translation
dict
{ "en": "This descriptive research (purposive sampling) aimed to study and compare cognitive skills, social skills, and pregnancy prevention behavior of adolescent women in Nakhon Si Thammarat with those who had life goals and those without. The subjects were 351 students studying in Mattayom (secondary school) 1-6 and vocational training certificate 1-3. Questionnaires were used to collect personal data, life goals, cognitive skills, social skills and pregnancy prevention behaviors among these teenage women. Data were analyzed using descriptive statistics and independent samples t-test.\nThe results indicated that the average age group was 15.8 years (SD = 1.6), had goals in life (80.3%), with the numerically highest goal in life being a good occupation (33.6%). Nearly one-third stated that they were without a goal in life (26.5 percent). The average score of cognitive skills in media literacy skills for the group of those girls with life goals was statistically significantly higher (t = 2.19, p = .02) than those without life goals. In addition, the average score of social skills in self-management of health conditions of those with goals in the life group was statistically significantly higher than those without goals in life group (t = 2.40, p = .01). However, with regard to preventive pregnancy behavior, both groups had an average score not significantly statistically different (t = 0.49, p = .62).", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนาระบุชนิดที่เฉพาะเจาะจง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะทางปัญญา ทักษะสังคม และพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ของสตรีวัยรุ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีและไม่มีเป้าหมายในชีวิต กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนที่ กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และปวช. 1-3 จำนวน 351 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เป้าหมาย ในชีวิต ทักษะทางปัญญา ทักษะสังคม และพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ของสตรีวัยรุ่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน\nผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 15.8 ปี (SD = 1.6) มีเป้าหมายในชีวิต (ร้อยละ 80.3) คือ ประกอบอาชีพที่ดี (ร้อยละ 33.6) เกือบหนึ่งในสามไม่ระบุเป้าหมายในชีวิต (ร้อยละ 26.5) กลุ่มที่มีเป้าหมายในชีวิตมีค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะ ทางปัญญาด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.19, p = .02) และมีค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมด้านการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายในชีวิตอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (t = 2.40, p = .01) และทั้งสองกลุ่มมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญ ทางสถิติ .05 (t = 0.49, p = .62)" }
{ "en": "This quasi-experimental study was to determine the effects of applied Rusie Dutton (RD) exercise on fall prevention in older adult that was a two-group pretest-posttest design. The participants were the elderly (aged 60-75) purposively recruited from 2 communities in Bangkok. They were randomized to the experimental group (n = 29) attended the 12 weeks-RD practice once a week with the researcher, and 2 days/wk. in RD group by themselves. The control group (n = 28) received no intervention. The assessments included measurement of muscle strength in lower limbs by using 30s-CST, gait cycle by using 8UG test, standing balance by using SIDE test, and the fear of falling by using FES-I (in Thai) test. Data were analyzed by frequency, percentage, independent sample t-test and paired t-test.\nThe results of the study showed that after the intervention there was a significant improvement in the muscle strength of the leg, gait cycle, and balance of the experimental group and better in the experimental group than in the control group. And a significant improvement was found in fear of falling within a group in the experimental group and lower in the experiment group than in the control group (p < .05) after the intervention. This study showed that the applied Rusie Dutton was effective for reducing the fall risk factors in the elderly and should lead to prevent falling in this population.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนประยุกต์ต่อ การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม วัดตัวแปรก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ (60-75 ปี) จาก 2 ชุมชนในกรุงเทพมหานคร จับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง มี 29 คน ให้ฝึกฤาษีดัดตน 12 สัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้ง กับผู้วิจัย และฝึกกันเองในกลุ่มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง กลุ่มควบคุมมี 28 คน ให้ใช้ชีวิตตามปกติ วัดตัวแปรด้านความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อขาด้วยการทดสอบ 30s-CST ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวด้วยการทดสอบ 8UG ความสามารถในการทรงตัวด้วย การทดสอบ SIDE และความกลัวการหกล้มด้วยแบบสอบถาม Thai FES-I วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถึ่ ร้อยละ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ระหว่างกลุ่มด้วยค่า “ที” และภายในกลุ่มแบบจับคู่\nผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหว และการทรงตัวดีขึ้น และดีกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองมีความกลัวการหกล้มลดลง และมีความกลัวการหกล้มต่ำกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จึงแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนประยุกต์ทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่อ การหกล้มในผู้สูงอายุลดลง ซึ่งจะมีผลต่อการช่วยป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุได" }
{ "en": "This research is descriptive qualitative study aimed to describe health beliefs of renal replacement therapy in patients with chronic kidney disease stage 4 base on the health belief model. The 15 participants were selected applying purposive sampling. Semi-structure in-depth interview, tape recording and field note were conducted for 4 months, between February to May 2019.\nThe result of study showed that health beliefs of renal replacement therapy in patients with chronic kidney disease stage 4 included. 1. Perceived susceptibility towards renal replacement therapy characteristic is the more treatment the more health problems. 2. Perceived severity towards renal replacement therapy: Less survival (No health improvement). 3. Perceived benefits towards renal replacement therapy: Unsure about benefits of renal replacement therapy. 4. Perceived barriers towards renal replacement therapy: everything difficult. 5. Cue to action towards renal replacement therapy: Make decision for renal replacement therapy based on 5.1) Education, Information, Experience) 5.2) My own (Fear of Death)", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 4 ตามแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 15 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม 2562 โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยพัฒนาแนวคำถามการวิจัยตามกรอบแนวคิดของ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิง เนื้อหา\nผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 มีดังนี้ การรับรู้ โอกาสเสี่ยงต่อการบำบัดทดแทนไต คือ ยิ่งรักษายิ่งเป็นมากขึ้น แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.พบแพทย์บ่อย ๆ 2. มีภาวะแทรกซ้อน หลายอย่าง การรับรู้ความรุนแรงของการบำบัดทดแทนไตต่อสุขภาพ คือ 1.อยู่ได้ไม่นาน 2.อาการไม่ดีขึ้น การรับรู้ประโยชน์ของ การบำบัดทดแทนไต คือ บอกไม่ได้ว่ามีประโยชน์อย่างไร การรับรู้ต่ออุปสรรคของการบำบัดทดแทนไต คือ ยุ่งยากทุกอย่าง คือ ยาก เงิน ยากคนอื่น รักษายาก/วิธีการยาก สิ่งชักนำให้เลือกการบำบัดทดแทนไต คือ รักษาหรือไม่รักษาขึ้นอยู่กับ ความรู้/ข้อมูล/ ประสบการณ์ และตัวเอง" }
{ "en": "This qualitative study aims to describe elderly’s perception to meaning of quality of life and generated guidelines of promoting quality of life based on elderly needs in Ban Hua Khua, Tumbon Khamreang, Maha Sarakham Province. Key informants were 29 elderly persons. Data were gathered by using 3 focus groups, then interviewing were selected 7 key informants and a Nurse Director of the Hua Khua Primary Health Care Center to in-depth interviews. Data were analyzed by content analysis.\nFinding, key informants defined quality of life in their perception in 4 domains: 1) healthy 2) happiness 3) earning money and 4) good relationships with family, friends, and other people. Finding of guidelines for promoting quality of life based on elderly needs found that the elderly have has difference needs; young-old and old-old needed support the physical domain and social relationships. The oldest-old needed social relationships and economic. For the activities for promoting the quality of life in elder at the Hau-Khua Primary Health Care Center, Tumbon Khamreang, Maha Sarakham Province showed that the PCU has continuously provided activities and projects to the elderly, there have been suiting for those elderly in all needs and getting a good cooperative from elders.\nTo sum up, this study provides better understanding quality of life throughout the elder’s perceptions. In addition, the research distributes useful knowledge to improve guidelines for promoting the quality of life based on elderly needs. Therefore, the health care providers could use these findings as the preliminary data to develop the activities for promoting the quality of life in order to enhance their quality of life.", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความหมายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และแนวทางการส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตตามความต้องการผู้สูงอายุ พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวขัว จังหวัดมหาสารคาม ผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นผู้สูงอายุจำนวน 29 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม 3 กลุ่ม แล้วคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 7 คน และผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวขัว 1 คน มาทำการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา\nผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักอธิบายคุณภาพชีวิต 4 ประเด็นคือ 1) การมีสุขภาพดี 2) การมีความสุข 3) การมีรายได้ และ 4) การมีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว กับเพื่อนและคนอื่น แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามความต้องการผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มวัยมีความต้องการแตกต่างกัน ผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลางต้องการการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านร่างกายและด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ผู้สูงอายุ ตอนปลายต้องการการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและด้านเศรษฐกิจ แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวขัว ตำบลขามเรียง จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการกับผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง พบว่ามีความสอดคล้องตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุทุกด้าน ทำให้ได้รับความร่วมมือ จากผู้สูงอายุมาเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี\nผลจากการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้เข้าใจการรับรู้ความหมายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ดังนั้น บุคลากรด้านสุขภาพที่ดูแลผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผน จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น" }
{ "en": "This experimental research, a pre-test and post-test design, aimed at developing Pediatric Oncology Inpatient Services (POIS) The implementation of the developed model of pediatric oncology inpatient services was tested at the Pediatric Oncology Inpatient Ward at Somdech Phra Debaratana Medical Center (SDMC), Ramathibodi Hospital, from April 1, 2017 - June 30, 2017.\nThe samples were from the pediatric oncology inpatient services at SDMC, including 3 managers, 20 nurses, and 16 patients’ relatives. Data were collected using a questionnaire. The implementation results were compared before and after applying the developed model in the aspects of work quantity, work quality, service duration and labor within service, satisfaction of individuals involved, and economics. Data were analysed using qualitative statistics, Independent t-test, and Pearson Chi-Square statistics at the alpha values of .05 and content analysis. The results of 5 implementation aspects were better than before the experiment. The newly developed model had complete elements in its principle, structure, and methods, and implementing the model continuously will lead to sustainability by using existing resources without complicated procedures. The researcher recommended to continuously develop this model to be the nation’s implementation sample of pediatric oncology inpatient services in Thailand by applying the Routine to Research approach (R2R).", "th": "การวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัด ก่อน-หลัง การทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานให้บริการผู้ป่วยในเด็ก โรคมะเร็ง (Pediatric Oncology Inpatient Services: POIS) โดยใช้รูปแบบการดำเนินงาน POIS ที่พัฒนาขึ้น นำไปทดลองที่ หอผู้ป่วยในเด็กโรคมะเร็ง ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่าง 1 เมษายน 2560 ถึง 30 มิถุนายน 2560 กลุ่มตัวอย่าง คือ งาน POIS ตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึง จนกระทั่งกลับออกไป จากศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ รวม 16 ราย ผู้ตอบ แบบสอบถามรวม 39 คน เป็น ผู้บริหาร 3 คน ผู้ปฏิบัติงาน 20 คน และญาติผู้ป่วย 16 คน เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่าง ก่อน กับ หลัง การนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ไปดำเนินการ ในด้านปริมาณงาน คุณภาพงาน ระยะเวลาและแรงงานที่ใช้ในการให้บริการ ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง และ ด้านเศรษฐศาสตร์ในการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติ Independent t-test ค่าสถิติ Pearson Chi-Square ที่ระดับแอลฟ่า .05 และ Content Analysis พบว่า หลังการทดลอง ผลการดำเนินงานทั้ง 5 ด้าน ดีกว่า ก่อนการทดลอง รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบที่ครบถ้วนทั้งด้านหลักการ โครงสร้าง และ วิธีการนำรูปแบบ ไปดำเนินการอย่างต่อเนื่องสู่ความยั่งยืน โดยใช้เพียงทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ ด้วยกระบวนการพัฒนาที่ไม่ยุ่งยาก เสนอแนะให้พัฒนา ต่อไป เป็นตัวแบบในการดำเนินงาน POIS ของประเทศไทย ด้วยแนวทางของการพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัย" }
{ "en": "The aim of this cross-sectional descriptive study is to investigate factors influencing tobacco control practice among the registered nurses who used to attending as a leader of the nursing student smoke-free Thai society club. Theory of planed behavior of Ajzen (1991) was designed as the conceptual framework for the study. A total of 100 registered nurses who used to attending the nursing student smoke-free Thai society club were included in the study after sample random sampling method. Five parts of questionnaire was given to 100 participants by mail and the 96 responses were analyzed. Descriptive and multiple regression analysis were used for data analysis.\nThe research findings revealed that participants have high level of attitudes for tobacco control practice, social support, and tobacco control practice. However, they have middle level of self-efficacy. The finding showed a significant positive association of self-efficacy (p < .01), social support (p = .003), and the tobacco control practice of nurses. Moreover, nurses’ attitudes for tobacco control practice, self-efficacy and social support have explain the variance of the tobacco control practice of nurses at 25.6%. The findings have benefit for development of empowerment program for the nurse students who attending as a leader of the nursing student smoke-free Thai society club in the future. As a result, nurse students will be have excellence performance in tobacco control practice after they graduated.", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติเพื่อควบคุมยาสูบของพยาบาลวิชาชีพ ที่เคยเป็นแกนนำของชมรมนักศึกษาพยาบาลสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่ โดยนำทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของ Ajzen มาเป็น กรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่เคยเป็นแกนนำในกิจกรรมของชมรมนักศึกษาพยาบาลสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่ ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่เป็นเครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย สมาคมพยาบาลแห่ง ประเทศไทยฯ จำนวน 100 คน เลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามซึ่งมี 5 ส่วนทางไปรษณีย์ ให้แก่พยาบาลจำนวน 100 ชุด และได้กลับคืนจำนวน 96 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)\nผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพที่เข้าร่วมโครงการวิจัยครั้งนี้มีทัศนคติต่อการปฏิบัติงานเพื่อการควบคุมยาสูบ แรงสนับสนุนทางสังคม และมีการปฏิบัติเพื่อการควบคุมยาสูบของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับสูง แต่การรับรู้ความสามารถของตน อยู่ในระดับปานกลาง โดยการรับรู้ความสามารถของตน (p < .01) และแรงสนับสนุนทางสังคม (p = .003) มีความสัมพันธ์กับ การปฏิบัติเพื่อการควบคุมยาสูบของพยาบาลวิชาชีพ นอกจากนั้น ทัศนคติต่อการปฏิบัติงาน การรับรู้ความสามารถของตน และ แรงสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติเพื่อการควบคุมยาสูบของพยาบาลวิชาชีพ ได้ร้อยละ 25.6 โดยผลของการวิจัยสามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมการเสริมศักยภาพแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสังคมไทย ปลอดบุหรี่ต่อไป เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลมีการปฏิบัติอย่างดีเยี่ยมในการควบคุมยาสูบเมื่อสำเร็จเป็นพยาบาลวิชาชีพ" }
{ "en": "This study is one-group quasi-experimental research (pretest-posttest design). The purpose of this study was to examine the effects of promoting self-care ability program on knowledge and self-care behavior of chronic obstructive pulmonary disease (COPD) patients with recurrent acute exacerbation. Orem’s Self-Care Theory was used as the theoretical framework, and Motivational Interviewing were applied to guide the study. Purposive sampling was used to recruit 30 research participants. The data were analyzed using descriptive statistics and non-parametric Wilcoxon-rank test. The results revealed after receiving the program, the mean of participants’ COPD knowledge scores significantly increased from 9.03 to 13.87% (p < .05 and their self-care behavior scores significantly improved from 61.70 to 94.60 (p < .05). Regarding inhaler using techniques, the participants demonstrated correct using techniques for Handihaler, Accuhaler, and Turbuhaler in every step and showed improvement in the use of Metered Dose Inhaler (MDI). Nurses play a vital role in promoting the patients to perform appropriate self-care behaviors continuously and sustainably.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถใน การดูแลตนเอง ต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบซ้ำ โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎี การดูแลตนเองของโอเร็ม ร่วมกับการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิตินอนพาราเมตริก Wilcoxon signed-rank test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เรื่องโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 9.03 เป็น 13.87 คะแนน (p < .05) และค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นจาก 61.70 เป็น 94.60 คะแนน (p < .05) ในส่วนของความ ถูกต้องของเทคนิคในการใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลม พบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างสามารถใช้ยาสูดขยายหลอดลมชนิด Handihaler, Accuhaler, และ Turbuhaler ได้ถูกต้องทุกขั้นตอน และใช้ยาสูดขยายหลอดลมชนิด Metered Dose Inhaler (MDI) ถูกต้องมากขึ้น อีกทั้งไม่พบกลุ่มตัวอย่างเข้ารักษาที่แผนกฉุกเฉินและนอนรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบของโรคปอด อุดกั้นเรื้อรังในขณะเข้าร่วมโปรแกรมในระยะเวลา 12 สัปดาห์ พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันอาการกำเริบเฉียบพลันของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง" }
{ "en": "The purpose of this study was to examine the effects of an instrumental reminiscence program on the resilience among older adults with depression. A quasi-experimental pretest-posttest control group design was used. Simple random sampling was used to recruit 60 older adults with depression from two sub-district health promoting hospitals. One sample was assigned to the experimental group whereas the other was assigned to the control group. The instrumental reminiscence program was developed by focusing on past experience recall and using problem-focused coping strategies. The program included six sessions, 60 minutes each, twice a week, and the program was validated and revisions were made concerning content validity by 3 professional experts. Data collection included a demographic data record and the resilience questionnaire. The reliability of the resilience questionnaire was Cronbach’s alpha coefficient of .89. Data analysis used descriptive statistics and t-test.\nThe findings revealed the following: 1) the mean resilience score among the older adults with depression after participating in the instrumental resilience program (M = 90.90, SD = 6.42) was statistically significantly higher than the mean resilience score before participating in the instrumental resilience program (M = 61.23, SD = 6.41), (t = 9.12, p<.001). 2) There was a higher statistically significant difference in the mean difference between the pretest and posttest resilience score of the experimental group ( = 29.66, SD = 8.90) than the control group ( = 9.70, SD = 10.73), (t = 7.3, p<.001).", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการระลึกถึงความหลังต่อความเข้มแข็งทางใจในผู้สูงอายุที่มีภาวะ ซึมเศร้า เป็นวิจัยกึ่งทดลอง วัดผลก่อนและหลังการทดลอง แบบมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าที่มารับ บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง จำนวน 60 คน โดยสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการระลึกถึงความหลังแบบจัดการกับปัญหาที่พัฒนามาจากแนวคิดการระลึกถึงความหลังประสบการณ์ ในอดีตและการจัดการกับปัญหา จำนวน 6 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที จำนวน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ซึ่งโปรแกรมได้ผ่าน การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นสัมประสิทธิอัลฟา ของคอนบาคเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที (t-test)\nผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มทดลอง (M = 90.90, SD = 6.42) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการระลึกถึงความหลัง (M = 61.23, SD = 6.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 9.12, p<.001) และ 2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้มแข็งทางใจในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าของกลุ่มทดลอง ( = 29.66, SD = 8.90) สูงกว่ากลุ่มควบคุม ( = 9.70, SD = 10.73) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.8, p<.001)" }
{ "en": "This phenomenological study had objectives to 1). Study perception of illness with end stage renal disease 2). Study of perception in palliative care of patient and caregivers, and 3). study the needs of palliative care of patient and family. The sample were 25 patients and caregivers. Data collection composed of in-depth interview, focus group and observe without participation. The questionnaire had CVI 0.81 by passing the 3 experts. Data analysis was used by content analysis.\nThe result found that the perception and the meaning of end stage renal disease composed of suffering disease, need to deeply understand and try to live with this disease. The problems from the disease composed of loss money, lead to be alone, encounter with many problems from disease. The perceptions of the body were stable and worse if good care it will be fine if not will lead to die, need to get hemodialysis, uncomfortable with the symptom. Moreover, the patient perceived pain as normal and natural thing that they coped, some of them wanted to die without treatment. The factors affected to quality of life composed of budget in treatment, loss of the role, relationship of family.", "th": "การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการรับรู้สภาวะการเจ็บป่วย 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ การดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วยและญาติ และ 3) เพื่อศึกษาความต้องการในการดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วย และญาติโรคไตวายเรื้อรังระยะท้าย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและญาติ จำนวน 25 ราย เก็บข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยแบบสอบถามการรับรู้และความต้อง การมีค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของเครื่องมือผ่านผู้ทรง 3 ท่าน ทั้งฉบับได้ค่า CVI 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา\nผลการวิจัยพบว่า การรับรู้และให้ความหมายของโรคคือเป็นโรคที่ทรมาน เป็นโรคนี้ต้องปลงให้ตก เป็นโรคที่สิ้นเปลือง และถูกทอดทิ้ง เป็นโรคที่ต้องการกำลังใจ เป็นโรคที่ต้องเผชิญปัญหามากมาย ส่วนการรับรู้อาการทางกายคืออาการทรงและทรุด จะดีขึ้นได้ด้วยการฟอกไต ไม่สุขสบายจากปัญหาทางกาย เจ็บจนชิน ต้องทนและอยู่ให้ได้ ส่วนการรับรู้ที่ส่งผลต่อจิตใจจิตวิญญาณ ความเชื่อ ของผู้ป่วยพบว่าเป็นโรคเวรกรรม การรับรู้ การปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วยว่าต้องมาฟอกเลือดจึงจะมีชีวิตอยู่ได้ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต คือเงินโรคนี้มีเงินก็มีสุขได้ ยิ่งจนก็ยิ่งทุกข์ การสูญเสียบทบาทหน้าที่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ความเข้าใจเห็นใจ สัมพันธภาพที่ดีทำให้คุณภาพชีวิตดีมีสุข" }
{ "en": "The purposes of this descriptive research were to study and compare the quality of working life of newly graduated nurses. The samples were 251 newly graduated nurses from a private university in Nakhon Pathom Province. The data were collected by using 2 sets of questionnaires: demographic data and the quality of working life. which contains 8 aspects. The questionnaires were tested for content validity, IOC was .92 and Cronbach’s alpha coefficient was .96 respectively. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test (p < .05)\nThe findings of this research were as follows: 1. The level quality of working life of newly graduated nurses, classified in each aspects and the overall, found that the quality of working life was at a high level as follows: the aspect with the highest average was social relevance of work life ( = 4.24, SD = 0.59), the followed in safe and healthy working conditions ( = 4.21, SD = 0.55), the lowest average was the adequate and fair compensation ( = 3.90, SD = 0.72), and the overall quality of working life was a high level ( = 4.13, SD = 0.50) 2. The comparison of the differences between the average quality of working life of newly graduated nurses in the aspect of overall quality of working life with demographic data, it was found that factors with averaging scores were statistically significant, which were males had a higher average score than females (t = 2.103, p = 0.036). The average of the salary >30,000 Baht. had higher scores than ≤ 30,000 Baht. (t = -2.317, p = 0.023), and the number of holidays per month > 8 days, the average score was higher than ≤ 8 days (t = -2.301, p = 0.032).", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลจบใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ รายได้รวมต่อเดือน ลักษณะ งานที่ปฏิบัติ ผลการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน จำนวนวันหยุดต่อเดือน ขนาด ของโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงาน และหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลจบใหม่จากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 251 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลจบใหม่ ประกอบด้วย 8 ด้าน ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .92 และนำมาหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สูตร สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ t – test (p < .05)\nผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลจบใหม่จำแนกรายด้านและโดยรวม พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานทุกด้าน อยู่ในระดับสูง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ( = 4.24, SD = 0.59 ) รองลงมา ได้แก่ ด้านสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ( = 4.21, SD = 0.55) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านค่าตอบแทนที่ เพียงพอและยุติธรรม ( = 3.90, SD = 0.72) และคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 4.13, SD = 0.50) 2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลจบใหม่ด้าน คุณภาพชีวิตการ ทำงานโดยรวมตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ได้แก่ เพศชายมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิง (t = 2.103, p = 0.036) ผู้ที่มีรายได้รวมต่อเดือน > 30,000 บาทมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าผู้ที่ มีรายได้ ≤ 30,000 บาท (t = -2.317, p = 0.023) และผู้ที่มีวันหยุดต่อเดือน > 8 วัน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าผู้ที่มีวันหยุดต่อเดือน ≤ 8 วัน (t = -2.301, p = 0.032)" }
{ "en": "This research is a descriptive research. The purposes of this research were to explore 1) the clinical supervision process of head nurses as perceived by professional nurses at Maesod Hospital, 2) the nursing outcomes as perceived by professional nurses at Maesod Hospital, and 3) the relationship between clinical supervision process of head nurses and nursing outcomes as perceived by professional nurses at Maesod Hospital, The data were analyzed by using frequency, mean, standard deviation, and Spearman Rang Correlation.\nThe results showed that 1) the clinical supervision process of the head nurses as perceived by professional nurses, overall, was at a high level ( = 3.91, S.D = 0.73), 2) the nursing outcomes as perceived by professional nurses, overall, was at a medium level ( = 3.85, S.D = 0.64), 3) the clinical supervision process of the head nurses had a positive relationship at a high level (r = 0.727) with the nursing outcomes as perceived by professional nurses at Maesod Hospital, and it showed a statistical significance at .01", "th": "การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วย ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแม่สอด 2) ผลลัพธ์ทางการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล แม่สอด และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับผลลัพธ์ทางการพยาบาล ตามการรับรู้ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแม่สอด วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman Rang Correlation)ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการ นิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 3.91, S.D = 0.73) 2) ผลลัพธ์ ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 3.85, S.D = 0.64) 3) กระบวนการนิเทศ ทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมาก กับผลลัพธ์ทางการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแม่สอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.727)" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental research were to the effects of detection and prevention of hypoglycemia program on hypoglycemia ratio with diabetes type 2 patients at surgical department. The 46 diabetes type 2 patients at female surgery ward of Chaiyaphum hospital were purposive sample to one group. The instrument consisted of 1) detection and prevention of hypoglycemia program for diabetes type 2 patients at surgical ward include 1.1) hypoglycemia for diabetes type 2 patients risk assessment tool 1.2) detection and prevention of hypoglycemia program for diabetes type 2 patients manual 1.3) education in diabetes type 2 manual 1.4) level of blood sugar record form 1.5) glucose meter 1.6) care of diabetes patients manual at Chaiyaphum hospital. Frequency, mean, ratio, standard deviation, compare mean score of fasting blood sugar level were used to analyze data. The results were presented that three group of type 2 diabetes patients were ; 1) three patients of minimal risk group (score of risk 0- 4) were six point fifty two percent hadn’t hypoglycemia sign 2) thirty six patients of moderate risk group (score of risk 5-12) were seventy eight point twenty six had once of hypoglycemia sign 3) seven patients of high risk group (score of risk ≥ 13) were fifteen point twenty two had fourteenth time of hypoglycemia sign. The mean score of blood sugar level of high risk group was significantly different (p<0.1) but minimal and moderate risk group weren’t significantly different. Moreover It is suggested that all of surgery patient should detection and prevention of diabetes.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเฝ้าระวังและป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดต่ออัตราการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลชัยภูมิ จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมเฝ้าระวังและป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในหอผู้ป่วยศัลยกรรม ประกอบด้วย 1.1) แบบประเมินปัจจัยเสี่ยง/อาการสำคัญต่อภาวะ น้ำตาลต่ำในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน 1.2) คู่มือการใช้โปรแกรมเฝ้าระวังและป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 1.3) คู่มือการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด 1.4) แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด 1.5) เครื่องตรวจน้ำตาล ในเลือดจากปลายนิ้ว (glucose meter) 1.6) คู่มือปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลชัยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (Pair t-test) ผลการวิจัย พบว่า แบ่งกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ (scores 0-4) จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 6.52) ไม่เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ในเลือด กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง (scores 5-12) จำนวน 36 ราย (ร้อยละ 78.26) เกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด 1 ครั้ง กลุ่มที่ความเสี่ยงสูง (scores ≥ 13) จำนวน 7 ราย (ร้อยละ 15.22) เกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด 14 ครั้ง ความแตกต่างระหว่าง ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาล พบว่ากลุ่มเสี่ยงมากมีความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 กลุ่มเสี่ยงเล็กน้อยและ กลุ่มเสี่ยงปานกลางไม่มีความแตกต่างกัน" }
