translation
dict
{ "en": "This research aimed to study graduate quality according to a Thai qualifications framework for higher education and the identity of Air Force nurse graduates in the academic year 2020. The sample group consisted of 172 stakeholders selected by random sampling. Research instruments comprised the Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF: HEd), the Military Characteristics, and the Public Mind Questionnaires. The content validity of the questionnaire (CVI) was 0.88, 0.92, and 0.90, respectively. The construct validity was analyzed by Confirmatory Factor Analysis (CFA), and the measurement model was consistent with the empirical data. The Cronbach’s alpha coefficient was 0.97, 0.96, and 0.93, respectively. The data were analyzed using means and standard deviations.\nThe results showed that the mean score was at a high level ( = 4.42, SD = 0.49) ), with the highest scoring of ethics and morals aspect ( = 4.66, SD = 0.46), followed by nursing skills ( = 4.42, SD = 0.48) ), interpersonal skills and responsibility ( = 4.40, SD = 0.49), numerical, communication, and information technology ( = 4.38, SD = 0.50), knowledge ( = 4.34, SD = 0.51), and cognitive skills ( = 4.30, SD = 0.47) respectively. The identity of the Royal Thai Air Force Nursing College was at the highest level ( = 4.59, SD = 0.46), including military characteristics ( = 4.63, SD = 0.46) and public mind behavior ( = 4.54, SD = 0.46)\nProfessors in charge of the curriculum can apply the study results as information for curriculum development and teaching strategies that contribute to nursing student’s learning outcomes.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและอัตลักษณ์ของ บัณฑิตพยาบาลทหารอากาศ ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้บัณฑิต 172 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามผลลัพธ์การเรียนรู้ คุณลักษณะทางทหารและจิตสำนึกสาธารณะ มีค่าความตรง (CVI) เท่ากับ 0.88, 0.92 และ 0.90 วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบโมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าความเที่ยง Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.97, 0.96 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน\nผลการวิจัยพบว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, SD = 0.49) ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีคะแนน สูงสุด ( = 4.66, SD = 0.46) รองลงมาคือทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ ( = 4.42, SD = 0.48) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ( = 4.40, SD = 0.49) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 4.38, SD = 0.50) ความรู้ ( = 4.34, SD = 0.51) และทักษะทางปัญญา ( = 4.30, SD = 0.47) ตามลำดับ อัตลักษณ์ของบัณฑิตพยาบาล ทหารอากาศ ภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.59, SD = 0.46) ได้แก่ คุณลักษณะทางทหาร ( = 4.63,SD = 0.46) การมี จิตสำนึกสาธารณะ ( = 4.54,SD = 0.46)\nผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถนำผลการศึกษาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียน เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ต่อไป" }
{ "en": "This quasi-experimental research purposed to investigate the effects of the perceived self-efficacy promoting program on knowledge and skills in emergency medical services among emergency medical responders at Sam Ngam District, Phichit Province. Such a program was designed regarding Bandura’s self-efficacy theory. The sample was 60 emergency medical responders divided into two groups, 30 in experimental group and 30 in control group. The experimental group received the self-efficacy promoting program on emergency medical services among emergency medical responders. Questionnaires assessing knowledge and skills in emergency medical services were used to collect data. The reliability (KR20) of the questionnaires was examined, and the results were 0.82 and 0.71, respectively. Data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation. The two-way repeated measure ANOVA was utilized to compare the mean score of knowledge and skills in emergency medical services between the experimental group and the control group, while the one-way repeated measure ANOVA was used to compare such mean scores within experimental group. The results revealed that: 1) at the post-test stage and 2-month follow-up period, the experimental group had a higher mean score of knowledge and skills in emergency medical services than before the experiment at a significant level.05 (F= 32.839, p-value, respectively)", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ และทักษะใน การปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ในเขตอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร โดยใช้ทฤษฎีสมรรถนะ แห่งตนของแบนดูรา กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉิน การแพทย์ เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้และแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.82 และ 0.71 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความ แปรปรวนของคะแนนเฉลี่ยความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดย วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-way repeated measure ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนของ คะแนนเฉลี่ยของความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ภายในกลุ่มทดลอง โดยวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated measure ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการทดลอง และระยะติดตาม 2 เดือน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ และทักษะ ในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 32.839, p-value < .05 ตามลำดับ)" }
{ "en": "This predictive research aimed to identify factors predicting breastfeeding Intention among postpartum mothers in the new normal era. Three hundred and seventy postpartum mothers admitted to Nopparat Rajathanee Hospital were purposively selected according to preset criteria. Data were collected during March to June 2023, using self-administered questionnaire which consisted of personal information; knowledge about breastfeeding and prevention of Covid-19 infection; perceived benefits, perceived barriers, and perceived self-efficacy; and received social supports, of the postpartum mothers in the new normal era. Data were analyzed by using descriptive statistics and Logistic Regression. Results showed that 55.1% of the samples had the knowledge about breastfeeding and prevention of Covid-19 infection at moderate level ( = 14.75, SD = 2.22); 55.7% had perceived benefits of breastfeeding at high level ( = 38.41, SD = 4.86), 42.7% had perceived barriers of breastfeeding at moderate level ( = 45.94, SD = 9.83), and 46.5% had perceived self-efficacy at low level ( = 62.36, SD = 11.44). Almost half of the samples (48.1%) received social supports at low level ( = 44.08, SD = 11.01). Maternal age, occupation, and perceived benefits of breastfeeding combined accounted for 12.9% (R2 = .129) of the variation of breastfeeding intention during postpartum period in the new normal era among the samples of this study. Recommendations: Guidelines for nurses in promoting perceived benefits of breastfeeding in preventing and avoiding disease outbreaks should be developed.", "th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อหาปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ในยุควิถีชีวิตใหม่ กลุ่ม ตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอด จำนวน 370 คน ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน 2566 คัด เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดู บุตรด้วยนมมารดาและการป้องกันการติดไวรัสโคโรนา 2019 แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความ สามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมของมารดาในระยะหลังคลอดในยุควิถีชีวิตใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยการใช้สถิติ เชิงพรรณนาและวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค ผลการศึกษาพบว่า มารดาหลังคลอดมีความรู้ในการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาและการป้องกันการติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 55.1 ( 14.75, SD = 2.22) การรับรู้ประโยชน์ต่อการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 55.7 ( 38.41, SD = 4.86) การรับรู้อุปสรรคต่อการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 42.7 ( 45.94, SD = 9.83) การรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 46.5 ( 62.36, SD = 11.44) การสนับสนุนทาง สังคมของมารดาในระยะหลังคลอดอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 48.1 ( 44.08, SD = 11.01) และปัจจัยด้านอายุ อาชีพ และการรับรู้ ประโยชน์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาสามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะหลังคลอดในยุค วิถีชีวิตใหม่เพื่อป้องกันและเลี่ยงโรคระบาดได้ร้อยละ12.9 (R2 = .129) ข้อเสนอแนะ ควรมีการพัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับ พยาบาลในการ ส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ของการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาในการป้องกันและหลีกเลี่ยงการระบาดของโรค" }
{ "en": "This qualitative research aimed to study parents’ experience seeking basic immunization programs during the coronavirus outbreak (COVID-19). The survey collected data from 12 Parents of children aged 1 - 5 years to receive basic immunizations in the Health Promoting Hospital Health Center 12. The data were collected through in-depth interviews. The data were analyzed by transcribed verbatim and content analysis. The results showed that the parents’ experience in seeking basic immunization programs during the coronavirus outbreak (COVID-19) had divided into 2 main points (1) Factors promoting the adoption of children for vaccination are the perception of the child’s vaccination, obtaining information, and family involvement, and (2) the factors impeding children to receive vaccination are illness, disease outbreaks and relocation of parents. The results of this study can be used as a guideline for developing a model for promoting parents in bringing their children to receive basic immunizations on an ongoing basis. providing information about the importance of vaccination, caring for symptoms after vaccination, and having an alert system when vaccination is due encourages to receive comprehensive vaccinations according to their age and reduces the chances of disease in children.", "th": "การวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความหมายต่อประสบการณ์ของผู้ปกครองต่อการนำบุตร มารับวัคซีน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ปกครองที่นำบุตรอายุ 1 - 5 ปี มารับวัคซีนพื้นฐาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 12 จำนวน 12 ราย เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ของผู้ปกครองต่อการนำบุตรมารับวัคซีนพื้นฐาน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วยประเด็นหลัก คือ (1) ปัจจัยส่งเสริมในการนำบุตรมารับวัคซีน คือ การรับรู้ต่อ การรับวัคซีน การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมของครอบครัว และ (2) ปัจจัยอุปสรรคในการนำบุตรมารับวัคซีน คือ การเจ็บป่วยการระบาดของโรค และการย้ายที่อยู่อาศัยของผู้ปกครอง ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางส่งเสริมผู้ปกครอง ในการนำบุตรมารับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมการให้ข้อมูลความสำคัญของการรับวัคซีน การดูแลอาการหลังรับวัคซีน รวมถึงการมีระบบเตือนเมื่อถึงกำหนดรับวัคซีน เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับวัคซีนครอบคลุมตามอายุ และลดโอกาสการเกิดโรคในเด็ก" }
{ "en": "This qualitative research aimed to explain the experiences and present the bedridden patient care through family caregiving and a community-based model in the new normal. The hermeneutic phenomenology of Martin Heidegger was employed. The research tool was an in-depth interview form used with 56 key informants: 20 bedridden patients, 20 caregivers and 16 community members. The research was conducted in Nakhon Phanom Province from October 2021 to February 2023. Data were analyzed according to the van Manen’s approach.\nThe results revealed that the experiences in caring for bedridden patients of families and communities in the new normal can be classified based on the following 4 lifeworld existentials. 1) Corporeality consisted of fatigue, struggling life and roles that cannot be escaped. 2) Temporality comprised the golden opportunity of paying gratitude, paying off their past deeds, and living with hope and waiting for a miracle. 3) Spatiality included the world of modern society and being lonely in the wide world. 4) Relationality consisted of family not leaving any family members behind, true friends in difficult times, and public mind. The bedridden patient care through family caregiving and community-based model consisted of 3 main components: Acceptance, Adaptation, and Development, called “AAD Model”.\nIn conclusion, the bedridden patient care through family caregiving and community-based model should be used with the community model and its efficacy and effectiveness should be evaluated.", "th": "การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์และนำเสนอรูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดยใช้ครอบครัวและ ชุมชนเป็นฐานในวิถีปกติใหม่ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพใช้แนวคิดปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความตามแนวคิดของมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกสำหรับผู้ป่วยติดเตียง 20 คน ผู้ดูแล 20 คน และชุมชน 16 คน รวม 56 คน ในพื้นที่ จังหวัดนครพนม ระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 ถึง กุมภาพันธ์ 2566 วิเคราะห์ข้อมูลตามแบบของแวน แมนแนน\nผลการศึกษา พบประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงของครอบครัวและชุมชน จำแนกได้ตามโลก 4 ใบ คือ โลกใบที่ 1 โลกของตัวเอง คือ เหนื่อยล้า ชีวิตต้องสู้ และบทบาทหน้าที่หลีกหนีไม่ได้ โลกใบที่ 2 โลกของเวลา คือ ช่วงโอกาสการแทนคุณ ใช้ หนี้กรรมเก่า และอยู่ด้วยความหวังรอปาฏิหาริย์ โลกใบที่ 3 โลกของสถานที่ คือ สังคมยุคใหม่ และความโดดเดี่ยวในโลกกว้าง และ โลกใบที่ 4 โลกของความสัมพันธ์ คือ ครอบครัวไม่ทิ้งกันสายเลือดตัดกันไม่ขาด มิตรแท้ยามยาก และจิตสาธารณะ และรูปแบบ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน พบ 3 องค์ประกอบหลัก คือ การยอมรับ การปรับตัว และการพัฒนา เรียกว่า “AAD Model”\nสรุปผล : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเตียงของครอบครัวและชุมชนควรมีการนำไปใช้กับชุมชนต้นแบบและการขยายผล เพื่อให้สามารถประเมินผลได้" }
{ "en": "The purpose of quasi-experimental research is to study the effects of the potential development of knowledge and smoking refusal skills among elementary school students of Innovation Demonstration School as a sample of 71 students by purposive sampling. The research instruments include: 1) the potential development among elementary school students, 2) test of knowledge about harm of cigarette, and 3) assessment of refusal skills when persuaded to try smoking. The data are analyzed by using descriptive statistics and Paired t-test. The research results show after the experiment that elementary school students have knowledge about harm of cigarette and refusal skills when persuaded to try smoking, which are significantly higher than before the experiment (p < .05).", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้และทักษะการปฏิเสธการสูบบุหรี่ใน นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 71 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2) แบบทดสอบ ความรู้เรื่องพิษภัยจากบุหรี่ และ 3) แบบประเมินทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนให้ลองสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณา และ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง นักเรียนประถมศึกษาตอนปลายมีความรู้ เรื่องพิษภัยบุหรี่ และทักษะการปฏิเสธ เมื่อถูกชักชวนให้ลองสูบบุหรี่สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05)" }
{ "en": "This research and development study aimed to develop Nursing Model and to study the effects of Nursing Model in After Open Heart Surgery Patients with Extracorporeal Membrane Oxygenation (ECMO). The 4 phrases of research including 1) Analysis, 2) Design and Development , 3) Implementation and 4) Evaluation. The sample consisted of 13 registered nurses and 20 patients by purposive sampling.The qualitative data was analyzed by content analysis and the quantitative data analyzed by average, percentage, standard deviation, Fisher’s Exact test, chi-square, wilcoxon signed rank test, t-test. The results of this study were as follows, The nursing model “ECMO Model” consists of 4 components: 1) ECMO manpower management 2) Competency development 3) Modify Nursing Practice 4) Organize nurse teams.The results of the nursing model showed that knowledge scores, nursing practice score was significantly higher than before. (p<.001,p<.000). Nurses’ competency was higher than before. The nurses’ satisfaction on using this model at the high level. Acute limb ischemia was assessed within 1 hour after the use of the model significantly more than before (p<.033). Excessive bleeding rated, Acute limb ischemia rated, and successful removal with Extracorporeal Membrane Oxygenation rated were no difference, yet not statistically significant.The Nursing Model can drive the administration and development of the nursing service system towards nursing excellence.", "th": "การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ แบบเปิดที่ได้รับการใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ 4) ประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ 13 คนและผู้ป่วย 20 คน เลือกแบบเฉพาะ เจาะจง ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทด สอบของฟิสเชอร์ ไคสแควร์ วิลค็อกซัน สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพยาบาล“ECMO Model”มี 4 องค์ประกอบ 1) การบริหารอัตรากำลัง 2) การพัฒนาสมรรถนะพยาบาล 3) การออกแบบปฏิบัติการพยาบาล 4) การจัดทีมการพยาบาล ผลลัพธ์ ของรูปแบบพบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการพยาบาลสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001,p<.000) สมรรถนะของพยาบาลสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก ผู้ป่วยได้รับประเมินอวัยวะส่วนปลายขาดเลือดภายใน 1 ชั่วโมงหลังใช้รูปแบบมากกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.033) อัตราเลือดออกมาก อัตราอวัยวะส่วนปลายขาดเลือด และอัตราการถอดเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอดสำเร็จ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบไม่แตกต่างกัน รูปแบบที่พัฒนาสามารถขับเคลื่อนด้านบริหารพัฒนาระบบบริการพยาบาลต่อยอดสู่ความเป็นเลิศทางการพยาบาล" }
{ "en": "The descriptive research design aimed to examine the relationships between family structure, family function and health literacy of adolescence pregnancy prevention. The sample were 70 adolescents, randomly selected by proportion of each village. The research instruments were questionnaires of personal factors, family function, and health literacy of adolescence pregnancy prevention. Reliability was established and the Cronbach’s alpha coefficients were .89 and .81-.89 respectively. The data were analyzed by using descriptive statistics, Chi-square, and Pearson’s correlation. The results revealed that:\n1. The most of family structure were two generation family (43.70%). The overall of family function was at a fair level ( = 3.22, S.D. = 1.12) and the overall of health literacy of adolescence pregnancy prevention was at a good level ( = 116.54 S.D. = 12.20).\n2. The relationship between family structure and health literacy of adolescence pregnancy prevention was statistically significant (x2 = 29.815, p<.05).\n3. The relationship between family functions in problem solving, communication, roles, affective responsiveness, general function, and family functions in overall and health literacy of adolescence pregnancy prevention were positively statistically significant (r = .315, .462, .331, .347, .400 and .404 respectively, p<.01). From the results of this study, the relevant agencies should promote family functioning and support family to participate in health literacy of adolescence pregnancy prevention development.", "th": "การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะโครงสร้างของครอบครัว และการทำหน้าที่ ของครอบครัว กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นจำนวน 70 คน ได้มาโดยสุ่มอย่าง ง่ายตามสัดส่วนประชากรของแต่ละหมู่บ้าน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การทำหน้าที่ของครอบครัว และความ รอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หาความเชื่อมั่นโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ .89 และ .81-.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า\n1. ลักษณะโครงสร้างครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวคน 2 รุ่น ร้อยละ 43.70 การทำหน้าที่ของครอบครัวโดยรวม อยู่ในระดับดีพอควร ( = 3.22, S.D. = 1.12) และความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในภาพรวมอยู่ใน ระดับที่มากเพียงพอ ( = 116.54 S.D. = 12.20)\n2. ลักษณะโครงสร้างของครอบครัวมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกัน การตั้งครรภ์ของวัยรุ่น (x2 = 29.815, p<.05)\n3. การทำหน้าที่ของครอบครัวด้านการแก้ปัญหา การสื่อสาร การแสดงบทบาท ความผูกพันทางอารมณ์ การทำหน้าที่ ทั่วไป และโดยรวม ม ีความส ัมพ ันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น (r = .315, .462, .331, .347, .400, และ .404, ตามลำดับ, p<.01) จากผลการวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการทำ หน้าที่ของครอบครัวและสนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับวัยรุ่น" }
{ "en": "This qualitative descriptive study aimed to explore nurses’ experiences of caring for terminally ill cancer patients in Bangkok during the COVID-19 pandemic. The informants consisted of four administrative nurses and 22 nurses. Data were collected using focus group interviews and individual in-depth interviews. Data were analyzed using content analysis. Lincoln and Guba’s criteria were used to ensure trustworthiness of the findings. The study findings were identified as five main aspects. The first aspect was that the rapid and severe COVID-19 pandemic led to COVID-19 restrictions and acute worsening of symptoms. The second one was that limitations of terminal care resulted from decreased touching and communication, living and dying alone, and having difficulties and conflicts in terminal care. The third one was adhering to the principle of palliative care such as fully assessing and responding to patients’ needs, maintaining spiritual care, and counselling system of specialist. The fourth one was establishing new services during the crisis of COVID-19 pandemic. The last aspect was that voice and feedback of related people suggested healing psychological health and improving capacity of nurses who taking care for terminally ill cancer patients, lesson learned, and using telehealth services. Recommendations: Nurses should be improved their capacity for terminal care and supported their emotional and psychological health. Telehealth service system should also be used for optimum benefits of terminal care.", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายของพยาบาล ในเขตกรุงเทพมหานครในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารทางการพยาบาล 4 คน และพยาบาล 22 คน เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความน่าเชื่อถือของ ข้อมูลวิจัยดำเนินการตามเกณฑ์ของลินคอนและกูบา ผลการวิจัย พบสาระหลัก 5 ประเด็น คือ 1) การแพร่ระบาดของโควิด 19 เกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรง ต้องใช้มาตรการ ควบคุมอย่างเข้มงวด และติดเชื้อแล้วอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว 2) การดูแลระยะท้ายมีข้อจำกัด จากการสัมผัสและการสื่อสารลด ลง ผู้ป่วยอยู่ลำพังจากไปอย่างโดดเดี่ยว และมีความยากลำบากและขัดแย้ง 3) ยึดมั่นในหลักการดูแลแบบประคับประคอง เช่น ประเมินและตอบสนองความต้องการอย่างเต็มความสามารถ คงไว้ซึ่งการดูแลด้านจิตวิญญาณ และใช้ระบบขอคำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญ 4) ระบบบริการแบบใหม่เกิดขึ้นท่ามกลางภาวะวิกฤต และ 5) เสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้เยียวยาจิตใจ และพัฒนาศักยภาพของพยาบาลในงานดูแลระยะท้าย ถอดบทเรียนร่วมกัน และนำบริการสุขภาพทางไกลมาใช้ ข้อเสนอแนะ พยาบาลควรได้รับการพัฒนาศักยภาพและการสนับสนุนทางด้านอารมณ์และจิตใจ และควรพัฒนาระบบ บริการสุขภาพทางไกลมาใช้ในการดูแลระยะท้ายให้เกิดประโยชน์สูงสุด" }
{ "en": "This study was quasi-experimental with one group pretest-posttest design. The purpose of this research aimed to investigate the effects of simulation-based learning on clinical decision making abilities, secure communicate using ISBAR, and nursing practice for patient safety of nursing students. The study sample consisted of 114 students. They taught by the simulation-based learning including 2 situations and each situation consumed 60 minutes. The instruments used in this study were composed of clinical decision making abilities, secure communicate using ISBAR, and nursing practice for patient safety questionnaires. The content validity was 0.90, 0.80, 0.83 and reliability was 0.96, 0.92 and 0.92, respectively. Those were analyzed using descriptive statistics and t-test. The results revealed that nursing students who were taught using the simulation based learning had the mean clinical decision-making ability, secure communicate using ISBAR, and nursing practice for patient safety after the experiment was higher than before the experiment with a statistical significance (p < .05). It is suitable for the current situation in developing nursing practice skills for students so that they can practice nursing with quality and safety for clients.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถ การตัดสินใจทางคลินิก การสื่อสารอย่างปลอดภัยโดยใช้ ISBAR และการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยของ นักศึกษาพยาบาล ก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 114 คน ดำเนินการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงจำนวน 2 สถานการณ์ ครั้งละ 60 นาที เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความสามารถการตัดสินใจทางคลินิก 2) แบบประเมินการสื่อสารอย่างปลอดภัยโดยใช้ ISBAR และ 3) แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.90, 0.80 และ 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.96, 0.92 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยายและการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงมีค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถการตัดสินใจทางคลินิก การสื่อสารอย่างปลอดภัยโดยใช้ ISBAR และการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงสูง เป็นการเรียนการสอน ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันในการพัฒนาทักษะการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้ปฏิบัติการพยาบาล ได้อย่างมีคุณภาพและเกิดความปลอดภัยแก่ผู้รับบริการ" }
{ "en": "This descriptive research aimed to determine the stress level and adaptation and the relationship between stress and adaptation of village health volunteers (VHV) during the outbreak of COVID-19. Objectives of the research to study the level of stress and the level of adaptation and the relationship between stress and adaptation among village health volunteers. The subjects were 110 village health volunteers recruited using multi-stage sampling. The research instrument was a questionnaire consisting of three parts: general information, stress assessment form, and adaptation questionnaire. The data were analyzed with descriptive statistics: frequency, percentage, standard deviation, and Pearson correlation coefficient. The research results revealed the overall stress level was low ( = 2.67, S.D. = 0.65). When classified into aspects, it was found that the highest stress level was the role of the duty which was at a moderate level ( = 2.89, S.D. = 0.79) and the overall stress adaptation level was high ( = 4.13, S.D. = 0.64). The relationship between stress and adaptation was at a high level (r = 0.83) with statistical significance (p<.05). The research results indicate that village health volunteers are an important healthcare team. Therefore, when there is a new epidemic occurs, related healthcare organizations should realize that adaptation and stress management are required for quality of work life.", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดกับการปรับตัวและความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด กับการปรับตัว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ในช่วงสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ระดับความเครียดและระดับการปรับตัว และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการปรับตัวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 110 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มี 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียดและ แบบสอบถามการปรับตัว วิเคราะห์ข้อมูล โดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าระดับความเครียดรวมอยู่ในระดับน้อย ( = 2.67, S.D. = 0.65) เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ระดับความเครียดที่สูงสุด คือ ด้านบทบาทหน้าที่อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.89, S.D. = 0.79) และการปรับตัวรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.13, S.D. = 0.64) ส่วนระดับความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการปรับตัวอยู่ในระดับสูง (r = 0.83) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<.05) การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า อสม.เป็นทีมสุขภาพที่สำคัญ ดังนั้นเมื่อเกิดโรคระบาดใหม่ๆหน่วยงานสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ควรตระหนักถึงการปรับตัวและการบริหารความเครียดเป็นสิ่งจำเป็นที่จะให้เกิดคุณภาพชีวิตในการทำงาน" }
{ "en": "The purpose of this study to analyze the relationship between self-management and happiness levels of heart disease in the community-dwelling old population of Phetchaburi Province. The subjects of this study were older people with heart disease who have been diagnosed by doctors, both male and female, who live the community-dwelling of Phetchaburi province by random sampling in 88 cases. The participants were asked about demographics, medical histories, self-care management of heart disease, level of happiness. Descriptive statistics, chi-square, Pearson correlation were used for analysis.\nFinding: Self-management of the older people with heart disease was a fair level (mean = 34.93, S.D. = 8.21) and the happiness was a moderate level (mean = 91.87, S.D. = 10.66). For each component of self-management, the result revealed that every component significantly correlated with happiness at .001 level. Self-management was a significantly positive relationship with the happiness in older with heart disease at p .01 level (r = .624). Therefore, effective self-management will help the older with heart disease improve the quality of life.", "th": "การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการตนเองและระดับความสุขของผู้สูงอายุโรคหัวใจ ที่อยู่ในชุมชน จังหวัดเพชรบุรี โดยประชากรที่ศึกษาคือ ผู้สูงอายุโรคหัวใจที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่ อาศัยอยู่ในชุมชนจังหวัดเพชรบุรี โดยการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 88 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการ เจ็บป่วย การจัดการตนเองเกี่ยวกับโรคหัวใจ ระดับความสุข ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ไคสแควร์ และหาความสัมพันธ์ ระหว่างความสุขและการจัดการตนเองโรคหัวใจโดยสหสัมพันธ์เพียร์สัน\nผลการวิจัยพบว่า การจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคหัวใจภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย 34.93 คะแนน (S.D. = 8.21) ระดับความสุขอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 91.87 คะแนน (S.D. = 10.66) เมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่า การจัดการ ตนเองทุกรายด้านมีความสัมพันธ์กับระดับความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และคะแนนจัดการตนเองมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับระดับความสุขของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .624) ดังนั้นการจัดการตนเองที่ดีจะช่วย ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคหัวใจได้" }
