเยรูซาเลมตกอยู่ใต้อำนาจของศอลาฮุดดีน นักรบครูเสดบางส่วนได้หนีไปที่เมืองไทร์ ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งเลแวนต์ที่ฝ่ายคริสต์ปกครองอยู่ ในขั้นแรกเรจินัลด์แห่งไซดอน (Reginald of Sidon) ตกลงจะให้เมืองนี้ยอมจำนนแก่ศอลาฮุดดีน แต่ต่อมาคอนราดแห่งมงแฟรา (Conrad of Montferrat) ได้ยกทัพมาที่เมืองนี้และประกาศจะไม่ยอมจำนน เรจินัลด์จึงถอนตัวจากเมือง ส่วนคอนราดสร้างปราการและคูเมืองต่าง ๆ ไว้รอรับศึกกับทัพมุสลิม ทัพมุสลิมบางส่วนมาถึงเมืองนี้ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1187 ก่อนทั้งหมดจะตามมาในอีก 13 วันต่อมา การสู้รบเป็นไปอย่างรุนแรง ทัพมุสลิมใช้เครื่องทุ่นแรงช่วยในการทลายกำแพงเมือง ส่วนทัพครูเสดตอบโต้ด้วยกองเรือที่มีพลธนู พลหน้าไม้และเครื่องยิงหิน ศอลาฮุดดีนพยายามหาวิธีตีเมืองนี้แต่ไม่สำเร็จและต้องพบกับการโจมตีของทัพครูเสดที่นำโดยซันโช มาร์ติน (Sancho Martin) อัศวินชาวสเปนผู้มีฉายาว่า "อัศวินเขียว" (เรียกตามสีชุดเกราะ) ความกล้าหาญและฝีมือของมาร์ตินเป็นที่ยอมรับจากทั้งฝ่ายนักรบครูเสดและนักรบมุสลิม รวมถึงศอลาฮุดดีนที่เสนอทรัพย์สินให้หากเขายอมเปลี่ยนฝ่ายและหันมานับถือศาสนาอิสลาม แต่มาร์ตินปฏิเสธและยังคงนำทัพออกรบกับทัพมุสลิม หลังการสู้รบอย่างยาวนาน ศอลาฮุดดีนคิดว่าหนทางเดียวที่จะยึดเมืองนี้ได้คือทางทะเล เขาจึงสั่งกองเรือ 10 ลำจากแอฟริกาเหนือ ในช่วงแรกกองเรือมุสลิมได้เปรียบในการรบ แต่ระหว่างคืนวันที่ 29–30 ธันวาคม กองเรือครูเสดได้โจมตีเรือรบมุสลิม 5 ลำ ส่วนที่เหลือถูกสั่งให้ถอนกำลัง ศอลาฮุดดีนสั่งให้ทัพมุสลิมโจมตีเมืองอีกครั้งแต่ก็ล้มเหลว สูญเสียกำลังพลไปมากมาย เขาจึงปรึกษากับผู้นำคนอื่น ๆ และประเมินสถานการณ์ก่อนจะสั่งถอยทัพไปที่เมืองเอเคอร์ การล้อมสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1188 ยุทธการครั้งนี้ช่วยเพิ่มขวัญกำลังใจของนักรบครูเสดและมีผลต่อสงครามครูเสดครั้งที่ 3 ในเวลาต่อมา แต่สำหรับศอลาฮุดดีน ยุทธการครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนของกองทัพหากต้องต่อสู้เป็นเวลายาวนาน
การล้อมไทร์ เป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายนักรบครูเสดกับมุสลิมราชวงศ์ใด
3700
{ "answer_end": [ 59 ], "answer_start": [ 50 ], "text": [ "สไปโนซอร์" ] }
284321
ซูโคไมมัส ซูโคไมมัส () เป็นไดโนเสาร์ที่อยู่ในสกุล สไปโนซอร์ [spinosaurid] ที่อาศัยอยู่ในแอฟริกา ประเทศอียิปต์,ไนเจอร์ Suchomimus มีปากที่มีความยาวต่ำและแคบเป็นจะงอย ฟันคมมาก และโค้งย้อนหลัง ออกหาอาหารบริเวณริมแม่น้ำ อาหารหลักของมันคือปลา และสัตว์น้ำในยุคดึกดำบรรณ์ Suchomimus มีความยาว 11 เมตร หนักประมาณ 2.9-4.8 ตัน อาศัยอยู่ในยุคครีเทเซียสตอนต้นเมื่อประมาณ 112 ล้านปีก่อน มันมีศัตรูขู้แข่งตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกันอย่าง จระเข้ยักษ์ ซาร์โคซูคัส (Sarcosuchus) ที่อาศัยอยู่ริมน้ำและจะคอยดักซุ่มโจมตีเหยื่ออยู่ในน้ำ Suchomimus มีญาติไกล้ชิดอย่าง สไปโนซอรัส [spinosaurus] ที่มีความยาว 15 เมตร กับ อิริอาเตอร์ (อังกฤษ: Irritator) ยาว 8 เมตร (26ฟุต) ที่มีลักษณะรูปร่างและการดำรงชีวิตคล้ายกันแต่มีขนาดเล็กกว่า
ซูโคไมมัส เป็นไดโนเสาร์ที่อยู่ในสกุลใด
3701
{ "answer_end": [ 47 ], "answer_start": [ 46 ], "text": [ "4" ] }
360134
กฎของอุณหพลศาสตร์ กฎของอุณหพลศาสตร์ มีทั้งหมด 4 ข้อ โดยกฎข้อที่หนึ่งและข้อที่สองนั้น ถือว่าเป็นสองกฎที่สำคัญที่สุดของฟิสิกส์เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม กฎบางข้อ เช่น ข้อที่สอง จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อเมื่อมองธรรมชาติแบบมหภาคเท่านั้น แต่เมื่อมองในระดับจุลภาคหรือระดับอะตอม มีความน่าจะเป็นที่กฎข้อที่สองจะถูกฝ่าฝืน เพียงแต่ความน่าจะเป็นนั้นมีค่าน้อยมาก จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ในระดับมหภาคเท่านั้นกฎข้อที่ศูนย์ กฎข้อที่ศูนย์. กล่าวถึงภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ ดังนี้ ถ้าระบบ A และ B อยู่ในภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ และระบบ B และ C อยู่ในสภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์แล้ว ระบบ A และ C จะอยู่ในภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ด้วยเช่นกัน นั่นคือภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์มีคุณสมบัติถ่ายทอด (transitive) นั่นเองกฎข้อที่หนึ่ง กฎข้อที่หนึ่ง. กล่าวถึงกฎทรงพลังงาน ดังนี้ พลังงานของระบบที่เปลี่ยนแปลงในกระบวนการอะเดียแบติก (กระบวนการที่ไม่มีการถ่ายเทความร้อน) จะไม่ขึ้นกับวิถีทางหรือทิศทางของงานที่กระทำต่อระบบในกระบวนการนั้น ๆ การเปลี่ยนแปลงจะขึ้นอยู่กับสถานะเริ่มต้นและสถานะสุดท้ายเท่านั้น นั่นคือการเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบมีคุณสมบัติความไม่แปรผัน (invariance) ต่อทิศทางของกระบวนการในกระบวนการอะเดียแบติก. กฎข้อนี้สามารถแสดงด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ว่า โดย E หมายถึงพลังงานของระบบ, Q หมายถึงพลังงานความร้อนที่เข้าสู่ระบบ, และ W หมายถึงงานที่กระทำต่อระบบ.กฎข้อที่สอง กฎข้อที่สอง. กล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปีหรือพลังงานเสียในระบบอิสระ โดยอธิบายได้หลายแบบดังนี้ ไม่มีเครื่องจักรความร้อนใด ๆ ที่จะให้ประสิทธิภาพ 100 % (เคลวิน-พลังค์) ความร้อนจากแหล่งที่มีอุณหภูมิต่ำ ไม่สามารถถ่ายเทไปยังแหล่งที่มีอุณภูมิสูงกว่าได้ โดยธรรมชาติ (เคลาซิอุส) เอนโทรปีของระบบอิสระไม่มีทางที่จะลดลงในกระบวนการใด ๆ (ทั่วไป) นั่นคือการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีของระบบมีคุณสมบัติเป็นฟังก์ชันเพิ่มทางเดียว (monotonically increasing) โดยเราพิจารณาเอนโทรปีเป็นฟังก์ชันของเวลา. จากคุณสมบัตินี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเราสามารถพิจารณาเอนโทรปีในการระบุทิศทางของเวลาได้ กฎข้อนี้สามารถแสดงด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ว่ากฎข้อที่สาม กฎข้อที่สาม. กล่าวถึงอุณหภูมิศูนย์องศาสัมบูรณ์ โดยอธิบายได้ดังนี้ เมื่ออุณหภูมิสัมบูรณ์ลู่เข้าศูนย์ เอนโทรปีของระบบจะลู่เข้าค่าคงที่
กฎของอุณหพลศาสตร์ของฟิสิกส์มีทั้งหมดกี่ข้อ
3702
{ "answer_end": [ 29 ], "answer_start": [ 15 ], "text": [ "แพ็ก ซ็อน-ย็อบ" ] }
927954
แพ็ก ซ็อน-ย็อบ แพ็ก ซ็อน-ย็อบ (; เกิด 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1920) เขาเป็นนายทหารของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลีที่เกษียณอายุราชการแล้ว เขาได้เข้าประจำการในกองทัพแมนจูกัว และเกาหลีใต้ เป็นผู้ที่ได้เข้าร่วมในสงครามเกาหลี แพ็กรู้จักในฐานะผู้เข้าร่วมสงครามเกาหลี และยังเป็นทหารที่ได้รับยศสี่ดาวนายแรกตามประวัติศาสตร์ทหารของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี พี่ชายเขา, แพ็ก อิน-ย็อบ, ได้เป็นผู้บัญชาการกรมทหารอิสระที่ 17 ของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี ในช่วงสงครามเกาหลี พี่ชายของแพ็กได้มีบทบาทสำคัญในยุทธการที่องจิน และการยกพลขึ้นบกที่อินช็อนคลังภาพ
ทหารที่ได้รับยศสี่ดาวนายแรกตามประวัติศาสตร์ทหารของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลีมีชื่อว่าอะไร
3703
{ "answer_end": [ 136 ], "answer_start": [ 132 ], "text": [ "2491" ] }
35112
