translation
dict
{ "en": "The objectives of this descriptive research were to study preparedness in disaster management among professional nurses in District 9 community hospitals under the Ministry of Public Health and to compare disaster preparedness based on work experience, department assignment, size of hospital and disaster training or conferences. The sample was composed of 364 professional nurses in District 9 hospitals who were selected by using the multi-stage sampling technique. The data collection includeda questionnaire based on disaster management concepts developed by the World Health Organization (WHO), National Council of Nursing (ICN, 2009) and the findings of a study by Arunrat Siriphakdeekan (2556). Data were statistically analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA.\nThe findings are as follows: The preparedness for disaster management of the professional nurses was found to be moderate (mean = 2.65, SD = 0.76). When individual aspects were considered, disaster management affecting the community health was found to earn the highest mean score (mean = 3.00), The lowest mean while coordinating communication and educating about disaster knowledge scores (mean = 2.34, SD = 0.85) Professional nurses working in District 9 community hospitals in different departments, particularly the Disaster and Emergency Department, had different preparedness for disaster management than other departments with statistical significance at .05.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ประเภทงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเตรียมความพร้อม ในการจัดการภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน เขต 9 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเปรียบเทียบการเตรียมความ พร้อมในการจัดการภัยพิบัติ จำแนกตาม ประสบการณ์ทำงาน แผนก ขนาดของโรงพยาบาล และการประชุมหลักสูตรด้านภัยพิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนจำนวน 364 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม การเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพใช้แนวคิดการจัดการภัยพิบัติขององค์การอนามัยโลก (WHO),สภาการพยาบาลสากล (ICN, 2009) และผลงานวิจัยของอรุณรัตน์ สิริภักดีกาญจน์ (2556) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า การเตรียมความพร้อมด้านการจัดการภัยพิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.65 ) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวางแผนที่ส่งผลต่อสุขภาพชุมชน (ค่าเฉลี่ย = 3.00) ด้านที่มีค่าน้อยที่สุดคือ ด้านประสานงาน การสื่อสาร และให้ความรู้ด้านภัยพิบัติ (ค่าเฉลี่ย = 2.34) การเตรียมความพร้อมในแผนกที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินเท่านั้นจะมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติที่แตกต่างจากแผนกอื่นๆ อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The purpose of this research was to study of knowledge, attitudes behaviors of Rational Antibiotics Drugs Use and to examine the correlation among knowledge, attitudes and behaviors of Rational Antibiotics use. The 88 samples were nursing students purposive sampling. The research instruments were a test of knowledge and a questionnaire on the attitudes and behaviors regarding an appropriate use of drug. The item content validity for scale (S-CVI) was equivalent to 0.92. The Reliability of the questionnaire based on Cronbach’s Alpha was equivalent to 0.918 and the knowledge test based on the Kuder-Richardson Method was equivalent to 0.69. Data were analyzed by descriptive statistics.\nThe research results were as follows. The sample group had a high degree of knowledge on Rational Antibiotics Drug use at ( = 0.78, SD. = 0.29). Attitudes and behaviors were moderate ( = 3.37, SD. = 0.99) and ( = 3.21, SD. = 1.17) The correlation among knowledge,attitudes and behaviors were negative moderate level (r = -.498, Sig = .000, r = -.427, Sig = .000). Attitudes and behaviors were positively high level (r = .558, Sig = .000). The recommendations were as follows.The activity model of teaching on antibiotic use should be adjusted in a realistic simulation. And practicing experience in real situations emphasis on attitude adjustment, which is likely to lead Nursing students to have correct and safe antibiotic behaviors.", "th": "การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของนักศึกษาพยาบาล และความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล 88 คน เลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามทัศนคติและ พฤติกรรม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และหาคุณภาพเครื่องมือ โดยหาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) ได้เท่ากับ 0.92 ค่าความ เชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าแอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.918 และค่าความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้ได้ค่าKR20 เท่ากับ 0.69 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา\nผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลอยู่ในระดับมาก ( = 0.78, SD. = 0.29) ทัศนคติและพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.37, SD. = 0.99) และ ( 3.21, SD. = 1.17) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมพบว่าความรู้กับทัศนคติและพฤติกรรมมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง (r = -.498, Sig = .000, r = -.427, Sig = .000) ทัศนคติกับพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (r = .558, Sig = .000) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรปรับรูปแบบกิจกรรมการจัดการสอนเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลใน สถานการณ์จำลองเสมือนจริง และการฝึกประสบการณ์ในสถานการณ์จริง เน้นการปรับทัศนคติซึ่งน่าจะทำให้นักศึกษามีพฤติกรรม การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องและมีความปลอดภัย" }
{ "en": "This study aims to develop of The health care new normal model for elderly Chachoengsao Province. The sample is 30 seniors of social addiction group over the age of 60. Using health care new normal model. Which consists of 4 activities 1. Healthy couple menu 2. Stretch a little each day 3. Combine positive thinking energy 4. 3 aspects (food, exercise and emotion) together to do. Together with the involvement of the family Communities and government agencies The results were compared within the sample. The used statistical samples were Paired samples t - test.\nThe study results showed that The health care new normal model for elderly is appropriate and relevant with the community needs and helps in the implementation of health care work of the elderly in the community more. Before and after the activity had a statistically significant difference in mean score of .05 1) The mean score of knowledge about health care before and after the activity was 2.85 and 4.67 2) The mean score of health care behavior before and after activities were 3.20 and 4.14. 3) The mean score of satisfaction before and after activity was 2.92 and 3.31, respectively.", "th": "การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน โดยใช้กิจกรรมการดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรมดังนี้ 1. เมนูคู่สุขภาพ 2. ยืดเหยียดวันละนิด 3. รวมพลังความคิดบวก 4. 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์) ร่วมกันทำได้ ร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและหน่วยงานของรัฐ มีการเปรียบเทียบผลภายในกลุ่มตัวอย่างสถิติที่ใช้ คือ Paired samples t - test\nผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุมีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของ ชุมชนและช่วยในการดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนมากขึ้น ก่อนและหลังใช้กิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยแตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1) คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพก่อนและหลังใช้กิจกรรมเท่ากับ 2.85 และ 4.67 2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพก่อนและหลังใช้กิจกรรมเท่ากับ 3.20 และ 4.14 3) คะแนนเฉลี่ยความ พึงพอใจก่อนและหลังใช้กิจกรรมเท่ากับ 2.92 และ 3.31 ตามลำดับ" }
{ "en": "This research aimed to investigate the differences among performance status, pain, nutrition impact symptoms, sleep quality and nutritional status in 140 adult and older adult patients with head and neck cancer in a single tertiary hospital, Bangkok. A sample was enrolled regarding study criteria which comprised of 75 adults (53.6%) and 65 older adults (46.4%). The Roy Adaption Model was employed as a conceptual framework of study. Data were collected using the Palliative Performance Scale for Adult Suandok version, the Short-Form McGill Pain Questionnaire-Thai version, the Head and Neck Patient Symptom Checklist, the Pittsburgh Sleep Quality Index and the Mini-Nutritional Assessment-Short Form. Data analysis for comparing differences between groups was performed using Two Way ANOVA.\nThe results reported that adult and older adult groups had average ages of 47.61 years (SD=9.09) and 70.58 years (SD=7.40). Most of them were males (77.3% and 72.3%, respectively). Concerning clinical data, tumor sites and histological findings differed significantly (χ2 = 19.108, p = .003 and χ2 = 19.512, p = .001, respectively). Comparative analyses after controlling tumor sites and histological findings revealed no differences among performance status, pain, nutritional impact symptoms, sleep quality and nutritional status between adult and older adult groups (p>.05). In conclusion, even though, selected study factors demonstrated some alterations regarding adaptation, no statistical differences found between two age groups.", "th": "การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำกิจกรรม ความปวด อาการรบกวนด้านโภชนาการ คุณภาพการนอนหลับ และภาวะโภชนาการ ระหว่างผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้ป่วยผู้สูงอายุ จำนวน 140 ราย ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็ง ศีรษะและคอ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ แบ่งเป็น ผู้ป่วยผู้ใหญ่ 75 ราย (ร้อยละ 53.6) และผู้ป่วยผู้สูงอายุ 65 ราย (ร้อยละ 46.4) ใช้ทฤษฎีการปรับตัวของรอยเป็นกรอบแนวคิดใน การวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินระดับของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ฉบับสวนดอก แบบประเมิน ความปวดแมคกิลล์ฉบับภาษาไทย แบบประเมินอาการผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับพิตส์เบิร์ก และแบบประเมินภาวะโภชนาการฉบับย่อ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบสองทาง\nผลการศึกษา กลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่และกลุ่มผู้ป่วยผู้สูงอายุ มีอายุเฉลี่ย 47.61 ปี (SD = 9.09) และ 70.58 ปี (SD = 7.40) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 77.3 และร้อยละ 72.3 ตามลำดับ) จากข้อมูลทางคลินิกพบความแตกต่างในตำแหน่งของมะเร็ง และการเปลี่ยนแปลงเซลล์ (χ2 = 19.108, p = .003 และ χ2 = 19.512, p = .001 ตามลำดับ) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความ แตกต่างระหว่างกลุ่มโดยควบคุมปัจจัยตำแหน่งของมะเร็งและการเปลี่ยนแปลงเซลล์ พบว่าไม่มีความแตกต่างของความสามารถใน การทำกิจกรรม ความปวด อาการรบกวนด้านโภชนาการ คุณภาพการนอนหลับ และภาวะโภชนาการ ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่และ ผู้ป่วยผู้สูงอายุ (p>.05) สรุปได้ว่า ถึงแม้ว่าปัจจัยที่เลือกศึกษาจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลจากการปรับตัว แต่ไม่พบความแตกต่าง ทางสถิติระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอายุ" }
{ "en": "This article is a part of the research on “Development of the Elder Care System and Innovation by Local Community of Kiriwong Sub-district, Plai Phraya District, Krabi Province”; 1) aiming to study situation context and elder care process in local communities of Kiriwong Sub-district, Plai Phraya District, Krabi Province. 2) aiming to benchmarking elder care system by Local Community of Kiriwong Sub-district, Plai Phraya District, Krabi Province. Moreover, 3) the study also emphasized the guideline for elder care system development for local communities of Kiriwong Sub-district, Plai Phraya District, Krabi Province. The target group of 40 persons was selected by purposive sampling method. Research methodology included consideration of benchmarking, matching benchmarking, data compiling, data analysis, action, data collection by questionnaire and activities record form according to the action plan.\nFindings from the study suggested that development of the elder care system using benchmarking at local communities of Kiriwong Sub-district, Plai Phraya District, Krabi Province based on Bengt Ka-lof’s 5-steps benchmarking method starting from 1st to 5th steps which consisted of competency development, concerned environment development, service system development, fund or welfare establishment, development and application of information for promoting, solving/managing of elder person’s problem, rules and regulations to support activities. Development was significantly achieved through the innovative program of comprehensive learning center for elder person managed by local communities of Kiriwong Sub-district. In conclusion, benchmarking led to systematic planning, management and following-up, and also promoted participation in almost all areas resulting in significant changes to elder care system development by local communities.", "th": "บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบและนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น ตำบลคีรีวง อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่” โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทสภาพการณ์ กระบวนการดูแลผู้สูงอายุของชุมชนท้องถิ่น ตำบลคีรีวง อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น ตำบลคีรีวง อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุของชุมชนท้องถิ่น ตำบลคีรีวง อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน คัดเลือกแบบเจาะจง มีขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย พิจารณาตัดสิน ใจเปรียบเทียบสมรรถนะ เลือกคู่เทียบ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ\nผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยวิธีการเปรียบเทียบสมรรถนะของชุมชนท้องถิ่น ตำบลคีรีวง อำเภอ ปลายพระยา จังหวัดกระบี่ตามแนวคิดของเบ็ง คาร์ลอฟ (Bengt Ka-lof) 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพ การพัฒนา สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้สูงอายุ การพัฒนาระบบบริการ การจัดตั้งกองทุนหรือจัดให้มีสวัสดิการช่วยเหลือกัน การพัฒนาและนำใช้ ข้อมูลในการส่งเสริมแก้ไข/จัดการปัญหาผู้สูงอายุ การมีกฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติเพื่อหนุนเสริมการดำเนินกิจกรรม มีการพัฒนาขึ้น อย่างเห็นได้ชัดและส่งผลให้เกิดโครงการนวัตกรรมแหล่งเรียนรู้ครบวงจรเพิ่มคุณค่าผู้สูงวัยสู่การจัดการที่เป็นระบบโดยชุมชน ท้องถิ่นตำบลคีรีวง โดยสรุป การเปรียบเทียบสมรรถนะทำให้มีการจัดระบบวางแผน และมีการจัดการติดตามที่ดี และสร้างความรู้สึกการมี ส่วนร่วมทุกด้าน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "The objective of this descriptive research was to study nurse teachers’ expectation toward nursing education leadership model of Rajabhat Universities. The sample consisted of 79 nursing teachers of Rajabhat Universities using simple random sampling. The instrument was a questionnaire using rating scale 5 levels. Content validity were at 0.67-1.00 of index of Congruence and reliability were at 0.993 of Cronbach’s Alpha Coefficient. Data were analyzed using descriptive statistics.\nThe results of the research were as follows: Nursing teachers have expectations toward nursing education leadership model. Most of them have expectations on ethical leadership at a good level ( = 4.32, SD = 0.84), followed by visionary leadership at a good level ( = 4.30, SD = 0.80), inspirational leadership at a good level ( = 4.24, SD = 0.84), professional leadership, leadership with regard to individuality, technology leadership, and transformational leadership, respectively. From the research results, the administrators of the Faculty of Nursing under Rajabhat University can use it as a guideline for self-development according to the perceptions and expectations of the personnel in the organization to have the leadership in the administration of the nursing education institute of Rajabhat University.", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของอาจารย์พยาบาลที่มีต่อรูปแบบภาวะผู้นำทางการศึกษา พยาบาล สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์พยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 79 คน โดยการสุ่ม อย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ความตรงเชิงเนื้อหามีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ 0.993\nผลการวิจัยพบว่า อาจารย์พยาบาลมีความคาดหวังต่อรูปแบบภาวะผู้นำทางการศึกษาพยาบาล สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยส่วนใหญ่มีความคาดหวังต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับดี (= 4.32, SD = 0.84) รองลงมาคือ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ พบว่าอยู่ในระดับดี ( = 4.30, SD = 0.80) ต่อมาคือภาวะผู้นำด้านการสร้างแรงบันดาลใจพบว่าอยู่ในระดับดี ( = 4.24, SD = 0.84) และภาวะผู้นำทางวิชาชีพ ภาวะผู้นำด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยี และภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง ตามลำดับ จากผลการวิจัย ผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์สังกัดของมหาวิทยาลัยราชภัฏสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง ตามการรับรู้และความคาดหวังของบุคลากรในองค์กรให้มีภาวะผู้นำในการบริหารสถาบันการศึกษาพยาบาลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ต่อไป" }
{ "en": "The aim of this study is to develop the competency care assessment of professional nurses. Tertiary Hospital has 387 experienced nurses of 5 years terminally ill patients in inpatient. The study has drawn by multi-stage randomization and divided in to 2 phases. Phase 1 is the Synthesis factors of performance indicator in palliative care and sub-competency programs, build research tools which compose of 9 competency factors, 50 of sub competencies. Passed the content validity examination by experts. The content validity index was 0.86 and the reliability was determined by using the coefficient formula of Cronbach’s alpha which was 0.97. The Data was analyzed by using component factor extraction method. Phase 2 is to construct a palliative care competency evaluation form professional nurses through rubric model. Passed appropriateness of the level of three rubric assessment criteria from experts.\nThe result of this research can be summarized as follows: Palliative care competency factors of professional nurses in Tertiary Hospital have 4 components and can be described by 50 variables with variance of 69.41 percent: 1) Palliative care and pain management described by 59.508% has 13 variables. 2) Knowledge management, ethics and laws spiritual religion and coordination, described by 4.415% and has 13 variables. 3) Communication and care for grief described by 2.928% and has 13 variables. 4) In terms of preparation for the terminal illness and post-mortem care described by 2.565% and has 11 variables. The assessment scale divided the 3 levels of professional nurses.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลประจำาการหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลตติยภูมิที่มีประสบการณ์ การดูแลผู้ป่วยระยะ สุดท้ายตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จำนวน 387 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้สมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองและรายการสมรรถนะย่อย สร้างเครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วยสมรรถนะ 9 ด้าน ข้อรายการสมรรถนะย่อย 50 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนี ความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.86 และหาความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดย วิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีการสกัดตัวประกอบหลัก ระยะที่ 2 สร้างแบบประเมินสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคอง ของพยาบาลวิชาชีพ แบบรูบริค ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ความเหมาะสมของระดับเกณฑ์การประเมินแบบรูบริค จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้\n1. ตัวประกอบสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตติยภูมิ มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ บรรยายด้วย 50 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนคิดเป็นร้อยละ 69.41 ได้แก่ 1) ด้านการดูแลแบบประคับประคองและการจัดการ ความปวด สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 59.508 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 13 ตัวแปร 2) ด้านการ จัดการความรู้ จริยธรรมและกฎหมาย จิตวิญญาณศาสนา และประสานงานส่งต่อ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 4.415 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 13 ตัวแปร 3) ด้านการสื่อสารและการดูแลภาวะโศกเศร้า สามารถอธิบายความ แปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 2.928 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 13 ตัวแปร 4) ด้านการเตรียมความพร้อมในระยะใกล้ตาย และการดูแลหลังเสียชีวิต สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 2.565 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 11 ตัวแปร 2. แบบประเมินที่สร้างขึ้นแบ่งระดับสมรรถนะการดูแลเป็น 3 ระดับ" }
{ "en": "Adolescent-friendly health services focus on providing adolescents to access the services that are related to their youth lifestyle. The aim of this study is to explore the experience of teenagers in the two youth friendly clinics by using the descriptive qualitative research. Data collection is an in-depth interview method. Nine teenagers who received services at two friendly services of Petchaburi province during March-April 2018 were selected by purposive sampling technique. Research tools are the in-depth interview guided questions, and field note. Thematic analysis was used for data collection.\nThe results showed that the teenagers have expressed feedbacks on the experience of using the youth friendly service in three main themes as following: 1) the types of services provided to adolescents have 3 sub-themes that are focusing on proactive prevention; solving problem before it is too late; Supporting teenagers’ needs, 2) access to friendly services, there are 2 sub-themes: self-reliance; reliance when needed, and 3) Expected service, there are 3 sub-themes: raising awareness, changing attitude; Strengthen the theory and practice; confidentialiality. From the results of this study, nurses need to adjust their attitudes and provide services to support teenagers’ needs.", "th": "การให้บริการทางสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นเป็นการดูแลที่มุ่งเน้นให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึงรูปแบบการบริการที่สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของวัยรุ่น การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาประสบการณ์ของการเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่น โดยใช้ รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูล คือ วัยรุ่นที่เข้ารับ บริการในคลินิคบริการที่เป็นมิตร จำนวน 2 แห่งในจังหวัดเพชรบุรี คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 9 คน ที่เคยเข้า รับบริการในหน่วยบริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นของพื้นที่เป้าหมาย ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามปลายเปิดในการสัมภาษณ์เชิงลึก และบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ\nผลการวิจัย วัยรุ่นให้ข้อมูลถึงประสบการณ์ที่เข้ารับบริการในหน่วยบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น ไว้ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ชนิดของบริการที่จัดให้วัยรุ่น มี 3 ประเด็นย่อยคือ เน้นป้องกันแบบเชิงรุก, แก้ไขก่อนสาย, ตรงใจวัยรุ่น 2) การเข้าถึงบริการที่ เป็นมิตร มี 2 ประเด็นย่อยคือ พึ่งตนเองก่อนพึ่งพา, จำยอมเมื่อจำเป็น และ 3) บริการที่คาดหวัง มี 3 ประเด็นย่อยคือ สร้างความ ตระหนัก ปรับทัศนคติ, เสริมทฤษฎี มุ่งสู่ปฏิบัติ, ปกป้องความลับ จากผลการศึกษา พยาบาลควรมีการปรับทัศนคติและให้บริการ ที่สอดคล้องกับความต้องการของวัยรุ่น" }
{ "en": "This quasi-experimental research aimed to study the alcohol drinking prevention program applying self-efficacy theory among secondary school students. The 66 samples were divided by the purposive sampling method into two groups: 33 experimental group and 33 comparison group. The experimental instrument were 1.) The alcohol drinking prevention program applying self-efficacy theory learning management plans. 2.) The self-efficacy questionnaire 3.) The alcohol drinking prevention questionnaire 4.) The alcohol knowledge test. The data obtained were analyzed by using percentage, frequency, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, LSD and it conducted the level of statistical significance at .05 level.\nThe findings were as follows: 1.) After treatment, the mean scores of the self-efficacy, the mean scores of alcohol drinking prevention behavior and the mean scores of alcohol knowledge test from the alcohol drinking prevention program of the experimental group were found higher than the comparison group in statistically significant at .05 level. 2.) After treatment, the mean scores of the self-efficacy, the mean score of alcohol drinking prevention behavior and the mean scores of alcohol knowledge test from the alcohol drinking prevention program of the experimental group were found higher than before treatment in statistically significant at .05 level. While the follow-up phase and after treatment were found no different.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดโปรแกรมป้องกันการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเองที่มีต่อการหลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 66 คน เลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 33 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การป้องกันการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี ความสามารถของตนเอง 2) แบบสอบถามความสามารถของตนเอง 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ 4) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-way ANOVA และ LSD กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\nผลการวิจัย 1. หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถของตนเอง ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากการใช้โปรแกรมป้องกันการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถของตนเอง ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากการใช้โปรแกรมป้องกันการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในระยะติดตามผลและหลังการทดลองไม่ แตกต่างกัน" }
{ "en": "This descriptive research aimed to investigate the learning style and compare the perceived usefulness and satisfaction on blended learning of undergraduate nursing students’ pathophysiology course based on learning style. The participants were 161 second years nursing students. The questionnaires, including personal characteristics, learning style, satisfaction on blended learning, and perceived usefulness were distributed. The instrument reliability was assessed by using Cronbach’s alpha coefficient. The values of the internal consistency reliability were 0.63, 0.91 and 0.83 respectively. The percentage, mean, and standard deviation were used for the initial stage of data analysis and the one-way ANOVA was used to compare the means between two groups. Results showed that most of the participants engaged in one type of learning style (89.4 percent), and dependent learning styles (24.2 percent). The participants who engaged in more than one type of learning style (10.6 percent) had the styles of avoidance combined with competitive learning styles (35.3 percent). In the comparison between the satisfaction and the perceived usefulness of blended learning, the data showed that they had statistically significant differences at p < .05. The study indicated that the learning style of learners was a factor affecting the blended learning method. The instructors should be aware the learners’ learning styles before designing activities. This will enhance their learning skills and will improve their understanding of the lessons.", "th": "การศึกษาเชิงบรรยายนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้และเปรียบเทียบการรับรู้ประโยชน์ และความพึงพอใจ ต่อการเรียนแบบผสมผสานจำแนกตามรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาพยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 161 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล รูปแบบการเรียนรู้ ความพึงพอใจต่อการเรียนแบบผสมผสาน และการรับรู้ประโยชน์ของการเรียนแบบผสมผสานในการเก็บข้อมูล ตรวจสอบความเที่ยง ของเครื่องมือโดยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.63, 0.91 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบโดย One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มี รูปแบบการเรียนรู้ 1 รูปแบบ (ร้อยละ 89.4) เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบพึ่งพามากที่สุด (ร้อยละ 24.2) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีรูปแบบ การเรียนรู้มากกว่า 1 รูปแบบ (ร้อยละ 10.6) มีรูปแบบการเรียนรู้แบบหลีกเลี่ยงร่วมกับแข่งขันมากที่สุด (ร้อยละ 35.3) วิเคราะห์ เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจและการรับรู้ประโยชน์ของการเรียนแบบผสมผสานตามรูปแบบการเรียนรู้มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาแสดงว่ารูปแบบการเรียนรู้เป็นปัจจัยที่มีผลการต่อการเรียนแบบผสมผสาน ผู้สอนควรคำนึงถึงรูปแบบการเรียนรู้ร่วมด้วยในการออกแบบกิจกรรมซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้และความเข้าใจบทเรียน มากยิ่งขึ้น" }