{ "en": "This quasi-experimental research, one group pre-posttest design, aimed to test the effect of a simulation-based learning on increasing self-efficacy among the fourth year nursing students. Participants were 113, 4th year nursing students who were studying the Nursing Care of Persons with Problem III. Research instruments composed of 1) a simulation-based learning protocol of patient with septic shock 2) high-fidelity simulation model, and 3) perceived self - efficacy questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistic such as percentage, mean and standard deviation and paired t-test.\nThe results showed that after the study completion, students had significant higher perceived self-efficacy score in caring for patients with septic shock than before study. Before the study a mean score of perceived self- efficacy score was 339.016 (SD = 5.67) and increased to 52.06 (SD = 4.73) after attending the simulation-based learning. This study approved that simulation-based learning method improved nursing’s student self-efficacy in caring for patients with septic shock. Also, this method can help students building their self confidence to caring patient with septic shock.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียววัดก่อนหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการรับรู้ความสามารถตนเองของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 ที่เรียนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สถานการณ์จำลอง เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อ 2) หุ่นจำลองขั้นสูง และ 3) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองของ นักศึกษาพยาบาลต่อการดูแลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบที (Paired t-test)\nผลการศึกษาพบว่า หลังการเรียนรู้โดยสถานการณ์จำลองนักศึกษามีคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแล ผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 39.016 (SD = 5.67) และคะแนนหลังการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเท่ากับ 52.06 (SD = 4.73) การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า การใช้สถานการณ์จำลองช่วยส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของนักศึกษาพยาบาลทำให้ มีความมั่นใจและสามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ" }
{ "en": "The purposes of this research were to determine 1) human resource management, quality of working life and work passion, 2) the relationship between personal factors, human resource management, quality of working life and work passion and 3) path analysis of factors affecting work passion among professional nurses. The subjects were 405 professional nurses worked at Health Service Region 5th. The research instrument composed of questionnaires with their reliabilities between 0.81-0.87. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation, and path analysis.\nThe results of the study showed that: 1. The mean scores of human resource management and work passion were ranked at the high level ( = 3.66, S.D = .48, = 3.98 S.D = .38, respectively), while, the mean score on quality of working life was ranked at the medium level ( = 3.50 S.D = .38). 2. The demographic factors: position, marital status, age, and work experience were significantly related with human resource management, quality of working life, and work passion (p< .001). 3. Human resource management and quality of working life had significantly positive influence on work passion (p < .001).", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารทรัพยากรบุคคล คุณภาพชีวิตการทำงาน ความมุ่งมั่นและ พลังขับเคลื่อนการทำงาน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การบริหารทรัพยากรบุคคล คุณภาพชีวิตการทำงาน และความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนการทำงาน และ 3) วิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อน การทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการเขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 405คน ด้วยวิธีสุ่ม อย่างง่ายโดยกำหนดสัดส่วนครอบคลุมทุกระดับของหน่วยบริการในเขตสุขภาพที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบ สอบถาม ผ่านการหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมืออยู่ระหว่าง .81-.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ Path Analysis\nผลวิจัยพบว่า 1. การบริหารทรัพยากรบุคคลและความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนการทำงานอยู่ในระดับมาก ( = 3.66, S.D = .48, = 3.98, S.D = .38) ในขณะที่คุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.50, S.D = .38) 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่ง สถานภาพสมรส อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์การบริหาร ทรัพยากรบุคคล คุณภาพชีวิตการทำงาน และความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. การบริหารทรัพยากรบุคคล และคุณภาพชีวิตในการทำงาน มีอิทธิพลทางบวกต่อความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนการ ทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001" }
{ "en": "Research objectives were to study levels of play and to predict the influential of participating in play without using electronic media of caregiver toward appropriate child’s development. Samples were 100 caregivers of 3-5 years old children from Child development centers and schools under Bangkok, Dusit District selected by using simple random sampling technique and inclusion criteria. Research tools were personal questionnaire, the participating in play of caregiver without using electronic media questionnaire. The internal consistency was .90 using Cronbach’s alpha coefficient, and the child development evaluation questionnaire from Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) for 3-5 years old, Ministry of Public Health. Data were analyzed using descriptive statistics and Stepwise Wald-Backward Binary Logistics Regression Analysis.\nResults mainly showed participating in play without media electronic of caregiver was at high level. The play involving daily activity, social etiquette, and rules predicted children’ development for 23.4 percent at statistical significance level (p<.05). Research results suggested that we should develop the program that promotes play in family without using electronic media about utilizing daily activity, social etiquette, and rules.", "th": "การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับการเล่นและอำนาจการทำนายของการเล่นแบบมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กโดยไม่ใช้ สื่ออิเลคทรอนิคที่มีผลต่อพัฒนาการที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กอายุ 3-5 ปี จำนวน 100 คน ที่มีบุตรเรียนอยู่ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัด กทม. เขตดุสิต คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบสอบถามการเล่นแบบมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กโดยไม่ใช้สื่ออิเลคทรอนิค ผ่านการตรวจสอบ ความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.9 และแบบประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3-5 ปี จากคู่มือเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และสถิติความถดถอยโลจิสติกส์ทวิ แบบสเต็ปไวซ์ วอลด์-แบคเวอด (Stepwise Wald-Backward Binary Logistics Regression Analysis)\nผลการวิจัย พบว่าการเล่นแบบมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กโดยไม่ใช้สื่ออิเลคทรอนิคโดยรวมอยู่ในระดับสูง และพบว่า การเล่นเกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวัน การเล่นเกี่ยวกับมารยาทการเข้าสังคม และการเล่นแบบมีกฎกติกา สามารถร่วมทำนาย พัฒนาการเด็กได้ร้อยละ 23.4 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมการเล่น ในครอบครัวโดยไม่ใช้สื่ออิเลคทรอนิคเกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวัน มารยาทการเข้าสังคม และการเล่นแบบมีกฎกติกา" }
{ "en": "This research was a quasi – experiment one group pretest-posttest design. The purpose of this research was to compare the self-care behaviors of pregnant women as perceived by Primary nurses before and after using the primary nursing care model. The sample included 30 Pregnancy women and 8 professional nurses working in women health center of Samitivej Thonburi wich was selected by purposive sampling methods. The research tool in the experiment was a handbook of developing model primary nursing care and self-care behavior of pregnant women. Both instruments were tested for content validity of the questionnaire by a group of 3 experts with CVI .98 and reliability coefficient alpha was .79. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test.\nThe results revealed that self-care behavior of pregnancy women after using the primary nursing care model in the high level 4.77 before using the primary nursing care with statistical significance .05. The findings concluded that the primary nursing care model was very useful for pregnant women.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม การดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ก่อนและหลังการจัดการพยาบาลเจ้าของไข้ กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 30 คน และ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 8 คน ที่ปฏิบัติงานที่แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรี ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ คู่มือการจัดการพยาบาลเจ้าของไข้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม พฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ต่อการดูแลของพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ค่า CVI เท่ากับ .98 และทดสอบค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที\nผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์หลังใช้การจัดการพยาบาลเจ้าของไข้สูงกว่าก่อนใช้ การจัดการพยาบาลเจ้าของไข้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสรุป ได้ว่าการจัดการพยาบาลเจ้าของไข้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก" }
{ "en": "This quasi-experimental research two group pretest-posttest designed aimed to study the effects of a health literacy enhancement program on health literacy and preventive health behavior among adult person with prediabetes Type II. Using purposive sampling, 52 respondents were divided in to an experimental group and a comparison group for 26 respondents in each group. The experimental group received a 8-week health literacy respondents in each group. The experimental group received a 8-week health literacy enhancement program consisted of 1) analysis the skill of reading, knowledge, beliefs, and prior experiences, 2) learning skills development and, 3) knowledge sharing and reflection. The data collecting instruments composed of a set of questionnaire about health literacy and health preventive behavior related to diabetes mellitus Type II. Their reliability were presented KR-20 at 0.96 and Cronbach’s alpha at 0.80. Data were analyzed using descriptive statistics, and independent t-test.\nThe research results revealed that after the experiment, experimental group had health literacy mean score higher than before the experiment and also higher than comparison group significantly. They also had food consumption preventive behavior mean score higher than before the experiment at significance level of 0.05.// The recommendation is nurse practitioners should apply this program to be nursing instrument for behavioral modification among adult workers to decrease new cases incidence of diabetes mellitus.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่วัยทำงานคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 52 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 26 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ทักษะ การอ่าน ความรู้ ความเชื่อและประสบการณ์เดิม 2) การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และ 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสะท้อนกลับ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติที\nผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะคือพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรนำโปรแกรมฯนี้ไปใช้เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงวัยแรงงานในสถานประกอบการเพื่อลดอุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่" }
{ "en": "This pilot study of one-group pre-experimental design with pretest-posttest and follow-up measures aimed to test feasibility of a self-management support intervention comparing 3-time measuring scores of knee functional status and health related quality of life (HRQOL) among middle-aged women with knee osteoarthritis. A convenience sampling technique was used to recruit participants including five middle-aged women who have been clinically diagnosed with knee OA in Nakhon Si Thammarat province. Participants received a self-management support intervention of all 8 sessions for 4 weeks, and 4-week follow-up. Data were analyzed by using Friedman with Dunn-Bonferroni post hoc test.\nThe results revealed that there are significant differences over the three-time measures of the outcomes. Scores of Knee functional status and HRQOL at follow-up period (T3) was significantly greater than that at baseline (T1) (p<.05) while no difference was found between posttest (T1) and baseline (T2), and posttest (T2) and follow-up (T3) measurement. These findings indicate this self-management support intervention is feasible in nursing clinical practice for further implementation.", "th": "การศึกษานำร่องเป็นแบบกลุ่มเดียวก่อนการทดลอง วัดผลก่อน หลัง และระยะติดตามในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นไปได้ของการสนับสนุนการจัดการตนเองของหญิงวัยกลางคนที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม โดยเปรียบเทียบคะแนนการวัดผล 3 ระยะของการทำหน้าที่ของข้อเข่า และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวก คือหญิงวัยกลางคนจำนวน 5 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะข้อเข่าเสื่อม อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างได้รับการสนับสนุนการจัดการตนเอง ทั้งหมด 8 กิจกรรมรวมระยะเวลา 4 สัปดาห์ และติดตามผลนาน 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบฟรีดแมน และทดสอบ ความแตกต่างรายคู่ด้วยดันน์-บอนเฟอโรนี\nผลการวิจัยพบว่า คะแนนของตัวแปรตามในสามระยะที่วัดผลมีความแตกต่างกัน คะแนนการทำหน้าที่ของข้อเข่าและ คะแนนคุณภาพชีวิตระยะติดตามผล (ครั้งที่ 3) สูงกว่าก่อนเริ่มการทดลอง (ครั้งที่ 1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ในขณะที่ ไม่พบความแตกต่างของคะแนนตัวแปรตามทั้งสองระหว่างหลังการทดลอง (ครั้งที่ 2) กับก่อนเริ่มการทดลอง (ครั้งที่ 1) และหลัง การทดลอง (ครั้งที่ 2) กับติดตามผล (ครั้งที่ 3) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการสนับสนุนการจัดการตนเองนี้ มีความเป็นไปได้สำหรับ นำไปจัดกิจกรรมการปฏิบัติการพยาบาลต่อไป" }
{ "en": "The objective of this quasi-experimental study was to study the effectiveness of the empowerment program on knowledge, attitude, and consumption behavior associated with cholangiocarcinoma using Roy’s adaptation theory and Gibson’s empowerment concept. The samples consisted of 40 people at risk of cholangiocarcinoma. They were equally divided into the control group and the experimental group. The experimental group received nursing activities individually to empower for 45-60 minutes each time for 6-8 days in a row. The research instrument was the empowerment program, consiting of 5 activities. The data were collected by using the questinnaire on knowledge, attitude and consumption behavior associated with cholangiocarcinoma. The data were analyzed by independent t-test and paired t-test. The results were as follows. (1) The mean scores of knowledge, attitude, and consumption behavior associated with cholangiocarcinoma of the people at risk of cholangiocarcinoma who were empowered were higher than those of the people at risk of cholangiocarcinoma who were not empowered with statistical significance at the level of .01. (2) The mean scores of knowledge, attitude, and consumption behavior associated with cholangiocarcinoma of the people at risk of cholangiocarcinoma who were empowered were higher than those of before being empowered with statistical significance at the level of .01. It can be seen that empowerment is a nursing activity that promotes and increases knowledge and attitude and modifies people’s consumption behavior associated with cholangiocarcinoma.", "th": "การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความรู้ ทัศนคติ และการปรับพฤติกรรม การบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย และแนวคิดการเสริมสร้างพลัง อำนาจของกิบสัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและ กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจ คนละ 45-60 นาที/ครั้ง ติดต่อกัน 6-8 วัน เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ มี 5 กิจกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent t-test และ Paired t-test ผลพบว่า (1) ประชาชน กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ และการปรับพฤติกรรม การบริโภคอาหารสูงกว่าประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีที่ไม่ได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีภายหลังได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจมีค่าเฉลี่ยคะแนน ความรู้ ทัศนคติ และการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารสูงกว่าก่อนการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจ ช่วยส่งเสริมและเพิ่มความรู้ ทัศนคติ และปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนได้" }
{ "en": "The purposes of this analytical research design (retrospective cohort study) were analyzed incidence rates and impact of pneumonia in Pong Hospital from 279 medical record during January 2019 till Dec 2019. The research instruments comprised of two parts; medical record and International Classification of Diseases of pneumonia and sepsis. Data were analyzed descriptive statistics and Chi-Square test and the crude odds ratio (OR).      \nThe findings of this research study revealed that age more than 65 years were most morbidity rate, mean length of stay was 5.09 days and average expenditure was 8724.05 baht per person. Hypertension had statistically significant risk factors related to pneumonia. (OR=0.4, 95%CI=.237-.676, p=.001). The risk factors related to sepsis among pneumonia patients with a significant p-value", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ผลกระทบของโรคปอดอักเสบ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคปอดอักเสบ กลุ่มตัวอย่างเป็นเวชระเบียนผู้ป่วยใน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอักเสบ จำนวน 279 ฉบับ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกเวชระเบียนของผู้ป่วย แนวทางมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบและภาวะติดเชื้อ ในกระแสเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคว์สแคร์ หาขนาดความสัมพันธ์โดยใช้ Odds ratio (OR)\nผลจากการวิจัย พบว่า อุบัติการณ์การเกิดโรคสูงสุดกลุ่มอายุมากกว่า 65 ปี ร้อยละ 44.1 ด้านผลกระทบมีจำนวนวันนอน เฉลี่ย 5.09 วัน และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 8724.05 บาทต่อคน โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคปอดอักเสบสูงขึ้น 0.4 เท่า (OR = 0.40. 95% CI = .237 - .676) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และปัจจัยร่วมของ ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดสูงขึ้น ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี มีความเสี่ยงสูงขึ้น 0.55 เท่า (OR = 0.55, 95%CI = .276 - .954) การมีโรคประจำตัวมีความเสี่ยงสูงขึ้น 0.41 เท่า (OR = 0.41, 95% CI = .197 - .862) โรคเบาหวานมีความเสี่ยงสูงขึ้น 0.40 เท่า (OR = 0.40, 95%CI = .180-.900) โรคหลอดเลือดสมองมีความเสี่ยงสูงขึ้น 0.36 เท่า (OR = 0.36, 95% CI = .134 - .985) และภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำมีความเสี่ยงสูงขึ้น 0.46 เท่า (OR = 0.46, 95% CI = .24 4- .857) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)" }
{ "en": "The research objective was to do Confirmatory Factor Analysis (CFA) of pregnant migraint. There were 190 samples. The research tools were demographic questionnaire and health promoting behavior in pregnant measures. Data were analyzed by descriptive statistics and Confirmation Factor Analysis. The research found that; their Confirmatory Factor Analysis showed chi-square = 8.158, df = 8, p-value = .418; the value of was no statistically different from zero, RMSEA = .004 and RMR = .010, which was closer to 0, GFI = .986, and AGFI = .963, which closed to 1 and /df = 1.020, which less than 2, it meant this model was consistent with the empirical data.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติ กลุ่มตัวอย่างคือสตรีตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติจำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน chi-square = 8.158, df = 8, p-value = .418 กล่าวคือ ค่า แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งค่าดัชนี RMSEA = .004 และ RMR = .010 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 0 ค่าดัชนี GFI = .986, and AGFI = .963 ซึ่งเข้าใกล้ 1 และ /df = 1.020 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 2 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์" }
{ "en": "This qualitative research aimed to describe the recovery experiences of Thai male youths with substance abuse who received treatment from the drug treatment center in Chon Buri province. Descriptive phenomenology was used to guide data collection and analysis. In-depth interviews and focus groups were collected by utilizing semi-structured questions with nineteen Thai male youths with substance abuse. Study data were transcribed verbatim for analysis using Colaizzi’s content analysis.\nThe results revealed that the meaning of youth’s recovery experience was “restoring life period,” which embraced three themes that emerged from their experience toward recovery from substance abuse during received treatment. The first theme was “the path to recovery,” including exposing self to a new world, stepping through the inner world to outside, and acknowledging the significance of livable. The second theme was “signals of recovery,” embracing four things as changing physical conditions, reforming thought, shifting mine, and confidence in socializing. The final theme was support and obstruction recovery. This study provides an understanding of the recovery experience of Thai male youths who have received drug treatments. These results may provide the basis for developing a drug-use care model in line with both the health care providers and the client’s treatment goals to enhance drug treatments’ effectiveness.", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การฟื้นคืนสู่สุขภาวะของเยาวชนชายไทยที่ได้รับการบำบัด ยาเสพติดจากศูนย์บำบัดในจังหวัดชลบุรี โดยใช้แนวทางปรากฎการณ์วิทยาในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกรายเดี่ยวและการสัมภาษณ์รายกลุ่ม ผู้ให้ข้อมูล คือ เยาวชนชายที่เข้ารับการบำบัด จำนวน 19 ราย ข้อมูลที่ได้นำมาถอด เทปเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ Colaizzi\nผลการศึกษาพบว่าเยาวชนชายที่ใช้สารเสพติดให้ความหมายของการฟื้นคืนสู่สุขภาวะว่าเป็น “ช่วงเวลาการฟื้นตัวของ ชีวิต” ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ 1) เส้นทางของการฟื้นตัว แบ่งเป็น 3 ประเด็นย่อย คือ เปิดประตูสู่โลกใบใหม่ที่ ไม่คุ้นชิน ก้าวผ่านโลกภายในสู่ภายนอก และตอบรับความสำคัญของการมีชีวิตอยู่ 2) สัญญาณของการฟื้นตัว แบ่งเป็น 4 ประเด็น ย่อย คือ สภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ความคิดที่เปลี่ยนไป จิตใจที่เปลี่ยนผัน และมั่นใจในการเข้ากับสังคม และ 3) สิ่งสนับสนุน และขัดขวางการฟื้นตัว จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจในประสบการณ์การฟื้นคืนสู่สุขภาวะของเยาวชนชายไทยที่เข้ารับ การบำบัด ยาเสพติด ซึ่งอาจเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการให้การดูแลผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดให้สอดคล้องกับเป้าหมายการบำบัด ของทั้งผู้ให้และผู้รับบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานบำบัดยาเสพติดต่อไป" }
{ "en": "The purpose of this quasi-pilot study was to assess the risk of back pain of laterally transferring a patient between bed and stretcher (lateral transfer) in hospital personnel. And improve the patient’s transport equipment to reduce the risk of back pain. The sample was 4 hospital porters that performing this task in the hospital. The record form of lifting index and EMG were used to collect data. Descriptive statistics analysis were used to analyze the data. The study found that the improvement of the device by using bed sheet in the horizontal direction by applying the lifting suggestion decreased the workload of back muscles of the sample standing at the bedside. When evaluated with the lifting equation, it was found that the horizontal distance decreased. As a result, the lifting index decreased from 2.13 to 1.94. EMG of back muscles revealed that the back muscles function decreased in the samples who stood at the bedside. But in the sample at the stretcher-side, it was found that the lifting index did not change. The EMG of the back muscles did not change significantly. The conclusion is an application of lifting suggestions can reduce the risk of low back pain in nursing personnel that performs patient transferring tasks from stretcher to bed while standing at the bedside, but not reduce the risk in the samples at the stretcher-side.", "th": "การศึกษานำร่องกึ่งวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการปวดหลังของท่าทางการยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทาง ด้านข้าง และปรับปรุงอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงต่อการปวดหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานเวรเปล ที่ปฏิบัติงาน ยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย จำนวน 4 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินดัชนียก และวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ พรรณนา ผลการศึกษา พบว่า การปรับปรุงโดยปรับวิธีการจับผ้าปูเตียงที่ใช้ยกผู้ป่วยตามคำแนะนำงานยก เมื่อประเมินด้วยสมการยก พบว่าระยะห่าง จากตัวของกลุ่มตัวอย่างด้านเตียงผู้ป่วยกับหุ่นจำลองผู้ป่วยลดลง ส่งผลให้ค่าดัชนียกลดลงจาก 2.13 เป็น 1.94 และเมื่อวัดคลื่นไฟฟ้า กล้ามเนื้อหลัง พบว่ากลุ่มตัวอย่างด้านเตียงผู้ป่วยนั้นการทำงานของกล้ามเนื้อหลังลดลง แต่ในกลุ่มด้านรถเข็นนอนนั้นค่าดัชนียก และค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อไม่มีการเปลี่ยนแปลง สรุปได้ว่าการปรับปรุงอุปกรณ์ช่วยยกผู้ป่วยโดยปรับวิธีการจับผ้าตามคำแนะนำ งานยก สามารถลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บบริเวณหลังจากงานยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางด้านข้างของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ด้านเตียง ผู้ป่วยได้ แต่ไม่ลดความเสี่ยงของกลุ่มที่อยู่ด้านรถเข็นนอนได้" }
{ "en": "This research aimed to develop the curriculum and to evaluate the effectiveness of the curriculum for strengthening competencies of the elderly on health promotion and prevention of complications from non-communicated chronic diseases at Had Chao Samran elderly school, Muang, Phetchaburi. The curriculum was developed using a participatory action research. The effectiveness of the curriculum was assessed using a quasi-experimental research with one group pretest-posttest design. Participants consisted of 30 elderly school students. Data on the operational effectiveness of the curriculum were collected using a questionnaire developed according to the CIPP Model. Data on the quality of life were collected using a Senior Fitness Test (SFT) battery, and a Thai version of the brief form of the World Health Organization Quality of Life (WHOQOL-BREF-THAI) instrument. The data were analyzed using content analysis, descriptive statistics and paired samples t-test. Results showed that the curriculum consisted of 11 components. An overall mean of the operational effectiveness was at high level. The highest level of the operational effectiveness was found in the aspects of context and product. In terms of quality of life, mean scores of the SFT assessments at the end of the experiment, including waist circumference, upper-and lower-body strength, upper- and lower-body flexibility, balance and agility, and aerobic endurance, as well as mean scores of the WHOQOL-BREF-THAI instrument on overall score and all four components of quality of life significantly improved compared to those at baseline (p<.05)", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรและประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะผู้สูงอายุใน การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงเรียนผู้สูงอายุหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี การพัฒนาหลักสูตรใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ส่วนการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรใช้การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลประสิทธิผลของหลักสูตรด้านการดำเนิน งานโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามหลักการ CIPP Model และด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบประเมินสมรรถภาพ การทำหน้าที่ทางกายผู้สูงอายุ และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกฉบับแปลภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนาและ Paired samples t-test ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีเนื้อหาประกอบ ด้วย 11 องค์ประกอบ ประสิทธิผลด้านการดำเนินงานในภาพรวมของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก โดยมีประสิทธิผลด้านบริบท และด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนประสิทธิผลด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตพบว่า ค่าเฉลี่ยผลการประเมินสมรรถภาพการทำ หน้าที่ทางกายภายหลังการทดลองได้แก่ ความยาวเส้นรอบเอว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนและส่วนล่าง ความอ่อน ตัวของร่างกายส่วนบนและส่วนล่าง การทรงตัวและความว่องไว สมรรถภาพของระบบหายใจและหลอดเลือด รวมถึงคะแนนเฉลี่ย คุุณภาพชีวิตโดยรวมและรายองค์ประกอบย่อยทั้ง 4 ด้านดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This research and development aimed to study 1) situational analysis of paternal involvement in early childhood development 2) development the model of paternal involvement in early childhood development 3) assessment the effectiveness of the model of paternal involvement in early childhood development and 4) the paternal satisfaction in the program and guideline of paternal involvement in early childhood development. The participants consisted of 104 fathers; whose children studied in children development centers and 24 healthcare providers in primary care centers and teachers in child development centers. The design was quantitative and qualitative study. Three validated, self-reported questionnaires, semi-structure interview, and try out the model of paternal involvement in early childhood development were used for data collection. The results revealed the overall knowledge mean score (52.88 percent) of paternal in early childhood development was in low-level. The practical mean score (40.38 percent) of paternal in early childhood development was in medium level. The overall behavior of the participation of paternal in early childhood development was in medium level ( = 3.50, SD = .65).\nRegarding the effectiveness of the model of paternal involvement in early childhood development, the average mean scores of knowledges, practical, and participation of paternal in early childhood development of the experimental group were higher than the control group with statistically significant differences (p < .001). These findings provide healthcare professionals and teachers in child development centers should encourage paternal to participate in early childhood development by integrated the model in activities. For example, encourage paternal to evaluate child development or participation of paternal in the meeting.", "th": "การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การมีส่วนร่วมของบิดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของบิดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของ บิดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และ 4) ประเมินความพึงพอใจของรูปแบบและจัดทำคู่มือการมีส่วนร่วมของบิดาในการ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่บิดาที่มีบุตรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในอำเภอหนองหญ้าปล้องจำนวน 104 ราย และ ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาการเด็กจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมเป็น 24 รายโดยศึกษาทั้งเชิง ปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึกและนำรูปแบบรูปแบบการมีส่วนร่วมของบิดา ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ไปทดลองใช้ผลการศึกษาพบว่า\nความรู้ของบิดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยร้อยละ 52.88 มีการปฏิบัติการส่งเสริม พัฒนาการอยู่ระดับพอใช้ร้อยละ 40.38 และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของบิดาอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.50, SD = .65) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของบิดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนน ความรู้ การปฏิบัติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของบิดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรม พบว่าดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ข้อเสนอแนะบุคลากรด้านสุขภาพและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรให้บิดามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยนำโปรแกรมนี้สอดแทรกไปในกิจกรรมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาทิเช่น การให้บิดามีส่วนร่วมในการประเมินพัฒนาการหรือการ จัดประชุมผู้ปกครองที่เน้นบิดาเข้ามามีส่วนร่วม" }