{ "en": "Many teaching and learning methods in nursing education focus on improving the 21st century life skills of learners. The team-based learning method is one of cooperative learning methods that encourages learners to be responsible and develop their abilities to solve problems and make decisions. It consists of 3 main steps: 1) preparing before class; 2) preparation test before class, which is divided into 3 sub-steps: individual testing, group testing, and providing clarification by teachers; and 3) applying knowledge. This article presents the team-based learning process, based on learners’ roles and instructor’ roles, benefits of team-based learning method on developing the 21st century life skills of the learners, application of the team-based learning in the “Adult Nursing 1” course, factors and conditions of team-based learning method.", "th": "การเรียนการสอนทางการพยาบาลมีหลายวิธีการ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ แบบทีมเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือวิธีการหนึ่ง ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและ การตัดสินใจ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน 2) การทดสอบการเตรียมตัวก่อนเข้า ชั้นเรียนซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนย่อย คือ การทดสอบรายบุคคล การทดสอบรายกลุ่ม และการให้ความกระจ่างโดยผู้สอน และ 3) การนำความรู้มาประยุกต์ใช้ บทความนี้เสนอกระบวนการเรียนรู้แบบทีมตามบทบาทของผู้เรียนและบทบาทผู้สอน ประโยชน์ ของการเรียนรู้แบบทีมต่อการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 การประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบทีมในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 ปัจจัย และเงื่อนไขของการจัดการเรียนรู้แบบทีม" }
{ "en": "This research was cross-sectional study aimed to predict the parental behaviors and related factors promote to development of executive functions skills among early childhood in Chaingrai province. The multistage random sampling technique was used and 396 Thai early childhood and their parents were recruited in this study. The research instruments included the executive functions development assessment form and the behavioral questionnaire for promoting early childhood development, consisting of 1) personal information 2) perceived benefits of action 3) perceived barriers to action 4) perceived self-efficacy 5) activity-related affect and 6) family support. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple regression.\nThe results showed that early childhood age between 2-5 years 11 moths 29 days had a moderate level of develop executive functions skills and the behavior of the parents for promoting executive functions development had a middle level (M 3.28, SD 0.68). Parental behaviors of perceiving the barriers to action was the significantly predictor of the development of executive functions skills among childhood (R = 0.686, R2 = 0.432, p <0.001), which showed that parents’ perceived barriers had a high level, affected to promote executive functions development. Therefore, these findings suggested that providing knowledge of executive functions for parents is vital intervention for reducing the perceived barriers and improve executive functions outcome.", "th": "การวิจัยนี้เก็บข้อมูลแบบภาพตัดขวางเพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทักษะ ด้านการคิดเชิงบริหารเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยทั้งเพศหญิงและชายรวมถึงผู้ปกครองของเด็กทุกคน จำนวน 396 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัยและแบบสอบถามพฤติกรรม ของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทักษะด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครอง 2) การรับรู้ประโยชน์ 3) การรับรู้อุปสรรค 4) การรับรู้ความสามารถ 5) อารมณ์ความรู้สึก และ 6) การสนับสนุนของครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\nผลการศึกษาพบพัฒนาการทักษะด้านการคิดเชิงบริหารเด็กปฐมวัย อายุ 2 -5 ปี 11 เดือน 29 วัน และพฤติกรรมของ ผู้ปกครองในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทักษะด้านการคิดเชิงบริหารอยู่ในระดับปานกลาง (M 3.28, SD 0.68) และพบว่า พฤติกรรมของผู้ปกครองด้านการรับรู้อุปสรรคเป็นตัวทำนายการส่งเสริมพัฒนาด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติและมีการผันแปรการส่งเสริมพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารร้อยละ 43.2 (R = 0.686, R2 = 0.432, p < 0.001) แสดง ให้เห็นว่าการรับรู้อุปสรรคของผู้ปกครองมีระดับสูงมีอิทธิพลทางลบจึงเป็นตัวขัดขวางการส่งเสริมพัฒนาการทักษะด้านการคิดเชิง บริหารในเด็กปฐมวัย" }
{ "en": "This descriptive research aimed at assessing health literacy regarding health promoting behavior guidelines and identifying factors influencing health promoting behaviors of nursing students at Boromarajonani college of Nursing Phayao. Participants were 442 nursing student who study level 1-4 at Boromrajonani college of nursing Phayao. Research questionnaire composed of health literacy, health promoting behaviors regarding health promoting behavior guidelines. Descriptive statistic was used to analyze demographic data. To compare mean difference of health literacy among the first- to fourth- year nursing students by using One-Way ANOVA statistic as well as Multiple regression analysis was used to identify factors influencing to health literacy.\nThe research revealed that nursing students had overall health literacy at moderate level. Overall health literacy compared among the first- to four- year students was statistical difference (p<.05). Three factors were significant influencing to health literacy; year level, health behaviors and Self-Directed Leaning Readiness.", "th": "การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3 อ.2 ส. และปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา จำนวน 442 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมิน ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ และ พฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ.2ส. ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวง สาธารณสุข วิเคราะห์ระดับความรอบรู้สุขภาพโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้านความรอบรู้ด้าน สุขภาพของนักศึกษาพยาบาลแต่ละชั้นปี โดยใช้สถิติ ANOVA วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยใช้สถิติ Multiple regression analysis\nผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาล มีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ และ ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาในแต่ละชั้นปีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ ของความรอบรู้ด้านสุขภาพจำแนกรายชั้นพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพแตกต่างจากนักศึกษาชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ระดับชั้นปี, พฤติกรรมสุขภาพ และ ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ดังนั้น ควรมีการพัฒนาโปรแกรม การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 รวมทั้งควรมีการกระตุ้นให้นักศึกษาตระหนักถึงความ สำคัญต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่เสมอ" }
{ "en": "The purpose of this survey research were to study factors relating to health promotion behaviors among Wing 4 of Royal Thai Air Force personnel of Thakhli in Nakhon Sawan Province. The samples were 320 individuals selected by Random sampling. The questionnaire developed by researcher for data collection. The data were analyzed by using statistical computer program. Analytical statistics were frequency, percentage, mean, maximum-minimum, standard deviation, Chi-square test, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.\nThe results showed that health promotion behaviors of Wing 4 of Royal Thai Air Force Personnel of Thakhli in Nakhon Sawan Province, health promotion behaviors were at the moderate level. The bio-social factors namely gender and income per month were found significantly related to health promotion behaviors at the level of .05. For the predisposing factors concerning knowledge, attitude, perceived health promotion behaviors were found significantly related to health promotion behaviors at the level of .05. For the reinforcing factors, health project policy and resource accessing were found significantly related to health promotion behaviors at the level also of .05. For than more the reinforcing factors about social support was significantly related to health promotion behaviors of the subjects at the level of .05. as well", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ของกำลังพลกองบิน 4 อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson\nผลการวิจัยที่สำคัญพบว่ากำลังพลกองบิน 4 อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับ ปานกลางปัจจัยทางชีวสังคม ได้แก่ เพศและรายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ นโยบาย โครงการสุขภาพของหน่วยงานการมีและการเข้าถึงทรัพยากรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This study was the Qualitative research. The purpose of this research was to study the composition and procedure for transformative Learning for humanized nursing care behavior of nursing students. The participants were the 30 of third-year nursing students. These students were practiced to care the severe psoriasis disease. The data were collected by field notes, observe as participant, nursing practical behaviors, reflection writing of the students, nursing care conferences and Non-Structured interview about transformative learning affected of humanized health care behaviors. The analysis of data was using content analysis and examine the correction of core consistency analysis with the participants. The results showed there were the factors that affected the transformative learning for humanized nursing care. They consisted of: 1) The good role models in nursing practice were the important components of learning. 2) The humanized nursing care behaviors were affected by deep listening, perceive patients suffering, Don’t judge and bias for the patient behaviors, put yourself in their shoes, realizing the values of work and perception how it value to the others. Moreover, the creative activities were designed based on the understanding of patients’ problems. These activities led to humanized nursing care.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการเรียนรู้เพื่อ การเปลี่ยนแปลงสู่พฤติกรรมการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คน ที่ลงฝึก ปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยสะเก็ดเงินที่มีผื่นผิวหนังอักเสบรุนแรง ผู้วิจัยใช้วิธีเก็บข้อมูลจากการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการบันทึก ภาคสนาม การปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาต่อผู้ป่วยสะเก็ดเงิน การเขียนบันทึกสะท้อนคิดของนักศึกษา การประชุมปรึกษา ทางการพยาบาล และการสัมภาษณ์อย่างไม่มีโครงสร้างเกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมการพยาบาลด้วย หัวใจความเป็นมนุษย์ในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความ ถูกต้องของแก่นสาระ ที่วิเคราะห์มาร่วมกับผู้เข้าร่วมวิจัย ซึ่งได้ข้อมูลที่ส่งผลต่อการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่พฤติกรรมการพยาบาลด้วยหัวใจความ เป็นมนุษย์ดังนี้ 1) องค์ประกอบของการเรียนรู้ คือ การได้เห็นต้นแบบที่ดีในการปฏิบัติงาน 2) กระบวนการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ได้แก่การฟังด้วยหัวใจ, การมองเห็นความทุกข์ของผู้ป่วย, การไม่ตัดสินหรือมีอคติกับพฤติกรรม ของผู้ป่วย, การเอาใจเขามาใส่ใจเรา, การเห็นคุณค่าของการทำงานและการรับรู้ว่างานที่ทำมีคุณค่าสำหรับผู้อื่น และการสร้างสรรค์ กิจกรรมจากการเข้าใจปัญหาของผู้ป่วยนำไปสู่การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์" }
{ "en": "This research is a mixed method study. The purpose to study the Integration Intelligences quality of life of the elderly and guidelines for the development of Integration Intelligences quality of life of the elderly in Bang Sai Subdistrict, Mueang District, Chonburi Province. The population studied is the elderly at Bang Sai Sub-district, Mueang District, Chon Buri Province. During October 2018 to March 2020, the researcher conducted the research into 2 phases, divided into Phase 1, survey research and Phase 2, qualitative research. The research tool consisted of questionnaires and focus group interview form. Data were analyzed by descriptive statistics, Priority Needs Index (PNI modified) and content analysis.\nThe results showed that Integration Intelligences quality of life of the elderly it is at a high level ( = 84.93, SD. = 21.66). Guidelines for the development of Integration Intelligences quality of life of the elderly in Bang Sai Subdistrict, Mueang District, Chonburi Province are as follows: 1) Establishing a school for the elderly, Buddhist way, 2) Organize sports-related activities for the elderly 3) Organize activities for the elderly to volunteer for young children and 4) Organize activities to make merit and observe the Buddhist Era every day.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการพหุปัญญาของผู้สูงอายุ และหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการพหุปัญญาของผู้สูงอายุตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ประชากร ที่ศึกษาเป็นผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ในช่วงเดือนตุลาคม 2561 ถึง มีนาคม 2563 ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ แบ่งเป็นระยะที่ 1 คือการวิจัยเชิงสำรวจ และระยะที่ 2 คือการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์หาค่าดัชนีจัดเรียงลำดับ ความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง และวิเคราะห์เนื้อหา\nผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตแบบบูรณาการเชิงพหุปัญญา โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( = 84.93, SD. = 21.66) แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการพหุปัญญาของผู้สูงอายุในตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยมีแนวทาง ดังนี้ 1) จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุวิถีพุทธ 2) จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาสัมพันธ์สำหรับผู้สูงอายุ 3) จัดกิจกรรมผู้สูงอายุจิตอาสาพัฒนา เด็กเล็ก และ 4) จัดกิจกรรมทำบุญถือศีลกินเจทุกวันพระ" }
{ "en": "This developmental research design aims to develop clinical nursing practice guidelines (CNPG) for the assessment and prevention of acute kidney injuries (AKI) among critical surgical patients and studying feasibility, satisfaction, and outcomes by implementing the aforementioned practice guidelines. The Soukup model was used as a conceptual framework for developing the practice guidelines which consists of 2 phase: 1) guideline establishment and 2) implementation and study the outcomes. The samples of phase 1 were empirical evidence based on PICO research criteria, amount 21 subjects. The purposive sampling method was used to select samples of phase 2 which were 35 professional nurses working in the Surgical Intensive Care Unit, and 220 surgical critical patients who were treated in the Surgical Intensive Care Unit. Data were collected using a set of questionnaires and analyzed using descriptive statistics.\nThe results revealed that the CNPG for the assessment and prevention of AKI among critical surgical patients consisted of diagnostic criteria using KDIGO criteria, risk assessment for 3 steps and 10 items of CNPG in preventing AKI The overall feasibility after implementing the CNPG was found to be high (Mean = 3.68, S.D. = 0.57). Nurses had a high level of satisfaction (Mean = 3.83, S.D. = 0.59). The prevalence of acute kidney injury in patients was 23-26 percent, which has a tendency to decrease.", "th": "การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการประเมินและป้องกันภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต ศัลยกรรม และศึกษาความเป็นไปได้ ความพึงพอใจ รวมถึงผลลัพธ์ในการนำไปใช้ ในครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติ ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ 1) สร้างแนวปฏิบัติฯ 2) ศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติฯ กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 1 ได้แก่ หลักฐานเชิงประจักษ์คัดเลือกตามหลัก PICO จำนวน 21 เรื่อง กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 2 เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม จำนวน 35 ราย และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ศัลยกรรม จำนวน 220 ราย โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความพึงพอใจและความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติ ไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา\nผลการวิจัยพบว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการประเมินและป้องกันภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต ศัลยกรรม ประกอบด้วย เกณฑ์วินิจฉัยโดยใช้ KDIGO criteria การประเมินปัจจัยเสี่ยง 3 ขั้นตอน และแนวปฏิบัติในการป้องกัน ภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจำนวน 10 ข้อ หลังทดลองใช้พบว่ามีความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 3.68, S.D. = 0.57) ผู้ปฏิบัติมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.83, S.D. = 0.59) หลังใช้แนวปฏิบัติฯ พบว่า ความชุกภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม เกิดร้อยละ 23-26 ซึ่งมีแนวโน้มลดลง" }
{ "en": "The purpose of this research was to investigate the effectiveness of a program promoting behaviors exercise of leg and knee muscles to recovery in patients with total knee arthroplasty. The sample consisted of 20 patients undergoing total knee arthroplasty. The sample was assigned into two groups: the experimental group (n = 10) and the control group (n = 10). The research instruments for data collection were the questionnaire on general information, range of motion record which examination for quality by four experts. The Reliability of questionnaire on perceived self-efficacy of exercising leg and knee muscles, questionnaire on outcome expectation of exercising leg and knee muscles, questionnaire on social support, questionnaire on behaviors of exercising leg and knee muscles and the questionnaire on recovery after total knee arthroplasty were .88, .92, .86, .91 and .94\nThe results found that the both groups had higher perceived self-efficacy and outcome expectation of exercising leg and knee muscles than before experiment. Furthermore, there were the statistically significant differences in behaviors of exercising leg and knee muscles, social support, recovery after total knee arthroplasty and average knee flexion for both groups in after experiment. (p<.05).", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกล้ามเนื้อขาและข้อเข่าเมื่อ ฟื้นสภาพในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวน 20 ราย แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกพิสัย ผ่านการตรวจ สอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกล้ามเนื้อขาและข้อเข่า แบบสอบถามความคาดหวังผลดีในการออกกำลังกล้ามเนื้อขาและข้อเข่า แบบสอบถามการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกล้ามเนื้อขาและข้อเข่า แบบสอบถามการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88, .92, .86, .91 และ .94 ตามลำดับ\nผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังผลดีในการออกกำลัง กล้ามเนื้อขาและข้อเข่าสูงกว่าก่อนการทดลอง ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความคาดหวังผลดีในการออกกำลังกล้ามเนื้อขาและข้อเข่า พฤติกรรมการออกกำลังกล้ามเนื้อขาและข้อเข่า การได้รับแรง สนับสนุนทางสังคม การฟื้นสภาพหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และค่าเฉลี่ยพิสัยการเคลื่อนไหวในการงอข้อเข่าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)" }
{ "en": "This descriptive cross-sectional research aimed to study prevalence and severity of low back pain in nursing personnel in a Hospital in Bangkok Metropolitan Administration. The samples were 321 nursing personnel using stratified random sampling. The research instruments used for data collection consisted of questionnaires and low back pain severity assessment form. The descriptive statistics were implemented for data analysis to explain prevalence and severity in low back pain.\nThe results indicated that 54.5% of the samples had prevalence in low back pain during previous 7 days. The prevalence in low back pain during previous 12 months was 60.4%. For the severity of low back pain, results during previous 7 days and 12 months, was found 7.8% and 7.5% of personnel had severe low back pain level during previous 7 days and 12 months accordingly. Considering the personal factors and job description, the higher low back pain prevalence and severity level were found in males, overweigh personnel, patient care personnel, and other personnel who worked in a surgical or medical ward. Furthermore, it also indicated that personnel who stand worked over 8 hours per day had higher prevalence and severity level in low back pain than other personnel.", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและความรุนแรง ของอาการปวดหลังส่วนล่าง ในบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ในหอผู้ป่วย จำนวน 321 คน สุ่มตัวอย่างโดยแบ่งชั้นภูมิสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมินความ รุนแรงอาการปวดหลังส่วนล่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายความชุกและความรุนแรงของอาการปวดหลัง ส่วนล่าง\nผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วงระยะเวลา 7 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 54.5 ความ ชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 60.4 สำหรับความรุนแรงของอาการปวดหลังส่วนล่าง พบว่า ร้อยละ 7.8 และร้อยละ 7.5 มีระดับอาการปวดรุนแรง ในช่วงระยะเวลา 7 วันและ 12 เดือนที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาปัจจัย ส่วนบุคคลและลักษณะการปฏิบัติงานพบว่าบุคลากรที่เป็นเพศชาย บุคลากรที่อ้วน พนักงานช่วยเหลือคนไข้ บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในหอผู้ป่วยศัลยกรรม หรืออายุรกรรมและบุคลากรที่ยืนปฏิบัติงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน มีความชุกและร้อยละ ของความรุนแรง ของอาการปวดหลังส่วนล่างระดับรุนแรงสูงกว่าบุคลากรกลุ่มอื่น" }
{ "en": "The purpose of this research was to study the age-friendly characteristic services. The Delphi technique was used in this study. Participants were 19 experts including 2 hospital directors involved in setting up management policies within the hospitals, 5 directors of nursing or deputy directors of nursing, 5 nursing managers, 5 registered nurses at practitioner level, and 2 architects in the field of environmental design for the elderly. The research methodology was divided into 3 steps. The first dealt with interviewing the experts about the age-friendly characteristic services, the second writing a questionnaire based on the interviews before asking the experts to complete it, and the third the analysis of the data obtained from the second step translated into mathematical terms: mean and interquartile range. The experts were asked to complete the revised questionnaire whose data were analyzed and translated into the same mathematical terms. The results of study were presented so that the age-friendly characteristic services characteristic consisted of 3 components as follows: 1) the elderly services consisted of 24 items 2) the gerontological nursing practice consisted of 22 items and 3) the development of service quality consisted of 17 items.The result obtained could be used as a guidance for an individual self-development of registered nurses in various aspects including knowledge, clinical competency in gerontology and geriatric care. The benefit expands to theadministrative and management level by assisting nursing executive to develop policies, management of framework and management of care suitable for geriatric patients in the hospital setting.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงพยาบาลที่รับผิดชอบกำหนดนโยบายการบริหารในโรงพยาบาล ผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นและระดับกลาง พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ และสถาปนิกที่ ทำงานในบริษัทหรือองค์การที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้ จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อ คาถามแต่ละข้อ  ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันคำตอบอีกครั้ง จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย พบว่า ลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) การจัดบริการผู้สูงอายุ จำนวน 24 ข้อ 2) การ ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ จำนวน 22 ข้อ และ 3) พัฒนาคุณภาพการบริการผู้สูงอายุ จำนวน 17 ข้อ ผลจากการศึกษา สามารถ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพในด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะเฉพาะสำหรับการให้บริการผู้สูงอายุ และเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลในการกำหนดนโยบาย การบริหาร และการจัดบริการผู้สูงอายุในโรงพยาบาล" }
{ "en": "The purpose of this descriptive research was to study about component and sub-item of nurse anesthetist roles by using Delphi technique. Participants were 20 experts including; 4 anesthesiologists, 4 executives of the nurse anesthetist society of Thailand, 3 nurse anesthetist instructor of the college of advanced practice nurse and midwife of Thailand, 4 head nurses of anesthesia unit and 5 anesthetist nurses. The Delphi technique consisted of 3 steps. Step 1, all experts were asked to described about the professional nurse’s roles. Step 2, the data were analyzed by using content analysis to develop a rating scale questionnaire. All items in the questionnaire were ranked the level of nurse anesthetist roles by a prior panel of experts. In step 3, the items were analyzed by using median and interquartile range to develop a new version of questionnaire. The new questionnaire was sent to previous experts for confirming. Ranking items were analyzed by using median and interquartile again to summarize the study.\nThe results of the study were presented that the nurse anesthetist roles consisted of 4 components as follow 1) Nurse anesthetists are specialized nurse practitioners 19 items 2) Nurse anesthetists are responsible for safety and risk management in anesthesia 6 items 3) Nurse anesthetists are educators and consultants in this field 5 items 4) Nurse anesthetists are developer and quality control service in anesthesia person 7 items. The nursing administrators were able to use the results of this research as a guideline for the performance of the nursing anesthetists.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและข้อรายการย่อยในองค์ประกอบของบทบาทวิสัญญีพยาบาล โดย ใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วยวิสัญญีแพทย์จากราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการชมรมวิสัญญีพยาบาลแห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาล และการผดุงครรภ์เพื่อรับวุฒิบัตรในสาขาการพยาบาลด้านการให้ยาระงับความรู้สึก หัวหน้าวิสัญญีพยาบาล และผู้ปฏิบัติการด้าน พยาบาลวิสัญญี วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทบาทวิสัญญี พยาบาล ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาเป็นหมวดหมู่และสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อคำถามแต่ละข้อ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระ หว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคำตอบอีกครั้ง จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานและค่า พิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย\nผลการวิจัย พบว่า บทบาทวิสัญญีพยาบาล ประกอบด้วยบทบาท 4 ด้าน ดังนี้ 1) บทบาทด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะ ทางวิสัญญี มี 19 บทบาทย่อย 2) บทบาทด้านผู้จัดการความปลอดภัย และบริหารความเสี่ยงทางวิสัญญี มี 6 บทบาทย่อย 3) บทบาท ด้านผู้ให้ความรู้และคำปรึกษา มี 5 บทบาทย่อย และ 4) บทบาทด้านผู้พัฒนาคุณภาพการพยาบาลทางวิสัญญี มี 7 บทบาทย่อย ซึ่งผู้บริหารการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของวิสัญญีพยาบาลต่อไป" }
{ "en": "This descriptive research aimed to study spirituality at work of professional nurses. The Delphi technique was used in this study. Participants were 20 experts comprising 1) administrators from the Human Resources Department 2) nursing administrators 3) administrators from the Thailand Nursing and Midwifery Council 4) academics/nursing instructors 5) nurses at practitioner level. The Delphi technique consisted of three steps. Step one: all of experts were asked to spirituality at work of professional nurses. Step two: the data were analyzed by using content analysis to develop a rating scale questionnaire. All items in the questionnaire were ranked by level of the spirituality at work of professional nurses. Step three: items were analyzed by using median and interquartile range to develop a new version of the questionnaire. The new questionnaire was sent to previous experts for confirmation. Ranked items were analyzed by using median and interquartile range again to summarize the research.\nThe results of this research showed that the spirituality at work of professional nurses consisted of 3 components as follows: 1) Self understanding consisted of 12 items. 2) Inner motivations consisted of 12 items 3) Positive attitude towards the work consisted of 16 items.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโดยใช้ เทคนิคเดลฟายในการรวบรวมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหารองค์กรฝ่ายทรัพยากร บุคคล 2) กลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาล 3) กลุ่มผู้บริหารองค์กรวิชาชีพ 4) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนักวิชาการ/อาจารย์พยาบาล 5) กลุ่มพยาบาลระดับปฏิบัติการ วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจิต วิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญให้น้ำหนักคะแนนความสำคัญเกี่ยวกับลักษณะจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ และขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และจัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ\nผลการวิจัยพบว่า จิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความเข้าใจในตัวตน จำนวน 12 ข้อ 2) ด้านความมีพลังจากภายใน จำนวน 12 ข้อ 3) ด้านทัศนคติที่ดีต่องาน จำนวน 16 ข้อ" }
{ "en": "The purposes of this research to compare the ratio about emergency visit, and revisit rates within 48 hours in the Accident and Emergency Department, and hospitalization rates of asthmatic patients which the control group receiving usual care, and the experimental group receiving Clinical Practice Guidelines (CPG) for Acute Exacerbation of Asthmatic Attack Patients in the Accident and Emergency Department. The samples are asthmatic attack patients emergency visit in the Accident and Emergency Department. The experimental group are 11 persons and control group are 14 persons. They were simple randomly and purposive selection by criteria. The research instruments were 1) General questionnaire 2) Clinical Practice Guideline (CPG) for Acute Exacerbation of Asthmatic Attack Patients in the Accident and Emergency Department, with content validity of 0.6-1 data analysis were mean, median, standard deviation, and the Mann-Whitney U Test.\nThe results showed that after treatment, the experimental group were decrease higher than the control group which their emergency visit significantly at the .05 level. But the revisit rate within 48 hours in the Accident and Emergency Department and hospitalization rates of the asthmatic patient both groups were non-significant.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างอัตราการเข้ารับการรักษา อัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง ที่แผนกฉุกเฉินและอัตราการเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน ระหว่างกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามแบบปกติ และ กลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลันที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มีอาการหอบหืดกำเริบที่เข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เป็นกลุ่มทดลอง 11 คน กลุ่มควบคุม 14 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แนวทางการปฏิบัติดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลันที่แผนกอุบัติเหตุ และฉุกเฉินความตรงเชิงเนื้อหา 0.6-1 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู\nผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีอัตราการเข้ารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 อีกทั้งยังพบว่าอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงและอัตราการเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในของทั้งสอง กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ" }