{ "en": "This research is experimental research that aimed to develop and to test the effectiveness of the enhancement of executive functions of the brain by neuro-linguistic program (NLPEFs) for secondary school students with internet addiction. The subjects were 60 secondary school students with internet addiction. They had a score of internet addiction at ≥ 51 points. They were randomly assigned into two groups: an experimental and a control group which consisted of 30 persons in each group by matching the executive functions score from Wisconsin card sorting (WCST-64). The research instruments were; 1) The WCST-64 2) Behavior Rating Inventory of Executive Function-Self-Report (BRIEF-SR) Thai-version and 3) The NLPEFs were developed by the researcher. The experiment lasted for 6 sessions, each session lasted for 50 minutes, for a total of two weeks. The assessments were done in 3 phases: pretest, posttest, and follow-up phases. The data was analyzed by a repeated-measures analysis of variance and paired-different test by Bonferroni method.\nThe results revealed that; 1) The experimental group had the mean score of EFs higher than those in the control group in the posttest and follow-up with statistically significant at .05 level. 2) The experimental group had the mean score of EFs in the posttest and follow-up higher than the pretest with statistically significant at .05 level. It was concluded that the EFs enhancement program with NLP affected enhancing EFs among secondary school students with internet addiction.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการ ของสมองโดยโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เสพติดอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เสพติดอินเทอร์เน็ต จำนวน 60 คน ที่มีคะแนนการเสพติดอินเทอร์เน็ต มากกว่าหรือเท่ากับ 51 คะแนน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยใช้การจับคู่คะแนนหน้าที่บริหารจัดการ ของสมองจากแบบทดสอบวิสคอนซินการ์ดซอร์ติ้ง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แบบทดสอบวิสคอนซินการ์ดซอร์ติ้ง 64 2) มาตรวัดหน้าที่บริหารจัดการของสมองด้วยการสำรวจพฤติกรรม-แบบรายงานตนเอง ฉบับภาษาไทย และ 3) โปรแกรมเสริมสร้าง หน้าที่บริหารจัดการของสมองโดยโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 6 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ ความ แปรปรวนแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม เมื่อพบความแตกต่าง ทำการทดสอบด้วยวิธีทดสอบราย คู่แบบบอนเฟอรโรนี\nผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีหน้าที่บริหารจัดการของสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งหลังการทดลองและระยะติดตาม ผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) กลุ่มทดลองมีหน้าที่บริหารจัดการของสมองหลังการทดลองและระยะติดตาม ผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมอง โดยโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสมีประสิทธิภาพในการ เพิ่มหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เสพติดอินเทอร์เน็ต" }
{ "en": "This descriptive study aimed to explore the stress and coping of women with abnormal Pap smear before Loop Electrosurgical Excision Procedure. The Lazarus and Folkman stress, appraisal and coping theory was used to guide this study. Forty-four women with abnormal Pap smear before the procedure were recruited during they visited Bhumibol Adulyadej hospital. Data were collected from September to December 2019. Three instruments were used; 1) a demographic questionnaire 2) the Stress test 20 (ST-20) by Department of Mental Health and 3) Jalowiec Coping Scale (JCS). The data were analysed by using descriptive statistics.\nThe results found that the mean score of stress in participants was slightly higher than normal (63.64%). These women used a combination of three coping strategies including problem-focused coping, emotional-focused coping, and palliative-focused coping. The most frequently used strategies were problem-focused coping (41%); palliative-focused coping (41%); and emotional-focused coping (18%). This study provides information for gynecologic oncology nurses and health care providers to assess the stress of women and give information before Loop Electrosurgical Excision Procedure and help women to decrease stress and find appropriate appraisal ways of coping.", "th": "การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและการเผชิญความเครียดของสตรีที่มีเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ ก่อนทำการตัดปากมดลูกด้วยห่วงลวดไฟฟ้า โดยใช้ทฤษฎีความเครียดของลาซารัสและโฟล์ค แมนเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่มีเซลล์ปากมดลูกผิดปกติและต้องเข้ารับการตัดปากมดลูกด้วยห่วงลวดไฟฟ้าที่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลภูมิพล อดุลยเดช จำนวน 44 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเครียดของ กรมสุขภาพจิต และแบบวัดการเผชิญความเครียดของจาโลวิค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย\nผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยมีความเครียดโดยรวมสูงกว่าปกติเล็กน้อย (ร้อยละ 63.64) เมื่อเกิดความเครียด สตรีใช้ วิธีการเผชิญความเครียดทุกด้านร่วมกันทั้งด้านการเผชิญหน้ากับปัญหา ด้านการจัดการอารมณ์ และด้านการบรรเทาความรู้สึกเครียด โดยวิธีการเผชิญความเครียดที่ใช้มากได้แก่ด้านการเผชิญหน้ากับปัญหา (ร้อยละ 41) ด้านการบรรเทาความรู้สึกเครียด (ร้อยละ 41) และด้านการจัดการกับอารมณ์ (ร้อยละ 18) ผลการศึกษาที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งนรีเวชและทีมสุขภาพในการประเมินความเครียด ให้คำแนะนำสตรีที่ต้องเข้ารับการตัดปากมดลูกด้วยห่วงลวดไฟฟ้า เพื่อให้ได้รับข้อมูลและสามารถเลือกใช้วิธีการเผชิญกับความเครียด ได้อย่างเหมาะสม" }
{ "en": "This quasi-experimental research aimed to 1.) compare the mean scores of the sexual risk behaviors and the learning achievement before and after treatment between the experimental group and the controlled group 2.) compare the mean scores of the experimental group and the controlled group before and after treatment and 3.) compares the difference of the mean scores of the experimental group before and after treatment and 4 weeks after treatment in sexual risk behaviors and learning achievement in sex education The sample was selected by the purposive sampling method consisting of 70 grade 7 students 1: an experimental group of 35 students and a controlled group of 35 students. The experimental group received 8 sex education learning management by using LOVE Model. The sexual risk behaviors test and the sex education learning achievement test Were enployed. The data obtained were analyzed by using frequency, Standard Deviation, t-test, One-way ANOVA and LSD. The findings were as follows:1.) After treatment, the experimental group had the high mean score of sexual risk behaviors and were better than the controll group in statistically significant at .05. level 2.) After treatment, the experimental group had the higher mean score of learning achievement in sex education than before treatment and ware higher than the controll group in statistically significant at .05. level 3.) The mean scores of sex risk behaviors and learning achievement in sex education were not different between 4 weeks after treatment and after treatment.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนเพศศึกษาก่อนและหลังทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2.เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม ก่อนและหลังทดลอง และ3.เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังทดลอง และหลัง ทดลอง 4 สัปดาห์ในเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพศศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 เลือกแบบเจาะจง 70 คน กลุ่มทดลอง 35 คน และ กลุ่มควบคุม 35 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้เพศ ศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟ 8 ครั้ง ที่มีเนื้อหาเรื่องการป้องกันพฤติกรรมสี่ยงทางเพศ และเรื่องเพศศึกษา ใช้ประเมินจากแบบวัดพฤติกรรม เสี่ยงทางเพศและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพศศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, One-way ANOVA และLSD ผลการวิจัย 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนเพศศึกษา สูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพศศึกษา ไม่แตกต่างกับหลังการทดลอง" }
{ "en": "This study purposed to examine the health literacy and overweight’s behaviors, the correlation between the health literacy and overweight’s behaviors, and the comparisons between the health literacy and overweight’s behaviors among the 4th, 5th, and 6th grades of the elementary school students We totally collected 448 elementary school students with body weight index (BMI) between +2.5 and +3.0 of standard deviation in inner Bangkok metropolis using the multistage randomized sampling. Instruments were the health literature questionnaire with 6 dimensions and health behaviors questionnaires with 4 dimensions. Content validity of these questionnaires was .98. We analyzed data using the descriptive statistical test, Pearson correlation coefficient, and One way analysis of variance.\nWe found that the health literacy and overweight’s behavior scores were moderate. The health literacy low correlated with the overweight’s behaviors. Interestingly, the health literacy of the elementary school students was significantly different among grades (p<.01). However, the overweight’s behaviors among the grades of the elementary school students was not significant difference.", "th": "การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน ความสัมพันธ์ ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน เปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพ และเปรียบเทียบ พฤติกรรมการเกิดภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนระหว่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5-6 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบสุ่มหลายขั้นตอน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงมากกว่า +2 S.D. ถึง +3 S.D. โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตชั้นใน จำนวน 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ 6 ด้าน และแบบปฏิบัติ พฤติกรรมสุขภาพ 4 ด้าน ค่าความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับได้เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว\nผลการศึกษาพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการเกิดภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการเกิดภาวะน้ำหนักเกินอยู่ในระดับ ต่ำมาก ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักเรียนระหว่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5-6 มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และพฤติกรรมการเกิดภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนระหว่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5-6 ไม่แตกต่างกัน" }
{ "en": "This quasi-experimental research was to study the effect of health literacy program on health literacy, health behaviors and hemoglobin A1c among uncontrolled type 2 diabetes mellitus patients. The purposive sampling was used, which the samples were diabetes patients. They were then paired into a experimental group and a control group of 31 people each. The research instruments were the health literacy program, which had content validity at 1.00. The health literacy assessment and health behaviors instrument had reliability at 0.84 and 0.80, respectively. Whereas, hemoglobin A1c had been tested. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, pair t-test and independent t-test.\nThe results showed that the majority of the sample were female, which was 62.90 percent. Average age was 48.59 years, secondary education was 41.93 percent. Approximately 82.30 percent had received the knowledge of diabetes. After the experiment, the experimental group had mean score of health literacy and health behaviors at 53.65 and 41.42 respectively which had higher than before the experiment at 38.77 and 30.00 respectively. The experimental group had mean score of health literacy and health behaviors at 53.65 and 41.42 respectively which had higher than the control group at 38.51 and 32.16 respectively. The experimental group had lower hemoglobin A1c (8.21) than the control group (9.69), which was a statistically significant at the .01 level. Suggestion, this health literacy program could reduce blood sugar level of type 2 diabetes mellitus patients.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพและน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย เบาหวานคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้า จากนั้นจับคู่เข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 31 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.00 แบบประเมินความรอบรู้ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และ 0.80 ตามลำดับและการตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t- test และ Independent t-test\nผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.90 มีอายุเฉลี่ย 48.59 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ ปวช. ร้อยละ 41.93 เคยได้รับความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ร้อยละ 82.30 ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ (53.65 และ 41.42 ตามลำดับ) มากกว่าก่อนการทดลอง (38.77 และ 30.00 ตามลำดับ) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ (53.65 และ 41.42 ตามลำดับ) มากกว่ากลุ่มควบคุม (38.51 และ 32.16 ตามลำดับ) และกลุ่มทดลองมีน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (8.21) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (9.69) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ข้อเสนอแนะ โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพนี้ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ลงได้" }
{ "en": "This research aimed to 1.) compare the mean scores of the practical scores and knowledge about promoting dental health for protecting dental caries before and after treatment between the experimental group and the control group 2.) compare the mean scores of practical scores and knowledge about promoting dental health for protecting dental caries before and after treatment and follow-up phase of the experimental group and the control group. The sample was selected by purposive sampling students from grade 1: an experimental group of 25 students and a control group of 25 students. The research instruments were plans comprising of knowledge about promoting dental health for protecting dental caries with application of self-regulations and the evaluation form of the practical test and knowledge about promoting dental health for protecting dental caries. The data obtained were analyzed by using percentage, frequency, S.D, t-test, One-way ANOVA and LSD.\nThe findings were as follows: 1.) The average scores of practical test and knowledge about promoting dental health for protecting dental caries before treatment of the experimental group and the control group were not different. After treatment, the average scores of practical test and knowledge about promoting dental health for protecting dental caries of the experimental group were found significantly higher than the control group at the .05 level 2.) The average scores of practical test and knowledge about promoting dental health for protecting dental caries of the experimental group after treatment were found significantly higher than before treatment at the .05 level . For the follow-up phase and after treatment , the average scores of knowledge test were found no significant differences while the average scores of practical test were found significantly better than after treatment at the .05 level .", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติ และความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพฟัน เพื่อป้องกันฟันผุก่อนและหลังทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติ และ ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพฟันเพื่อป้องกันฟันผุก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล ของกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เลือกแบบเจาะจง กลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือวิจัย คือ แผนกิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพฟันเพื่อป้องกันฟันผุโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเอง และแบบประเมินการปฏิบัติและความรู้เกี่ยวกับ การส่งเสริมสุขภาพฟันเพื่อป้องกันฟันผุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-way ANOVA และ LSD\nผลการวิจัย : 1.ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติและความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพฟันเพื่อป้องกันฟันผุก่อนการทดลอง ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ไม่แตกต่างกัน หลังการทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติและความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ฟันเพื่อป้องกันฟันผุ กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติและ ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพฟันเพื่อป้องกันฟันผุ ในกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ในระยะติดตามผลและหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ไม่แตกต่างกัน แต่การปฏิบัติแตกต่างกัน ในทางที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This descriptive predictive research aimed to examine deliberate self-harm (DSH) and determine its predictors. A multi-stage random sampling was used to recruit the sample of 360 Thai adolescents aged 10-19 years who were studying in secondary schools in northern Thailand. The data were collected from July 2019 to January 2020. The research instruments were 7 self-report questionnaires. Their consistency reliability ranged from 0.81-0.89. Descriptive statistics, Pearson's correlation coefficients, and stepwise multiple regression were used for data analyses.\nResults revealed that the participants had their DSH in the past six months about 3-14 times with a mean score of 6.11 (SD = 2.83). The best predicting factor was stress (ß = .271, p <.001), following by sex (male) (ß = .197, p <.001), student-school connectedness (ß = .193, p <.001), self-control (ß = -.187, p <.001), and resilience (ß = -.172, p <.01). These five significant predicting factors were together accounted for 18.80% (R2 = 0.188, Adj. R2 = 0.177, F5,354 = 16.422, p <.001) in the variance of DSH. These findings suggest that school nurses, teacher or related interdisciplinary personnel could be utilize as foundation knowledge to develop activities or programs to strengthen student-school connectedness, self-control and resilience, as well as diminish stress among Thai school adolescents to prevent DSH in male and female adolescents by more focused on male adolescents.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการจงใจทำร้ายตัวเองในวัยรุ่นไทย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 คน คัดเลือกแบบสุ่มหลายขั้นตอน คือวัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคเหนือของประเทศไทย เก็บข้อมูลเมื่อ กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงมกราคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้วิจัยมีจำนวน 7 แบบสอบถาม คือ ข้อมูลส่วนบุคคล การจงใจทำร้ายตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว ความผูกพันต่อโรงเรียน การรับรู้ความเครียด แบบประเมินปัจจัยป้องกันด้านบุคคล และแบบวัดการควบคุมตนเอง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.81 - 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ\nผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการจงใจทำร้ายตนเองในหกเดือนที่ผ่านมาเฉลี่ย 6.1 ครั้ง (SD = 2.83) ปัจจัยที่ทำนาย การจงใจทำร้ายตนเองในวัยรุ่นได้ดีที่สุดคือความเครียด (ß = .271, p <.001) รองลงมาเป็นเพศ (ชาย) (ß = .197, p <.001) ความผูกพันต่อโรงเรียน (ß = .193, p <.001) ปัจจัยทำนายที่พบมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 5 ปัจจัยนี้สามารถอธิบายความแปรปรวน ในการจงใจทำร้ายตนเองของวัยรุ่นไทยได้ 18.80% (R2 = 0.188, Adj. R2 = 0.177, F(5,354) = 16.422, p <.001) การค้นพบ ครั้งนี้สามารถนำไปใช้เพื่อการจัดโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็ง และป้องกันการจงใจทำร้ายตัวเองในวัยรุ่นได้" }
{ "en": "The purpose of this descriptive research was to examine needs and need responses of preoperative patients in Mahasarakham Hospital. The sample consisted of 370 preoperative patients undergoing major surgery in Mahasarakham Hospital and met the study inclusion criteria. Select a specific sample group with the qualifications: 1) being 20 years of age or over both male and female 2) are patients in the preoperative period, surgery department and gynecology department 3) patients who are treated with elective case. Research instruments included the patient’s demographic questionnaire, the Preeyaporn samakkan’s needs and need responses questionnaire which were developed based on Gaglione’s concept. Data were analyzed using descriptive statistics and paired t-test.\nThe results revealed that 1) The overall score of needs was at a high level ( = 51.88, SD = 6.86). 2) The overall score of need responses was at low level ( = 10.70, SD = 5.97) and 3) Paired t-test showed a significantly significant difference between overall needs and need responses from preoperative nursing score for patients undergo major surgery (t = 89.71, p < .001). The mean total score of needs among preoperative patients was significantly higher than those of need responses. These finding suggest that nurses can be use the result to improve quality of preoperative nursing that focuses on emotional and spiritual needs of patients to meet demands effectively and comprehensively.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ก่อนผ่าตัดในโรงพยาบาลมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดใหญ่ ณ โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 370 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยมีคุณสมบัติ คือ 1) มีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง 2) เป็นผู้ป่วยในระยะ ก่อนผ่าตัดแผนกศัลยกรรม และแผนกนรีเวชกรรม 3) เป็นผู้ป่วยที่รักษาด้วยการผ่าตัดแบบนัดล่วงหน้า (Elective case) เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดของ ปรียาพร สมัครการ ซึ่งสร้าง ขึ้นตามแนวคิดความต้องการของกาลิโอเน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที\nผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดโดยรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยความต้องการโดยรวม 51.88 คะแนน (SD = 6.86) จากคะแนนเต็ม 63 คะแนน 2) การได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดโดยรวม อยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ยการได้รับการตอบสนองความต้องการโดยรวม 10.70 คะแนน (SD = 5.97) จากคะแนนเต็ม 63 คะแนน และ 3) ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 89.71, p < .001) โดยความต้องการมีคะแนนสูงกว่าการได้รับการตอบสนองความต้องการของ ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ข้อเสนอแนะ พยาบาลควรนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดที่เน้นการ ตอบสนอง ความต้องการของผู้ป่วยด้านอารมณ์ และจิตวิญญาณเพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม" }
{ "en": "This is descriptive research. The objective was the development and quality examination of competency scale for mentors nursing in Vajira Hospital. The research was divided into 2 phases: the first phase was to create a competency assessment form for mentor nurses, which consisted of reviewing the literature and interviewing 12 experts and drafting an assessment form. The second phase of research was to examine the quality of the assessment was to find the corroborative components by collecting data with a sample of 300 people and testing the quality of the assessment by 5 experts and 40 mentor nurses. A total of 16 stages of the study. The analysis of competency components of nurse preceptors using SPSS in the process of factor analysis, the quality inspection of questionnaire using content validity index, and the determination of tool reliability using cronbach’s alpha coefficient.\nThe study results, it was demonstrated that there were 6 components in the competency of nurse preceptor questionnaire, including 1) mentoring and teaching 2) leadership, interaction skills, and service quality development 3) system and unban medicine perspective 4) exemplary modeling and public mind 5) nursing intervention 6) communication skills using information technology for learning. Furthermore, it was shown that a Kaiser-Meyer-Olkin (KMO) value of 0.976 and Bartlett’s Sphericity test result having a p-value < 0.001 with eigenvalues from each value were 5.23 – 11.66 with the variance of 7.27 – 16.19 percent and the cumulative variance of 73.67 percent. All of the 6 competency components of nurse preceptors passed the quality inspection with the content validity index (CVI) for a scale of 0.91 and the Cronbach’s Alpha coefficient for a scale of 0.98, which means the questionnaire was highly reliable.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบ ประเมินสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ การวิจัยระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมิน สมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง เป็นการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 12 ท่าน แล้วจัดทำร่างแบบประเมิน และการวิจัย ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน เป็นการหาองค์ประกอบเชิงยืนยัน เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน และตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และพยาบาลพี่เลี้ยง 40 คน ซึ่งทำการศึกษาทั้งหมด 16 ขั้นตอน การวิเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยงด้วยโปรแกรม SPSS ตามขั้นตอนการวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) และการตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินด้วยวิธีการหาดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (content validity index) และหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค\nผลการวิจัยพบว่า แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยงมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านการให้คำปรึกษาและการสอน 2) ด้านภาวะผู้นำ ทักษะการปฏิสัมพันธ์ และการพัฒนาคุณภาพบริการ 3) ด้านมุมมองเชิงระบบและเวชศาสตร์เขตเมือง 4) ด้านการเป็นตัวแบบ และจิตสาธารณะ 5) ด้านปฏิบัติการพยาบาล และ 6) ด้านทักษะการสื่อสารโดยใช้สื่อเทคโนโลยี สารสนเทศในการเรียนรู้ โดยมีค่า Kaiser-Meyer-Olkin (KMO) เท่ากับ 0.976 และผลการทดสอบ Bartlett’s Sphericity มีค่า p-value < 0.001 มีค่าไอเกนแต่ละองค์ประกอบระหว่าง 5.23 – 11.66 และสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 7.27-16.19 และ ความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 73.67 โดยสมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยงทั้ง 6 ด้าน ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ คุณภาพของแบบประเมินได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 และความเชื่อมั่นของเครื่องมือทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 แสดงว่าแบบประเมินมีความเชื่อถือได้สูงมาก" }