{ "en": "This study aimed to examine the causal relationship between physical fitness, distance run, and academic achievement of Mathematics and English of primary school children in grade 4-6 during three academic years, 2017-2019. A total of 170 fourth graders of the demonstration school of Ramkhamhaeng University was randomly selected to participated in a 3-years follow-up study. Registered-based academic achievement scores and physical fitness were assessed in the second semester of academic year 2017-2019. Distance run was measured with a maximal 1,200 meter run test having content validity and reliability of 0.825. The latent growth curve modeling was applied to analyze the causal relationship between a physical fitness and two subject achievements with gender as a covariate. The results revealed that gender and distance run had a significant influence on Mathematics and English scores of primary school children. An increase in distance run in each year resulted in a greater improvement in Mathematics (βF2 F4 = -.48, p = .001) and in English scores (βF2 F6= -.32, p = .004). Boys had improvement in distance run higher than in girls (βG F2 = -.20, p = .006). Effects of distance run on Mathematics achievement were stronger in boys (βG F4 = -.26, p = .008) than in girls. Whereas effects of distance run on English scores were stronger in girls (βG F6 = .12, p = .021) than in boys during three academic years. The findings indicated the importance of physical fitness which affects students’ academic achievements. The primary school administrators should support physical education teachers and a school health nurse to evaluate standard physical fitness including health examination continuously in primary school children in every academic year.", "th": "งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างสมรรถภาพทางกายในการวิ่ง ระยะไกลกับผลสัมฤทธิ์ ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในช่วงเวลา 3 ปีการศึกษา 2560-2562 ทำการสุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 170 คน โดยติดตามไปในช่วง 3 ปีการ ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนใช้คะแนนสอบไล่ และสมรรถภาพทางกายใช้ผลการทดสอบวิ่งระยะไกลในภาคการศึกษาที่ 2 ของ แต่ละปีการศึกษา การวิ่งระยะไกลใช้แบบทดสอบวิ่งระยะ 1,200 เมตร ซึ่งมีความตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.825 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างสมรรถภาพทางกายกับคะแนนสอบของแต่ละวิชาของนักเรียน ได้ใช้วิธีสถิติโค้ง พัฒนาการ โดยมีปัจจัย เพศ เป็นตัวแปรร่วม ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัย เพศ และสมรรถภาพทางกายการวิ่งระยะไกลของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษในช่วง 3 ปีการศึกษา โดยที่อัตราพัฒนา การของสมรรถภาพทางกายวิ่งระยะไกล มีอิทธิพลต่ออัตราพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (βF2 F4 = -.48, p = .001) และ วิชาภาษาอังกฤษ (βF2 F6 = -.32, p = .004) เด็กนักเรียนชายมีอัตราพัฒนาการในการวิ่งระยะไกล (βG F2 = -.20, p = .006) และมีอัตราพัฒนาการในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (βG F4 = -.26, p = .008) สูงกว่าเด็กนักเรียนหญิง สำหรับเด็กนักเรียนหญิงมีอัตราพัฒนาการในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ (βG F6= .12, p = .021) สูงกว่าเด็กนักเรียน ชายในช่วง 3 ปีการศึกษา ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพทางกายซึ่งมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิในการ เรียนของเด็กนักเรียน ดังนั้นผู้บริหารของโรงเรียนประถมศึกษาควรสนับสนุนให้ครูพลศึกษาร่วมกับพยาบาลอนามัยโรงเรียน เป็น ผู้รับผิดชอบในการประเมินผลสมรรถภาพทางกายให้ได้มาตรฐาน และตรวจสุขภาพในเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่องในทุกปีการศึกษา" }
{ "en": "The objectives of this research were: 1)to study health promoting behaviors, 2) to study the causal factors that affected health promoting behaviors, 3) to create the causal relationship factors model that affecting health promoting behaviors of Ramkhamhaeng University personnel. A group of 338 samples was selected via stratified random sampling. Data collected by using questionnaires. Data were analyzed using frequency distributions, means, standard deviations, Chi-square Test, Empirical data consistency were analyzed using the GFI, AGFI, and RMR indices, and path analysis were analyzed by LISREL.\nFindings were as follows: 1) Health promoting behaviors of Ramkhamhaeng University personnel were overall evinced at a high level, 2) Causal factors that affected Ramkhamhaeng University personnel’s health promoting behaviors included, personal factors which were reflected through negative relationship between health promoting behaviors statistically significant at .01 level, internal and external factors in society and environment showing positive relationship with health-promoting behaviors statistically significant at .01 level, 3) Relationship model of causal factors and health promoting behaviors of Ramkhamhaeng University personnel showed different findings: personal factors negatively affected (-.02) health promoting behaviors, Internal factors positively affected (.07, .20, .09) health promoting behaviors, and external factors in society and environment had direct positive effects (.01, .02) on health promotion behaviors.", "th": "การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพ 3) สร้างรูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าไค-สแควร์ วิเคราะห์ความสอดคล้องข้อมูลเชิง ประจักษ์โดยใช้ดัชนี GFI, AGFI และ RMR และการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรม LISREL\nผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ เชิงลบกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) รูปแบบความสัมพันธ์ ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมี อิทธิพลทางตรงเชิงลบ (-.02) ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยภายในมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก (.07, .20, .09) ต่อพฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพ และปัจจัยภายนอกด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก (.01, .02) ต่อพฤติกรรมการส่งเสริม สุขภาพ" }
{ "en": "The purposes of this study were: (1) to compare health literacy of nursing students before and after receiving a guidance activities package and (2) to compare health literacy of an experimental group receiving the guidance activities package and a control group receiving regular guidance. The samples consisted of 40 second-year nursing students in an academic year 2019, who volunteered to participate in the research project. Then, a method of simple random sampling was conducted to separate the samples into two groups, the experimental group and the control group, with 20 students in each group. The experimental group received the guidance activities package to develop health literacy for 12 sessions with duration of 50 minutes in each session, while the control group received normal guidance. The instruments included: (1) the guidance activities package to develop health literacy, and (2) the health literacy questionnaire with a reliability of .83. The statistics employed for this analysis were percentile, medium, standard deviation and t-test.\nResearch findings revealed as follow; (1) after receiving the guidance activities package, health literacy of nursing students in the experimental group was higher with statistical significance at a level of .01 and (2) the health literacy of the nursing students in the experimental group who received the guidance activities package was higher than the nursing students in the control group who received normal guidance with statistical significance in a level of .01.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางสุขภาพของนักเรียนพยาบาลก่อนและหลังการใช้ชุด กิจกรรมแนะแนว และ 2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางสุขภาพของนักเรียนพยาบาลกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวและ กลุ่มควบคุมที่ได้รับการให้คำแนะนำแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนพยาบาล ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน ที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการ วิจัย จากนั้น จึงมีการสุ่มอย่างง่าย เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อ พัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพ จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที กลุ่มควบคุมได้รับการให้คำแนะนำแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพ และ 2) แบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาพ ที่มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .83 สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที\nผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว นักเรียนพยาบาล กลุ่มทดลองมีความฉลาดรู้ทางสุขภาพ สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักเรียนพยาบาลกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรม แนะแนว มีความฉลาดรู้ทางสุขภาพสูงกว่า นักเรียนพยาบาลกลุ่มควบคุมที่ได้รับการให้คำแนะนำแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01" }
{ "en": "The purposes of this descriptive research were: 1) to study motivation to work, working environment, and competencies of nursing anesthetists at hospitals under the Ministry of Public Health, Health Region 9 Nakhon Chai Burin and 2) to examine the predictor variables: age, income, motivation to work, and working environment on the competencies of nursing anesthetists. The sample included 94 nursing anesthetists in a hospital under the Ministry of Public Health. The research tools composed of questionnaires which composed of 4 sections: 1) general information, 2) motivation to work, 3) working environment, and 4) competencies of nurse anesthetists. The second to the fourth sections of the questionnaires which were validated by 5 experts obtained content validity indexes of 0.98, 0.99, and 0.96 respectively and Cronbach’s alpha reliability coefficients were 0.99, 0.873, and 0.98 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis.\nThe major findings were as follows. 1) Nursing anesthetists rated their overall motivation to work and competencies of nursing anesthetists at the high levels; while, they rated their overall working environment at the moderate level. Lastly, 2) working environment, age, and maintenance factors could predict the competencies of nurse anesthetists, and all of them accounted for 30.40 percent at the significant level of .05", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาด้านแรงจูงใจในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และสมรรถนะ ของวิสัญญีพยาบาล ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์ และ 2) ศึกษาความสามารถในการ ทำนายของ อายุ และรายได้ แรงจูงใจในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อสมรรถนะของวิสัญญีพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นวิสัญญีพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถาม 4 ตอนประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แรงจูงใจในการทำงาน 3) สภาพแวดล้อมในการทำงาน และ 4) สมรรถนะของวิสัญญีพยาบาล แบบสอบถามตอนที่ 2-4 ผ่านการตรวจสอบความตรงเที่ยงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตาม เนื้อหาเท่ากับ 0.98, 0.99 และ 0.96 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.99, 0.873 และ 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน\nผลการศึกษาพบว่า 1) แรงจูงใจในการทำงานโดยรวม และสมรรถนะของวิสัญญีพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพแวดล้อมในการ ทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) สภาพแวดล้อมในการทำงาน อายุ และแรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยค้ำจุนร่วมกัน ทำนายสมรรถนะของวิสัญญี พยาบาล ได้ร้อยละ 30.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The purposes of this descriptive research were to identify and compare the respondents’ opinions towards competences of community health care management among nursing students. The participants were 143 nursing students, year 4, academic year 2018, 9 nursing instructors, and 9 preceptors. The research tool was a rating scale questionnaire, and it consisted of 3 aspects of competences of community health care management as follows: knowledge, attitude, and skill. The Cronbach’s Alpha Coefficient of the questionnaire was .97. The data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation,\nThe results showed that, among the respondents, the highest mean score was the preceptors’ opinion towards competences of community health care management among nursing students at a “good” level ( = 4.24, SD = .37). It was followed by the nursing students’ opinion and the nursing instructors’ opinion with a mean score of 4.10 (SD = .32) and 4.16 (SD = .42) at a “good” level, respectively. When considering each aspect, it was found that attitude aspect had the highest mean score, followed by skill, and knowledge in all participant groups. The comparison between groups of participants had a statistically significant difference for at least 1 pair of groups (F2,426 = 5.583, P = .004). Moreover, the preceptors’ opinion towards competences of community health care management among nursing students had a statistically significant difference from nursing instructors’ opinion (p≤.05)", "th": "การศึกษาพัฒนาการเรียนการสอนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนของนักศึกษาพยาบาล และเปรียบเทียบสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนของนักศึกษาพยาบาล ตามมุมมองนักศึกษาพยาบาล อาจารย์ และอาจารย์พี่ เลี้ยง ประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 143 คน อาจารย์จำนวน 9 คน และอาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึกจำนวน 9 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามการประเมินสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชน 3 ด้าน: ด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านทักษะ ค่า ความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test\nผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนที่ประเมินโดยอาจารย์พี่เลี้ยงมีค่าคะแนนเฉลี่ยที่สูง ที่สุด ( = 4.24, SD = .37) รองลงมาคือค่าคะแนนเฉลี่ยที่ประเมินโดยนักศึกษา ( = 4.16, SD = .42) และค่าคะแนนเฉลี่ยน้อย ที่สุดประเมินโดยอาจารย์ ( = 4.10, SD = .32) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความคิดเห็นต่อสมรรถนะการจัดการสุขภาพ ชุมชนด้านเจตคติมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านทักษะ และด้านความรู้ในทุกกลุ่มประชากร ค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนที่ถูกประเมินโดยผู้ประเมินที่แตกต่างกัน มีความแตกต่างอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (F2,426 = 5.583, P = .004) และเมื่อทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะ การจัดการสุขภาพชุมชนที่ประเมินโดยอาจารย์พี่เลี้ยง และประเมินโดยอาจารย์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p≤.05" }
{ "en": "The purposes of this research and development study were: 1) to develop a clinical supervision model for isolation precaution of antimicrobial resistance at neurological surgery department, Sunpasitthiprasong hospital, and 2) to evaluate the developed clinical supervision model on head nurses knowledge, nursing competency and the registered nurses’ perceptions. The samples were composed of 2 groups. The discussion group in the developmental stage included 3 head nurses and 6 registered nurses. The second group who evaluated the developed clinical supervision model included 6 head nurses and randomized samples of 52 registered nurses from the Neurological Surgery Department. The experimental tools were composed of: 1) focus group question and the developed clinical supervision model. 2) The data collection tools composed the clinical supervision knowledge test, competency evaluation form, and the questionnaire for perception of clinical supervision. All research tools were validated for content by 5 experts. The content validity indexes of these tools were 0.88, 1.00 and 1.00. The reliability (KR-20) of the clinical supervision knowledge test was 0.75. The Cronbach’s alpha reliability coefficient of the competency evaluation form and the questionnaire for perception of clinical supervision results were 0.94 and 0.83. Data was analyzed by descriptive statistics, content analysis, and Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test.\nThe results are as follows. 1) The developed clinical supervision model based on the three functions Proctor’s model. 2) knowledge of head nurses significantly higher than before receiving. (p< .05). Competency of registered nurses significantly higher than before receiving. (p< .001), and perceptions of supervision at the good level.", "th": "การวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรีย ดื้อยา ในแผนกศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างจำแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย 3 คน พยาบาลวิชาชีพ 6 คน 2) กลุ่มประเมิน ผลรูปแบบ เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยแผนกศัลยกรรมประสาท 6 คน พยาบาลวิชาชีพ 52 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แนว คำถามการสนทนากลุ่ม 2) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมิน สมรรถนะ และแบบสอบถามการรับรู้ผลการนิเทศ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.88, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ แบบ ทดสอบความรู้มีค่าความเที่ยง (KR-20) เท่ากับ 0.75 แบบประเมินสมรรถนะ และแบบสอบถามการรับรู้ผลการนิเทศ มีค่า สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซ เท่ากับ 0.94 และ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์เนื้อหา และสถิติ วิลคอกซอนไซน์แรงค\nผลการวิจัย 1) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การนิเทศเพื่อพัฒนาทักษะ การปฏิบัติงานอย่างมี คุณภาพ และการสนับสนุน 2) หลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก หัวหน้าหอผู้ป่วยมีความรู้สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p <.05) พยาบาลวิชาชีพมีสมรรถนะสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) และ 4) การรับรู้ผลการนิเทศ ทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับดี" }
{ "en": "A model-testing, cross-sectional study was conducted to test a causal model of spiritual well-being in persons with ESRD. A multi-stage random sampling was used to recruit a sample of 270 persons with ESRD who received hemodialysis in Chon Buri Province. Research instruments included six scales of the Spiritual Well-Being, the Memorial Symptom Assessment, the Barthel’s Activities of Daily Living Index, the Perception of Palliative Care, the Duke University Religion Index, and the Multidimensional Scale of Perceived Social Support. Data were analyzed by using descriptive statistics and Structural Equation Modeling.\nThe results revealed that the modification of the hypothesized model fit the data well ( = 97.495, p = .301, df = 91, CMIN/df = 1.132, GFI = .965, AGFI = .920, and RMSEA =. 016) accounted for 50 – 60.9 percent of variance in prediction of spiritual well-being in persons with ESRD. Symptom experience, social support, activities of daily living, receiving palliative care and religiosity had direct effects on spiritual well-being (β = -0.109, 0.299, 0.186, 0.272 and 0.01, respectively). Symptom experience mediated the link between social support and spiritual well-being. These findings indicate that this causal model is appropriated. It would suggest a direction for the nursing profession to enhance spiritual well-being of persons with ESRD receiving hemodialysis through providing social support, palliative care and religiosity, reducing symptom experience and improving activities daily living.", "th": "การทดสอบโมเดลแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบแบบจำลองเชิงสาเหตุความผาสุกทางจิตวิญญาณ ของ ผู้เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่างคือผู้เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้ รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในจังหวัดชลบุรี จำนวน 270 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 6 ชุด ได้แก่ ความผาสุกทางจิตวิญญาณ ประสบการอาการ ความสามารถในการปฏิบัติ กิจวัตรประจำวัน การดูแลแบบประคับประคอง ความเชื่อและการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และการสนับสนุนทางสังคม ค่าสัมประสิทธ์ แอลฟของคอนบาค เท่ากับ 0.84, 0.90, 0.88, 0.81, 0.71, 0.88 ตามลำดับ และค่าความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) ของแบบสอบถามประสบการอาการ และการดูแลแบบประคับประคอง เท่ากับ 0.88 และ 0.90 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติพรรณนาและโมเดลสมการโครงสร้าง\nผลการศึกษาพบว่า โมเดลที่ศึกษามีสัดส่วนความแปรปรวนที่อธิบายโมเดลร้อยละ 50 – 60.9 โดยประสบการอาการ (β = -.109) การสนับสนุนทางสังคม (β = .299) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (β = .186 ) การดูแลแบบ ประคับประคอง (β = 0.272) ความเชื่อและการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา (β = .01 ) มีอิทธิพลทางตรงต่อความผาสุกทางจิต วิญญาณ ประสบการอาการเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างความช่วยเหลือทางสังคมและความผาสุกทางจิตวิญญาณ แบบจำลองโมเดล เชิงสาเหตุความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 97.495, p = .301, df = 91, CMIN/df = 1.132, GFI = .965, AGFI = .920, and RMSEA =. 016) ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ที่เป็น โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ โดยพยาบาลต้องส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม การดูแลแบบประคับประคอง ส่งเสริมความเชื่อ และการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รวมทั้งลดอาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย" }
{ "en": "The two groups Quasi-experimental design research was taken by pre-post measurement technique. The objectives were to study the effects of Health Belief Model Program on knowledge, stroke prevention behavior and blood pressure levels in hypertensive patients, located in the responsibility area of Kaeng Khro Hospital, Chaiyaphum province. Based on applied Health Belief Model mixed method with the concept of seven-colors Life Traffic Table Tennis and mobile phone follow-up. Samples were hypertensive patients with recruited by simple random sampling then assigned to be two groups, each group was 30 person. Proceeding from April to September of 2020. Collecting data by pre-post intervention questionnaire. Analyzing data by percentage, mean, standard deviation and t-test.\nResults found that post-intervention, the experimental group that received Health Belief Model Program had average knowledge, stroke prevention score higher than pre-intervention including average blood pressure level lesser than pre-intervention significantly (p-value <.05) Moreover, post-intervention, the experimental group that received Health Belief Model Program had average knowledge, stroke prevention score higher than pre-intervention including average blood pressure level lesser than pre-intervention significantly (p-value <.05) particular compared with the control group. Thus, conclusion support that Health Belief Model influencing the experimental group on knowledge, causation belief, symptoms of disease, self perception of exposure risk and more serious complication. Involved higher competency of stroke prevention behavior and enable reduced blood pressure level also.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดก่อน-หลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อ ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เขตรับผิดชอบโรงพยาบาล แก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ร่วมกับแนวคิดปิงปองจราจรชีวิต 7 สี และติดตาม เยี่ยมทางโทรศัพท์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายได้ 2 กลุ่มๆ ละ 30 คน ศึกษาระหว่างเดือน เมษายน-มิถุนายน 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามก่อนและหลังได้รับโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที\nผลการวิจัยพบว่า หลังทดลองกลุ่มได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรมการป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง สูงกว่าก่อนทดลองและมีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตหลังทดลอง ต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05) และหลังทดลอง กลุ่มได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรค หลอดเลือดสมอง สูงกว่ากลุ่มได้รับความรู้ตามปกติ และมีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต ต่ำกว่ากลุ่มได้รับความรู้ตามปกติ อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p-value < .05) สรุปได้ว่า โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ ทำให้กลุ่มทดลอง มีความรู้ มีความเชื่อตามสาเหตุ อาการของโรค เกิดการรับรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และจะเกิดความรุนแรงขึ้นเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้ปฏิบัติ พฤติกรรมในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ดีขึ้น ระดับความดันโลหิตจึงลดลง" }
{ "en": "Learning management problems in an epidemic situation of COVID-19 causes a disruptive change of the nursing education system, changing classroom teaching through online self-learning from home to keep the social distancing. Those affect the online education system through a new learning platform and the information technology for education more active. Skills in using computers, information technology and communication is very important for learners and teachers. Therefore, the development of educational personnel must be appropriate with the new learning culture, adaptation of learners are challenges. In this regard, the design of the educational management system must be consistent with the bachelor’s degree of nursing and educational management standards in the 21st century and provide learning appropriate for changing situations, linking knowledge to the practical implementation of health care which more severe and complex.", "th": "การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบของการศึกษาพยาบาลอย่างฉับพลัน จากการเข้าชั้นเรียนโดยมีอาจารย์เป็นผู้สอนเป็น การเรียนรู้นอกชั้นเรียนผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยตนเองจากทางบ้านเพื่อเว้นระยะห่างทางสังคมนั้น ส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาแบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเข้ามามีบทบาท มากขึ้น ทักษะด้านการใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้เรียนและผู้สอน ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาต้องให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมใหม่ของการเรียนรู้และการปรับตัวของผู้เรียนจึงมีความท้าทาย ทั้งนี้การออกแบบการจัดการศึกษาทั้งระบบจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์และ การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยง ความรู้สู่การปฏิบัติได้จริงในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่มีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน" }
{ "en": "Fear of childbirth in expectant father is feeling from negative predictions about wives pregnancy and birth. High risk pregnancy is the situation which may cause harm to wife and fetus, and it is unpredictable. The factors that cause fear of childbirth in the father are age, lack of experience, anxiety, self-esteem, and social support. So Midwife’s nurse should be health educator and counselor about symptoms and caregiving of women’s high risk pregnancy, and also be co-ordinator with interdisciplinary team for giving care and treatment appropriately to pregnant women. And be consultant about environmental modifies in both of health behavior and external environments that can help them perform daily activities appropriately. Moreover, Midwife should be researcher to learn about causes and how to do nursing care for the father and wife to have good physical health and mental health.", "th": "ความกลัวการคลอดบุตรในผู้จะเป็นบิดาเป็นความรู้สึกที่เกิดจากการคาดการณ์ทางลบเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด ของภรรยา ซึ่งการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงเป็นภาวะที่อาจส่งผลอันตรายกับภรรยาและทารกในครรภ์ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ อายุของบิดา การขาดประสบการณ์ในการเป็นบิดา ความวิตกกังวล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้จะเป็นบิดาเกิดความกลัวการคลอดบุตรของภรรยา ดังนั้น บทบาทพยาบาล ผดุงครรภ์จึงควรเป็นผู้ให้ความรู้และคำปรึกษาทางด้านสุขภาพเกี่ยวกับอาการและการดูแลภรรยาที่ตั้งครรภ์เสี่ยง รวมถึงประสานงาน กับทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สตรีตั้งครรภ์ได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับภาวะเสี่ยงที่เกิดขึ้น และให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยน สิ่งแวดล้อมทั้งด้านพฤติกรรมสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ส่งผลให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่าง เหมาะสม รวมถึงบทบาทในการเป็นนักวิจัย เพื่อศึกษาสาเหตุหรือแนวทางในการดูแลผู้จะเป็นบิดาและภรรยาที่ตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ให้มีสุขกายและใจที่สมบูรณ์แข็งแรง" }
{ "en": "This article aims to present conceptual framework, principles and theories about Adversity Quotient: of nursing students. by presenting the following issues: 1) Concepts and theories of Adversity Quotient, 2) The concept of youth change theory, 3) Contextual concepts of nursing students, and 4) Adversity Quotient of nursing students. It will be based on the CORE conceptual framework to guide students and faculty involved in the application to promote coping and to effectively overcome the obstacles of nursing students.", "th": "บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอกรอบแนวคิด หลักการ และทฤษฎี การเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรค (Adversity Quotient: AQ) ของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ จากหนังสือ บทความวิชาการ และงาน วิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำเสนอตามประเด็นดังต่อไปนี้ 1) แนวคิดและทฤษฎีความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรค 2) แนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น 3) แนวคิดบริบทของนักศึกษาพยาบาล และ 4) การเผชิญปัญหาและอุปสรรค ของนักศึกษาพยาบาล ตามกรอบแนวคิด CORE เพื่อเป็นแนวทางให้แก่นักศึกษาและคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องได้นำไปประยุกต์ใช้ใน การส่งเสริมการเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาพยาบาลให้มีประสิทธิภาพต่อไป" }
{ "en": "The role of palliative care nurse in caring the Buddhist Monk illness brought the concept of My care, My Comfort in the theme of World Hospice and Palliative Care Day 2020 to apply in caring the Buddhist Monk illness with caring and comfort. Palliative care for the illness monks was served to service the monks who were suffering from uncurable disease and the trend of life was worse from the disease then lead to the death. Thus, the caring should cover with the caring of body mind social and spiritual of the monks for the rest of the life.\n              So it should have palliative care nursing for Buddhist Monk illness with My care, My comfort following the concept of clear comprehension of suitability. The objective of the clear comprehension of suitability is to create the environment for the better life and develop the concentration of the monks. This process will let them relax in physical, mental spiritual with the concept of good environment. When without the stress, the concentration and critical thinking will be occurred after that happiness will come up then the peach of the monks and family will lead to peaceful death with Buddhism style. ", "th": "บทบาทของพยาบาลประคับประคองในการดูแลพระสงฆ์อาพาธ ได้นำหลักการแนวคิดการดูแลด้วยความห่วงใย ใส่ใจ ความสุขสบาย (My care, My Comfort) ที่เป็นหัวข้อหลักของวันการดูแลแบบประคับประคองสากลในปี 2020 มาประยุกต์ใช้ใน การดูแลพระอาพาธให้ได้รับการดูแลด้วยความห่วงใย ใส่ใจความสุขสบาย การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในพระอาพาธ หรือ การบริบาลพระอาพาธแบบประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการที่เจ็บป่วย เป็นวิธีการดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่รักษา ไม่หายขาด และมีแนวโน้มที่ทรุดลง จากตัวโรคได้ การดูแลจึงเน้นการดูแลแบบองค์รวม ครอบคลุมมิติกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ ของพระสงฆ์ สำหรับในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่\nดังนั้นจึงควรมีการพยาบาลประคับประคองพระสงฆ์อาพาธด้วยความห่วงใย ใส่ใจความสุขสบายตามหลักสัปปายะ ซึ่งเป็นการสร้างสภาพปัจจัยที่เอื้อต่อการศึกษาปฏิบัติธรรมในขณะเจ็บป่วยทำให้เป็นการดูแลที่เอื้อต่อการเป็นอยู่ที่ดี และเป็นการ พัฒนาสมาธิที่ได้ผลดีแม้ในขณะเจ็บป่วย จึงเป็นการดูแลเพื่อผ่อนคลายทั้งทาง สรีระ จิตใจ และปัญญา ด้วยหลักของการจัด สิ่งแวดล้อมเพื่อการผ่อนคลายให้มีความบรรเทา,ความโล่งอก,การปลดปล่อย ให้นำสู่ความสงบ คลายจากความเครียดที่เกิดขึ้นทั้ง ทางร่างกาย จิตใจ เมื่อสรีระ จิตใจผ่อนคลายส่งผลให้เกิดปัญญาตามมา อันเป็นหนทางแห่งความสุข สงบของพระภิกษุสงฆ์อาพาธ ที่เป็นเป้าหมายหลักคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งพระอาพาธและครอบครัวแม้ถึงวาระท้ายก็จะทำให้พระอาพาธได้มรณภาพ อย่างสงบตามวิถีพุทธ" }