{ "en": "The Quasi-experimental study aimed to describe the effect of the social support care model on grief among women who experienced termination of pregnancy. The one group pre-post test design was applied to conduct this research. Twenty women who experienced termination of pregnancy due to fetal conditions admitted in the gynaecological care ward, Maharat-Nakhon Ratchasima hospital were included in the study. All received the developed social support care model during stayed in the hospital. Collecting data by questionnaire related to personal information and grief scores, provided grief assessment at pre-intervention and two times post-intervention; before discharge and 2 weeks after terminating of pregnancy. Descriptive statistics and statistical tests of difference were performed in data analysis. The result revealed that women’s grief scores after providing social support care model were significantly statistical lower than pre-intervention (p-value <0.05).", "th": "การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษาหนึ่งกลุ่ม วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุน ทางสังคมต่อระดับความเศร้าโศกในมารดาที่ยุติการตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่ได้รับการยุติการตั้งครรภ์จากภาวะสุขภาพ ทารกในครรภ์ ซึ่งเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา จำนวน 20 ราย มารดาทุกรายจะได้ รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเศร้าโศกในมารดาที่ยุติการตั้งครรภ์ โดยรวบรวมข้อมูล 3 ครั้ง ได้แก่ ก่อนให้การสนับสนุนทางสังคม หลังให้การสนับสนุนทางสังคมวันจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและ ระยะติดตาม 2 สัปดาห์หลังยุติการตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า หลังให้การสนับสนุนทางสังคม คะแนนความเศร้าโศกในมารดาที่ยุติการตั้งครรภ์ในวันจำหน่าย ออกจากโรงพยาบาลและระยะติดตาม 2 สัปดาห์หลังยุติการตั้งครรภ์ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <.05" }
{ "en": "The aim of this study was to study episodic memory by using the Face-Name Associative Memory Exam test (FNAME test) in postmenopausal women working at professional daytime in hospital. Ten volunteering postmenopausal women participants were recruited in this study, they were tested by FNAME task. Data were analyzed by descriptive statistic, these were estimated raw score to Z-score composites, and Pearson product-moment correlation coefficient. The results showed some decline of episodic memory by Z-score median (-0.15), mode (-0.15), rang (2.43), maximum, minimum (-1.56, 1.87 respectively) and percent of individual test score lower mean (70%). Analysis was pairwise Z-score of subscales these were significantly to high correlation of Cues Recall Name immediately and Cues Recall Name delayed. In conclusions, this pilot study demonstrated data, episodic memory was tested by using FNAME that trend is declined in Thai postmenopausal women and its role in shaping memory function in early elderlies. After, the FNAME test will test in larger population, these are more reliable of data and using other occupation postmenopausal women for screening episodic memory decline early in postmenopausal women.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความจำด้านเหตุการณ์โดยใช้แบบทดสอบใบหน้าคู่ชื่อและอาชีพ (FNAME test) ในหญิงวัยหลังหมดประจำเดือนที่ปฏิบัติงานช่วงเวลาปกติในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครจำนวน 10 ราย ทำ FNAME test วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาจากปรับคะแนนดิบเป็นคะแนนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ในแบบทดสอบย่อยด้วยค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ความจำด้านเหตุการณ์มีคะแนนมาตรฐานการเรียกคืนความจำใบหน้าคู่ชื่อ และอาชีพทันทีและเมื่อเวลาผ่านไปต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 70 โดยมีคะแนนมาตรฐานค่ามัธยฐานต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (0.15) ค่าฐานนิยม ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (-0.15) และค่าพิสัยกว้าง (2.43) โดยค่าต่ำที่สุดและสูงที่สุดอยู่ในช่วง -1.56 ถึง 1.87 เมื่อวิเคราะห์การเรียกคืน ความจำชื่อทันทีและเมื่อเวลาผ่านไปมีความสัมพันธ์กันสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปการศึกษานำร่องนี้พบข้อมูลแสดงความำ ด้านเหตุการณ์มีแนวโน้มลดลงในหญิงวัยหลังหมดประจำเดือนคนไทย และแสดงรูปแบบการทำงานของความจำในช่วงเริ่มเข้าสู่วัย สูงอายุ ภายหลังการทดสอบเครื่องมือในกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เครื่องมือมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น แล้วนำเครื่อง มือนี้ไปใช้กับกลุ่มประชากรหญิงวัยหลังหมดประจำเดือนกลุ่มอื่น ๆ เพื่อคัดกรองปัญหาความจำด้านเหตุการณ์ในเบื้องต้นของ หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนต่อไป" }
{ "en": "This study used an experimental research design with a randomized controlled trial, divided into experimental and control groups, and measured results before and after the experimental. The purpose of the research aimed to examine the effects of a resource-enhancing program based on Pearlin’s conception on the depression of the caregivers of elderly with dementia. The participants of this research were 54 caregivers of elderly with dementia aged 20 years and over that met the inclusion criteria. The participants were randomly assigned to an experimental group (n = 27) and a control group (n = 27). The experimental group participated in the resource-enhancing program based on Pearlin’s conception,while the control group received regularnursing care.The research instrument consisted of the resource-enhancing program based on Pearlin’s conception and the center for epidemiologic studies depression scale.The data were analyzed by using descriptive statistics, dependent t-test, and independent t-test.\nThe results found thatthe mean scores for the depression of the experimental group (M = 12.07, SD = 3.18) were lower than the pretest scores (M=26.89, SD=4.90) at a statistical significance (t = 15.25, p<.05). The mean difference scores for the depression of the experimental group, between the pretest and posttest, participating in the resource-enhancing program based on Pearlin’s conception ( = -14.81, SD = 5.04) were different than those of the control group ( = 2, SD = 4.40) at a statistical significance (t = 14.65, p<.001). The findings suggest the benefit of the resource-enhancing program based on Pearlin’s conception in reducing the depression of the caregivers of elderly with dementia.", "th": "การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมแหล่งทรัพยากรตามแนวคิดเพียร์ลินต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะ สมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 54 คน ทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมแหล่งทรัพยากรตามแนวคิดเพียร์ ลินและกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือโปรแกรมการส่งเสริมแหล่งทรัพยากรตามแนวคิดเพียร์ ลิน และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า (CES-D) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติทดสอบค่าทีชนิดที่ไม่เป็นอิสระต่อ กันและสถิติทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกัน\nผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าในกลุ่มทดลอง ภายหลังการทดลอง (M = 12.07, SD = 3.18) ต่ำกว่า ก่อนการทดลอง (M = 26.89, SD = 4.90) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 15.25, p<.05) และผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึม เศร้าระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมของกลุ่มทดลอง ( = -14.81, SD = 5.04) แตกต่างกว่ากลุ่มควบคุม ( = 2, SD = 4.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 14.65, p<.001) แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการส่งเสริมแหล่งทรัพยากรตามแนวคิดเพียร์ลินมี ประสิทธิผลในการช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมได้" }
{ "en": "This qualitative research explored the meaning and component of active aging preparation for education nurses. Data were collected using in-depth interview and focus group discussion and were analyzed by using thematic analysis. Result revealed that educator nurses viewed the preparation activities to be performed in all 7 areas included: 1) self care for healthy and delay physical health declines; 2) financial management; 3) home & living arrangement; 4) preparing for family/caregivers; 5) preparing to face with death and the end of life and 6) preparing for activities/jobs after retirement 7) life long learning preparation.", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย องค์ประกอบการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุอย่าง มีคุณภาพของอาจารย์พยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่น สาระ ผลการศึกษาพบว่าอาจารย์พยาบาลทั้ง 3 กลุ่มอายุให้ความหมายและองค์ประกอบการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่ เหมือนและแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุประกอบด้วย 7 องค์ประกอบคือ 1) ดูแลให้ร่างกายแข็งแรงและเสื่อมน้อยที่สุด 2) บริหาร จัดการเงินส่วนบุคคล 3) จัดหาที่อยู่อาศัย 4) เตรียมหาผู้ดูแลและครอบครัว 5) เตรียมทำพินัยกรรมและการตาย 6) เตรียมกิจกรรม/ การทำงานภายหลังเกษียณจากการทำงาน 7) ฝึกฝนให้เป็นบุคคลที่พร้อมเรียนรู้ตลอดชีวิต" }
{ "en": "This research was aimed to study the relationship between attitudes, subjective norms, perceived behavioral control, and intentions to food consumption behaviors among older persons with uncontrolled diabetes. The sample consisted of 197 older adults diagnosed with uncontrolled diabetes attending the health promotion hospital in Muang District, Nakhon Ratchasima Province, from July to August 2020. The sample was purposively selected based on the inclusion criteria. The assessment tool measured 4 aspects: attitude, subjective norm, perceived behavioral control and intention to food consumption behaviors. The validity and reliability of these instruments were approved prior to data collection. Data were analyzed using descriptive statistics, and Spearman’s rank correlation coefficient.\nThe findings were indicated a significant positive relationship between attitudes, subjective norms, and perceived behavioral control with intentions to food consumption behaviors among older persons with uncontrolled diabetes (p < .05, r = .342, .417, and .216 respectively). Thus, the findings can be used as information for health personal to promote food consumption behaviors among older persons with uncontrolled diabetes.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ บรรทัดฐานเชิงอัตวิสัย การรับรู้ความสามารถ ในการควบคุมพฤติกรรมและความตั้งใจต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 197 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ ทัศนคติ บรรทัดฐานเชิงอัตวิสัย การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจต่อพฤติกรรมการบริโภค อาหาร ซึ่งเครื่องมือได้ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นก่อนนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน\nผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติ บรรทัดฐานเชิงอัตวิสัย การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับความตั้งใจต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p < .05, r = .342, .417 และ .216 ตามลำดับ) ดังนั้นผลการวิจัยจะเป็นข้อมูลสำหรับบุคลากรทีมสุขภาพเพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้" }
{ "en": "This one group pre-posttest quasi-experimental research design had aimed to study the effects of Moving with Awareness Meditation to Happiness of Register nurses. Thirty register nurses in Female medical ward Chaiyaphum Hospital were selected to participate in this study. Research instruments composted of 1) the personal data questionnaire 2) Thai Happiness Indicators 15 3) Moving with Awareness Meditation program by Luangphu Thian which were verified the content validity by three experts and Thai Happiness Indicators 15 used Cronbach’s Alpha coefficient reliability formula for reliability value was .70 Data were analyzed by using descriptive statistics and paired t-test. The study revealed that after implementing the Moving with Awareness Meditation program by Luangphu Thian, the scores of happiness after practice higher than before practice with statistical different significance at p < .05", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเจริญสติโดยการเคลื่อนไหว ต่อความสุขของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลชัยภูมิ จ�านวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเรื่องความสุข 3) โปรแกรมการฝึกเจริญ สติแนวเคลื่อนไหวตามแนวหลวงปู่เทียน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่น แบบสอบถามความสุข ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค อัลฟ่า เท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดย Pair T-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้โปรแกรมการฝึกเจริญสติแนวเคลื่อนไหวตามแนวทางหลวงปู่เทียน ดัชนีความสุข ของพยาบาลวิชาชีพหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)" }
{ "en": "The Objective of this study was to investigate the association between baseline physical fitness level and military static-line parachute injuries in basic airborne trainees of the Special warfare school. A prospective cohort study was conducted among 1,375 military personnel who attended the airborne training program of the Royal Thai Army during 2020. Data about 5 physical fitness tests (2-mile running, 2-minute sit up and push up, pull up, and 100-meter swimming), personal demographics and health histories were collected at baseline, while the occurrence of static-line parachute injuries were observed during five rounds of parachute jump after the ground training. Associations between baseline physical fitness tests and subsequent parachute injury were determined by analyzing Multi-level Poisson Regression and using the Incidence Rate Ratio (IRR) and 95% confidence interval (95%CI) as the risk measure.\nResult showed that the incidence rate of parachute injury was 34.40 per 1,000 jumps (95%CI: 30.16-39.24). Lower level of 2-mile running capacity was significantly related to the injury [Adjusted IRR (95%CI): 1.75 (1.52-2.00)]. Conclusion, Baseline running fitness level associate with military static-line parachute injuries in basic airborne trainees.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพร่างกายกับการบาดเจ็บจากการฝึกกระโดดร่มด้วย สายดึงประจำที่ในผู้เข้ารับการฝึกหลักสูตรส่งทางอากาศของโรงเรียนสงครามพิเศษ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาแบบไปข้างหน้า จากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เข้ารับการฝึกหลักสูตรส่งทางอากาศของโรงเรียนสงครามพิเศษในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 1,375 คน เก็บ ข้อมูลพื้นฐานได้แก่ สมรรถภาพร่างกายทั้ง 5 ท่า (วิ่ง 2 ไมล์ ลุกนั่ง 2 นาที ดันพื้น 2 นาที ดึงข้อ และว่ายน้ำ) ข้อมูลส่วนบุคคล และ ประวัติการเจ็บป่วย จากนั้นเก็บข้อมูลการบาดเจ็บหลังการกระโดดร่มแต่ละครั้งจำนวน 5 รอบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง สมรรถภาพร่างกายแต่ละด้านกับการบาดเจ็บจากการกระโดดร่มด้วยสถิติ Multi-level Poisson Regression นำเสนอโดยใช้ค่า Incidence Rate Ratio (IRR) และช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เป็นตัวชี้วัดความสัมพันธ์\nผลการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์การบาดเจ็บจากการกระโดดร่มคิดเป็น 34.40 ครั้ง/การกระโดดร่ม 1,000 ครั้ง (ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ตั้งแต่ 30.16-39.24) ผู้ที่มีสมรรถภาพท่าวิ่งน้อยสัมพันธ์กับการบาดเจ็บ [Adjusted IRR 95% CI: 1.75 (1.52-2.00)] สรุปผลทดสอบสมรรถนะร่างกายท่าวิ่งสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการกระโดดร่มในผู้เข้ารับการฝึกหลักสูตร ส่งทางอากาศ" }
{ "en": "Prawet, Bangkok, is a semi-urban community that is home to a large number of businesses and middle-aged people. Health literacy is also an important factor for good health. This study was aimed at learning about the relationships and predictive factors of health promotion behaviors in middle-aged people. The study relied on the PRECEDE Model for its conceptual framework. Data were collected by the use of questionnaires on 349 middle-aged persons aging from 40-59 years. The study found that the subjects overall had a moderate level of health promotion behaviors and moderate health literacy (Mean = 107.1, S.D. = 17.6) (Mean = 72.0, S.D. = 18.4). Predisposing factors (personal factors, attitude toward health promotion, and health literacy), enabling factors (exercise equipment in the community, exercise facilities in the community, sources of healthy foods in the community, perception of Prawet’s health promotion policy and perception of the community’s health policy), and reinforcing factors (support from family members, neighbors, public health volunteers and health personnel) were correlated with health promotion behaviors with statistical significance (p < 0.001), while the factors capable of predicting health promotion behaviors consisted of health literacy, health understanding, decision-making skills and self-management skills (predisposing factors); perception of the community’s health policy (enabling factor); and support from public health volunteers (reinforcing factor); they were able to achieve co-prediction by 61.1% (R2 = .611, p<.001) (β = .308, .187, .179, .133 and .106). The findings of this study offer this health promotion recommendations: Activities should be organized to develop health literacy in decision-making and self, while the capabilities of public health volunteers in promoting health literacy should also be promoted, and structured participation in review and specification of community health policies should be encouraged.", "th": "เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนเขตกึ่งเมืองที่มีสถานประกอบการ และมีวัยกลางคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยนำที่สำคัญในการมีสุขภาพที่ดี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัย ทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยกลางคน โดยใช้ PRECEED Model เป็นกรอบแนวคิดของการศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างวัยกลางคน อายุ 40 - 59 ปี จำนวน 349 คน ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมปานกลาง (Mean = 107.1, S.D. = 17.6), (Mean =72.0, S.D. = 18.4) โดยปัจจัยนำ(คุณลักษณะ บุคคล ทัศนคติต่อการส่งเสริมสุขภาพ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ) ปัจจัยเอื้อ (อุปกรณ์ออกกำลังกายในชุมชน สถานที่ออกกำลัง กายในชุมชน แหล่งอาหารเพื่อสุขภาพในชุมชน การรับรู้ถึงนโยบายส่งเสริมสุขภาพเขตประเวศ การรับรู้ถึงนโยบายส่งเสริมสุขภาพ ชุมชน) และปัจจัยเสริม (การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว เพื่อนบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สุขภาพ) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความเข้าใจทางสุขภาพ ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการจัดการตนเอง (ปัจจัยนำ) การรับรู้ถึง นโยบายสุขภาพชุมชน (ปัจจัยเอื้อ) และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากอาสาสมัครสาธารณสุข (ปัจจัยเสริม) ร่วมกันทำนาย ได้ร้อยละ 61.1 (R2 = .611, p<.001) (β = .308, .187, .179, .133 และ .106) ผลการศึกษานี้ มีข้อเสนอแนะด้านการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ โดยพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้วยการพัฒนา ความเข้าใจ ทักษะการตัดสินใจ และทักษะจัดการตนเอง รวมถึงส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ และสนับสนุนการร่วมกันกำหนดนโยบายสุขภาพชุมชนให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of an educative supportive program based on the Orem theory on the nutrition self-care behavior and nutritional status among colorectal cancer patients receiving chemotherapy. The samples consisted of 60colorectal cancer patients receiving chemotherapy and were recruited based on an inclusion criteria including a control group and an experimental group. Data collection tools included 1) Personal demographic questionnaire 2) Self-care behavior assessment for cancer patients receiving chemotherapy (the result of test-retest = .97) and 3) Nutrition assessment (Cronbach’s alpha coefficient = .98). Data were analyzed using descriptive statistics, chi-squared test, Friedman test, the Mann-Whitney U test and the Wilcoxon signed rank test. The findings indicated that after participating in the educative and supportive program, the nutrition self-care behavior mean score of the experimental group had statistically higher mean score of nutrition self-care behavior than that of the control group (p<.001), with their score peaking on the fourteenth and twenty-eight day. However, the nutritional status, hemoglobin, and hematocrit were of the two group not statistically significant different.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้านโภชนาการ และภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีของ โอ เร็ม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด จำนวน 60 ราย คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่ง เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบ ประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีการทดสอบซ้ำเท่ากับ .97 3) แบบประเมินภาวะทุพโภชนาการ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาค เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณา สถิติไคว์สแควร์ สถิติฟรีดแมน สถิติ แมน-วิทนีย์ ยู และสถิติวิลคอกซัน ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม การดูแลตนเองด้านโภชนาการในวันที่ 14 และวันที่ 28 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) แต่ภาวะโภชนาการ ค่าฮีโมโกลบิน และฮีมาโตคริต ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน" }
{ "en": "This study is an experimental research. Aims to 1) Comparison of the data using video to the knowledge and practice of patients for patient preparation before receiving anesthesia in both 2) Satisfaction Study of the video. The conceptual framework of the theory of learning bloom (bloom, 1956) among patients who had been planning an operation of 50 divided into a control group and the experimental group, 25 in each group. A simple random sample was selected according to the list of surgical schedules. The instrument used in this study were 1) collecting data, 2) evaluate the knowledge and practice of patients receiving anesthesia in both 3) satisfaction of patients on videotape. Which were reviewed by a panel of experts and by the reliability coefficient alpha Cronbach (Cronbach’s alpha coefficient) was 0.85 by analysis of frequency distributions percent. The mean and standard deviation.\nThe results showed that 1) the level of knowledge and practice of patients receiving data normally at a good level ( = 13.60 SD = 1.4) the knowledge and behavior of patients participating in programs provided by the media VI. video of the trial at a good level ( = 13.76 SD = 1.2). 2) the level of knowledge and practice of patients who participate in the program by using the media to videotape the experimental group did not differ from the control group (t = 0.15, p = 0.685). 3) the satisfaction of patients, the media video to prepare patients prior to anesthesia medication either. The level of satisfaction is very high. This research shows. The information provided by the media, video on knowledge and practice of patient’s preparation before the patients received anesthesia in the body. No difference was statistically significant. However, the information provided by the media that patient satisfaction and still the roles of nurse anesthetists.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวิดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติ ตัวในผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว และศึกษาความพึงพอใจต่อโปรแกรมการให้ข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผนเข้ารับการผ่าตัดจำนวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 ราย คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายตามรายชื่อตารางนัดการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยก่อนการได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วย chi-square test ทดสอบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และการปฏิบัติตัวด้วยสถิติ Independent samples t-test\nผลการวิจัย พบว่า โปรแกรมการให้ข้อมูลใช้สื่อวิดิทัศน์ส่งผลให้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีระดับความรู้ และการปฏิบัติตัวก่อนการผ่าตัดอยู่ในระดับดี ( = 13.60 SD = 1.4, = 13.76 SD = 1.2 ตามลำดับ) ไม่มีความแตกต่างอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (t = 0.15, P = 0.685) และระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยอยู่ในระดับพึงพอใจสูงมาก การวิจัยครั้งนี้แสดง ให้เห็นว่า การให้ข้อมูลในการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดแบบได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของ ผู้ป่วยก่อนการได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวทำให้ผู้ป่วยพึงพอใจ และเป็นบทบาทที่สำคัญของวิสัญญีพยาบาลในการดูแล ผู้ป่วยเพื่อคุณภาพการรับบริการก่อนการผ่าตัด และจะส่งผลต่อที่ดีต่อผู้ป่วยทั้งระหว่างและหลังการผ่าตัด" }
{ "en": "This study aims to compare knowledge, attitude, and practice of COVID-19 prevention in working-age population with different gender, education level, and occupation; and relationship among age, monthly income to knowledge, attitude, and practice of COVID-19 at Muak Lek sub-district, Muak Lek district, Saraburi Province. 305 samples were select by using simple random sampling with equal proportion. Research tools were demographic questionnaire and knowledge, attitude, and practice of COVID-19 prevention questionnaire. Content validity was performed using IOC. Reliability were tested using KR-20 and Cronbach’s Alpha Coefficient yield results of 0.88, 0.82 and 0.94, respectively. Descriptive data analysis was done utilizing Independent t-test,One-way ANOVA, and Pearson’ Product Moment Correlation.\nResults demonstrated different gender and education level do not affect knowledge, attitude, and practice of the samples. COVID-19 prevention behavior differs in different occupations. Age has positive relationship with knowledge and attitude of COVID-19 prevention. Monthly income has positive relationship with attitude and the practice. The results can be a guideline for healthcare providers to develop COVID-19 prevention program for working-age population in different occupations with young age and low income for enhancing COVID-19 pandemic prevention in the future.", "th": "การศึกษาครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ของประชากรวัยทำงานที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน และความสัมพันธ์ระหว่างอายุและรายได้ต่อเดือน กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการ ป้องกันโควิด-19 ในตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง 305 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายและแบ่ง สัดส่วนเท่ากัน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ได้ผ่านการตรวจ สอบความตรงโดยใช้ IOC และความเที่ยงโดยใช้ KR-20 ได้เท่ากับ 0.88 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบถาม ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ได้เท่ากับ 0.82 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การทดสอบค่า ทีแบบอิสระ ความแปรปรวนแบบทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน\nผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกัน โควิด-19 ไม่แตกต่างกัน อาชีพต่างกันมีพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 แตกต่างกัน อายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้และ ทัศนคติการป้องกันโควิด-19 รายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ผลการวิจัยนี้ ใช้เป็นแนวทางให้บุคลากรสุขภาพพัฒนาโปรแกรมการป้องกันโควิด-19 ในประชากรวัยทำงานที่มีอายุ อาชีพ และรายได้ ต่อเดือนน้อย เพื่อลดการแพร่ระบาดโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต" }
{ "en": "Smoking is major health problems, there are many operations to reduce the number of smokers. However, the new smokers are still increasing, especially adolescents. The adolescents are age range that if they are addicted to smoking, it will create long-term health problems. The preventions for smoking in adolescents are approaches that change behaviors to become smokers of adolescents. There are important conditions that affect the prevention smoking in adolescents such as; knowledge, behavior in smoking prevention, smoking of close people, and smoking refusal self-efficacy. Therefore, the guidelines to build smoking preventions in adolescents should be integrated these important conditions and social media should be used as an important channel for building adolescents’ smoking prevention activities.", "th": "การสูบบุหรี่เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ ได้มีการดำเนินงานเพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลง แต่อย่างไรก็ตามผู้สูบบุหรี่ หน้าใหม่กลับเพิ่มจำนวนขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มช่วงวัยที่หากติดบุหรี่แล้วก็จะเป็นการสร้างปัญหาด้านสุขภาพในระยะยาว แนวทางการป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่นำไปสู่การสูบบุหรี่ โดยมีเงื่อนไขสำคัญในการป้องกัน การสูบบุหรี่ของวัยรุ่นได้แก่ ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ของผู้ใกล้ชิด และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการป้องกันการสูบบุหรี่ ดังนั้นแนวทางสร้างการป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นควรจะต้องบูรณาการเงื่อนไขสำคัญเหล่านี้ และการ ใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางสำคัญในการสร้างกิจกรรมการป้องกัน จึงจะสามารถสร้างการป้องกันการสูบบุหรี่ได้อย่างมี ประสิทธิผลกับกลุ่มวัยรุ่น" }
{ "en": "Older adults’ health promotion behaviors are most important challenge concern for many societies. The studying purpose was to investigate health promotion activities of older adults by using community-based participation. The Ottawa Charter for health promotion was used as a studying framework. Sixty-six older adults from communities in central Thailand were randomly allocated to the study. The 13-item questionnaire was administered to assess demographic data. Open-ended questions were used to assess the opinion of participants about the situations and participating in health promotion. Data from participation observations and focus groups were analyzed using the content analysis.\nThe findings were organized by three main themes in enhaceing health promotion activiies, namely pursuing comprehensive planning, promoting community engagement and prioritizing the older adults’ needs. Thease activities were performed through health constitution, promoting built environment modification, enhancing personal skills, and reorientation of health services by responding the needs of older adults are the main success of health promotion. The community empowerment by fostering the community ownership, social support and participation are essential requirements for sustainable health promotion behavior change. This studying had unexpected benefits, including more integrated community engagement, increased knowledge, greater awareness and understanding of the importance of health promotion participation among older adults. Findings provide data-based for community nurses to develop interventions to improve community participation in changing health-promoting behaviors.", "th": "พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุเป็นประเด็นท้าทายที่สำคัญในสังคม วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อค้นหาการเสริม สร้างกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นฐาน โดยประยุกต์การส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา เป็นกรอบแนวคิด มีผู้สูงอายุ 66 คนจากชุมชนภาคกลางของประเทศไทยถูกสุ่มเข้าร่วมวิจัย ข้อมูลทั่วไปประเมินจากคำถาม 13 ข้อ ใช้คำถามปลายเปิดประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์และการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ข้อมูลจากการสังเกตอย่างมี ส่วนร่วมและสนทนากลุ่มถูกวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา\nผลการวิจัยพบ 3 ประเด็นหลักในการเสริมสร้างกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ ติดตามวางแผนอย่างครอบคลุม ส่งเสริม การมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดลำดับความต้องการของผู้สูงอายุ โดยมีการดำเนินการผ่านธรรมนูญสุขภาพ การส่งเสริมการ ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างทักษะส่วนบุคคล และการปรับระบบบริการสุขภาพตามความต้องการของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้ส่งเสริมสุขภาพสำเร็จ ส่วนการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนโดยสนับสนุนความเป็นเจ้าของ การสนับสนุนทางสังคม และการ มีส่วนร่วมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน การวิจัยช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างบูรณาการในชุมชน ผู้สูงอายุมีความรู้ ตะหนัก เข้าใจความสำคัญของการมีส่วน ร่วมในการส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น ผลการวิจัยเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลชุมชนในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วน ร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ" }