{ "en": "The objectives of this descriptive correlational research were to study the repeat pregnancy prevention behaviors and the factors related to the behaviors among adolescent mothers. The samples were adolescent mothers who attended the postpartum care units. 130 adolescent mothers were recruited by the convenience sampling method. The personal data record form, the Sexual Communication Behavior Questionnaire and the Repeat Pregnancy Behavior Questionnaire were used for data collection. Content Validity Index (CVI) of questionnaires were 0.93, 0.79 respectively. Cronbach’s alpha coefficients were 0.86, 0.9 respectively. The data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient and Point-biserial correlation coefficient. The results revealed that the samples had average total scores of repeat pregnancy prevention behaviors in the medium level (Mean = 49.24, SD = 10.31). Age and family communication about sex factors were positively associated with total repeat pregnancy prevention behaviors at a significant level (r = .221, .327, p < .05 respectively) Nurses should promote family communications about sex could bring about better repeat pregnancy prevention behaviors which would solve repeat pregnancy problems especially in adolescent mothers at early age.", "th": "งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นในหอผู้ป่วยหลังคลอด จำนวน 130 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 1 ชุด 3 ส่วน ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ ซ้ำของมารดาวัยรุ่น โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.93 และ 0.79 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.86 และ 0.9 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำโดย รวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 49.24, SD = 10.31) ส่วนปัจจัยด้านอายุ และการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัวของมารดาวัย รุ่น มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .221, .327, p < .05 ตามลำดับ) พยาบาลควรมีการส่งเสริมการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว เพื่อให้มารดาวัยรุ่นที่มีอายุน้อยเกิดพฤติกรรมการป้องกัน การตั้งครรภ์ซ้ำได้ดี ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำโดยเฉพาะในมารดาวัยรุ่นที่อายุน้อย" }
{ "en": "This quasi-experimental research to investigate two groups after experiment, aimed to study the effects of continuous care in women after breast cancer mastectomy who had not yet completed chemotherapy or radiation therapy. Furthermore, there are 50 participants with 25 split into two groups. The participants were ages 35-59 years and were treated at Chulabhorn Hospital. Propulsive sampling and matching the similar type of operation, ages and educational background. The research instruments included: the continuous care in breast cancer after mastectomy and body image scale. The reliability statistic Cronbach’s Alpha was .92. The continues care to create the activity for patient and spouse to interact together base on Ahmadi’s concept of continuous care1, The time range of the process is eight week. There are 4 stages, which are introduction, motivation, control and analysis. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test methods.\nThe research finding as follows: A women after breast cancer mastectomy follow by continuous care has higher perceive positive body image than the group with regular care by a significance level of .05.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลการดูแลต่อเนื่องต่อภาพลักษณ์ ในสตรีหลังได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านม โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างคือ สตรีที่ป่วยมะเร็งเต้านมและได้รับการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด และยังไม่ได้รับเคมีบำบัดหรือฉายแสง อายุ 35-59 ปี จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยจับคู่กลุ่มตัวอย่างให้ใกล้เคียงกันในเรื่อง ประเภทของการผ่าตัด อายุ และระดับการศึกษา เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย การดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมออก แบบสอบถามภาพลักษณ์ มีค่าความ เที่ยงเท่ากับ .92 การดำเนินการวิจัยโดยจัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยและคู่สมรสมีส่วนร่วมไปด้วยกัน ตามการดูแลต่อเนื่องโดยประยุกต์จาก แนวคิดการดูแลต่อเนื่อง ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การแนะนำเบื้องต้น การกระตุ้น การควบคุม และ การประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที\nผลการวิจัย ผู้ป่วยสตรีหลังได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมกลุ่มที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องและการพยาบาลตามปกติมีการรับ รู้ภาพลักษณ์ด้านบวกสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "Dementia is a major public health problem among older person. Because of loss of their ability to think, make decisions, knowledge, memory, self-control, personality, mood, and behavioral changes. Affect to daily living and relationships with other people. As a result, their family and caregivers must have an increased burden. This study was an experimental research design that compare the cognitive abilities of an older person at risk of dementia between the experimental group receiving the brain training program developed from the theory of neurobic exercise and the control group receiving usual care. Results were measured with The Montreal Cognitive Assessment (MoCA) at the post-intervention, the 1-month and the 3- month follow-up period. Data analysis used descriptive statistics, Independent t-test and Repeated Measure Analysis of Variance statistics.\nThe results of the study showed that the intervention group had a higher overall score of cognitive ability than the control group across in all measurement time periods, at the post-intervention, the 1-month and the 3- month follow-up period were statistically significant differences to mean score pre-intervention (p <.05), especially mean score of the visuoconstruction, language, abstraction and delayed recall. Comparing the overall mean scores of the cognitive abilities showed that the mean difference in total score was statistically significant between the intervention and control groups (p <.05). In conclusion, the brain training program for the older person. This program can help slow down an occur dementia in older person.", "th": "ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในผู้สูงอายุ การสูญเสียความสามารถในการคิด การตัดสินใจ ความรู้ ความจำ การควบคุมตนเอง บุคลิกภาพ อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการความสัมพันธ์ กับบุคคลอื่น ส่งผลให้ครอบครัว และผู้ดูแลต้องมีภาระเพิ่มมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงทดลอง ศึกษาเปรียบเทียบ ความสามารถด้านความคิดความเข้าใจของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกสมอง พัฒนามาจากทฤษฎี Neurobic exercise กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ ทำการวัดผลด้วยแบบประเมินพุทธิปัญญา (Mo CA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ Independent t-test และ Repeated Measure Analysis of Variance\nผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยรวมของความสามารถด้านความคิดความเข้าใจมากกว่าก่อนการทดลอง ทั้งในระยะหลังการทดลอง ติดตามผล 1 เดือน และ 3 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยเฉพาะด้าน คะแนนเฉลี่ยด้าน มิติสัมพันธ์ ภาษา ความคิดเชิงนามธรรม และการทวนซ้ำ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม คะแนนเฉลี่ยรวมของการทดสอบความสามารถด้านความคิดความเข้าใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม (p<.05) สรุปได้ว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกสมองมีความสามารถด้านความคิดความเข้าใจมากกว่ากลุ่มทดลอง โปรแกรม นี้จึงสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของสมองในผู้สูงอายุได้" }
{ "en": "The overall situation of job retention and resignation of registered nurses in Lampang province was at a high level. The mean was 3.77. When considering the 3 questions arranged in order of priority, the study found the statements “You were confident in continuing to work in this hospital” with the average of 3.98, followed by “When having problems at work, you can get help from your supervisor” with the average of 3.88, and “You are willing to continue working even though your current job did not meet expectations.” with the average of 3.69, respectively. The results of the study concerning the factors predicting the persistence of registered nurses in Lampang province revealed that there were 7 affective variables. These include 1) working environment, 2) rewarding, performances, compensation, and fair assessment, 3) relationship with the supervisors, 4) the ability to take care of family members without affecting the performances, 5) working period, 6) colleagues, and 7) the absence of the burden of taking care of the family members. All the variables accounted for 60.2% of the change in job persistence among registered nurses in Lampang province (R2 = 0.602).\nAdditionally, the results of the study on treatment guidelines and incentives for registered nurses to remain in the system are opportunities for advancement, work evaluation, increasing manpower, salary raise, promoting the good deeds, implementation of 2P safety policy, budget support for personnel development, teamwork building, a nanny system, assigning tasks that match the practitioners’ abilities, and listening to their opinions and allowing them to participating in decision making in operations.", "th": "ภาพรวมสถานการณ์การคงอยู่ในงานและการลาออกของพยาบาลวิชาชีพในจังหวัดลำปางอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.77 เมื่อพิจารณารายข้อคำถาม 3 ลำดับ พบว่า ท่านมั่นใจที่จะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแห่งนี้ต่อไปมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 รองลงมาคือ เมื่อมีปัญหาในการทำงาน ท่านสามารถขอความช่วยเหลือจากผู้บังคับบัญชาได้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 และท่านยินดีที่ ปฏิบัติงานต่อ ถึงแม้ว่างานที่ท่านทำอยู่ในปัจจุบันไม่เป็นไปตามที่คาดหวังมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 ตามลำดับ ผลการศึกษาปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในจังหวัดลำปาง พบว่า มี 7 ตัวแปรที่มีผลต่อการคงอยู่ ในงานของพยาบาลวิชาชีพในจังหวัดลำปาง ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การให้รางวัล ผลงาน ค่าตอบแทน และการประเมิน ที่ยุติธรรม สัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา การดูแลบุคคลในครอบครัวไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ระยะเวลาปฏิบัติงาน เพื่อนร่วมงาน และการไม่มีภาระในการดูแลบุคคลในครอบครัว ตัวแปรทั้งหมดร่วมกันอธิบายการแปรผันการคงอยู่ในงานของ พยาบาลวิชาชีพในจังหวัดลำปางได้ร้อยละ 60.2 (R2 = 0.602)\nในขณะที่ผลการศึกษาแนวทางการรักษาและสร้างแรงจูงใจให้พยาบาลวิชาชีพให้คงอยู่ในระบบ ได้แก่ โอกาสความก้าวหน้า การประเมินการทำงาน การเพิ่มอัตรากำลัง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การส่งเสริมทำความดี การปฏิบัติตามนโยบาย 2P Safety การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาบุคลากร การทำงานเป็นทีม การสร้างระบบพี่เลี้ยง การมอบหมายงานที่ตรงกับความสามารถ ของผู้ปฏิบัติ และการรับฟังความคิดเห็น/มีส่วนร่วมตัดสินใจในการปฏิบัติงาน" }
{ "en": "The objectives of this descriptive research were to study and compare the legal knowledge, attitude towards elder abuse prevention, and elder abuse prevention behavior of professional and practical nurses. The samples with simple random sampling were 88 professional nurses and 84 practical nurses. The instruments consisted of test items about legal knowledge, the scale of attitude towards elderly abuse prevention, and the questionnaire of the elderly abuse prevention behavior. The indices of item objective congruence (IOC) of all instruments equal to 1.00. Kuder-Richardson reliability coefficient of test was 0.49 and the Cronbach alpha reliability coefficients were 0.79 and 0.80, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics: frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and independent t-test.\nThe results were as follows: 1) Professional and practical nurses had the legal knowledge scores above 60%, but these scores had no statistical difference between them at the .05 level; 2) Both groups had the positive attitude towards elder abuse prevention and the high level of elder abuse prevention behavior; 3) Practical nurses had statistically significant and higher attitude and behavior scores than professional nurses at the .05 level. Nursing institutions should review the nursing curriculum and nursing administrators should review organizational cultures about the report of colleagues’ inappropriate behaviors and encourage ethical courage for elder violence prevention in the workplace and families.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันการกระทำความ รุนแรงต่อผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ และเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ ของพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยพยาบาล การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 88 คน และผู้ช่วยพยาบาล จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบความรู้เกี่ยวกับ กฎหมาย แบบวัดทัศนคติต่อการป้องกันการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ และแบบวัดพฤติกรรมการป้องกันการกระทำความ รุนแรงต่อผู้สูงอายุ การตรวจสอบค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับประเด็นที่ต้องการศึกษา เท่ากับ 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์ความ เที่ยงแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสันของแบบสอบเท่ากับ 0.49 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.79 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบที\nผลการวิจัย พบว่า 1) พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลมีคะแนนความรู้เฉลี่ยเกี่ยวกับกฎหมายไม่แตกต่างกัน 2) ผู้ช่วย พยาบาลมีทัศนคติที่ดีต่อการป้องกันการกระทำรุนแรงต่อผู้สูงอายุสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 3) ผู้ช่วยพยาบาลมีทัศนคติที่ดีต่อการป้องกันการกระทำรุนแรงต่อผู้สูงอายุและพฤติกรรมการป้องกันการกระทำความรุนแรง ต่อผู้สูงอายุสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สถาบันการศึกษาพยาบาล ควรทบทวนหลักสูตร และผู้บริหารทางการพยาบาล ควรทบทวนวัฒนธรรมองค์กร เรื่องการรายงานพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ร่วมงาน และการส่ง เสริมความกล้าหาญทางจริยธรรมในการป้องกันความรุนแรงต่อผู้สูงอายุในหน่วยงาน และครอบครัว" }
{ "en": "The aim of this systematic review of bedbound elderly caring research articles was to improve the quality of life among bed-bound elderly issues, including physically, mentally, social relationships and environment. This systematic review was conducted limited to original research articles that were published between 2011 and 2020. The articles focused on bedbound elderly caring. There were seven research articles met the inclusion both criterias with the PICos framework for qualitative research and the PICO framework for quantitative research. The data from each study were extracted by two independent reviewers.\nData Synthesis showed the caring on improve the quality of life among bed-bound elderly separate in to five parts. These were integrated together. 1) bed bound elderly self-care as self-care activity and cooperate activity for self-care, 2) by their family care, the someone was accepted as main caregiver and everyone in the family was developed to be caregivers. 3) by health volunteers, 4) by the health service system by monitoring, suggesting, screening and referring to the level of care needs, and 5) community generosity such as neighbors, community leaders, Elderly club and local government organizations they supported for bedbound elderly caring for quality of care including quality of life Literature review reveals that some health care activity of organizations in health service system and the local government organizations was complicated. That was advising, teaching, and enhancing the competence of caregivers. They should have cooperated to only one which improves the quality of life of bedridden older adult.", "th": "การทบทวนวรรณกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงในประเด็นการดูแลเพื่อเพิ่มระดับ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุติดเตียงทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทย ระหว่างปี 2554 -2563 ที่ครอบคลุมงานวิจัยเชิงทดลอง และงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีเกณฑ์คัดเข้างานวิจัยตามกรอบแนวคิด PICO สำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ และ PICo สำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ และนำงานวิจัยมาประเมินคุณภาพ โดยการประเมินระดับข้อมูล ได้งานวิจัยจำนวน 7 เรื่องที่นำมาสกัดข้อมูล\nผลการศึกษาพบว่า การดูแลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุติดเตียงแบ่งเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย 1) การดูแลตนเอง ได้แก่ การปฏิบัติกิจกรรมการดูแลด้วยตนเองและการให้ความร่วมมือในการรับการดูแลเพื่อให้ตนเองได้รับการตอบสนองความ ต้องการ 2) การดูแลโดยครอบครัว ได้แก่ สมาชิกในครอบครัวยอมรับเป็นผู้ดูแลหลัก การพัฒนาของผู้ดูแลหลัก ความพร้อม ของบุคคลในครอบครัวผู้ดูแล 3) การดูแลโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แบ่งเป็น กรณีไม่มีผู้ดูแล กรณีมีผู้ดูแล และมีผู้ดูแลแต่ไม่ดูแล 4) การดูแลโดยระบบบริการสุขภาพ ได้แก่ ให้คำแนะนำ คัดกรอง และส่งต่อตามระดับความต้องการ การดูแล และ 5) การเอื้ออาทรจากชุมชน ได้แก่ เพื่อนบ้าน ผู้นำชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความ ช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อให้สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็ง และมีคุณภาพในการดูแล จากการศึกษาพบว่า การดูแลโดยระบบบริการสุขภาพ มีความซ้ำซ้อนกับระบบการดูแลต่างหน่วยงานกัน การดูแลของ องค์กรส่วนท้องถิ่น ได้แก่ การให้คำแนะนำ การสอน การส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแล ซึ่งควรมีการร่วมมือพัฒนาให้เป็นระบบ และแนวทางเดียวกัน เพื่อให้การดูแลสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุติดเตียงให้ดีขึ้นอย่างชัดเจนต่อไป" }
{ "en": "The purposes of this research were to study the health literacy and health behavior 3E2S and to study relationship between sex, age, educational level and health literacy and health behaviors of the people in Baan Aur-arthorn community Bangkhen (Klong thanon). Data collected in March 2018. The samples were 102 people in Baan Aur-arthorn Bangkhen community (Klong thanon) Bangkok, selected by purposive sampling method. The tool used for data collection was an evaluation form of the working age group’s health literacy and health behavior based on Health Education Division, Department of Health Service Support, the Ministry of Public Health .Questionnaires on health literacy and health behavior 3E2S with the reliability of 0.87, and 0.70, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and Chi-Square test, Spearman test and Pearson test.\nThe results showed that the health literacy of the samples was at a fair level which was 45.90 average, moreover, the health behavior 3E2S was at a good level which was 22.28 average. The individual factors such as gender (V = 0.62), ages (r = - 0.36), education (Spearman’s rho = 0.66) and the health literacy (r = 0.67) were relatively to the health behavior 3E2S which was significantly different at .001. These results could be used for further information of people’s health behavior and health literacy promotion at Baan Aur-arthorn community Bangkhen (Klong thanon).", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. และความสัมพันธ์ระหว่างเพศ อายุ ระดับการศึกษา และความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของประชาชนในชุมชนบ้านเอื้ออาทรบางเขน (คลองถนน) กรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลในเดือนมีนาคม 2561 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในชุมชนบ้านเอื้ออาทรบางเขน (คลองถนน) กรุงเทพมหานคร จำนวน 102 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของกลุ่มวัยทำงานอายุ 15 - 59 ปี ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและแบบสอบถาม พฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.87 และ 0.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบไคสแควร์ สเปียร์แมน และเพียร์สัน\nผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ โดยมีค่าเฉลี่ย 45.90 และพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 22.28 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ประกอบด้วยเพศ (V = 0.62) อายุ (r = - 0.36) ระดับการศึกษา (Spearman’s rho = 0.66) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยภาพรวม (r = 0.67) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ซึ่งผลการศึกษานี้ จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชนบ้านเอื้ออาทรบางเขน (คลองถนน) กรุงเทพมหานคร ต่อไป" }
{ "en": "The trend of cardiovascular disease (CVD) in Thai population was continuously increasing. Prevention by enhancing a health literacy was very important. The research objective was to study the relationship between the CVD risk factors with the CVD’s risk levels and health literacy among the older adults in Chiang Rai province. The sample size were 323 older adults, using the demographic characteristics questionnaire, the health literacy questionnaire, and the levels of cardiovascular disease risk factors questionnaire. The association between CVD’s risk factors with CVD risk level and health literacy were analyzed by Chi-square test, Fisher’s exact test, and ANOVA test. Results: Most elderly participants were young-old (57%). There older adults in each group (young-old, middle-old, and old-old) were significantly different in health literacy scores (p-value < .001). Which, young-old group ( = 121.3, SD= 37.4) was highest mean of health literacy score than middle-old ( = 100.4, SD= 33.7) and old-old groups ( = 83.8, SD= 29.1), respectively. The health literacy in young-old group was significantly relation with past illness variable and BMI level variable (p-value < .001).   Therefore, enhancing the health literacy should consider the difference of age, past illness and BMI level of the older adults.", "th": "งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานศึกษาแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค หลอดเลือดหัวใจกับระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย กลุ่ม ตัวอย่าง จำนวน 323 คน คัดเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ความรอบรู้ทางสุขภาพ และแบบประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคน์สแคว์ (Chi-square test) Fisher’s exact test และ ANOVA ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนต้น ร้อยละ 57 ผู้สูงอายุแต่ละกลุ่ม (ตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย) มีคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพ ของแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) ผลการเปรียบคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพ พบว่า ความรอบรู้ทาง สุขภาพของผู้สูงอายุตอนต้นมีคะแนนสูงสุด (Mean = 121.3, S.D. = 37.4) รองลงมาเป็นผู้สูงอายุตอนกลาง (Mean = 100.4, S.D. = 33.7) และผู้สูงอายุตอนปลาย ( = 83.8, SD = 29.1) ตามลำดับ ความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้สูงอายุตอนต้นมีความสัมพันธ์ กับโรคประจำตัวและระดับ BMI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p-value" }
{ "en": "This descriptive correlational study aimed to examine the relationship among lower urinary tract symptoms (LUTS), symptom management, and psychological well-being (PWB) in older adults with benign prostatic hyperplasia (BPH). The study was conducted on 130 older adults who were follow-up at a university hospital located in Bangkok and met the inclusion criteria as follows: being 60 to 84 years of age; being diagnosed with BPH; and being cognitively intact. Data were obtained using The Demographic Data and Health Information Questionnaire; The Thai Version of The International Prostate Symptom Score; The Urinary Symptom Management Inventory; and The Psychological Well-Being Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman rank correlation coefficient. Results revealed that The LUTS had a low negative relationship with PWB, and urinary symptom management had a low positive relationship with PWB (r s = -.22, p < .05; r s = .20, p < .05, respectively).", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการปัสสาวะผิดปกติ การจัดการอาการและ ความผาสุกทางจิตใจในผู้สูงอายุโรคต่อมลูกหมากโต กลุ่มตัวอย่างจำนวน 130 คน ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยมี คุณสมบัติ ได้แก่ ผู้สูงอายุเพศชาย อายุ 60-84 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต่อมลูกหมากโต ไม่มีภาวะพร่องการรู้คิด ที่มาตรวจ รักษาที่แผนกศัลยกรรม ในคลินิกศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ของโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรุนแรงของอาการปัสสาวะผิดปกติ แบบสอบถามการจัดการ อาการปัสสาวะผิดปกติในผู้สูงอายุโรคต่อมลูกหมากโต และแบบสอบถามความผาสุกทางจิตใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า อาการปัสสาวะผิดปกติมีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตใจทางลบค่อนข้างต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการจัดการอาการปัสสาวะผิดปกติมีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตใจ ทางบวกค่อนข้างต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r s = -.22, p < .05 และ r s = .20, p < .05) ตามลำดับ" }
{ "en": "The purpose of this research was study the competency of the quality of service and nursing care visits the university hospital network, Thailand and university hospital nursing director consortium. This descriptive research was collected data 3 times 1) the 1st round, using focus group discussion technique to explore opinions from expert groups. The result summary is the competency needed for the quality inspection visitors. 2) Prepare a questionnaire of the performance needs for the visitor. The content validity analyze by the Indexes of Item-Objective Congruence (IOC) of 0.67-1.0 and the reliability with the Cronbach’s Alpha coefficient of .94, and 3) the questionnaires were collected in the volunteers with the specified qualifications in a total of 25 hospitals, 30 people. Data analysis by means of Mean Deviation, and Standard Deviation.\nThe results showed that the competency of the quality inspectors have a high level of average ( = 4.41) when considering according to competencies, found that competency no. 4, teamwork, the highest average ( = 4.60), followed by the competency no. 6 is an important feature of being a great visitor, the competency no. 1 has knowledge and understanding of professional standards, the competency no. 3 has the ability to manage., the competency no. 2 has knowledge and understanding about professional ethics ( = 4.50, = 4.39, = 4.37, = 4.30) and the competency no. 5 Communication ( = 4.27).", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้เยี่ยมตรวจคุณภาพบริการการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย และชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล โดยเก็บ ข้อมูล 3 ครั้ง 1) ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม เพื่อรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สรุปเป็นสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับ ผู้เยี่ยมตรวจคุณภาพฯ 2) จัดทำแบบสอบถามความจำเป็นของสมรรถนะสำหรับผู้เยี่ยมตรวจฯ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง = 0.67-1.0 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม = .94 3) นำแบบสอบถาม ที่ได้เก็บข้อมูล ในกลุ่มอาสาสมัครตามเกณฑ์ จำนวน 25 โรงพยาบาล รวม 30 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน\nผลการวิจัย พบว่าสมรรถนะของผู้เยี่ยมตรวจคุณภาพฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.41) เมื่อพิจารณา ตามสมรรถนะ พบว่า สมรรถนะที่ 4 การทำงานเป็นทีม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 4.60) รองลงมาคือสมรรถนะที่ 6 คุณลักษณะที่สำคัญของ การเป็นผู้เยี่ยมที่ดี สมรรถนะที่ 1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพ, สมรรถนะที่ 3 มีความสามารถในการบริหารงาน, สมรรถนะที่ 2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมเชิงวิชาชีพ ( = 4.50, = 4.39, = 4.37, = 4.30) และ สมรรถนะที่ 5 การสื่อสาร ( = 4.27)" }