{ "en": "Health promotion innovation in nursing has been currently in high demand, especially health promotion innovation that influences individuals’ health improvement at community and country levels. As a health professional member, nurses have significant roles in improving health promotion at every level of healthcare, including primary, secondary, and tertiary care. Thus, nurses should be knowledgeable about innovation development process and utilize research to examine its effectiveness and efficiency. This article aims to provide nurses with the knowledge, including the meaning innovation, types of health promotion innovation, suggestions to develop health promotion innovation, and community participation in health promotion innovation for patients with diabetes and hypertension. The components that facilitate successful health promotion innovation development are also included. The authors gathered information from the literature review and direct experience. This article should be a well-established resource for nurses to develop health promotion innovation to serve community and society demands.", "th": "ปัจจุบัน นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเป็นที่ต้องการอย่างมากในทางการพยาบาล โดยเฉพาะนวัตกรรมการสร้าง เสริมสุขภาพที่มีผลต่อการพัฒนาสุขภาพบุคคลทั้งในระดับชุมชนและประเทศ พยาบาลเป็นบุคลากรทีมสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญ ในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนในระบบบริการสุขภาพทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม และการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของนวัตกรรม บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ข้อมูลแก่พยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับความหมายของนวัตกรรม รูปแบบของนวัตกรรม การสร้างเสริมสุขภาพ แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน โดยยกตัวอย่างนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและตัวอย่างวิธีการพัฒนานวัตกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วม รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อ ความสำเร็จของนวัตกรรม ซึ่งได้จากการทบทวนวรรณกรรมและจากประสบการณ์ของผู้เขียน ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพยาบาล ในการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคมต่อไป" }
{ "en": "Health literacy is a crucial factor that can lead a person to appropriate health behaviors, decrease risk of health problems, and is necessary to be continuously developed. Especially in the new normal era, which includes the improving of online social networking and technological skills are important to enhance one’s health literacy. The development of health literacy in older adults is limited due to functional decline; hearing and vision loss; learning and memory problems, including chronic illness and health care cost. These factors are barriers to access and utilize technology for older adults. This academic article aimed to review the evidence of health literacy and new normal lifestyle among older adults in order to understand and guide further study. Moreover, this can be applied in nursing practice for improving health care and quality of life in older adults.", "th": "ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคคลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม ลดความเสี่ยงต่อ การเกิดปัญหาสุขภาพ ซึ่งต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุคการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี และการสื่อสารทางสังคมออนไลน์มีความสำคัญในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการพัฒนาความรอบรู้ ด้านสุขภาพจากความเสื่อมถอย ได้แก่ การมองเห็นและการได้ยินที่ลดลง ปัญหาการเรียนรู้และการจดจำ รวมทั้งการมีปัญหาสุขภาพ จากโรคเรื้อรังและค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ บทความวิชาการนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ในผู้สูงอายุ นำไปสู่การสร้างความ เข้าใจและแนวทางการศึกษาให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพและส่งเสริม คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุต่อไป" }
{ "en": "Orthostatic or postural hypotension is a common symptom among older people, particularly with Parkinson’s disease. The etiologies include autonomic failure from advancing age, receiving some medications and decrease blood circulation. Consequently, nurses should have knowledge, understanding about intervention and advice older people and/or their relatives about orthostatic hypotension to observe, take care older people when occurring orthostatic hypotension. In addition, this can prevent reoccurrence that will ensure elderly with Parkinson’s disease safety, reduce complications and improve their quality of life.", "th": "ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่าเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน สาเหตุอาจเกิดจาก การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติล้มเหลวจากอายุที่เพิ่มขึ้น การได้รับยาบางชนิด และปริมาตรการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย ลดลง ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้ ความเข้าใจ ในการรักษาพยาบาล ตลอดจนให้คำแนะนำผู้สูงอายุและ/หรือญาติเกี่ยวกับอาการ ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า เพื่อสามารถสังเกต และดูแลผู้สูงอายุเมื่อเกิดอาการดังกล่าว นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันการกลับ เป็นซ้ำ ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันปลอดภัย ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี" }
{ "en": "Patients with non-communicable diseases (NCDs) are essential and crucial in modifying health behaviors to be consistent and appropriate with their illnesses by motivating them to take care of and manage their health problems. Health literacy, which is a cognitive and social skill, helps a person to reach understand and use information in different ways. This leads to the development ability and self-management skills to maintain and continued good health. Nurses and health care personnel team as a conssequence play an important role in promoting and supporting NCDs patients to manage themselves by using Health Literacy to control their diseases as well as decrease the severity and complications of the illness, promote quality of life resulting in reduced healthcare costs. This academic article accordingly presents the concept of health literacy and the sequence of steps for developing health literacy in the context of Thailand as well as presenting concepts and self-management processes of individuals and families including bringing such concepts into practice so that it can be applied in the development of supporting intervention, promote self-management in combination with the development of health literacy in patients with NCDs. This is the key to success and further improving health outcomes in patients with NCDs.", "th": "ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้สอดคล้องและ เหมาะสมกับปัญหาการเจ็บป่วยโดยการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยจัดการสุขภาพของตนเอง ความรอบรู้ทางสุขภาพซึ่งเป็นทักษะ ทางปัญญาและสังคมมีส่วนช่วยทำให้บุคคลให้เข้าถึง เข้าใจ ใช้ข้อมูล วิธีการต่างๆ นำไปสู่การพัฒนาความสามารถและทักษะ การจัดการตนเองเพื่อรักษาและคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรในทีมสุขภาพจึงเป็นผู้ที่มีบทบาท สำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถจัดการตนเองโดยใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อควบคุมโรค ลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ บทความวิชาการนี้ จึงได้นำเสนอแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพและลำดับขั้นตอนการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในบริบทของประเทศไทย รวมทั้งนำเสนอแนวคิดและกระบวนการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว รวมทั้งนำแนวคิดดังกล่าวสู่การปฏิบัติ เพื่อให้สามารถ นำไปประยุกต์ในการพัฒนามาตรการสนับสนุน ส่งเสริม การจัดการตนเองร่วมกับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จและเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีทางสุขภาพในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป" }
{ "en": "This paper aimed to present the elderly’s confidence in the issues that can cause fall accidents in the elderly. The issue of confidence in health-related behaviors that may lead to overconfidence can result in accidents falling in the elderly 8 issues include: 1) Confidence in Movement 2) Confidence in Visibility 3) Confidence in health. 4) Confidence in decision making. 5) Confidence in exercise. The visual assessment of overall health status, movement, vision and ability to make decisions. Choose the right exercise for yourself. 6) Confidence in the family. 7) Economic confidence. 8) Confidence in the environment. It is an element that contributes to the decision-making of the elderly based on the basic living conditions of the elderly. Induced self-confidence increases or decreases according to the direction of each individual’s family. Family support helps older people to have more confidence in fall prevention.", "th": "บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปัจจัยด้านความมั่นใจของผู้สูงอายุในประเด็นต่างๆ ที่สามารถที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ พลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โดยมีประเด็นความมั่นใจที่เกิดจากพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่อาจก่อให้เกิดความมั่นใจเกินไปจน อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ 8 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ความมั่นใจด้านการเคลื่อนไหว 2) ความมั่นใจ ด้านการมองเห็น 3) ความมั่นใจในเรื่องสุขภาพ 4) ความมั่นใจด้านการตัดสินใจ 5) ความมั่นใจด้านการออกกำลังกาย โดย 5 ประเด็นนี้ การป้องกันคือการตรวจสุขภาพและประเมินสมรรถนะด้านการเคลื่อนไหว การมองเห็น ภาวะสุขภาพโดยรวม และความสามารถในการตัดสินใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าใจสถานการณ์ของสุขภาพที่เป็นอยู่เลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสม ต่อตนเอง 6) ความมั่นใจด้านครอบครัว 7) ความมั่นใจด้านเศรษฐกิจ 8) ความมั่นใจด้านสิ่งแวดล้อม เป็นองค์ประกอบที่มีส่วนช่วย ในการตัดสินใจของผู้สูงอายุโดยอาศัยปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตเดิมของผู้สูงอายุ ที่ชักนำให้ความมั่นใจในตนเองเพิ่มหรือ ลดลงตามทิศทางของพื้นฐานแต่ละครอบครัว การได้รับความร่วมมือจากครอบครัวช่วยให้ผู้สูงอายุมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น ต่อการป้องกันพลัดตกหกล้มได้" }
{ "en": "Sexually transmitted diseases can be at all genders and all ages, including in pregnant women. This article aims to present the role of nurses in nursing care for pregnant women with sexually transmitted infections. It is a guideline to help for preventing diseases, reduce complications in the fetus. The role of nurse for pregnant women in sexually transmitted infections is essential in order to provide quality nursing care for pregnant women with STIs according to the current situation. It also affects to more effective prevention and control of sexually transmitted diseases, and enabling the prenant women to Live an appropriate and social Life with out burdening others.", "th": "โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย รวมทั้งในหญิงตั้งครรภ์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอบทบาทของพยาบาลในการดูแลรักษาพยาบาลสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นแนวทาง ที่ช่วยในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค เป็นการลดภาวะแทรกซ้อนที่จะนำไปสู่ทารกในครรภ์ได้ บทบาทพยาบาลสำหรับ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อการดูแลรักษาพยาบาลสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อทาง เพศสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพอีกทั้งยังส่งผลให้การป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมและอยู่ในสังคมได้โดยไม่เป็นภาระผู้อื่น" }
{ "en": "The significant goal of the competency development on psychomotor skill for professional nurses is the nurse must be able to nursing practice independently without supervision, which can be considered that there are adequate and complete competences, that’s mean entrustable professional activities (EPAs). Application of EPAs concept in the evaluation of professional nursing competency in order to the clients trust and confidence that they will receive a safe and accurate as nursing standard. As the literature review, there are five levels of EPAs: level 1, not able to perform, just observe nursing activities only, level 2, able to perform an EPA with close supervision, level 3, able to perform with supervision nearby and prompt assistant immediately, level 4, able to perform without supervision, and level 5, able to perform without supervision and available to supervise others. The EPAs below level 4 should receive additional training or practice. There are 7 steps to developing EPAs: 1) identify the necessary EPAs 2) define the EPAs components 3) write the necessary competencies components 4) define the EPAs 5) identify the assessment methods or accessible resources 6) assignment of responsibility, and 7) establishing an end-of-assessment period. Therefore, applying the concept of entrustable professional activities into development and evaluation the competency of nurses likely to be promoting nurses with professional competencies, and ready to provide quality care for the clients.", "th": "เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะพิสัยของพยาบาลวิชาชีพ คือพยาบาลต้องสามารถปฏิบัติการพยาบาล ได้โดยอิสระโดยไม่มีการนิเทศ จึงถือได้ว่ามีสมรรถะที่เพียงพอและสมบูรณ์ ซึ่งก็คือ Entrustable professional activities (EPAs) การนำแนวคิด EPAs มาใช้ในการประเมินสมรรถนะวิชาชีพพยาบาล เพื่อให้ผู้รับบริการไว้วางใจและมั่นใจว่าจะได้รับการพยาบาล ที่ปลอดภัยถูกต้องตามมาตรฐาน จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า EPAs มี 5 ระดับ คือ ระดับ 1 ไม่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ให้สังเกตการณ์การทำกิจกรรมการพยาบาลเท่านั้น ระดับ 2 ปฏิบัติได้ด้วยตนเองแต่ต้องได้รับการนิเทศอย่างใกล้ชิด ระดับ 3 ปฏิบัติ ได้ด้วยตนเองและนิเทศเท่าที่จำเป็นและพร้อมให้การช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ระดับ 4 ปฏิบัติได้เองโดยไม่ต้องนิเทศ และระดับ 5 ปฏิบัติได้ด้วยตนเองและพร้อมที่จะให้การนิเทศผู้อื่นได้ EPAs ที่ต่ำกว่าระดับ 4 ควรได้รับการฝึกอบรมหรือฝึกปฏิบัติเพิ่มเติม โดยมี ขั้นตอนในการพัฒนา EPAs 7 ขั้นตอน คือ 1) ระบุสมรรถนะวิชาชีพที่จำเป็น 2) ระบุส่วนประกอบของ EPAs 3) เขียนองค์ประกอบ สมรรถนะที่จำเป็น 4). กำหนด EPAs 5) ระบุวิธีประเมินหรือแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงได้ 6) มอบหมายความรับผิดชอบ และ 7) กำหนด ระยะสิ้นสุดการประเมิน ดังนั้น การนำแนวคิดการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพด้านทักษะพิสัยมาใช้ในการพัฒนาและการประเมิน สมรรถนะของพยาบาล จะเป็นแนวทางในการสร้างเสริมพยาบาลที่มีสมรรถนะวิชาชีพ พร้อมที่จะให้การดูแลผู้รับบริการที่มีคุณภาพ" }
{ "en": "The present study was a semi-experimental research for development of nursing practice guideline in order to prevent hypothermia in patients with off pump coronary artery bypass grafting in Udonthani hospital during August to October 2020. A simplified heating device in combination with a nursing practice guideline was applied for preventing the hypothermia during an operation. The collecting data tools were a patient’s temperature recording form, a satisfactory survey and an assessment form of nursing practice guideline. The data retrieved were statistical analyzed including percentage, mean value, standard deviation, paired t-test. The developed nursing care guideline in hypothermia preventing composes of 3 phases including pre-operative, intra-operative and post-operative phases. The results revealed that during the intra-operative period, the core temperatures in test group (n = 30) using wormed fluid obtained from the invented heating device were significantly higher than those for control group (n = 41) using the intermittent water warming at a statistic level of .05 (P = .003). A hundred percent of the nurses (n = 19) were excellently satisfied using the nursing practice guideline for preventing hypothermia in patients with off pump coronary artery bypass grafting. In addition, all of nurses (n = 19) followed the nursing practice guideline for preventing hypothermia in patients with off pump coronary artery bypass grafting during their duties. It can be concluded that the developed nursing practice guideline has potential to be used satisfactorily for preventing hypothermia in patients with off pump coronary artery bypass grafting.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในผู้ป่วย ที่ได้รับการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมโรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2563 โดยใช้เครื่องอุ่นสารน้ำร่วมกับแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำขณะผ่าตัด เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกอุณหภูมิผู้ป่วย แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และแบบประเมิน การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล วิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน independent samples t-test แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำที่พัฒนาขึ้น แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง (จำนวน 30 คน) ที่ใช้สารน้ำอุ่นโดยเครื่องอุ่นสารน้ำที่จัดทำขึ้นมีอุณหภูมิกาย เฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม (จำนวน 41 คน) ที่ใช้สารน้ำอุ่นโดยเครื่องอุ่นสารน้ำแบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P = .003) และพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด (จำนวน 19 คน) มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกัน ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ คิดเป็นร้อยละ 100 สรุปได้ว่า การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำที่พัฒนาขึ้น นี้สามารถป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด OPCAB ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ" }
{ "en": "This qualitative research aimed to describe good death as perceived by nursing students. Heidegger humanistic phenomenology was applied as research methodology. The participants were 15 nursing students who had experienced the loss of a family member while studying in the Faculty of Nursing. Data were collected using in-depth interviews with audio-recorded, and field observations. Data was analyzed using content analysis method of The Van Manan. The findings of this study are consisted of 7 themes: 1) having knowledge to be the door for good death, 2) having relationship to enhance the supporting and caring, 3) Creative communication and prepare with mutual understanding, 4) Live every moment with value and meaning, 5) Caring the body and mind by nothing suffering, 6) Psychological needs are meet, 7) Spiritual beliefs are not ignored.", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายเกี่ยวกับการตายดีตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาพยาบาลที่มีประสบการณ์ สูญเสียบุคคลในครอบครัวขณะที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 15 คน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ เชิงลึก การสังเกต นำมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen ผลการศึกษา พบว่า การตายดี ตามการรับรู้ของ นักศึกษาพยาบาลสามารถแบ่งเป็น 7 ประเด็นหลัก คือ 1) มีความรู้ คือ ประตูสู่การตายดี 2) สัมพันธภาพที่มีช่วยส่งเสริม ดูแลกัน 3) สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เตรียมความพร้อมร่วมกันอย่างเข้าใจ 4) ใช้ชีวิตทุกช่วงเวลาให้มีคุณค่ามีความหมาย 5) ดูแลร่างกายจิตใจ ไร้ทรมาน 6) จิตสังคมได้รับการตอบสนองตามต้องการ และ 7) จิตวิญญาณความเชื่อนั้นไม่ถูกละเลย" }
{ "en": "This survey research aimed to determine the perception of the grade 3 students of secondary school in Bangkok on premarital sexual behaviors and adolescent pregnancy. The participants were 180 grade 3 students of secondary school in Bangkok, 90 were male and 90 were female. Data were collected using closed-ended question with 10 items and analysed using content analysis. Mostly participants’ perceived value and attitude on premarital sexual behavior and adolescent pregnancy, the results shown that they should not have sex during school age because of sexual transmitted diseases, unwanted pregnancy, and adverse effects on their studies and families. Male participants perceived that the cultivated values is honor, patience and suppression on their sexual emotions. Female participants perceived that learning to refuse, avoiding dating in private and sexual arousing such as touching, kissing and sexual media can prevent sexual intercourse. The most important of prevention teenage pregnancy that perceived by male and female participants is A B C concept (A: Abstinence means not having sex; B: Be appropriate behaviors; C : Condom using). Moreover, unwanted pregnancy should be informed to their parents, teachers with visiting healthcare center or calling 1663, hotline number for consultation. The study results suggest an application on development of teenage life skills to cope with sexual situations. The cultivated proper sexual value and attitudes should be introduced in the school age by their families, schools, healthcare providers, and policy makers.", "th": "การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาจังหวัดกรุงเทพมหานครที่มีต่อ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งใน จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 180 คน แบ่งเป็นเพศชาย และเพศหญิง กลุ่มละ 90 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ปลายเปิด จำนวน 10 ข้อ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จัดกลุ่มและนำเสนอความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยการแจกแจงความถี่และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า ในด้านค่านิยมและทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง ทั้งเพศชายและเพศหญิงส่วนใหญ่รับรู้ว่า ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เพราะอาจเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ได้ ในด้านความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างทั้งเพศชายและเพศหญิงส่วนใหญ่รับรู้ว่า การไม่มีเพศสัมพันธ์ ก่อนวัยอันควรเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หรือหากมีเพศสัมพันธ์ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง นอกจากนี้หากเกิด การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ควรปรึกษาผู้ปกครอง ครู และไปพบแพทย์ และสามารถติดต่อขอคำปรึกษาจากสายด่วนเอดส์และท้อง ไม่พร้อมที่เบอร์โทรศัพท์ 1663 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ควรจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตให้กับวัยรุ่น เพื่อการเผชิญปัญหาในสถานการณ์ ทางเพศต่างๆ โดยนำความรู้ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองอย่างแท้จริง และปลูกฝังค่านิยมทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องเพศสัมพันธ์ ซึ่งควรเริ่มตั้งแต่วัยเรียน โดยเนื้อหาสอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย สอนผ่านทางครอบครัว โรงเรียน บุคคลากรทางสุขภาพ หน่วยงาน ของรัฐและเอกชน รวมทั้งสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อวัยรุ่นในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก" }
{ "en": "The fear of cancer recurrence is a psychological problem that makes patients with breast cancer have improper coping behaviors. This predictive correlational study aimed to evaluate the fear of cancer recurrence and its predictors in breast cancer patients receiving radiotherapy and/ or chemotherapy at the outpatient departments of Chonburi Cancer Hospital. Ninety-four patients with breast cancer were recruited by a simple random sampling method. The research instruments included the personal data record form, the Fear of Cancer Recurrence Inventory Short Form (FCRI-SF), the Brief Pain Inventory Short Form (BPI-T), the Thai version of 10-Item Perceived Stress Scale (T-PSS-10), the Life Orientation Test Revised (LOT-R) and, the Social Support Questionnaire (SSQ). The Cronbach alpha coefficients were .87, .92, .85, .84 and .98 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and multiple regression analysis.\nThe results showed that 84 percent of the sample had a high level of fear of cancer recurrence (Mean = 22.80, SD = 5.76). Stress was only the factor that could predict fear of cancer recurrence among patients with breast cancer (β = .61, p <.05). Therefore, nurses should regularly assess the stress, causes of stress, and the fear of cancer recurrence in patients with breast cancer in order to promote patients’ ability to cope and manage stress properly to prevent fear of cancer recurrence during treatment.", "th": "ความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำเป็นปัญหาด้านจิตใจที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม มีพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาไม่ เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำ และปัจจัยทำนายความ กลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำ ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาด้วยรังสีรักษา และ/ หรือเคมีบำบัด ที่แผนกผู้ป่วยนอกรังสี รักษาและแผนกผู้ป่วยนอกเคมีบำบัด โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 94 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความกลัวการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง แบบประเมินความปวด แบบประเมินความเครียด แบบสอบถามการมองโลกในแง่ดี และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87, .92, .85, .84 และ .98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ\nผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 84 มีความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำอยู่ในระดับสูง (Mean = 22.80, SD = 5.76) โดยความเครียดเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม (β = .61, p < .05) ดังนั้น พยาบาลควรมีการประเมินความเครียด สาเหตุของความเครียด และความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำใน ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาแนวทางจัดการ และส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเครียดและป้องกันความ กลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำได้อย่างเหมาะสมในระหว่างรับการรักษา" }
{ "en": "The objective of this quasi-experimental research with a control group was to study the effects of SKT2 meditation practice with diet control knowledge on ischemic heart disease preventive behavior in hypertensive patients. The subjects were 24 hypertensive patients, divided into experimental and control groups. The experimental instruments were 1). SKT2 meditation practice manual and diet education accordance with the DASH Diet. 2) data collection tools were 4 parts questionnaire 2.1) personal information 2.2) perceived severity 2.3) perceived susceptibility, and 2.4) preventive behaviors of ischemic heart disease. Both of them had been validated by 3 experts. The CVI value were between 0.67-1.00, while the reliability of part 2-4 questionnaires which tryout in a similar group of 30 hypertensive patients were at 0.88, 0.88, and 0.82, respectively. The statistics used were percentage, mean, standard deviation and t-test. The results showed that 1) the mean score of perceived severity, perceived susceptibility, and the preventive behaviors after the intervention program of the experimental group were higher than before experiment with significantly different at the 0.001 level. 2) The average blood pressure after the experiment of the experimental group was decreased more than the control group with statistical significance at the .001 level, whereas the control group were not different.", "th": "วัตถุประสงค์การวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของการฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT2 ร่วมกับการควบคุมอาหารต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคหัวใจขาดเลือดของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ 1) คู่มือการฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT2 และการให้ความรู้เรื่องการ ควบคุมอาหาร 2) เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย 2.1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2.2) การรับรู้ความรุนแรง 2.3) การรับรู้โอกาสเสี่ยง 2.4) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่า CVI อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ความเชื่อมั่นของแบบสัมภาษณ์ส่วนที่ 2.2, 2.3 และ 2.4 ได้ค่า 0.88, 0.88 และ 0.82 ตามลำดับ ใช้เวลาทดลอง 10 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการทดลอง พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง พฤติกรรมการปฏิบัติก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองแตก ต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยภายหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ค่าเฉลี่ย ความดันโลหิตหลังการทดลองของกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และลดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน" }
{ "en": "This quasi-experimental research applied the gamification concept in education. The concept is the integration of gaming with learning technology. Leading to classroom engagement and practice of problem-solving skills from situations in the game. Therefore, we are interested in using the game “Solve the outbreak” to organize learning activities based on the concept of gamification. So that the learner was an epidemic investigator in various epidemic situations. The aims of this research were to 1) analyze and compare the problem-solving skills of nursing students before and after providing the learning activities with the gamification approach and 2) study the students’ opinions towards the learning activities with the gamification approach. One group, pretest-posttest design was carried out on a sample of 63 second-year nursing students. The samples planned themselves to play “Solve the outbreak” game effectively within 4 weeks. The research instruments were the problem-solving skills test and the opinion survey. Reliability test using the Kuder-Richardson 20 are 0.82. The data were analyzed by using descriptive statistics and paired t-test.\nThe results found that problem-solving skills increased after participating in the learning activities based on the concept of gamification with statistically significant at .05 level. Student’s opinions show that they learned about diseases and outbreaks management in an enjoyable and engaging way. The scenarios stimulated their problem-solving thinking to save lives.", "th": "การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ ได้นำแนวคิดเกมิฟิเคชันมาใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นการบูรณาการการเล่นเกมเข้ากับการใช้ เทคโนโลยีการเรียนรู้ นำไปสู่การส่งเสริมการมีส่วนร่วม และการฝึกทักษะการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในเกม ผู้วิจัยจึงสนใจนำ เกม “Solve the outbreak” มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมิฟิเคชัน เพื่อให้ผู้เรียนเป็นนักสืบสวนการระบาด ในสถานการณ์ โรคระบาดรูปแบบต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ: 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนพยาบาลก่อนและ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมิฟิเคชัน และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนพยาบาลต่อการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ตามแนวคิดเกมิฟิเคชัน แบบแผนการวิจัยเป็นแบบศึกษาเปรียบเทียบในกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม คือ นักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 63 คน ดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะในการคิดแก้ปัญหา และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมิฟิเคชัน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (KR-20) มีค่าเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง Paired t-test\nผลการวิจัยพบว่า ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนพยาบาลหลังเข้าร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมิฟิเคชัน สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความคิดเห็นว่า การเล่นเกมทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การจัดการโรคระบาด ไปพร้อมกับความสนุกสนานและมีส่วนร่วมในการเรียน สถานการณ์ในเกมกระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาเพื่อรักษา ชีวิตของประชาชนให้ได้มากที่สุด" }
{ "en": "This study was a descriptive correlation research. The study aimed at investigating the relationships between self-efficacy and satisfaction of nursing students who received online learning in COVID-19 situations. The sample consisted of 300 nursing students who online learning and register summer semester in academic year 2019 in government and private university in the north-eastern region of Thailand. The instruments used to collect data included a demographic characteristic questionnaire, Online learning self-efficacy scale and online learning satisfied questionnaire. Data were analyzed using frequency, percentage, mean and Spearmen’s rank correlation.\nThe research findings revealed that self-efficacy was positively related to satisfaction of nursing students who received online learning with statistical significance (r = .666, p <.001). The study findings could be utilized to guidance for development self-efficacy promotion program in nursing students who received online learning.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับ ความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนรูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562 ในวิชาที่มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ จำนวน 300 คน รวมทั้งมีความสมัครใจและยินยอมให้ความร่วมมือในการดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการเรียนออนไลน์ และแบบ ประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยายและสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน\nผลการวิจัยพบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนรูปแบบออนไลน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .666, p <.001) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนา โปรแกรมเพื่อเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในนักศึกษาพยาบาลที่เรียนในรายวิชาที่มีรูปแบบการสอนแบบออนไลน์" }