แมคโดนัลด์ แมคโดนัลด์ () เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเครือร้านอาหารจานด่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลกประวัติ ประวัติ. แมคโดนัลด์ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ.​1948) โดยพี่น้องดิ๊กและแมคโดนัลด์เปิดเป็นร้านแฮมเบอร์เกอร์ชื่อว่า "แมคโดนัลด์" เป็นแบบไดรฟ์ทรูในแซนเบอร์นาร์ดีโน ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่เริ่มนำระบบการบริการอย่างรวดเร็วเข้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2491 ภายหลังทั้งสองได้ขายกิจการให้กับ นายเรย์มอนด์ แอลเบิร์ต คร็อก เพื่อนำไปขยายสาขา และเป็นต้นกำเนิดของร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตามปัจจุบันบริษัทแมคโดนัลด์ได้นับเอาการเปิดร้านแฟรนไชส์สาขาแรก เมื่อปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ.​1955) เป็นวันก่อตั้งบริษัท ปัจจุบันแมคโดนัลด์มีสาขากว่า 30,000 สาขาใน 121 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ให้บริการลูกค้ามากกว่า 50 ล้านคนต่อวัน เครือแมคโดนัลด์ยังประกอบธุรกิจร้านอาหารยี่ห้ออื่น และธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือไปจากร้านอาหาร เช่น ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น มีผลประกอบการ 20.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกำไรสุทธิ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ตัวเลขปี พ.ศ. 2548) รูปแบบทั่วไปของร้านแมคโดนัลด์คือแบบเคาน์เตอร์และแบบไดรฟ์ทรูหรือขับรถเข้าไปซื้อโดยไม่ต้องลงจากรถ อาหารหลักที่ขายทั่วไปคือ แฮมเบอร์เกอร์ ชีสเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ ไก่ทอด สลัด ชุดอาหารเช้า ชุดอาหารสำหรับเด็กชื่อ แฮปปี้มีล และของหวานอีกหลายชนิด เช่น ไอศกรีม เป็นต้น แมคโดนัลด์กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอเมริกันและทุนนิยม การเปิดสาขาของร้านแมคโดนัลด์ในประเทศต่าง ๆ มักถูกมองเป็นการบุกรุกของวัฒนธรรมอเมริกัน นอกจากนี้อาหารของแมคโดนัลด์ยังได้รับการวิจารณ์ในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วยแมคโดนัลด์ในประเทศไทย แมคโดนัลด์ในประเทศไทย. แมคโดนัลด์เปิดสาขาแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2528 โดยนายเดช บุลสุข ซึ่งประทับใจในอาหารของแมคโดนัลด์สมัยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ที่สหรัฐอเมริกา นับเป็นประเทศที่ 35 และสาขาแรกอยู่ที่ห้างโซโก หรืออมรินทร์พลาซ่าในปัจจุบัน แมคโดนัลด์สาขาถนนราชดำเนิน ติดกับโรงเรียนสตรีวิทยา เป็นแมคโดนัลด์สาขาแรกในโลกที่ป้ายหน้าร้านใช้พื้นสีน้ำตาล แทนที่จะเป็นสีแดงเหมือนสาขาอื่น ๆ ในขณะนั้น เพื่อปรับให้เข้ากับภูมิสถาปัตยกรรมของอาคารริมถนนราชดำเนิน เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2552 แมคโดนัลด์ประเทศไทย มีสาขาทั้งสิ้น 115 สาขา บริการ 24 ชั่วโมง 44 สาขา, บริการอาหารเช้า 86 สาขา, Delivery 71 สาขา, Mc Cafe 43 สาขา, Drive Thru 15 สาขา และ Kios ไอศกรีมขนมหวาน 41 สาขา
ร้านอาหารจานด่วนชื่อว่าแมคโดนัลด์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.ใด
3704
{ "answer_end": [ 1169 ], "answer_start": [ 1160 ], "text": [ "แฮปปี้มีล" ] }
35112
แมคโดนัลด์ แมคโดนัลด์ () เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเครือร้านอาหารจานด่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลกประวัติ ประวัติ. แมคโดนัลด์ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ.​1948) โดยพี่น้องดิ๊กและแมคโดนัลด์เปิดเป็นร้านแฮมเบอร์เกอร์ชื่อว่า "แมคโดนัลด์" เป็นแบบไดรฟ์ทรูในแซนเบอร์นาร์ดีโน ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่เริ่มนำระบบการบริการอย่างรวดเร็วเข้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2491 ภายหลังทั้งสองได้ขายกิจการให้กับ นายเรย์มอนด์ แอลเบิร์ต คร็อก เพื่อนำไปขยายสาขา และเป็นต้นกำเนิดของร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตามปัจจุบันบริษัทแมคโดนัลด์ได้นับเอาการเปิดร้านแฟรนไชส์สาขาแรก เมื่อปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ.​1955) เป็นวันก่อตั้งบริษัท ปัจจุบันแมคโดนัลด์มีสาขากว่า 30,000 สาขาใน 121 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ให้บริการลูกค้ามากกว่า 50 ล้านคนต่อวัน เครือแมคโดนัลด์ยังประกอบธุรกิจร้านอาหารยี่ห้ออื่น และธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือไปจากร้านอาหาร เช่น ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น มีผลประกอบการ 20.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกำไรสุทธิ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ตัวเลขปี พ.ศ. 2548) รูปแบบทั่วไปของร้านแมคโดนัลด์คือแบบเคาน์เตอร์และแบบไดรฟ์ทรูหรือขับรถเข้าไปซื้อโดยไม่ต้องลงจากรถ อาหารหลักที่ขายทั่วไปคือ แฮมเบอร์เกอร์ ชีสเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ ไก่ทอด สลัด ชุดอาหารเช้า ชุดอาหารสำหรับเด็กชื่อ แฮปปี้มีล และของหวานอีกหลายชนิด เช่น ไอศกรีม เป็นต้น แมคโดนัลด์กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอเมริกันและทุนนิยม การเปิดสาขาของร้านแมคโดนัลด์ในประเทศต่าง ๆ มักถูกมองเป็นการบุกรุกของวัฒนธรรมอเมริกัน นอกจากนี้อาหารของแมคโดนัลด์ยังได้รับการวิจารณ์ในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วยแมคโดนัลด์ในประเทศไทย แมคโดนัลด์ในประเทศไทย. แมคโดนัลด์เปิดสาขาแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2528 โดยนายเดช บุลสุข ซึ่งประทับใจในอาหารของแมคโดนัลด์สมัยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ที่สหรัฐอเมริกา นับเป็นประเทศที่ 35 และสาขาแรกอยู่ที่ห้างโซโก หรืออมรินทร์พลาซ่าในปัจจุบัน แมคโดนัลด์สาขาถนนราชดำเนิน ติดกับโรงเรียนสตรีวิทยา เป็นแมคโดนัลด์สาขาแรกในโลกที่ป้ายหน้าร้านใช้พื้นสีน้ำตาล แทนที่จะเป็นสีแดงเหมือนสาขาอื่น ๆ ในขณะนั้น เพื่อปรับให้เข้ากับภูมิสถาปัตยกรรมของอาคารริมถนนราชดำเนิน เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2552 แมคโดนัลด์ประเทศไทย มีสาขาทั้งสิ้น 115 สาขา บริการ 24 ชั่วโมง 44 สาขา, บริการอาหารเช้า 86 สาขา, Delivery 71 สาขา, Mc Cafe 43 สาขา, Drive Thru 15 สาขา และ Kios ไอศกรีมขนมหวาน 41 สาขา
ชุดอาหารสำหรับเด็กของร้านอาหารจานด่วนชื่อว่าแมคโดนัลด์มีชื่อว่าอะไร
3705
{ "answer_end": [ 173 ], "answer_start": [ 169 ], "text": [ "สเปน" ] }
146230
ฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน ฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน () หรือ ฟรันซิสโก ซูร์บารัน (; 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1598 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1664) เป็นจิตรกรสมัยจิตรกรรมยุคบาโรกคนสำค้ญของประเทศสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพทางศาสนา เช่น นักพรต นักพรตหญิง มรณสักขีในศาสนาคริสต์ และภาพนิ่ง ซูร์บารันเป็นที่รู้จักกันในนาม "คาราวัจโจของสเปน" เพราะวิธีการวาดภาพอย่างเหมือนจริงและการใช้แสงเงาที่ตัดกันอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับงานของคาราวัจโจชีวิตเบื้องต้น ชีวิตเบื้องต้น. ฟรันซิสโก ซูร์บารันเกิดที่ฟูเอนเตเดกันโตส (Fuente de Cantos) ที่แคว้นเอซเตรมาดูรา เป็นลูกของลุยส์ ซูร์บารัน คนขายเครื่องเย็บปักถักร้อยและอิซาเบล มาร์เกซ (Isabel Márquez) เมื่อยังเป็นเด็ก ซูร์บารันชอบวาดรูปสิ่งของต่างด้วยถ่าน เมื่อปี ค.ศ. 1614 ซูร์บารันก็ถูกพ่อส่งไปเซวิลล์เป็นเวลาราวสามปีเพื่อไปฝึกงานกับเปโดร ดิอัซ เด บิยานูเอบา (Pedro Díaz de Villanueva) ผู้เป็นศิลปินที่ไม่มีหลักฐานอะไรที่กล่าวถึงลักษณะงาน ลักษณะงาน. ไม่เป็นที่ทราบว่าซูร์บารันมีโอกาสได้เลียนงานของการาวัจโจหรือไม่ แต่ซูร์บารันใช้ลักษณะการวาดภาพเหมือนและใช้แสงเงาที่ตัดกัน (chiaroscuro) จิตรกรผู้มีอิทธิพลต่อการของการวางองค์ประกอบของภาพของซูร์บารันคือฆวน ซันเชซ โกตัน (Juan Sánchez Cotán) งานรูปปั้นโพลีโครมของซูร์บารันก็มีลักษณะดีกว่าจิตรกรท้องถิ่นตั้งแต่ยังฝึกงาน ศิลปินอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธพลต่อซูร์บารันก็คือฆวน มาร์ติเนซ มอนตัญเญส (Juan Martínez Montañés) ซูร์บารันเขียนภาพจากธรรมชาติโดยตรงและมักจะชอบวาดแบบที่ใช้ผ้าทบทาบตัวโดยเฉพาะผ้าขาว ฉะนั้นซูร์บารันจึงชอบเขียนภาพระห่มขาวของคณะคาร์ทูเซียน งานของซูร์บารันเป็นงานที่ทำเฉพาะในประเทศสเปนและไม่มีอะไรที่ต่างไปจากชีวิตประจำวันมากนัก สิ่งที่วาดจะเป็นแบบเอาจริงเอาจัง เรียบ ขึงขัง และจะจำกัดตัวแบบลงเหลือเพียงตัวเดียว ลักษณะจะเรียบกว่าคาราวัจโจ และสีจะออกไปทางน้ำเงิน ผลของรูปเกิดจากการเขียนด้านหน้าอย่างชัดเจนสาดด้วยแสงและเงาชีวิตบั้นปลาย ชีวิตบั้นปลาย. เมื่ออยู่ที่เซวิลล์ซูร์บารันแต่งงานกับเลโอนอร์ เด ฆอร์เดรา (Leonor de Jordera) มึลูกด้วยกันหลายคน เมื่อปี ค.ศ. 1630 ซูร์บารันได้รับแต่งตั้งให้เป็นจิตรกรประจำราชสำนักของพระเจ้าเฟลีเปที่ 4 แห่งสเปน มีเรื่องเล่ากันว่าครั้งหนึ่งพระเจ้าฟิลิปทรงวางพระหัตถ์บนไหล่ของซูร์บารันและทรงเปรยว่า “จิตรกรของกษัตริย์ กษัตริย์ของจิตรกร” หลังจากปี ค.ศ. 1640 แบบที่ขึงขังของซูร์บารันก็เริ่มมีความนิยมน้อยลงเมื่อเทียบกับแบบที่อ่อนหวานและมีสีสันมากกว่าของบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย เมื่อซูร์บารันมีอายุมากขึ้นก็ย้ายไปมาดริดเมื่อปี ค.ศ. 1658 เพื่อไปหางานทำและรื้อฟื้นการติดต่อกับเดียโก เบลัซเกซ ซูร์บารันตายอย่างไม่มีใครรู้จักและอย่างยากจนงานของซูร์บารัน งานของซูร์บารัน. เมื่อปี ค.