{ "en": "This quasi-experimental research aimed at :1) to compare the foreigner patient satisfaction of nursing services before and after using an interaction model with foreign patients at an outpatient department of a private hospital, 2) and to compare the value of the interaction model as perceived by professional nurses before and after adopting the model. The samples comprised 2 groups: 1) foreigner patients were divided into two groups, a pretest group and a posttest one, each contained 51 patients, and 2) 15 registered nurses of the outpatient unit. The research tools included: 1) the developed interaction model with foreigner patients at the outpatient unit, 2) a foreign patient satisfaction of nursing service questionnaire, and 3) a questionnaire of nurses’ perception of the value of the interaction model with foreign patients. The reliabilities of the first and the second one were 0.98 and 0.97 respectively. The data were analyzed by using descriptive statistics, Mann Whitney U test, and t-test.\nThe results revealed as follows. 1) The foreigner patient satisfaction of nursing services in technical professional dimension was significantly higher than before using the model at the level .05. 2) The value of the model as perceived by the nurses after adopting the model was significantly higher than the prior model at the level .001", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริการพยาบาลของผู้ป่วยชาวต่างชาติ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยชาวต่างชาติ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง และ 2) เปรียบ เทียบคุณค่าของรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยชาวต่างชาติ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้ กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ป่วยชาวต่างชาติได้จากการคำนวณด้วยโปรแกรม G*Power กลุ่มก่อนและหลัง กลุ่มละ 51คน และ 2) พยาบาล วิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย มี 3 ชุด ได้แก่ 1) รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยชาวต่างชาติ แผนกผู้ป่วยนอก 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริการพยาบาลของผู้ป่วยชาวต่างชาติ และ 3) แบบสอบถามคุณค่าของรูป แบบการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยชาวต่างชาติตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ความเที่ยงของเครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 เท่ากับ 0.98 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบแมนวิทนีย์ยู และการทดสอบที\nผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจต่อการบริการพยาบาลของผู้ป่วยชาวต่างชาติด้านความสามารถทางเทคนิคและวิชาชีพ หลังการใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) คุณค่าของรูปแบบมีปฏิสัมพันธ์ กับผู้ป่วยชาวต่างชาติตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001" }
{ "en": "This research and development aimed to 1) study breast cancer preventive behaviors and factors related to promote breast cancer preventive behaviors among women in Phetchaburi Province 2) develop a model for promoting breast cancer preventive behaviors among women in Phetchaburi Province and 3) evaluate a model for promoting breast cancer preventive behaviors among women in Phetchaburi Province. The research consisted of 3 phases. Phase 1 was to explore breast cancer preventive behaviors and factors related to promote breast cancer preventive behaviors among 24 women aged 20-45 years in Phetchaburi Province by using in-depth interviews. Phase 2 was to develop a model for promoting breast cancer preventive behaviors among women in Phetchaburi Province and was tested among 8 women in Phetchaburi Province. Phase 3 was to evaluate a model among 40 women in Phetchaburi Province. Data were analyzed by using content analysis and descriptive statistics (frequency and percentage) dependent t-test and independent t-test. The results from phase 1 showed that the women had little health-promoting behaviors to prevent breast cancer. The factors involved in promoting breast cancer preventive behavior were self- regulation, families support, and getting knowledge and skills support from health care providers. In phase 2, the breast cancer preventive behavior model among women in Phetchaburi province was developed under the Bandula’s self-regulation theory and House’s social support theory. In phase 3, the results revealed that the mean scores for the breast cancer preventive behavior of the experimental group was significantly higher than the control group (p<.01). The satisfaction of the breast cancer preventive behavior among women in Phetchaburi province was at a very good level. The created model could be applied to promote healthy behaviors.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและปัจจัยที่ส่งเสริม พฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมในสตรีจังหวัดเพชรบุรี 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ในสตรีจังหวัดเพชรบุรี และ 3) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมในสตรีจังหวัดเพชรบุรี การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและปัจจัยที่ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรค มะเร็งเต้านม โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในสตรีจังหวัดเพชรบุรี อายุ 20-45 ปี จำนวน 24 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการส่งเสริม พฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมในสตรีจังหวัดเพชรบุรีและทดลองใช้กับสตรีจังหวัดเพชรบุรีจำนวน 8 คน ระยะที่ 3 ประเมิน ประสิทธิผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ในสตรีจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกัน โรคมะเร็งเต้านมในสตรี จังหวัดเพชรบุรี และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็ง เต้านมในสตรี จังหวัดเพชรบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ dependent t-test และ independent t-test\nผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า สตรีมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคมะเร็งเต้านมค่อนข้างน้อย ปัจจัยที่ส่งเสริม พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม ได้แก่ การควบคุมตนเองเพื่อป้องกันโรคการสนับสนุนใส่ใจจากครอบครัว และบุคลากรทาง สาธารณสุขสนับสนุนความรู้และทักษะ ระยะที่ 2 ได้รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมในสตรีจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ทฤษฎีการกำกับตนเองของตนของแบนดูร่า และทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมของเฮ้าส์ ระยะที่ 3 พบว่า คะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของกลุ่มใช้รูปแบบสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 ระดับ ความพึงพอใจต่อรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมในสตรีจังหวัดเพชรบุรี อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งการพัฒนารูปแบบสามารถไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อไป" }
{ "en": "The purposes of this retrospective study were to study albumin and normalized protein catabolic rate (nPCR) in patients with end stage renal disease received hemodialysis and to compare theirs classified by gender, age, comorbidity, frequency of hemodialysis, and hemodialysis adequacy. Data were collected from 105 patients with end stage renal disease received hemodialysis at the hemodialysis units in Somdech Phra Debaratana Medical Center and Queen Sirikit Medical Center, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital. The data were purposive selection from January 1, 2017 to December 31, 2018. The research instruments were composed of demographic information, albumin level, and normalized protein catabolic rate. Data were analyzed using descriptive and Mann-Whitney U test statistics.\nFindings indicated that 1) the mean score of albumin level was 40.00 mg/dL and normalized protein catabolic rate was 1.00 g/kg/day 2) the mean score of albumin level and normalized protein catabolic rate were statistically significant at the .05 level classified by comorbidity, frequency of hemodialysis, and hemodialysis adequacy.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับอัลบูมินและอัตราการสลายตัวของโปรตีน ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และเปรียบเทียบระดับอัลบูมินและอัตราการสลายตัวของ โปรตีนในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำแนกตามเพศ อายุ โรคร่วม ความถี่ในการ ฟอกเลือด และความพอเพียงในการฟอกเลือด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียมจำนวน 105 คน ที่มารับบริการหน่วยไตเทียม ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์และศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ศึกษาข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 105 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกค่าอัลบูมินในเลือด และแบบบันทึกอัตราการสลายตัวของโปรตีน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติ Mann-Whitney U test ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยระดับอัลบูมินมีค่าเท่ากับ 40.00 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และอัตราการสลายตัวของโปรตีน มีค่าเท่ากับ 1.00 กรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน 2) ค่าเฉลี่ยระดับอัลบูมินและอัตราการสลายตัวของโปรตีน มีความแตกต่างกันตามโรคร่วม ความถี่ในการฟอก เลือด และความเพียงพอในการฟอกเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of an alcohol beverage self-control program on the drinking behaviors of alcohol use disorder patients in Nakhon Ratchasima Health Promoting Hospitals in Thailand. The sample was composed of 72 male alcohol use disorder patients aged between 20 and 60 years. Subjects were divided into two groups with thirty-six subjects in each group and they were randomly assigned to either the experimental or control group. The experimental group participated in the alcohol self-control program. It consisted of 8 activities, each taking about 90 minutes per week for 8 consecutive weeks, continuously, while the participants in the control group received the standard program of care for alcohol use disorders in the Health Promoting Hospitals. The alcohol drinking behavior scores were measured using the Alcohol Consumption Assessment (ACA: Thai version) before, between, and after participating in the alcohol self-control program. Descriptive statistics were used to represent the personal information about the participants. The effects of the program were determined using repeated measures ANOVA and t-test.\nThe results showed that the mean scores for alcohol drinking behavior in the experimental group were statistically significantly lower across the three times of evaluation after program completion (F = 37.51, p <.001). Additionally, the mean scores for the experimental group were significantly lower than those of the control group (F = 23.281, p <.001). It is recommended that this alcohol self-control program can reduce or stop alcohol drinking behaviors and can decrease the impacts of excessive alcohol drinking behaviors.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย ตนเองต่อพฤติกรรมการดื่มในผู้ที่มีพฤติกรรมการดื่มแบบผิดปกติ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครราชสีมา กลุ่ม ตัวอย่างเป็นผู้ที่ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 72 คน เป็นเพศชายอายุ 20-60 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 36 คน คัดเลือกตามเกณฑ์ สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการควบคุมการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยตนเอง และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ การประเมินผลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ (The Alcohol Consumption Assessment: ACA) วัดผล 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองสิ้นสุดทันที วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติความแปรปรวน แบบวัดซ้ำ (Repeated measure ANOVA) และสถิติทดสอบที (t-test)\nผลการวิจัยพบว่า 1) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่ม ของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการควบคุมการ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยตนเอง โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measures ANOVA) พบว่าคะแนน เฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มทดลองก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังสิ้นสุดการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมการดื่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 37.51, p<.001) 2) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่ม ของกลุ่มทดลอง ที่ได้รับโปรแกรมการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยตนเอง และกลุ่มควบคุมที่รับการพยาบาลปกติ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measures ANOVA) พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยตนเองกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ใน ระยะก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังสิ้นสุดการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 600.47 p<.001) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยตนเองมีประสิทธิภาพในการลด ละ พฤติกรรม การดื่มแอลกอฮอล์ได้" }
{ "en": "The analytical cross sectional study aimed to study the influence of age, causes of infertility, family income, infertility related communication, social support, and coping strategies for infertility related stress. The sample consisted of 161 women with primary infertility, age 18 or older, attending the infertile clinic at Siriraj Hospital. The data were collected via demographic and infertility questionnaires, infertility related communication strategies scales, the COMPI coping strategy scales, the Revised-Thai version of the perceived social support scale, and the COMPI fertility problem stress scales. The Cronbach’s alpha coefficients were 0.901, 0.901, 0.830, and 0.906, respectively. The data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis.\nThe results show that factors influencing infertility related stress with statistical significance were causes of infertility in females (ß =.112, p-value < .05), lack of communication with other people (secrecy) (ß =.701, p-value < .001), communication to close other people (formal) (ß = .400, p-value < .001), and social support (ß = - .153, p-value = .006). All factors could describe variation of infertility related stress in women with infertility by 70.40% (R2 = .704, F = 32.264, p-value < .001).", "th": "การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอายุ รายได้ครอบครัว สาเหตุของภาวะมีบุตร ยาก การสื่อสารเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยาก การสนับสนุนทางสังคม และวิธีการเผชิญปัญหาต่อความเครียดจากภาวะมีบุตรยากในสตรี ที่มีบุตรยาก กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยมีภาวะมีบุตรยากชนิดปฐมภูมิจากสูตินรีแพทย์ ในหน่วยผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 161 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะมีบุตรยาก แบบสอบถามวิธีการสื่อสารเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยาก แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามวิธีการเผชิญปัญหา และ แบบสอบถามความเครียดจากภาวะมีบุตรยาก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.901 0.901 0.830 และ 0.906 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ\nผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดจากภาวะมีบุตรยาก ได้แก่ สาเหตุของภาวะมีบุตรยากจากฝ่ายหญิง (ß =.112, p-value < .05) การไม่สื่อสารเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากกับบุคคลอื่น (ß =.701, p-value < .001) การสื่อสารเกี่ยวกับ ภาวะมีบุตรยากเฉพาะบุคคลใกล้ชิด (ß =.400, p-value < .001) และการสนับสนุนทางสังคม (ß = - .153, p-value = .006) อธิบายความผันแปรของความเครียดจากภาวะมีบุตรยากในสตรีที่มีบุตรยากได้ ร้อยละ 70.40 (R2 = .704, F = 32.264, p-value < .001)" }
{ "en": "The objective of this quasi-experiment research was to study the effectiveness of www.spystopsmoking.com among smoking cessation of people. The study was single-group pre-post design, 7-day intervention and measured 1 and 3 months after intervention. The samples were 30 motorbike taxi drivers and van taxi drivers, who had nicotine level between 0-7. The instrument for collective data was www.spystopsmoking.com and line application for motivating and monitoring smoking behavior. This personal data and smoking behaviors questionnaire measured the number of cigarettes per day to evaluate smoking reduction/cessation or non-changing of their smoking behavior. The instruments had been verified by three professional experts with Index of Item-Objective Congruence 0.66-1.00, respectively, with a Cronbach’s alpha coefficient of 0.96 and 0.90. The data analysis used statistical frequency, percentage, mean, standard deviation, Paired T-Test.\nThe results showed that: nicotine level and the amount of cigarette per day among smoking drivers, who were intervened, was significantly less than that before intervention (p<.01). The levels of satisfaction to www.spystopsmoking.com were highest (Mean 3.66, SD .42). Suggestion; this website and line application could be used for smoking cessation. The smokers who reduced smoking will be more likely to continuously stop smoking, if extending follow up.", "th": "การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้เว็บไซด์สายลับปราบบุหรี่ต่อการเลิกสูบบุหรี่ของประชาชน แบบทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 7 วัน ติดตามผล 1 เดือน และ 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่ มีอาชีพขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างและผู้ขับรถตู้ มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยมีคะแนนการติดนิโคติน น้อย กว่า 7 คะแนน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ เว็บไซด์สายลับปราบบุหรี่และแอปพลิเคชั่นไลน์ เพื่อใช้ในการติดตามผล แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ แบบสอบถามความพึงพอใจ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.66-1.00 และได้รับการตรวจสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ.96 และ.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบทีแบบ paired\nผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการติดนิโคติน เมื่อเปรียบเทียบภายหลังการใช้เว็ปไซด์สายลับปราบบุหรี่กับ ก่อนทดลอง คะแนนการติดนิโคตินลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ (มวน/วัน) เมื่อเปรียบเทียบภาย หลังการใช้เว็ปไซด์สายลับปราบบุหรี่กับก่อนทดลอง พฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนความพึงพอใจใน การใช้เว็ปไซด์สายลับปราบบุหรี่อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .42 ข้อเสนอแนะ การใช้เว็ปไซด์สายลับ ปราบบุหรี่ร่วมกับแอปพลิเคชั่นไลน์ สามารถช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ได้ และหากเพิ่มระยะเวลาในการติดตามผลยาวนานกว่านี้ คนที่ สามารถลดการสูบบุหรี่อาจเลิกสูบบุหรี่ได้ในที่สุด" }
{ "en": "This qualitative study aimed to study community food management to care for persons with diabetes mellitus and conditional factors that contribute to community-based dietary management to care for persons with diabetes mellitus. A purposive sampling approach was employed for informant selection. Informants were 137 people, divided into two groups, including 1) 74 primary informants who were persons with diabetes mellitus and family members, and have direct experience in managing a diabetic diet for persons with diabetes mellitus and their family members and 2) 63 general informants who involved in community food management to care for persons with diabetes mellitus and were a contributor to community food management. The main tool of research was the researcher. Data were collected by participant observation, in-depth interview, focus group discussion and field recording. Content analysis was used to analyze the data. The results showed that there was community food management to care for persons with diabetes mellitus, including 1) fostering local cultures for community food management of persons with diabetes mellitus, and 2) the promotion of community health management and dietary management of diabetes. There were two factors of success in the community food management system for persons with diabetes mellitus, including 1) the conditional factors contributing to the existence of the local culture were participatory management, and 2) the conditional factors that contributed to the expansion of community health management to dietary management of diabetes were the use of data and managing a secure environment that promoted learning.", "th": "การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางจัดการอาหารโดยชุมชนเพื่อการดูแลผู้เป็นเบาหวาน และปัจจัย เงื่อนไขที่ส่งผลให้ชุมชนสามารถจัดการอาหารเพื่อการดูแลผู้เป็นเบาหวานได้ มีการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 137 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 74 คน ซึ่งเป็นผู้เป็นเบาหวานและสมาชิกในครอบครัว และมีประสบการณ์ตรงในการจัดการอาหารเบาหวานสำหรับผู้เป็นเบาหวานและสมาชิกในครอบครัว และ 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 63 คน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการอาหารโดยชุมชนเพื่อการดูแลผู้เป็นเบาหวาน และเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุน การจัดการอาหารโดยชุมชน เครื่องมือหลักของการวิจัยคือผู้วิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่มและการบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลของการศึกษา พบว่า การจัดการอาหารโดยชุมชนเพื่อการดูแลผู้เป็นเบาหวาน มี 2 แนวทาง คือ 1) ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นในการจัดการอาหาร ของผู้เป็นเบาหวาน และ 2) ส่งเสริมการจัดการสุขภาวะชุมชน ร่วมกับการจัดการอาหารเฉพาะโรค ในการจัดการอาหารของ ผู้เป็นเบาหวาน สำหรับปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลให้ชุมชนสามารถจัดการอาหารเพื่อการดูแลผู้เป็นเบาหวานได้ คือ 1) ปัจจัยเงื่อนไข ที่ส่งผลให้วัฒนธรรมท้องถิ่นคงอยู่ ได้แก่ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และ 2) ปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลให้การจัดการสุขภาวะชุมชน ขยายไปสู่การจัดการอาหารเฉพาะโรค ได้แก่ การนำใช้ข้อมูล และ การจัดการสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้" }
{ "en": "The purposes of this quasi experimental research were to study the effectiveness of program for improving self-care behaviors to prevent Covid-19 of communities among village health volunteers in Pathumthani Province.The study samples were 54 subjects divided into two groups: an experimental and a control group of 27 subjects. The experiment’s duration was 5 weeks. Data collected during between July to September 2020. Data were collected using the demographic data record form, program based on Health Belief Model, the health belief questionnaire, and self-care behaviors to prevent Covid-19 questionnaire. Content validity of the instruments was tested and yield the score of 1.00, 0.90, and 1.00 respectively. The reliability of both questionnaires was tested yielding Cronbach’s alpha coefficients of 0.89, and 0.82 respectively. The data were analyzed using frequencies, percentages, means, and standard deviations. Comparisons between groups were analyzed using t-tests.\nThe results of the study showed that 1) the average scores of self-care behavior for Covid-19 prevention among the samples from the experimental group were significantly higher than before receiving the program at p< .05, and 2) the average scores of the self-care behavior for Covid-19 prevention among the samples from the experimental group were significantly higher than those who received regular care at p<.05.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมการดูแล ตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคโควิด -19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 54 คน โดยเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างละ 27 คน ใช้เวลา 5 สัปดาห์ เก็บข้อมูล ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงกันยายน 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคโควิด - 19 ตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหา มีค่าเท่ากับ 1.00, 0.90 และ 1.00 ตามลำดับ และตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งสองชุดมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ของครอนบาค เท่ากับ 0.89, และ 0.82 ตามลำดับ ข้อมูลข้อมูลทั่วไปโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติเชิงอนุมานด้วยการทดสอบค่าที\nผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน โรคโควิด-19 สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 และ 2) กลุ่มตัวอย่าง ที่ได้รับโปรแกรมความเชื่อ ด้านสุขภาพมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05" }
{ "en": "This research aimed to study the level of activity of daily living and its related factors among elderly people living in low-cost apartment, Thung Song Hong, Bangkok using a cross sectional correlational design. The participants in this study comprised 145 elderly people. The instrument included questionnaires for demographic characteristic, health problems, relationship among family member, social support, depression and Barthel’s Activity of Daily living Index. Descriptive statistic was employed for data analysis. Pearson product-moment correlation coefficient and Pearson’s Chi-square test were used to analyze the relationship between studied variables. The study revealed that almost all participants (92.4%) were social bonding elderly people. They were able to perform high level of daily activities with an average score of 18.01 (S.D. = 2.82). Factors related to level of daily activities were age (r = -.844, p <.05), monthly income (r = .180, p <.05), duration of chronic diseases (r = -.176, p <.05) and depression (r = -.274, p <.05). From the results of the study, it is recommended that nurses should encourage elderly people to join in health promotion and disease prevention activities. Depression should be routinely assessed so that early depression management can be performed. Moreover, the preparation program on money saving should be initiated for people who are active in work force. Accordingly, when they become older they can rely on themselves have good quality of life and perform daily activities independently.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่อาศัยในแฟลตเคหะชุมชนทุ่งสองห้อง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสุขภาพ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลภายในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม ภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินความสามารถ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติ Pearson product-moment correlation coefficient และ Pearson’s Chi-square test เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มติดสังคม (ร้อยละ 92.4) สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดี โดยมีคะแนนเฉลี่ย 18.01 (S.D. = 2.82) ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ อายุ (r = -.844, p <.05) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (r = .180, p <.05) ระยะเวลาที่เจ็บป่วย (r = -.176, p <.05) และภาวะซึมเศร้า (r = -.274, p <.05) จากผลการวิจัย มีข้อเสนอ แนะว่า ควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมการเกิดโรคเรื้อรัง ประเมินและป้องกันภาวะซึมเศร้าใน เตรียมความ พร้อมให้ผู้สูงอายุเริ่มเก็บออมเงินตั้งแต่วัยทำงานที่เหมาะสม เพื่อให้ยังคงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้ด้วยตนเอง" }