{ "en": "This was a quasi-experimental study. The objective was to compare the grip strength of older persons after doing hand muscle exercise using a soft ball, play dough and a sponge in Nakhon Phanom Province from September to November 2020. A total of 63 elder persons were selected by a purposive sampling method. The inclusion criteria were as follows. The male elderly must have the grip strength of < 0.44 kg / weight, and the female elderly must have the grip strength of < .32 kg / weight. The older persons were divided into three groups: the group using a soft ball, the group using play dough and the group using a spongeThe older persons had to do these interventions for 4 weeks. The grip strength before and after exercise was measured by a hand grip dynamometer. the differences of the grip strength before and after exercise within the group and between the group were compared by paired t-test and Anova, respectively.\nThe results of the research showed that the mean grip strength of both hands of the elderly after exercising using a soft ball, paly dough and a sponge was increased with statistical significance, except for the mean right-handed grip strength that used play dough, which found no difference. Also, when comparing the grip strength of both hands among the groups using a soft ball, play dough and a sponge, it was found that there were no differences. It can be concluded that all three types of exercise can help increase the grip strength, but it is needed to be done regularly. It can be an alternative to recover the grip strength in other older persons.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับแรงบีบมือของผู้สูงอายุหลังการบริหาร กล้ามเนื้อโดยใช้ลูกบอลนุ่ม แป้งโดว์ และฟองน้ำในเขตจังหวัดนครพนม ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 63 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุแบบเฉพาะเจาะจง โดยผู้สูงอายุชายต้องมีค่าแรงบีบมือ < 0.44 kg/น้ำหนักและผู้สูงอายุ หญิงต้อง < 0.32kg/น้ำหนัก แบ่งเป็นสามกลุ่ม กลุ่มละ 21 คน ได้แก่ กลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยการบีบลูกบอลนุ่ม กลุ่มบีบนวดแป้ง โดว์ และกลุ่มบีบฟองน้ำแต่ละกลุ่มใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้งครั้งละ30 นาที่ ซึ่งวัดแรงบีบมือก่อนและหลังออก กำลังกายโดยเครื่องวัดแรงบีบมือเปรียบเทียบความความแตกต่างก่อนและหลังภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติทดสอบPaired t-test และ Anova ตามลำดับ\nผลการวิจัย พบว่า แรงบีบมือทั้งสองข้างของผู้สูงอายุหลังการบริหารกล้ามเนื้อมือทั้ง 2 ข้างโดยใช้ลูกบอลนุ่ม แป้งโดว์ และฟองน้ำมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติ ยกเว้นค่าเฉลี่ยแรงบีบมือขวาที่ใช้แป้งโดว์ พบว่าไม่แตกต่างกัน และเมื่อ เปรียบเทียบแรงบีบมือทั้งสองข้างระหว่างกลุ่มที่ใช้ลูกบอลนุ่ม แป้งโดว์ และฟองน้ำพบว่าไม่แตกต่างกัน สรุปและข้อเสนอแนะ การออกกำลังกายทั้งสามชนิดสามารถช่วยเพิ่มแรงบีบมือได้แต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และสามารถ เป็นทางเลือกในการดูแลฟื้นฟูแรงบีบมือในผู้สูงอายุอื่น ๆได้" }
{ "en": "This quasi-experimental research. The aim was to investigate the impact of the village health volunteers learning development program on knowledge and skills in the use of basic drugs. Select a Purposive Sampling. The village health volunteers total 60 subjects were a control group of 30 subjects and an experimental group of 30 subjects. Sam Khok sub-district Pathum Thani Province Tools was used as a program to develop the learning potential of village health volunteers in knowledge and skills in basic drug use Knowledge and Skills Assessment Form for Basic Drug Use General Data Analysis with Percentage Statistics Mean and Standard Deviation Statistics Paired t-test.\nThe results of this study showed that the effect of village health volunteers learning potential development program on knowledge and skills in basic drug use The experimental group had higher knowledge and practical skills than before receiving the village health volunteers learning potential development program on basic drug use knowledge and skills and was statistically significantly higher than the control group. (p<.05)", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อความรู้และทักษะในการใช้ยาเบื้องต้น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน และกลุ่มทดลอง 30 คน ในชุมชนอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้เป็นโปรแกรม การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทักษะในการใช้ยาเบื้องต้น แบบวัดความรู้ และแบบวัดทักษะการใช้ยาเบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired t-test และ T-test independent\nผลการวิจัย พบว่าผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้ และทักษะในการใช้ยาเบื้องต้นพบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้และทักษะการปฏิบัติสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทักษะในการใช้ยาเบื้องต้นและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ(p<.05)" }
{ "en": "Nursing education leaders must be aware and creatively cope with the situation of the coronavirus disease 2019 epidemic, enabling leaders to learn and create a new paradigm in nursing education management in line with the new normal social era. When nursing education organizations face rapid changes, the role of a leader is challenging, complex, and extremely important. The design thinking process for leadership development will give nursing education administrators a new perspective on effective and effective management in order to maintain the quality of nursing education. Therefore, nursing education leaders must adopt a new educational management paradigm to cope with other emergencies that may arise in the future by developing leadership in emergency management, profession, and academy for the management of nursing education to be continued and appropriate in accordance with the situation through the design thinking process and main strategies to promote leadership development", "th": "ผู้นำทางการศึกษาพยาบาลจะต้องตระหนักรู้และรับมืออย่างสร้างสรรค์เพื่อเผชิญกับสถานการณ์จากการแพร่ระบาดของ ไวรัสโคโรน่า2019 ทำให้ผู้นำเกิดการเรียนรู้และเกิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการศึกษาพยาบาลให้สอดคล้องกับยุคสังคม ปกติวิถีใหม่ เมื่อองค์กรการศึกษาพยาบาลต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บทบาทของผู้นำจึงมีความท้าทายซับซ้อน และมีความสำคัญอย่างยิ่ง กระบวนการคิดเชิงออกแบบการพัฒนาภาวะผู้นำจทำให้ผู้บริหารการศึกษาพยาบาลเกิดมุมมองใหม่ใน การบริหารงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันคงไว้ซึ่งคุณภาพการจัดการศึกษาพยาบาล ดังนั้นผู้นำทางการศึกษาพยาบาลจะต้องปรับกระบวนทัศน์การจัดการศึกษาแนวใหม่เพื่อรองรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยการพัฒนาให้เกิดภาวะผู้นำทางการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ภาวะผู้นำทางวิชาชีพและภาวะผู้นำทางวิชาการ เพื่อให้การจัดการศึกษา พยาบาลดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยอาศัยกระบวนการคิดเชิงออกแบบและกลยุทธ์ หลักในการส่งเสริมพัฒนาภาวะผู้นำ" }
{ "en": "The objective of this quasi-experimental research design was to investigate the effectiveness of using the estimated fetal weight measuring tape innovation with the nutrition promotion program on weight gain during pregnancy and birth weight of pregnant women with low pre-pregnancy body mass index. The samples were 60 pregnant women with low pre-pregnancy body mass index. They were divided equally into the experimental group and the control group: 30 people in each group. The instruments consisted of 1) the estimated fetal weight measuring tape innovation, 2) the nutrition promotion program for pregnant women with low pre-pregnancy body mass index, 3) the general information questionnaire and the pregnancy, childbirth and postpartum data record form; and 4) the food consumption behavior assessment. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, paired sample t-test and independent t-test.\nThe results showed that after the experiment, the mean food consumption behavior of the experimental group was higher than that of the control group with statistical significance at the .05 level (t = 12.68, p = 0.000). The mean weight gain during pregnancy and the mean birth weight of the experimental group were higher than those of the control group with statistical significance at the .05 level (t = 3.124 and t = 3.145). According to the findings, it is suggested that the antenatal care units and relevant agencies should be encouraged to use the estimated fetal weight measuring tape innovation with the nutrition promotion program in providing care for pregnant women with low BMI in order to weight gain during pregnancy and enable babies to have standardized birth weight.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมสายวัดคาดคะเนน้ำหนัก ทารกในครรภ์ร่วมกับโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์และน้ำหนักทารกแรกเกิดของสตรีตั้งครรภ์ ที่มีดัชนีมวลกายต่กกว่าเกณฑ์มาตรฐานก่อนตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานก่อนตั้ง ครรภ์ จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) นวัตกรรม สายวัดคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ 2) โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายต่ำ3) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูลการตั้งครรภ์การคลอดและหลังคลอด และ4) แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample t-test และ Independent t-test\nผลการศึกษาพบว่า หลังทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 12.68, p = 0.000) และมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์และค่าเฉลี่ยน้ำหนักทารกแรกเกิด มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.124 และ t = 3.145) ตามลำดับ การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรสนับสนุนให้หน่วยฝากครรภ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำนวัตกรรมสายวัดคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ร่วมกับโปรแกรม ส่งเสริมโภชนาการ มาใช้ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายต่ำเพื่อให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์และน้ำหนักทารกแรก เกิดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน" }
{ "en": "This research was a quasi-experimental design with pretest-posttest control groups. The objectives were to study the effect of enhancing perceived self-efficiency for behavior in prevention of complications of type 2 diabetic patients. The sample group comprised of 60 diabetic patients in a health promoting hospital Bandoo sub-district and in a health promoting hospital nongbua sub-district. The sample were selected by simple random sampling and divided into experimental and control groups with 30 samples in each. The research instruments included the enhancing perceived self-efficiency program, the demographic data form, behavior in prevention of complications of diabetic patients data form with the reliability of .71. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, paired t-test, and independent t-test. The research results revealed that after the experiment, the experimental group had increased posttest behavior in prevention of complications score over their pretest behavior in prevention of complications score, and who were receiving enhancing perceived self-efficiency had higher score on perceived self-efficiency than the group who receiving only routine care with statistical significance .05.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลบ้านดู่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว จำนวน 60 คน คัดเลือกตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะ แห่งตน แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีค่า ความเชื่อมั่น 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ pair t-test และ independent t-test ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย โรคเบาหวาน ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The objectives of this research were to study the student factors, family factors, teaching and learning factors for predicting learning achievement in Community Health Nursing Practicum of Nursing Students at the Private University in Nakhon Ratchasima Province. The samples were 100 fourth year nursing students in academic year 2018 who was met the inclusion criteria for purposive sampling. The research instruments were the factors affecting learning achievement in community health nursing practice of nursing student questionnaires. The index of item objective congruence (IOC) was 0.67-1.00. The reliability of the questionnaire was 0.86. Data were analyzed by mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, and multiple regression analysis.\nThe research findings showed that the factors related to the learning achievement in Community Health Nursing of Nursing Students were the attention of the parents to the students during the practice, self-discipline, age, and motivation for learning achievement. The positive correlation with the students’ academic achievement was statistically significant at the .05 level (r = .253, .257, .263 and .432). The factors predicting for learning achievement in community health nursing practice of nursing students which statistically significant were age, achievement motivation in learning, and the attention of parents to students during the practice. These three factors were predicted the learning achievement of Community Health Nursing Students by up to 24.5 percent (p < .05).", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านผู้เรียน ด้านครอบครัว และด้านการจัดการเรียนการสอน ในการทำนายผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 100 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล ที่มีค่าดัชนี ความสอดคล้องเท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุขั้นตอน\nผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษา พยาบาล ได้แก่ การเอาใจใส่ของผู้ปกครองต่อนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติ ความมีวินัยในตนเอง อายุ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .253, .257, .263 และ .432 ตามลำดับ) และปัจจัยที่สามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน และการเอาใจใส่ของผู้ปกครองต่อนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติ โดย ปัจจัยทั้งสามร่วมกันทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาลได้ถึงร้อยละ 24.5 (p <.05)" }
{ "en": "The purposes of this research and development study were: 1) to develop a clinical nursing practice guideline for the patients under investigation and/or Infected with Coronavirus 2019 (COVID -19) in emergency department and 2) to evaluate the developed clinical nursing practice guideline for the patients under investigation and/or Infected with Coronavirus 2019 (COVID -19) in emergency department at Faculty of Medicine Vajira Hospital, Navamindradhiraj University. The samples were 30 registered nurses who worked with the patients under investigation and/or Infected with Coronavirus 2019 (COVID -19). The research tools were composed of: 1) the developed clinical nursing practice guideline for the patients under investigation and/or Infected with Coronavirus 2019 (COVID -19) in emergency department. 2) focus group questionnaire. 3) in depth interview questionnaire. and 4) feasibility of CNPG questionnaire. The content validity indexes of these tools were 1.00 1.00 1.00 and 1.00.\nThe results are as follows. 1) The developed clinical nursing practice guideline for the patients under investigation and/or Infected with Coronavirus 2019 (COVID -19) in emergency department at faculty of medicine Vajira hospital, Navamindradhiraj university consisted of 5 steps as follows: Step 1 Prevention of COVID-19 Step 2 Triage step 3 Nursing management (Primary Survey) Step 4 Assessment of COVID-19 and Step 5 Outcomes assessment (Re-evaluation) 2) The results of applying found that 2.1) Feasibility of The clinical nursing practice guideline was at a high level (mean 2.83 SD 0.36) 2.2) There was no incidence of registered nurses in emergency department infected with COVID-19. Therefore it can be further used as the CNPG in the emergency department for prevention of COVID-19 infection.", "th": "การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และศึกษาผลการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย เข้าข่ายสงสัย/ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในตึกเวชศาสตร์ฉุกเฉินคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัย นวมินทราธิราชไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติการพยาบาลในตึกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการดำเนินการวิจัย คือ 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัย/ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในตึกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาล มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1.00 1.00 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ\nผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย เข้าข่ายสงสัย/ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในตึกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ขั้นที่ 2 การคัดแยกผู้ป่วย (Triage) ขั้นที่ 3 การจัดการทางพยาบาล (Primary survey) ขั้นที่ 4 การประเมินการติดเชื้อ COVID-19 และขั้นที่ 5 การประเมินผลลัพธ์ (Re-evaluation) ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่าผลการนำ แนวปฏิบัติการพยาบาล ฯ ไปใช้ พบว่า 1) ความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ฯ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.83 ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.36) 2) ไม่พบอุบัติการณ์พยาบาลวิชาชีพประจำตึกเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่ติดเชื้อ COVID-19 จากการปฏิบัติการ พยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล ฯ ดังนั้น แนวปฏิบัติการพยาบาล ฯ ฉบับนี้สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ได้" }
{ "en": "Most of the services in hospitals are nursing services with head nurses directing the work in the unit level and contributing to services delivery of quality to patients. Head nurses plays an important role in implementing the policy for efficiency, effectiveness and supporting for innovation building at nursing units which creating a competitive advantage for the hospital. Therefore, the head nurse seems the one of success factor of the nursing department. Currency, nursing management tends to focus on international quality standards and work situations are becoming more complexity. Head nurses must be self-awareness of developing one’s own potential to be ready for challenging tasks. This article aimed to review the factors related to the performance excellence behavior in 4 dimensions are following; task performance, contextual performance, Adaptive performance and Counterproductive work behavior performance. second, to propose the psychosocial and organizational behavioral factors that support the head nurses to have excellent performance behavior such as personal initiative, work engagement, leadership, innovative behavior, job satisfaction, psychological climate, job description and self-efficacy. The author hopes that this article will encourage head nurses to be aware of developing their own performance excellence behaviors that will be advantages for nursing unit performance in the future.", "th": "การบริการส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลเป็นการบริการทางการพยาบาลโดยมีหัวหน้าหอผู้ป่วยเป็นผู้กำกับงานและร่วมส่งมอบ การบริการที่มีคุณภาพแก่ผู้รับบริการ ทั้งนี้หัวหน้าหอผู้ป่วยมีบทบาทสำคัญในการนำนโยบายมาปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเป็นผู้สนับสนุนนวัตกรรมในหอผู้ป่วยที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับโรงพยาบาลอีกด้ว หัวหน้าหอผู้ป่วย จึงเปรียบเสมือนปัจจัยแห่งความสำเร็จของฝ่ายการพยาบาล ปัจจุบันแนวโน้มการบริหารการพยาบาลมีการมุ่งมาตรฐานคุณภาพ ระดับสากลและสถานการณ์ในงานมีความซับซ้อนมากขึ้น หัวหน้าหอผู้ป่วยต้องตระหนักในการพัฒนาศักยภาพตนเองให้อยู่ในระดับ สูงสุดเสมอ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศใน 4 มิติ ดังนี้ การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่กำหนด การปฏิบัติงานนอกเหนือบทบาทหน้าที่กำหนด การปฏิบัติงานตามการปรับตัวและการลด ผลกระทบในการปฏิบัติงาน และเพื่อเสนอปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมและพฤติกรรมองค์การที่สนับสนุนให้หัวหน้าหอผู้ป่วยมีพฤติกรรม การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ อาทิ พฤติกรรมการริเริ่มด้วยตนเอง ความผูกพันในงาน ภาวะผู้นำพฤติกรรมเชิงนวัตกรรม ความพึงพอใจ ในงาน บรรยากาศด้านจิตใจ การออกแบบงานและการรับรู้ความสามารถของตนเอง ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะมีส่วนกระตุ้น ให้หัวหน้าหอผู้ป่วยได้ตระหนักในการพัฒนาพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศของตนเองอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ของหอผู้ป่วยต่อไป" }
{ "en": "This study is a quasi-experimental design with a posttest-only design with nonequivalent groups that aims to study the effects of a virtual reality learning program on attitudes and confidence in managing patient aggression of the Royal Thai Army nursing students. The virtual reality program simulates a learning situation regarding aggressive patient management. The samples were nursing students of the Royal Thai Army Nursing College. The research instrument used for conducting data included attitude and confidence measurements towards managing patient aggression. The data was analyzed using percentages, means, standard deviation, and independent t-test. The results displayed that the attitude’s mean score in managing patient aggression amongst the group who received the virtual reality program was moderate level ( = 3.67, SD = 0.39) and the mean score of the general learning group was moderate level ( = 3.02, SD = 0.24).The comparison between groups pointed out that the students using the virtual reality learning program obtained a higher attitude score than the general learning group, with statistical significance at level .05. The mean score of confidence in the virtual reality program group was uncertain level ( = 3.63, SD = 0.62) and the mean score of the general learning group was uncertain level ( = 3.16, SD = 0.36). The comparison between groups pointed out that the students using the virtual reality learning program obtained a higher confidence score than the general learning group, with statistical significance at level .05. This study indicated that the virtual reality learning program for managing patient aggression can effectively enhance the students’ attitudes and confidence in aggressive patient management.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบศึกษาสองกลุ่มวัดครั้งเดียว (The posttest only design with nonequivalent groups) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความจริงเสมือนต่อทัศนคติและความเชื่อมั่นในการจัดการผู้ป่วยก้าวร้าว ของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก โดยโปรแกรมความจริงเสมือนเป็นสถานการณ์เกี่ยวกับการเรียนรู้การจัดการผู้ป่วยก้าวร้าว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนพยาบาลกองทัพบก วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดทัศนคติต่อการจัดการผู้ป่วยก้าวร้าว และแบบวัดความเชื่อมั่นในการจัดการกับผู้ป่วยก้าวร้าว วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า คะแนนทัศนคติในการจัดการผู้ป่วยก้าวร้าวของ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมความจริงเสมือนอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.67, SD = 0.39) และกลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้ตามปกติอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 3.02, SD = 0.24) ผลการเปรียบเทียบคะแนนทัศนคติของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมความจริงเสมือนและกลุ่มที่ได้รับ การเรียนรู้ตามปกติ พบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมความจริงเสมือนมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับคะแนนความเชื่อมั่นในการจัดการผู้ป่วยก้าวร้าวของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมความจริงเสมือนอยู่ในระดับ ไม่แน่ใจ ( = 3.63, SD = 0.62) และกลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้ตามปกติค่าคะแนนอยู่ในระดับไม่แน่ใจ ( = 3.16, SD = 0.36) ผลการเปรียบเทียบความเชื่อมั่นในการจัดการผู้ป่วยก้าวร้าวของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมความจริงเสมือนและกลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้ ตามปกติ พบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมความจริงเสมือนมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 จากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมความจริงเสมือนในการจัดการผู้ป่วยก้าวร้าวสามารถเสริมสร้างให้ผู้เรียน มีทัศนคติและความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในการจัดการผู้ป่วยก้าวร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการ พัฒนาและสร้างโปรแกรมความจริงเสมือนเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนพยาบาลต่อไป" }
{ "en": "Tracheobronchial stenosis is a common cause of upper airway obstruction. Airway stenosis can be due to a large variety of benign and malignant causes. Airway stent can provide structural airway support without painful surgery and immediate symptomatic relief of life threatening dyspnea. Anesthetic management of the stenting procedures can be challenging because the obstructed airway must be shared between the anesthesiologist and an endoscopist. The nursing care requires a specific expertise, nurse anesthetist, to provide the proper quality patient care and reduce the risk of developing various complications. The role of the nurse anesthetist starting with visiting and optimizing the patient before anesthesia, preparing the room and equipment that will be used intraoperatively and participating with anesthesiologist during the procedure, including observe and aware of postoperative complications in the recovery room.", "th": "ภาวะหลอดลมตีบเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการเกิดการอุดกั้นทางหายใจส่วนต้น สาเหตุของการตีบแคบของทางหายใจ อาจเกิดจากมะเร็งหรือไม่ได้เกิดจากมะเร็ง อวัยวะเทียมสำหรับขยายทางหายใจ สามารถแก้ไขภาวะหลอดลมตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด และช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยที่คุกคามต่อชีวิตผู้ป่วยได้ทันที การระงับความรู้สึกผู้ป่วยที่มารับการใส่อวัยวะเทียมส�าหรับถ่างขยาย ทางหายใจเป็นเรื่องที่ท้าทายเพราะต้องใช้ทางหายใจร่วมกันระหว่างผู้ให้การระงับความรู้สึกและผู้ทำหัตถการ ลักษณะงานพยาบาล จะต้องอาศัยวิสัญญีพยาบาลที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ แทรกซ้อนต่างๆ บทบาทของวิสัญญีพยาบาลเริ่มตั้งแต่การไปเยี่ยมผู้ป่วย การเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมก่อนการระงับความรู้สึก การเตรียมห้องและอุปกรณ์ที่จะให้การระงับความรู้สึก การร่วมดูแลผู้ป่วยกับวิสัญญีแพทย์ระหว่างการทำหัตถการ ตลอดจน การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น" }
{ "en": "This quasi-experimental research, using a two-group, pretest-posttest design, examined the effects of a life-skill training program on coping strategies for bullied middle school students. The samples were comprised of 62 middle school students that had experienced bullying, randomly assigned to an experimental group of 30 students and a control group of 32. The experimental instruments were 1) Life-skill program 2) data collection tools were 2 parts questionnaire 2.1) The Revised Olweus Bully/Victim Questionnaire and 2.2) coping strategies scale. Descriptive statistics were used to represent participants’ personal information; a dependent t-test was used to compare the mean of coping strategy scores before and after intervention for each group; and an independent t-test was used to compare the mean coping strategy scores between the experimental and control groups.\nThe results of the study were as follow. 1) After participating in the life-skills training program, the mean scores for the coping strategies of the experimental group (M = 102.83, SD = 19.59) was significantly higher than before program participation (M = 80.13, SD = 18.39) at a statistical significance of (t = 7.8 p<.001); and 2) after participating in the life-skills training program, the mean difference in the mean score for the coping strategies between the pretest and posttest in the experimental group (= 22.70, SD = 15.89) was higher than that of the control group receiving routine care ( = -1.65, SD = 18.78), at a statistical significance (t = 5.494, p<.001). These findings suggest that a life-skills training program may effectively increase the coping strategies of bullied middle school students.", "th": "การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตต่อ กลยุทธ์ในการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ถูกรังแก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ถูกรังแก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการรังแกกันของนักเรียน โปรแกรมการฝึกทักษะชีวิต แบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้นที่ถูกรังแกในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติทดสอบค่าทีชนิดที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent t-test) และเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ถูกรังแกก่อนและหลัง ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิต ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติทดสอบค่าทีชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test)\nผลการวิจัยคือ 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ถูกรังแกกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรม การฝึกทักษะชีวิตภายหลังการทดลอง (M = 102.83, SD = 19.59) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M = 80.13, SD = 18.39) อย่างมีนัย ส�าคัญทางสถิติ (t = 7.8, p<.001) 2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ถูกรังแกก่อนและ หลังได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตของกลุ่มทดลอง (= 22.70, SD = 15.89) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (= 1.65, SD = 18.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.494, p<.001) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตสามารถเพิ่มกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้นที่ถูกรังแกได้อย่างมีประสิทธิผล" }
{ "en": "The present study was to develop a psychiatric nursing model in schizophrenia patients with Modified Electroconvulsive Therapy in Srithanya Hospital during February to June 2020. The collecting data tools were personal data, Visual Analogue Scale for anxiety and Visual Analogue Scale for fear. The data retrieved were statistical analyzed including descriptive statistics, chi-square, and mean difference. A psychiatric nursing model in schizophrenia patients with Modified Electroconvulsive Therapy consists of 6 activities, performed 3 times per week, every other day for 2 consecutive weeks, and 20-30 minutes period of each activity. The result revealed that the experimental group (n = 22) had a lower difference in mean fear ( = 5.56) and anxiety ( = 5.38) than before. It was lower than the difference of mean fear ( = 2.46) and anxiety ( = 2.59) of the control group (n = 22). It can be concluded the psychiatric nursing model in schizophrenia patients with Modified Electroconvulsive Therapy can reduce fear and anxiety effectively. It is the guideline for the appropriate treatment and prevention of fear and anxiety in schizophrenic patients who have been treated Modified Electroconvulsive Therapy.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภท ที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ ยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลศรีธัญญา ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2563 ถึง พฤษภาคม 2563 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวลด้วยสายตา และแบบประเมินความกลัวด้วยสายตา วิเคราะห์ด้วย สถิติบรรยาย ไคสแควร์ และผลต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความกลัวและความวิตกกังวล ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการ พยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยาระงับความรู้สึก ประกอบด้วยกิจกรรม 6 ครั้ง ดำเนินการจำนวน 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ วันเว้นวัน ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ ในแต่ละกิจกรรมอยู่ในช่วง 20-30 นาที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง (จำนวน 22 คน) มีผลต่างของค่าเฉลี่ยความกลัว ( = 5.56) และความวิตกกังวล ( = 5.38) ลดลงมากกว่าก่อนการทดลอง และลดลงมากกว่า ผลต่างของค่าเฉลี่ยความกลัว ( = 2.46) และความวิตกกังวล ( = 2.59) ของกลุ่มควบคุม (จำนวน 22 คน) สรุป รูปแบบการ พยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยาระงับความรู้สึกสามารถลดความกลัวและความวิตกกังวลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางการบำบัดและป้องกันความกลัวและความวิตกกังวลในผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าโดย ใช้ยาระงับความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม" }