ศ. 1627 ซูร์บารันเขียนฉากประดับแท่นบูชาใหญ่ที่วัดเซนต์โทมัส อควีนาสซึ่งเป็นงานชิ้นใหญ่ที่สุดของซูร์บารัน ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เซวิลล์ บนฉากเป็นรูปพระเยซูและพระแม่มารีย์ นักบุญต่างๆ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และอัศวิน และอาร์ชบิชอปเดซาผู้เป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัย กับนักพรตและผู้เกี่ยวข้อง ตัวแบบเอก ๆ มีขนาดใหญ่กว่าคนจริง นอกจากนั้นซูร์บารันยังเขียนภาพขนาดใหญ่หลายภาพให้กับโบสถ์ซานตามาริอาเดกัวดาลูเป (Santa Maria de Guadalupe) 8 ภาพเป็นภาพเกี่ยวกับนักบุญเจอโรม, ที่โบสถ์ซันเปาโลที่เซบิยา ซูร์บารันสร้างรูป “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” สองสีแบบเอกรงค์เทา ที่ทำให้ดูเหมือนทำจากหินอ่อน เมื่อปี ค.ศ. 1633 ซูร์บารันเขียนภาพสำหรับฉากประดับแท่นบูชาสำหรับอารามคาร์ทูเซียนที่เจเรซ ที่วังบวยนเรติโร ที่มาดริดซูร์บารันเขียนภาพที่เป็นแรงงานสิบสองเดือน (The Twelve Labours) ของเฮอร์คิวลีส ซึ่งเป็นงานที่ไม่ใช่งานศาสนา งานชิ้นสำคัญอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่ลอนดอนเป็นขนาดคนจริงของไฟรอาร์คณะฟรันซิสกันถือกะโหลก
ฟรันซิสโก เด ซูร์บารันเป็นจิตรกรสมัยจิตรกรรมยุคบาโรกคนสำค้ญของประเทศใด
3706
{ "answer_end": [ 45 ], "answer_start": [ 23 ], "text": [ "ฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน" ] }
146230
ฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน ฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน () หรือ ฟรันซิสโก ซูร์บารัน (; 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1598 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1664) เป็นจิตรกรสมัยจิตรกรรมยุคบาโรกคนสำค้ญของประเทศสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพทางศาสนา เช่น นักพรต นักพรตหญิง มรณสักขีในศาสนาคริสต์ และภาพนิ่ง ซูร์บารันเป็นที่รู้จักกันในนาม "คาราวัจโจของสเปน" เพราะวิธีการวาดภาพอย่างเหมือนจริงและการใช้แสงเงาที่ตัดกันอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับงานของคาราวัจโจชีวิตเบื้องต้น ชีวิตเบื้องต้น. ฟรันซิสโก ซูร์บารันเกิดที่ฟูเอนเตเดกันโตส (Fuente de Cantos) ที่แคว้นเอซเตรมาดูรา เป็นลูกของลุยส์ ซูร์บารัน คนขายเครื่องเย็บปักถักร้อยและอิซาเบล มาร์เกซ (Isabel Márquez) เมื่อยังเป็นเด็ก ซูร์บารันชอบวาดรูปสิ่งของต่างด้วยถ่าน เมื่อปี ค.ศ. 1614 ซูร์บารันก็ถูกพ่อส่งไปเซวิลล์เป็นเวลาราวสามปีเพื่อไปฝึกงานกับเปโดร ดิอัซ เด บิยานูเอบา (Pedro Díaz de Villanueva) ผู้เป็นศิลปินที่ไม่มีหลักฐานอะไรที่กล่าวถึงลักษณะงาน ลักษณะงาน. ไม่เป็นที่ทราบว่าซูร์บารันมีโอกาสได้เลียนงานของการาวัจโจหรือไม่ แต่ซูร์บารันใช้ลักษณะการวาดภาพเหมือนและใช้แสงเงาที่ตัดกัน (chiaroscuro) จิตรกรผู้มีอิทธิพลต่อการของการวางองค์ประกอบของภาพของซูร์บารันคือฆวน ซันเชซ โกตัน (Juan Sánchez Cotán) งานรูปปั้นโพลีโครมของซูร์บารันก็มีลักษณะดีกว่าจิตรกรท้องถิ่นตั้งแต่ยังฝึกงาน ศิลปินอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธพลต่อซูร์บารันก็คือฆวน มาร์ติเนซ มอนตัญเญส (Juan Martínez Montañés) ซูร์บารันเขียนภาพจากธรรมชาติโดยตรงและมักจะชอบวาดแบบที่ใช้ผ้าทบทาบตัวโดยเฉพาะผ้าขาว ฉะนั้นซูร์บารันจึงชอบเขียนภาพระห่มขาวของคณะคาร์ทูเซียน งานของซูร์บารันเป็นงานที่ทำเฉพาะในประเทศสเปนและไม่มีอะไรที่ต่างไปจากชีวิตประจำวันมากนัก สิ่งที่วาดจะเป็นแบบเอาจริงเอาจัง เรียบ ขึงขัง และจะจำกัดตัวแบบลงเหลือเพียงตัวเดียว ลักษณะจะเรียบกว่าคาราวัจโจ และสีจะออกไปทางน้ำเงิน ผลของรูปเกิดจากการเขียนด้านหน้าอย่างชัดเจนสาดด้วยแสงและเงาชีวิตบั้นปลาย ชีวิตบั้นปลาย. เมื่ออยู่ที่เซวิลล์ซูร์บารันแต่งงานกับเลโอนอร์ เด ฆอร์เดรา (Leonor de Jordera) มึลูกด้วยกันหลายคน เมื่อปี ค.ศ. 1630 ซูร์บารันได้รับแต่งตั้งให้เป็นจิตรกรประจำราชสำนักของพระเจ้าเฟลีเปที่ 4 แห่งสเปน มีเรื่องเล่ากันว่าครั้งหนึ่งพระเจ้าฟิลิปทรงวางพระหัตถ์บนไหล่ของซูร์บารันและทรงเปรยว่า “จิตรกรของกษัตริย์ กษัตริย์ของจิตรกร” หลังจากปี ค.ศ. 1640 แบบที่ขึงขังของซูร์บารันก็เริ่มมีความนิยมน้อยลงเมื่อเทียบกับแบบที่อ่อนหวานและมีสีสันมากกว่าของบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย เมื่อซูร์บารันมีอายุมากขึ้นก็ย้ายไปมาดริดเมื่อปี ค.ศ. 1658 เพื่อไปหางานทำและรื้อฟื้นการติดต่อกับเดียโก เบลัซเกซ ซูร์บารันตายอย่างไม่มีใครรู้จักและอย่างยากจนงานของซูร์บารัน งานของซูร์บารัน. เมื่อปี ค.ศ. 1627 ซูร์บารันเขียนฉากประดับแท่นบูชาใหญ่ที่วัดเซนต์โทมัส อควีนาสซึ่งเป็นงานชิ้นใหญ่ที่สุดของซูร์บารัน ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เซวิลล์ บนฉากเป็นรูปพระเยซูและพระแม่มารีย์ นักบุญต่างๆ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และอัศวิน และอาร์ชบิชอปเดซาผู้เป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัย กับนักพรตและผู้เกี่ยวข้อง ตัวแบบเอก ๆ มีขนาดใหญ่กว่าคนจริง นอกจากนั้นซูร์บารันยังเขียนภาพขนาดใหญ่หลายภาพให้กับโบสถ์ซานตามาริอาเดกัวดาลูเป (Santa Maria de Guadalupe) 8 ภาพเป็นภาพเกี่ยวกับนักบุญเจอโรม, ที่โบสถ์ซันเปาโลที่เซบิยา ซูร์บารันสร้างรูป “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” สองสีแบบเอกรงค์เทา ที่ทำให้ดูเหมือนทำจากหินอ่อน เมื่อปี ค.ศ. 1633 ซูร์บารันเขียนภาพสำหรับฉากประดับแท่นบูชาสำหรับอารามคาร์ทูเซียนที่เจเรซ ที่วังบวยนเรติโร ที่มาดริดซูร์บารันเขียนภาพที่เป็นแรงงานสิบสองเดือน (The Twelve Labours) ของเฮอร์คิวลีส ซึ่งเป็นงานที่ไม่ใช่งานศาสนา งานชิ้นสำคัญอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่ลอนดอนเป็นขนาดคนจริงของไฟรอาร์คณะฟรันซิสกันถือกะโหลก
จิตรกรของสเปนในสมัยจิตรกรรมยุคบาโรกคนใดเป็นที่รู้จักกันในนาม คาราวัจโจของสเปน
3707
{ "answer_end": [ 104 ], "answer_start": [ 81 ], "text": [ "ฐานุพงศ์ ศักดิ์ธนาวัฒน์" ] }
349299
กล้วย เชิญยิ้ม กล้วย เชิญยิ้ม นักแสดงตลกชาวไทยชื่อดังในคณะเชิญยิ้ม มีชื่อจริงว่า ฐานุพงศ์ ศักดิ์ธนาวัฒน์ (ชื่อเดิม: สุนทร คมขำ)ประวัติ ประวัติ. กล้วยเกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ที่อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นบุตรของนายบุญจันทร์ และนางบุญธรรม คมขำ บิดาเป็นหัวหน้าคณะลิเก "สวรรค์ถาวร" และได้ย้ายไปอยู่กับบิดาที่จังหวัดสุโขทัยหลังจบชั้นประถม 5 ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ และเริ่มหัดเล่นลิเก และออกตระเวนเล่นไปกับคณะ จนเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงเมื่ออายุ 26 ปี ร่วมคณะเชิญยิ้ม กล้วย เชิญยิ้ม เริ่มศึกษาต่อการศึกษานอกโรงเรียนเมื่ออายุ 30 ปี ที่โรงเรียนนนทรีวิทยา และศึกษาต่อปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยปทุมธานี และมหาวิทยาลัยเกริก และจบปริญญาโท นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริกงานการเมือง งานการเมือง. กล้วยได้หันมาเล่นการเมืองท้องถิ่นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ บ้านเกิด เคยเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นหนึ่งในคณะทำงานของนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และได้ประกาศตัวเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุตรดิตถ์ ในนามพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 2553 และเป็นผู้สมัครในเขต 3 จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งประกอบด้วย อำเภอตรอน อำเภอลับแล และอำเภอพิชัย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554งานบันเทิงภาพยนตร์งานบันเทิง. ภาพยนตร์. - 2538 กอง100 501 ตอน ถึงใจจะแตกแต่ไม่แตกแถว - 2539 กลิ่นสีและทีแปรง - 2539 กองพันทหารเกณฑ์+12 ตอน แนวรักริมฟุตบาทละครโทรทัศน์ละครโทรทัศน์. - 2537 นกน้อยในไร่ส้ม ช่อง 3 - 2537 นางฟ้าหลงทาง ช่อง 3 - 2538 ขอโทษที...