{ "en": "Anxiety and Depression among patients receiving renal replacement therapy may be caused by health threats or triggers. Helping these patients to reduce their anxiety and depression are important. This quasi-experimental research was conducted to determine the effects of a cognitive and behavioral therapy program on the anxiety and depression among patients receiving hemodialysis or peritoneal dialysis in a hospital. Sixty-six patients with a moderate to severe level of anxiety and mild to severe level of depression were randomly and equally assigned to either the experimental or control group, 33 patients in each group. The experimental group participated in the cognitive behavioral therapy program for eight sessions on four weeks, whereas those in the control group received only usual care. Program evaluation was determined by self-reported questionnaires before and after completion of the program. Data were analyzed using descriptive statistics t-test.\nThe results showed that after the experiment, the mean scores for anxiety and depression in the experimental group were significantly lower than those before the experiment and those of the control group (p<.05).", "th": "ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตเกิดจากภัยคุกคามด้านสุขภาพและสิ่งกระตุ้น การช่วยเหลือเพื่อลดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสองกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ได้รับการ บำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะ วิตกกังวลระดับปานกลางถึงรุนแรงร่วมกับมีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงรุนแรงระดับต้นที่สามารถเข้าร่วมกลุ่มได้ จำนวน 66 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติของหน่วยไตเทียม ส่วนกลุ่มทดลองได้ รับโปรแกรมบำบัดความคิดและพฤติกรรม เป็นเวลา 4 สัปดาห์ จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ร่วมกับการดูแลตามปกติของหน่วย ไตเทียม ประเมินผลภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าโดยใช้แบบสอบถาม วัดผล 2 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง สิ้นสุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที\nผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองสิ้นสุดคะแนนเฉลี่ยภาวะวิตกกังวลและคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของกลุ่มทดลอง ต่ำกว่าก่อนการทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)" }
{ "en": "This article aimed to present an important concept about elderly people and their health problems. The Wooden Massage Roller was a healthy innovation and was developed from health problems of elderly people with a muscle pain that is the common problem in the community. Benefits of innovation and achievement conditions were a guideline for the development of innovation relating to public health promotion. A community could manage health effectively and sustainably. As a part of active learning, such case-based study took a more pragmatic approach to create health innovation and subsequently also serves as a basis for further innovative development.", "th": "บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ การพัฒนานวัตกรรม สุขภาพในรูปแบบ “ไม้นวดลูกกลิ้ง” เป็นการพัฒนาจากปัญหาสุขภาพที่พบในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็น ปัญหาสุขภาพที่มักพบเป็นอันดับต้นๆ ของชุมชน นำเสนอประโยชน์ของนวัตกรรม และเงื่อนไขความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรม เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาวะที่เข้มแข็ง ชุมชน สามารถจัดการดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนโดยการ ปฏิบัติจริงจากกรณีศึกษา และใช้เป็นนวัตกรรมต้นแบบเพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนานวัตกรรมชิ้นอื่นๆ ต่อไป" }
{ "en": "At present, the concept of servant leadership is one of the most attention-grabbing concepts from the academic leaders of the 21st century. Servant Leadership is a leadership theory that focuses on cooperation, trustworthiness, compassion and the use of moral authority. Servant Leadership is the heart of the Christian faith. “JESUS CHRIST” is the first to propose the concept of Servant Leadership. The source of Servant Leadership can be discovered or studied in the Holy Bible. For example, Jesus Christ had told the disciples in Matthew 20: 26-28 that “But it shall not be so among you but whosoever will be great among you, let him be your minister. And whosoever will be chief among you, let him be your servant.” mentions that “Servant leadership must be those who had self-conscious, self-esteem, love the freedom, and 2 Consists of 10 principles were as follows 1) Listening 2) Empathy 3) Healing 4) Awareness 5) Persuasion 6) Conceptualization 7) Foresight 8) Stewardship 9) Commitment to the growth of people, and 10) Building community. It is seen that a servant leader is a spiritual service provider before, decide consciously to serve others even better. The goal of leading for development the growth of people in the organization, and increase the participation of members and teamwork.", "th": "ปัจจุบันแนวคิดภาวะผู้นำใฝ่บริการเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจมากที่สุดแนวหนึ่งจากนักวิชาการในเรื่องภาวะผู้นำของ ศตวรรษที่ 21 ภาวะผู้นำใฝ่บริการเป็นทฤษฎีภาวะผู้นำที่เป็นทฤษฎีสมัยใหม่เน้นความร่วมมือ ความเชื่อถือไว้วางใจ ความเห็นอก เห็นใจ และการใช้อำนาจอย่างมีจริยธรรม ซึ่งภาวะผู้นำใฝ่บริการเป็นหัวใจของผู้นำศาสนาคริสต์ โดยคนแรกที่เสนอแนวคิดภาวะ ผู้นำใฝ่บริการ คือ “พระเยซูคริสต์” โดยแหล่งที่มาของผู้นำใฝ่บริการสามารถค้นพบหรือศึกษาได้จากพระคริสตธรรมคัมภีร์ เช่น พระเยซูคริสต์เคยบอกพวกสานุศิษย์ในพระธรรมมัทธิว บทที่ 20 ข้อที่ 26-28 ว่า “ถ้าผู้ใดใคร่จะได้เป็นใหญ่ในพวกท่าน ผู้นั้นจะต้อง เป็นผู้ปรนนิบัติท่านทั้งหลาย ถ้าผู้ใดใคร่จะได้เป็นเอกเป็นต้น ผู้นั้นจะต้องเป็นทาสสมัครของพวกท่านอย่างที่บุตรมนุษย์มิได้มา เพื่อรับการปรนนิบัติ แต่ท่านมาเพื่อจะปรนนิบัติเขา” ถึงภาวะผู้นำใฝ่บริการ “ผู้นำใฝ่บริการนั้นต้องเป็น ผู้ที่ใส่ใจในตนเอง มีความเป็นตัวของตัวเอง รักความอิสระ และมีความชื่นชอบที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือและสนับสนุนผู้อื่น” ประกอบด้วย 10 ประการ คือ ดังนี้ 1) การฟัง 2) การเห็นอกเห็นใจ 3) การเยียวยารักษา 4) การตระหนักรู้ 5) การโน้มน้าวใจ 6) การสร้างมโนทัศน์ 7) การมอง การณ์ไกล 8) การรับผิดชอบร่วมกันและอุทิศตนเพื่อรับใช้ 9) การอุทิศตนเพื่อพัฒนาคน และ10) การสร้างชุมชน จะเห็นได้ว่า ผู้บริหารการพยาบาลจึงต้องตระหนักถึงและให้ความสำคัญภาวะผู้นำของตนเอง ซึ่งผู้นำ ใฝ่บริการนั้นจะมีจิตรับใช้ในการให้บริการมาก่อน และตัดสินใจอย่างมีจิตสำนึกในการให้บริการคนอื่นๆ เป้าหมายของผู้นำใฝ่บริการ เพื่อพัฒนาความเจริญงอกงามของบุคลากรในองค์การ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกและทีมงาน" }
{ "en": "Cancer is a globally critical problem in public health, due to it severity including the burden of this disease affecting life quality of patients and their families. When progressing to final stages of cancer, patients are suffered physically, mentally, emotionally, socially and spiritually. Their capability of self-care is decreased, especially in the elderly who appear to be more suffered, demanding more attention and care than other groups of patient. Caring elderly cancer patients at home induces anxiety and uncertainty to the family, effect to decrease QOL of patient and family. In order to provide continuous home care for elderly patients with terminal cancer and maintain their quality of life, that’s why home care nurses from Home Health Care Nursing takes the important role on this patient group starting from hospitalization until peacefully death including roles in planning for discharge, home visit, scheduled phone visit to offer care consult and refer to community health facilities. until their death with dignity, as well as to follow up with the family in handling the situation of loss after patient’s death. This article aims to role of home health care nurse for older adults with end stage cancer care at home.", "th": "โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลกและประเทศไทย เนื่องจากความรุนแรงรวมถึงปัญหาภาระเรื่องโรค ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อผู้ป่วยมีการดำเนินเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคมะเร็ง ผู้ป่วยมีความ ทุกข์ทรมานทั้งด้าน ร่างกาย จิตอารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ มีความสามารถในการดูแลตนเองลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูง อายุจะมีความทุกข์ทรมาน และต้องการการดูแลมากกว่ากลุ่มวัยอื่น และเมื่อต้องกลับไปดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ผู้ดูแลและครอบครัวมัก มีความวิตกกังวล ไม่มั่นใจในการดูแลที่บ้าน ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวลดลง เพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตนเองและครอบครัว สามารถดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้และคงคุณภาพชีวิตไว้ พยาบาลในหน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย กลุ่มนี้ตั้งแต่อยู่ที่โรงพยาบาลและดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ได้แก่ บทบาทในการวางแผนก่อนจำหน่ายกลับบ้าน การติดตามเยี่ยมบ้าน การโทรศัพท์ติดตามและให้คำปรึกษาในการดูแล และการส่งต่อแหล่งประโยชน์สุขภาพในชุมชน จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต ตลอดจน มีการดูแลครอบครัวในการเผชิญกับการสูญเสียหลังผู้ป่วยเสียชีวิต บทบาทดังกล่าวส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิต เสียชีวิตอย่างสม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และครอบครัวสามารถเผชิญการสูญเสียได้อย่างเหมาะสม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาท ของพยาบาลหน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะท้าย" }
{ "en": "The significant notion of palliative care is to establish comfort, diminish of pain, and relief of suffering, which encompassed the holistic, spiritual, and humanize care to the patients. Promoting death-with-dignity to the end-of-life patients and their family members are significant concerns either before and after the death of those patients. Integrating comprehensive care—physical, psycho-social, and spiritual care—are not only necessary to understand the nature of the deaths, but imperative to enhance the good life and the good dead. Hence, either before or after the death, nursing’s roles as a coordinator or peer supporter in alleviating physical or spiritual suffering and providing holistic care are vital keys to strengthen the quality of palliative care.", "th": "การดูแลแบบประคับประคองมีหลักการที่สำคัญ คือ มุ่งให้ความสุขสบายแก่ผู้ป่วย โดยการช่วยลดความปวดและ ความทุกข์ทรมานอย่างครอบคลุมถึงจิตวิญญาณ และตระหนักถึงการตายอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ อีกทั้งยังให้การดูแล แบบองค์รวมซึ่งครอบคลุมถึงครอบครัวที่มีผู้ป่วยอยู่ในระยะท้าย และภายหลังผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว ซึ่งการดูแลแบบประคับประคอง นี้มีเป้าหมายเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบคลุมความต้องการด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ส่งเสริมการรับรู้และ การยอมรับการตายเป็นกระบวนการธรรมชาติและจากไปอย่างสงบ ดังนั้นบทบาทของพยาบาล ประกอบด้วย การเป็นผู้ประสาน การดูแลและช่วยเหลือ การให้การพยาบาล การดูแลเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ และการดูแล ครอบครัวภายหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วยจึงเป็นบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งของการให้การพยาบาลและการดูแลแบบประคับประคอง" }
{ "en": "This academic paper aims to review the available literature and guidelines regarding role of nurses in home blood pressure monitoring (HBPM) for the management of hypertension. HBPM plays an important role in the control and management of hypertension by offering more convenient means than an ambulatory blood pressure monitoring and being cost-effective. HBPM can aid in the diagnosis of white-coat hypertension and masked hypertension, as well as prediction of risks for cardiovascular diseases, stroke, and end stage renal disease. Generally, the measurement of home blood pressure will take place twice daily, ideally in the morning and evening. For each blood pressure recording, two consecutive measurements with at least 1-minute interval are recommended. It has been found that an upper-arm blood pressure measurement is the most widely used and have produced more accurate readings. The HBPM average of the SBP ≥ 135 mm Hg and/or DBP ≥ 85 mm Hg, is considered abnormal. Nurses play a critical role in educating patients about hypertension and its consequences, the importance of HBPM, and the necessary self-monitoring skills that include selecting an appropriate home blood pressure monitor, preparing and monitoring blood pressure, recording the results, and caring for a monitor. Therefore, it is imperative for nurses to possess a holistic and comprehensive knowledge in order to give advice and effectively care for patients. This demonstrates the quality of nursing care and affects the quality of life of patients, contributing to the reduction of disability rates and death associated with high blood pressure.", "th": "บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับบทบาทพยาบาลในการวัดความดันโลหิตที่บ้าน เพื่อการจัดการโรคความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตที่บ้านเป็นบทบาทของพยาบาลที่สำคัญในการจัดการโรคความดันโลหิตสูง สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและเป็นวิธีการที่สะดวก การวัดความดันโลหิตที่บ้านมีความแม่นยำในการทำนายโอกาสเสี่ยงในการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคไตวายระยะสุดท้ายได้ การวัดความดันโลหิตที่บ้านจะวัด 2 ช่วงเวลาคือช่วงเช้า และช่วงเย็น ช่วงละ 2 ครั้งห่างกัน 1 นาที โดยวัดความดันโลหิตที่บริเวณต้นแขนถือเป็นวิธีที่นิยมและมีความแม่นยำมากที่สุด การวัดความดันโลหิตที่บ้านถ้าค่า SBP ≥ 135 มม.ปรอท และ/หรือ DBP ≥ 85 มม.ปรอท ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง พยาบาล ถือเป็นบุคลากรทางด้านสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการให้การช่วยเหลือ ดูแล การให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งการวัด ความดันโลหิตที่บ้าน การเลือกและทดสอบอุปกรณ์ให้เหมาะสม การเตรียมตัว วิธีการ การดูแลอุปกรณ์ วิธีการบันทึกและประเมิน ค่าที่ได้จากการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ดังนั้นพยาบาลจะต้องมีองค์ความรู้อย่างครบถ้วนเพื่อจะได้ให้คำแนะนำและดูแลผู้ป่วย ได้อย่างมีประสทธิภาพ ซึ่งแสดงถึงคุณภาพการให้การพยาบาลและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ช่วยลดอัตราความพิการและ การเสียชีวิต" }
{ "en": "Caregiving to bedridden patients in family is set to become a major problem in future. As a family member who must to take a role of “Caregiver” for fulfilling the need of patient care at home. The data interviewing Caregives, in this article retrived from Suriya Fongkerd’study. It was called “The Self-Health Care Experiences Of Caregiver’s Older Adults With Bedridden Patients” (Suriya Fongkerd, 2019) The result found that caregivers must go for jobs to earn their living. Most of the times, caregivers at home and exclusive responsibilities lead to accumulative stress and deterioration of caregivers’ health as well. The effect of deterioration of caregivers’ health will affect the quality of care for bedridden patients. Therefore, bedridden caregivers are at risk that health personnel should pay attention and take into account. In this article, the author presents the factors that cause burn out caregivers. The effects of burn out caregivers will negatively affect bedridden patients. To understand the context of the burden caregivers who have direct experiences and stating fatigue, It is a challenge for community nurse practitioners who play a role as health promotion, support and management of health problems for both caregivers and patients who had limited care.", "th": "การดูแลครอบครัวที่มีผู้ป่วยติดเตียงกลายเป็นปัญหาสำคัญในอนาคต เมื่อสมาชิกในครอบครัวต้องรับบทบาทของ “ญาติผู้ดูแล” ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการดูแลตนเอง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยติดเตียงเรื้อรังที่บ้าน ข้อมูลจากการ สัมภาษณ์ญาติผู้ดูแลในบทความนี้ได้มาจากงานวิจัย เรื่อง “ประสบการณ์การดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง” พบว่า ผู้ดูแลจะต้องไปทำงาน หาเลี้ยงชีพ บ่อยครั้งที่ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ทำให้เกิดการสะสม ความเครียดเรื้อรังซึ่งมีผลต่อภาวะสุขภาพของญาติผู้ดูแล ผลของความเครียดเรื้อรังย่อมส่งผลต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดังนั้นญาติผู้ดูแลจึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่บุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสนใจและไม่ควรมองข้าม บทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอปัจจัยที่ ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผลกระทบจากความเหนื่อยล้าของผู้ดูแลย่อมส่งผลทางลบต่อผู้ป่วยที่ติดเตียง รวมทั้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในบริบทของผู้ดูแลซึ่งได้รับประสบการณ์ตรง และกำลังจะเหนื่อยล้า เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับพยาบาล เวชปฏิบัติชุมชนที่จะแสดงบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ สนับสนุนและการจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพทั้งของผู้ดูแลและผู้ป่วย ที่มีข้อจำกัดในการดูแล" }
{ "en": "Psychiatric illness is an important problem which has a tendency to increase an incidence rate. Psychiatric illness are the deviate of cognitive, emotional and behavioral, it is a chronic disease, frequent relapses and have an affects on patients, families, and society. Psychiatric nurses have an important role to do the group therapy that is considered a form of psychosocial treatment, which is a role that psychiatric nurses can act independently to improve the self-care potential of psychiatric patients to be able to live peacefully in society. This article aims to present about group therapy, form of group therapy, the nature of group therapy, good characteristics of therapist, the role of leader of the group therapy, the process of group therapy, problems and solutions of group therapy and case study.", "th": "โรคทางจิตเวชถือเป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบันซึ่งมีแนวโน้มในการเจ็บป่วยที่เพิ่มสูงขึ้น โดยโรคทางจิตเวชเป็นโรคที่มี ความผิดปกติทางความคิด การรับรู้ อารมณ์ และพฤติกรรม มักเป็นการเจ็บป่วยเรื้อรัง และมีอาการกำเริบได้บ่อยครั้ง ซึ่งส่งผล กระทบต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม พยาบาลจิตเวชจึงมีบทบาทสำคัญในการให้การพยาบาล โดยการทำกลุ่มบำบัดถือเป็นการ ดูแลทางจิตสังคมรูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นบทบาทที่พยาบาลจิตเวชที่สามารถกระทำได้อย่างอิสระ เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพในการดูแล ตนเองของผู้ป่วยจิตเวช ให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับกลุ่มบำบัด รูปแบบการทำกลุ่มบำบัด ลักษณะของกลุ่มบำบัด คุณลักษณะที่ดีของผู้บำบัด บทบาทของผู้นำากลุ่มบำบัด ขั้นตอนการทำกลุ่มบำบัด ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการดำเนินกลุ่มบำบัดและกรณีศึกษาจากประสบการณ์ เพื่อให้พยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับกลุ่มบำบัด และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม" }
{ "en": "This pre-experimental design with pretest-posttest and follow-up measures aimed to determine the feasibility of the parental sensitivity intervention by comparing mother-infant attachment, maternal self-efficacy, father-infant attachment and paternal self-efficacy among mothers and fathers in the care of preterm infants. A pre-experimental design with pretest, posttest and follow-up measures was employed. The participants were recruited through a purposive sampling method with four triads of mother, father and preterm infants who were admitted to a sick newborn ward at a hospital in Thailand. The research instruments for data collection included the Postpartum Bonding Questionnaire and the Maternal/Paternal Confidence Questionnaire with Cronbach’s alpha reliability of 0.73 and 0.75, respectively. The parental sensitivity intervention contained four sessions with 60-90 minutes per session. Descriptive statistics and Friedman test were used to analyze the data.\nThe results found that a significant difference over the three time measures of the outcome variables. Mother-infant attachment, mother’s self-efficacy, father-infant attachment and father’s self-efficacy at posttest and follow-up periods were better than those at pretest (p<.05). These findings indicate that the parental sensitivity intervention would be appropriate and feasible for further implementation.", "th": "การวิจัยแบบก่อนการทดลองวัดผลก่อน หลัง และระยะติดตามนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของกิจกรรม ความไวในการตอบสนองของบิดามารดาต่อสัมพันธภาพและความสามารถตนเองในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาและ บิดา ผู้เข้าร่วมวิจัยคัดเลือกแบบเจาะจง คือบิดา มารดา และทารกเกิดก่อนกำหนดจำนวน 4 ชุด ทารกเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย ทารกแรกเกิดป่วยในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้รับกิจกรรมความไวในการตอบสนองทั้งหมดมี 4 ขั้นตอน ขั้นตอนละ 60-90 นาที เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามความผูกพันหลังคลอด และแบบสอบถามความ เชื่อมั่นของมารดา/บิดา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 และ 0.75 ตามลำดับ วัดผล 3 ครั้งคือก่อนให้การทดลอง หลังเสร็จสิ้นการ ทดลอง และระยะติดตามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบฟรีดแมน\nผลการวิจัยพบว่าภายหลังเสร็จสิ้นการทดลองและระยะติดตาม สัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก ความสามารถของ ตนเองของมารดา สัมพันธภาพระหว่างบิดากับทารก และความสามารถของตนเองของบิดา มีคะแนนดีกว่าก่อนการทดลอง (p<.05). ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมความไวในการตอบสนองของบิดามารดาเหมาะสมและมีความเป็นไปได้สำหรับนำไปปฏิบัติใน อนาคต" }
{ "en": "The purposes of this study were 1) To analyze situation of international nursing education in Thailand. and the good practices of nursing education management in overseas. 2) To analyze the need assessment for preparation to be an international nursing college in Thailand 3) To develop an international nursing college model in Thailand. and 4) To propose policy recommendations and practices for international nursing education management in Thailand. The samples were comprised of nursing instructors, international nursing students and Thai nursing students in international bachelor program in nursing, and experts in international nursing education. The research instruments were content analysis form and questionnaires. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNImodified ) analysis. The research findings were as follows;\n1) The undergraduate international nursing education in Thailand was established as faculties under public and private university, as that stated vision on internationalization and have collaborations with International academic institutes. The good practices for nursing education management in overseas were comprised of the philosophy of being the world leader in education, research and academic services, the missions to integrate scholarship, research, education and practice and the teaching -learning management based on evidence-based practice, inter- professional education, web-based online learning, simulation based-learning.\n2) Remarks from need assessment in preparation for establishing international nursing colleges in Thailand from the perspectives of both nursing instructors and students were as follows: 1) Arranging student exchange with overseas academic institutions, 2) Study in abroad as a part of the educational program, 3) Arranging joint program with international academic institutions, 4) Setting flexible financial and budget management to promote International nursing education management, 5) Arranging faculty exchange with international institutions.\n3) An international nursing college model in Thailand composed of rationale, philosophy, vision, missions, goals, organization structures, and 3 important components. The first component was national and institutional enable factors. The national factors were: 1) Building alliances, 2) Income generation and commercial trade, 3) National enable and institutional collaboration and 4) Social and cultural development and mutual understanding. The institutional enable factors were: 1) International profile and reputation, 2) Quality enhancement and international standards, 3) Student and staff development and 4) Research and knowledge production. The second component was educational management which included curriculum, teaching and learning methods, students, and instructors. The third component was administration and management included resources, building, budget and finance and supporting staff.\n4) Policy recommendations for an international nursing college management in Thailand should focus on: 1) Organization structures and international standard, 2) Memorandum of agreement, 3) Cost analysis, income generation and budget, 4) Faculty preparation, curriculum management, teaching and learning method, staff and environment preparation.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์นานาชาติในประเทศไทย และการ จัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่ดีในต่างประเทศ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยาลัยพยาบาล นานาชาติในประเทศไทย 3) พัฒนารูปแบบการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย และ 4) นำเสนอข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายในการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์นานาชาติในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ นักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตร์นานาชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษานานาชาติ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์สาระ และ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified ) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้\n1. การจัดการศึกษาพยาบาลนานาชาติระดับปริญญาตรีในประเทศไทย มีสถานะเป็นคณะภายใต้มหาวิทยาลัยในกำกับ ของรัฐและเอกชน กำหนดวิสัยทัศน์สู่การเป็นนานาชาติ และทำความร่วมมือทางวิชาการกับนานาชาติ ส่วนการจัดการศึกษาศาสตร์ ที่ดีในต่างประเทศ เน้นวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำของโลกในด้านการจัดศึกษา การวิจัย และให้บริการวิชาการ พันธกิจในการ บูรณาการแหล่งทุน การวิจัย จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การเรียนร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ การเรียน ผ่านเว็บ และการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง\n2. ความต้องการจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย พบว่ารายการ ประเมินที่มีค่าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1) แลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันการศึกษาพยาบาลในต่างประเทศ 2) กำหนดให้การศึกษา อบรม ดูงานในต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา 3) เปิดสอนหลักสูตรสองปริญญาร่วมกับสถาบันการศึกษาพยาบาล ในต่างประเทศ 4) ระบบการเบิก-จ่ายงบประมาณคล่องตัว รวดเร็ว เอื้อต่อการดำเนินงานด้านการศึกษาพยาบาลนานาชาติ และ 5) แลกเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอนกับสถาบันในต่างประเทศ\n3. รูปแบบการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย สถานภาพและโครงสร้างขององค์กร และองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยส่งเสริม ระดับชาติและระดับสถาบัน แบ่งเป็น 1) ปัจจัยส่งเสริมระดับชาติ ได้แก่ การสร้างพันธมิตร การสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ ความร่วมมือระดับชาติและสถาบัน การพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และความเข้าใจซึ่งกันและกัน 2) ปัจจัยส่งเสริมระดับสถาบันได้แก่ การมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ การส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานนานาชาติ การพัฒนาผู้เรียนและผู้สอน และการสร้าง องค์ความรู้ องค์ประกอบที่ 2 การจัดการศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติ ประกอบด้วย ด้านหลักสูตร การเรียนการสอน ผู้สอน และผู้เรียน และองค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการ ประกอบด้วย ทรัพยากรสนับสนุน อาคาร สถานที่ งบประมาณ การเงิน และบุคลากรสายสนับสนุน\n4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์นานาชาติในประเทศไทย มีประเด็นสำคัญ คือ 1) โครงสร้างองค์กร ความเป็นมาตรฐานสากล 2) การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ 3) การวิเคราะห์ต้นทุน รายได้ และงบประมาณ 4) การเตรียมอาจารย์ หลักสูตร การเรียนการสอน บุคลากร และสิ่งแวดล้อม" }
{ "en": "The research objective was to study the health promoting behavior in pregnant migrant. There were 190 samples of pregnant migrant consisting of the Republic of the Union of Myanmar Royal, Cambodia and Lao People’s Democratic Republic. The research tools were demographic questionnaire and health promoting behavior in pregnancy measures. Data were analyzed by descriptive statistics. The research found that; The health promoting behaviors of pregnant migrant were overall at a moderate level ( = 2.60, SD = .32), When considering each aspect, it was found that Stress management was at a moderate level ( = 2.84, SD = .41), followed by interpersonal relations at a moderate level ( = 2.76, SD = .28), Nutrition was at a moderate level ( = 2.59, SD = .26), Responsibility for health is at a moderate level ( = 2.51, SD = .32), Spiritual development is at a moderate level ( = 2.50, SD = .36) and Physical activity is at a low level ( = 2.45, SD = .31)", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติ กลุ่มตัวอย่างคือ สตรี ตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติ ประกอบด้วยสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของสตรีตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ แรงงานข้ามชาติในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.60, SD = .32) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การจัดการกับความเครียดอยู่ ในระดับปานกลาง ( = 2.84, SD = .41) รองลงมา คือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.76, SD = .28) โภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.59, SD = .26) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.51, SD = .32) การพัฒนาทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.50, SD = .36) และกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับน้อย ( = 2.45, SD = .31)" }