{ "en": "Heidegger’s Qualitative Phenomenology Interpretation Research aimed to describe the experiences of nurses in caring for COVID-19 patients. The participantswereselected by purposive sampling as professionalnurses with directexperience in caring for 12 COVID-19 patients. The instruments were 1) the personal data record form 2) the semi-structured interview form, created by the researcher and reviewed by 3 experts and taken in a pilot study with 2 qualified informants to determine the appropriateness of the question line and improve the questions before applying to practice, 3) the field record form, 4) the reflection record form, and 5) voice recorder 1 set. Data were collected by in-depth interviews and analyzed byVan Manen’smethod.Trustworthiness was established by followingLincoln and Guba’s criteria.The results showed that Nurses’ life experiences in caring for COVID-19 patients can be divided into 5 main themes as follows: 1)Definitions of COVID-19 2) The management of care for patients withCOVID-19 3) The principles of nursing for COVID-19 4) The impact of caring for COVID-19 patients and 5) Supporting in caring for COVID-19 patients.", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาตีความของHeidegger คร้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด19 ผู้ให้ข้อมูลโดยคัดเลือกแบบเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการดูแล ผู้ป่วยโรคโควิด 19 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และนำไปศึกษานำร่องกับผู้ให้ข้อมูลที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด จำนวน 2 คน เพื่อดูความเหมาะสมของแนวคำถามและนำมาปรับปรุงประเด็นคำถามก่อนนำไปใช ้จริง 3) แบบบันทึกภาคสนาม 4) แบบบันทึกการสะท้อนคิดและ 5) เครื่องบันทึกเสียง จำนวน 1 ชุดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธี ของแวน มาเนน และสร้างความน่าเชื่อถือของงานวิจัยตามแนวทางของลินโคลนและกูบา ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ชีวิตของ พยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด 19 แยกเป็น5 ประเด็นหลักได้แก่ 1) ความหมายของโรคโควิด19  2) การบริหารจัดการในการ ดูแลผู้ป่วยโรคโควิด 19  3) หลักการพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด19  4) ผลกระทบจากการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด 19 และ  5) การสนับสนุน ในการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด 19" }
{ "en": "This research and development study is aimed to 1) develop a Stroke Fast Track Screen¬ing and Referral Model and 2) study the effectiveness of the model for patients who have cerebrovascular disease at Central Chest Institute of Thailand. The purposive sample group in this study included 26 professional nurses with at least 1 year of experience working at the Cardiac Care unit. The 2 research tools were: 1) the Stroke Fast Track Screening and Referral Model, 2) the efficiency assessment form for evaluating the developed model.\nThere were two interested findings. Firstly, the Stroke Fast Track Screening and Referral Model consists of 3 parts: 1.1 signs and symptoms assessment, 1.2 stroke nursing guidelines, and 1.3 fast-track services for acute ischemic stroke patients. Next, 3 points were learned about the effectiveness of the model in implementation. First, after implementation of the model, the knowledge and capability among nurses for screening and referring to the fast track were statistically and significantly higher at the 0.05 level. Secondly, it was found that cerebrovascular patients were referred accurately and rapidly for all treatment procedures, and lastly, nurses showed their abilities to comply with this model appropriately on a very good level.", "th": "การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนารูปแบบการคัดกรองและส่งต่อเข้าช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการคัดกรองและส่งต่อเข้าช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมอง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงาน 1 ปีขึ้นไป หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมหัวใจ สถาบันโรคทรวงอก คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ รูปแบบการคัดกรองและส่งต่อเข้าช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง และแบบประเมินประสิทธิผลของการนำรูปแบบมาใช้\nผลการวิจัยมี 2 ประเด็น 1) รูปแบบการคัดกรองและส่งต่อเข้าช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พัฒนา ขึ้นประกอบ 3 ส่วน ดังนี้ 1.1 แบบคัดกรองผู้ป่วยจากอาการและอาการแสดง 1.2 แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และ1.3 การจัดบริการระบบช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และ 2) ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มี 3 ประเด็น ดังนี้ 2.1 พยาบาลมีความรู้ ความสามารถสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2 ผู้ป่วยได้รับคัดกรองและ ส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลาตามแผนการรักษา และ 2.3 พยาบาลแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของ รูปแบบการคัดกรองและส่งต่อเข้าช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับดีมาก" }
{ "en": "This study was quasi-experimental research with the one-group pretest-posttest design. The proposes were to compare older adults’ cognitive scores before and after receiving the potential development based on the Montessori program. The 45 participants were home-bound older people and without dementia. Simple random sampling with frame and inclusion criteria were used for the recruitment of participants. Instruments were employed to collect data comprised a demographic questionnaire and the Mini-Mental State Examination-Thai 2002 (MMSE-Thai 2002). An experimental instrument was an older adult potential development program based on the Montessori and this program was verified for content validity by three professional experts. The MMSE-Thai 2002 was tested reliability with test-retest in 30 older adults who were the same characteristics with the participants and reported a Pearson’s correlation of .81. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and one-way repeated measures ANOVA.\nThis research findings revealed that the mean of participants’ cognitive scores after receiving the program was significantly higher than before receiving the program (p<.05). The mean cognitive scores of participants before implementing the program were 27 ( = 27, S.D = 2.89). Besides, the mean of participants’ cognitive scores after finishing the program on that day and two months later were 29 ( = 29, S.D = 1.18) and 27 ( = 27.30, S.D = 2.37), respectively. The program can be utilized in daily living activities for older adults to enhance their cognitive function and prevent dementia.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบ เทียบคะแนนพุทธิปัญญาผู้สูงอายุก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุตามหลักปรัชญามอนเตสซอรี่ กลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 45 คน เป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ไม่มีภาวะสมองเสื่อม ได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับฉลากจากกรอบการสุ่มตาม คุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลและแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับ ภาษา ไทย (MMSE-Thai 2002) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุตามหลักปรัชญามอนเตสซอรี่ ตรวจ สอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นทดสอบความเที่ยงแบบวัดซ้ำโดยใช้กับ ผู้สูงอายุ 30 คน ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันมีค่า เท่ากับ .81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียวแบบวัดซ้ำ(One-way Repeated Measures ANOVA)\nผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพุทธิปัญญาของกลุ่มตัวอย่างหลังใช้โปรแกรมฯสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยค่าเฉลี่ยคะแนนพุทธิปัญญาของกลุ่มตัวอย่างก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ เท่ากับ 27 ( = 27.00, S.D = 2.89) และค่าเฉลี่ยคะแนนพุทธิปัญญาของกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯทันที และ 2 เดือน เท่ากับ 29.18 ( = 29.18, S.D = 1.18) และ 27.30 ( = 27.30, S.D = 2.37) ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำโปรแกรมฯไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมสมรรถภาพสมองและป้องกันภาวะสมองเสื่อม" }
{ "en": "This research is a quasi-experimental research aimed to study the effect of social skills training program in developing social skills among preschool children with Autism Spectrum Disorder (ASD). The sample consisted of 13 preschool children with ASD age 2-6 years, who were admitted at Rajanukul Development Promotion Center (Khlong Kum). Purposive sampling method was used to recruit the sample according to inclusion criteria. The children participated in the program for 1.25 hours per day, 5 days a week, for 12 weeks. The program included social stories, snack time, and circle time. Data were collected using demographic questionnaire and Social Skills Assessment for young children with autism. Descriptive statistics and Wilcoxon signed-rank test were used for data analysis.\nThe findings revealed that the preschool children with ASD who received the social skills training program had a total score of social skills deficit and subscores of social skills deficit decreased in 3 areas: self-regulation, social activities, and social communication. When comparing the rank of total score and subscores of social skills deficit before and after receiving the program, the total score of social skills deficit was statistically significant lower after receiving the program (Z = -3.185, p<.05). The results indicated the effectiveness of the social skills training program on enhancing social skills development in preschool children with ASD. Implementing this social skills intervention program in developmental centers, hospitals, and inclusive education is recommended in order to develop social skills in preschool children with ASD.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมในการพัฒนา ทักษะทางสังคมในเด็กปฐมวัยออทิสติก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยออทิสติก อายุ 2 - 6 ปี จำนวน 13 คน ที่เข้ารับบริการเป็น ผู้ป่วยในที่ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการราชานุกูล (คลองกุ่ม) โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้า ผู้เข้าร่วม วิจัยเข้าร่วมโปรแกรมเป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ครั้งๆ ละ 1.25 ชั่วโมง โปรแกรมประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ การเรื่อง ราวทางสังคม กลุ่มอาหารว่าง และกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินทักษะ ทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยออทิสติก วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon signed rank test\nผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยออทิสติกที่ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคม มีคะแนนรวมความบกพร่องทักษะ ทางสังคม และคะแนนความบกพร่องทักษะทางสังคมรายด้านลดลงทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการควบคุมตนเอง ด้านการทำกิจกรรมร่วม กับบุคคลอื่น ด้านการสื่อความหมายร่วมกับบุคคลอื่น และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยลำดับที่ของคะแนนรวมความบกพร่องทักษะทาง สังคม และคะแนนความบกพร่องทักษะทางสังคมรายด้านก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ พบว่า คะแนนความบกพร่องทักษะทาง สังคมมีค่าเฉลี่ยลำดับที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z = -3.185, p<.05) แสดงว่าโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคม สามารถช่วยการพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กปฐมวัยออทิสติกให้ดีขึ้นได้ ควรนำโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมนี้ไปใช้ในเด็กปฐมวัยออทิสติกในศูนย์กระตุ้นพัฒนาการ สถานพยาบาล และ โรงเรียนเรียนร่วม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยออทิสติกต่อไป" }
{ "en": "Media literacy is an essential skill in the 21st century. This skill enhances people to adapt and live happily in a disruptive world. This research aimed to study media literacy skill in the 21st century and its predictive factors among nursing students. The participants comprised 160 nursing students of faculty of nursing, HRH Princess Chulabhorn College of Medical Science, Chulabhorn Royal Academy. Data were collected through online questionnaires with 70 items. Using Descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient and stepwise multiple regressions were employed for data analysis.\nThe results revealed that media literacy skills in the 21st century on practice showed the highest scores (mean = 102.9, SD = 11.05) and the skill on situation were relatively good (mean = 20.09, SD = 3.11). There were 4 influencing factors on the media literacy skills in the 21st century including Performance Expectancy (β = .26) Facilitating Conditions (β = .22), Social Influence (β = .24), and Habituation (β = .19) (p<.05). Stepwise multiple regression analysis revealed that those aforementioned factors could explain 34.2% of variance in media literacy skills in the 21st century on practice (F = 20.139; p-value <.05). This research recommended that teaching and learning management model should encourage students to develop their skills in using information media and technology both in theory and practice by determination of learning outcomes in terms of knowledge, attitudes, and information media skills that increase the level of intensity in each school year.", "th": "ความรอบรู้ด้านสื่อเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เพื่อการดำรงอยู่และปรับตัวในโลกที่มีการพลิกผันแบบรวดเร็ว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสื่อและปัจจัยที่มีอำนาจทำนายความรอบรู้ด้านสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้า จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 160 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 70 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\nผลการศึกษา พบว่านักศึกษาพยาบาลมีความรอบรู้ด้านสื่อในศตวรรษที่ 21 ประเภทการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (mean = 102.9, SD = 11.05) และประเภทสถานการณ์ในระดับมาก (mean = 20.09, SD = 3.11) สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความรอบรู้ด้านสื่อในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ความคาดหวังในประสิทธิภาพ (β = .26) สภาพสิ่งอำนวยความสะดวก (β = .22) อิทธิพลของสังคม (β = .24) และความเคยชิน (β = .19) โดยทั้งสี่ปัจจัย สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของ ความรอบรู้ด้านสื่อในศตวรรษที่ 21 ประเภทการปฏิบัติได้ร้อยละ 34.2 (F = 20.139 ; p-value <.05) ข้อเสนอ จากการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการใช้สื่อสารสนเทศ และเทคโนโลยีทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านความรู้ ทัศนคติ และทักษะการใช้สื่อสารสนเทศ ที่เพิ่มระดับความเข้มข้นในแต่ละชั้นปี" }
{ "en": "Iron deficiency anemia is a major public health problem in children. This problem may affect children on development, behavior and cell. Prevention is important for iron deficiency anemia. This article aims to present Iron deficiency anemia in children and the Department of Health policy on prevention Iron deficiency anemia by presenting the following issues: 1) Policy of the Department of Health to promote iron 2) effects of iron deficiency 3) Guideline for iron supplementation in early childhood to enable public health personnel to encourage children to receive age-appropriate iron, which will result in a healthy development of children.", "th": "ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในเด็ก หากไม่ได้รับการแก้ไขอาจส่งผลกระทบต่อเด็ก ทั้งด้านพัฒนาการสมอง พฤติกรรม รวมทั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ การป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กตั้งแต่ระยะ เริ่มแรกจึงมีความสำคัญมาก บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและนโยบาย ของกรมอนามัยเกี่ยวกับการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ จากหนังสือ บทความ วิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำเสนอตามประเด็นดังต่อไปนี้ 1) นโยบายของกรมอนามัยในการส่งเสริมธาตุเหล็ก 2) ผลก ระทบของการขาดธาตุเหล็ก 3) แนวปฏิบัติในการเสริมธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัย เพื่อให้บุคลากรทางสาธารณสุขได้ส่งเสริมให้เด็กได้ รับธาตุเหล็กตามวัยที่เหมาะสมซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้มีพัฒนาการที่สมวัย" }
{ "en": "This academic article aim to propose the new direction health care in pandemic of Corona virus 2019 in New Normal of Community Nurses. Which is particularly different from the past. There are tremendous changes in these new normal circumstances that have directly affected to healthcare providers including nurse, family caregiver and patients. The need of proper adjustment to cope with the global COVID19 pandemic situation causes of the new direction of health care that community nurses need to require in manipulate with the change from traditional health system to online-based medical service, appropriately performs good self-management and develops more intellectual knowledge in order to promote physical and mental wellbeing, has accessible capability to select various reliable information and its valid sources, and be able to determine and evaluate suitably practical nursing trial and health literacy. The role of community nurse also gradually shifts from providing care for patients individually to apply telenursing for health consultation and finding medical solution that is consistent with appropriate behaviors of people including thinking, communicating, and practicing in this “New Normal” in both nurses and patients.", "th": "บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอทิศทางการดูแลสุขภาพในยุควิถีใหม่ของพยาบาลชุมชนในการดูแลการ ระบาดของโคโรนาไวรัส(โควิด 19) ที่มีรูปแบบใหม่ แตกต่างจากอดีตที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในยุควิถีใหม่ส่งผลให้ต้องปรับ ตัวทั้งพยาบาล ผู้ดูแล และผู้ป่วย เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ทำให้เกิดทิศทางการดูแลสุขภาพในยุค วิถีใหม่ของพยาบาลในชุมชน ที่มีการปรับเปลี่ยนบริการด้านสุขภาพ ระบบการให้บริการ การรักษาทางการแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ การดูแลตัวเองให้มีสุขภาวะที่ดีเกิดความรอบรู้ที่สามารถนำไปใช้ป้องกันและดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม การเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารและแหล่งความรู้ด้านสุขภาพที่หลากหลาย มีการตัดสินใจลองปฏิบัติและประเมินผลความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) บทบาทพยาบาลในชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไปโดยการนำ Telenursing มาใช้ในการดูแลสุขภาพชุมชนซึ่งเป็นการพยาบาล เพื่อให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาด้านสุขภาพ ที่สอดคล้องกับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New normal) ที่ต้องมีวิธีคิด วิธีสื่อสาร วิธีปฏิบัติและ การจัดการการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ทั้งพยาบาลและผู้ป่วยต่อไป" }
{ "en": "This study aimed to explore the severity of symptoms among patients with pneumonia in the medical ward. The participants were 100 patients who have been diagnosed with pneumonia by the doctor and recruited by using purposive selection technique regarding inclusion criteria. The instrument used for data collection was the pneumonia symptom severity (Marrie et al. 2004). Its content validity was tested by five experts and reported as 1.00. Four registered nurses were assigned to implement this instrument with four patients who had similar characteristics with the study’s participants. Using the intra-class correlation methods, the inter-rater reliability between the evaluators was found as .93. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson product-moment correlation coefficient.\nThe results of the research revealed that patients with pneumonia had low average score of severity of symptoms (M = 9.66, SD = 4.81). The most severe symptom among patients with pneumonia was fatigue (M = 3.19, SD = 1.32), following by dyspnea (M = 2.73, SD = 1.70), sputum (M = 1.59, SD = 1.44) and cough (M = 1.36, SD = 1.17). The lowest average score of severity of symptoms was pleuritic chest pain (M = .49, SD = .75). Five symptoms that had positively significant correlated to severity of symptoms among patients with pneumonia including dyspnea, fatigue, sputum, cough, and pleuritic chest pain (r = .509 - .865, p < .00), respectively.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงของอาการโรคปอดอักเสบในผู้ป่วยอายุรกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย อายุรกรรมที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคปอดอักเสบ จำนวน 100 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความรุนแรงของอาการโรคปอดอักเสบของ Marrie et al. (2004) มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาที่ ได้จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เท่ากับ 1.00 และนำไปให้พยาบาลทดลองใช้ประเมินผู้ป่วยที่คล้ายกับกลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 4 ราย ได้ค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น เท่ากับ .93 วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\nผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยอายุรกรรมโรคปอดอักเสบมีคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของอาการโรคปอดอักเสบอยู่ในระดับน้อย (M = 9.66, SD = 4.81) และส่วนใหญ่มีอาการเหนื่อยล้ามากที่สุด (M = 3.19, SD = 1.32) รองลงมา คือ หายใจลำบาก (M = 2.73, SD = 1.70) เสมหะ (M = 1.59, SD = 1.44) ไอ (M = 1.36, SD = 1.17) และน้อยที่สุด คือ เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ เข้าหรือ ไอ (M = .49, SD = .75) ซึ่งอาการของโรคปอดอักเสบทั้ง 5 อาการ ได้แก่ หายใจลำบาก เหนื่อยล้า เสมหะ ไอ และเจ็บ หน้าอกเวลาหายใจเข้าหรือไอ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรุนแรงของอาการโรคปอดอักเสบในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r = .509 - .865, p < .00)" }
{ "en": "Currently, increasing numbers of patients require treatment by mechanical ventilation with upward trends. Therefore, starting the assessment of the patient’s readiness for weaning from the mechanical ventilation as soon as possible is the most important goal in caring for patients who use ventilators. Prolonged use of a ventilator results in physical, psychological and economic losses. Evaluation of the patient to prepare the breathing muscles and physiological factors including the perception and psychological factors of the patient including anxiety, self-efficacy and perceived severity of illness. This is another factor that is considered important for weaning off a ventilator. Because these factors affect the availability of physiological factors with weaning the ventilator was successful. Nurses’role to prepare readiness and manage factors that led to an unsuccessful weaning from the ventilator.", "th": "ในปัจจุบันผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยใช้เครื่องช่วยหายใจมีจำนวนมากขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การเริ่มประเมินความ พร้อมของผู้ป่วยเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยเร็วที่สุด จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจาก การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจ การประเมินผู้ ป่วยเพื่อเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อการหายใจ และปัจจัยทางสรีรวิทยา รวมถึงปัจจัยด้านการรับรู้และจิตใจของผู้ป่วย ได้แก่ ความวิตกกังวล การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย เป็นอีกปัจจัยที่ถือว่ามีความสำคัญต่อการหย่า เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อความพร้อมของปัจจัยทางสรีรวิทยากับการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้สำเร็จ พยาบาล จึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประเมินเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ป่วย และจัดการกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้หย่าเครื่องช่วยหายใจ ไม่สำเร็จ" }
{ "en": "Traumatic brain injury (TBI) is a global public health issue, causing tremendous healthcare and economic burden. The purpose of this review is to examine the consequences of TBI on individuals’ health across all levels of severity to guide nursing practice and future research. This review looks at the entire continuum of TBI. A total of 24 studies that met the inclusion criteria were included in this review. The results show that TBI had adverse effects on individuals’ physical, cognitive, psychosocial, and behavioral health. This review also found that repetitive TBI, which complicates the consequences and delays the brain healing process, is not adequately addressed. Supportive interventions for persons with TBI to deal with these challenges after TBI is essential. Symptom management, social support, problem-solving skills, healthy lifestyle interventions, and repetitive injury prevention for TBI patients should be top priorities for nursing research, education, and clinical practice.", "th": "การบาดเจ็บที่สมองเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขระดับโลก ที่ก่อให้เกิดภาระด้านสุขภาพและเศรษฐกิจอย่างมหาศาล บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของการบาดเจ็บทางสมอง ต่อสุขภาพด้านต่างๆของบุคคลที่ ได้รับบาดเจ็บทางสมองในทุกระดับความรุนแรงและระยะของการบาดเจ็บ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการดูแล และศึกษาวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มนี้ บทความนี้ได้มาจากการสังเคราะห์งานวิจัยที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเลือกจำนวนทั้งสิ้น 24 งานวิจัย ผลการศึกษาพบว่าการบาดเจ็บที่สมองมีผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย สติปัญญาการรับรู้ จิตสังคม และพฤติกรรมของบุคคลที่ได้รับบาด เจ็บ การศึกษาทบทวนนี้ยังพบว่าการบาดเจ็บที่สมองซ้ำจะทำให้ผลกระทบของการบาดเจ็บที่สมองมีความซับซ้อนมากขึ้นและอาจ ทำให้กระบวนการหายของสมองที่ได้รับบาดเจ็บมีความล่าช้า จึงควรให้ความสำคัญมากขึ้นในการป้องกันการบาดเจ็บที่สมองซ้ำ โปรแกรมหรือกลยุทธิ์ที่สนับสนุนผู้ที่มีการบาดเจ็บที่สมองในการจัดการกับความปัญหาและผลกระทบที่ตามมาเหล่านี้จึงเป็นสิ่ง จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการวิจัยทางการพยาบาล การศึกษา และการปฏิบัติทางคลินิกสำหรับผู้ที่มีการบาดเจ็บที่สมองในอนาคต ควร ให้ความสำคัญกับประเด็นในเรื่องการจัดการอาการ การสนับสนุนทางสังคม ทักษะการแก้ปัญหาที่เหมาะสม การมีวิถีทางสุขภาพที่ ดี และการป้องกันการบาดเจ็บที่สมองซ้ำ" }
{ "en": "The management of private hospital nursing in terms of marketing focus on rapid changes. Ambiguity with up-to-date policies. The complexity of business planning and nursing marketing, this results in fluctuations in the expansion and collapse of health care units or certain jobs, or must use administrative processes that produce better services in many ways that are thought to be better. This feature of the predictable situation is called “VUCA Situations” The head nurse is the first-level executive responsible for implementing the policy or sometimes having to deal with unfamiliar events before presenting problems and solutions to supervisors. Faced with the complexity of managing people and tasks for excellence-oriented results. Complaints and risk management must be actively dealt with in order to achieve the quality and standard of nursing services and to deliver satisfaction to clients with high expectations. These events are all new normal that occur in work that has never been taught in any course before. You have to face and learn by yourself. The real work context is therefore difficult to predict the outcome. This article therefore aims to propose guidelines for developing head nurses in private hospitals with excellent service and management; orientations at work with new normal and personal initiative behaviors.", "th": "การบริหารการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนในด้านการมุ่งการตลาดบนความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความคลุมเครือ กับนโยบายที่ทันต่อเหตุการณ์ ยุ่งยากซับซ้อนในการวางแผนธุรกิจและการตลาดทางการพยาบาล ส่งผลให้เกิดความผันผวนในการ ขยายตัวและยุบตัวลงของหน่วยบริการทางสุขภาพหรือบางตำแหน่งงานหรือต้องใช้กระบวนการบริหารที่ก่อให้เกิดการบริการที่ดี กว่าในหลายลักษณะที่คิดว่าดีกว่าเดิม เรียกคุณลักษณะของสถานการณ์ที่ยากจะคาดคะเนนี้ว่า “สถานการณ์วูก้า (VUCA Situations)” หัวหน้าหอผู้ป่วยเป็นผู้บริหารระดับต้นที่ทำหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติหรือบางครั้งต้องรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคยเฉพาะ หน้าก่อนที่จะนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขต่อผู้บังคับบัญชา ต้องเผชิญกับความยุ่งยากซับซ้อนในการบริหารคนและงานเพื่อ ผลลัพธ์ที่มุ่งความเป็นเลิศ ต้องรับมือกับข้อร้องเรียนและการจัดการความเสี่ยงอย่างกระตือรือร้นเพื่อให้เกิดคุณภาพและมาตรฐาน คุณภาพการบริการทางการพยาบาลและส่งมอบความพึงพอใจต่อลูกค้าที่มีความคาดหวังระดับสูง ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นความ ปรกติใหม่ที่เกิดขึ้นในงานที่ไม่เคยสอนแนะในหลักสูตรใดมาก่อนต้องเผชิญและเรียนรู้เองตามบริบทงานจริงจึงยากจะคาดเดา ซึ่งผลลัพธ์ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชนให้พร้อมกับการบริการ และบริหารงานที่เป็นเลิศด้วย รูปแบบการพัฒนาความพร้อมในงานวิถีใหม่และพฤติกรรมการริเริ่มด้วยตนเอง" }
{ "en": "The purposes of this research were to design experimental activities of looking at Thai words, image and listening to digitized sounds which stimulated emotional valence of the older people and study the emotional, behavioral impression while looking at Thai words Pictures and listen to the digital sound that evokes the impression of being classified by gender and age range. The sample were older people living in Nong Suea district community, Pathumthani Province, 80 people. The instruments used in this research consisted of the activities of looking at Thai words, Picture and listening to digitized sounds which consisted emotional valence, Self-Assessment Manikin (SAM) The data were analyzed by Two-Way ANOVA.\nThe research results were as follows: 1. The activities of looking at Thai words, Picture and listening to digitized sounds consisted of 3 blocks; each block of 10 stimulus which were Everyday life, Nature view and the characteristics of art and culture Thai words Pictures and listen to the digital sounds. 2. The gender differences of the older people had no influence on looking at Thai words, Picture and listening to digitized sounds. 3. The early old age showed Daily life and the characteristics of art and culture more than middle old age with satistically significant at .05 level. It may be concluded that there was emotional valence; satisfied difference while older people with different Age range were looking at Thai words, image and listening to digitized sounds on emotional valence; satisfied. Suggestion This study should be conducted in conjunction with Event Related Potential. This is a deep study of how the brain functions and changes the EEG.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมทดลองมองคำภาษาไทย รูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความ ประทับใจในผู้สูงอายุ และศึกษาอารมณ์ด้านความประทับใจในเชิงพฤติกรรมขณะมองคำภาษาไทย รูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้า อารมณ์ด้านความประทับใจ จำแนกตามเพศและช่วงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนอำเภอหนองเสือ จังหวัด ปทุมธานี จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นกิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทย รูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ ด้านความประทับใจ และมาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (SAM) ด้านความประทับใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Two-Way ANOVA\nผลการวิจัยปรากฏว่า 1. กิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทย รูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจในผู้สูงอายุ ประกอบ ด้วย กิจกรรม 3 ชุด ชุดละ 10 สิ่งเร้า จำแนกตามลักษณะคำภาษาไทย รูปภาพและฟังเสียงดิจิทัล คือ ลักษณะชีวิตประจำวัน ลักษณะ วิวธรรมชาติ และลักษณะศิลปวัฒนธรรม 2. ความแตกต่างระหว่างเพศของผู้สูงอายุไม่มีอิทธิพลต่อการมองคำภาษาไทย รูปภาพ และฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ ด้านความประทับใจในชุดลักษณะชีวิติประจำวัน 3. ผู้สูงอายุที่อยู่ในช่วงอายุวัยต้นมีอารมณ์ด้านความประทับใจในลักษณะชีวิตประจำวัน และศิลปวัฒนธรรมมากกว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ในช่วงอายุวัยกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า ผู้สูงอายุที่มีช่วงอายุต่างกันขณะมองคำภาษาไทย รูปภาพ และฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ มีอารมณ์ด้านความประทับใจแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาควบคู่กับการศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ ซึ่งเป็นการศึกษาลึกลงไปถึงการทำงานและการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมอง" }