ไม่มีเวลาโง่ ช่อง 7 - 2538 อยากหยุดตะวันไว้ที่ปลายฟ้า ช่อง 5 - 2538 บ้านไร่ชายทุ่ง ช่อง 3 - 2538 สายโลหิต ช่อง 7 รับบทเป็น ทับ - 2538 มายาตวัน ช่อง 7 (รับเชิญ) - 2539 - 2540 พิสูจน์รักจากสวรรค์ ช่อง 5 - 2542 สาวน้อยประแป้ง ช่อง 3 - 2542 ปัญญาชนก้นครัว ช่อง 3 - 2543 ยอดยาหยี ช่อง 3 - 2543 ยอดชีวัน ช่อง 3 - 2543 เพลิงรักไฟแค้น ช่อง 3 - 2544 เขยบ้านนอก ช่อง 3 - 2544 ขมิ้นกับปูน ช่อง 3 - 2544 นายฮ้อยทมิฬ ช่อง 7 - 2544 ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน ช่อง 7 (รับเชิญ) - 2545 เมนูรัก จานเด็ด ช่อง 3 - 2546 เจ้านายวัยกระเตาะ ช่อง 3 - 2546 โฉมตรู ครูเถื่อน ช่อง 7 - 2546 ครูสมศรี ช่อง 7 - 2546 มือปืนพ่อลูกติด ช่อง 7 - 2549 สุดรักสุดดวงใจ ช่อง 3 - 2550 หนุ่มผมยาวสาวโปงลาง ช่อง 7 - 2551 หลวงตาใหม่ ผู้ใหญ่เย็น ช่อง 7 - 2551 สะใภ้ก้นครัว ช่อง 7 - 2552 ชิงชัง ช่อง 5 (รับเชิญ) - 2552 ปราสาทมืด ช่อง 3 - 2552 เณรน้อย ช่อง 7 - 2552 นางกรี๊ด ช่อง 7 - 2552 คุณหนูฉันทนา ช่อง 3 - 2553 โรบอทยอดรัก ช่อง 7 - 2554 หอ หึ หึ ช่อง 3 - 2554 เกมร้ายเกมรัก ช่อง 3 - 2555 ธรณีนี่นี้ใครครอง ช่อง 3 - 2555 นางสิงห์สะบัดช่อ ช่อง 5 (รับเชิญ) - 2555 สวนอาหารบานใจ ช่อง 7 - 2556 คุณชายปวรรุจ ช่อง 3 - 2556 ดาวเรือง (ละครโทรทัศน์) ช่อง 3 (รับเชิญ) - 2556 เรือนกาหลง ช่อง 7 - 2556 พรมแดนหัวใจ ช่อง 7 - 2557 ภพรัก ช่อง 3 - 2558 นางชฎา ช่อง 7 - 2558 หลวงพี่ดิจิตอล ช่อง 8 - 2558 บัลลังก์เมฆ ช่องวัน - 2558 รักล้นดอย (ละครซิทคอม) ช่อง 7 - 2558 พลับพลึงสีชมพู ช่อง 3 - 2559 มนต์รักสองฝั่งคลอง ช่อง พีพีทีวี - 2559 รักสลับหน้า ช่อง 7 - 2560 ร้อยป่าไว้ด้วยรัก ช่อง 3 - 2560 สายลับจับแอ๊บ ช่อง 3 - 2561 ถิ่นผู้ดี ช่อง 7 - 2561 บ่วงรักซาตาน ช่อง 3 - 2561 เส้นสนกลรัก ช่อง 3 - 2561 ไฮโซสะออน ช่อง 7 - 2561 นายยิ้มมะยมหวาน ช่อง 3 เอสดี - 2561 ปาฏิหาริย์รักแม่โพสพ ช่อง 3ละครซิทคอมละครซิทคอม. - 2548 บุญดีผีคุ้ม รับบท จตุพร (รับเชิญ) - 2545 - 2559 เฮง เฮง เฮง รับบท อาฮวด - 2557 ลูกพี่ลูกน้อง รับบท หมอไฝ ไทม์แมทชีน (รับเชิญ) - 2559 - 2560 อาม่าอะพาร์ตเมนต์ รับบท ชำนาญ - 2560 สูตรรักชุลมุน รับบท เชฟหลง (เชฟเทวดา) (รับเชิญ) - 2561 ชะนีหนีคาน รับบท เปี๊ยก (พ่อของเปิ้ลกับเป้) (รับเชิญ) - 2561 สภากาแฟ 4.0 รับบท ลุงปลงพิธีกรรายการโทรทัศน์พิธีกรรายการโทรทัศน์. - 2557 ข่าวบ่ายคลายเครียด ทางฟ้าวันใหม่อื่น ๆอื่น ๆ. - บันทึกการแสดงสด ร่วมกับชาวคณะ ในรายการ จี้เส้นคอนเสิร์ต สร้างโดยบริษัท เอสทีวิดีโอ ใช้ชื่อชุดว่า ยกทีมฮากับน้ากล้วย - มีมิวสิควิด๊โอ เล่น คู่กับ เพลิน พรหมแดน ชื่อเพลงว่า เปาบุ้นจิ้นเผาศาลสมาชิกในคณะ กล้วย เชิญยิ้มสมาชิกในคณะ กล้วย เชิญยิ้ม. - ต๋อง ชวนชื่น (พ.ศ. 2538 - 2540) - เนงบา เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2536 - 2544) - หน่อง เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2536 - 2544) - อรชร เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2542) - จิ้งจก เชิญยิ้ม หรือ เฮียหมู ในปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2536 - 2542)
กล้วย เชิญยิ้ม นักแสดงตลกชาวไทยมีชื่อจริงว่าอะไร
3708
{ "answer_end": [ 82 ], "answer_start": [ 76 ], "text": [ "อิสลาม" ] }
16800
ละหมาด ละหมาด หรือ นมาซ คือการนมัสการพระเจ้า อันเป็นศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อแสดงถึงความเคารพสักการะ ความขอบคุณ และความภักดีต่ออัลลอฮ์ โดยทั่วไปการละหมาดคือการขอพร ส่วนทางศาสนาหมายถึงการกล่าวและการกระทำ การละหมาดจะกระทำ 5 เวลา ได้แก่ ยามรุ่งอรุณ ยามบ่ายช่วงตะวันคล้อย ยามอาทิตย์ตกดิน และยามค่ำคืน ซึ่งการละหมาดทุกครั้งจะต้องหันหน้าไปทางทิศกิบละฮ์ในเมืองมักกะฮ์ศัพทมูลวิทยา ศัพทมูลวิทยา. คำว่า "ละหมาด" หรือ "นมาซ" เป็นคำยืมมาจากภาษาเปอร์เซียมาจากคำว่า "นมาซ" ( namāz) ภาษาอาหรับเรียกว่า "ศอลาต" ( ' หรือ : '; พหูพจน์ ) มาจากรากศัพท์ที่ประกอบด้วย ศอด () , ลาม () , และวาว () ความหมายของรากศัพท์นี้ในภาษาอาหรับคลาสสิกคือ สวดมนต์ อ้อนวอน บูชา ร้องทุกข์ กล่าวสุนทรพจน์ ขอพร ตามไปอย่างใกล้ชิด หรือ ติดต่อ ความหมายที่เป็นรากฐานของคำนี้เกี่ยวข้องกับความหมายที่ใช้ในอัลกุรอานทั้งหมด ส่วนภาษามลายูว่า "เซิมบะห์ยัง" () ที่เป็นคำที่ประกอบจากคำว่า 'เซิมบะห์' ( บูชา) และ 'ฮยัง' ( พระเจ้า) ซึ่งเพี้ยนเป็นภาษามลายูปัตตานีว่า "ซือมาแย" หรือ "สมาแย" และสำเนียงสงขลาว่า "มาหยัง"เงื่อนไขของการละหมาดเงื่อนไขของการละหมาด. - ผู้ละหมาดต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น - มีเจตนาแน่วแน่ (นียะหฺ) - หันหน้าไปทางทิศกิบลัต (ทิศตะวันตกของประเทศไทย) คือที่ตั้งของเมกกะ - การประกาศบอกเวลาละหมาด (อะซาน) - การประกาศให้ยืนขึ้นเพื่อละหมาด (อิกอมะหฺ) - ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า สถานที่ชนิดของการละหมาดชนิดของการละหมาด. - ละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎ) วันละ 5 เวลา (การละเว้นละหมาดชนิดนี้เป็นบาป) ประกอบด้วย- ย่ำรุ่ง (ศุบฮิ) ประมาณ ตี 5 - 6 โมงเช้า - บ่าย (ซุหฺริ) ประมาณ เที่ยงครึ่ง - บ่ายโมงกว่าๆ - เย็น (อัศริ) ประมาณ บ่าย 3 ถึง 5 โมงเย็น - พลบค่ำ (มัฆริบ) ประมาณ 6 โมงครึ่ง ถึง ทุ่มกว่า ๆ - กลางคืน (อิชาอ์) ก่อนนอน ประมาณ 1 ทุ่มเป็นต้นไป - ละหมาดวันศุกร์ (ญุมุอะหฺ) เป็นการละหมาดร่วมกันในเวลาบ่าย ก่อนละหมาดจะมีเทศนา (คุฏบะหฺ) เป็นข้อบังคับเฉพาะผู้ชาย - ละหมาดอื่น ๆ ได้แก่ละหมาดในวันอิดุลฟิฏริ และวันอีดุลอัฏฮา ละหมาดในเดือนรอมะฎอน (ในนิกายซุนนีเรียกว่า ตะรอวีฮฺ) ละหมาดเมื่อเกิดสุริยคราส (กุซูฟ) และจันทรคราส (คูซูฟ) ละหมาดขอฝน (อิสติกออ์) ละหมาดให้ผู้ตาย (ญะนาซะหฺ) และละหมาดขอพรในกรณีต่าง ๆความสะอาดกับการละหมาด ความสะอาดกับการละหมาด. ก่อนการละหมาด ผู้ละหมาดต้องอาบน้ำละหมาด (วุฎูอ์) ได้แก่การใช้น้ำชำระมือ ปาก จมูก ใบหน้า แขน ศีรษะ หู และเท้า พร้อมกับขอพร ถ้าไม่มีน้ำให้ชำระด้วยผงดิน (ตะยัมมุม) ในกรณีที่เพิ่งหมดประจำเดือน หลังคลอดบุตรหรือแท้งบุตร หรือผู้ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หลั่งน้ำอสุจิ นอกจากอาบน้ำละหมาดแล้วต้องอาบน้ำทั่วร่างกาย (ญะนาบะหฺ) ด้วย สิ่งที่ทำให้ความสะอาดเสียไป ซึ่งทำให้การละหมาดไม่มีผล ได้แก่ การผายลม การขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ มีเพศสัมพันธ์ หลั่งอสุจิ คลอดบุตร แท้งบุตร หลับ หรือเป็นลมหมดสติขั้นตอนการละหมาด ขั้นตอนการละหมาด. การละหมาดประกอบด้วยหน่วยย่อยเรียกร็อกอะหฺ (หรือร่อกอัต ร็อกอะห์) การละหมาดในโอกาสต่าง ๆ มีจำนวนร็อกอะห์ต่างกันไปเช่นละหมาดวันศุกร์มี 2 ร็อกอะหฺ ละหมาดเวลากลางคืนมี 4 ร็อกอะหฺ ละหมาดตะรอวีฮฺ ในคืนของเดือนถือศีลอดมี 40 ร็อกอะหฺ เป็นต้น ละหมาด 1 ร็อกอะหฺประกอบด้วย- มีเจตนาแน่วแน่ - ยกมือระดับบ่า กล่าวตักบีร อัลลอฮูอักบัรซึ่งเป็นการสดุดีพระอัลลอฮ์แล้วยกมือมากอดอก (ตามทัศนะซุนนีย์) หรือปล่อยมือลง (ตามทัศนะชีอะหฺ และซุนนีย์สำนักมาลิกีย์) - ยืนตรง อ่านอัลกุรอาน ซูเราะหฺอัลฟาติฮะหฺ และบางบทตามต้องการ - ก้มลง สองมือจับเข่า ศีรษะอยู่ในแนวตรงกับสันหลัง กล่าวว่า "ซุบฮานะ ร่อบบิยัลอะซีมิ วะบิฮัมดิหฺ" อย่างน้อย 3 ครั้ง - ยืนตรง กล่าว "สะมิอัลลอหุ ลิมัน ฮะมิดะหฺ" - ก้มกราบให้หน้าผากและจมูกจดพื้น มือวางบนพื้น ให้ปลายนิ้วสัมผัสพื้น หัวเข่าจดพื้น กล่าวว่า "ซุบฮานะ รอบบิยัล อะอฺลา วะบิฮัมดิฮฺ" อย่างน้อย 3 ครั้ง - อ่านบทขอพร - ก้มกราบครั้งที่ 2 การละหมาดที่มี 2 ร็อกอะหฺ เมื่อลุกขึ้นจากการกราบครั้งที่ 2 จะอ่านตะฮียะหฺ หรือเรียกว่า ตะชะหฺหุด ส่วนละหมาดที่มีมากกว่า 2 ร็อกอะหฺจะอ่านตะฮียะหฺอีกครั้งในร็อกอะหฺสุดท้าย เมื่อเสร็จสิ้นการกล่าวตะฮียะหฺจะเป็นการกล่าวสลาม คือกล่าวว่า "อัสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมาตุลลอหฺ" พร้อมกับเหลียวไปทางขวาครั้งหนึ่ง กล่าวอีกพร้อมกับเหลียวไปทางซ้าย แล้วยกมือลูบหน้า เป็นอันเสร็จสิ้นการละหมาด
การนมัสการพระเจ้าที่เรียกว่า ละหมาด เป็นศาสนกิจในศาสนาใด
3709
{ "answer_end": [ 232 ], "answer_start": [ 231 ], "text": [ "5" ] }
16800