{ "en": "This qualitative study aimed to describe experiences of generation  Z nurses in  working with multi-generation colleagues. The hermeneutic phenomenology of Heidegger was applied as research methodology. Study participants were 12 registered nurses who were younger than 27 years old and had been working as a full-time nurse at least 3 years in the university hospital. The data were collected by using in-depth interview, voice record, observation and field-note. Study data were analyzed by using content analysis of van Manen method (1990).\nThe findings of this study are consisted of themes as follows: 1) Learning to approach different generations of doctors, 2) Searching appropriated way to approach with a head nurse, 3) Learning and adapting with multi-generation of staff nurses, 4) Assigning and controlling jobs of multi-generations of practical nurses and 5) Using negotiation with vociferous wards’ maids.", "th": "การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรยายประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลรุ่นอายุแซด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความ ตามแนวคิดของ Heidegger ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีอายุไม่เกิน 27 ปี และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานพยาบาลเต็มเวลา อย่างน้อย 3 ปี จำนวน 12 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึกเทป การสังเกต และการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ เนื้อหาตามวิธีการของ Van Manen (1990)\nผลการศึกษา พบว่า การทำงานกับผู้ร่วมงานหลากหลายรุ่นอายุ ตามมุมมองของพยาบาลรุ่นอายุแซด ประกอบด้วย 5 ประเด็น คือ 1) ทำงานกับแพทย์ต้องเข้าใจว่าแพทย์แต่ละวัยเข้าถึงได้ต่างกัน 2) ทำงานกับหัวหน้าต้องปรับตัวเข้าหา เพื่อปรึกษา ปัญหาการงาน 3) เรียนรู้และปรับตัวเข้าหาพยาบาลระดับปฏิบัติการหลากหลายรุ่น 4) ผู้ช่วยพยาบาลต่างวัย ต้องจัดการให้ทำงาน ตามที่มอบหมาย และ 5) แม่บ้านหอผู้ป่วยชอบโวยวาย ต้องใช้เทคนิคการเจรจา\nผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า พยาบาลรุ่นอายุแซดปรับตัวเข้าได้ดีกับผู้ร่วมงานที่มีลักษณะเปิดกว้างทางความคิดและยืดหยุ่น วิธีการทำงาน ดังนั้น ผู้บริหารสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดต่อไป" }
{ "en": "The research aimed to examine the effects of self-efficacy promotion program of caregivers for prevention fall of patient with Parkinson’s disease. Thirty outpatient samples were Parkinson’s disease caregivers who visited Parkinson clinic at the Chulalongkorn Center of Excellence for Parkinson’s Disease & Related Disorder of King Chulalongkorn Memorial Hospital. The samples were devided into 2 groups, which were fifteen persons on the experimental group and fifteen persons on the control group who received regular nursing care. Data were collected by using a self-efficacy of Parkinson’s disease caregiver’s questionnaire, which had Cronbach’s alpha at 0.98. Knowledge of caregivers in preventing falls was also applied as an instrument which had Kuder-Richardson (KR-20) at 0.96.\nThe research results found that before experiment, the experimental group who attended the training program and the control group, who received regular nursing care had no different on self-efficacy and knowledge on preventing fall in Parkinson’s disease. After experiment, the experimental group and control group had perceived self-efficacy and knowledge of the caregivers to prevent fall of patient with Parkinson’s disease had significantly different. Suggestion: the effects of self-efficacy promotion program of caregivers for prevention fall of patient with Parkinson’s disease can improve self-efficacy and knowledge for the Parkinson’s patient caregivers.", "th": "การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลต่อการป้องกัน การหกล้มของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกที่ ศูนย์ความ เป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามการรับ รู้สมรรถนะแห่งตน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามความรู้ความรู้ในการป้องกันการหกล้ม มีค่าความเชื่อมั่นของ (KR-20) เท่ากับ 0.96\nผลการวิจัยสรุปได้ว่า ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลต่อการ ป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความรู้ใน การป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ไม่แตกต่างกัน ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคลุมมีการรับรู้สมรรถนะ แห่งตนและความรู้ในการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะ โปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลต่อการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน สามารถสร้างสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและทำให้ผู้ดูแลมีความรู้ในการป้องกันการหกล้มได้" }
{ "en": "The purpose of this research and development were: (1) to study the current situation regarding to cultural competency of professional nurses in Samutsakhon Hospital, (2) to develop a cultural competency development program for professional nurses, and (3) to evaluate the developed cultural competency development program. The participants were professional nurses in Samutsakhon Hospital divided into 2 groups. The first group was 210 nurses acquired by a Stratified Random Sampling to explore current situation. The second group was 41 of that 210 nurses whose involved in the program and did a test for the effectiveness of the program. Research tools consisted of 2 categories: 1) cultural competency development program and 2) cultural nurses competency questionnaires. Its content validity IOC was 0.85. The Cronbach’s alpha reliability coefficients was 0.93. Data were analyzed by using descriptive statistics and paired t-test.\nThe findings revealed that 5 cultural aspects: (1) Cultural awareness, (2) Cultural knowledge, (3) Cultural skills, (4) Cultural encounter, and (5) Cultural desire, among professional nurses in Samutsakhon Hospital were on a moderate level. In addition, those 41 participants had shown themselves with significantly higher level in 5 cultural aspects after completing the program. Those participants felt highly satisfaction with the program. In conclusion, this program could enhances cultural competency among those professional nurses in Samutsakhon Hospital for doing their nursing intervention to all multicultural clients appropriately and effectively.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับสมรรถนะทางวัฒนธรรม ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมุทรสาคร (2) พัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมพยาบาลวิชาชีพ และ (3) ศึกษา ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพฝ่ายปฏิบัติการ โรงพยาบาลสมุทรสาคร จำนวน 464 คน กลุ่มศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันคัดเลือกด้วยวิธีแบบชั้นภูมิและจับฉลาก จำนวน 210 คน และ (2) กลุ่มเข้าร่วม โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 41 คน คัดเลือกกลุ่มศึกษาจากกลุ่มที่ 1 โดยวิธีจับสลาก เครื่อง มือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชุด คือ 1) โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรม และ 2) แบบสอบถามสมรรถนะทางวัฒนธรรมพยาบาล วิชาชีพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.85 หาความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาค เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบท\nผลการวิจัยพบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมุทรสาคร มีสมรรถนะทางวัฒนธรรม ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) ความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม (2) ความรู้ทางวัฒนธรรม (3) การมีทักษะทางวัฒนธรรม (4) การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการต่าง วัฒนธรรม (5) การมีความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม อยู่ในระดับปานกลาง และ2) การทดสอบความรู้หลังเข้าร่วม โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมพยาบาลวิชาชีพโดยรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจาก นี้พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก ดังนั้น โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมพยาบาล วิชาชีพ โรงพยาบาลสมุทรสาคร สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมเพื่อการปฏิบัติการพยาบาลในกลุ่มผู้ใช้บริการ ต่างวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ" }
{ "en": "Chronic pain is a common problem that affects older populations. It is a common condition that does not completely respond to medical treatment. Consequently, in recent years many alternative treatments have been suggested. Among them, mindfulness meditation is receiving growing attention. The purpose of this paper is to review studies that has determined whether mindfulness mediation can relieve chronic pain in older adults. The PRISMA model guided a systematic literature search method. A literature search was undertaken using MEDLINE, CINAHL, Ovid, and ProQuest. The search terms were “mindfulness meditation,” “mindfulness-based intervention,” “meditation,” “chronic pain,” “arthritis,” “older,” and “aged or elderly.” The search included articles written in English published during the period of 2003 thru 2018.\nThis systematic literature review search yielded 35 articles through an electronic database search effort. Nineteen articles were evaluated for relevancy after removing duplicates. Three studies were then selected for the present review. Two articles were randomized control trials, and only one article was a pretest-posttest experimental study. All reviewed studies showed that mindfulness meditation interventions led to improvement in pain acceptance, physical functioning, quality of life and well-being in patients with chronic pain. There is not yet sufficient evidence to show that mindfulness meditation techniques are more effective than other non-specific interventions. More research is needed to investigate mindfulness meditation interventions in longer follow ups.", "th": "อาการปวดเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชากรสูงอายุ โดยทั่วไปอาการปวดเรื้อรังนี้จะไม่ตอบสนองต่อ การรักษาพยาบาล ในปัจจุบันจึงมีการใช้การรักษาแบบแพทย์ทางเลือกหลายวิธี การเจริญสติเป็นการรักษาแบบเพทย์ทางเลือกวิธี หนึ่งที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ในการพิจารณาว่าการ ฝึกเจริญสติสามารถบรรเทาอาการปวดเรื้อรังในผู้สูงอายุได้จริงหรือไม่ การทบทวนวรรณกรรมอย่าง เป็นระบบนี้ใช้แบบจำลองของ PRISMA โดยฐานข้อมูลที่ใช้ในการค้นหาบทความวิจัยได้แก่ MEDLINE, CINAHL, Ovid และ ProQuest คำสำคัญที่ใช้ในการค้นหา คือ การเจริญสติ การฝึกเจริญสติ สมาธิ ความเจ็บปวดเรื้อรัง โรคไขข้ออักเสบ และผู้สูงอายุ การค้นหาบทความวิจัยนี้ได้รวมถึง บทความภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ. 2003 ถึง 2018\nการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในครั้งนี้พบบทความวิจัย 35 เรื่องที่อยู่ในฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิค เหลือบทความ วิจัย 19 เรื่องหลังจากการคัดบทความที่ซ้ำกันออกไป บทความวิจัย 3 เรื่องถูกเลือกสำหรับการทบทวนวรรณกรรมในปัจจุบัน บทความ วิจัย 2 เรื่องเป็นวิจัยเชิงทดลองควบคุมแบบสุ่ม และมีเพียงหนึ่งบทความวิจัยที่เป็นการศึกษาทดลองก่อนและหลังการทดลอง จากการทบทวนวรรณกรรมทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าการใช้การฝึกเจริญสติช่วยลดระดับความเจ็บปวดส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ทำให้ระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเรื้อรังดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแสดง ให้เห็นว่าเทคนิคการเจริญสติมีประสิทธิภาพมากกว่าการแพทน์ทางเลือกวิธีอื่น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อติดตาม ผลในระยะยาวของการเจริญสติต่อการลดระดับความเจ็บปวดในผู้สูงอายุ" }
{ "en": "This descriptive qualitative research aimed to describe experience of generation Z nursing professional do not like the department of worked using Edmund Husserl phenomenology approach. Key informants were 26 generation Z nursing professional do not like the department of worked. Recruited by purposing sampling and snowball method from a public hospitals and private hospitals in Bangkok, Thailand. Data were collected through in-depth interviews, observations, and tape record. Clolaizzi approach and Atlas ti 6.1 program for content analysis was used to analyze data in this study.\nResearch results: Experience of generation Z nursing professional do not like the department of worked could be categorized into 5 major themes: 1) Even though do not like the department of worked must do it first because there is no right to choose, that is, the informant accepts funding to work after graduation therefore had to work in the department that the hospital provided. 2) Patiently work in a department that doesn’t like it first, hoping to move to work in the department that you like. 3) Even though it is a department that he does not choose, he is willing to continue working because he sees the opportunity to advance in his duties. 4) Friends are influential to the ideas and decisions of generation Z nurses in choosing work after graduation. and 5) The misunderstandings of people in the department are the factors that cause generation Z nurses to resign faster.", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายการทำงานของพยาบาลวิชาชีพเจเนอเรชั่นแซดที่ทำงานไม่ตรงกับ แผนกที่ตนเลือกสรร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาตามแนวคิดของเอ็ดมัลด์ ฮุสเซิร์ล ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพ เจเนอเรชั่นแซดที่มีประสบการณ์การทำงานไม่ตรงกับแผนกที่เลือกสรร คัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 26 ราย รวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เชิงลึกและบันทึกเทป ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์เนื้อหาตามขั้นตอนของโคไลซ์ซี่ ใส่รหัสสำคัญโดยดึงข้อมูลด้วยโปรแกรม Atlas ti 6.1\nผลการวิจัยพบว่า: การทำงานของพยาบาลวิชาชีพเจเนอเรชั่นแซดที่ทำงานไม่ตรงกับแผนกที่ตนเลือกสรร แบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) แม้จะทำงานไม่ตรงแผนกที่เลือกก็ต้องทำไปก่อนเพราะไม่มีสิทธิเลือก กล่าวคือผู้ให้ข้อมูลรับเงินทุนผูกพัน ให้ร่วมปฏิบัติงาน หลังสำเร็จการศึกษาจึงต้องทำงานในแผนกที่โรงพยาบาลจัดให้ 2) อดทนทำงานในแผนกที่ไม่ชอบไปก่อนด้วยหวัง ว่าจะได้ย้ายไปทำงานในแผนกที่ตนชอบ 3) แม้จะเป็นแผนกที่ตนไม่ได้เลือกก็ยินดีทำงานต่อเพราะเห็นโอกาสที่ก้าวหน้าในหน้าที่ 4) เพื่อนคือผู้มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจของพยาบาลเจเนอเรชั่นแซดในการเลือกที่ทำงานหลังสำเร็จการศึกษา และ 5) ความไม่เข้าใจกันของคนในแผนกเป็นปัจจัยที่ทำให้พยาบาลเจเนอเรชั่นแซดตัดสินใจลาออกได้เร็วขึ้น" }
{ "en": "The purposes of this descriptive research were to 1) study and compare the potential of caregivers of elderly people as Isan context in municipal and non municipal area, and 2) study the role of professional nurses for promoting competency of caregiver among elderly people. Two hundred and ten caregivers of elderly people for questionnaire, five caregivers of elderly people for in-depth interview and five professional nurses who had responsibility in elderly care service for in-depth interview were selected using multi-stage sampling. Research instruments consisted of demographic data, the potential of caregivers of elderly people questionnaire developed by researcher, reliability obtained by using Cronbach’s alpha coefficients of 0.90. Quantitative data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. For qualitative data were analyzed using content analyses.\nThe results of this study demonstrated that 1) Mean score of the potential of caregivers of elderly people in municipal and non municipal area at high level ( = 4.05 and 4.09), 2) The comparison of the potential of caregivers of elderly people in municipal and non municipal area were overall not different, 3) The comparison of the potential of caregivers of elderly people in municipal and non municipal area at each aspect found that mind, social and economic part were different in a statistically significant at the 0.05 level (t = -2.03, -3.12 and 3.22 as follows). Finally, professional nurses have also responsibilities to provide the individual education about caring for elderly people instead of promoting caregivers’ attitude and physical and mental care of caregivers. The results of this study indicated that caregivers both in municipal and non municipal area have the potential for providing elderly care. Healthcare provider, therefore, especially professional nurses should take responsibilities in promoting education and skills regarding elderly health care for maintaining the potential and competency among caregivers. Moreover, nurse should promote caregivers’ attitude and caring of physical and mental of caregivers.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตามบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน 2) เปรียบเทียบศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมืองและนอกเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี และ 3) บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการส่งเสริมศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 1) ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 210 คน และ สัมภาษณ์เชิงลึก 5 คน 2) พยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบ งานผู้สูงอายุ สัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 5 คน สุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราประเมินค่า และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ค่าความเที่ยงแบบสอบถามศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย Independent t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิง เนื้อหา\nผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมืองและนอกเขตอำเภอเมือง อยู่ในระดับสูง ( = 4.05 และ 4.09 ตามลำดับ) 2) ศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองและนอกเขตอำเภอเมือง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างรายด้านของศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระหว่างผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองและนอกเขตอำเภอเมือง พบว่า ศักยภาพการดูแลด้านจิตใจ ด้านสังคมและการดูแลด้านเศรษฐกิจของผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองและนอกเขตอำเภอ เมือง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -2.03, -3.12 และ 3.22 ตามลำดับ) 4) พยาบาลวิชาชีพมีบทบาท ให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นรายบุคคล เกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้สูงอายุ มากกว่าบทบาทการส่งเสริมทัศนคติและบทบาทดูแล ด้านร่างกายและจิตใจของผู้ดูแล จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่า ผู้ดูแลในเขตอำเภอเมืองและนอกเขตอำเภอเมืองมีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้นบุคลากร สุขภาพโดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพควรมีบทบาทในการส่งเสริมความรู้และทักษะเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อให้ผู้ดูแลดำรงไว้ ซึ่งศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุต่อไป และควรส่งเสริมทัศนคติและดูแลร่างกายและจิตใจของผู้ดูแล" }
{ "en": "Research and development on Development of a buddhist health care model for the elderly in Ranong Province aims to 1) study the situation analysis Problems of elderly health care, Buddhist way of life 2) Study and create activity plans and test activity plans Elderly health care, Buddhist way 3) Comparison of the development of elderly health care and Buddhist ways before and after the experiment The application of applying the Buddhist principles in regard to The Threefold Training and The Noble Eightfold Path. The focus of the model was also on the practice relating to 3 aspects (food, exercise, and emotion) and 3 Ss (pray,meditation and Dharma discussion). The elderly, social groups, aged 60 years and over, number 45, collected data using questionnaires. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and comparison of results within the experimental group using Paired samples t - test.\nThe research results showed that the model developed is appropriate and relevant with the community’s needs. It also helps to propel more activities in accordance with the Buddhist health care model in the community. After the pretesting of the activity plan developed, it was found that the sample &, had significantly higher levels of knowledge, practices and receiving of social support than before the experimentation (p < .05: knowledge = 25.11 compared to = 19.95 ; practices = 2.78 compared to = 2.28. ; receiving social support = 3.57 compared to = 2.79).", "th": "การวิจัยและพัฒนาเรื่องการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพวิถีพุทธของผู้สูงอายุ จังหวัดระนองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ สภาพปัญหาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ วิถีพุทธ 2) ศึกษาสร้างแผนกิจกรรมและทดสอบแผนกิจกรรม การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุวิถีพุทธ 3) เปรียบเทียบการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกับวิถีพุทธก่อนการทดลองและหลังการทดลอง โดยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสนา คือ ไตรสิกขาและมีกิจกรรมที่เน้นเรื่องมรรค 8 และการปฏิบัติด้าน 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์) และ 3 ส. (สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 45 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ เปรียบเทียบผลภายในกลุ่มทดลองสถิติที่ใช้ Paired samples t - test\nผลการศึกษาพบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและช่วยขับเคลื่อนการ ดำเนินงาน พัฒนาการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในชุมชนมากขึ้น หลังจากการทดลองใช้แผนกิจกรรมที่สร้างขึ้น ผลการ เปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติและการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนทดลองและหลังทดลอง พบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติและการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.05) ค่าเฉลี่ยความรู้หลังทดลอง 25.11 กับก่อนการทดลอง19.95, ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติหลัง ทดลอง 2.78 กับก่อนการทดลอง 2.28 และค่าเฉลี่ยการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมหลังทดลอง 3.57 กับก่อนการทดลอง 2.79" }
{ "en": "This quasi-experimental aimed to study the development of self-efficacy to diet and exercise behaviors intention of type 2 diabetes mellitus patients. Self-Efficacy Theory was used as a conceptual framework in this study. The study groups were 30 persons with diabetes mellitus type 2 which ages 30 years and over and received medical care at Pathum Thani hospital, Pathum Thani Province. Participants were simple random sampling to either the experimental group (n = 30). The experimental group received the development of self-efficacy to diet and exercise behaviors intention program include 2 activity are 1) dietary of type 2 diabetes such as media lectures, food menu selection and brainstorming about outcome expectation in diet. And 2) dietary of type 2 diabetes such as media lectures and manuals for diabetics, optimal exercise and inappropriate exercise game for diabetics, exercise plan and brainstorming about outcome expectation in exercise. Data was collected at before and after implementing the program. Data analyzed by using Descriptive statistics and paired t-test.\nThe study results showed that after participating in the development of self-efficacy to diet and exercise behaviors intention program, the experimental group had higher mean scores in perceived selfefficacy to diet and exercise behaviors than before participating in the program significant (p<.05). It concludes that the program developed by the researcher can effectively promote self-efficacy to diet and exercise behaviors intention program among patients with diabetes mellitus type 2.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดโครงการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศาสตร์ แห่งการพัฒนาสังคมเพื่อการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนต่อความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 30 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการโรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน และทำการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดลอง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนต่อความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมในการ รับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กิจกรรมด้านการรับประทานอาหารสำหรับ ผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ การบรรยายประกอบสื่อ กิจกรรมการคัดเลือกเมนูอาหาร และการระดมสมองเสนอความคิดเห็นถึงผลดีที่ คาดว่าจะได้รับจากการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนที่ 2 กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย ประกอบด้วย การบรรยายประกอบสื่อและคู่มือสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกมคัดแยกแผ่นภาพการออกกำลังกายที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน การฝึกทักษะการวางแผนออกกำลังกายที่เหมาะสม และการระดมสมองเสนอความคิดเห็นถึงผลดีที่คาดว่าจะ ได้รับจากการออกกำลังกาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบด้วย paired t-test.\nผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนต่อความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมในการรับประทานอาหารและ การออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีประสิทธิผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This research aimed to compare the results of uroflowmetry parameters include maximum flow rate (Qmax), average flow rate (Qave), voided volume, voiding time and post-void residual urine (PVR) in the sitting and standing position in patients with BPH. Forty-four men with lower urinary tract symptoms (LUTS) due to BPH were enrolled in the one group pretest-posttest design study at urodynamics room in Ramathibodi hospital. The uroflowmetry were performed in both standing and sitting positions. The PVR were measured by bladder scan after each voiding. Uroflowmetry parameters and PVR values were compared between the two different voiding positions. The results showed that voided volume and voiding time were significantly increased in sitting position than the standing position. The PVR urine volume was significantly lower in the sitting position than the standing position. However, there were no significant differences between voiding positions regarding the Qmax and Qave in patients with BPH. Suggestion that the PVR seem to be affected by the voiding position (standing or sitting) in patient with BPH. Sitting position may be recommended for men with BPH to decrease PVR that may be reduce the risk of urinary tract infection.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบอัตราการไหลปัสสาวะ ประกอบด้วยอัตราการไหลสูงสุด อัตราการไหลเฉลี่ย ปริมาณ ปัสสาวะที่ถ่ายออกมา เวลาที่ใช้ในการปัสสาวะ และปริมาณปัสสาวะตกค้างหลังถ่ายปัสสาวะระหว่างท่านั่งกับท่ายืนในผู้ป่วยที่มี ภาวะต่อมลูกหมากโต เป็นการวิจัยการทดลองแบบวัดก่อนและหลังกลุ่มเดียว ตัวอย่างวิจัยเป็น ผู้ป่วยภาวะต่อมลูกหมากโตที่มารับ บริการ ณ ห้องตรวจยูโรไดนามิกส์ หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 44 คน โดยบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ตรวจวัดอัตราการไหลปัสสาวะและวัดปริมาณปัสสาวะตกค้างหลังถ่ายปัสสาวะทั้งท่านั่งและท่ายืน ผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า ปริมาณปัสสาวะที่ถ่ายออกมาในท่านั่งมีปริมาณมากกว่าในท่ายืนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เวลาที่ใช้ในการปัสสาวะในท่านั่งนานกว่าท่ายืนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และปริมาณปัสสาวะตกค้างหลังถ่ายปัสสาวะใน ท่านั่งน้อยกว่าในท่ายืนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนอัตราการไหลสูงสุดและอัตราการไหลเฉลี่ยพบว่าไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ทั้งท่านั่งและท่ายืน แต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมลูกหมากโต แนะนำการปัสสาวะในท่านั่ง เพื่อลดปัสสาวะตกค้างหลังถ่ายปัสสาวะส่งผลให้ลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ" }