{ "en": "The objective of this research and development was to develop a model of nursing manpower management in Inpatient department. The research involved 7 research participants from the nurse administrators and 50 randomly nurses. It was implemented Mahdjoubi (2009) as a research methodology. Quantitative and qualitative data were collected using mixed methods. The instruments used consisted of two parts 1) the research instrument which were manual of nurse’s working hour management and scheduling program 2) the data collection instruments comprising survey form and discussion guidelines, the model results recording form, and the questionnaire as well as the evaluation form of the model which Cronbach’s alpha coefficient were 0.93 and 0.76. All instruments were checked for content validity. The data were analyzed by using descriptive statistics and content analysis.\nThe results showed that the model consisted of policy, nurse’s working hours management manual and scheduling program. Managing consisted of 4 strategies: Standard Nurses’ Working Hours Management, Nursing task review, Nursing skills mix, and Clinical supervision. The results after model implementation showed that the nurses’ opinion to the model were at a high level. Most of the patient safety indicators and nurse working hours improved in all wards. Average of nurse’s working hours reduced from 66.8 to 52.5 hours per week.", "th": "การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชั่วโมงการทำงานของพยาบาลในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ประชากรประกอบด้วย ผู้ร่วมวิจัยเป็นรองหัวหน้าพยาบาล หัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้าหอผู้ป่วยในอายุรกรรม 7 คน กลุ่มประชากร คือ พยาบาลหัวหน้าหอ 5 คน หัวหน้าทีมและระดับปฏิบัติ 141 คน กลุ่มตัวอย่างสุ่มอย่างง่ายเป็นพยาบาล หัวหน้าทีมและระดับปฏิบัติ 50 คน ใช้ระเบียบวิจัยและพัฒนาของ Manhdjoubi (2009) รวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือ รูปแบบ การบริหารจัดการชั่วโมงการทำงานของพยาบาลตามมาตรฐานในหอผู้ป่วยใน คู่มือการบริหารจัดการชั่วโมงการทำงานของ พยาบาล ค่า CVI = 1.0 โปรแกรมการจัดเวร ตรวจสอบคุณภาพโดยโปรแกรมเมอร์ที่ปรึกษา แบบสอบถามสถานการณ์ และความเห็นหลังการใช้รูปแบบ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค = 0.93, 0.76 และ แนวทางสนทนากลุ่ม และแบบรวบรวม ผลลัพธ์หลังการใช้รูปแบบ ค่า IOC ทุกข้อ มากกว่า 0.5 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพโดยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ เนื้อหาเชิงคุณภาพ\nผลการวิจัยและพัฒนาพบว่ารูปแบบการบริหารฯ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) นโยบาย 2) คู่มือการบริหารจัดการ ซึ่งมี 4 กลวิธี คือ การบริหารจัดการชั่วโมงการทำงานของพยาบาลตามมาตรฐาน การทบทวนงานการพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพ การผสมผสานทักษะพยาบาล และการนิเทศทางคลินิก และ 3) โปรแกรมการจัดตารางเวร ความเห็นของพยาบาลต่อรูปแบบ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ตัวชี้วัดหลังการใช้รูปแบบด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยและชั่วโมงการทำงานของพยาบาลส่วนใหญ่ดีขึ้น ชั่วโมงเฉลี่ยการขึ้นเวรของพยาบาลจาก 66.8 เป็น 52.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์" }
{ "en": "This predictive research aims to examine the predictors of organizational effectiveness as perceived by nurses in affiliated hospitals of Kunming Medical University, the People’s Republic of China. The participants included 410 nurses. The research instruments were composed of the Leadership Practices Inventory, the Organizational Culture Profile, and the Organizational Effectiveness Questionnaire. The Cronbach’s alpha coefficients of these instruments were .97, .96, and .94, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and binary logistic regression analysis.\nThe results revealed that nurses perceived organizational effectiveness at a moderate level. Transformational leadership (OR = 1.82, 95% CI = 1.22-2.73), and three components of organizational culture including performance orientation (OR = 4.09, 95% CI = 1.81-9.22), innovation (OR = 2.10, 95% CI = 1.06-4.15), and stability (OR = 2.23, 95% CI = 1.23-4.04) could explain 39.00% of variability in organizational effectiveness (Nagelkerke R2 = .39). The results of this study provide basic information for improving organizational effectiveness by developing head nurse’s transformational leadership and organizational culture.", "th": "การศึกษาเชิงพยากรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายประสิทธิผลขององค์กรตามการรับรู้ของพยาบาล ในโรงพยาบาลเครือมหาวิทยาลัยแพทย์คุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลจำนวน 410 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินการปฏิบัติภาวะผู้นำ แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กร และแบบสอบถามประสิทธิผล ขององค์กรซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .97 .96 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกทวิ\nผลการศึกษาพบว่า พยาบาลมีการรับรู้ประสิทธิผลขององค์กรในระดับปานกลาง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (OR = 1.82, 95% CI = 1.22-2.73) และวัฒนธรรมองค์การสามด้านได้แก่ ด้านมุ่งที่ผลงาน (OR = 4.09, 95% CI = 1.81-9.22) ด้านนวัตกรรม (OR = 2.10, 95% CI = 1.06-4.15) และด้านความมีเสถียรภาพ (OR = 2.23, 95% CI = 1.23-4.04) ร่วมทำนายประสิทธิผล องค์กรได้ร้อยละ 39.00 (Nagelkerke R2 = .39) ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการปรับปรุงประสิทธิผลองค์กร โดยการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย และวัฒนธรรมองค์กร" }
{ "en": "This quasi-experimental research aimed to explore the effects of a self- efficacy program using Tai Chi to prevent elderly fall, on leg muscle strength and balance; among the elderly in flat communities. The sample was 60 of males and females aged 60 - 69 years, randomly selected into the experimental group and the comparison group, 30 per each. The experimental group received the self-efficacy program using Tai Chi. Data collected by using interview questionnaires, testing leg muscle strength, and balance. Data analyzed by using descriptive statistics, Chi-square, and t-test. The result showed the experimental group had significantly higher mean posttest scores for perceived self-efficacy in exercising, exercise outcome expectation, and exercise practices than pretest. Leg muscle strength and balance were better than at pretest with statistical significance at p-value < .01. The mean of different scores of perceived self-efficacy in exercise, exercise outcome expectation, exercise practices, leg muscle strength, and balance were higher than the comparison group with statistical significance at p-value < .01.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถตนเองในการป้องกันการหกล้มด้วย การออกกำลังกายไทชิต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุในชุมชนอาคารสูง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 60 คน สุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถตนเองในการป้องกันการหกล้มด้วยการออกกำลังกายไทชิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และทดสอบการทรงตัว วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคว์สแควร์ และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย การรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกาย ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย การปฏิบัติตัวในการออกกำลังกาย มากกว่าก่อนการทดลอง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความสามารถในการทรงตัวดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และผลต่างของคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกาย ความคาดหวังในผลของ การออกกำลังกาย การปฏิบัติตัวในการออกกำลังกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และความสามารถในการทรงตัว มากกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01" }
{ "en": "This research is a two-group quasi-experimental pretest-posttest design. The objective is to examine the effectiveness of Health literacy Enhancing and Developing Program on Health literacy, Diabetes and Hypertension control behaviors, A1C and Blood Pressure level. The samples consisted of 70 patients with type 2 Diabetes Mellitus and Hypertension and put into experimental and control groups. Each group included 35 persons. Experimental instrument is a Health literacy Enhancing and Developing Program that was examined of content validity by 5 experts. The data were analyzed by using descriptive statistics and t-test. The results revealed that the mean of Health Literacy scores and Diabetes and Hypertension control behaviors scores of the experimental group higher than before enrolling in the program and higher than the control group at p-valve < .01. The mean of A1C, Systolic Blood Pressure (SBP) of the experimental group were lower than the control group at p-valve < .01. and .001 The mean of Diastolic BP levels of the experimental group and control group were not different. Thus, to enhance the Diabetes and Hypertension Control Behaviors by implementing a Health Literacy Enhancing Program for every new DM and HT’s patients.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผล ของโปรมแกรมส่งเสริมและพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูง ค่าน้ำตาลสะสม และระดับความดันโลหิต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวาน ร่วมกับความดันโลหิตสูงจำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ทดลอง คือโปรแกรม การส่งเสริมและพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติที ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการควบคุมภาวะ เบาหวานและความดันโลหิตสูงของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .001 ส่วนค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม การดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยการนำโปรแกรมการโปรมแกรมส่งเสริมและพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ มาใช้ ในผู้ป่วยรายใหม่ทุกราย" }
{ "en": "The aims of this research were to development and to examine the effectiveness of the inhibitory control training program based on NLP (ICT-NLP). The sample consisted of 56 school age children, with the aged 7 - 11 years. They were randomly assigned by using the matched paired into two groups: an experimental and a control group. Each group consisted of 28 students. The research instruments were; 1) the ICT-NLP, which was developed by the researcher and 2) the Go/ No-go task. The experimental group received the ICT-NLP program 2 sessions and the control group joined the regular school activates during the same period. The assessments were done in 2 phases: pretest and posttest. The data were analyzed by a t-test. The results were that; the experimental group had the inhibitory control the posttest higher than the pretest with statistically significant at .05 level, and higher than those in the control group with statistically significant at .05 level.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งด้วย เอ็น แอล พี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา มีอายุระหว่าง 7 - 11 ปี จำนวน 56 คน สุ่มแบบจับคู่คะแนน เป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 คน เครื่องมือวิจัย 1) โปรแกรมเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งด้วยเอ็น แอล พี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 2) แบบ ทดสอบโก/ โน-โก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม ฯ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนปกติ จากโรงเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ก่อนทดลองและหลังทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าที ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มทดลอง มีการควบคุมยับยั้งหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This participation action research aimed to study the family participation in child nutrition promotion in Nongyama of child development center municipality in Roi et province. This model based on the mother’s food guideline that included “clean food”, “good nutrition”, and “made with love”. The study process comprised four steps planning, action, observation, and reflection. Data collection took place from October 2020 to september 2021. The research instrument was a questionnaire and a focus group intereview.\nResult showed that the family participation in child nutrition promotion in Nongyama of child development center municipality in Roi et province included 3 especially 1) polyci of clean and safety food. 2) organized classes for family to educate and practice their children’s nutrition skills. And 3) Providing samples for preschool children’s food as a way to promote. child nutrition. Result a guidelines for children’s nutrition promotion in child development centers.", "th": "การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการส่งเสริมโภชนาการ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหนองหญ้าม้า เทศบาลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้การบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของ เด็กก่อนวัยเรียนตามแนวทางอาหารของแม่ ซึ่งประกอบไปด้วย อาหารสะอาดปลอดภัย โภชนาการดีและทำด้วยความรัก ผู้วิจัยใช้ กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนกลับ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม\nผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการส่งเสริมโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหนองหญ้าม้า เทศบาลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 3 กลวิธี ดังนี้ 1) การกำหนดนโยบายอาหารสะอาดและปลอดภัย 2) การจัดชั้นเรียน สำหรับผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะด้านโภชนาการเด็ก และ 3) การจัดตัวอย่างสำรับอาหารเด็กก่อนวัยเรียนเป็นแนว ทางการส่งเสริมโภชนาการเด็ก ส่งผลให้มีแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการเด็กที่เหมาะสมตามวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก" }
{ "en": "SuanPhueng Distract in Ratchaburi Province has Health System Management in the Border Province of Thailand aligned with the policy of Ministry of Public Health. It is the operation of Health System Management through District Health System: DHS, which is utilized by the pattern of health management, so-called Health Service Management (CUP Management), which is the center of the distribution of health resources. Moreover, the patterns and methods of District Health System have been integrated appropriately, depending on the context and problems of the border between Myanmar and Thailand, which comprises Thai citizens and migrants. Therefore, Health System Management In Border Provinces of Thailand : SuanPhueng Model is the method that truly focuses on the participation of all sections.", "th": "การจัดการระบบสุขภาพชายแดนไทย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นอำเภอที่มีการจัดการระบบสุขภาพตามนโยบาย ของกระทรวงสาธารณสุข คือ การดำเนินงานสุขภาพด้วยระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS) โดยมีรูปแบบ การบริหารจัดการระบบสุขภาพผ่านการใช้รูปแบบของการบริหารจัดการเครือข่ายบริการ (CUP Management) ซึ่งเป็นศูนย์กลาง ของการกระจายทรัพยากรด้านสุขภาพ และการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอนั้นมีการประยุกต์รูปแบบ กลไกการดำเนิน งานต่างๆ ให้เหมาะสมกับบริบท สภาพปัญหาของพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ ซึ่งประกอบด้วยประชาชนทั้งคนไทย และคนต่างด้าว ทั้งนี้ใช้กลไกรูปแบบที่เรียกว่า “สวนผึ้งโมเดล” เป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการทำงานของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง" }
{ "en": "This study aimed to determine prevalence rate and predictors of dual contraceptive protection among female vocational students in Chon Buri province. The samples of 393 fe-male vocational students aged 18-24 years old who were sexually active within last six months. The e-questionnaires were used to collect the data. Descriptive statistics and Binary Logistic Regression were employed for data analysis.\nThe findings indicated that 64.6% of the female vocational students reported they have used the dual contraceptive protection.Predicting factors of dual contraceptive protection were knowledge of dual contraceptive protection (Adjusted Odds Ratio (AOR) = 1.082, 95%CI = 1.003-1.266); perception about risk of sexually transmitted disease and un-wanted pregnancy (AOR = 1.148, 95%CI = 1.003-1.313); perception about benefits of dual con-traception protection (AOR =1.188, 95%CI = 1.005-1.405); communication about dual contra-ceptive protection with partner (AOR = 1.587, 95%CI = 1.275-1.976); and self-efficacy of dual contraceptive protection (AOR = 4.172, 95%CI = 2.728-6.380). However, the attitude towards the dual contraceptive protection (AOR = 0.946, 95%CI = 0.827-1.083) and the contraception partner support (AOR = 0.922, 95%CI = 0.760-1.119) could not predict the dual contraceptive protection. To promote dual contraceptive protection among female youth at risk, it is recommended to provide information related benefits of protection, STIDs risks, and communication skill training.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราชุกของการคุมกำเนิดแบบสองวิธีและปัจจัยทำนาย การคุมกำเนิดแบบสองวิธีของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงอายุ 18-24 ปี ที่ระบุว่ามีเพศสัมพันธ์ใน ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 393 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติกส์\nผลการศึกษาพบว่า นักเรียนอาชีวศึกษาหญิงมีอัตราการใช้การคุมกำเนิดแบบสองวิธีในการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือน ที่ผ่านมาร้อยละ 64.6 และปัจจัยที่สามารถทำนายการคุมกำเนิดแบบสองวิธี ได้แก่ ความรู้ในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (Adjusted Odds Ratio (AOR) = 1.082, 95%CI = 1.003-1.266), การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/การตั้งครรภ์ (AOR = 1.148, 95%CI = 1.003-1.313) และการรับรู้ประโยชน์ของการใช้การคุมกำเนิดแบบสองวิธี (AOR = 1.188, 95%CI = 1.005-1.405), การสื่อสารเกี่ยวกับการคุมกำเนิดแบบสองวิธีกับคู่นอน (AOR = 1.587, 95%CI = 1.275-1.976), และการรับรู้ สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (AOR = 4.172, 95%CI = 2.728-6.380) ในขณะที่ทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบ สองวิธี (AOR = 0.946, 95%CI = 0.827-1.083) และการสนับสนุนจากคู่นอนในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (AOR = 0.922, 95%CI = 0.760-1.119) ไม่สามารถทำนายการคุมกำเนิดแบบสองวิธีได้ การส่งเสริมให้เยาวชนหญิงที่มีความเสี่ยงใช้การคุมกำเนิดแบบสองวิธีควรเน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของการคุม กำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และความเสี่ยงของการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งการพัฒนาทักษะการสื่อสารและการปฏิเสธ" }
{ "en": "The purpose of this survey research was to study factors relating to dengue hemorrhagic fever (DHF) preventive behaviors of people at Bang Krachao Mueang District in Samut Sakhon Province. The sample were 380 people. Questionnaire was used as a research instrument in this study. Data analysis was made to descriptive statistics Pearson’s product Moment Correlation Coefficient and chai-square test.\nThe results showed that the behaviors sample were at the moderate level. The correlation analysis showed that the bio-social factors in the area of age was found significantly related to dengue hemorrhagic fever (DHF) preventive behaviors of the subjects at the .05 level. For internal factors concerning knowledge, Attitude, perceived susceptibility, perceived severity and perceived benefit were also found significantly related to dengue hemorrhagic fever (DHF) preventive behaviors of the subjects at the .05 level. In addition, external factors about receiving recommendations from family members, health professional and receiving information were found significant related to dengue hemorrhagic fever (DHF) preventive behaviors of the subjects at the .05 level.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้ เลือดออกของประชาชนในเขตตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน เครื่อง มือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณนา และค่าสถิติที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์ของตัวแปร คือ ค่าสถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และ Chai-square test\nผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัย ทางชีวสังคม ได้แก่ อายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยภายใน ตัวบุคคล ได้แก่ ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ทัศนคติเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ปัจจัยภายนอกตัวบุคคล ได้แก่ การได้รับคำแนะนำ จากบุคคลในครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกจากสื่อต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The purpose of this survey research was to study factors Related to recurrent stroke prevention behaviors among stroke patients. The sample was 100 people. Questionnaire was used as a research instrument in this study. Data analysis was made to descriptive statistics Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and chai-square test.\nThe results showed that the bio-social factors concerning age was found significantly related to recurrent stroke prevention behaviors among stroke patients at the .05 level. Perceived susceptibility, perceived benefit, perceived barriers, cues to action and perceived self-efficacy were also revealed relating to recurrent stroke preventive behaviors among stroke patients significantly at the .05 level.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการกลับ เป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และค่าสถิติที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์ของตัวแปร คือ ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของ Pearson และ Chai-Square Test\nผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรับรู้ภาวะเสี่ยงการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ประโยชน์การป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้อุปสรรคการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอด เลือดสมอง การรับรู้สิ่งชักนำสู่การป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The purposes of this survey research was to study of relationship between Health Literacy and Dengue Control and Prevention Behaviors of People in Min Buri District Bangkok. The sample were 410 people selected by random sampling. Questionairs was used as research instrument in this study developed by researcher. Data analysis was made for frequency, percentage, mean, maximum-minimum, standard deviation, Chi-square test, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.\nThe results showed that the behaviors sample were at the moderate level. The correlation analysis showed that the personal factors in the area of age and occupation and salary had relationship with the Control and Prevention Behaviors of People in Min Buri District Bangkok statistical significant at the level .05. The study results showed that health literacy include access to health information and health services for the control and prevention of dengue fever, knowledge of Control and Prevention Behaviors communication for Control and Prevention Behaviors, safe self managed dengue fever, decisions about Control and Prevention Behaviors media literacy for Control and Prevention Behaviors had relationship with the Control and Prevention Behaviors of People in Min Buri District Bangkok statistical significant at the level .05.", "th": "การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการควบคุมและป้องกัน โรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 410 คนโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า Chi- Square test และค่าสัมประสิทธิ์สห สัมพันธ์ของ Pearson\nผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับควรปรับปรุง ผลการวิเคราะห์ความ สัมพันธ์พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล อายุ อาชีพและรายได้มีความสัมพันธ์กับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ความรอบรู้ทางสุขภาพได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือด ออก ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก การสื่อสารในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก การจัดการตนเอง ให้มีความปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก การตัดสินใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและ การรู้เท่าทันสื่อในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This research was a cross-sectional research. The objectives of this research were to study the relationship between personal factors, knowledge, attitude and healthy-breakfast consumption behavior of Community Public Health students, Faculty of Science Lampang Rajabhat University. Research sample was 53 Community Public Health students were selected by purposive sampling. Research instrument was the questionnaire that pass validity, quality checked and reliability. Data were analyzed by using descriptive statistics and inferential statistics to find the relationship of the research factors.\nThe results of the study showed that knowledge, attitude and healthy-breakfast consumption behavior of community public health students were at a moderate level. After testing the relation, were found that the height range was positively correlated with the knowledge of healthy-breakfast consumption (r s = .34, p < .05), weight range and body mass index were positively correlated with the attitudes towards healthy-breakfast consumption at low level (rs = .32, r = .34, p < .05), the period of time for having breakfast was negatively correlated with the healthy-breakfast consumption behavior at low level (rs = - .41, p < .05).", "th": "การวิจัยนี้แบบภาคตัดขวาง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ ต่อสุขภาพของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน และปัจจัยด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรม การรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 53 คน วิธีการ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแบบพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน\nผลการวิจัย พบว่า ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ ต่อสุขภาพของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ของนักศึกษา พบว่า ส่วนสูงมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับระดับความรู้ต่อการรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (rs = .34, p < .05) น้ำหนักและดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับระดับทัศนคติต่อการรับประทานอาหารเช้าที่มี ประโยชน์ต่อสุขภาพ (rs = .32, r = .34, p < .05) ช่วงเวลาในการรับประทานอาหารเช้ามีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับต่ำกับ ระดับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (rs = - .41, p < .05)" }
{ "en": "The purposes of this study were to: 1) study growth mindset of adolescent students, 2) develop integrative group counseling program of cognitive behavioral theory and cognitive groups activities, 3) study the results of integrative group counseling program of cognitive behavioral theory and cognitive group activities. The research was divided into two phases.The first phase was studying adolescent students’growth mindset. The sample group was 1,000 Junior High School adolescent students in Bang Khen District through the used of growth mindset test which was developed by the researcher and was analyzed by using norms. In the second phase the development of integrative group counseling program and studying the results of integrative group counseling program of cognitive behavioral theory and cognitive group activities. 20 students whose low scores of growth mindset were randomly assigned into an experimental group and a control group. Each group comprised of 10 students, 12 treatments were given. Each session lasted for 90 minutes, the data were analyzed by using repeated measures ANOVA.\nThe research results were as follows: 1. The results of the adolescent students’ growth mindset when compared to the norms, it was found that the growth mindset of most adolescent students were at the moderate level. There were 221 adolescent students with a high level of growth mindset, representing 22 percents, 553 adolescent students with moderate level of growth mindset, representing 55 percents, and 226 adolescent students with a low level of growth mindset, representing 23 percents. 2. The integrative group counseling program for enhancement of the growth mindset of adolescent students developed from Cognitive Behavioral Theory and group activities consisted of; Goal setting technique, Imagery technique, Automatic thoughts technique, Socratic Question technique, Cognitive technique, Behavior modification technique, Problem solving technique, Pie technique, Homework assignment technique, Behavioral experiment technique, and behavioral stimulation technique. The program was checked for quality, validated by 3 experts and before it was implemented. This integrative group counseling program composed of 3 stages: Initial stage, working stage, and concluding stage. 3. The experimental group had scores of growth mindset for post-test and the follow-up period higher than the control group with statistical significance at the level of .05. 4. The experimental group had scores of growth mindset for post-test and the follow-up period higher than before the experiment with statistical significance at the level of .05.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่น 2) พัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิง บูรณาการทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาร่วมกับกิจกรรมกลุ่มพัฒนาความคิด 3) ศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาร่วมกับกิจกรรมกลุ่มพัฒนาความคิด การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาชุดความคิด เติบโตของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตบางเขน จำนวน 1,000 คน โดยใช้แบบวัดชุด ความคิดเติบโตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและหาเกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบวัด ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่ม เชิงบูรณาการและศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาร่วมกับกิจกรรมกลุ่มพัฒนา ความคิดโดยคัดเลือกนักเรียนที่มีคะแนนชุดความคิดเติบโตอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน ดำเนินการปรึกษากลุ่ม จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที ใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ\nผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการศึกษาชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่น เมื่อเทียบกับเกณฑ์ปกติ พบว่า ชุดความคิดเติบโตของ นักเรียนวัยรุ่นส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยนักเรียนวัยรุ่นมีชุดความคิดเติบโตอยู่ในระดับสูง จำนวน 221 คน คิดเป็น ร้อยละ 22 นักเรียนวัยรุ่นมีชุดความคิดเติบโตอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 553 คน คิดเป็นร้อยละ 55 และนักเรียนวัยรุ่น มีชุดความคิดเติบโตอยู่ในระดับต่ำจำนวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 23 2. โปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่น พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎี การปรับพฤติกรรมทางปัญญาและกิจกรรมกลุ่ม ประกอบด้วย เทคนิคการตั้งเป้าหมาย เทคนิคการจินตนาการ เทคนิคการค้นหา ความคิดอัตโนมัติ เทคนิคการตั้งคำถามแบบโสเครติค เทคนิคการปรับความคิด เทคนิคการปรับพฤติกรรม เทคนิคการแก้ปัญหา พายเทคนิค เทคนิคการมอบหมายงานให้ทำเทคนิคการทดลองการทำพฤติกรรม เทคนิคการกระตุ้นให้กระทำพฤติกรรม โปรแกรม ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยได้ทดลองใช้ก่อนนำไปใช้จริง ขั้นตอนการปรึกษาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป 3. ชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อน การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "Two-group quasi-experimental research with a pretest and a posttest. Objective of this study was to study the effectiveness of Sammathithi development program on stress level among nursing student. 57 third-year nursing students were recruited according to the inclusion criteria and divided into an experimental group (29 students) and control group (28 students). The experimental group received the Sammathithi development program. The data collecting instrument was Suanprung Stress Test-20. The Cronbach’s Alpha Coefficient of the instrument was .91. Repeated measure ANOVA were employed for data analysis. The experimental group’s mean scores of stress level after intervention were decreased significantly (F = 14.24, p<.001). The mean scores of stress level among the experimental group was lower than the control group at 5 weeks and 13 weeks significantly (t = 4.47, p < 0.001 and  t = 4.70, p < 0.0011, respectively). The results revealed that the experimental group receiving the Sammathithi development program could decrease stress level. The program should be applied in order to decrease stress among nursing students. ", "th": "การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดทดสอบก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบ ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาปัญญาสัมมาทิฏฐิต่อระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 57 ราย คัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 29 ราย และกลุ่มควบคุม 28 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาปัญญาสัมมาทิฏฐิ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบวัด ความเครียดสวนปรุง ทดสอบความสอดคล้องภายในโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น .91 วิเคราะห์ เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเครียดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติวิเคราะห์ ความแปรปรวนเมื่อวัดซ้ำ ผลการวิจัยคะแนนเฉลี่ยความเครียดของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (F = 14.245, p< .001) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเครียดของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง 5 สัปดาห์ และ 13 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (t = 4.47, p < 0.001 และ  t = 4.70, p < 0.0011, ตามลำดับ) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาปัญญาสัมมาทิฏฐิมีความเครียด ลดลง จึงควรใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อลดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลต่อไป" }