ละหมาด ละหมาด หรือ นมาซ คือการนมัสการพระเจ้า อันเป็นศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อแสดงถึงความเคารพสักการะ ความขอบคุณ และความภักดีต่ออัลลอฮ์ โดยทั่วไปการละหมาดคือการขอพร ส่วนทางศาสนาหมายถึงการกล่าวและการกระทำ การละหมาดจะกระทำ 5 เวลา ได้แก่ ยามรุ่งอรุณ ยามบ่ายช่วงตะวันคล้อย ยามอาทิตย์ตกดิน และยามค่ำคืน ซึ่งการละหมาดทุกครั้งจะต้องหันหน้าไปทางทิศกิบละฮ์ในเมืองมักกะฮ์ศัพทมูลวิทยา ศัพทมูลวิทยา. คำว่า "ละหมาด" หรือ "นมาซ" เป็นคำยืมมาจากภาษาเปอร์เซียมาจากคำว่า "นมาซ" ( namāz) ภาษาอาหรับเรียกว่า "ศอลาต" ( ' หรือ : '; พหูพจน์ ) มาจากรากศัพท์ที่ประกอบด้วย ศอด () , ลาม () , และวาว () ความหมายของรากศัพท์นี้ในภาษาอาหรับคลาสสิกคือ สวดมนต์ อ้อนวอน บูชา ร้องทุกข์ กล่าวสุนทรพจน์ ขอพร ตามไปอย่างใกล้ชิด หรือ ติดต่อ ความหมายที่เป็นรากฐานของคำนี้เกี่ยวข้องกับความหมายที่ใช้ในอัลกุรอานทั้งหมด ส่วนภาษามลายูว่า "เซิมบะห์ยัง" () ที่เป็นคำที่ประกอบจากคำว่า 'เซิมบะห์' ( บูชา) และ 'ฮยัง' ( พระเจ้า) ซึ่งเพี้ยนเป็นภาษามลายูปัตตานีว่า "ซือมาแย" หรือ "สมาแย" และสำเนียงสงขลาว่า "มาหยัง"เงื่อนไขของการละหมาดเงื่อนไขของการละหมาด. - ผู้ละหมาดต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น - มีเจตนาแน่วแน่ (นียะหฺ) - หันหน้าไปทางทิศกิบลัต (ทิศตะวันตกของประเทศไทย) คือที่ตั้งของเมกกะ - การประกาศบอกเวลาละหมาด (อะซาน) - การประกาศให้ยืนขึ้นเพื่อละหมาด (อิกอมะหฺ) - ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า สถานที่ชนิดของการละหมาดชนิดของการละหมาด. - ละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎ) วันละ 5 เวลา (การละเว้นละหมาดชนิดนี้เป็นบาป) ประกอบด้วย- ย่ำรุ่ง (ศุบฮิ) ประมาณ ตี 5 - 6 โมงเช้า - บ่าย (ซุหฺริ) ประมาณ เที่ยงครึ่ง - บ่ายโมงกว่าๆ - เย็น (อัศริ) ประมาณ บ่าย 3 ถึง 5 โมงเย็น - พลบค่ำ (มัฆริบ) ประมาณ 6 โมงครึ่ง ถึง ทุ่มกว่า ๆ - กลางคืน (อิชาอ์) ก่อนนอน ประมาณ 1 ทุ่มเป็นต้นไป - ละหมาดวันศุกร์ (ญุมุอะหฺ) เป็นการละหมาดร่วมกันในเวลาบ่าย ก่อนละหมาดจะมีเทศนา (คุฏบะหฺ) เป็นข้อบังคับเฉพาะผู้ชาย - ละหมาดอื่น ๆ ได้แก่ละหมาดในวันอิดุลฟิฏริ และวันอีดุลอัฏฮา ละหมาดในเดือนรอมะฎอน (ในนิกายซุนนีเรียกว่า ตะรอวีฮฺ) ละหมาดเมื่อเกิดสุริยคราส (กุซูฟ) และจันทรคราส (คูซูฟ) ละหมาดขอฝน (อิสติกออ์) ละหมาดให้ผู้ตาย (ญะนาซะหฺ) และละหมาดขอพรในกรณีต่าง ๆความสะอาดกับการละหมาด ความสะอาดกับการละหมาด. ก่อนการละหมาด ผู้ละหมาดต้องอาบน้ำละหมาด (วุฎูอ์) ได้แก่การใช้น้ำชำระมือ ปาก จมูก ใบหน้า แขน ศีรษะ หู และเท้า พร้อมกับขอพร ถ้าไม่มีน้ำให้ชำระด้วยผงดิน (ตะยัมมุม) ในกรณีที่เพิ่งหมดประจำเดือน หลังคลอดบุตรหรือแท้งบุตร หรือผู้ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หลั่งน้ำอสุจิ นอกจากอาบน้ำละหมาดแล้วต้องอาบน้ำทั่วร่างกาย (ญะนาบะหฺ) ด้วย สิ่งที่ทำให้ความสะอาดเสียไป ซึ่งทำให้การละหมาดไม่มีผล ได้แก่ การผายลม การขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ มีเพศสัมพันธ์ หลั่งอสุจิ คลอดบุตร แท้งบุตร หลับ หรือเป็นลมหมดสติขั้นตอนการละหมาด ขั้นตอนการละหมาด. การละหมาดประกอบด้วยหน่วยย่อยเรียกร็อกอะหฺ (หรือร่อกอัต ร็อกอะห์) การละหมาดในโอกาสต่าง ๆ มีจำนวนร็อกอะห์ต่างกันไปเช่นละหมาดวันศุกร์มี 2 ร็อกอะหฺ ละหมาดเวลากลางคืนมี 4 ร็อกอะหฺ ละหมาดตะรอวีฮฺ ในคืนของเดือนถือศีลอดมี 40 ร็อกอะหฺ เป็นต้น ละหมาด 1 ร็อกอะหฺประกอบด้วย- มีเจตนาแน่วแน่ - ยกมือระดับบ่า กล่าวตักบีร อัลลอฮูอักบัรซึ่งเป็นการสดุดีพระอัลลอฮ์แล้วยกมือมากอดอก (ตามทัศนะซุนนีย์) หรือปล่อยมือลง (ตามทัศนะชีอะหฺ และซุนนีย์สำนักมาลิกีย์) - ยืนตรง อ่านอัลกุรอาน ซูเราะหฺอัลฟาติฮะหฺ และบางบทตามต้องการ - ก้มลง สองมือจับเข่า ศีรษะอยู่ในแนวตรงกับสันหลัง กล่าวว่า "ซุบฮานะ ร่อบบิยัลอะซีมิ วะบิฮัมดิหฺ" อย่างน้อย 3 ครั้ง - ยืนตรง กล่าว "สะมิอัลลอหุ ลิมัน ฮะมิดะหฺ" - ก้มกราบให้หน้าผากและจมูกจดพื้น มือวางบนพื้น ให้ปลายนิ้วสัมผัสพื้น หัวเข่าจดพื้น กล่าวว่า "ซุบฮานะ รอบบิยัล อะอฺลา วะบิฮัมดิฮฺ" อย่างน้อย 3 ครั้ง - อ่านบทขอพร - ก้มกราบครั้งที่ 2 การละหมาดที่มี 2 ร็อกอะหฺ เมื่อลุกขึ้นจากการกราบครั้งที่ 2 จะอ่านตะฮียะหฺ หรือเรียกว่า ตะชะหฺหุด ส่วนละหมาดที่มีมากกว่า 2 ร็อกอะหฺจะอ่านตะฮียะหฺอีกครั้งในร็อกอะหฺสุดท้าย เมื่อเสร็จสิ้นการกล่าวตะฮียะหฺจะเป็นการกล่าวสลาม คือกล่าวว่า "อัสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมาตุลลอหฺ" พร้อมกับเหลียวไปทางขวาครั้งหนึ่ง กล่าวอีกพร้อมกับเหลียวไปทางซ้าย แล้วยกมือลูบหน้า เป็นอันเสร็จสิ้นการละหมาด
ภายในหนึ่งวันผู้นับถือศาสนาอิสลามจะทำการนมัสการพระเจ้าที่เรียกว่า ละหมาด กี่เวลา
3710
{ "answer_end": [ 117 ], "answer_start": [ 111 ], "text": [ "ลพบุรี" ] }
283657
แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว เป็นแหล่งโบราณคดีใน ตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรีที่ตั้ง
แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวในไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดใด
3711
{ "answer_end": [ 111 ], "answer_start": [ 101 ], "text": [ "แคริบเบียน" ] }
68551
ประเทศดอมินีกา ดอมินีกา (, ) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐดอมินีกา () เป็นประเทศที่เป็นเกาะที่อยู่ในทะเลแคริบเบียน ในภาษาละติน ชื่อนี้หมายถึง "วันอาทิตย์" ซึ่งเป็นวันที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบเกาะนี้ ดอมินีกามีกรุงโรโซ (Roseau) เป็นเมืองหลวง
ประเทศดอมินีกา เป็นประเทศที่เป็นเกาะตั้งอยู่ในทะเลใด
3712
{ "answer_end": [ 186 ], "answer_start": [ 166 ], "text": [ "คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส" ] }
68551
ประเทศดอมินีกา ดอมินีกา (, ) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐดอมินีกา () เป็นประเทศที่เป็นเกาะที่อยู่ในทะเลแคริบเบียน ในภาษาละติน ชื่อนี้หมายถึง "วันอาทิตย์" ซึ่งเป็นวันที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบเกาะนี้ ดอมินีกามีกรุงโรโซ (Roseau) เป็นเมืองหลวง
ใครคือผู้ค้นพบเกาะซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศดอมินีกา
3713
{ "answer_end": [ 49 ], "answer_start": [ 44 ], "text": [ "เหนือ" ] }
59085
ผีโพง ผีโพง เป็นผีตามความเชื่อพื้นบ้านทางภาคเหนือ ผู้ที่เป็นผีโพงเกิดจากเล่นไสยศาสตร์แล้วควบคุมวิชาในตัวเองไม่ได้ หรือปลูกว่านชนิดหนึ่ง เรียกว่าว่านผีโพง ซึ่งมีสีขาว รสฉุนร้อน เมื่อแก่จะมีธาตุปรอทลงกิน ทำให้เกิดแสงส่องสว่างแบบแมงคาเรือง ผู้ที่เป็นผีโพง ในเวลากลางวันจะเป็นเหมือนผู้คนธรรมดา ๆ ทั่วไป แต่ตกกลางคืนจะกลายร่างเป็นผีโพง มีจุดเด่นคือ มีแสงสว่างหรือดวงไฟที่รูจมูก ออกหาของกิน ได้แก่ ของสกปรกคาว เช่น กบ, เขียด, ศพ หรือรกเด็กเกิดใหม่ เช่นเดียวกับผีกระสือ, ผีกระหัง หรือผีปอบ โดยปกติแล้ว ผีโพงจะไม่ทำร้ายมนุษย์ แต่ถ้าหากถูกคุกคามก็จะจู่โจมทำร้ายได้เช่นกัน หากมีผู้ใดไปทำอะไรให้ผีโพงไม่พอใจ ผีโพงจะใช้ก้านกล้วยที่ตัดใบออกหมดหรือคานคาบของแม่ม่ายพุ่งข้ามหลังคาบ้านผู้นั้น ซึ่งครอบครัวของผู้ที่โดนขว้างจะพบกับภัยพิบัติต่าง ๆ นานา ผีโพงจะตายได้ เมื่อมีผู้ไปพบปะกับผีโพงเข้าอย่างจัง และทักว่าผีโพงแท้จริงแล้วคือใคร หากผ่านพ้นมาได้หนึ่งวันแล้ว ผู้ที่เป็นผีโพงจะตาย ผีโพงสามารถถ่ายทอดให้แก่กันได้ ด้วยพ่นน้ำลายใส่หน้าหรือมีใครไปกินน้ำลายของผีโพงเข้า ที่ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อ บ้านหนองผีหลอก อยู่ห่างจากตัวอำเภอโชคชัยประมาณ 5 กิโลเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นไร่มันสำปะหลังและนาข้าว เหตุที่ได้ชื่อนี้เนื่องจากคำร่ำลือที่มีมาแต่อดีตนับร้อยปีว่าที่แห่งนี้ ในอดีตมีสภาพเป็นหนองน้ำพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ติดกับทางเกวียน ในเวลาค่ำคืนมีผีโพงและผีโป่งออกมาจับกบเขียดกินเป็นอาหารบ่อย ๆ จนไม่มีผู้ใดกล้าผ่านไปในเวลากลางคืน แต่จนปัจจุบันนี้หมู่บ้านแห่งนี้ยังมิได้มีการยกฐานะเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ
ผีโพง เป็นผีตามความเชื่อพื้นบ้านทางภาคใดของประเทศไทย
3714
{ "answer_end": [ 45 ], "answer_start": [ 23 ], "text": [ "นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส" ] }
4565
นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (, มีกอไว กอแปร์ญิก; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ผู้คิดค้นแบบจำลองระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางสมบูรณ์ ซึ่งดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพ มิใช่โลก การตีพิมพ์หนังสือ De revolutionibus orbium coelestium (ว่าด้วยการปฏิวัติของทรงกลมฟ้า) ของโคเปอร์นิคัส ก่อนหน้าที่เขาเสียชีวิตไม่นาน ถูกพิจารณาว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติโคเปอร์นิคัสและมีส่วนสำคัญต่อความรุ่งเรืองของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามมา ทฤษฎีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางอธิบายกลไกของระบบสุริยะในเชิงคณิตศาสตร์ มิใช่ด้วยคำของอริสโตเติล โคเปอร์นิคัสเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักนิติศาสตร์ที่สำเร็จดุษฎีบัณฑิตในวิกฎหมาย นักฟิสิกส์ ผู้รู้สี่ภาษา นักวิชาการคลาสสิก นักแปล ศิลปิน สงฆ์คาทอลิก ผู้ว่าราชการ นักการทูตและนักเศรษฐศาสตร์การปฏิวัติทางดาราศาสตร์ของโคเปอร์นิคัส การปฏิวัติทางดาราศาสตร์ของโคเปอร์นิคัส. ในเวลานั้นโคเปอร์นิคัสได้เสนอให้ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลแทนโลกในแนวความคิดเดิม โดยให้ดาวเคราะห์ต่างๆ เช่น โลก ดาวศุกร์ หรือ ดาวพุธ โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม (ในเวลาต่อมาโยฮันเนส เคปเลอร์ได้เสนอว่าควรเป็นวงรีดั่งโมเดลในปัจจุบัน) ถึงแม้ว่าความแม่นยำในการทำนายด้วยทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นไม่ได้ดีกว่าทฤษฎีเก่าของอริสโตเติลและทอเลมีเลย (ไม่ได้ให้ผลการทำนายตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ แม่นยำกว่าทฤษฎีเก่า) แต่ว่าทฤษฎีนี้ ถูกใจนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังในยุคนั้นหลายคน เช่น เดส์การตส์ กาลิเลโอ และเคปเลอร์ เนื่องจากว่าทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นเข้าใจง่ายและซับซ้อนน้อยกว่ามาก โดยกาลิเลโอกล่าวว่าเขาเชื่อว่ากฎต่างๆ ในธรรมชาติน่าจะเป็นอะไรที่สวยงามและเรียบง่าย ทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางดูซับซ้อนมากเกินไปจนไม่น่าเป็นไปได้ (ดูทฤษฎีความอลวนเพิ่มเติม) แนวคิดของกาลิเลโอนี้ ตรงกับหลักการของออคแคม (Ockham's/Occam's razor) ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยด้านการเรียนรู้ของเครื่องเกียรติยศ เกียรติยศ. โคเปอร์นิคัสได้รับเกียรติจากประเทศโปแลนด์ ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัยในทอรูน ตั้งในปี ค.ศ. 1945 ชื่อของเขาเป็นชื่อธาตุตัวที่ 112 ที่ IUPAC ได้ประกาศไป
ใครคือผู้คิดค้นแบบจำลองระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางสมบูรณ์ซึ่งดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพไม่ใช่โลก
3715
{ "answer_end": [ 302 ], "answer_start": [ 290 ], "text": [ "คริสซี ไทเจน" ] }
669980
ออลออฟมี (เพลงจอห์น เลเจนด์) "ออลออฟมี" () เป็นเพลงของนักดนตรีชาวอเมริกัน จอห์น เลเจนด์ จากสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ของเขา เลิฟอินเดอะฟิวเจอร์ (2556) จอห์น เลเจนด์ได้ร่วมประพันธ์เพลงนี้กับ Toby Gad และได้ร่วมเป็นโปรดิวเซอร์เพลงกับ Dave Tozer ด้วย เพลงนี้เป็นเพลงที่แต่งเพื่อมอบให้ภรรยาของเขา คริสซี ไทเจน เพลง "ออลออฟมี" ได้เผยแพร่ในสหรัฐอเมริกาในรูปแบบออกอากาศจากวิทยุเป็นซิงเกิลที่ 3 ของอัลบั้มในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556รายชื่อเพลงรายชื่อเพลง. - ดิจิตอลดาวน์โหลด 1. "All of Me" (เวอร์ชันอัลบั้ม) – 4:29- ดิจิตอลดาวน์โหลด — รีมิกซ์ 1. "All of Me" (Tiësto's Birthday Treatment remix) (ฉบับวิทยุ) – 4:11- ดิจิตอลดาวน์โหลด 1. "All of Me" (ร่วมกับ Jennifer Nettles และ Hunter Hayes) – 4:19- ซีดีซิงเกิล 1. "All of Me" – 4:291. "Made to Love" – 3:59ประวัติการจำหน่าย
นักดนตรีชาวอเมริกันชื่อว่า จอห์น เลเจนด์ แต่งเพลงออลออฟมี หรือ All of me เพื่อมอบให้แก่ใคร
3716
{ "answer_end": [ 99 ], "answer_start": [ 95 ], "text": [ "2555" ] }
549171
วิภาส ศรีทอง วิภาส ศรีทอง เป็นนักเขียนนวนิยายและเรื่องสั้น ผู้ได้รับ รางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2555 ประเภทนวนิยาย จากงานเขียนเรื่อง คนแคระประวัติ ประวัติ. เกิดที่จังหวัดพัทลุง จบชั้นประถมจากโรงเรียนอนุบาลพัทลุง เรียนชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนพัทลุง เพียงปีเศษก็ลาออกสอบเทียบและย้ายตามครอบครัวมาอยู่กรุงเทพฯ เข้าเรียนต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนสารวิทยา ลาออกจากโรงเรียนในปีถัดมา ภายหลังเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แต่ลาออกในปีสุดท้ายของการศึกษา มีงานเขียนเรื่องสั้นตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ทำงานเขียนและงานศิลปะเรื่อยมา เดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2545 แสดงงานศิลปะและวรรณรูป นิทรรศการวิชวลโพม บทที่สอง ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ปัจจุบันทำงานเขียนและพำนักอยู่ที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2555 วิภาส ศรีทองได้รับรางวัลซีไรต์ จากนวนิยายเรื่องคนแคระ ต่อมาปีพ.ศ. 2556 ได้รับเชิญร่วมอภิปรายบนเวทีในงานมหกรรมวรรณกรรมคูลเลอร์ ลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และงานมหกรรมวรรณกรรมแห่งชัยปุระ ประเทศอินเดียเมื่อปีพ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นมหกรรมวรรณกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ปี พ.ศ. 2560 ได้รับเชิญเข้าร่วม International Writing Program's Fall Residency at the University of Iowa in Iowa City, IAเพื่อทำงานเขียน รวมถึงเผยแพร่งานและเล็คเชอร์เป็นเวลาสามเดือนผลงาน ผลงาน. เริ่มต้นงานเขียนเรื่องสั้นและบทกวี ใช้นามปากกา วิภาส ศรีทอง ร.ตะวัน และ นาตาลี ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2545 ภายหลังหันมาเขียนงานนวนิยายเป็นส่วนใหญ่โดยใช้ชื่อจริง- vagabond (2543) รวมบทกวี(ทำมือ)ภาษาอังกฤษ - รวมเรื่องสั้นแมวเก้าชีวิต (2545) - กราฟฟิติ (Graffiti) (2545) รวมบทกวีภาษาอังกฤษ - รวมเรื่องสั้นเวลาล่วงผ่านอุโมงค์ (2551) - วรรณรูปตรึงตากลบท (2554) - นวนิยายคนแคระ (2555) และเป็นนวนิยายรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2555 - นวนิยายหมาหัวคน (2555) เข้ารอบลองลิสต์รางวัลซีไรต์ ประจำปี 2558 - นวนิยายหลงลบลืมสูญ (2558) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2558 - นวนิยายอนุสาวรีย์ (2561)
วิภาส ศรีทอง เป็นนักเขียนนวนิยายและเรื่องสั้นชาวไทยผู้ได้รับรางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. ใด
3717
{ "answer_end": [ 138 ], "answer_start": [ 132 ], "text": [ "คนแคระ" ] }
549171
วิภาส ศรีทอง วิภาส ศรีทอง เป็นนักเขียนนวนิยายและเรื่องสั้น ผู้ได้รับ รางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2555 ประเภทนวนิยาย จากงานเขียนเรื่อง คนแคระประวัติ ประวัติ. เกิดที่จังหวัดพัทลุง จบชั้นประถมจากโรงเรียนอนุบาลพัทลุง เรียนชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนพัทลุง เพียงปีเศษก็ลาออกสอบเทียบและย้ายตามครอบครัวมาอยู่กรุงเทพฯ เข้าเรียนต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนสารวิทยา ลาออกจากโรงเรียนในปีถัดมา ภายหลังเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แต่ลาออกในปีสุดท้ายของการศึกษา มีงานเขียนเรื่องสั้นตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ทำงานเขียนและงานศิลปะเรื่อยมา เดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2545 แสดงงานศิลปะและวรรณรูป นิทรรศการวิชวลโพม บทที่สอง ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ปัจจุบันทำงานเขียนและพำนักอยู่ที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2555 วิภาส ศรีทองได้รับรางวัลซีไรต์ จากนวนิยายเรื่องคนแคระ ต่อมาปีพ.ศ. 2556 ได้รับเชิญร่วมอภิปรายบนเวทีในงานมหกรรมวรรณกรรมคูลเลอร์ ลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และงานมหกรรมวรรณกรรมแห่งชัยปุระ ประเทศอินเดียเมื่อปีพ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นมหกรรมวรรณกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ปี พ.ศ. 2560 ได้รับเชิญเข้าร่วม International Writing Program's Fall Residency at the University of Iowa in Iowa City, IAเพื่อทำงานเขียน รวมถึงเผยแพร่งานและเล็คเชอร์เป็นเวลาสามเดือนผลงาน ผลงาน. เริ่มต้นงานเขียนเรื่องสั้นและบทกวี ใช้นามปากกา วิภาส ศรีทอง ร.ตะวัน และ นาตาลี ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2545 ภายหลังหันมาเขียนงานนวนิยายเป็นส่วนใหญ่โดยใช้ชื่อจริง- vagabond (2543) รวมบทกวี(ทำมือ)ภาษาอังกฤษ - รวมเรื่องสั้นแมวเก้าชีวิต (2545) - กราฟฟิติ (Graffiti) (2545) รวมบทกวีภาษาอังกฤษ - รวมเรื่องสั้นเวลาล่วงผ่านอุโมงค์ (2551) - วรรณรูปตรึงตากลบท (2554) - นวนิยายคนแคระ (2555) และเป็นนวนิยายรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2555 - นวนิยายหมาหัวคน (2555) เข้ารอบลองลิสต์รางวัลซีไรต์ ประจำปี 2558 - นวนิยายหลงลบลืมสูญ (2558) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2558 - นวนิยายอนุสาวรีย์ (2561)