{ "en": "This analytic cross-sectional research aimed to study the level of the health literacy and the selected factors related with the health literacy in type 2 diabetes patients. The samples were 405 Patients with uncontrolled blood sugar level. The research instrument consisted of the selected factors and health literacy assessment questionnaires. The reliability was KR 20 and Cronbach’s alpha coefficient at 0.642 and 0.952. Data was analyzed by descriptive statistics and chi-square.\nThe study revealed that health literacy level was fair. Selected factors had no relationship with health literacy. For each dimension analysis, gender related with health access sand services and decision skill, age, education and related disease related with health knowledge and media literacy, occupation, income and disease duration related with knowledge, health communication, and decision skill were shown significantly at .05.", "th": "การวิจัยแบบสำรวจเชิงวิเคราะห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ทางสุขภาพ และปัจจัยคัดสรรที่มีความ สัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด จำนวน 405 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามปัจจัยคัดสรรและแบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ หาค่าความ เชื่อมั่นโดยวิธีของคูเดอร์ริชาร์ดสัน 20 และสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.642 และ 0.952 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง พรรณนา และไควสแควร์\nผลการวิจัยพบว่า ระดับความรอบรู้ทางสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ปัจจัยคัดสรรไม่มีความสัมพันธ์กับความฉลาด ทางสุขภาพโดยรวม เมื่อวิเคราะห์รายด้าน พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงข้อมูล และทักษะการตัดสินใจ อายุ การศึกษา โรคร่วม มีความสัมพันธ์กับความรู้ และการรู้เท่าทันสื่อ อาชีพ รายได้ ระยะเวลาการเป็นโรคมีความสัมพันธ์กับความรู้ การสื่อสาร สุขภาพ และทักษะการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The objective of this study was to examine the roles of clinical nurse coordinators based on Ethnographic Delphi Future Research (EDFR). Nineteen informants came from four groups of people comprising six multidisciplinary experts, two academics specializing in clinical nurse coordinators, four nursing administrators and seven nurses working as clinical nurse coordinators. The research methodology was conducted as follows: the first round involving the interviews about the roles of the clinical nurse coordinator, the second round creating a questionnaire based on the information obtained from the interviews and asking experts to evaluate the importance of the roles, and the third determining the mean and quartile range of the information from the second round to finalize the questionnaire. The questionnaire was reviewed by experts before a summary of the roles of a clinical nurse coordinator was carried out.\nThe findings revealed that the roles of a clinical nurse coordinator can be classified into the following five major roles: 1) Care manager: consisting of 10 sub-roles concerning taking care of a patient from admission to discharge. 2) Data and information manager: consisting of 4 sub-roles concerning data management and analysis to determine the likely cause of the disease and treatment 3) Clinical counselor: consisting of 7 sub-roles concerning the provision of patients and their families with consultation and health care personnel with treatment for certain patients. 4) Clinical quality operator: consisting of 6 sub-roles concerning activities organized to improve patient care.5) Clinical advocator: consisting of 6 sub-roles concerning protecting the patient’s rights to treatment.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของพยาบาลผู้ประสานงานทางคลินิก โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คน ประกอบด้วยกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ ที่ทำงานร่วมกับพยาบาลผู้ประสานงานทางคลินิก จำนวน 6 คน กลุ่มนักวิชาการที่มีความรู้เกี่ยวกับพยาบาลผู้ประสานงานทางคลินิก จำนวน 2 คน กลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาลที่ทำงานกับพยาบาลผู้ประสานงานทางคลินิก จำนวน 4 คน และกลุ่มพยาบาลที่ปฏิบัติ งานเป็นพยาบาลผู้ประสานงานทางคลินิก จำนวน 7 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ เกี่ยวกับบทบาทของพยาบาลผู้ประสานงานทางคลินิก รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมา สร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของบทบาทของพยาบาลผู้ประสานงานทางคลินิกแต่ละด้าน และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน ความคิดเห็น เพื่อสรุปผลบทบาทของพยาบาลผู้ประสานงานทางคลินิก\nผลการวิจัยพบว่า บทบาทของพยาบาลผู้ประสานงานทางคลินิก ประกอบด้วย 5 บทบาท ดังนี้ 1) ผู้จัดการดูแลผู้ป่วย เฉพาะกลุ่มโรค ประกอบด้วยบทบาทย่อย 10 ข้อ เกี่ยวกับการจัดการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนถึงหลังการจำหน่าย 2) ผู้จัดการ ข้อมูลและสารสนเทศทางคลินิก ประกอบด้วยบทบาทย่อย 4 ข้อ เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์แนวโน้มการ เกิดโรคและการรักษา 3) ผู้ให้ข้อมูล และคำปรึกษาทางคลินิก ประกอบด้วยบทบาทย่อย 7 ข้อ เกี่ยวกับการให้ข้อมูลคำปรึกษาแก่ ผู้ป่วยและครอบครัว และบุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่รับผิดชอบ 4) ผู้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพทาง คลินิก ประกอบด้วยบทบาทย่อย 6 ข้อ เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมพัฒนาการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่รับผิดชอบ 5) ผู้ประสานประโยชน์ ทางคลินิก ประกอบด้วยบทบาทย่อย 6 ข้อ เกี่ยวกับการประสานประโยชน์และการดูแลตามสิทธิของผู้ป่วยกลุ่มโรคที่รับผิดชอบ" }
{ "en": "This descriptive research study examined the level of nursing students’ dispositional mindfulness and its relationship with academic achievement. The participants were 234 first to fourth year nursing students enrolling in the Bachelor of Nursing Science program at a university in Bangkok (n= 59, 57, 58, and 60 respectively). The research instrument was the Thai version of the Five Facet Mindfulness Questionnaire (FFMQ). The reliability of the questionnaire was high (α = .86). The participants’ demographic data and their level of dispositional mindfulness were analyzed using descriptive statistics. In addition, the relationship between the participants’ dispositional mindfulness and academic achievement was analyzed using the Pearson’s ProductMoment Correlation. This study found that both the participants’ overall dispositional mindfulness score and nonreacting to inner experience facet score were moderate; on the other hand, their scores on the observing facet (attending to internal and external experiences), describing facet (labeling experiences with words), and acting with awareness facet (paying full attention to current activity), were found to be moderate to slightly high; while their nonjudging facet score was found to be low to slightly moderate. Furthermore, the relationship between acting with awareness facet and academic achievement was found to be statistically significant positive but weak (r = .19, p < .01). The findings suggested nursing instructors may consider integrating simple Vipassana mindfulness trainings in classrooms throughout the Bachelor of Nursing Science program.", "th": "การวิจัยเชิงบรรยายนี้ศึกษาระดับความมีสติและความสัมพันธ์ระหว่างสติกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล ผู้เข้าร่วมวิจัย 234 คน เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1–4 เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ (n = 59, 57, 58, 60 ตามลำดับ) เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามสติ 5 ด้าน ฉบับภาษาไทย (The Thai version of the Five Facet Mindfulness Questionnaire) ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ในระดับสูง (α = .86) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและระดับความมีสติโดยใช้สถิติ บรรยาย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสติกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน การศึกษานี้พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนสติโดยรวมและด้านการไม่โต้ตอบต่อประสบการณ์ภายในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง สติด้านการสังเกตเฝ้าดูประสบการณ์ ภายในและภายนอก สติด้านการอธิบายประสบการณ์ด้วยคำพูด และสติด้านความตระหนักรู้ในสิ่งที่กำลังทำอยู่ในระดับปานกลาง ค่อนไปทางมาก ส่วนสติด้านการไม่ตัดสินประสบการณ์ภายในตนเองอยู่ในระดับน้อยค่อนไปทางปานกลาง และพบความสัมพันธ์ ทางบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสติด้านความตระหนักรู้ในสิ่งที่กำลังทำกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (r = .19, p < .01) ผลการวิจัยนี้เสนอให้อาจารย์พยาบาลพิจารณาผสมผสานการฝึกสติแนววิปัสสนารูปแบบง่ายในชั้นเรียนตลอดการสอนใน หลักสูตรพยาบาลศาสตร์" }
{ "en": "Survey research for study included the care needs of patients with coronary heart disease, to compare the care needs of patients with coronary heart disease classified by gender and to study the relationship between the co-morbidity, duration of treatment, number of medication taken, cardiac function class and the care needs of patients with coronary artery disease. The sample consisted of 352 patients who were treated with medicine at the Police Hospital. The Instruments for data collection consisted of questionnaires, general data and clinical data of individuals, and needs assessment for patients with coronary heart disease. Analyze data with Descriptive statistics, T -test and Pearson’s correlation coefficient.\nThe results of the study revealed that 1) Total care needs of the patients with coronary heart disease in a high level ( = 95.81) , when considering each aspect, it was found that the psycho needs ( = 29.32), the health system and information care ( = 23.79), Physical and daily activities ( = 17.09) were moderate level, and the low level of sexual desire ( = 6.57) 2) Total support care needs of coronary heart disease was not significantly different by gender (p<.05) 3) The co-morbidity correlated with the positive care needs at a moderate level (r = 0.44). The duration of treatment (r = .09) and the number of medicine taken (r = .63) were related to the low and moderate level of negative needs (respectively). Cardiac functional class was not correlation with the care needs of patients with coronary heart disease.", "th": "การวิจัยเชิง สำรวจเพื่อศึกษา ความต้องการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดหัวใจจำแนกตามเพศ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนภาวะโรคร่วม ระยะเวลาการรักษา จำนวนยาที่รับ ประทาน ระดับการทำหน้าที่ของหัวใจกับความต้องการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่ได้รับการรักษาด้วยยา ณ โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 352 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูล ทั่วไปของบุคคล ข้อมูลทางคลินิกของบุคคล และ แบบประเมินความต้องการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สิถิติพรรณนา สถิติ ที และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน\nผลการศึกษา พบว่า 1) ความต้องการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ในระดับมาก ( = 95.81) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าความต้องการในระดับปานกลางประกอบด้วย ด้านความต้องการทางจิตใจ ( = 29.32) ทางระบบสุขภาพและการให้ข้อมูล ( = 23.79) ทางการดูแลและสนับสนุน ทางร่างกายและการทำกิจวัตรประจำวัน ( = 17.09) ส่วนความต้องการทางเพศ อยู่ใน ระดับน้อย ( = 6.57) 2) ความต้องการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่แตกต่างกันตามเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 3) ภาวะโรคร่วม มีความสัมพันธ์กับความต้องการทางบวกในระดับปานกลาง (r = .44) ระยะเวลาการรักษาและจำนวนเม็ดยาที่รับ ประทานมีความสัมพันธ์กับความต้องการทางลบในระดับต่ำ (r = .09) และปานกลาง (.63) (ตามลำดับ) ส่วนระดับการทำหน้าที่ของ หัวใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ" }
{ "en": "The purpose of this research was to study the roles of hyperbaric nurses. The Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) was applied. The subjects included 25 experts including 7 physicians involved in HBOT, 7 nursing administrators of HBOT, 4 nursing educators of HBOT and 7 staff nurses of HBOT. The EDFR consisted of three steps: In step one, describe to roles of hyperbaric nurses from the experts. In step two, the data were analyzed by using content analysis for developing the rating scale questionnaire. In step three, The data were analyzed again by using median and interquartile range to summarize the roles of hyperbaric registered nurses. The results showed the roles of hyperbaric nurses consist of 7 roles as follows:\n1) The nursing practice roles including patient care of HBOT comprehensive holistic by nursing process 11 items. 2) The educator roles in the teaching process to the individual patient, family, etc. including 9 items. 3) The development and innovative nursing roles including 3 items. 4) The role of the nurse manager to assess the risk management 7 items. 5) The counselor roles of HBOT services regarding advising patients and those interested 6 items. 6) The role of the coordinator services regarding coordination with the staff and relevant departments 6 items. 7) The role of patient advocacy including 7 items.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาด้วย HBOT จำนวน 25 คน ประกอบด้วยแพทย์ 7 คน ผู้บริหารการพยาบาล 7 คน อาจารย์พยาบาล 4 คน และพยาบาลที่ปฏิบัติงาน 7 คน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ เกี่ยวกับบทบาทของพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถาม ให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของบทบาทของพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูงแต่ละด้าน และรอบที่ 3 นำข้อมูลมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปผล\nผลการวิจัยพบว่า บทบาทของพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ประกอบด้วย 7 ด้าน ดังนี้ 1) บทบาทผู้ปฏิบัติ การพยาบาล HBOT ประกอบด้วยบทบาทย่อย 11 ข้อ 2) บทบาทผู้สอนและให้ความรู้การให้บริการ HBOT ประกอบด้วยบทบาท ย่อย 9 ข้อ 3) บทบาทผู้พัฒนางานและนวัตกรรมทางการพยาบาล HBOT ประกอบด้วยบทบาทย่อย 3 ข้อ 4) บทบาทผู้จัดการ ความเสี่ยงจากการรักษาด้วย HBOT ประกอบด้วยบทบาทย่อย 7 ข้อ 5) บทบาทผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบริการ HBOT ประกอบ ด้วยบทบาทย่อย 6 ข้อ 6) บทบาทผู้ประสานงานการให้บริการ HBOT ประกอบด้วยบทบาทย่อย 6 ข้อ และ7) บทบาทผู้พิทักษ์สิทธิ ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วย HBOT ประกอบด้วยบทบาทย่อย 7 ข้อ" }
{ "en": "This descriptive correlational researchwas examined the following: 1) the happiness among sexually- and gender-diverse individuals (SGD), and 2) the factors influencing the happiness of these individuals. One hundred and fifty-two sexually- and gender-diverse individuals were recruited. The instruments included the following: 1) a demographic characteristics questionnaire; 2) a family relationship questionnaire; 3) the Rosenberg Self-esteem Scale;4) the Center of Epidemiologic Studies Depression Scale (CSD-S), and 5) the Oxford Happiness Questionnaire. Cronbach’s alpha was used to determine the reliability of the instruments. Family relationship Questionnaire was at .75, Rosenberg Self-esteem scale was at.71, CES-D was at .80, and the Oxford Happiness Questionnaire was at .75. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s correlation coefficient.\nThe results revealed that the happiness was at a high level (M = 4.67, SD. = .59), family relationships were at a good level (M = 48.63, SD. = 7.17), self-esteem was at a high level (M = 3.30, SD. = .44), and depression was at 10.80 (SD. = 8.59). Family relationships and self-esteem had a statistically-significant positive relationship with happiness (r = .38, p<0.001, r = .66, p<.001), and depression had a statistically significant negative relationship with happiness (r = -.60, p<.001) Although happiness among SGD was at a high level, mental health nurses should develop nursing interventions by promoting family relationships and self-esteem. Moreover, depression is negatively correlated with happiness. Mental health nurses could early detect, prevent, and follow-up for depression among sexually-and gender-diverse persons.", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสุขของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ 2) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสุขของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวมรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามสัมพันธภาพครอบครัว 3) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง 4) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และ 5) แบบวัดความสุข โดยค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม สัมพันธภาพครอบครัว เท่ากับ .75, แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง เท่ากับ .71, แบบประเมินภาวะซึมเศร้า เท่ากับ .80, และแบบวัดความสุข เท่ากับ .75 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ ของสเปียร์แมน\nผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความสุขในระดับมาก (M = 4.67, SD. = .59) ค่าเฉลี่ยสัมพันธภาพครอบครัว ในระดับดี (M = 48.63, SD. = 7.17) ค่าเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับสูง (M = 3.30, SD. = .44) และค่าเฉลี่ย ภาวะซึมเศร้าเท่ากับ 10.80 (SD. = 8.59) และพบว่า สัมพันธภาพครอบครัวและการเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกใน ระดับปานกลางกับความสุข (r = .38, p< .01, r = 0.66, p< .01) และภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับ ความสุข (r = -.60, p < .01) แม้จะพบว่าความสุขในกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูง พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตควรส่งเสริมความสัมพันธ์ใน ครอบครัวและการเห็นคุณค่าในตนเอง นอกจากนี้ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์เชิงลบกับความสุข ดังนั้น พยาบาลควรมีการประเมิน ภาวะซึมเศร้าในระยะแรกเพื่อการป้องกันและติดตามภาวะซึมเศร้าในกลุ่มนี้" }
{ "en": "The objective of this descriptive correlational research was to identify factors related to health seeking behaviors among persons at risk of colorectal cancer. A multi-state sampling of 122 patients at risk of colorectal cancer were recruited from Gastrointestinal outpatient department in Rajavithi Hospital, Police General Hospital and Chulalongkorn Memorial Hospital. Data were collected using 6 questionnaires for persons at risk of colorectal cancer: 1) Demographic data form, 2) Illness Perception, 3) Social support, 4) Anxiety, 5) Fear, and 6) Health seeking behaviors. All questionnaires were tested for their content validity by 5 experts. The Cronbach’s alpha coefficient were .86, .89, .86, .87, and .86, respectively. Data were analyzed using Pearson’s product correlation coefficient statistics.\nThe finding showed that factors were significantly descriptive correlated to health seeking behaviors among persons at risk of colorectal cancer. The 3 factors were illness perception (r = .471), social support (r = .327), and anxiety (r = -.367) significant descriptive correlated to health seeking behaviors among persons at risk of colorectal cancer at the .05.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมแสวงหาบริการ สุขภาพของบุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และ ทวารหนัก จำนวน 122 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากผู้ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกระบบทาง เดินอาหาร โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 6 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบวัดความวิตกกังวล 5) แบบสอบถามความกลัว และ 6) แบบสอบถามพฤติกรรมแสวงหาบริการสุขภาพของบุคคลที่มีความ เสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ค่าความเที่ยงของเครื่องมือ เท่ากับ .86, .89, .86, .87 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธรการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน\nผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมแสวงหาบริการสุขภาพของบุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ การรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย (r = .471) การสนับสนุนทางสังคม (r = .327) และความวิตกกังวล (r = -.367) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This quasi-experimental study aims to investigate the effectiveness of the Transtheoretical model based dietary behavioural modification programme in non-commissioned officers with metabolic syndrome. Participants were divided into intervention and control group of 32 participants in each group. Transtheoretical model based dietary behavioural modification programme was delivered in the intervention group. and was evaluated by specific dietary behaviours questionnaires and evaluation forms. The evaluation was carried out at pre and post intervention period and the follow-up period. Statistical analysis consisted of descriptive and inferential statistics including percentage, mean, standard deviation, Independent t-test, and Repeated Measure one-way ANOVA.\nThe intervention group revealed higher dietary behaviours score at the post-intervention period compared with the pre-intervention period with statistical significance (p < .05). During the follow-up period, the intervention group also performed higher self-determination, perceived behavioural control, and dietary behaviours score than both pre-intervention and post-intervention periods with statistical significance (p < .05). The intervention group also received higher self-determination and perceive behavioural control score than the control group during the follow-up period (p < .05).", "th": "การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมต่อพฤติกรรม การรับประทานอาหารในกำลังพลทหารบกชั้นประทวนที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 32 คน ซึ่งกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อพฤติกรรม การรับประทานอาหาร โดยมีแบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบวัดเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล และวิเคราะห์ผลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Repeated Measure one-way ANOVA\nผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารดีกว่าก่อนการทดลองและมีความ สมดุลในการตัดสินใจ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการรับประทานอาหารดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < .05) และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีความสมดุลในการตัดสินใจ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรม การรับประทานอาหาร ดีกว่าก่อนการทดลอง และมีความสมดุลในการตัดสินใจ การรับรู้ความสามารถของตนเองดีกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)" }
{ "en": "The research study aimed to 1) develop the teaching model of principles and techniques in nursing; 2) develop analytical skills of nursing students Boromarajonani College of Nursing Suratthani. The sample in this research was 95 academic year 2 nursing students. The instruments consisted of 1) instructor’s manual 2) Analytical thinking test of Principles and Techniques in Nursing 3) assessment form for Teaching and Learning Efficiency of Principles and Techniques in Nursing. The data were collected by analytical thinking skills test with descriptive statistics.\nThe study revealed the following results: 1) the model of principles and techniques in nursing to develop analytical skills of nursing students Boromarajonani College of Nursing Suratthani consists of 5 steps which are 1) preparation for learning 2) learning and practice 3) reflection 4) knowledge creation and 5) assessment (Evaluation: E) The result from the teaching and learning according to the said format makes 47.40% of nursing students have analytical skills of courses, principles and techniques in nursing more than 60% of the scores according to weight determination.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล เพื่อพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือผู้สอน 2) แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล 3) แบบประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาหลักการและเทคนิคการ พยาบาล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)\nผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการสอนรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อมสำหรับการ เรียนรู้ 2) การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ 3) สะท้อนความคิด 4) การสร้างความรู้ และ 5) การประเมินผล (Evaluation: E) ผลจากการ จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบดังกล่าวทำให้นักศึกษาพยาบาลร้อยละ 47.40 มีทักษะการคิดวิเคราะห์มากกว่าร้อยละ 60 ของ คะแนนตามการกำหนดน้ำหนักทักษะการคิดวิเคราะห์ ของรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล" }
{ "en": "The quasi-experimental research design aimed to examine the effect of the empowerment program on knowledge and glycemic control of persons with pre-diabetes and preventive behaviors of on persons who risk type II diabetes mellitus in urban area, Phayao Province, applying Gibson conceptual framework consisting of this studied. The subjects were 20–59-year-olds with qualifications as specified. Data were collected between October and December 2019. The subjects were simple random sampling, equally to thirty persons in each group. The experimental group received nursing care by the empowerment program but control group receiving regular nursing care from the public health care teams. The research instrument consists of three parts: General data recording, Knowledge assessment questionnaires or diabetes control and diabetes prevention behaviors questionnaire, the Alpha Cronbach Coefficient of 0.89, data analyzed in general with descriptive statistics. Comparative analysis of knowledge scores about glycemic control and diabetes prevention behaviors within the groups before and after joining the empowerment program using dependent t test and analyzing between of variance in experimental and control groups using independent t test statistics.\nThe results showed that empowerment programs for type II diabetes mellitus prevention in the experimental group had higher scores than before the experiment, both within the group and between groups. Statistical had significant level .05. The finding reflects that teams, health care workers and those responsible for pre-diabetes person should continuing to apply empowerment concepts to improve the effectiveness of diabetes prevention in the community.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ประยุกต์ใช้ กรอบแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิ๊บสัน กลุ่มตัวอย่างมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561 สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบ่งเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาล ตามโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติจากทีมสุขภาพ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบราคทั้งชุดเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนความรู้เกี่ยวกับ การควบคุมโรคเบาหวานและพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานภายในกลุ่มก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้าง พลังอำนาจด้วยสถิติทดสอบแบบไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุมโดยใช้สถิติทดสอบแบบเป็นอิสระจากกัน (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่าคะแนนการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริม สร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสะท้อนให้ทีมหน่วยงาน และผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ควรมี การนำแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจมาใช้ประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเบาหวานในชุมชนต่อไป" }
{ "en": "This research aimed at developing a smoking cessation model based on motivational interviewing for university students and at evaluating the model’s effectiveness. Three phases were used for this study: 1) situation analysis, 2) the operational phase, and 3) evaluation of the model. The participants were selected by purposive sampling, divided into two group according to the development phase. Situation analysis phase consisted of model developers; staff members who have responsibility for a smoke free university policy, student nurses, and students who smoke, a total for 20 people. The operational phase, model trial group consisted of 27 student nurses, and 27 students who smoke. Data were collected between 1 June 2018 to 30 June 2019. The instruments used in this study were group interview questions, knowledge and skill for smoking cessation base on motivational interviewing testing, and questionnaires about the intention to quit smoking. Data were analyzed by content analysis, and Pair t-test.\nThe results of this study indicated that student nurses got significantly increased scores for knowledge and skill about smoking cessation based on motivational interviewing after applying the model (Mean diff. = 9.55, 25.59 Respectively, p-value<.001). The students who smoke significantly increased their score about their intention to quit smoking after applying the model (Mean diff. = 2.00, p-value<.001). It is suggested that this model should be applied at other universities to develop students’ potential for smoking cessation and to reduce the number of young smokers.", "th": "การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการช่วยเลิกบุหรี่โดยการสัมภาษณ์ เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะคือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การช่วยเลิกบุหรี่ ในสถาบันอุดมศึกษา 2) การดำเนินงาน 3) การประเมินผล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามระยะ พัฒนารูปแบบ ดังนี้ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับงานมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ นักศึกษา พยาบาล และนักศึกษาที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ จำนวน 20 คน ระยะการดำเนินงานมีการทดลองใช้รูปแบบการช่วยเลิกบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 27 คน และนักศึกษาที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ จำนวน 27 คน เก็บข้อมูลระหว่าง 1 มิ.ย. 2561 ถึง 30 มิ.ย. 2562 ด้วยแบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม แบบวัดความรู้และทักษะการช่วยเลิกบุหรี่โดยการเสริมสร้างแรงจูงใจ และแบบสอบถามความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่มด้วยวิธี Content analysis วิเคราะห์การใช้รูปแบบ การช่วยเลิกบุหรี่ด้วยสถิติ Pair t-test\nผลการวิจัย พบว่า หลังใช้รูปแบบการช่วยเลิกบุหรี่โดยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ นักศึกษาพยาบาล มีคะแนนความรู้ ทักษะการช่วยเลิกบุหรี่สูงขึ้น (Mean diff. = 9.55, 25.59 ตามลำดับ, p-value<0.01) สำหรับนักศึกษาที่มี พฤติกรรมสูบบุหรี่มีคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจในการเลิกสูบสูงขึ้น (Mean diff. = 2.00, p-value<0.01) รูปแบบนี้จึงนำไปใช้กับ สถาบันอุดมศึกษาอื่นเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านการช่วยเลิกบุหรี่ และลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน" }
{ "en": "The analytical research design was to examine the relationship model among environmental supports, knowledge skills and ability, personality characteristics, and orientations on personal initiative of head nurses in private hospitals. The conceptual framework of this research study was synthesized from personal initiative model by Frese and Fay6. The research samples were 262 head nurses in different JCI private hospitals in Thailand. Data were collected with 7 questionnaires and using, the level of cronbach’s alpha coefficient in the range of .78 -.89. respectively. All data were analyzed with descriptive and path analysis statistics.\nThe results showed; an environmental supports, personality characteristics, and orientations had direct effect on personal initiative (β = .23, .09 and .50 respectively), and environmental supports, knowledge skills and ability, had indirect effect on personal initiative with mediator orientations (β = .19, .44 and .27 respectively), which all variables had predicted personal initiative at 51% (R2 = .51, p < .01). The correlational model was congruent with the empirical data (P-value = .307, χ2 = 1.044, DF = 1, CMIN/DF = 1.044, GFI = .998, AGFI = .976, RMR = .060, CFI = .1.000, RMR = .000, RMSEA = .013). The private hospital administrators and nursing executives should have a policy to continuously develop the environmental supports, knowledge skills and ability, personality characteristics, and orientations according to the changing situation in which enhancing the personal initiative behaviors level of the head nurses.", "th": "การวิจัยเชิงการวิเคราะห์ครั้งนี้ เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนความรู้ ทักษะและ ความสามารถ คุณลักษณะบุคลิกภาพ และการพัฒนาความพร้อมในการทำงานต่อการริเริ่มด้วยตนเองของหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งพัฒนาจากโมเดลการริเริ่มด้วยตนเองของเฟรเซอร์และเฟย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาล เอกชนที่ผ่านการรับรอง JCI จำนวน 262 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 7 ชุด มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ในช่วง .78 - .89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและสถิติวิเคราะห์เส้นทาง\nผลการวิจัย พบว่า สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุน คุณลักษณะบุคลิกภาพและการพัฒนาความพร้อมในการทำงานมีอิทธิพล ทางตรงต่อการริเริ่มด้วยตนเอง (β = .23, .09 และ .50 ตามลำดับ) และสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุน ความรู้ ทักษะและความสามารถ คุณลักษณะบุคลิกภาพมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการริเริ่มด้วยตนเองผ่านการพัฒนาความพร้อมในการทำงาน (β = .19, .44 และ .27 ตามลำดับ) ซึ่งตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันพยากรณ์การริเริ่มด้วยตนเองได้ร้อยละ 51 (R2 = .51) โดยโมเดลมีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ (P-value = .307, χ2 = 1.044, DF = 1, CMIN/DF = 1.044, GFI= .998, AGFI = .976, CFI = .1.000, RMR = .000, RMSEA = .013) ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนและผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลควรมีนโยบายการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุน ความรู้ ทักษะและความสามารถ คุณลักษณะบุคลิกภาพและการพัฒนาความพร้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับพฤติกรรมการริเริ่มด้วยตนเองของหัวหน้าหอผู้ป่วย" }