{ "en": "This study aimed to explore the relationships between patient’s health status, mutuality, preparedness, and caregiver role strain in caregivers of older persons with advanced cancer receiving palliative care. The Family Care Model of Archbold & Stewart was selected as the conceptual framework. The sample composed of 78 family caregivers for older persons with advanced cancer receiving palliative care. Data were collected by completing Family Care Inventory questionnaires. The data obtained were analyzed using descriptive statistics and correlation analysis using Spearman’s correlation.\nThe research findings revealed that the older persons with advanced cancer receiving palliative care had stable health status, the PPS scale ranged from 70 - 90 (47.4 %), mutuality was at an average level (Mean = 38.87, S.D. = 7.64), preparedness was rather high (Mean = 18.15, S.D. = 3.50), and caregiver role strain including direct care, communication problems, and global strain was rather low, but had a rather high level of caregiver role strain due to role conflict. Patient’s health status was found to be negatively related to caregiver role strain from communication problems with statistical significance (r = -.423, p < .05), but patient’s health status was not related to caregiver role strain from direct care, role conflict, and global strain. Finally, both mutuality and preparedness were not related to caregiver role strain in caregivers. The study findings could be utilized to assess patient’s health status for care planning and for providing information to patients and families which could help reduce caregiver role strain due to communication ploblems.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูล ความพร้อมในการดูแล กับความเครียดในบทบาทผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะลุกลามที่รับการดูแลแบบประคับประคอง โดย ใช้กรอบแนวคิด The Family Care Model ของ Archbold & Stewart กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะ ลุกลามที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง จำนวน 78 คน ที่พาผู้ป่วยมารับการตรวจรักษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน\nผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะลุกลาม มีภาวะสุขภาพอยู่ในระยะคงที่ ระดับ PPS scale ตั้งแต่ 70 – 90 (ร้อยละ 47.4) ความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วยสูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 38.87, S.D. = 7.64) มีความ พร้อมในการดูแล ค่อนไปทางด้านสูง (Mean = 18.15, S.D. = 3.50) ความเครียดในบทบาทผู้ดูแล คือ การดูแลโดยตรง ปัญหาด้าน การสื่อสาร และความเครียดโดยรวม ค่อนไปทางด้านต่ำ ยกเว้นด้านความเครียดจากบทบาทขัดแย้ง ค่อนไปทางด้านสูง ภาวะสุขภาพ ของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดของผู้ดูแลจากปัญหาด้านการสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.423, p < .05) แต่ภาวะสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการดูแลโดยตรง ความเครียดจากบทบาทขัดแย้ง และความเครียดโดยรวม ส่วนความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูล และความพร้อมในการดูแลไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในบทบาทผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็ง ระยะลุกลามที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองทั้งรายด้านและโดยรวมผลการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการ พยาบาลในการประเมินระดับภาวะสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อการวางแผนให้ผู้ดูแลและผู้ป่วยสามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลผู้ป่วย" }
{ "en": "This descriptive study with cross-sectional design aim to examine factors relate to depression of agricultural aging workers. The samples were 364 aging workers. Research instruments include demographic questionnaire, agricultural work stress, interpersonal relationship problems, depression, blood cholinesterase (ChE) level, and digital blood pressure. Data was analyzed using descriptive statistic, Chi-square, and logistic regression.\nRelationships between personal factors and depression among elderly agriculture workers for male gender were age, education, income, alcohol and cigarette use, high blood pressure, diabetes, and deaths of love ones. Whereas for female were age, education, income, marital status, chronic illness from high blood pressure or diabetes. Deaths of love one has significant relationship with depression of male worker. ChE level were found to have none significant relationship with depression among male and female aging agricultural workers. Logistic regression showed variables related to depression, for male were age, education, income, and illness from high blood pressure or diabetes. For female were age, education, marital status, and deaths of love one, (p<.05).", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในเกษตรกร สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบประเมินความเครียด จากการประกอบอาชีพเกษตรกร แบบประเมินปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า เครื่องมือตรวจวัดระดับ เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase : ChE) ในเลือด และเครื่องวัดความดันโลหิต แบบดิจิตอล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ เชิงพรรณนา ไคสแคว์ และสถิติถดถอยโลจิสติก\nผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับภาวะซึมเศร้าของเกษตรกรสูงอายุเพศชาย ได้แก่ อายุ ระดับการ ศึกษา รายได้ การดื่มแอลกอฮอล์การสูบบุหรี่ การเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง และการเสียชีวิตของบุคคลอัน เป็นที่รัก และในเพศหญิงพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส และ การเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง การเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รัก มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของเกษตรกร เพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับเอนไซน์ ChE ในเลือด พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของเกษตรกรสูงอายุเพศ ชายและเพศหญิง การวิเคราะห์สถิติถดถอยโลจิสติก พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในเพศชาย ได้แก่ อายุ ระดับ การศึกษา รายได้ และ การเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ในเพศหญิง พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึม เศร้า ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และการเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รัก (p<.05)" }
{ "en": "The purposes of this research were to analyze the confirmatory factors analysis of Active Ageing in Health of Elderly from Nonthaburi Province Thailand. The samples consisted of 500 elderly living in municipalities Nonthaburi Province selected by multi-stage sampling. The instrument was the questionnaire to assess of Active Ageing in Health of Elderly established by researcher. The overall reliability by Cronbach’s coefficient alpha was 0.87. Data were analyzed by the second order confirmatory factor analysis.\nThe results showed that there were 4 elements include psychological well-being, physical activity, activities of daily living, and self-assessed health status weight of component equal to .77, .71, .53 and .07 respectively. Model for measuring Active Ageing in Health of Elderly consistent with empirical data from the chi-square values that are not statistically significant. ( = 66.450, CMIN/DF: /df = 1.278, RMSEA = 0.023, and GFI = 0.980)", "th": "การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของสภาวะพฤฒพลังด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในเขตเทศบาล จังหวัดนนทบุรี ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามสภาวะพฤฒพลังด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง\nผลการศึกษาพบว่า สภาวะพฤฒพลังด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ วัดได้จาก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ สุขภาวะทางจิต การมี กิจกรรมทางกาย ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และ การประเมินสุขภาพของตนเอง โดยมีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ .77 .71 .53 และ .07 ตามลำดับ และโมเดลการวัดสภาวะพฤฒพลังด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจาก ค่าไคสแควร์ที่แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ( = 66.450 CMIN/DF : /df = 1.278 RMSEA = 0.023 และ GFI = 0.980)" }
{ "en": "The purpose of this research and development study was to study the happiness promotion model for steel factory employees in Nonthaburi Province. There were 3 phases in research procedure including 1) context analysis, 2) developmental and trial and 3) evaluation phases. The sample consisted of 48 employees.The data were collected by questionnaires and happy quiz five expert’s quality reviews. The data were analyzed and described by using percentage, mean, standard deviation. dependent t- test. and content analysis\nThe research found that steel factory employees were happy to work, and employees had relationship and bond with the organization at medium level. The research was applied the theory and concept of creating happiness, attachment concept, theories of Maslow and forms of employee happiness. There are six elements of happiness: 1) good health, happiness 2) kindness, happiness 3) debt-free, happiness 4) relaxation, happiness 5) knowledge, happiness and 6 ) Good social aspects create happiness Proceed with the activity program The employees who participated in the happiness building program had an average knowledge after the experiment was higher than before the experiment (t = 1.56; p-value <.05). After the experiment was higher than before the experiment (t = 5.81; p-value <.05), the results showed that the post-experimental happiness program was at a high level ( = 4.09) and the results of the post-happiness building program 2 months experiment showed that it was at a high level ( = 4.08)", "th": "การวิจัยและพัฒนาเรื่องรูปแบบการสร้างความสุขของพนักงานโรงงานผลิตโครงสร้างเหล็ก จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์ การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสร้างความสุข ความผูกพัน ระดับความสุข สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาการ สร้างความสุขของพนักงาน 2) ศึกษารูปแบบสร้างความสุขของพนักงานโรงงานผลิตโครงสร้างเหล็ก 3) เพื่อประเมินผลรูปแบบสร้าง ความสุขของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงาน จำนวน 48 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสอบถามความสุข ตรวจสอบ คุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (Dependent t-test Sample) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)\nผลการวิจัยพบว่า พนักงานโรงงานผลิตโครงสร้างเหล็กมีความสุขในการปฏิบัติงาน และพนักงานมีความผูกพันต่อองค์กร ในระดับปานกลาง รูปแบบสร้างความสุขของพนักงาน ผู้วิจัยประยุกต์ทฤษฎีและแนวคิดการสร้างความสุข แนวคิดความผูกพัน ทฤษฎีของมาสโลว์ และ รูปแบบสร้างความสุขของพนักงาน มีองค์ประกอบการสร้างความสุข 6 ด้านได้แก่ 1) ด้านสุขภาพดีสร้าง ความสุข 2) ด้านน้ำใจสร้างความสุข 3) ด้านปลอดหนี้สร้างความสุข 4) ด้านการผ่อนคลายสร้างความสุข 5) ด้านความรู้สร้างความ สุข และ 6) ด้านสังคมดีสร้างความสุข ดำเนินการด้วยโปรแกรมกิจกรรม โดยพนักงานที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างสุขมีความรู้ เฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (t = 1.56; p-value <.05) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการสร้างความสุขของ พนักงาน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (t = 5.81; p-value <.05) การประเมินผล พบว่าโปรแกรมการสร้างสุขหลัง การทดลองอยู่ในระดับมาก ( = 4.09) และผลการประเมินโปรแกรมการสร้างสุขหลังการทดลอง 2 เดือนพบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 4.08)" }
{ "en": "This predictive descriptive research aimed to describe the level of active ageing and study predictive factors of active ageing among the older adults. The sample were 200 older adults which were selected by multi-step sampling technique. Data were collected by using the questionnaire including demographic data and active ageing. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis.ฃ\nThe results revealed that the older adults have high scores for active ageing ( =3.23, SD = .31). The results revealed that the older adults have high scores for active ageing ( =3.23, SD = .31). In addition, predicting factors were social networks regarding people come meet the senior citizen (β = -.26, b = -9.40), education above a secondary level (β = .23, b = 11.63), the older adults go out to meet other people (β = .15, b = 7.35) and age (β = .14, b = .24), which accounted for 13.40% (R2 = .13, F = 6.03) of active ageing among the older adults.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยพรรณนาเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายระดับการสูงวัยอย่างมีพลังของผู้สูงอายุ และศึกษา ปัจจัยทำนายการสูงวัยอย่างมีพลังของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 200 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล และการสูงวัยอย่างมีพลัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการถดถอยเชิงพหุคูณแบบหลายขั้นตอน\nผลการวิจัยพบว่า ระดับการสูงวัยอย่างมีพลังของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง ( = 3.23, S.D. = .31) ในส่วนของการวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า เครือข่ายสังคมการมีคนมาพบปะ (β = -.26, b = -9.40) ระดับการศึกษาสูงกว่ามัธยม (β = .23, b = 11.63) การออกไปพบปะบุคคล (β = .15, b = 7.35) และอายุ (β = .14, b = .24) สามารถร่วมกันทำนายการสูงวัยอย่างมี พลังของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 13.40 (R2 = .13, F = 6.03)" }
{ "en": "The objectives of this semi-experimental research (Quasi-experimental research) are to study the level of learning skills in the 21st century after blended learning management and to study the satisfaction of nursing students towards the usage of blended learning. The sample group consisted of 134 first-year nursing students from Boromarajonani College of Nursing, Suratthani, who enrolled in the Nursing Communication and Information Course.The research instruments were the 21st century learning skills assessment form and the satisfaction questionnaires of nursing students who studied by using blended learning. The data were analyzed using frequency distribution, descriptive statistics and pair t-test The result of the research indicated that 1. Nursing students had higher 21st Century Learning Skills in all aspects, after studying with blended learning than before using the learning model and its statistical significance is at .01. 2. Students were satisfied with the blended learning, which is divided into 2 issues: the overall satisfaction of teaching and learning in the classroom is at the highest level with an average value of 4.59 (SD = 0.57) and the overall satisfaction of teaching and learning through the network system is at the highest level with an average value of 4.69 (SD = 0.58)", "th": "การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนในรายวิชาการสื่อสารและสารสนเทศทางการพยาบาล จำนวน 134 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และPair t-test ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาพยาบาลมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในทุกด้านหลังการเรียนรู้โดยใช้การจัดการ เรียนรู้แบบผสมผสานสูงกว่าก่อนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และนักศึกษา มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานทั้งสองประเด็น คือ ความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนใน ห้องเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 (SD = 0.57) และความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนผ่าน ระบบเครือข่าย อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 (SD = 0.58)" }
{ "en": "This quasi-experimental study (one group pre-test post-test design) aimed to determine the effects of Computer Assisted Instruction (CAI) on knowledge of injection administration and medication calculation of pediatric nurses. The sample included 21 registered nurses who had a working experience of less than 1 year from inpatient wards of Queen Sirikit National Institute of Child Health and inpatient pediatric wards of Vajira Hospital, Faculty of Medicine, Navamindradhiraj University. The subjects got CAI in a compact disk. They were asked to study CAI by themselves for 14 days. They were also asked to record the information each time they viewed CAI, including the title, number of times, date and time in a table of learning log. On the 7th day, the researcher called the subjects to ask about the problems in using CAI, reminded and encouraged them. The Assessment of Knowledge of Injection Administration and Test of Medication Calculation were used to assess the subjects’ knowledge before and after learning from CAI for 2 weeks. Descriptive statistics and Wilcoxon signed-rank test were used for data analysis.\nThe findings of the study revealed that after learning from CAI, the subjects had higher scores on knowledge of injection administration and knowledge of medication calculation than those before learning from CAI with statistical significance (p < .05). It is suggested that CAI may be used to teach newly graduated nurses through self-directed learning about knowledge of injection administration and medication calculation in care of pediatric patients.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อความรู้ในการบริหารยาฉีดและการคำนวณยาของพยาบาลเด็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 21 คน ที่มีประสบการณ์การทำงานไม่เกิน 1 ปี จากหอผู้ป่วยใน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและหอผู้ป่วยเด็กใน โรง พยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิร พยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พยาบาลกลุ่มตัวอย่างได้รับแผ่นซีดีบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและให้ศึกษาด้วยตัวเองนาน 14 วัน โดยขอให้กลุ่มตัวอย่างบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อ จำนวนครั้ง วันที่และ เวลาที่ศึกษาลงในตารางบันทึกการเรียนรู้ ในวันที่ 7 ผู้วิจัยโทรศัพท์ซักถามปัญหาในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กระตุ้น เตือนและให้กำลังใจ ประเมินความรู้ของพยาบาลกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบประเมินความรู้ในการบริหารยาฉีดและแบบทดสอบความรู้ ในการคำนวณยาฉีดก่อนและหลังการศึกษา 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Wilcoxon signed-rank test\nผลการวิจัยพบว่า พยาบาลกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ในการบริหารยาฉีดและคะแนนความรู้ในการคำนวณยาฉีดหลัง ได้รับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนได้รับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) การวิจัยครั้ง นี้มีข้อเสนอแนะว่า อาจนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปประยุกต์ใช้ในการให้ความรู้แก่พยาบาลที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ด้วยการ เรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับการบริหารยาฉีดและการคำนวณยาฉีดสำหรับผู้ป่วยเด็ก" }
{ "en": "This Retrospective study aimed to investigate the effectiveness of post-operative cardiac rehabilitation program for 6 months in open heart surgery patients. In a retrospective study, open heart surgery patients (n = 80) were purposively selected from Naresuan University Hospital between 1st October 2016 to 30th September 2017. All patients were assigned to continuous training group (n = 49) and discontinuous training group (n = 31). The continuous training group completed the home based cardiac rehabilitation program for six months whereas the discontinuous training group performed the program only three months after hospital discharge. All patients were assessed the six-minute walk test (6-MWT) to determine the walk distance covered before, 3 and 6 months after hospital discharge periods. The results showed that the distance covered were improve in the continuous training group (388 meters at 3 months; 42 meters at 6 months). However, the distance covered were increased at 3 months (339 meters) but decreased at 6 months (38 meters) in the discontinuous training group (p < .05).This study concludes that the six-month home based cardiac rehabilitation program can be improving exercise capacity in open heart surgery patients at Heart Clinic, Naresuan University Hospital. This study also suggested that multidisciplinary team can applied the continuous home-based cardiac rehabilitation program for open heart surgery patients.", "th": "การศึกษานี้เป็นวิจัยย้อนหลัง (Retrospective study) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจระยะ 6 เดือน ต่อความสามารถในการออกกำลังกายในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโดยเป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลัง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จากผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2560 จำนวน 80 ราย โดย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ทำโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่บ้านหลังจำหน่ายออกจาก โรงพยาบาลจนถึง 6 เดือนหลังผ่าตัด จำนวน 49 คน และอีกกลุ่มคือทำตามโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่บ้านหลังจำหน่ายออก จากโรงพยาบาลจนถึง 3 เดือนหลังผ่าตัดแต่ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่องจนถึง 6 เดือนหลังผ่าตัด จำนวน 31 คน ทำการทดสอบค่าความ สามารถเดินทางราบใน 6 นาที ช่วงก่อนออกโรงพยาบาล 3 เดือน และ 6 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่าการ ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังผ่าตัดหัวใจในกลุ่มทดลอง ในระยะ 3 เดือนกับ 6 เดือน พบว่าผลการทดสอบเดินเฉลี่ย 388 เมตร ค่าระยะทางที่เปลี่ยนแปลง 3 เดือนกับ 6 เดือน เฉลี่ย 42 เมตร ส่วนกลุ่มควบคุม ในระยะ 3เดือน กับ 6 เดือน ผลการทดสอบเดิน เฉลี่ย 399 เมตร ค่าระยะทางที่เปลี่ยนแปลง 3 เดือนกับ 6 เดือน เฉลี่ย ลดลง 38 เมตร ซึ่งมีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) จากการศึกษานี้พบว่าโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่บ้านเป็นระยะเวลา 6 เดือน มีผลเพิ่มความสามารถในการออกกำลัง กายในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ จากการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าทีมสหวิชาชีพสามารถนำ โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่บ้านอย่างต่อเนื่องไปใช้สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจได้" }
{ "en": "This research aimed to study the desirable characteristics of graduates of Master of Nursing Science Program in Community Health Nurse Practitioner according to the perception of graduates, colleagues and supervisors and to compare the desirable characteristics between graduates colleagues and supervisors’ perception. The sample consisted of 3 groups: 1) 9 graduates, 2) 15 colleagues and 3) 9 supervisors. The tools used for data collection were 2 types: 1) the questionnaire for assessing the six desirable characteristics follow by TQF frameworks which have passed the content validation by 3 experts. The content validity index is 0.91 and the reliability is 0.97. 2) the structural question for in-depth interviews.\nThe result show that the graduates, colleagues, and the supervisors perceived the overall desirable characteristics at the high level ( x̄ = 4.29, SD = 0.67), and the highest level by ( x̄ = 4.58, SD = 0.56) and ( x̄ = 4.58, SD = 0.63) respectively. There are two aspects that all groups perceived the same as the highest level; the outcome of interpersonal relationship skills and responsibilities and the professional practice skills.\nThe result of comparing the desirable characteristics according to the perception of graduates, colleagues and supervisors found that there was only one aspect of knowledge that had different perceptions with statistically significant at .05. The results of the study showed that the aspect of learning skills in communication analysis and information technology was the lowest score ( x̄ = 4.32, SD = 0.55), so the course should encourage learners to improve their analytical, communication and information technology skills to ensure that students are confident and able to use the media to promote the most effective distance learning.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ตามการรับรู้ของผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา และเปรียบเทียบความ แตกต่างของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา ตามการรับรู้ของผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา โดยกลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่มได้แก่ 1) ผู้สำเร็จการศึกษาฯ จำนวน 9 คน 2) เพื่อนร่วมงานจำนวน 15 คน และ3) ผู้บังคับบัญชาจำนวน 9 คน เครื่องมื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมี 2 ประเภทได้แก่ 1) แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาฯ ตามกรอบ TQF ทั้ง 6 ด้าน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.91 ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.97 2)เป็นแนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก\nผลการวิจัยพบว่า ผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชามีการรับรู้ต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยรวมใน ระดับมาก ( x̄ = 4.29, SD = 0.67) มากที่สุด ( x̄ = 4.58, SD = 0.56) และมากที่สุด ( x̄ = 4.58, SD = 0.63) ตามลำดับ โดยที่มี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2 ด้านที่ทุกกลุ่มมีการรับรู้ในระดับมากที่สุดทุกกลุ่ม คือ ผลลัพธ์ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ และผลลัพธ์ด้านด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ และจากการทดสอบความแตกต่างของผลลัพธ์การเรียนรู้ ในภาพรวม และในแต่ละด้าน ตามการรับรู้ของผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา พบว่า มีเพียงด้านความรู้ ด้านเดียวที่มีการรับรู้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05\nผลการศึกษาพบว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นด้านที่ มีคะแนนน้อยที่สุด ( x̄ = 4.32, SD = 0.55) ดังนั้นหลักสูตรฯ ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจและสามารถใช้สื่อเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในระบบ การศึกษาทางไกลอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด" }
{ "en": "The purposes of research were to research and development of Family counseling model to enhance Family Transgenerational Communication. The research procedure consisted of 3 stages as follows :Stage 1 : Studying the Family Transgenerational Communication. Stage 2 : Development Family counseling model to enhance Family Transgenerational Communication and Studying the results of Family counseling model. Stage 3 : Assessing the effectiveness of the Family counseling model. The sample is Family three-generations living in Bangkok.\nThe results of this research revealed that:\n1. The Family Transgenerational Communication consist of 6 factors they were Listener’s skill, Speaker’s skill, Self disclosure, Clarity, Continuity and Tracking, and Respect and Regard.\n2. The Family counseling model based on Transgenerational Family Counseling and Integrated 4 counseling technique is I massage,Communication Stance,Enactment and Use of Directive. The intervention program of the Family counseling model included 8 sessions. Each session lasted about 60 minutes. The levels of Family Transgenerational Communication in the study and the control groups were significant interaction at .05 level when measured in the post - test phases. The levels of Family Transgenerational Communication in the study group in the post - test phases were statistically significant at .05 level from these in the pre - test phase.\n3. Family counseling model can be use for enhance Family Transgenerational Communication.", "th": "การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิจัยและพัฒนารูปแบบการปรึกษาครอบครัว เพื่อเสริมสร้างการสื่อสารระหว่างรุ่นใน ครอบครัว แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาการสื่อสารระหว่างรุ่นในครอบครัว ขั้นตอนที่ 2 เป็นวิจัยเชิงทดลอง เพื่อพัฒนารูปแบบการปรึกษาครอบครัวเพื่อเสริมสร้างการสื่อสารระหว่างรุ่นในครอบครัว และเพื่อศึกษาผลของ การใช้รูปแบบการปรึกษาครอบครัว ขั้นตอนที่ 3 เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการปรึกษาครอบครัวไปใช้ โดยการ สร้างคู่มือและพิจารณาความเป็นไปได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยสมาชิกสามรุ่น ได้แก่ รุ่นปู่ย่าตายาย รุ่นพ่อแม่ และรุ่นลูก ที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร\nผลการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 พบว่า องค์ประกอบการสื่อสารระหว่างรุ่นในครอบครัว 6 ด้าน ได้แก่ ทักษะการเป็นผู้ฟัง ทักษะ การเป็นผู้พูด การเปิดเผยตนเองอย่างจริงใจ ความชัดเจน การอยู่ในหัวข้อสนทนาและการเคารพคู่สนทนา ขั้นตอนที่ 2 แบบวัดการ สื่อสารระหว่างรุ่นในครอบครัว มีจำนวน 58 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 และรูปแบบการปรึกษาครอบครัวเพื่อเสริมสร้างการ สื่อสารระหว่างรุ่นในครอบครัว เป็นการดำเนินการปรึกษาครอบครัว โดยใช้ทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างรุ่นเป็นฐานและบูรณาการใช้ เทคนิค I massage เทคนิคท่าทีการสื่อสาร เทคนิคการแสดงบทบาท และเทคนิคการชี้นำ จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ ผลของการใช้รูปแบบการปรึกษาครอบครัว พบว่า ครอบครัวที่ได้รับการปรึกษาครอบครัว มีค่าเฉลี่ยคะแนนการสื่อสารระหว่างรุ่นในครอบครัวแตกต่างกับครอบครัวที่ไม่ได้รับการปรึกษาในระยะหลังทดลอง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และครอบครัวที่ได้รับการปรึกษาครอบครัว มีค่าเฉลี่ยคะแนนการสื่อสารระหว่างรุ่นในครอบครัวในระยะหลัง ทดลอง แตกต่างจากระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และขั้นตอนที่ 3 ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของ รูปแบบการปรึกษาครอบครัว พบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้" }