วิภาส ศรีทอง เป็นนักเขียนนวนิยายและเรื่องสั้นชาวไทยผู้ได้รับรางวัลซีไรต์จากนวนิยายเรื่องใด
3718
{ "answer_end": [ 45 ], "answer_start": [ 33 ], "text": [ "6 กุมภาพันธ์" ] }
78304
วันมวยไทย วันมวยไทย ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยถือวันที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) เสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์ และมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจนความเป็นมาของการสถาปนาวันมวยไทย ความเป็นมาของการสถาปนาวันมวยไทย. มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชนชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ ดังปรากฏในประวัติศาสตร์และพงศาวดารมาทุกยุคทุกสมัย เป็นการใช้อาวุธของร่างกาย 9 อย่าง หรือที่เรียกว่า นวอาวุธ ได้แก่ มือ 2/เท้า 2/ เข่า 2/ ศอก 2 และศีรษะ 1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งของโลก จากความสำคัญดังกล่าวมานี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ซึ่งจะเป็นมาตรการสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในคุณค่าการยกย่ององค์ความรู้และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับภาคเอกชนที่ดำเนินการเกี่ยวกับมวยไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีมติเป็นเอกฉันท์ในการร่วมกันผลักดันให้มีการสถาปนาวันมวยไทยขึ้น โดยได้พิจารณาจากข้อเสนอต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ซึ่งในที่สุดได้เห็นชอบให้วันขึ้นเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) คือ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ เป็นวันมวยไทย (วันเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2245) เนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์ คือ 1. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เสด็จออกไปชกมวยกับสามัญชน 2. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีความสามารถเกี่ยวกับมวยไทยมาก ทรงคิดท่าแม่ไม้ ไม้กลมวยไทยขึ้นมาเป็นแบบฉบับเฉพาะพระองค์ เรียกว่า “มวยไทยตำรับพระเจ้าเสือ” และได้รับการถ่ายทอดเป็นตำรามวยไทยให้แก่คนรุ่นหลังจนถึงทุกวันนี้ 3. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์ที่ใช้ศิลปะมวยไทยในการปกป้องราชอาณาจักรให้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาวต่างชาติ ในการนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 กำหนดให้วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมวยไทย”การเฉลิมฉลอง
วันมวยไทยในประเทศไทย ตรงกับวันใด
3719
{ "answer_end": [ 138 ], "answer_start": [ 134 ], "text": [ "ไนล์" ] }
256342
ดาเมียตตา ดาเมียตตา () หรือ ดุมยาฏ () เป็นเมืองท่าและเมืองหลักของเขตผู้ว่าการดาเมียตตาในประเทศอียิปต์ ดาเมียตตาตั้งอยู่ที่จุดที่แม่น้ำไนล์ไหลออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนราว 200 กิโลเมตรทางตอนเหนือของกรุงไคโรประวัติ ประวัติ. ในสมัยอียิปต์โบราณดาเมียตตามีชื่อว่า “ทามิยัด” (Tamiat) และลดความสำคัญลงในสมัยการปกครองของกรีกหลังจากการสร้างเมืองอเล็กซานเดรีย อับบาซียะฮ์ใช้อเล็กซานเดรีย, ดาเมียตตา, อาเดน และ ซิราฟเป็นเมืองท่าสำหรับการเดินทางไปอินเดียและจีน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 13 ดาเมียตตากลายมามีความสำคัญระหว่างสงครามครูเสดในปี ค.ศ. 1169 กองเรือจากราชอาณาจักรเยรูซาเลมพร้อมด้วยกองหนุนจากจักรวรรดิไบแซนไทน์พยายามโจมตีแต่พ่ายแพ้ต่อเศาะลาฮุดดีน ระหว่างการเตรียมตัวทำสงครามครูเสดครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ. 1217 ก็เป็นที่ตกลงกันว่าควรจะยึดเมืองดาเมียตตา การควบคุมดาเมียตตาได้หมายถึงการควบคุมแม่น้ำไนล์และจากที่นั่นนักรบครูเสดก็มีความเชื่อว่าจะสามารถพิชิตอียิปต์ได้ และจากอียิปต์ก็สามารถดำเนินการรบต่อไปยังปาเลสไตน์และยึดเยรูซาเลมคืน เมื่อดาเมียตตาถูกล้อมและยึดโดยนักรบครูเสดฟริเซียในปี ค.ศ. 1219 นักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิก็เดินทางมาเจรจาต่อรองสงบศึกกับประมุขของมุสลิม ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1218 กองหนุนจากอังกฤษก็มาถึง ในปี ค.ศ. 1221 นักรบครูเสดพยายามเดินทัพไปยังไคโรแต่ไม่สำเร็จเพราะแพ้ธรรมชาติและกองกำลังป้องกันของมุสลิม ต่อมาดาเมียตตาก็เป็นเป้าของสงครามครูเสดครั้งที่ 7 ที่นำโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส กองเรือของพระองค์มาถึงในปี ค.ศ. 1249 และสามารถยึดเมืองได้อย่างรวดเร็จ แต่พระองค์ไม่ทรงยอมยกให้กษัตริย์แต่ในนามของเยรูซาเลมที่ได้สัญญากันไว้ตั้งแต่สงครามครูเสดครั้งที่ 5 แต่พระเจ้าหลุยส์เองต่อมาก็ทรงถูกจับและพ่ายแพ้และทรงถูกบังคับให้ยกเลิกการยึดดาเมียตตา ความสำคัญของดาเมียตตาต่อนักรบครูเสดทำให้สุลต่านมามลุคไบบาร์ทำลายเมืองและสร้างใหม่สองสามกิโลเมตรจากแม่น้ำให้มีป้อมปราการที่แข็งแรงขึ้นกว่าเดิม
เมืองดาเมียตตาในประเทศอียิปต์ตั้งอยู่ในจุดที่แม่น้ำใดไหลออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
3720
{ "answer_end": [ 120 ], "answer_start": [ 116 ], "text": [ "สเปน" ] }
765575
ฟุตซอลหญิงโลก 2010 การแข่งขันฟุตซอลหญิงโลก 2010 () นับเป็นการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสเปน ในช่วงวันที่ 6 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553สถานที่แข่งขันผู้ตัดสิน ผู้ตัดสิน. ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อผู้ตัดสินในการแข่งขันฟุตซอลหญิงโลก 2010- Lilla Perepatics () - Francesca Muccardo () - Danjel Janosevic (Croatia) - Eduardo Fernándes () - Francisco Peña () - Roberto Gracia () - Francisco Gutiérrez () - Marcelino Blázquez ()รอบแบ่งกลุ่มกลุ่ม เอกลุ่ม บีรอบสุดท้ายอันดับการแข่งขันรางวัล
การแข่งขันฟุตซอลหญิงโลกในปีค.ศ. 2010 จัดขึ้นที่ประเทศใด
3721
{ "answer_end": [ 85 ], "answer_start": [ 75 ], "text": [ "ออสเตรเลีย" ] }
78562
หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) () เป็นดินแดนภายใต้การปกครองของออสเตรเลีย ประกอบไปด้วยอะทอลล์ 2 อะทอลล์ และ 27 เกาะปะการัง ดินแดนนี้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ระหว่างครึ่งทางจากประเทศออสเตรเลียกับประเทศศรีลังกา ที่ 12°07′S 96°54′E
หมู่เกาะโคโคสหรือคีลิงเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของประเทศใด
3722
{ "answer_end": [ 169 ], "answer_start": [ 162 ], "text": [ "อินเดีย" ] }
78562
หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) () เป็นดินแดนภายใต้การปกครองของออสเตรเลีย ประกอบไปด้วยอะทอลล์ 2 อะทอลล์ และ 27 เกาะปะการัง ดินแดนนี้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ระหว่างครึ่งทางจากประเทศออสเตรเลียกับประเทศศรีลังกา ที่ 12°07′S 96°54′E
ดินแดนภายใต้การปกครองของประเทศออสเตรเลียชื่อว่า หมู่เกาะโคโคส ตั้งอยู่ในมหาสมุทรใด
3723
{ "answer_end": [ 144 ], "answer_start": [ 137 ], "text": [ "อินเดีย" ] }
333676
อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา (, , ) เป็นอุทยานแห่งชาติในเขตโคลาฆาต (Golaghat) และ นากาโอน (Nagaon) ของรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย เป็นมรดกโลกซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของแรดอินเดียจำนวนมากถึงสองในสามของโลก กาซีรังคายังเชิดหน้าชูตาด้วยมีประชากรเสือโคร่งหนาแน่นที่สุดในหมู่พื้นที่คุ้มครองด้วยกันทั่วโลกและจัดตั้งเขตสงวนพันธุ์เสือขึ้นในปี ค.ศ. 2006 อุทยานยังเป็นบ้านและแหล่งขยายพันธุ์ของประชากรจำนวนมากของช้าง ควายป่า และ กวางบึง กาซีรังคายังเป็น พื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นก โดยองค์การชีวปักษานานาชาติ (Birdlife International) สำหรับเพื่อการอนุรักษ์นกท้องถิ่น เมื่อเปรียบเทียบกับเขตคุ้มครองอื่นๆในประเทศอินเดียกาซีรังคาประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก และด้วยตำแหน่งที่อยู่ริมขอบของจุดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงของเทือกเขาหิมาลัยตะวันออก อุทยานจึงมีความหลากหลายทางสปีชีส์สูงอย่างเห็นได้ชัด อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาประกอบไปด้วยทุ่งหญ้ากว้างขวาง ลุ่มน้ำท่วมถึง และป่าไม้เขตร้อนหนาแน่น มีแม่น้ำไหลผ่านถึง 4 สายรวมถึงแม่น้ำพรหมบุตร และอุทยานยังประกอบด้วยแหล่งน้ำขนาดเล็กจำนวนมาก นอกจากนี้กาซีรังคาเป็นประเด็นในหนังสือหลายเล่ม เพลงหลายเพลง และเอกสารหลายๆเรื่อง อุทยานพึ่งฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีหลังมีการจัดตั้งเป็นป่าสงวนในปี ค.ศ. 1905
อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาเป็นอุทยานแห่งชาติและมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในประเทศใด
3724
{ "answer_end": [ 69 ], "answer_start": [ 61 ], "text": [ "พนมเทียน" ] }
913347
คำพิพากษา (ภาพยนตร์) คำพิพากษา สร้างจากอาชญนิยาย เรื่องดังของพนมเทียน เป็นภาพยนตร์แนวจารชนสืบสวนสอบสวนในยุคสงครามเย็น ตัวเอกเป็นนายตำรวจชื่อ "ชีพ ชูชัย" ที่ปลอมตัวเพื่อค้นหาความจริง ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารเพลินจิตต์รายวันภาพยนตร์ ภาพยนตร์. สร้างมาแล้วรวม 2 ครั้ง ได้แก่1. พ.ศ. 2532 ชื่อ "คำพิพากษา" กำกับโดย เพิ่มพล เชยอรุณ นำแสดงโดย อรุณ ภาวิไล, อภิรดี ภวภูตานนท์ ,สมจินต์ ธรรมทัต, สมพล กงสุวรรณ 2. พ.ศ. 2547 ชื่อ "คำพิพากษา ตอน ไอ้ฟัก" กำกับโดย พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ นำแสดงโดย บงกช คงมาลัย, ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์, ศักดิ์สิทธิ์ มณีภาคละครโทรทัศน์ละครโทรทัศน์. 1. พ.ศ. 2528 ชื่อ "คำพิพากษา" นำแสดงโดย กษมา นิสสัยพันธ์, กุณกนิช คุ้มครอง, มีศักดิ์ นาครัตน์, ส. อาสนจินดารายชื่อนักแสดงรายชื่อนักแสดง. - นิดา พัชรวีระพงษ์ รับบทเป็น ฟัก
ภาพยนตร์ไทยเรื่อง คำพิพากษา สร้างจากอาชญนิยายของนักเขียนคนใด
3725
{ "answer_end": [ 289 ], "answer_start": [ 284 ], "text": [ "ตุรกี" ] }
3180
ประเทศกาตาร์ กาตาร์ (, ) หรือชื่อทางการคือ รัฐกาตาร์ () เป็นรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirate) ในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนคาบสมุทรขนาดเล็กที่แตกมาจากคาบสมุทรอาหรับ มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และมีชายฝั่งริมอ่าวเปอร์เซียประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์. กาตาร์เคยอยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลโดยได้ทำสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) กับกาตาร์มีผลทำให้กาตาร์อยู่ภายใต้การคุ้มครองของอังกฤษ โดยอังกฤษดูแลกิจการระหว่างประเทศของกาตาร์และต้องป้องกันกาตาร์จากการถูกรุกรานจากภายนอก และต่อมาสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) ได้ขยายการคุ้มครองของอังกฤษออกไปทุก ๆ ด้าน ในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) รัฐบาลอังกฤษประกาศจะถอนตัวออกจากภูมิภาค อ่าวเปอร์เซียภายในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) กาตาร์จึงพยายามรวมตัวเป็นสหพันธรัฐกับบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ กาตาร์เป็นเอกราชเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) โดยอังกฤษได้ยกเลิกสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) และได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างกันแทน ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) Shaikh Khalifa Bin Hamad Al – Thani ได้ทำรัฐประหารสำเร็จโดยปราศจากการนองเลือด และต่อมา เมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) Shaikh Hamad Bin Khalifa Al – Thani พระโอรส ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารของกาตาร์ ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองและตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองรัฐองค์ใหม่การเมือง การเมือง. ระบบการเมืองของกาตาร์เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีประมุขของกาตาร์เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ภายใต้การลงประชามติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2003 กลายเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 Emir Hamad bin Khalifa Al Thani ประกาศกฎหมายเลือกตั้งครั้งแรกจะใช้สถานที่ในปีค.ศ. 2013การแบ่งเขตการปกครองภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์. กาตาร์ภูมิประเทศแบบแหลมที่ยื่นออกไปในอ่าวเปอร์เซีย เรียกกันว่า ไข่มุกแห่งเปอร์เซีย ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยทะเล ด้านทิศใต้ ติดประเทศซาอุดิอาระเบีย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 24 °และ 27 ° N, และลองจิจูด 50 °และ 52 °E จุดที่สูงที่สุดในกาตาร์เป็น Qurayn Abu al Bawl สูง 103 เมตร (338 ฟุต) ใน Jebel Dukhan ทางทิศตะวันตกภูมิอากาศเศรษฐกิจเศรษฐกิจ. - อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 3.64 ริยัล หรือประมาณ 9 บาท - GDP ประมาณ 20.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2004) - รายได้ต่อหัว 30,410 ดอลลาร์สหรัฐ (2003) สูงสุดในกลุ่มประเทศอาหรับ - ผลิตน้ำมันได้วันละ 928,055 บาร์เรลต่อวัน (2003) - ปริมาณน้ำมันดิบสำรอง 15.2 พันล้านบาร์เรล (2003) - ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรอง 509 ล้านล้านลูกบาศ์กฟุต (2003) - ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรประมง - สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ปุ๋ย เหล็ก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี - สินค้าเข้าที่สำคัญ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหารและเสื้อผ้า - ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้การคมนาคม การคมนาคม. การคมนาคมหลักในกาตาร์คือถนน เนื่องจากราคาที่ถูกมากจากปิโตรเลียม ประเทศที่มีระบบถนนที่ทันสมัย​​ด้วยการอัพเกรดมากมายเป็นผลในการตอบสนองต่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประเทศ กับทางหลวงหลายกระบวนการอัพเกรดและทางด่วนใหม่ที่กำลังทำการก่อสร้าง เครือข่ายรถบัสขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อโดฮากับเมืองอื่น ๆ ในประเทศ และยังเป็นการคมนาคมหลักในกาตาร์อีกด้วย ขณะนี้ยังไม่มีเครือข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ลงสัญญารับจ้างสร้างทางรถไฟกับประเทศเยอรมนีแล้ว ท่าอากศยานหลักของกาตาร์คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา มีผู้โดยสารเกือบ 15,000,000 คน ในค.ศ. 2007สิ่งก่อสร้าง สิ่งก่อสร้าง. มีสิ่งก่อสร้างมากมายในกรุงโดฮา สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในในโดฮา คือ แอสไพร์ทาวเวอร์ สูง 300 เมตรประชากร ประชากร. ปัจจุบัน กาตาร์มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน เชื้อชาติต่างๆ ในประเทศกาตาร์มีดังนี้: กาตาร์ 20%, อาหรับ 20%, อินเดีย 20%, ฟิลิปปินส์ 10%, เนปาล 13%, ปากีสถาน 7%, ศรีลังกา 5% และอื่นๆ 5%วัฒนธรรม วัฒนธรรม. วัฒนธรรมกาตาร์ คล้ายกับวัฒนธรรมอาหรับประเทศอื่น ชนเผ่าอาหรับจากซาอุดีอาระเบียอพยพไปกาตาร์และสถานที่อื่น ๆ ในอ่าว ดังนั้นวัฒนธรรมในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละประเทศ กาตาร์ใช้กฎหมายอิสลามเป็นพื้นฐานของรัฐบาลอย่างชัดเจน และส่วนใหญ่ของพลเมืองเป็นผู้ติดตาม Hanbali Madhab Hanbali (อาหรับ: حنبلى) เป็นหนึ่งในสี่โรงเรียนมุสลิมสุหนี่ (Madhhabs) ของกฎหมายเฟคห์หรือศาสนาภายในมุสลิมสุหนี่ ชาวมุสลิมสุหนี่เชื่อว่าทั้งสี่โรงเรียนมี "คำแนะนำที่ถูกต้อง" และความแตกต่างระหว่างพวกเขาไม่ได้อยู่ในพื้นฐานของความเชื่อ แต่ในการใช้ดุลยพินิจปลีกย่อยและนิติศาสตร์ ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุผลที่เป็นอิสระของอิหม่ามและนักวิชาการผู้ที่ตามพวกเขา เพราะวิธีการของตนจากการตีความและการสกัดจากแหล่งปฐมภูมิ (usul) แตกต่างกัน พวกเขามาถึงการตัดสินที่แตกต่างกันในเรื่องที่เฉพาะเจาะจงศาสนา
ประเทศกาตาร์เคยอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศใดจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1
3726
{ "answer_end": [ 51 ], "answer_start": [ 48 ], "text": [ "ใต้" ] }
232637
ขนมอาเก๊าะ ขนมอาเก๊าะเป็นขนมของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ที่ปรุงจากแป้ง ไข่เป็ด น้ำตาลและกะทิ เนื้อขนมคล้ายขนมหม้อแกง สังขยา รูปร่างคล้ายขนมไข่ เพราะหยอดแป้งลงในพิมพ์ขนมเหมือนกัน แต่พิมพ์ของขนมอาเก๊าะใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการผิงไฟบนล่าง นิยิมรับประทานในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นช่วงถือศีลอดของชาวมุสลิม
ขนมอาเก๊าะเป็นขนมของชาวไทยมุสลิมในภาคใด
3727