{ "en": "The purpose of this descriptive research was to examine the relationship between personal factors, depression and suicide literacy and mental health seeking behavior among family caregivers of older people in community. The sample consisted of 400 family caregivers of older people in Nakhon Pathom province. The measurements used for data collection were personal information questionnaires, the depression and suicide literacy questionnaire, actual mental help and mental health seeking behavior questionnaire. The measurements were tested for content validity and reliability. The reliability of measurements was .94 and .81. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, Spearman’s rank correlation, Point Biserial and Biserial correlation. The findings revealed that depression and suicide literacy was significantly associated with mental health seeking behavior (r = .25, p = .01), age (r = -.142, p <.01), and education (rb = .380, p <.01). While the relationship between mental health seeking behavior was found to be associated with age (rs = -. 149, p <.01) and education (rb = .251, p <.05). Consequently, nurses and health personnel should organize interventions to enhance knowledge about depression and suicide for older people’s caregivers in order to foster depression and suicide literacy which may lead to further access to mental health services in older people.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย และพฤติกรรมการแสวงหาความช่วยเหลือทางสุขภาพจิต ของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรอบรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย แบบสอบถามการ ขอความช่วยเหลือ และการแสวงหาความช่วยเหลือทางสุขภาพจิต ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิและ ตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าเท่ากับ .94 และ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติสหสัมพันธ์ เพียร์สัน สเปียร์แมน พอยท์ไบซีเรียลและไบซีเรียล\nผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสวงหา ความช่วยเหลือทางสุขภาพจิต (rs = .249, p<.01) อายุ (r = -.142, p<.01) และการศึกษา (rb = .380, p<.01) และความสัมพันธ์ ระหว่างพฤติกรรมการแสวงหาความช่วยเหลือทางสุขภาพจิตกับ อายุ และการศึกษา พบว่าพฤติกรรมการแสวงหาความช่วยเหลือ ทางสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กับอายุ (rs = -.149, p<.01) และการศึกษา (rb = .251, p<.05) ดังนั้นพยาบาลและบุคลากร ทีมสุขภาพควรจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายให้กับญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริม ให้เกิดความรอบรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย อันจะนำไปสู่การเข้าถึงบริการทางสุขภาพจิตในผู้สูงอายุต่อไป" }
{ "en": "This was the survey research with the objective to study the need for further study in the Master of Nursing Science Program of 370 registered nurses in 10th Public Health Region. They were selected by a cluster sampling technique. The research instruments was a questionnaire on the need for further study in the Master of Nursing Science Program. Cronbach’s alpha coefficient was used to verify the reliability of the questionnaire, and the reliability of the questionnaire was 0.98. Data were analyzed by percentage and Pearson’s correlation coefficient.\nThe results of the study were as follows. 1) The need for studying in the Master of Nursing Science Program of the samples was 77.6%. The programs that the samples wanted to further their study the most were Master of Nursing Science Program in Adult Nursing (70.4%), followed by Nursing Science Program in Gerontological Nursing (63.4%), respectively. 2) The factor related to the need to study in the Master of Nursing Science Program was job position, which was positively related to the need to study in the Master of Nursing Science Program at a low level with statistical significance (p < .05) (r = -0.12). The results of the study can be used as the guideline to support the opening of the Master of Nursing Science Program and to plan the provision of further study for registered nurses.", "th": "การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาความต้องการการศึกษาต่อในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตของ พยาบาลวิชาชีพในสถานบริการสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 10 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการการศึกษาต่อในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต หาความ เชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ความเที่ยงของแบบสอบได้ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ และค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน\nผลการศึกษาพบว่า ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ร้อยละ 77.6 สาขาที่สนใจมากที่สุด คือ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ รองลงมาคือสาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 70.4, 63.4 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ได้แก่ ด้านตำแหน่งงานมีความสัมพันธ์กับความต้องการศึกษาต่อหลักสูตร พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตในทางบวก ระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) (r = -0.12) ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทาง เพื่อประกอบการเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต และใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษาต่อเนื่องสำหรับพยาบาลวิชาชีพ" }
{ "en": "The aims of this research were to develop the Cognitive Flexibility Training Program based on Acceptance and Commitment Therapy in primary school students (CFT-ACT), and to test the effectiveness of the developed CFT-ACT program. The sample consisted of 60 primary school students, with the age between 9-11 years old. The sample was randomized by using random assignment and matching in to groups: an experimental and a control group, each group composed 30 students (Boys = 15, girls = 15). The research instruments were; 1) the CFT-ACT program, which was developed by the researcher based on acceptance and commitment therapy and cognitive flexibility training. And child development concept. It composed of 6 sessions; and 90 minutes in each session; for a total of three weeks, and 2) the Wisconsin card sorting (WCST-64). The experimental group received the CFT-ACT program and the control group joined the regular school’s activities during the same period. The assessments were done in 2 phases: pretest and posttest. The data were analyzed by a t-test.\nThe results revealed that the experimental group had the mean score of cognitive flexibility in the posttest higher than the pretest with statistically significant at .05 level. Additionally, they had the mean score of cognitive flexibility higher than those in the control group in the posttest with statistically significant at .05 level.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมการยืดหยุ่นทางการรู้คิดด้วยทฤษฎีการยอมรับและพันธะสัญญาในนักเรียน ชั้นประถมศึกษา จำนวน 60 คน ที่มีอายุระหว่าง 9-11 ปี และสมัครใจร่วมการทดลอง สุ่มอย่างง่ายเพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่างแล้วจับคู่ คะแนนการยืดหยุ่นทางการรู้คิดจากคะแนนวิสคอนซินการ์ดซอร์ติ้ง-64 เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน โดยแต่ละกลุ่มมีนักเรียนชายจำนวน 15 คน และนักเรียนหญิงจำนวน 15 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการยืดหยุ่น ทางการรู้คิดด้วยทฤษฎีการยอมรับและพันธะสัญญาในนักเรียนชั้นประถมศึกษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดทฤษฎีการยอมรับ และพันธะสัญญา การพัฒนาการยืดหยุ่นทางการรู้คิด และทฤษฎีพัฒนาการของเด็กวัยเรียน ประกอบด้วยกิจกรรมการฝึกทักษะ เพื่อเสริมสร้างการยืดหยุ่นทางการรู้คิดจำนวน 6 ครั้ง ๆ ละ 90 นาที รวมทั้งสิ้น 3 สัปดาห์ และ 2) แบบทดสอบวิสคอนซินการ์ด ซอร์ติ้ง-64) โดยการทดลองแบ่งเป็น 2 ระยะได้แก่ ก่อนทดลองและหลังทดลอง สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์ค่าที\nผลการวิจัย พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีการยืดหยุ่นทางการรู้คิดหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนกลุ่มทดลองมีการยืดหยุ่นทางการรู้คิดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This research is study and development. with the purpose of: (1) to study the situation of adolescents unwanted pregnancy (2) to develop a model for promoting Maternal-fetal attachment Promotion (3) to evaluate results After the experiment 1 month results the Development of a Maternal-fetal attachment Promotion Model Developed. The study population were adolescents with unwanted pregnancies, In Chiang Rai province, age between 16 - 19 years. The study group was divided into 2 groups, namely (1) the experimental group of 30 people. (2) The control group of 30 people by lottery method. There were 3 sets of qualitative research instruments: 1) in-depth interview, 2) questionnaire, 3) evaluated through content validity check, obtained an CVI value of 0.83 is equal to 0.86 The data was analyzed using descriptive statistics and statistical tests Statistics used Paired t - test\nThe results of the research demonstrated that Pattern development is appropriate in accordance with the behavioral adjustment needs of the pregnant adolescent. Maternal-Fetal Promotion Model applied the created activity plan. Results of comparison before and after the trial Average score. The maternal attachment higher, post-trial, have assessed results the 1-month by the Percentage amount statistically significant of .05", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาสถานการณ์ของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ ไม่พึงประสงค์ (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความผูกพันของมารดาต่อทารกในครรภ์ (3) เพื่อประเมินผลหลัง 1 เดือน ผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความผูกพันของมารดาต่อทารกในครรภ์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จังหวัดเชียงราย มีอายุระหว่าง 16 - 19 ปี กลุ่มศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มทดลองจำนวน 30 คน (2) กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน โดยวิธีจับสลากคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเชิงคุณภาพ มี 3 ชุดคือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถาม 3) ประเมินผล ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่า CVI เท่ากับ .83 หาความเที่ยงของเครื่องมือ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอน บาค เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติพรรณนา และสถิติใช้ Paired t - test\nผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบมีความเหมาะสมสอดคล้องกับการปรับพฤติกรรมความต้องการของวัยรุ่นตั้งครรภ์ รูปแบบการส่งเสริมความผูกพันมารดาต่อทารกในครรภ์ หลังจากใช้แผนกิจกรรมที่สร้างขึ้น ผลการเปรียบเทียบก่อนและหลัง การทดลอง คะแนนค่าเฉลี่ย ความผูกพันของมารดาต่อทารกในครรภ์ กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม หลังการทดลอง 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This research was an analytical cross-sectional study. Influenza preventive behavioral study and control among private and identify factors related to influenza preventive behavior and control among private were the purposes of this research. There were three factors, predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors. The sample group who filled in complete information was 278 officers. The research instrument was a questionnaire. The whole Cronbach’s alpha coefficient was .93 Data was analyzed by using descriptive statistics, relationships determining spearman correlation and multivariable ordinal logistic regression. The results revealed that the sample had mean scores of influenza preventive behavior and control at moderate level (Mean = 17.80, S.D. = 2.44). Factors related to influenza preventive behavior and control were moderate and high level of influenza prevention and control enabling factors (OR = 2.94 and 4.62, 95% CI: 1.42-6.07 and 2.35-9.06, p = .004 and", "th": "การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Analytic Cross-sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค ไข้หวัดใหญ่ในทหารกองประจำการ ได้แก่ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลครบถ้วนจำนวน 278 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราคทั้งฉบับเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยการหาค่าสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนและการถดถอย และลอจีสติกเชิงอันดับ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 17.80, S.D. = 2.44) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ปัจจัยเอื้อในการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ในระดับปานกลางและระดับสูง (OR = 2.94 และ 4.62 , 95%CI : 1.42-6.07 และ 2.35-9.06, p = .004 และ" }
{ "en": "The study aimed to develop and evaluate the effects of nursing practice guideline for patients with dengue hemorrhagic fever by using the framework of the National Health and Medical Research Council of Australia (NHMRC). The purposive sampling method was used to select samples of 28 nurses involving care for dengue hemorrhagic fever patients. The research instrument consisted of nursing practice guidelines for dengue hemorrhagic fever, knowledge of dengue hemorrhagic fever questionnaire, nursing practices form and nurse satisfaction questionnaire. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and paired t-test.\nThe results revealed that the components of nursing practice guideline for patients with dengue hemorrhagic fever included nursing practice guideline for outpatient and inpatient department. The result after implementation showed that nurses had significantly increase in the mean score of knowledge about dengue hemorrhagic fever and nursing practice at statistical significance of .05. The overall satisfaction of using the nursing practice guideline was rated in high level (mean = 4.26, S.D. = .58) According to the results showed nurses can use the practice guideline for patients with dengue hemorrhagic fever at outpatient and inpatient department. The guideline should be continuously monitoring and evaluation. Furthermore, the guideline should be carried out to determine its effectiveness.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกีและผลการใช้แนวปฏิบัติ โดยใช้กรอบแนวคิดของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (NHMRC) กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เป็นพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแนวปฏิบัติการ พยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกี แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเดงกี แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกีและแบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและ paired t-test\nผลการศึกษาได้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกีประกอบด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับแผนก ผู้ป่วยนอกและแผนกผู้ป่วยใน ผลการนำแนวปฏิบัติไปใช้พบว่า พยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยและการปฏิบัติ การพยาบาลถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.26, S.D. = .58) จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า พยาบาลสามารถนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกีได้ ทั้งแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกผู้ป่วยใน ควรมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องและประเมินประสิทธิผลของแนวปฏิบัติ" }
{ "en": "The problem of overnutrition in children is still a significant problem. Therefore, the study of health literacy to prevent obesity is essential. The purpose of this research was to study health literacy consumption and exercise behavior ,Predictive factors of personal, family, and environmental factors With consumption and exercise behavior and factors predicting health literacy and consumption and exercise behaviors . Our sample included 100 students who are over nutritional status with age of 9-14 years old in Nakhon Ratchasima province. Data were collected by using questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics. And the analysis of multiple regression.\nThe result of the research shows that predicting factors of the individual, family, and environmental among school-age children with overnutrition include gender (male) (β = -.268), marital status of parents (living together) (β = - .340) able significant predicted of the consumption and exercise behaviors to 18.7% (R2 = .187, F = 7.353) predicting factors of health literacy among school-age children with overnutrition include self-management. (β = .588) Decision skill. (β = .213) Cognitive. (β = .207) able significant predicted of the consumption and exercise behaviors to 22.5% (R2 = .225, F = 4.503)", "th": "ปัญหาเด็กวัยเรียนมีภาวะโภชนาการเกินยังเป็นปัญหาที่สำคัญ การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วน จึงเป็นสิ่งจำเป็นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการรับประทานอาหารและ การออกกำลังกาย ปัจจัยทำนายปัจจัยระดับบุคคล ครอบครัว และสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออก กำลังกายและปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินอายุ 9-14 ปี ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 100 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณ\nผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทำนายระดับบุคคล ครอบครัว และสิ่งแวดล้อม ของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ได้แก่ เพศ (ชาย) (β = - . 268) สถานภาพสมรสของบิดามารดา (อาศัยอยู่ด้วยกัน) (β = - . 340) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการ รับประทานอาหารและการออกกำลังกายได้ร้อยละ18.7 (R2 = .187, F = 7.353) ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของเด็ก วัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ได้แก่ การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพของตนเอง (β = .588) การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง (β = .213) ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ (β = .207) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ได้ร้อยละ 22.5 (R2 = .225, F = 4.503)" }
{ "en": "This research designed a combination of both quantitative research and qualitative research. The objective were (1) to study Army personnel action handbook, survey the opinions on the use of the manual by collecting relevant data and analyzing it to obtain guidance, important information on the development of the Army personnel rights filtering tool, (2) to develop the Army’s personnel rights filtering tool and (3) to analyze the results of opinions on the effectiveness of the Army’s personnel rights filtering tool. In this research, data was collected from relevant personnel, both as part of the quantitative and qualitative research in which the data was collected by 3 steps: The first step was to collect quantitative data by distributing questionnaires to assess the quality of the personnel rights action manual for 95 people which are all personnel officers. The second step was to collect the qualitative data from in-depth interviews with a sample group of personnel rights experts who selected five specific samples. And the third step was to collect quantitative data by distributing the Army’s personnel rights filtering tool efficiency assessment form to a population of 95 people which are all personnel officers. The content validity indexes of these tools were 0.88, 1.00 and 1.00. The Cronbach’s alpha coefficient of 0.83, 0.94 and 0.97 respectively. Data analyzed by using frequency, percentage, average score and standard deviation.\nThe overall performance of the Army’s personnel rights filter was very good (µ = 4.39). When considered individually, it was found that the effectiveness of the Army personnel rights filtering tool in 4 areas: Functional Requirement Test was at very good level (µ = 4.53) , Functional Test was at very good level (µ = 4.51) , Usability Test was at very good level (µ = 4.41). Lastly, the Security Test was at a good level (µ = 4.13). Amry’s Personnel Rights Filtering Tool reduces the workload of the operator, able to meet the needs of the user and can be used for practical purposes.", "th": "การวิจัยนี้ได้ออกแบบเป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาคู่มือการดำเนินการสิทธิกำลังพลกองทัพบก สำรวจความคิดเห็นที่มีต่อการใช้งานคู่มือ เก็บรวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์เพื่อให้ได้แนวทาง ข้อมูลที่สำคัญในการพัฒนาเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบก (2) เพื่อพัฒนา เครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบก (3) เพื่อวิเคราะห์ผลความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพของเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพล ของกองทัพบก และความคิดเห็นด้านอื่น ๆ การวิจัยครั้งนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นในส่วนของการ ดำเนินการที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นตอนที่ 1 คือ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยแจกแบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพคู่มือการดำเนินการสิทธิกำลังพลกับกลุ่มประชากร จำนวน 95 นาย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกำลังพลทั้งหมด ขั้นตอนที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเป็นการ ดำเนินการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิกำลังพล ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 นาย และขั้นตอนที่ 3 คือ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยแจกแบบประเมินประสิทธิภาพเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบกกับ กลุ่มประชากร จำนวน 95 นาย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกำลังพลทั้งหมด มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.88, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซเท่ากับ 0.83, 0.94 และ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน\nประสิทธิภาพของเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบก ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (µ = 4.39) และเมื่อพิจารณา เป็นรายด้านพบว่า ประสิทธิภาพของเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการตรงตามความต้องการของ ผู้ใช้ระบบระบบอยู่ในระดับดีมาก (µ = 4.53) ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบอยู่ในระดับดีมาก (µ = 4.51) ด้านความ ง่ายต่อการใช้งานระบบอยู่ในระดับดีมาก (µ = 4.41) และด้านรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบอยู่ในระดับดี (µ = 4.13) เครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบกที่พัฒนาขึ้นช่วยลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ สามารถตอบสนองความต้องของผู้ใช้ งาน และสามารถนำไปใช้งานได้จริง" }
{ "en": "The objective of this research was to develop and test the effectiveness of the inhibitory control for weight loss based on Neuro-linguistic programming training program (NLP-ICWL) in overweight policemen. The samples were policemen who had BMI more than 25 and they were divided by randomly matched pair of scores to be an experimental group and a control group, 10 policemen in each group. The research instruments were designed by the researcher: 1) the NLP-ICWL program with global unconscious reframing technique and 2) Go / No Go Task with Thai food and beverage images. The experimental group received the NLP-ICWL program for 2 sessions. The control group received only the knowledge from the balance calories, brain, mind and exercise personal book and self-training for 2 months. The assessments were done in pretest, posttest and 2 months follow-up phase. The data were analyzed by utilizing a repeated measures analysis of variance and paired-different test by Bonferroni method.\nThe findings were revealed that the experimental group that received the NLP-ICWL program had the mean score of inhibitory control for weight loss in the follow-up and posttest higher than pretest with statistical significance at .05 level. Additionally, the experimental group had the mean score of inhibitory control for weight loss higher than those in the control group and in the follow-up and posttest with statistical significance at .05 level. Moreover, the experimental group had the mean score of body composition in the posttest and follow-up period lower than the pretest and the control group.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งในการลดน้ำหนักด้วย โปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส (NLP-ICWL) ก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามตามผล และ 2) เปรียบเทียบผลการใช้ โปรแกรม NLP-ICWLระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นตำรวจเพศชายที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 สุ่มจับคู่ คะแนน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้สร้างโดยผู้วิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรม NLP-ICWL และ 2) แบบทดสอบโกโนโกอาหารไทยและเครื่องดื่มเพื่อวัดการควบคุมยับยั้ง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม NLP-ICWL 2 ครั้ง ส่วนกลุ่ม ควบคุมได้รับความรู้จากสมุดบันทึกพฤติกรรมการลดน้ำหนักและฝึกด้วยตนเอง 2 เดือน รวบรวมข้อมูล ก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล 2 เดือน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีแบบบอนเฟอโรนี\nผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการควบคุมยับยั้งในการลดน้ำหนักในระยะติดตามผลและหลังทดลองสูงกว่า ก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะติดตามผลและหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยค่าองค์ประกอบร่างกายหลังการทดลองและระยะติดตามผลน้อยกว่าก่อนทดลอง และน้อยกว่ากลุ่มควบคุม" }
{ "en": "The purpose of this quasi–experimental research (One-group pretest-posttest design) was to examine the effect of Constructivist learning process on the topic of nursing management for children with gastrointestinal disorders of the nursing students in Phetchaburi Rajabhat University. The instruments consisted of lesson plan based on Constructivist learning process on the topic of nursing management for children with gastrointestinal disorders and learning achievement test. The reliability was 0.88, as well as satisfaction evaluation form, with its reliability was 0.94. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Repeated Measure Analysis of Variance with Bonferroni’s test. The findings of the study revealed that the study sample’s mean post-test scores of learning achievement test immediately after the experiment and at two-week follow up were statistically significantly higher than the mean pre-test score (p <.01). The overall scores of satisfaction in Constructivist learning process were at the highest level. The findings of this research provide nursing educators with a practical model that can be used to improve nursing curricula students’ knowledge building processes based on Constructivist Learning Approach to develop the 21st century learning skills for student students.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัด กระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิด คอนสตรัคติวิสต์ เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 เก็บข้อมูลก่อนทดลอง หลังการทดลองทันที และระยะติดตามประเมินผล 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Repeated measure Analysis of Variance โดยวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็น รายคู่ด้วยวิธีทดสอบของ Bonferroni ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง หลังการได้รับ การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร หลังการทดลอง ทันที และระยะติดตามประเมินผล 2 สัปดาห์ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึง พอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิจัยนี้ทำให้นักการศึกษาพยาบาลมีรูปแบบ การปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรการพยาบาลในกระบวนการสร้างความรู้ของผู้เรียน จากกระบวนการเรียนรู้ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล" }
{ "en": "Stress is a learning barrier for nursing students. Finding stress management methods that are consistent with the problem is essential. The study was a quasi-experimental research. The purpose was compared stress and stress management ability of nursing students between before and after of the experiment group, treatment group and control group. The sample were 102 nursing students which moderate stress or more, match paired of stress score and stress management ability and simple random sampling were 51 people per group. The instruments were stress test, stress management ability questionnaire and stress management program. The reliability of questionnaires at 0.90 and 0.87, respectively. The data was analyzed by using means, standard deviation, and t-test.\nThe results found that after the experiment, the treatment group had a significantly lower stress than before and significantly lower stress than the control group at the .01 level, the treatment group had a significantly more stress management ability than before and significantly more stress management ability than the control group at the .01 level. The suggest that nursing faculty administrators should consider implementing this stress management program to help nursing students with stress and should be maintained continuously to reduce the stress of students to severe mental health problems in the future.", "th": "ความเครียดเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล การหาวิธีการจัดการความเครียดที่สอดคล้องกับปัญหาเป็น สิ่งที่จำเป็น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเครียด และความสามารถในการจัดการ ความเครียดของนักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ ในระยะก่อนและหลังการทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลที่มีความเครียดในระดับปานกลางขึ้นไป จำนวน 102 คน ใช้วิธีการจับคู่คะแนนความเครียด และความสามารถในการจัดการความเครียด สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มละ 51 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความเครียด แบบประเมินความสามารถในการจัดการความเครียด และโปรแกรมการจัดการความเครียด ตรวจสอบค่า ความเที่ยงของแบบวัด และแบบประเมินได้เท่ากับ 0.90 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่าง (t-test)\nผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีความเครียดน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มทดลองมีความสามารถในการจัดการความเครียดมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ และมีความสามารถในการจัดการความเครียดมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้บริหาร คณะพยาบาลศาสตร์ควรพิจารณานำโปรแกรมการจัดการความเครียดนี้ไปใช้ในการช่วยเหลือนักศึกษาพยาบาลที่มีความเครียด และควรดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเครียดให้กับนักศึกษาไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงในอนาคต" }
{ "en": "The quasi-experimental research aimed to develop NICU-ISBAR technique form for hand-off for nursing students and to compare Knowledge, attitude and practice of nursing students before and after using the NICU- ISBAR. The subjects were 32 student nurses who practiced in the neonatal intensive care unit (NICU) in the Pediatric nursing practicum course. The research instruments consisted of the ISBAR training plan, 2-scenario for NICU-ISBAR practice, draft edition of NICU-ISBAR and NICU-ISBAR efficiency questionnaires. This research questionnaires has been verified for content validity by an experts have Index of Item-Objective Congruence (IOC) ranged from 0.67 to 1.00. Reliability of the questionnaires were conducted by Cronbach’s Alpha Coefficient at 0.96. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and dependent t-test.\nThe research revealed the following results: 1) The data sheet according to ISBAR technique at the Neonatal Intensive Care Center (NICU- ISBAR) was used two-sided horizontal A4 size paper. It was divided into sections according to ISBAR technique. It was identify, background, and recommendation divided one data per segment and divided the situation and assessment data into 4 subsections according to the number of days students practice each week. 2) The mean scores of knowledge, attitude and skills in hand-off were significantly higher after using NICU-ISBAR (p<.05)", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และทักษะการรับส่งข้อมูล ทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการใช้แบบบันทึกข้อมูลตามเทคนิค ISBAR ประจำหออภิบาลทารกแรกเกิด วิกฤต (NICU- ISBAR) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลที่ขึ้นฝึกปฏิบัติบนหออภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤต ในรายวิชาปฏิบัติปฏิบัติ การพยาบาลผู้ป่วยเด็ก จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนการใช้เทคนิค ISBAR สถานการณ์จำลอง สำหรับฝึกใช้ NICU- ISBAR จำนวน 2 สถานการณ์ แบบบันทึกข้อมูลตามเทคนิค ISBAR ประจำหออภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤต (NICU-ISBAR) ฉบับยกร่าง แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการรับส่งข้อมูลทางการพยาบาลโดยใช้เทคนิค ISBAR ผ่าน การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) เท่ากับ 0.67-1 และทดสอบหาค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha) ได้เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน (T-Test Dependent)\nผลการวิจัยพบว่า 1. แบบบันทึกข้อมูลตามเทคนิค ISBAR ประจำหออภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤต (NICU- ISBAR) เป็นกระดาษขนาด A4 แนวนอน ใช้พื้นที่หน้าและหลังของกระดาษรวม 2 หน้า แบ่งข้อมูลเป็นส่วน ๆ ตามเทคนิค ISBAR โดยข้อมูลส่วน identify, background และ recommendation แบ่งข้อมูลละ 1 ส่วน และแบ่งข้อมูลส่วน situation และ assessment เป็น 4 ส่วนย่อย ตามจำนวนวันที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติในแต่ละสัปดาห์ 2. ความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการรับส่งข้อมูลทางการพยาบาลบนหออภิบาลทารกแรกเกิดของนักศึกษาพยาบาล หลังการใช้แบบบันทึก NICU-ISBAR สูงกว่าก่อนใช้แบบบันทึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The purposes of this mixed-method research were to study and develop the components of moral identity indicators (MII) for student nurses at Phrachomklao Phetchaburi College of Nursing (PCKCN). A qualitative study at the initial stage of the study was conducted by reviewing literatures regarding Thai’s core values, Thai Qualification Framework for Higher Education, Nursing Ethics, Identities of PCKCN’s Graduates, and moral identity of PCKCN. In-depth interviews 20 persons among administers, constructors, students, and graduate users also yielded key Informants for the construction of the MII questionnaire. The developed MII questionnaire was composed of three levels of MII: individual level, college level and professional level, validated by three ethics experts (IOC = .67-1.00) and obtained good internal reliability of the questionnaire (Cronbach’s Alpha Coefficient: α = .976). Language improvement was performed. The questionnaire was then applied to test among 364 student nurses of PCKCN. Moral identity indicators were analyzed by Factor Loading and Confirmatory Factor Analysis (CFA). Results revealed that MII for student nurses at PCKCN comprised of 52 indicators showed consistency of the developed model and evidenced data (Kaiser-Meyer-Olkin Measure = .954 Chi square = 5709.06, df = 231 p = .000)", "th": "การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธี (Mixed method ) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมอัตลักษณ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับค่านิยมหลักของคนไทย กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ จรรยาบรรณวิชาชีพ อัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก และคุณธรรมอัตลักษณ์ของวิทยาลัยพยาบาล พระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี และได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 20 คน โดยแบ่งคุณธรรมเป็น 3 ระดับคือ ระดับ ตนเอง ระดับวิทยาลัย ระดับวิชาชีพ นำแบบสอบถาม ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านตรวจได้ค่า IOC = .67-1.00 ค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha Coefficient : α) เท่ากับ .976 แล้วนำแบบสอบถามไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จำนวน 364 คน วิเคราะห์ตัวบ่งชี้ด้วย สถิติ Factor loading และ CFA ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้คุณธรรมอัตลักษณ์ของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย 3 ระดับ 52 ตัวบ่งชี้ โมเดล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Kaiser-Meyer-Olkin Measure = .954 Chi square = 5709.06, df = 231 p = .000)" }