{ "en": "Hearing loss is a major health problem in hospital personnel, especially those who exposed to noise at work. This study aimed to examine prevalence rate and factors associated with noise-induced hearing loss among at risk workers in Chumphon Khet Udomsakdi Hospital. The study samples included 55 workers who exposed to noise exceed than 85 dB(A). Data collection was performed during June to July 2020. The research instruments were composed of personal and work questionnaire, audiometer, and sound level meter. The study results revealed that the prevalence rate of hearing loss among the samples was 30.9%. The highest hearing loss found in plaster and pharmacy units (100%) followed by laundry unit (55.6%) and lawn mowing (50%), respectively. Age and year of working in the unit had a statistically significant associated with hearing capacity (p-value < .05).", "th": "ภาวะประสาทหูเสื่อมจากการสัมผัสเสียงดังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในบุคลากรในโรงพยาบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม ที่ทำงานสัมผัสกับเสียงดัง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียสมรรถภาพ การได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังในเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กลุ่มตัวอย่างคือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมพร เขตรอุดมศักดิ์ที่สัมผัสเสียงในสิ่งแวดล้อมการทำงานตั้งแต่ 85 เดซิเบล (เอ) ขึ้นไป จำนวน 55 คน รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านบุคคล และการทำงาน เครื่องตรวจสมรรรถภาพการได้ยิน และเครื่องมือตรวจวัดระดับเสียง ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกของ การสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินในเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เท่ากับ ร้อยละ 30.9 โดยหน่วยงาน ที่พบการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินสูงสุด ได้แก่ งานห้องเฝือกและแผนกเภสัชกรรมในสัดส่วนที่เท่ากันคือ ร้อยละ 100 รองลงมา ได้แก่ แผนกซักฟอก (ร้อยละ 55.6) และ งานสนามตัดหญ้า (ร้อยละ 50) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสีย สมรรถภาพการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ได้แก่ อายุ และระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of a self - awareness and behavioral skills development program on self-awareness and repeated pregnancy prevention behaviors of teenage mothers in Phetchaburi Province. The sample were 50 teenage mothers (age less than 20) admitted at the postnatal unit of Phetchaburi Hospital, selected by purposive sampling, and they were divided into the experimental (25) and the comparative (25) groups. The research instruments included: 1) a self-awareness and behavioral skills development program which was developed based on the informational motivation behavior skill model and self - awareness theory, The duration of the program was 8 weeks. The activities comprised: (1) developing self-awareness (2) giving information (3) enhancing motivation and (4) developing behavioral skills; and 2) self - awareness and repeated pregnancy preventive behaviors questionnaires. Content validity indexes (CVI) of the questionnaires were .91 and .93 and the reliability scores were .92 and .92, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and t-test. The result revealed as follows. After attending the program, self - awareness and repeated pregnancy preventive behaviors of the experimental group were significantly higher than before attending the program, and significantly higher than the comparative group (p<.05).", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมพัฒนาความตระหนักรู้ และทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ ซ้ำต่อความตระหนักรู้ในตนเอง และพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่น หลังคลอดบุตรคนแรกอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่มารับบริการที่แผนกหลังคลอดในโรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 25 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมพัฒนาความตระหนักรู้ และทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำโดยประยุกต์ใช้แบบจำลองข้อมูล แรงจูงใจและทักษะทาง พฤติกรรม ร่วมกับทฤษฎีความตระหนักรู้ในตนเอง มีระยะเวลาดำเนินการ 8 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย (1) การสร้างความ ตระหนักรู้ (2) การให้ข้อมูล 3) การสร้างแรงจูงใจ และ (4) การพัฒนาทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ 2) แบบสอบถามได้แก่ แบบสอบถามความตระหนักรู้ในตนเอง และพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .91 และ .93 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า ความตระหนักรู้ในตนเองและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นของกลุ่มทดลองหลัง เข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This was a quasi - experimental research (pre-and post-program tests were administered to the same group of samples) with the objective of comparing the pre-and post-program drug administration competency of registered nurses at a community hospital in Phrae Province in the areas of 1) knowledge; 2) skills; and 3) attitude. The sample population, chosen through purposive sampling, consisted of 50 registered nurses with at least one year of work experiences. The research tool was a program to develop competency in drug administration for registered nurses. An evaluation form to measure the samples’ self-reported levels of knowledge, skill and attitude about drug administration before and after the program. The content validity index of the tool was rated at .92 and the reliability was .70 when measured by Kuder-Richardson Formula 20. Personal data of the samples were analyzed by descriptive statistics and paired t-test. The results showed that the mean post-program scores for competency in drug administration in terms of 1) knowledge; 2) skill; and 3) attitude were higher than the mean pre-program scores to a statistically significant degree (p<.05).The research results should be used for planning the development of professional nursing personnel. In order to enhance drug administration competency to increase.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัดกลุ่มเดียวก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบสมรรถนะ ด้านการบริหารยาของพยาบาลวิชาชีพ 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะ และ 3) ด้านเจตคติ ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ทำงาน 1 ปีขึ้นไป คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารยาของพยาบาลวิชาชีพ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาล วิชาชีพด้านการบริหารยา 3 ด้าน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่าเท่ากับ .92 ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สูตร การคำนวณหาค่า วิธีของคูเดอร์–ริชาร์ดสัน-20 ได้ค่าเท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติวิเคราะห์พรรณนา และใช้ สถิติทดสอบแพร์-ที-เทส ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมของพยาบาลวิชาชีพมีระดับค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะด้านการบริหารยา ทั้ง 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะ และ 3) ด้านเจตคติ สูงขึ้นและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารยาให้เพิ่มมากขึ้น" }
{ "en": "This quasi-experimental control with a pretest-posttest measure to examination aimed the effective of the well-being program on depressive symptoms of schizophrenic patients. The sample is schizophrenic patients, receiving services in the inpatient department at a psychiatric hospital of 66 patients. Randomly assigned to the experimental and control groups, with 33 patients in each group. The experimental group participated in the well-being program, whereas the control group received routine nursing care. The research instruments were: 1) the well-being program, and 2) the Depression Assessment in Schizophrenia Thai version, which was content validated by 3 experts, Content validity index of 1.0, a Cronbach alpha coefficient of .83. The data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The research findings were as follows: 1) The mean score for depressive symptoms among the schizophrenia patients in the experimental group after participating in the well-being program (M = 2.2, SD = 1.40) was significantly lower than that before participating in the program (M = 8.6, SD = 2.60) at a statistical significance (t = 15.579, p< .001). 2) The mean difference score for the depressive symptoms among the schizophrenia patients between the pretest and posttest in the experimental group after participating in the well-being program ( = 6.4, SD = .41) was significantly different from that of the mean difference score for the depressive symptoms in the control group ( = .40, SD = .18) at a statistical significance (t = 13.41, p< .001). The findings of this study that well-being program is able to reduce depression symptoms in patients with schizophrenia. Healthcare providers could use this program as an alternative intervention.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขภาวะ ต่ออาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคจิตเภท กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง จำนวน 66 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขภาวะและกลุ่มควบคุมได้รับ การพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) โปรแกรมสุขภาวะ 2) แบบประเมินอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคจิตเภท ฉบับภาษาไทย ตรวจสอบคุณภาพโดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน มีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI = 1.0) และความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยอาการซึมเศร้าของ ผู้ป่วยโรคจิตเภทในกลุ่มทดลองหลังการทดลอง (M = 2.2, SD = 1.40) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง (M = 8.6, SD = 2.60) อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (t = 15.579, p< .001) 2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคจิตเภทก่อนและหลังการทดลอง ของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสุขภาวะ ( = 6.4, SD = .41) แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (= .40, SD = .18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 13.41, p< .001) ผลการวิจัยนี้ พบว่าโปรแกรมสุขภาวะสามารถลดอาการซึมเศร้า ของผู้ป่วยโรคจิตเภทได้ บุคลากรทางสุขภาพสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้บำบัดอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อลดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วย โรคจิตเภทได้" }
{ "en": "The objective of this Quasi-experimental study research was to investigate effectiveness of a nurse-led educational program toward drowning prevention among preschool children by applying the theory of Health Beliefs Model. The sample consisted of 60 preschool children aged 3-5 years and 60 parents in Child Development Centers, Ubon Ratchathani Province. Sample was selected using purposive sampling. The experimental group received a nurse-led educational program toward drowning prevention among preschool children. Children’s activities were to educate and parent’s activities were building perception related to susceptibility, severity, benefits and barriers of drowning among children for parents. The study period was 4 weeks. The data collection tools were the knowledge interviewing for children which reliability (KR-20) was 0.7 and the questionnaire that inquired parents’ perception of susceptibility, severity, benefits, barriers, and behaviors on child drowning prevention with the Cronbach’s alpha reliability coefficient were 0.7, 0.86, 0.86, 0.89 and 0.85, respectively. Data were collected before and after participating in the program. Data were analyzed by descriptive statistics, pair t-test, and independent t-test. The results of this research indicated that after the experiment, the children in experimental group have higher knowledge score and their parents’ perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers and parent’s drowning preventive behavior were higher than before and higher than the control group with a statistical significance level (p-value <.05).", "th": "การศึกษาแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนโดยพยาบาลในการป้องกันการจมน้ำในเด็กวัยก่อนเรียน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 3 - 5 ปี จำนวน 60 คน และผู้ปกครองจำนวน 60 คน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดอุบลราชธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มทดลองได้ รับโปรแกรมการสอนโดยพยาบาลในการป้องกันการจมน้ำในเด็กวัยก่อนเรียน กิจกรรมเด็กโดยการให้ความรู้ และกิจกรรมผู้ปกครอง โดยการสร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันการจมน้ำในเด็ก เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ความรู้สำหรับเด็กมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.7 และแบบสอบถาม ผู้ปกครองด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง, การรับรู้ความรุนแรง, การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้อุปสรรค และพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำในเด็ก มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซ เท่ากับ 0.7, 0.86, 0.86, 0.89 และ 0.85 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง เด็กวัยก่อนเรียนมีความรู้การป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ผู้ปกครองมีการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำสูงกว่าก่อนการทดลองและมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This research has the objective to study participation and Approach For Smoke Free University of Lampang Rajabhat University. Mixed methodology research, both qualitative research and quantitative research. Population were 7,211 sample size were 364. Using stratified random sampling and purposive sampling. Research tools were Focus group, Participation questionnaire, Performance assessment and Draft guidelines for Development Direction for Smoke Free University of Lampang Rajabhat University. The data were analyzed frequency, percentage, mean, standard deviation, thematic analysis and content analysis. The results of the research revealed that participation in the creation of guidelines overall was high level, Evaluating the effectiveness of the guidelines show overview of all components were appropriate 85.5% and Probability 83.7%. Development Direction for Smoke Free University of Lampang Rajabhat University consist of 10 components : 1) The guidelines have goals and indicators 2 ) Leaders have the ability to develop smoke-free universities 3) Adjust concepts and enhance knowledge for teachers, staff and students 4) Evaluation of activities according to the guidelines University Smoking 5) Applicable laws and penalties 6) Create incentives and empower members 7) Teamwork for development in University 8) Increased participation of developing 9) Encourages, communication and public relations through many channels. 10) Build a strong community and society around the university. Development Direction for Smoke Free University of Lampang Rajabhat University It was a guideline formed by participation in the drafting of university administrators, professors, staff and students. The guidelines can be implemented in the university. And the community surrounding the University.", "th": "การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม และสร้างแนวทางการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร 7,211 คน กลุ่ม ตัวอย่าง 364 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม, แบบสอบถามการมี ส่วนร่วม, แบบประเมินประสิทธิภาพ และร่างแนวทางการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Thematic analysis และ Content Analysis ผลการวิจัย พบว่า มีส่วนร่วมในการสร้างแนวทางการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก, ประสิทธิภาพของทุกองค์ประกอบ มีความเหมาะสมร้อยละ 85.5 และมีความเป็นไปได้ร้อยละ 83.7, แนวทางการพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ มี 10 องค์ประกอบ คือ 1) เป้าหมายชัดวัดผลได้ 2) ผู้นำการพัฒนา 3) ปรับแนวคิดเสริมองค์ความรู้ 4) การประเมินผล 5) การบังคับใช้กฏหมาย 6) แรงจูงใจและการเสริมพลัง 7) การทำงานเป็นทีม 8) การมีส่วนร่วม 9) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ 10) ชุมชนและสังคมรอบมหาวิทยาลัย แนวทางการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เกิดจากการมีส่วนร่วมในการร่างของ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย, อาจารย์, บุคลากร และนักศึกษา แนวทางสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในมหาวิทยาลัย และชุมชนรอบ มหาวิทยาลัย" }
{ "en": "The studies are descriptive study and cross-sectional survey research for study in factors affected to health behavior of elderly and to study the fundamentals beliefs in health, ability to carry out daily life that affect eating behaviors, exercise, to behave in a state of illness, preventing and avoiding risky behaviors of elderly in Ban Yang Subdistrict, Mueang District, Buriram Province. Methods: A cross-sectional survey study was conducted in 180 samples. Data was analyzed by Chi-Square, ANOVA,Scheffe’s method. Results: Overall health behavior of the elderly was at moderate level while diet and self-care management were at high level. Exercise and behavioral risk avoiding were at low and moderate level respectively. There was a statistically significant relationship between health behavior with demographic factor and health believe. There was no significant relationship between health behavior and daily living capabilities. Health believe of the elderly was at high level. Daily living capabilities in two different groups (dependent and non-dependent) had same average score in all four health behavioral dimensions.", "th": "การวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยพื้นฐาน ความเชื่อด้านสุขภาพ ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง 180 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมสุขภาพ ระดับความเชื่อมั่น 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ สถิติไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง พฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและการปฏิบัติตน ในภาวะเจ็บป่วยอยู่ระดับสูง การออกกำลังกายอยู่ระดับต่ำการป้องกันหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ระดับปานกลาง ความสามารถ ในการดำเนินชีวิตประจำวันสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ปัจจัยพื้นฐานกับพฤติกรรมสุขภาพ ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรม สุขภาพมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันกับพฤติกรรมสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กัน ความเชื่อด้านพฤติกรรมสุขภาพอยู่ระดับสูง มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน ส่วนความสามารถในการดำเนินชีวิตในระดับ ต่างๆ มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกัน" }
{ "en": "This descriptive research aimed to study self-care behaviors of hypertension patients and to compare differences between biosocial factors, predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors and self-care behaviors of the patients. The sample was hypertension patients who were diagnosed by physician and who were visited Grok-Khi-Noo Tambon Health Promotion Hospital in Buriram Province. The 225 patients were randomized by using simple random sampling method. The research tool was a questionnaire, which was examined for content validity and analyzed for confidence. Data were analyzed by using statistics, percentage, independent t-test and One-Way Analysis of Variance (ANOVA). From the result of this research, it was found that the patients with hypertension had a good level of the proper self-care behaviors and it was found that the patients with different social reinforcing factors had different self-care behaviors with statistical significant difference (p<.05) while the patients with different biosocial factors, predisposing factors, enabling factors did not make any difference.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านชีวสังคม ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และมารับบริการตรวจรักษา ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกรกขี้หนู จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 225 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัยใช้ แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างด้วย Independent t-test และ One-Way Analysis of Variance (ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับดี และพบว่าผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสริมการได้รับแรงสนับสนุน ทางสังคมที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการดูแลตนเองแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 สำหรับปัจจัยด้านชีวสังคม ปัจจัยนำ และปัจจัยเอื้อพบว่าไม่แตกต่างกัน" }
{ "en": "The objective of this descript study was to examine factors related to Perceived Self-Efficacy in Coping with Labor Pain Among Primiparous Women. Research participants were 128 first-time pregnant women attending ante natal care clinic at Samutprakarn hospital. They were recruited in the study by simple random sampling. Data were collected by using questionnaires of including Personal record form, Childbirth self-efficacy inventory Questionnaire, Attitude towards Childbirth Questionnaire, Labor Social support Questionnaire and Thai Version of Childbirth Self-efficacy Inventory. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson product moment correlation coefficients. The results showed that there was statistically significant positive correlation between education (r = .069, p = .438), status (r = .029, p = .745), length time of labor (r = .074, p = .405), Attitude towards Childbirth (r = .046, p = .604), and Social support at the alpha level .05.", "th": "การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการเผชิญ ความเจ็บครรภ์คลอดของหญิงตั้งครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือหญิงตั้งครรภ์แรกที่มารับบริการ ณ ห้องคลอด โรงพยาบาล สมุทรปราการ จำนวน 128 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามเจตคติต่อการตั้งครรภ์ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมขณะตั้งครรภ์ และแบบสอบถามการรับรู้ความ สามารถของตนเองในการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลได้แก่ สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการคลอด เจตคติต่อการตั้งครรภ์ และการสนับสนุน ทางสังคมขณะตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการเผชิญความเจ็บครรภ์คลอดของ หญิงตั้งครรภ์แรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รระดับ .05 (r = .237p< .05, r = .240, p< .05 r = .223, p< .05 r = .250, p < .05 ตามลำดับ)" }
{ "en": "The purposes of this research were to develop an innovative vibrate for drainage secretion of pediatric patients and study satisfaction and quality assessment of the innovation. A process of an innovative vibrate for drainage secretion of pediatric patients consisted of two parts. The first one was the process of developing an innovative vibrate for drainage secretion of pediatric patients and The second one was study of satisfaction and quality assessment of the innovation among caregivers. Samples were 30 caregivers who had child 2-5 years at Pa Ngae community, Pa Ngae sub-district, Pa Daet district, Chiang Rai Province and welcome to use the innovation. They respond a questionnaire including satisfaction (IOC =0.79 and α = .80) and quality assessment of the innovation (IOC =0.80 and α = .80). Data analysis was descriptive statistics. The results showed 1) innovative vibrate for drainage secretion of pediatric patients and 2)means of satisfaction and of quality assessment of the innovation. The study showed the development of an innovative vibrate for drainage secretion of pediatric patients innovation included instruction and motor and control of vibration system. Means of satisfaction were much more ( = 3.54 - 3.80, SD = 0.50 - 0.70) and means of quality assessment of the innovation were also much more ( = 3.65 - 3.75, SD = 0.60 - 0.70). Therefore, the development of an innovative vibrate for drainage secretion of pediatric patients is appropriate for use. For future study, the development of an innovative vibrate for drainage secretion of pediatric patients should be used with more number of pediatric patients with secretion obstruction and compare with other innovative vibrators to assess the effectiveness.", "th": "การวิจัยเพื่อพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมเครื่องสั่นสะเทือนปอดสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาในการระบาย เสมหะและศึกษาความพึงพอใจและประเมินประคุณภาพนวัตกรรมการดำเนินการ นวัตกรรมเครื่องสั่นสะเทือนปอดสำหรับผู้ป่วย เด็กที่มีปัญหาในการระบายเสมหะ ประกอบด้วย 2 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนานวัตกรรมเครื่องสั่นสะเทือนปอดในการระบายเสมหะ สำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาในการระบายเสมหะ ระยะที่ 2 ศึกษาความพึงพอใจและประเมินคุณภาพนวัตกรรมของผู้ปกครองที่มี ต่อ:เครื่องสั่นสะเทือนปอดในการระบายเสมหะสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาในการระบายเสมหะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้ปกครองที่มี เด็กอายุ 2 - 5 ปี ณ ชุมชนตำบลป่าแงะ อำเภอพาน จ.เชียงราย และทดลองใช้นวัตกรรม จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสอบถามของ ความพึงพอใจ (IOC = 0.79 และ α = .80) และประเมินประคุณภาพนวัตกรรม (IOC = 0.80 และ α = .80) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการดำเนินงานพบว่า 1) นวัตกรรมเครื่องสั่นสะเทือนปอดในการระบายเสมหะสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาใน การระบายเสมหะภายในประกอบด้วย มอเตอร์และวงจรควบคุมการสั่น 2 ฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชันการสั่นสะเทือนแบบต่อเนื่องและ ฟังก์ชันการสั่นสะเทือนแบบสั่นและหยุดเป็นช่วงเวลา พร้อมคู่มือการใช้นวัตกรรม และ 2) ระดับความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.54 - 3.80, SD = 0.50 - 0.70) และระดับการประเมินคุณภาพของนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.65 - 3.75, SD = 0.60 - 0.70) นอกจากนี้แนวทางพัฒนานวัตกรรมต่อไปคือการนำผลการใช้นวัตกรรมเครื่องสั่นสะเทือน ปอดที่มีปัญหาในการระบายเสมหะไปใช้กับเด็กทีมีปัญหาการคั่งค้างของเสมหะในจำนวนที่มากขึ้น และเปรียบเทียบกับการระบาย เสมหะวิธีอื่น  ๆ เพื่อการประเมินนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพต่อไป" }
{ "en": "This study is a predictive correlation aimed to study is to investigate factors influencing Readiness for hospital discharge to home. By using transition theory. The sample total is 75 traumatic patients after extremity surgery, who were admitted at the Phrachomklao, Phetchaburi Hospital. The instruments used for data collection were the personal data questionnaire, the Brief Illness Perception Questionnaire, the Health literacy Questionnaire, and The Brief PREPARED. Statistical analysis using multiple regression. The results, found that Age, Length of stay, Meaning of Illness, and Health literacy predicted readiness for hospital discharge, 51.8 of traumatic patients after extremity surgery showed statistically significant results (R2 = .518, F = 18.829, p < .05). The factor that can predict the readiness for hospital discharge with the highest statistical significance was health literacy (β = .434, p < .001), followed by the meaning of illness (β = -.296, p < .01) and length of stay (β = -.231, p = .01), respectively. The research results can be developed into a nursing program or model. To improve the quality of care for Traumatic patients after extremity surgery. Enabling patients can self-care themselves effectively, lead to well-being.", "th": "การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการจำหน่ายจาก โรงพยาบาล โดยนำทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านเป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอุบัติเหตุภายหลังได้รับการผ่าตัดรยางค์ 75 ราย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วย แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและแบบสอบถามความพร้อมในการจำหน่าย จากโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์ถดถอยพหูคูณ ผลการศึกษาพบว่า อายุ จำนวนวันนอนในโรงพยาบาล การให้ความหมายเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและ ความรอบรู้ด้าน สุขภาพสามารถทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยอุบัติเหตุภายหลังได้รับ การผ่าตัดรยางค์ได้ร้อยละ 51.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .518, F = 18.829, p < .05) โดยปัจจัยที่สามารถทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ได้สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (β = .434, p < .001) รองลงมา คือ การให้ความหมายเกี่ยวกับ ความเจ็บป่วย (β = -.296, p < .01) และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล (β = -.231, p = .01) ตามลำดับ ผลการวิจัยสามารถ นำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมหรือรูปแบบการพยาบาลเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุภายหลังได้รับการผ่าตัดรยางค์ ทำให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างดี มีประสิทธิภาพและนำมาสู่การมีสุขภาวะที่ดี" }
{ "en": "This quasi-experimental research aimed to test effects of the care training program on application skills of caregivers of older adults stroke survivors in communities and clinical outcomes. Samples were sixty caregivers of older adult stroke survivors living in Wiangchai district, Chiangrai.Those samples with purposive sampling were equally divided into an experimental and a control group. The experimental group received 8 weeks care training program, while the control group was not getting any treatment. Application skills and clinical outcomes were measured at 4-weeks after the intervention completion. Research instruments were 1) experimental tools: the care training program included the manual of cerebrovascular disease in older adults and the caring, lesson plan, and VDO. 2) collection tools: demographic data, measure tool for the ability of care, and procedural skills practice. All tools were tested for the validity from five experts; CVI = 1. Additionally, the assessment tool was tested for reliability; KR 20 =.812. Dependent t-test was for the mean difference testing of the application skills score, and number of complications after the experiment between two groups. Furthermore, Chi-square test was for the difference of numbers of samples with each level of pressure sores. Findings: Application skills of the experimental group were significantly higher than control group (p<.001). The Incidence of falls in experimental group was lower than the control group (p<.05). No significant difference of pressure sore between two groups (p <.213). Results of this study could be applied for daily care plan of older adults stroke survivors in communities.", "th": "การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมฝึกการดูแลต่อทักษะการปฏิบัติของผู้ดูแล ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองและผลลัพธ์การดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ในอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จำนวน 60 คน สุ่มแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม ฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมปฏิบัติตามปกติ ประเมินผลหลังเสร็จการทดลองอีก 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือในการทดลอง เป็นโปรแกรมฝึกการดูแล ประกอบด้วย คู่มือเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ และกิจกรรมการดูแล แผนการสอนผู้ดูแล และวิดิทัศน์ เรื่อง การปฏิบัติกิจกรรมการดูแลสำคัญแก่ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินทักษะการปฏิบัติ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความสามารถในการดูแล และแบบวัดความสามารถในการปฏิบัติติกิจกรรมการดูแล เครืองมือทั้งหมดผู้วิจัยสร้างขึ้นและตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่า CVI = 1 และได้ตรวจความเที่ยงของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่า KR 20 = .812 วิเคราะห์คะแนน ทักษะการปฏิบัติและจำนวนครั้งการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการทดลองโดย dependent t-test ส่วนความแตกต่างของจำนวน ผู้มีแผลกดทับในแต่ละระดับวิเคราะห์โดย χ2 test ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนทักษะการปฏิบัติหลังการใช้โปรแกรมฝึกการดูแลของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทาง สถิติ (p<.001) 2. ผลลัพธ์การดูแลพบว่า ภาวะแทรกซ้อนในรอบ 1 เดือน ได้แก่ จำนวนครั้งของการพลัดตกหกล้มในกลุ่มทดลองน้อย กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และจำนวนผู้ที่เกิดแผลกดทับในแต่ละระดับระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม หลังการใช้โปรแกรมฝึกการดูแลไม่แตกต่างกัน (p = .213) ผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการดูแลประจำวันสำหรับผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนได้" }