{ "en": "This study is a quantitative research to studying the efficiency of services for the elderly provided by public health centers in Nakhon Sawan Municipality, Muang Nakhon Sawan District, Nakhon Sawan. The subjects were 353 public health personnel or long-term public health care managers (CM), caregivers of dependent elders (CG) and village health volunteers (VHV). Data were collected using questionnaires and interview forms. Data were analyzed using statistics, mean, percentage, standard deviation and logistic regression analysis.\nAccording to the findings, the overall efficiency of the services for the elderly, provided by public health centers in Nakhon Sawan Municipality was high. Public health personnel or long-term public health care managers had a low mean score in training to review knowledge on healthcare for the elderly both physical and mental health ( = 2.20). Caregivers of dependent elders had a low mean score in nutrition appropriate for diseases (= 2.50). village health volunteers had the lowest in taking the elderly who did not have caregivers, or relatives, to see a doctor ( = 3.25). According to logistic regression analysis, knowledge management had an effect on efficiency of services for the elderly increase by 1.151 times.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานผู้สูงอายุของศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตเทศบาล นครนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care manager, CM) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care giver, CG) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 353 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ด้วยความถดถอยโลจิสติค\nผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลการดำเนินงานผู้สูงอายุของศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตเทศบาลนคร นครสวรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง กลุ่มผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ด้านการอบรมฟื้นฟูความรู้ในการดูแล ผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพและสุขภาพจิตมีค่าเฉลี่ยในระดับต่ำ ( = 2.20) กลุ่มผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ด้านการแนะนำ โภชนาการทางด้านอาหารที่เหมาะสมกับโรคมีค่าเฉลี่ยในระดับต่ำ ( = 2.50) ในกลุ่มของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่าการพาผู้สูงอายุที่ไม่มีญาติดูแลหรือไร้ญาติไปพบแพทย์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.25) และจากการวิเคราะห์ความถดถอย โลจิสติค การจัดการองค์กรมีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานผู้สูงอายุสูงขึ้น 1.151 เท่า" }
{ "en": "This descriptive research aimed to explore post-operation pain, pain management methods, and satisfaction in pain management among patients who have cesarean sections performed under general anesthesia. Symptom management was used as the conceptual framework by using the Symptom Management Model by Dodd and colleague. The sample consisted of patients admitted to a ward at Thasala Hospital, Nakhon Si Thammarat Province. Research participants were recruited by the purposive sampling method. A total of 100 patients were surveyed. Data were collected via a demographics questionnaire, the pain management questionnaire developed by the researcher based on a literature review, the pain assessment (NRS) questionnaire was used to assess the pain management of patients in 24, 48, and 72 hours, as well as the patient satisfaction questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics and the Friedman with Dunn-Bonferroni post hoc test.\nResults indicated that the mean pain level of post-operative patients was high at 24 and 48 hours and lower at 72 hours after surgery ( = 8.3 SD 1.66,  = 5.52 SD = 1.51, = 3.71 SD = 1.97), respectively. The difference was statistically significant (χ2 = 268.89 p <.01). The pain management in the first 24 hours of a post-operative patient was resting at 75%. The effect of postoperative pain in the first 24 hours was sitting down at 7%. So in the first 24 hours, 75% of patients were prescribed bed rest to manage their pain and for 7%. Patients had a high level of satisfaction in pain management both in the recovery room and in the hospital ward at 77%, and 81% respectively.", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความปวด การจัดการความปวดและความพึงพอใจในการได้รับการจัดการ ความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั้งตัว โดยใช้กรอบแนวคิดของดอดด์และคณะ การคัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจงคือผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง จำนวน 100 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมี 4 ส่วน คือแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความปวด แบบสอบถามการจัดการความปวดของผู้ป่วย และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อ การจัดการความปวดหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความปวดใน 24 48 และ 72 ชั่วโมง โดย ใช้สถิติ Friedman\nผลการศึกษาพบว่า ระดับความปวดเฉลี่ยของผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดที่ 24 และ 48 ชั่วโมงอยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับ น้อย 72 ชั่วโมง ( = 8.3 S.D. = 1.66, = 5.52  SD = 1.51, = 3.71 SD = 1.97) ตามลำดับ และมีความแตกต่างอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (χ2 = 268.89 p <0.01.) การจัดการความปวดใน 24 ชั่วโมงแรกสูงสุดคือ การนอนนิ่งๆ ร้อยละ 75 ซึ่งผลกระทบ สูงสุดคือ การลุกนั่งได้น้อย ร้อยละ 7 ผู้ป่วยมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดในระดับมากทั้งที่ห้องพักฟื้นและหอผู้ป่วย ร้อยละ 77, 81 ตามลำดับ" }
{ "en": "The objective of this study was to investigate the effects of cardiac rehabilitation program on blood coagulation parameters and the relationship between blood coagulation parameters and exercise capacity in patients after cardiac valve surgery. In quasi experimental study, one hundred and nineteen patients who underwent heart valve surgery at Naresuan University hospital since January 2015 until December 2018 were participated in this study.The patients were divided into 2 groups by convenience sampling (Training group (n = 99) and Control group (n = 20)).The training group had completed the cardiac rehabilitation program before discharge and 12 weeks after discharge at home.The control group had performed the cardiac rehabilitation program before discharge from hospital.The six-minute walk test and blood coagulation parameters were assessed before discharge and at 12 weeks after discharge.The results showed that there were no different in targets blood coagulation parameters between groups before discharge from the hospital (P> .05). The training group had significantly higher in targets blood coagulation parameters and six-minute walk distance than the control group at 12 weeks after discharge (P<.05).This study reveals that home based cardiac rehabilitation program can improve the targets of blood coagulation parameters in patients with post heart valve surgery.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจต่อภาวะการแข็งตัวของเลือดและความ สัมพันธ์ระหว่างการแข็งตัวของเลือดกับความสามารถในการออกกำลังกายในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เป็นการวิจัยแบบ กึ่งทดลองในผู้ป่วยจำนวน 119 ราย ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 จนถึงเดือนธันวาคม 2561 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง 99 ราย (n = 99) และกลุ่มควบคุม 20 ราย (n = 20) กลุ่มทดลอง คือกลุ่มที่เข้าโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลจนถึง 12 สัปดาห์หลังผ่าตัด กลุ่มควบคุมคือกลุ่ม ที่เข้าโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจก่อนออกจากโรงพยาบาลเท่านั้น ผลการทดสอบการเดิน 6 นาทีและค่าภาวะการแข็งตัวของ เลือดก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและ 12 สัปดาห์หลังผ่าตัด ผลการวิจัยพบว่าค่าภาวะการแข็งตัวของเลือดก่อนออกจากโรง พยาบาลทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกัน (P>.05) ที่ 12 สัปดาห์หลังผ่าตัด พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าภาวะการแข็งตัวของเลือดอยู่ในช่วง เป้าหมายมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญและระยะทางเดิน 6 นาทีมากกว่ากลุ่มควบคุม (P <.05) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่บ้านมีส่วนช่วยให้ค่าการแข็งตัวของเลือดอยู่ในช่วงเป้าหมายได้ในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดลิ้นหัวใจ" }
{ "en": "This research and development aimed to develop a nursing document model at the Accident and Emergency Unit of Maesai Hospital. The samples comprised eighty seven previous nursing charts and new nursing charts, and seventeen professional nurses. Data were analyzed by descriptive statistics and t-test. The research findings were as follows. The problems of the nursing documentation revealed that the charting procedures were not based on nursing process, incomplete, incorrect, and discontinuous. The mean scores of the quality of nursing documentation after development was significantly higher than the prior at the level 0.01. The professional nurses’ satisfaction of the nursing documentation model after developing the model was also significantly higher than the previous one at the level 0.05.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สาย ดำเนินการวิจัยโดย 1) ศึกษาสภาพปัญหาเอกสารแบบบันทึกการพยาบาล จำนวน 87 แฟ้ม 2) ศึกษาแนวคิดการบันทึกทางการพยาบาลและวิเคราะห์ ปัญหาของการรูปแบบการบันทึกเดิมกับเอกสารงานวิจัยในปัจจุบัน 3) พัฒนารูปแบบการบันทึกและกระบวนการพยาบาล 4) ทดลองใช้แบบบันทึกกับพยาบาลจำนวน 17 คนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แบบ บันทึกทางการพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนาอย่างละจำนวน 87 แฟ้ม พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ พรรณนา และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการบันทึกทางการพยาบาลคือ ไม่มีแบบบันทึกทางการพยาบาลทำให้การ บันทึกได้ไม่ครอบคลุม ไม่ถูกต้อง และไม่ต่อเนื่องตามกระบวนการพยาบาล ภายหลังการพัฒนาพบว่าได้แบบบันทึกทางการพยาบาล พร้อมทั้งแบบบันทึกความก้าวหน้าของผู้ป่วยแบบใหม่และค่าเฉลี่ยของคะแนนบันทึกทางการพยาบาลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจต่อรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This study aimed to evaluate the Nursing Specialty Program in Nursing Administration, revised 2015, the Royal Thai Army Nursing College, in Context, Input, Process, and Product. The samples were 103 graduates from the Nursing Specialty Program in Nursing Administration Batch 12-15. The questionnaires were developed by the researchers which reliability determined by Cronbach’s alpha was at .82. Quantitative data were analyzed using mean, standard deviation and One-way Analysis of Variance: One-way Anova. Qualitative data were analyzed using content analysis. The results of the research were as follows: The overall program evaluation was in high level for all dimensions ( = 4.24, SD = 0.63). The opinions of graduates from the Nursing Specialty Program in Nursing Administration Batch 12-15 towards the program in relation to context, input, process and product were not statistically significantly different (p<.05). The strengths of the program highlight three issues, including the contents of the program, instructors, and the application of the knowledge gained from the program. Suggestions include program management, skills/qualifications to be further develop, and learning facilities/ study visits. Therefore, it would be advantageous for program coordinators to apply this study as a guideline to further develop/revise the program to be updated and relevant to learners’ needs, resulting in great benefits for learners and their institutions.", "th": "การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการบริหารการพยาบาล ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2558 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ในด้านบริบท (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) การดำเนินการจัดการอบรม (Process) และผลผลิตจากการอบรม (Product) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการบริหารการ พยาบาล รุ่นที่ 12-15 จำนวน 103 คน แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น 0.82 ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัว ด้วยการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว(One-way Analysis of Variance: One-way Anova) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า การประเมินหลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ( = 4.24, SD = 0.63) ความคิดเห็นของผู้สำเร็จ การศึกษาหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการบริหารการพยาบาล รุ่นที่ 12-15 ต่อหลักสูตรฯในด้านบริบท (Context) ปัจจัย นำเข้า (Input) การดำเนินการจัดการอบรม (Process) และผลผลิตจากการอบรม (Product) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ.05 จุดเด่นของหลักสูตรจำแนกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ เนื้อหาหลักสูตร ผู้สอน และการนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ ข้อเสนอ แนะเพื่อการพัฒนา ได้แก่ การบริหารจัดการหลักสูตร ทักษะ/คุณสมบัติที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้/การศึกษา ดูงาน ดังนั้น ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ควรนำผลการวิจัยนี้มาเป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้อง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เข้ารับการศึกษาและหน่วยงาน" }
{ "en": "Living with chronic illness affects patients’ spiritual health. Spiritual well-being helps patients maintain their psychological balance, understand self and nature of life, have sense of connectedness, and have hope of living by the way of Buddhism. This descriptive study aimed to investigate spiritual well-being among patients with chronic illness. 394 persons with chronic illness residing in Muang District, Phayao Province were recruited using simple random sampling. Data were analyzed using by descriptive statistics. The results of the study revealed that the majority of participants had high levels of total spiritual well-being (89.6%); peacefulness (91.1%), having hope and sense of connectedness (82.0%), and understanding of self and life nature (81.7%), respectively\nThe results of this study can be fundamental information for health care providers to enhance spiritual well-being in chronically ill patients through the way of Buddhism. This might help patients live with their illness happily and have a good quality of life ultimately", "th": "การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังส่งผลต่อมิติทางจิตวิญญาณ ความผาสุกทางจิตวิญญาณช่วยให้ผู้ที่เจ็บป่วยมีความสมดุล ของจิตใจ มีความเข้าใจตนเองและธรรมชาติของชีวิต รับรู้ถึงการมีสิ่งยึดเหนี่ยว และมีความหวังในการดำเนินชีวิตตามวิถี ทางศาสนาพุทธ การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 394 ราย เลือกด้วยการสุ่มอย่างง่ายจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณโดยรวม อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 89.6 สำหรับ ระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณด้านความสุขสงบ ด้านการมีความหวังและความรู้สึกถึงการมีสิ่งยึดเหนี่ยว และด้านความเข้าใจ ตนเองและธรรมชาติของชีวิต อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 91.1 82.0 และ 81.7 ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้บุคลากรทีมสุขภาพนำไปเป็นข้อมูลในการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณ ในกลุ่มผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังโดยใช้แนวคิดทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตร่วมกับโรคอย่าง มีความผาสุกและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป" }
{ "en": "This descriptive study aimed to examine the association of health literacy and social support with self-care behaviors in breast cancer patients receiving chemotherapy in Chulabhorn hospital. The sample consisted of 135 breast cancer patients receiving chemotherapy recruited utilizing a systematic sampling. The data collection was conducted using questionnaires. Data were analyzed using means, standard deviation, Chi-Square test, and multiple logistic regression The results showed that breast cancer patients receiving chemotherapy were of patients aged 60 years old and over (60%), 54.12 years old on average and had a high level of self-care behavior, a high level of health literacy and a high level of social support. Factors related to self-care behaviors of breast cancer patients receiving chemotherapy were the length of illness, health literacy, and social support (p < .05). The results can be applied to promote self-care behaviors in patients with breast cancer patients receiving chemotherapy.", "th": "การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับบริการคลินิก เคมีบำบัด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จำนวน 135 คน จากการสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติไคสแควร์ (Chi-Square test) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 60 อายุเฉลี่ย 54.12 ปี มีพฤติกรรม การดูแลตนเองอยู่ในระดับสูง ความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับเพียงพอ และการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง จากการ วิเคราะห์ด้วยสถิติไคสแควร์ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยเคมีบำบัด พบว่า ระยะเวลาการเจ็บป่วย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นองค์ประกอบใน การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยเฉพาะปัจจัยระยะเวลาการเจ็บป่วย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง" }
{ "en": "From a study of 215 students and employee of Chaiyaphum Rajabhat University, the highest channel to receive nutrition education media was the Internet, accounting for 31.2 percent, followed by television, public relations boards, newspapers, magazines, brochures, radio, personal media and other media. The students had a normal weight of 66.2 percent, followed by being overweight, thin and very thin, 16.2%, 13.2%, and 4.4% respectively, while the staff members had a normal weight of 81.5 percent, followed by those who were overweight, very thin and thin, 7.4,% 7.4% and 3.7% respectively. The media that is most popular among males is television, accounting for 35.4 percent, while the most popular media for female is public relations boards with mean of media channels received between males was significantly different from that of females (p < .01). Among students the ages range of 18-19 years was significantly different from the age range of 22-23 years. However, the median channels received between the personnel of each age group were not significantly different from each other. In addition, the channels of nutrition education media with the level of health literacy and the nutritional status score no relationship by Pearson’s coefficient was at the .000 (p < .01), however only a slightly positive correlation was found in the health literacy level with the nutritional status score by Pearson’s coefficient was at .326 (p < .01), with the highest health literacy score among the samples who consumed the signboard media. 32.35 percent followed by television, internet, brochures, magazines, individual media, newspapers and community radio, which were 26.47, 24.51, 6.37, 3.43, .49 and .49, respectively.", "th": "จากการศึกษาในนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิจำนวน 215 คน ช่องทางการได้รับสื่อโภชนศึกษาสูงสุด คือ อินเตอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 31.2 รองลงมา คือ โทรทัศน์ ป้ายประชาสัมพันธ์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โบรชัวร์ วิทยุ สื่อบุคคล และสื่ออื่น ๆ ภาวะโภชนาการในนักศึกษามีน้ำหนักปกติร้อยละ 66.2 รองลงมา คือ เกินเกณฑ์ ผอม และผอมมากร้อยละ 16.2 13.2 และ 4.4 ตามลำดับ ส่วนในบุคลากรมีน้ำหนักปกติร้อยละ 81.5 รองลงมา คือ เกินเกณฑ์ ผอมมาก และผอมร้อยละ 7.4 7.4 และ 3.7 ตามลำดับ สื่อที่เพศชายนิยมบริโภคที่สุด คือ โทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 35.4 ในขณะที่สื่อที่เพศหญิงนิยมบริโภคที่สุด คือ ป้าย ประชาสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 31.9 ค่าเฉลี่ยของช่องทางสื่อที่ได้รับระหว่างเพศชายแตกต่างจากเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) โดยค่าเฉลี่ยของช่องทางสื่อที่ได้รับ ระหว่างนักศึกษาช่วงอายุ 18-19 ปี แตกต่างกับช่วงอายุ 22-23 ปี อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ แต่ค่าเฉลี่ยของช่องทางสื่อที่ได้รับระหว่างบุคลากรแต่ละช่วงอายุไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ช่อง ทางของสื่อโภชนศึกษา กับระดับความแตกฉานด้านสุขภาพ และระดับคะแนนภาวะโภชนาการ ไม่มีความสัมพันธ์กัน โดยค่า สัมประสิทธิ์ของเพียรสันอยู่ที่ระดับ .000 (p < .01) แต่อย่างไรก็ตามพบความสัมพันธ์เชิงบวกเพียงเล็กน้อยของระดับความแตกฉาน ด้านสุขภาพ กับระดับคะแนนภาวะโภชนาการ มีค่าสัมประสิทธิ์ของเพียรสันอยู่ที่ระดับ .326 (p < .01) โดยคะแนนความแตกฉาน ด้านสุขภาพระดับสูงสุดในกลุ่มตัวอย่างที่บริโภคสื่อป้ายประชาสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 32.35 รองลงมา คือ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต โบรชัวร์ นิตยสาร สื่อบุคคล หนังสือพิมพ์ และวิทยุชุมชน เท่ากับ 26.47 24.51 6.37 3.43 .49 และ .49 ตามลำดับ" }
{ "en": "This Participatory Action Research (PAR) aimed to 1) study the situation of early childhood development in the community emphasis on the problems and the obstacles which involved in promotion of their early childhood development, 2) study the community potential model in promotion of early childhood development, and 3) study the effects of utilization of community potential model in promotion of early childhood development. The data were given by children and their family members, professional nurses, village health volunteers and nanny teachers from the child development center. Data collection was done by focus group interview, in-depth interview and participatory observation by using the process of participation in 3 phases of community potential development. The first phase is to study and assess the situation of early childhood development in the community to find out the problems and obstacles in promotion of their childhood development. The second phase is to develop the community potential model in promotion of early childhood development and the third phase is to evaluate the effectiveness of community potential model in promotion of early childhood development\nThe result of situation analysis was found that 41.18 % of the children are in tendency of delay development and the language development both receptive language and expressive language development were most found 28.43%. The researchers participated with the group of the data givers in setting the model for developing the community potential model in promotion for early childhood development as follows: - 1) Training the parent in basic assessment DSPM. 2) Training nanny teachers in child development center for using toolkit in the DSPM and training the inventory skills for individual child development. 3) Increasing the potential of the health care officers in active services by home visit in every abnormality cases, assess the childhood development in all age level. and 4) Setting the data network system for developmental information for the children younger than 2-year-old before entering in the early childhood development center. After the community potential model in promotion of early childhood development was practiced, the result showed that the children who had tendency in delay development received the promotion in development and could have normal development in 30 days 19.05% and 80.95% could have normal development in 90 days. Conclusion was that the community potential model in promotion of early childhood development by using community participation can promote early childhood development to have their ordinary development as their proper age. The suggestion is that this model - the community potential model in promotion of early childhood development should be developed and used in other communities which had the same situation.", "th": "การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสถานการณ์ พัฒนาการเด็กในชุมชน ปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2) ศึกษารูปแบบศักยภาพของชุมชนในการส่งเสริม พัฒนาการเด็กปฐมวัย 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบศักยภาพของชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย เด็กและครอบครัว พยาบาลวิชาชีพ อาสาสมัครสาธารณสุข ครูพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก และสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างศักยภาพของชุมชน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็ก ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบศักยภาพชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบศักยภาพชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก\nผลการวิจัย พบว่า เด็กมีพัฒนาการภาพรวมสงสัยล่าช้า ร้อยละ 41.18 และพบพัฒนาการรายด้านความเข้าใจภาษา และการใช้ภาษามากที่สุด ร้อยละ 28.43 นอกจากนี้ยังพบปัญหาและอุปสรรคต่อการส่งเสริมพัฒนาการ ดังนี้ 1) ครอบครัวขาด ความรู้พื้นฐานในการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2) ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขาดทักษะการใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็ก (DSPM) และขาดการส่งต่อข้อมูลเมื่อเด็กมีปัญหาพัฒนาการ 3) เจ้าหน้าที่ในระบบบริการสาธารณสุขขาดการติดตามประเมิน พัฒนาการเด็กในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยจึงร่วมกับผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนารูปแบบศักยภาพของชุมชน ในการส่งเสริมพัฒนาการ เด็ก ดังนี้ 1) ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการประเมินพัฒนาการเด็กขั้นพื้นฐาน 2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฝึก ทักษะการใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็ก (DSPM) และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กเฉพาะราย 3) เพิ่มศักยภาพการทำงานเชิงรุกข องเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยให้มี อสม. เยี่ยมบ้านทุกราย ประเมินพัฒนาการเด็กทุกช่วงอายุ และ 4) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลพัฒนาการ เด็กทั้งในระยะที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี จนกระทั่งเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หลังจากใช้รูปแบบศักยภาพของชุมชนในการส่ง เสริมพัฒนาการเด็ก พบว่า เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ได้รับแผนการกระตุ้นพัฒนาการจนกระทั่งมีผลพัฒนาการปกติใน 30 วัน ร้อยละ 19.05 และมีพัฒนาการปกติในระยะเวลา 90 วัน ร้อยละ 80.95 สรุปว่ารูปแบบศักยภาพของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชนสามารถส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยได้ และมีข้อเสนอแนะให้นำไปปรับปรุงทดลองใช้ในพื้นที่ชุมชนที่มีบริบทใกล้เคียง" }
{ "en": "The research purpose was to investigate the effect of information giving through two-dimension cartoon animation on preventive behavior for acute respiratory tract infection (ARIs) among preschoolers in childcare centers. Subjects consisted of 47 preschoolers in a child development center under the Supervision of Local Administration, aged between 3-5 years. Twenty two preschoolers were in the experimental group and 25 were in the control group. Research instruments included the information given by two-dimension cartoon animation which was guided by Edutainment Animated Series for Children of Isa, the knowledge test and the behavioral observation form of preventive behavior for ARIs. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The major results are as follows: 1. The mean score of preventive behavior for ARI among preschoolers after receiving information given by two-dimension cartoon animation was better than that before receiving information given through two-dimension cartoon animation at a significant level of .05. 2. The mean difference score of preventive behavior for acute respiratory tract infection among preschoolers in the group receiving information given by two-dimension cartoon animation was better than that in the group receiving routine care at a significant level of .05.", "th": "การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนสองมิติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลัน ระบบทางเดินหายใจของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอายุ 3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 47 คน เป็นกลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย การให้ข้อมูล ผ่านการ์ตูนสองมิติสร้างตามแนวคิด Edutainment Animated Series for Children ของ Isa แบบประเมินความรู้และแบบสังเกต พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจของเด็กวัยก่อนเรียนหลังได้รับ การให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนสองมิติ ดีกว่าก่อนได้รับข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่ม ที่ได้รับการให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนสองมิติ ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The concept of self-control is crucial in older adults because the consequence of high or low self-control directly impacts health outcomes in this population. However, the concept of self-control in older adults has not clearly been described from a nursing perspective. The purpose of this study was to clarify the concept of self-control in older adults. The Walker and Avant methodology was used for this concept analysis. There are eight steps in this method 1) selecting a concept 2) determining the aims or purpose of analysis 3) identifying all uses of the concept 4) determining the defining attributes 5) constructing a model case 6) constructing contrary, related and borderline cases 7) identifying antecedents and consequences and 8) defining empirical referents. The concept of self-control in older adults is defined as the following; 1) knowledge, 2) perceived benefit, 3) cognitive processing, 4) self-beliefs or personal beliefs 5) impulse control or motivation, and 6) capability and need to control. This concept analysis can expand the knowledge of self-control in older adults. Nurses can use the concept of self-control to encourage older adults to reach their healthcare goals.", "th": "แนวคิดเรื่องการควบคุมตนเองมีความสำคัญในผู้สูงอายุ เนื่องจากผลของการควบคุมตนเอง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ผลลัพธ์ด้านสุขภาพในประชากรกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องการควบคุมตนเองในผู้สูงอายุยังไม่ได้รับการอธิบายอย่างชัดเจน จากมุมมองทางการพยาบาล วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อชี้แจงแนวคิดเรื่องการควบคุมตนเองในผู้สูงอายุ การวิเคราะห์มโน ทัศน์การควบคุมตนเองในผู้สูงอายุครั้งนี้ ใช้วิธีการของ Walker และ Avant มีแปดขั้นตอนประกอบด้วย 1) การเลือกแนวคิด 2) การกำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ 3) การระบุการใช้งานทั้งหมดของแนวคิด 4) การกำหนดคุณสมบัติที่ กำหนด การสร้างแบบจำลองกรณี 5) การสร้างกรณีขัดแย้ง 6) การสร้างกรณีที่เกี่ยวข้อง และกรณีที่มีความไม่ชัดเจน 7)การระบุ ก่อนเกิดและผลที่ตามมาและ 8) การกำหนดการอ้างอิงเชิงประจักษ์ แนวคิดของการควบคุมตนเองในผู้สูงอายุมีดังต่อไปนี้ 1) ความรู้ 2) การรับรู้ถึงประโยชน์ 3) การประมวลผลทางปัญญา 4) ความเชื่อในตนเองหรือความเชื่อส่วนตัว 5) การควบคุมแรง กระตุ้นหรือแรงจูงใจ และ 6) ความสามารถและความจำเป็นในการควบคุมตนเอง การวิเคราะห์แนวคิดนี้สามารถขยายความรู้เรื่อง การควบคุมตนเองในผู้สูงอายุได้ พยาบาลสามารถใช้แนวคิดของการควบคุมตนเองเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุบรรลุเป้าหมายด้าน การรักษาพยาบาลได้" }