{ "en": "This research design aim to examine the relationships between nurses’ work characteristics, work environment, work engagement and quality of care in university hospitals. The samples were 427 professional nurses, randomly selected by multi-stage sampling technique. The research instruments were personal factors, work characteristics, work environment, work engagement, and quality of care as perceived by professional nurses questionnaires. Content validity was established by a panel of experts. The Cronbach’s alpha reliability coefficients were 93, .95, .94, and .97, respectively. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient. The major findings were as follows:", "th": "การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ความผูกพันในงาน กับคุณภาพการดูแล ของพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 427 คน จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 3 แห่ง ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณลักษณะของงาน แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมในการทำงาน แบบสอบถามความผูกพัน ในงาน และแบบสอบถามคุณภาพการดูแล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญทางการบริหารการพยาบาล จำนวน 5 คน และหาค่าความเที่ยงโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ .93, .95, .94 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพการดูแล ของพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย อยู่ในระดับดี ( = 4.38) 2. คุณลักษณะของงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน และความผูกพันในงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการดูแล ของพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .748, .744 และ .751 ตามลำดับ)" }
{ "en": "This descriptive research aims 1) to propose a care management model for femoral fracture patients undergone internal fixation surgery and 2) evaluate the appropriateness of such model which is developed. With purposive sampling methods, the samples are divided into 2 groups: the first one for the focus group is 11 members of interdisciplinary staff; Orthopedic surgeon, Physiatrist, Registered nurses, Physical therapist and Nutritionist and 5 caregivers, and the other for evaluation of the appropriateness of the model is 5 experts and 10 Registered nurses. The research instrument consists of questionnaires for the focus groups and evaluation forms of the model. The content validity index ranged from 0.67 to 1.00. The data was analyzed by descriptive statistics and content analysis. The research findings are as follows: firstly, proposing a care management model for femoral fracture patients undergone internal fixation surgery by applying knowledge management according to the SECI model has 4 stages, namely: (1) initial nursing assessment, (2) preoperative preparation, (3) post-operative care for a period of 24 to 72 hours, and (4) rehabilitation and discharge readiness; secondly, the results of the evaluation of the appropriateness of the model made by experts and Registered nurses suggests that the said method was overall 87.42 percent and 94 percent.", "th": "การวิจัยพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะ ยึดตรึงภายใน และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึด ตรึงภายในที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง มี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) สำหรับการสนทนากลุ่ม คือ ทีมสหสาขาวิชาชีพ 11 คน ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด และนักโภชนากร และกลุ่มผู้รับ บริการ 5 คน และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึง ภายใน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และพยาบาลวิชาชีพ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ประเด็นแนวคำถาม การสนทนากลุ่ม และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่ โลหะยึดตรึงภายใน ค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน โดยประยุกต์แนวคิด การจัดการความรู้เซกิ โมเดล มีการสร้าง 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การประเมินสภาพแรกรับ (2) การเตรียมก่อนผ่าตัด (3) การดูแลระยะ หลังผ่าตัด 24-72 ชั่วโมง และ (4) การฟื้นฟูสภาพและการวางแผนจำหน่าย และ 2) ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการการดูแล ผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายในประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและพยาบาลวิชาชีพ พบว่าในภาพรวม มีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 87.42 และร้อยละ 94.00" }
{ "en": "This mixed method research aimed to study the situation and early childhood rearing in the skipped-generation families of caregivers in Chaiyaphum Province. The research was divided into 2 phases. First phase: to study the situation and early childhood rearing in the skipped-generation families of caregivers as the qualitative method used semi-structured and in-depth interviews. The results revealed that: 1) caregiver found child-rearing troubles in 4 issues: (1) expenses (2) health problems (3) quality of time and (4) prevention of infectious diseases, 2) misunderstanding of caregivers about early childhood rearing in (1) knowledge, (2) skill and (3) attitude. Second phase: to study the factors related to child-rearing competence of caregivers as the quantitative method. The results revealed that caregiver’s sex and age related to child-rearing competence of caregivers in knowledge to the statistically significant at the 0.05 level. Caregiver’s Graduation, Monthly Income and health condition related to child-rearing competence of caregivers in knowledge, skill and attitude to the statistically significant at the 0.05 level. The recommendations of the study are recognized the problem of child-rearing competence of caregivers in the skipped-generation families in order to enhancement the early childhood rearing competency for caregivers in New Normal.", "th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลที่มีความสัมพันธ์กับ การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในครอบครัวแหว่งกลางพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ โดยแบ่งการวิจัย เป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในครอบครัวแหว่งกลางของผู้ดูแล เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ จากการทบทวนวรรณกรรม สนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ดูแล พบว่า 1) ผู้ดูแล มีปัญหาในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 4 ด้าน ได้แก่ (1) ค่าใช้จ่าย (2) ปัญหาสุขภาพ (3) การใช้เวลาคุณภาพ และ (4) การป้องกันโรคติดต่อ และ 2) การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยไม่ถูกต้องใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ความรู้ (2) ทักษะ และ (3) ทัศนคติ ระยะที่ 2 ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลที่มีความสัมพันธ์กับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในครอบครัว แหว่งกลางของผู้ดูแลพื้นที่จังหวัดชัยภูมิพบว่า เพศ และอายุของผู้ดูแล มีความสัมพันธ์กับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในด้านความ รู้ที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05 ส่วนระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และภาวะสุขภาพของผู้ดูแล มีความสัมพันธ์กับ การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยทั้ง 3 ด้าน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05 ข้อเสนอแนะ การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในครอบครัวแหว่งกลางของผู้ดูแล ทำให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค เพื่อให้ผู้ดูแล มีการพัฒนาสมรรถนะในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในวิถีชีวิตใหม่ต่อไป" }
{ "en": "This research aims to develop and examine the effectiveness of cognitive training on executive functions (EFs) and working memory among teachers in in Eastern Economic Corridor (EEC). The sample consisted of 60 teachers in EEC. They were randomly assigned by using the matched paired into two groups: an experimental and a control group. Each group consisted of 30 teachers. The research instruments were 1) Behavior Rating Inventory of Executive Function-Adult Version: Thai version (BRIEF-A: Thai version) , 2) Letter Number Sequencing test (LNS), and 3) cognitive training programs for enhancing EFs and working memory (EFWM-TE), which was designed by the researcher based on integrated acceptance and commitment therapy (ACT), neuro-linguistic programming (NLP), focused attention meditation (FAM), and cognitive training. The experimental group received the EFWM-TE 8 sessions (90-minute session) by training in a marathon for 2 days. Meanwhile, the control group received short 12-minute documentary video on how to strengthen the executive functions of the brain and working memory, which was developed by the researcher. The samples were assessed on EFs of the brain and working memory both before and after the experiments. The collected data were analyzed by means and t-score. The research results were found that EEC teachers received EFWM-TE cognitive training showed better performance on EFs and working memory tasks when compared to performance tasks before training and also compared to control group (p < 0.05).", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการรู้คิดเพื่อเพิ่มสมรรถนะหน้าที่บริหารจัดการของสมอง และความจำใช้งาน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 60 คน สุ่มแบบจับคู่คะแนน เป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) มาตรวัดหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับผู้ใหญ่-ฉบับภาษาไทย 2) การ ทดสอบการเรียงลำดับตัวเลข และตัวอักษร และ3) โปรแกรมการฝึกการรู้คิดเพื่อเพิ่มสมรรถนะหน้าที่บริหารจัดการของสมองและ ความจำใช้งานสำหรับครูในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยบูรณาการแนวคิดของการยอมรับและพันธะสัญญา โปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส การฝึกสติแบบเพ่งความสนใจจดจ่อและการฝึกหัดการรู้คิด กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯ จำนวน 8 ครั้ง ๆ ละ 90 นาที แบบมาราธอน จำนวน 2 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคลิปวีดีโอความรู้วิธีการเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของ สมองและความจำใช้งาน ความยาว 12 นาที ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินหน้าที่บริหารจัดการของสมองและ ความจำใช้งานก่อนทดลองและหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ค่าที ผลการวิจัย พบว่า ครูกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการรู้คิดมีหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งาน หลังทดลองดีกว่าก่อนทดลอง และดีกว่าครูกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "Frailty is a common clinical syndrome and associated with declining in older adult that affect the quality of life of older adult and caregivers. Frailty will become more severe if they have other chronic diseases. Therefore, nurses play an important role in prevention, care, and rehabilitation of frailty to improve older adult’s quality of life by home care services. A frailty’s diagnosis consisted of at least three abnormal components out of five components were low grip strength, slow walking speed, low physical activity, unintentional weight loss, and exhaustion. The risk factors of frailty are related to genetic and environmental factors. Recently, the most common instrument for screening frailty is Freid’s phenotype instrument. There are divided the severity of frailty into 2 phases that were pre-frailty and frailty phases. Nurses are the facilitators and supporters of the patients and their families to follow the treatment protocol both pre-frailty and frailty phases.This implementation helps for prevention, caring, and rehabilitation to improve quality of life in older people.", "th": "ภาวะเปราะบางเป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยและมีความสัมพันธ์กับความเสื่อมในผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุและผู้ดูแล ซึ่งอาการของภาวะเปราะบางจะรุนแรงขึ้นหากพบร่วมกับการเกิดโรคเรื้อรัง ดังนั้นพยาบาลมีบทบาทสำคัญ ทั้งในการป้องกัน ดูแล ฟื้นฟูภาวะเปราะบาง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการดูแลที่บ้าน การวินิจฉัยภาวะเปราะบาง ประกอบด้วยอย่างน้อย 3 ด้านจากความผิดปกติทั้งหมด 5 ด้านคือ ความแข็งแรงในการกำมือต่ำเดินช้า กิจกรรมทางกายลดลง น้ำหนักลดลงโดยไม่ตั้งใจ และมีความรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง ปัจจัยเสี่ยงของภาวะเปราะบางมีความเกี่ยวข้องกับทั้งปัจจัยทาง พันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเครื่องมือที่นิยมใช้ในการประเมินภาวะเปราะบาง คือแบบประเมินภาวะเปราะบางของ Fried ซึ่งสามารถแบ่งความรุนแรงของภาวะเปราะบางออกเป็น 2 ระยะคือ ก่อนระยะเปราะบาง และระยะเปราะบาง บทความนี้ นำเสนอกรณีศึกษาและบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านที่มีภาวะเปราะบาง รวมทั้งคำจำกัดความ พยาธิสภาพ สาเหตุ และปัจจัยส่งเสริม เกณฑ์การวินิจฉัย และการประเมินภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ ซึ่งพยาบาลจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกและ สนับสนุนให้ผู้ป่วยและครอบครัวปฏิบัติตามแผนการดูแล เพื่อป้องกัน ดูแลและฟื้นฟูสภาพ ให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบางมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี" }
{ "en": "Epilepsy is a common childhood brain disorder, which affects children physically, mentally, socially and intellectually, causing disabilities that affect the lives of children as well as their families and society. This health problem causes losses in both human resources and economy. If children with epilepsy do not receive the correct treatment and nursing care, their quality of life will be affected. Therefore, nurses who are important healthcare personnel should have the knowledge of the causes and the types of epilepsy, diagnosis, treatment and their effects on patients which are caused by epilepsy pathophysiology and complications from prolonged exposure to antiepileptic drugs. Nurses must have the ability to care for children with epilepsy. They must also perform the role of nurse in assessing patients, taking the history of epileptic seizures, performing physical examinations and analyzing laboratory results and special neurological examinations. This nursing roles must be performed in order to identify the nursing care problems, implement the nursing care process to develop a care plan to prevent complications from epileptic seizures and recurrent epileptic seizures, reduce anxiety for patients and their families, promote the potential of patients and their families in performing self-care at home as well as collaborating with local health services units and relevant people in the community to provide assistance in caring for children with epilepsy and their families.", "th": "โรคลมชัก (epilepsy) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมองที่พบได้บ่อยในเด็ก ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา เกิดความทุพพลภาพซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วยเด็ก รวมทั้งส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์และเศรษฐกิจ หากผู้ป่วยเด็กโรคลมชักไม่ได้รับการรักษาและการพยาบาลที่ถูกต้อง จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตตามมา ดังนั้นพยาบาลซึ่งเป็นบุคลากรทีมสุขภาพที่สำคัญควรมีความรู้เกี่ยวสาเหตุ ประเภทของโรคลมชัก การวินิจฉัย การรักษา และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ป่วยเด็ก ทั้งที่เกิดจากพยาธิสภาพของโรคลมชักและภาวะแทรกซ้อนจากการได้ รับยากันชักเป็นเวลานาน และมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก โดยการปฏิบัติตามบทบาทพยาบาลในการประเมิน ผู้ป่วยในการซักประวัติรายละเอียดการชัก การตรวจร่างกายเด็ก การวิเคราะห์ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ทางระบบประสาท เพื่อนำสู่การระบุปัญหาทางการพยาบาล การนำใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อวางแผนให้การดูแลเพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนจากการชัก การป้องกันภาวะชักซ้ำการลดความวิตกกังวลแก่ผู้ป่วยเด็กโรคลมชักและครอบครัว การส่งเสริมศักยภาพ ผู้ป่วยเด็กและครอบครัวในการดูแลตนเองต่อเนื่องที่บ้าน รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่และ ผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนเพื่อให้การช่วยเหลือดูแลเด็กโรคลมชักและครอบครัว" }
{ "en": "Pre-school children are higher risk to COVID-19 than toddlers and school-age children because they begin spending much time for social contacts in daily living. However, since their cognitive ability is in concrete level, pre-school children are limited to scientific reasons of COVID-19 pandemic and new normal living. Naresuan University Demonstration School (Kindergarten and Primary) developed health media for the sake of children to be safe from COVID-19 and not to spread out the virus if they were infected. Based on child development concepts, through the process of developing the media, a nurse’s roles were training teachers to perform health communication, determining a scope of contents, making languages concrete, and designing how the media were presented. The process, definitely, illustrated roles of a school nurse to promote a child’s health literacy and skills to protect themselves from infectious diseases by integrating health science as well as play to learn concept in the Early Childhood Curriculum. A nurse should teach a child to understand how the disease transmits through certain body organs. Contact precaution should be transcribed into concrete language, cartoons, or story-telling. Teachers should be promoted to integrate contact precaution skills in classes and routine activities at schools. Families and teachers should be encouraged to be role models for children. New normal living and hygiene skills among children should be used as a part of nursing outcome indexes.", "th": "เด็กวัยก่อนเรียนเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มากกว่าเด็กวัยหัดเดินและวัยเรียน เนื่องจากวิถี ชีวิตเริ่มเข้าสู่สังคมภายนอกมากขึ้น แต่ด้วยพัฒนาการระดับความคิดสติปัญญาขั้นรูปธรรม ทำให้ไม่สามารถเข้าใจเหตุผลเชิง วิทยาศาสตร์ของการแพร่ระบาดโรค การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) จึงพัฒนาสื่อสุขภาพเพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับโรค COVID-19 เกิดพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ โดยบทบาทของพยาบาลในการพัฒนาสื่อคือ การฝึกทักษะสื่อสารเชิงสุขภาพแก่ครูผู้สอน กำหนดขอบเขตเนื้อหา ภาษา และรูปแบบ การนำเสนอสื่อที่เหมาะกับพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียน กระบวนการพัฒนาสื่อสุขภาพสะท้อนบทบาทพยาบาลโรงเรียน (School nurse) ในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพัฒนาทักษะการป้องกันการสัมผัสโรคติดเชื้อแก่เด็ก โดยบูรณาการศาสตร์สุขภาพ ในสาระการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดเรียนรู้ผ่านการเล่น สอนให้เด็กเข้าใจการวิธีการติดต่อโรคผ่านอวัยวะที่เป็น ช่องทางสัมผัสเชื้อก่อโรควิธีหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อโรค ด้วยภาษาที่เป็นรูปธรรม การ์ตูน เรื่องเล่า ปลูกฝังค่านิยมการปฏิบัติ วิถีชีวิตใหม่โดยส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมครอบคลุมทักษะสุขอนามัยป้องกันโรคติดต่อติดเชื้อ ส่งเสริมให้ครอบครัวและครู ผู้สอนเป็นแบบอย่างการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และกำหนดพฤติกรรมสุขอนามัยตามแนววิถีชีวิตใหม่ของเด็กเป็นองค์ประกอบ ของตัวชี้วัดทางการพยาบาล" }
{ "en": "This research was a quasi-experimental study pretest-posttest one group design to examine the effect of competency development of health volunteers by educating and practicing skills for prevention Hypertension in Tumbon Kham Yai Ubonratchathani Province. The subjects were 35 health volunteers in Tumbon Kham Yai Ubonratchathani Province. The tools used in the research consisted of collect information included: personal data questionnaire, the knowledge evaluation questionnaire and evaluation for hypertension screening skill, Hypertension handbook and a screening form for the risk of hypertension. The data were analyzed by using descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation, compared average scores on knowledge about hypertension and the mean scores on screening skill for hypertension before and after the experiment by using pair t-test statistic.\nThe result of this study found that, the mean knowledge score post experimental was significantly higher than the pre experimental and the mean score on screening skill for hypertension was higher than the pre experimental p < .05 It is recommended that the development competency of health volunteers should be future used as guidance for screening and prevention hypertension, Furthermore, applying the development competency in caring for patients with other chronic diseases in order to promote health and prevent chronic disease is also suggested.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง วัดก่อนและหลังทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพอาสา สมัครสาธารณสุขหมู่บ้านโดยการให้ความรู้และฝึกทักษะในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในตำบลขามใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านของตำบลขามใหญ่ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง, แบบประเมิน ทักษะการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ คู่มือความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และแบบคัดกรอง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และคะแนนเฉลี่ยด้านทักษะการคัดกรองและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ pair – t test\nผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทักษะการคัดกรองป้องกันโรคความดัน โลหิตสูง เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .05 ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านในการคัดกรอง และ ป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และนำแนวทางการพัฒนาศักยภาพไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ อีกต่อไป เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง" }
{ "en": "Disaster Management focus on saving lives provide relief and face situations in crisis when disasters have already occurred. The Royal Thai Army Medical Department has prepared Military Medical Emergency Response Team: M-MERT They must be trained. This research is an analytical study of the causal factors influencing disaster response during the emergency response period of the Military Medical Response Team with variable Personal, the Commanding and Directing, participation and disaster response. Objective:1) To study the disaster response in the emergency response stage of the Military Medical Response Unit 2) To develop a causal factor model influencing disaster response in the emergency response period of the Medical Response Unit and 3) to study the direct and indirect influences of causal factors influencing disaster response in the emergency response period of the Military Response Team. The researcher collected the research data with the Military Medical Emergency Response unit, and personnel previously designated to perform duties, amounting to 424 people from 30 Army District hospital by using developing questionnaires confirm validity test with variable. Data were analyzed by frequency, percentage by computer program that analysed Structural equation model and Correlation. Result: It was found that, the perception of the capability of the M-MERT Awareness every variables are moderate to high. The causal factor model influencing disaster response consistent with the empirical data. All of variable positively influences disasters response significant below .05", "th": "การบริหารจัดการภัยพิบัติเป็นสิ่งมีคุณค่าในการช่วยเหลือรักษาชีวิต และ การบรรเทาทุกข์ กับผู้เผชิญกับสถานการณ์ใน ภาวะวิกฤต เมื่อเกิดภัยพิบัติ กรมแพทย์ทหารบกได้มีการจัดเตรียมความพร้อมชุดแพทย์ทหารเผชิญเหตุขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจดังกล่าว งานวิจัยนี้ได้ ศึกษาวิจัยตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเชิงสาเหตุ ที่มีอิทธิพลต่อการตอบโต้ภัยพิบัติในระยะเผชิญเหตุฉุกเฉินของชุด แพทย์ทหารเผชิญเหตุ (M-MERT) ประกอบด้วย กำลังพล การสั่งการและอำนวยการ การมีส่วนร่วม ต่อการตอบโต้ภัยพิบัติของ โรง พยาบาลกองทัพบก วัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อศึกษาการตอบโต้ภัยพิบัติในระยะเผชิญเหตุ,พัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ ที่มีอิทธิพล ต่อการตอบโต้ภัยพิบัติ และศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตอบโต้ภัยพิบัติ เก็บข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถามที่ได้พัฒนาและผ่านการตรวจสอบความเที่ยงความตรงจากจำนวนประชากร จำนวน 424 คนจาก 30 โรงพยาบาล กองทัพบกวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ใช้โปรแกรม สมการโครงสร้าง วิเคราะห์โมเดล และความสอดคล้อง ผลการวิจัยพบว่า กำลังพลชุดแพทย์เผชิญเหตุ มีการรับรู้การปฏิบัติของทุกตัวแปรแฝง อยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง ถึงมาก โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทุกตัวแปรแฝงส่งอิทธิพลทางบวกต่อการตอบโต้ภัยพิบัติในระยะเผชิญเหตุ อย่างมีนัยสำคัญสถิติ ที่ทางระดับน้อยกว่า .05" }
{ "en": "This study aimed to examine the association of health belief model with preventive behavior and risk of stroke among patients with uncontrolled hypertension. Sample is patients with uncontrolled hypertension aged 40 years and above at San Makha Tambon Health Promotion Hospital, number of 180 people, and Pa ngae Tambon Health Promotion Hospital, number of 170 people. Data were collected by using a questionnaire created by the researcher. Content validity of the questionnaire was verified by the 3 experts and the CVI was 0.89. Reliability was using Cronbach’s alpha coefficient and the reliability was 0.85 – 0.88. Data analysis were frequency, percentage, minimum, maximum, mean, standard deviation, and Pearson Product Moment (p < .05). The results show that health belief model and the risk of stroke among patients with uncontrolled hypertension prevention behavior (r = 0.633, p < .001 และ r = 0.654, p < .001 respectively). Perceived disease severity was lowly positive correlated with the prevalence of stroke among patients with uncontrolled hypertension (r = 0.503, p < .001) and what conducive to practice has a very low positive relationship with stroke among patients with uncontrolled hypertension (r = 0.505, p < .001). Perceived barriers to behaviors for disease prevention were significantly negatively correlated with stroke among patients with uncontrolled hypertension prevention behaviors (r = -0.853, p < .001) Anyhow, Perceived induction was statistically significant associated with a low level of body mass index, waist circumference, total cholesterol, blood pressure (p < .001).", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความเสี่ยงการเกิด โรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อายุ 40 ปี ที่ขึ้นที่มีการขึ้นทะเบียนการรักษา ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสันมะค่า จำนวน 180 คน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลป่าแงะ จำนวน 170 คน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้รับการตรวจสอบความตรงในเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีค่า CVI เท่ากับ 0.89 ทดสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าระหว่าง 0.85-0.88 เก็บรวบรวมข้อมูลหลังได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรม การวิจัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pearson product moment ที่ระดับการมีนัยสำคัญทางสถิติ < .05 ผลการวิจัย พบว่า แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการรับรู้ประโยชน์ของ การ ปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r = 0.633, p < .001 และ r = 0.654, p < .001 ตามลำดับ) การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.503, p < .001) สิ่งชักนำไปสู่การปฏิบัติมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับ พฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.505, p < .001) และการรับรู้อุปสรรคการปฏิบัติ พฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงมากกับพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r = -0.853, p < .001) พฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ การรับรู้สิ่งชักนำ มีความสัมพันธ์ ทางลบระดับต่ำกับดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ระดับไขมันในเลือด ความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .001" }
{ "en": "Accession to media is rapid. Various forms of media are used as communication tools to enhance knowledge on occupational, safety and health by Occupational Health Nurse and Safety Officer work together for communicating the knowledge base storytelling and changing the behavior of employees for the better both safety at work and disease prevention. The purpose of this study was to collected media using and assessment of the quality of media by context of work. The safety communication ranges from policy level to operational level. Concise content combined with a more accessible format can improve communication efficiency.", "th": "การเข้าถึงสื่อในปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการใช้สื่อหลายรูปแบบเพื่อเสริมสร้างความความรู้ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขภาพ เป็นบทบาทที่พยาบาลด้านอาชีวอนามัยและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทำร่วมกันเพื่อสื่อสาร เรื่องราว ทำให้เกิดความรอบรู้ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงานให้ดีขึ้นทั้งในด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการป้องกันโรค การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมการใช้สื่อในด้านรูปแบบ ประเภท และการประเมินคุณภาพสื่อ ที่ใช้ ตามบริบทของการทำงานและความสะดวกในการสื่อสารในการสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงานมีตั้งแต่ระดับนโยบาย มาจนถึงระดับปฏิบัติงาน เมื่อปรับเนื้อหาให้กระชับเข้ามารวมกับรูปแบบที่เข้าถึงง่ายสามารถทำให้ประสิทธิภาพในการสื่อสาร ดียิ่งขึ้น" }
{ "en": "This research was descriptive correlational research. The study aimed to explore the level of health literacy and correlation between health literacy and smoking behavior among students in higher education institute, Bangkok metropolis. The sample consisted of 400 students selected by simple random sampling. A questionnaire was used to collect data on respondent demographics and health literacy and smoking behavior. Content Validity Index (CVI) of questionnaires were 0.93, 0.80 respectively. Cronbach’s alpha coefficients were 0.86, 0.74 respectively. Data were analyzed using descriptive statistic and Spearman’s correlation coefficient.\nThe results revealed that the most of sample had a good level of health literacy (M = 92.89, SD. 18.06) and health literacy was negatively related to smoking behavior among students in higher education institute, Bangkok metropolis with a statistical significance level of .05 with a correlation coefficient (r) of -.335. The study finding could be utilized to guidance for develop health literacy program among students in higher education institute to smoking cessation", "th": "การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายวิเคราะห์ความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ทางสุขภาพและ ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ทางสุขภาพของนัทบีมและกระบวนการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขในการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ความรอบรู้ทาง สุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่และการป้องกันการสูบบุหรี่ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.93 และ 0.80 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.86 และ 0.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน\nผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้ทางสุขภาพ ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 79.8 (M = 92.9, SD. 18.1) และความรอบรู้ทางสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.335, p <.05) ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพให้แก่นักศึกษาในการเลิกบุหรี่ในสถาบัน อุดมศึกษาได้ต่อไป" }