{ "en": "Childbirth is a major event of a women’s life in which they have to deal with labour pain inside unfamiliar environment and people. Women giving birth in most public hospitals in Thailand are not allowed to have family members or husbands attending during labour, leaving women facing the scary and uncomfortable situation by themselves. Continuous labour support has played a pivotal role in determining positive or negative childbirth experiences and outcomes. Ample evidence has shown the advantages of continuous labour support on labour pain, duration of labour, analgesic use, cesarean section rate, and women’s satisfaction, especially when support is provided by family members or husbands. Although conventional labour cares are provided by midwives, a shortage of midwives has led to a dissatisfaction and negative experiences amongst women giving birth. Labour pain management seems to use more pharmacological methods leading to unfavorable side effects on mothers and newborns. Non-pharmacological pain management such a massage technique which is uncomplicated for training, has been underpinned by extensive evidence demonstrating the effectiveness on labour pain relief. Therefore, the combination of continuous labour support by husbands, who are trained to support labouring women focusing on massage techniques, would optimize the quality of maternity care and maternal and neonatal outcomes. This article aims to describe the benefits of continuous labour support by husbands or partners during childbirth, focusing on massage techniques with the realistic plan for a proposed change strategy to apply and embed the practice within maternity settings of public hospitals in Thailand.", "th": "การคลอดเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของสตรีที่ต้องเผชิญกับการเจ็บครรภ์คลอด ในโรงพยาบาลรัฐบาลส่วนใหญ่ ในประเทศไทย ไม่อนุญาตให้สมาชิกในครอบครัวหรือสามีเข้ามาดูแลหญิงคลอดในระยะคลอด การดูแลอย่างต่อเนื่องในระยะคลอด มีบทบาทสำคัญต่อประสบการณ์การคลอดและผลลัพธ์ของการคลอด หลักฐานเชิงประจักษ์แสดงถึงประโยชน์ของการดูแลอย่างต่อ เนื่องในระหว่างการคลอด ทั้งในด้านการบรรเทาปวด ลดระยะเวลารอคลอด การใช้ยาบรรเทาปวดและอัตราการผ่าตัดคลอด และส่งเสริมความพึงพอใจของหญิงคลอด โดยเฉพาะเมื่อได้รับการดูแลจากครอบครัวหรือสามี การขาดแคลนพยาบาลที่ดูแล ในระยะคลอดอาจส่งผลให้การใช้ยาบรรเทาปวดมากขึ้น การจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยา เช่น เทคนิคการนวด เป็นวิธีที่ง่ายต่อ การฝึกและมีประสิทธิภาพในการบรรเทาปวดในระยะคลอด ดังนั้น การผสมผสานการดูแลอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดโดยสามี ที่ได้รับการฝึกการดูแลหญิงคลอดโดยมุ่งเน้นเทคนิคการนวดบรรเทาปวด จะช่วยยกระดับคุณภาพการดูแลและผลลัพธ์ของมารดา และทารกได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการอธิบายประโยชน์ของการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยสามีในระหว่างการคลอด มุ่งเน้น การใช้เทคนิคการนวดบรรเทาปวด รวมถึงการเสนอแผนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในสถานบริการ ของโรงพยาบาลรัฐในประเทศไทย" }
{ "en": "Diabetes mellitus (DM) is a chronic and complex disease that impacts on the lives and well-being of individual life, family, community, social and countries, particular increasing number of diabetes people in working age group. The challenging for people with diabetes that they need long-term care through multiple tasks that requires change in their lifestyle. This is quite difficult for adult population with diabetes, who are responsible their role and responsibility both of themselves and their family, they also need to learn skills and tasks to manage the disease for preventing or delaying complications by controlling blood glucose. This article focused on the challenge for nurse practitioners on diabetes self-management education and support (DSMES) to enhance and maintain self-care behaviors in working age group, based on the American Association of Diabetes Educations (AADE), AADE7 self-care behaviors and expanded chronic care model (ECCM).", "th": "เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เป็นเบาหวาน ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่เป็น เบาหวานวัยทำงานที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงเป็นสิ่งท้าท้ายสำหรับผู้ที่ เป็นเบาหวานวัยทำงานซึ่งเป็นวัยที่มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบทั้งตนเองและครอบครัวในการทำงานหาเลี้ยงชีพ บุคคลเหล่านี้ จำเป็นต้องดูแลและรับผิดชอบจัดการตนเองในการใช้ชีวิตร่วมกับเบาหวานยาวนานตลอดชีวิต ซึ่งต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็น อย่างเพียงพอในการดูแลตนเองเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเบาหวานได้อย่างมีความสุขและปราศจากภาวะแทรกซ้อน ด้วยการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเกณฑ์ บทความนี้ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ที่ท้าทายของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการให้ ความรู้และฝึกทักษะที่จำเป็นในการดูแลตนเองให้กับผู้ที่เป็นเบาหวานร่วมกับการสนับสนุนและให้การช่วยเหลือผู้ที่เป็นเบาหวานวัย ทำงานให้มีความสามารถในการดูแลตนเอง (Diabetes self-management education and support: DSMES) โดยประยุกต์ กรอบแนวคิดและมาตรฐานของสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานสหรัฐอเมริกา (The American Association of Diabetes Educations: AADE) AADE7 self-care behaviors และรูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังภาคขยาย (Expanded chronic care model: ECCM)" }
{ "en": "The Primary Health Care System is a reform of the Health Service System to create health insurance for the people. It is the front-line health service of the public health service system by Primary Care Cluster (PCC) team that apply the principles of holistic care. Continuous care and comprehensive care as well as apply knowledge of medical sciences public health care and Psychology and Social Sciences for Health Promotion, treatment, prevention, and rehabilitation. This is a career that requires health consciousness in many dimensions. Personnel in PCC consequently play an important role in supporting the operation of the Primary Health Care System using the potential and uniqueness that are the strengths of each profession. Therefore, to promote and develop personal competency, interaction of relationship including professional ethics. It is essential for the development of Primary Health Care Systems to serve health services meet the needs of the people leading to efficient service Therefore, it is essential for the development of primary health care systems.", "th": "ระบบการดูแลสุขภาพปฐมภูมิเป็นการปฏิรูประบบบริการสุขภาพเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน เป็นการบริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุขโดยทีมหมอครอบครัว ใช้หลักการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ต่อเนื่อง และผสมผสาน ประยุกต์ความรู้ทางการแพทย์และการสาธารณสุข จิตวิทยา และสังคมศาสตร์เพื่อส่งเสริมสุขภาพ รักษาโรค ป้องกัน โรคและการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งเป็นงานที่ต้องใส่ใจสุขภาพในหลายมิติ บุคลากรในทีมหมอครอบครัวจึงมีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุน การดำเนินงานระบบการดูแลสุขภาพปฐมภูมิโดยใช้ศักยภาพและเอกลักษณ์ที่เป็นจุดแข็งของแต่ละวิชาชีพ ดังนั้น การส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะด้านตัวบุคคล ด้านปฏิสัมพันธ์ รวมทั้งด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อทำหน้าที่ให้บริการสุขภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน นำไปสู่การบริการที่มีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งกับการพัฒนาระบบ บริการสุขภาพปฐมภูมิ" }
{ "en": "The newly emerging Coronavirus disease 2019 (COVID-19) has become a global pandemic with devastating consequences. The governments have imposed a number of measures to control the spread of coronavirus, which have also affected every aspect of daily life. These unprecedent measures have changed the way people live and indirectly force them to adapt to the “New Normal”. Having to adjust to this ‘New Normal’ certainly gives people a lot of stress and anxiety. Therefore, the implementation of Mental Health Promotion is the most important aspect that should be considered. The “positive thinking” is one of the effective ways which could be used to cope with stress and anxiety, as well as, to help people with the adaptation during difficult times. This paper aims to clarify roles of nurses for mental health promotion by applying the positive thinking would help people to easily/finally adjust themselves and live a happy life.", "th": "สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถือว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก รัฐบาล ได้ออกนโยบายเพื่อควบคุมการระบาดของโรค มาตรการดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของคนในสังคม ทำให้คนต้องทำ กิจกรรมแตกต่างไปจากเดิม เกิดเป็น “ชีวิตวิถีใหม่ (New normal)” ทำให้เกิดการปรับตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่าง สถานการณ์เหล่านี้ส่งผลให้คนในสังคมเกิดความเครียด วิตกกังวล แนวทางการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเป็นสิ่งที่ควรนำมาปรับใช้ การคิดเชิงบวก (Positive thinking) ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งที่ใช้เพื่อจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวล ช่วยให้สามารถปรับตัว ต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากในชีวิตได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายบทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพจิตบุคคลที่อยู่ใน ชีวิตวิถีใหม่โดยนำการคิดเชิงบวกมาประยุกต์ใช้ จะทำให้บุคคลสามารถปรับตัว และมีความสุขในการดำเนินชีวิตได้" }
{ "en": "Problems of the situation of the epidemic of Corona 2019 (COVID-19) many waves in Thailand. As a result, nursing administrators have to face various problems in managing nursing services. The work processes are adjusted in accordance with the epidemic situation of each new incidence. To achieve the effectiveness of the organization to success nursing administrators play an important role in the management of nursing services in emerging communicable disease situations, divided into 3 phases: 1) Pre-epidemic phase: 1.1) The role of management in the development of nursing knowledge 1.2) The role of building allocation planning and protective equipment 1.3) The role of assessment of operational readiness 2) During the epidemic period: 2.1) The role of communication and building relationships with the health team 2.2) The role of risk management 2.3) The role of staffing nursing team. 2.4) The role of building allocation 2.5) The role of information system management 2.6) The role of bed allocation management in hospital 3) Post-epidemic period 3.1) The role of management and evaluation of service outcomes 3.2) The role of nursing services development and improvement in preparation for the epidemic situation of Emerging Infectious Diseases in the future.", "th": "ปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หลายระลอกในประเทศไทย ทำให้ผู้บริหารทางการพยาบาลต้องเผชิญปัญหาต่างๆในการบริหารจัดการบริการทางการพยาบาล มีการปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง เพื่อให้บรรลุประสิทธิผลขององค์กร นำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารทางการพยาบาลจึงเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญในการจัดการบริการพยาบาลในสถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ แบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) ระยะก่อนเกิดการระบาด ได้แก่ 1.1) บทบาทด้านการจัดการการพัฒนาองค์ความรู้ทางการพยาบาล 1.2) บทบาทด้านการวางแผนการด้านการจัดสรรอาคารสถานที่ และอุปกรณ์ป้องกัน 1.3) บทบาทด้านการประเมินความพร้อมในการปฏิบัติงาน 2) ระยะขณะเกิดการระบาด ได้แก่ 2.1)  บทบาทด้านการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพกับทีมสุขภาพ 2.2) บทบาทด้านการบริหารความเสี่ยง 2.3) บทบาทด้านการจัดอัตรากำลังของทีมพยาบาล 2.4) บทบาทด้านการจัดสรรอาคารสถานที่ 2.5) บทบาทด้านการจัดการระบสารสนเทศ 2.6) บทบาทด้านการจัดการบริหารจัดสรรเตียงในโรงพยาบาล 3) ระยะหลังเกิดการระบาด ได้แก่ 3.1) บทบาทด้านการจัดการและประเมินผลลัพธ์ด้านการบริการ 3.2) บทบาทด้านการพัฒนาปรับปรุงการบริการพยาบาลสำหรับเตรียมการรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ในอนาคต" }
{ "en": "Trauma primary survey and nursing management is a critical stage of initial assessment and treat any life-threatening injuries. It requires a systematic approach, rapid, accuracy and good clinical judgement for optimizing resuscitation in time limited situation. This article provides trauma primary survey, pathology, assessment, nursing management and pitfalls by following of ABCDEs step-by-step. It aims to improve nurses’ knowledge and skills of assessment, can identify and management impending or immediate life-threatening injuries quickly and efficiently.", "th": "การตรวจประเมินผู้บาดเจ็บเบื้องต้นและการจัดการทางการพยาบาล เป็นขั้นตอนสำคัญในระยะแรกของการประเมินและ การช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บรุนแรง ซึ่งต้องอาศัยการทำงานที่เป็นระบบ รวดเร็ว แม่นยำ และการตัดสินใจให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม ในระยะเวลาอันสั้น บทความนี้เป็นการนำเสนอการตรวจประเมินเบื้องต้น พยาธิสภาพการบาดเจ็บ วิธีการตรวจประเมิน การจัดการ ทางการพยาบาล และประเด็นที่มักถูกมองข้ามตามขั้นตอน ABCDEs เพื่อให้พยาบาลได้เพิ่มพูนความรู้ และพัฒนาทักษะในการตรวจ ประเมิน สามารถระบุปัญหาและจัดการภาวะคุกคามชีวิตที่อาจจะเกิดขึ้นหรือกำลังเกิดขึ้นกับผู้บาดเจ็บรุนแรงได้อย่างรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ" }
{ "en": "The purposes of this evaluative research were 1) to evaluate the Bachelor of Nursing Science Program Revised Edition B.E. 2561 of the Police Nursing College in terms of context, input, process, and product and 2) to analyze future trends of Nursing Science Curriculum and learning management. The population consisted of 32 nursing instructors, 267 nursing students, 68 nursing graduates, and 68 users of the nursing graduates. Informants were 13 administrators of nursing institutes who were purposively selected. The population and informants were 448 people. The research instruments consisted of questionnaires for nursing instructors, nursing students, nursing graduates, and users of the nursing graduates and interview forms for external executives and the administrators at Police Nursing College. They had the content validity indices from 3 experts at 0.95, 0.95, 0.95. 0.97, 1.00, and 1.00, respectively. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics. Content analysis was used for analysing qualitative data.\nThe research findings were as follows: The contextual dimension, the philosophy of the curriculum was apparently consistent with the objectives of the curriculum. The instructors and students’ opinions about the arrangement in each subject of the curriculum were highly appropriate. The input factor dimension, the standard of nursing student selection method was found. The overall nursing instructor’s characteristics in the opinions of the students, graduates, and instructors were at a high level into the highest level (M = 4.45, SD = 0.68; M = 4.22, SD = .96, and M = 4.53, SD = 0.44, respectively). Meanwhile, instructors, students, and graduates’ opinion about the overall sufficiency of the supporting factors was moderately appropriate (M = 3.50, SD = 0.49; M = 3.15, SD = 0.82 and M = 3.12, SD = 0.99, respectively). The process factor dimension: the overall curriculum administration in the opinions of the nursing instructors and nursing students was at a high level (M = 3.90, SD = 0.67 and M = 3.72, SD = 0.79s, respectively), but in the opinions of the nursing graduates was a moderate level (M = 3.13, SD = 0.99). The output dimension: the overall quality of nursing graduates by Thai Qualification Framework and Institutional Identity in the opinions of the users of the nursing graduates was at a high level (M = 4.13, SD = 0.48). The experts and institute administrators’ opinions about the future trends of Nursing Science Curriculum and learning management should focus on outcome-based education that was consistent with the mission of the institution, professional standard, and the social change and needs.", "th": "การวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 ของวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต และ 2) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ประชากร ได้แก่ อาจารย์ 32 คน นักศึกษา 267 คน บัณฑิต 68 คน และผู้ใช้บัณฑิต 68 คน และผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาล 13 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งหมด 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับอาจารย์ นักศึกษา บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต และแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารภายนอก และภายในวิทยาลัยพยาบาล ตำรวจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้องของข้อความกับประเด็นที่ ต้องการศึกษา เท่ากับ 0.95, 0.95, 0.95, 0.97, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.95, 0.98, 0.98 และ 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา\nผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบท: ปรัชญาของหลักสูตรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และอาจารย์และนักศึกษา มีความคิดเห็นว่า การจัดเนื้อหาสาระที่เรียนในหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านปัจจัยนำเข้า: วิธีการคัดเลือกนักศึกษา มีมาตรฐาน นักศึกษา บัณฑิต และอาจารย์ มีความคิดเห็นว่า คุณลักษณะอาจารย์ มีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด (M = 4.45, SD = 0.68; M = 4.22, SD = .96 และ M = 4.53, SD = 0.44 ตามลำดับ) อาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต มีความคิด เห็นว่า ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง (M = 3.50, SD = 0.49; M = 3.15, SD = 0.82 และ M = 3.12, SD = 0.99 ตามลำดับ) ด้านกระบวนการ: อาจารย์ และนักศึกษา มีความคิดเห็นว่า คุณภาพการบริหารหลักสูตร มีความเหมาะสมในระดับมาก (M = 3.90, SD = 0.67 และ M = 3.72, SD = 0.79 ตามลำดับ) แต่บัณฑิต มีความคิดเห็นว่าคุณภาพ การบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.13, SD = 0.99) ด้านผลผลิต: ผู้ใช้บัณฑิต มีความคิดเห็นว่า คุณภาพบัณฑิต ตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ 6 ด้าน ตามอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถาบันอยู่ในระดับมาก (M = 4.13, SD = 0.48) สำหรับแนวโน้มของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ให้มุ่งเน้นการจัดการศึกษาแบบมุ่งผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบัน มาตรฐานวิชาชีพ และทันกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคม ข้อมูลที่ได้ ควรนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ และปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ และคุณภาพ การบริหาร หลักสูตร" }
{ "en": "This research is a pre-experimental research. The one group pretest-posttest design. The purpose was to study the effect of instructional management in mental health and psychiatric nursing practice aaccording to the theory of experiential learning and supplementary concepts for learning on operational performance psychiatric nurses of nursing students. Samples were 51 of 3rd year nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Saraburi. Research instrument used to collect data consisted of personal data and performance measurement tool for psychiatric nursing practice. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test.\nThe result revealed that psychiatric nursing practice competency before and after participated in instructional management in mental health and psychiatric nursing practice according to the theory of experiential learning and supplementary concepts for learning was significantly different at .01. The posttest score of the psychiatric nursing practice competency of 3rd year nursing students was higher than the pretest ones. Suggestion: The instructional management on experiential learning theory and scaffolding principle effected to increase performance psychiatric nurses of nursing students.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้แบบแผนการทดลองแบบทดสอบก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบเน้น ประสบการณ์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ต่อสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี จำนวน 51 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล เครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ t-test\nผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังเข้าร่วม จัดการเรียนการสอนปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และแนวคิดการเสริม การเรียนรู้มีความแตกต่างกันที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ข้อเสนอแนะการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ ส่งผลให้นักศึกษามีสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชเพิ่มขึ้น" }
{ "en": "This quasi-experimental research examined the effects of demonstration teaching method combined with simulation-based learning on nursing students’ ability to perform according to advanced cardiovascular life support standards and their satisfaction on the teaching. The samples of this study were 80 third-year students from Bachelor of Nursing program that were divided into 40 students for an experimental and 40 students for a controlled group. The instruments included : (1) the general data questionnaire (2) the satisfaction questionnaire toward the teaching, (CVI value of .87) (3) the ability test on the advanced cardiovascular life support for critically ill patients, (CVI value of .83). and (4) the simulation case of critically ill patients and virtual simulation models. The statistics employed for this analysis were percentile, medium, standard deviation and t-test.\nThe research results showed that: (1) the average score of nursing students’ ability to follow standard of resuscitation was significantly higher after learning through demonstration and simulation-based learning (significance level at .001); (2) according to the average score, the ability of the nursing students learnt through demonstration and simulation-based learning method to comply with the resuscitation standards was higher than that of those experienced normal methods (significance level at .001); and (3) the average score of overall nursing students’ satisfaction learnt through demonstration and simulation-based learning was the highest.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้ศึกษาผลของการสอนแบบสาธิตร่วมกับการสอนแบบสถานการณ์จำลองต่อความสามารถในการ ปฏิบัติตามมาตรฐานการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการสอน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 รวม 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามข้อมูล ทั่วไป (2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการสอน ค่า CVI เท่ากับ .87 (3) แบบทดสอบความสามารถในการปฏิบัติตามมาตรฐาน การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติ ค่า CVI เท่ากับ .83 และ (4) สถานการณ์จำลองผู้ป่วยวิกฤตและหุ่นจำลอง เสมือนจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที\nผลการวิจัย พบว่า (1) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติตามมาตรฐานการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงของนักศึกษา สูงกว่าก่อนได้รับการสอนแบบสาธิตร่วมกับการสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (2) คะแนน เฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติตามมาตรฐานการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบสาธิตร่วมกับ การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ (3) คะแนน เฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบสาธิตร่วมกับการสอนแบบใช้สถานการณ์จำลองอยู่ใน ระดับมากที่สุด" }
{ "en": "This qualitative research aimed to describe the experiences of critical patients receiving mechanical ventilators in general wards. This study used Heidegger’s hermeneutic phenomenological approach. Nine key informants were critical patients with respiratory failure who utilized mechanical ventilators at the general ward. Individual in-depth interview was used to collect the data. Data were analyzed using van Manen’s approach Trustworthiness was established following Lincoln and Guba’s criteria.\nThe findings revealed five thematic categories reflected within four lived-worlds of van Manen. 1) lived things: technologies for helping to survive; 2) lived body: suffering and having fears; 3) lived time: having hope for intubation; 4) lived relations: worry about family being. The findings could enable nurses and the healthcare team to understand better the patients receiving mechanical ventilators in general wards and serve as a guide for nursing quality improvement in responding to problems and needs of critical patients with mechanical ventilators in general wards.", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ขณะใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยวิกฤติในหอผู้ป่วยสามัญ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยวิกฤติจากภาวะหายใจล้มเหลวที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ครั้งแรกและนอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยสามัญ จำนวน 9 คน รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลการ สัมภาษณ์โดยใช้วิธีของ van Manen สร้างความน่าเชื่อถือของงานวิจัยตามเกณฑ์ของ Lincoln และ Guba\nผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ขณะใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยวิกฤติในหอผู้ป่วยสามัญประกอบด้วย 5 กลุ่ม ความหมาย สะท้อนภายใต้โลก 4 ใบ ของ van Manen ดังนี้ 1) โลกของสิ่งของ คือ เสมือนเป็นสิ่งช่วยให้รอดชีวิต 2) โลกของตนเอง คือ ทุกข์ทรมาน และ ใจมีแต่ความกลัว 3) โลกของเวลา คือ หวังจะได้ถอดท่อช่วยหายใจ และ 4) โลกของความสัมพันธ์ คือ นึกห่วงครอบครัว ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถช่วยให้พยาบาลและทีมสุขภาพได้เข้าใจผู้ป่วยขณะใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยสามัญ ได้ดีขึ้น และเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยวิกฤติที่ใช้เครื่องช่วย หายใจในหอผู้ป่วยสามัญ" }
{ "en": "This research is correlation descriptive research with objectives were to study the relationship between perceived benefits and perceived barriers, and health behaviors toward preventing the spread of Coronavirus in elderly. The sample was 330 elderly people, by using simple random sampling. Data were collected through questionnaires, which had reliability by Conbrach’s alpha coefficient of questionnaire; questionnaire on perception of the benefits, questionnaire on perception of the barriers, and questionnaire on health behaviors toward preventing the spread of Coronavirus in the elderly was 0.904, 0.797, and 0.804 respectively. The data were analyzed by using statistic descriptive and statistically analyzed for the relationship with Pearson’s correlation coefficient. The results of this research were as follows: Perception of the benefits toward preventing the spread of Coronavirus. Overall, it was at a good level. Perception of the barriers toward preventing the spread of Coronavirus. Overall, it was at a good level. The health behaviors toward preventing the spread of Coronavirus. Overall, it was at a good level. The perception of the benefits toward preventing the spread of Coronavirus was a positive significantly correlated with the health behaviors toward preventing the spread of Coronavirus with statistically significant at the .01 level and the perception of the barriers toward preventing the spread of Coronavirus was a negative significantly correlated with the health behaviors toward preventing the spread of Coronavirus with statistically significant at the .01 level.\nThe results of this study suggest the guideline to improve the service and ability for ensuring the readiness go on to control for preventing the spread of Coronavirus.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ประโยชน์ ระดับการรับรู้ อุปสรรค และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาในผู้สูงอายุ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรค กับพฤติกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุจำนวน 330 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ของแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตัว และแบบสอบถามพฤติกรรมการ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนาของผู้สูงอายุ เท่ากับ 0.904, 0.797 และ 0.804 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา และสถิติวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ประโยชน์ของการ ปฏิบัติตัว โดยรวมอยู่ในระดับดี การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตัว โดยรวมอยู่ในระดับดี พฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจาย เชื้อไวรัสโคโรนาโดยรวมอยู่ในระดับดี การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการแพร่ ระบาดของไวรัสโคโรนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตัวมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรม การป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ที่ระดับ .01\nผลการศึกษานี้ ได้ให้แนวทางในการพัฒนาบริการ และศักยภาพ ให้ทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถควบคุมป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาได้อย่างดีที่สุด" }
{ "en": "This purpose of this qualitative research was to study preparation model of children with cancer who hospitalization. This study was use two methods: a qualitative and an integrative review. Thirteen subjects were children diagnosed with cancer who hospitalized, caregiver, and health care providers were enrolled in qualitative study. Qualitative data were collected from in- depth interview, focus group discussion, non - participant observation and field note. Ten research papers were enrolled in integrative review study. Integrative review data were collected by integrative review five steps. Content analysis was analyzed for qualitative data. Matrix comparison and analytic induction were analyzed for integrative review data.\nResults indicated that four major preparation domains for children with cancer who hospitalization emerged: (1) children with cancer preparation domain (2) caregiver preparation domain (3) health care services preparation and (4) preparation model outcome. The policy recommendations: the model of preparation for children with cancer who hospitalization should be suitable for the disease context and nature of the children. The model should be provided for children with cancer who hospitalization.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กโรคมะเร็งในการเข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง มี 2 ส่วน ได้แก่ งานวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูล เด็กโรคมะเร็ง อายุ 6 – 18 ปี ผู้ดูแลหลัก และทีม สุขภาพ จำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและบันทึกภาคสนาม การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ งานวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 10 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การ วิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบใช้ตารางเทียบและวิเคราะห์แบบอุปนัย นำมาสังเคราะห์รูปแบบ การเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล\nผลการวิจัยพบว่า การสังเคราะห์รูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประกอบด้วย 4 มิติ คือ (1) ด้านการเตรียมความพร้อมเด็กโรคมะเร็ง (2) ด้านการเตรียมความพร้อมผู้ดูแล/ครอบครัว (3) ด้าน การเตรียมบริการสุขภาพ และ (4) ด้านผลลัพธ์การเตรียมความพร้อม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเสนอการประกาศใช้ชุดความรู้ใน การเตรียมความพร้อมเมื่อเด็กโรคมะเร็งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และการวิจัยนำร่างรูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับ เด็กโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลไปใช้เพื่อพัฒนาชุดความรู้การเตรียมความพร้อมที่สอดคล้องกับปัญหาและความ ต้องการให้สอดคล้องแต่ละบริบท" }
{ "en": "The objectives of this research and development were: 1) to develop and seek for an efficiency of an integrated social media and Technology based coaching model for improvement on healthcare competency of early childhood caregivers and 2) to access an effectiveness of based coaching model by using embedded mixed methods research by the samplings of five caregivers and forty-two early childhood in five childcare centers. The research instrument is a form of coaching model including knowledge competency test, skill competency assessment, attitude competency questionnaire, attitude questionnaire towards based coaching model, lesson learned reports, early childhood health assessment book. Data was analyzed by using mean, standard deviation, dependent T-Test, growth score, repeated measure ANOVA, and content analysis. The results indicated that: (1) an integrated based coaching model consists of “5 P Model”; first P is Purpose, second P is Participation, third P is Procedure Design, fourth P is Practice, and fifth P is Performance Reflection which was developed and obtained an efficiency of E1/E2 80.50/84.50. (2) the effectiveness, after using an integrated based coaching model, revealed that: 2.1) the average score of knowledge competency is higher (p<.05). 2.2) the average score of skill competency is higher (p<.05). 2.3) the average score of attitude competency is higher (p<.05). 2.4) attitude towards coaching model obtained the highest score level. 2.5) improvement on skill competency had higher growth score. 2.6) early childhood health development had higher growth score. This research was utilized to improve the competencies of caregivers and good health of early childhood.", "th": "การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการโค้ชแบบผสมผสานเทคโนโลยีผ่าน สื่อสังคม เพื่อพัฒนาสมรรถนะการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยของผู้ดูแลเด็กฯ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชฯ โดยวิธีวิจัย แบบผสมผสานรองรับภายใน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็ก 5 คน เด็ก 42 คน ใน 5 ศูนย์เด็กเล็ก เครื่องมือวิจัย คือ รูปแบบการโค้ชฯ แบบทดสอบสมรรถนะด้านความรู้ แบบประเมินสมรรถนะด้านทักษะ แบบสอบถามสมรรถนะด้านทัศนคติ แบบสอบถามทัศนคติ ที่มีต่อรูปแบบ แบบบันทึกการถอดบทเรียน สมุดบันทึกประเมินสุขภาพเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าที คะแนนพัฒนาการ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ วิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัย (1) รูปแบบการโค้ชฯ ประกอบ ด้วย ขั้น 1 กำหนดเป้าหมาย ขั้น 2 ส่วนร่วมพัฒนา ขั้น 3 ออกแบบขั้นตอนดำเนินการ ขั้น 4 ปฏิบัติ ขั้น 5 ประเมินผลสะท้อนกลับ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.50/84.50 (2) ประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชฯ 2.1) หลังใช้รูปแบบการโค้ชมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะ ด้านความรู้สูงขึ้น (p<.05) 2.2) หลังใช้รูปแบบการโค้ชมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะด้านทักษะสูงขึ้น (p<.05) 2.3) หลังใช้รูปแบบการ โค้ชมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะด้านทัศนคติสูงขึ้น (p<.05) 2.4) ทัศนคติต่อรูปแบบการโค้ชอยู่ในระดับมากที่สุด 2.5) พัฒนาการ ของสมรรถนะด้านทักษะมีคะแนนพัฒนาการสูงขึ้น 2.6) พัฒนาการสุขภาพเด็กปฐมวัยมีคะแนนพัฒนาการสูงขึ้น ผลวิจัยนี้ใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแลเด็กและสุขภาพเด็กปฐมวัย" }