{ "en": "This predictive correlation research was to determine the factors for predicting post-hospital discharge chest pain status among acute coronary syndrome patients during first year. The samples were the acute coronary syndrome patients who following at outpatient department of medicine of Thammasat University Hospital. Data were collected from September, 2018 to January, 2019. The sample consisted of 181 participants, all of whom completed five sections of a self-administered questionnaire comprising the following: 1) Sociodemographic and Health Status Questionnaires 2) Post-ACS Stress Questionnaires 3) Sleep Quality Questionnaires 4) Post -ACS Self-management Behaviors Questionnaires and 5) The Seattle Angina Questionnaire. Data were analysed using descriptive statistic, Chi-square test, Spearman’s rank correlation coefficient, Pearson’s product correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.\nThe results found that the mean scores of participant’s chest pain status were moderate level. By examining the stepwise multiple regression for predicting chest pain status, it was found that the factors that could predict this status included age, body mass index, occupation, ACS diagnosis, self-management behaviours, sleep quality, and smoking. All seven variables were able to predict chest pain status at 43.1 percent.\nBased on the findings, the results from this study provide useful information for developing programmes to prevent chest pain in this group in the future.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะเจ็บหน้าอกของผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในระยะ 1 ปีแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด เฉียบพลันที่มารับการตรวจรักษาต่อเนื่อง ที่แผนกผู้ป่วยนอก อายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ระหว่างเดือน กันยายน พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 จำนวน 181 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 5 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามปัจจัย ส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพ 2) แบบสอบถามภาวะเครียด 3) แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการ จัดการตนเอง และ 5) แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเจ็บหน้าอก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์สเปียร์แมน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\nผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะเจ็บหน้าอกระดับปานกลาง วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัย ที่สามารถทำนายภาวะเจ็บหน้าอกของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในระยะ 1 ปีแรก ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย อาชีพ การวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พฤติกรรมการจัดการตนเอง คุณภาพการนอนหลับ และ การสูบบุหรี่ (p < .05) ทั้ง 7 ปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายภาวะเจ็บหน้าอกได้ร้อยละ 43.1\nผลการศึกษา ทำให้ได้ปัจจัยทำนายภาวะเจ็บหน้าอกของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ต่อ การนำไปพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันภาวะเจ็บหน้าอกในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ต่อไป" }
{ "en": "The purposes of this mixed-methods research were: 1) to investigate job burnout and its related factors of generation Y professional nurses at a government hospital, 2) to compare job burnout among classified by departments, and 3) to explore a guideline for their job burnout management.\nThe samples comprised 2 groups: 1) 112 nurses who answered questionnaires and were selected by systematic random sampling, and 2) fourteen nurses who attended focus group discussion and were selected by purposive sampling. Research tools which were done for content validity with 0.8-1.0 included: 1) a job burnout questionnaire and 2) A question guideline for focus group discussion with reliability 0.94. Research data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.\nThe results showed. 1) Generation Y professional nurses rated their job burnout overall at the low level. With itemized scores, emotional exhaustion dimension was at the moderate level; while, depersonalization and decreased occupational accomplishment dimensions were at the low level. 2) Professional nurses of special unit groups and the Inpatient unit significantly rated their burnout higher than the Outpatient department at the level .05. 3) Related factors included work overload, staff nurse shortage, working beyond the standard criteria, head nurses’ lack of understanding staff, difficulty of exchanging shifts, insufficient equipment. Finally, 4) The guideline for their burnout management comprised documentation workload reduction, providing sufficient nursing staffing, setting job priority, working quicker, increasing communication channels with supervisors, adequate supply management, additional remuneration for personnel with more workload, good relationship, and positive thinking.", "th": "การวิจัยแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเหนื่อยหน่ายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเหนื่อยหน่ายใน การทำงานของพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชันวาย โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง 2) เปรียบเทียบความเหนื่อยหน่าย จำแนกตามแผนก ปฏิบัติงาน 3) แนวทางการจัดการเพื่อลดความเหนื่อยหน่าย\nกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชันวาย 2 กลุ่ม 1) กลุ่มตอบแบบสอบถาม 112 คนสุ่มแบบมีระบบ 2) กลุ่ม ร่วมสนทนากลุ่ม 14 คนคัดเลือกเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบสอบถามความเหนื่อยหน่าย (2) แนวทางการสนทนากลุ่มผ่าน การตรวจสอบความ เที่ยงตรง = 0.8-1.0, 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหา\nผลการวิจัยพบว่า 1) ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความอ่อนล้าทาง อารมณ์ อยู่ในระดับปานกลาง การลดความเป็นบุคคลและความสำเร็จส่วนบุคคล ระดับน้อย ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาระงานมาก อัตรากำลังไม่พอ ทำงานเกินเกณฑ์มาตรฐาน หัวหน้าขาดความเข้าใจ แลกเวรยาก อุปกรณ์ไม่เพียงพอ 2) พยาบาลวิชาชีพหน่วย งานพิเศษ และผู้ป่วยในมีความเหนื่อยหน่ายมากกว่าพยาบาลผู้ป่วยนอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางจัดการ เพื่อลดความเหนื่อยหน่าย ได้แก่ ลดภาระงานเอกสาร จัดอัตรากำลังให้เพียงพอ จัดเรียงลำดับความเร่งด่วนของงาน ทำงานให้ เร็วขึ้น เพิ่มช่องทางการสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา จัดอุปกรณ์ให้เพียงพอ เพิ่มค่าตอบแทนหน่วยงานที่ภาระงานมาก มีสัมพันธภาพดี และคิดบวก" }
{ "en": "The study was a experimental research design which aimed at investing a training program of visual imagery based on gestalt for elementary school students. The sample was 56 students. The sample was randomized by using simple random sampling into groups. Each group consisted of 28 students. The instruments used were an a training program of visual imagery based on gestalt for elementary school students, The Neglieri Nonverbal Ability Test and The Corsi Block Tapping Task. There were 10 sessions in the experiment, each session last for 50 minutes, for a total of five weeks. The experiment was divided into three phases : pretest, posttest and follow-up. The data were statistically analyzed by utilizing a repeated measures analysis of variance and paired-different test by Bonferroni method.\nThe research finding: 1) The interaction between experimental methods and experimental periods influenced visual imagery and working memory usage of the primary school students, with a significant difference at .05 level. 2) The primary students who received a training program of visual imagery based on gestalt in posttest possessed visual imagery and working memory higher than pretest, the follow-up possessed visual imagery and working memory higher than posttest and higher than control group with a significant difference at.05 level.", "th": "การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างการจินตภาพด้วยภาพโดยเกสตัลท์ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 56 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการเสริมสร้างการจินตภาพด้วยภาพ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบทดสอบ The Neglieri Nonverbal Ability Test และแบบทดสอบ The Corsi Block Tapping Task การทดลองจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม เมื่อพบ ความแตกต่างรายคู่ทดสอบด้วยวิธีแบบบอนเฟอรอนนี ผลการวิจัยพบว่า\n1. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองและระยะเวลาการทดลองมีอิทธิพลต่อการจินตภาพด้วยภาพและความจำใช้งาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n2. กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างการจินตภาพด้วยภาพโดยเกสตัลท์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีการ จินตภาพด้วยภาพและความจำใช้งานหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ระยะติดตามผลสูงกว่าหลังการทดลองและก่อนการ ทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The objective of this quasi-experimental research was to compare the perception of self-efficacy, the expected outcomes of the self practice and self practice behavior on blood pressure level controlled in hypertension risk group. The purposive sample were using the power of a test included and were assigned into experimental group and the control group 30 persons in each groups, The research instrument consisted of a perceived self-efficacy questionnaire, Self-efficacy Enhancement program and self-care handbook. Data were analyzed using descriptive statistic paired t-test, Independent t-test.\nThe study revealed that after the intervention, the experiment group had perception of self-efficacy, the expected outcomes of the self practice and self practice behavior for salt eating and sodium salt, exercise and emotional management had a significantly higher average score than the control group at .05. The blood pressure level of the experimental group decreased with a significantly higher than the control group at 0.05.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังของ ผลลัพธ์ในการปฏิบัติตัว และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่ม ตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยการคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยตารางอำนวจการทดสอบ จำนวน 60 คน แบ่งกลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน โปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะ แห่งตน และคู่มือการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง\nผลการวิจัยพบว่า หลังทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังของผลลัพธ์ในการปฏิบัติ ตัว และการปฏิบัติตัวด้านรับประทานอาหารเค็มและมีเกลือโซเดียม การออกกำลังกาย และการจัดการเกี่ยวกับอารมณ์สูงกว่าก่อน ทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีระดับความดันโลหิตลดลงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This descriptive research aimed to study the relationship between ecological model and pattern of physical activities, of adults living with HIV, through the lifespan. The questionnaire was used for 101 purposive sample. The findings of the study revealed the people living with HIV (PLHIV) as the following:\n1) Able to take medicines at the very good and excellence levels (74.20%).\n2) The waist-hip ratio of both sexes was in normal (54.50%) whereas the mean of 6-minute walk was 376.5 meters.\n3) Able to cope with stigma in terms of ashamed at the highest mean, and family members less treat differently.\n4) The findings of the relationships of variables were as follows;\n4.1 Pain was significate related to the physical activity.\n4.2 Self-efficacy showed positive relationship with physical activity.\n4.3 Pain showed negative relationships with both exercise and physical activity.\n4.4 Environment behavioral setting significantly associated with exercise.\n4.5 The policy characteristics in term of, park and recreation center showed positive relationship with exercise.\n4.6 Depression and pain had negative relationship with physical activity. Stratified by comorbidity, depression significantly relation with physical activity only in patients without hypertension. The significant relationship between pain intensity and physical activity in currently diagnosed with hypertensio", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจด้านนิเวศวิทยา กับรูปแบบกิจกรรม ทางกาย ตลอดช่วงชีวิตของผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 101 คน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 1) สามารถรับประทานยาตามแพทย์สั่งได้ดีมาก-ดีเยี่ยม ร้อยละ 74.20 2) มีกิจกรรมทางกายเฉลี่ย สัปดาห์ละ 4.56 วัน 3) อัตราส่วนเอว/สะโพกเป็นปกติทั้งหญิงและชาย ร้อยละ 54.50 และทดสอบการเดิน 6 นาที ได้ค่าเฉลี่ย 379.70 เมตร 4) การปรับตัวต่อความรู้สึกตราบาปของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการรู้สึกอับอายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และคนในครอบครัวเคย ปฏิบัติต่อตนเองแตกต่างออกไป มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด\nด้านความสัมพันธ์ พบว่า 1) อาการปวดมีนัยสำคัญต่อกิจกรรมทางกาย 2) ประสิทธิผลแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวก กับการออกกำลังกาย 3) อาการปวดมีความสัมพันธ์ทางลบกับทั้งการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย 4) พฤติกรรมด้าน สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการออกกำลังกาย 5) ลักษณะเชิงนโยบาย ได้แก่ สวนสาธารณะ และศูนย์นันทนาการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการออกกำลังกาย 6) อาการซึมเศร้าและอาการปวด มีความสัมพันธ์ทางลบกับกิจกรรมทางกาย อาการซึมเศร้ามีนัยสำคัญต่อกิจกรรมทางกายในผู้ที่ไม่มีความดันโลหิตสูง และระดับความปวดมีนัยสำคัญกับกิจกรรมทางกายใน ภาวะที่มีความดันโลหิตสูง" }
{ "en": "This quasi-experimental research to study the effect of a cognitive behavior therapy program on depression among abused adolescents. The sample group included the abused adolescents who reside at children’s shelters in the central region, aged 15-18 years old; one boy and one girl are selected by simple random sampling from each shelter as the experimental group who received the cognitive behavior therapy program and as the control group who receive normal treatment at 7 shelters. The qualifications of the samples resulted in 30 samples for each group. The tools for this research were 1) the depression evaluation 9Q, 2) the questionnaire asking personal information, experience, and duration of being abused, 3) the cognitive behavior therapy program, and 4) the center for epidemiological studies-depression scale (CES-D) Thai version. The cognitive behavior therapy program had been verified its content, accuracy, clearness, and appropriateness by 3 experts. The depression evaluation 9Q and CES-D Thai version have Cronbach’s Alpha Coefficient at .82 and .86. Data analysis was processed with descriptive statistics, Dependent T-test and Independent T-test.\nAccording to the result, it was found the mean of depression of the experimental group after attending the program is lower than before the experiment with statistical significance (p<.001) and the depression means before and after the program between the experimental group and the control group are different with statistical significance (p<.001), which represents that the program has the effect to decrease depression for abused adolescents.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่ออาการซึมเศร้าของวัยรุ่นที่ถูกทารุณ กรรม กลุ่มตัวอย่างคือ วัยรุ่นที่ถูกทารุณกรรมและเข้าพักอยู่ในสถานสงเคราะห์เด็ก เขตภาคกลาง อายุ 15 – 18 ปี โดยสุ่มอย่างง่าย สถานสงเคราะห์เด็กชายและเด็กหญิงอย่างละ 1 แห่ง เป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรม และเป็น สถานสงเคราะห์เด็กชายและเด็กหญิงอย่างละ 1 แห่ง เป็นกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ จากสถานสงเคราะห์ 7 แห่ง และสุ่ม อย่างง่ายวัยรุ่นที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจากสถานสงเคราะห์กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเข้ากลุ่ม ๆ ละ 30 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินอาการซึมเศร้า 9Q 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประสบการณ์และระยะ เวลาที่ถูกทารุณกรรม 3) โปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรม 4) แบบวัดอาการซึมเศร้า Center for Epidemiological Studies-Depression Scale (CES-D) ฉบับภาษาไทย โดยโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมผ่านการตรวจสอบความตรง เนื้อหา ความถูกต้องชัดเจนของภาษา ความเหมาะสมของกิจกรรมจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบประเมินอาการซึมเศร้า 9Q และ แบบวัดอาการซึมเศร้า CES-D ฉบับภาษาไทยมีค่าเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .82 และ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนา สถิติทดสอบทีชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent t-test) และสถิติทดสอบทีชนิดเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test)\nผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการซึมเศร้าในกลุ่มทดลอง หลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p<.001) และผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนอาการซึมเศร้าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่ม ควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) แสดงว่า โปรแกรมมีประสิทธิผลในการช่วยลดอาการซึมเศร้าให้กับ วัยรุ่นที่ถูกทารุณกรรมได้" }
{ "en": "The study was a quasi - experimental research which aimed at investing a development of attention game for primary school students. The subjects were 60 students which were obtained from the selection with an Attention Network Test (ANT). Random assignment was used to assign the samples into the experimental group and the control group, with 30 subjects in each group. The instruments used were an Attention Network Test: ANT, and an attention game developed by the researcher based on the concept of Attentional network and Bloom’s Taxonomy. There were 10 sessions in the experiment, each session last for 50 minutes, for a total of four weeks. The experiment was divided into three phrases-before the experiment, after the experiment, and the follow-up period. Data were analyzed using the repeated measures analysis of variance: one between-subjects variable and one within-subjects variable When differences were detected, the Bonferroni procedure was employed. The findings revealed that.\n1. After the experiment and the follow up after 3 weeks the primary school students in the experimental group had less total errors than those of the control subjects with statistical significance at .05 level.\n2. After the experiment and after the follow up the experimental subjects had less total errors before the experiment with statistical significance at .05 level.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการใช้เกมเสริมสร้างความตั้งใจจดจ่อในนักเรียน ชั้นประถมศึกษา จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกด้วยการทดสอบเครือข่ายความตั้งใจจดจ่อ ผู้วิจัยพิจารณาจากค่าความผิดพลาดของ การตอบสนอง สุ่มขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มเข้ากลุ่มการทดลอง โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยใชก้ ารจับคคู่ ะแนนความผิดพลาดของการตอบสนองจากการทดสอบเครือข่ายความตั้งใจจดจ่อ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ แบบทดสอบเครือข่ายความตั้งใจจดจ่อ และเกมเสริมสร้างความตั้งใจจดจ่อ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามทฤษฎีเครือข่ายความตั้งใจจดจ่อ ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ของเบนจามิน บลูม จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยแบ่งการทดลองออก เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบวัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม เมื่อพบความแตกต่าง ทำการทดสอบด้วยวิธีทดสอบรายคู่ แบบบอนเฟอรอนนี ผลการวิจัยพบว่า\n1. หลังเสร็จสิ้นการทดลอง และหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 3 สัปดาห์ นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับเกมเสริมสร้างความตั้งใจ จดจ่อ มีค่าความผิดพลาดของการตอบสนองน้อยกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับเกมเสริมสร้างความตั้งใจจดจ่อ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05\n2. หลังเสร็จสิ้นการทดลอง และหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 3 สัปดาห์ นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าความผิดพลาดของการตอบ สนองน้อยกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "            The objectives  of  this  research  were to  study  1)  the public mind of nursing students in Police Nursing College 2) the relationship  between  rearing practice  factor, relationship among friends factor, cultivating the college factor, factor, self efficacy about public mind  and public mind of nursing students in Police Nursing College 3)  the  factors associated  with the  variables  of  rearing practice  factor, relationship among friends factor, cultivating the college factor, factor, self efficacy about public mind  affection  to  the public mind of nursing students in police nursing college. One hundred and sixty students  of  Police Nursing College were stratified random sampling  for  study.  The  research  instrument were demographic data, scales  for rearing practice  factor, relationship among friends factor, cultivating the college factor, factor, self efficacy about public mind and public mind of nursing students in Police Nursing College.  Statistical  methods  used  to  analyze  the  data were  percentage, mean, standard  deviation,  Pearson product -moment correlation  and  multiple regression analysis.\n            The  results  of  study  were as  follows:\n            1.  The  level  of  the  public mind of nursing students in Police Nursing College was    high.\n            2.  There  were  significantly  positive  correlation  between  rearing practice  factor, relationship among friends factor, cultivating the college factor, factor, self efficacy about public mind  and public mind of nursing students in Police Nursing College at .01 level\n            3.  It  were  found  that  the  predictive  factors  affecting  public mind  of nursing students in Police Nursing College were self efficacy about public mind factor at .01 level  rearing practice  factor and cultivating the college factor at .05 level empowerment  at  the percentage  of 25.6\n ", "th": "            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีจิตสาธารณะ ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ 2)  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการอบรมเลี้ยงดู สัมพันธภาพระหว่างเพื่อน การปลูกฝังจากวิทยาลัย การรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับจิตสาธารณะ และ จิตสาธารณะ  ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ 3) ศึกษาปัจจัยด้านการอบรมเลี้ยงดู สัมพันธภาพระหว่างเพื่อน การปลูกฝังจากวิทยาลัย และการรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับจิตสาธารณะ มีผลต่อจิตสาธารณะ ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ปีการศึกษา  2561 ที่ได้รับวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน  160  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป  แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดู  แบบสอบถามเกี่ยวกับสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนแบบสอบถามเกี่ยวกับปลูกฝังจากวิทยาลัย  แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับจิตสาธารณะและแบบสอบถามเกี่ยวกับจิตสาธารณะ  ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วย  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ\n            ผลการวิจัยพบว่า\n            1)ระดับการมีจิตสาธารณะ ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านการอบรมเลี้ยงดู สัมพันธภาพระหว่างเพื่อน การปลูกฝังจากวิทยาลัย และ การรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับจิตสาธารณะ กับจิตสาธารณะของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3) การรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับจิตสาธารณะส่งผลต่อจิตสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01. การอบรมเลี้ยงดู และ การปลูกฝังจากวิทยาลัย ส่งผลต่อจิตสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถร่วมกันทำนายพยากรณ์ได้ร้อยละ 25.6" }
{ "en": "The purpose of this research study aimed to describe experiences of being professional nurses in caring for Arabic patients in a private hospital. The methodology of this research applied on hermeneutic phenomenology by Heidegger. The study participants were 12 professional nurses experiencing in caring for Arabic patients at least 3 years. Data collection was used by in-depth interview along with tape recording and field notes. The data were then transcribed word-by-word and the content was analyzed based on van Manen’s methods. The results could be divided into 2 main themes, as follows: 1) In order to understand patients’ culture. i.1.1) Arabic people were hot-tempered and could be loud, 1.2) Arabic Men had the right of consent for any treatment, 1.3) Having cultures of food sharing, 1.4) Expecting to receive treatment results but not willing to co-operate very well and 1.5) Prioritizing their own beliefs and incorporating them in the treatment in the hospital 2) To care for Arabic patients, nurses needed to be aware i.e. 2.1) Checking evidence for claiming insurance at the embassy, 2.2) Necessarily giving up some activities during the fasting period, 2.3) nurses had to repeat themselves while explaining treatment methods, 2.4) Preparing female patients to get ready before each doctor visit and 2.5) Be treated like being at home so the caring procedures needed to be adjusted.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยอาหรับ โรงพยาบาล เอกชนแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฎการณ์วิทยาการตีความตาม ผู้ให้ข้อมูลคือ พยาบาลวิชาชีพที่มี ประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยอาหรับตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จำนวน 12 รายที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธี การของ van Manen ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลักดังนี้ 1. ศึกษาวัฒนธรรมทำให้เข้าถึงผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ ประกอบ ด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 1.1) ชาวอาหรับอารมณ์ร้อน พูดเสียงดัง 1.2) ผู้ชายมีอำนาจตัดสินใจยินยอมการรักษา 1.3) วัฒนธรรมการ แบ่งปันอาหาร 1.4) คาดหวังผลการรักษา แต่ไม่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตาม และ 1.5) นำความเชื่อด้านสุขภาพของตนมาใช้ร่วมกับ การรักษาของโรงพยาบาล 2. ลักษณะเฉพาะในการดูแลผู้ป่วยอาหรับ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 2.1) ตรวจสอบหลักฐานสิทธิ ในการรักษาเพื่อเบิกจ่ายกับสถานทูต 2.2) งดกิจกรรมหลายอย่าง หากผู้ป่วยถือศีลอด 2.3) อธิบายแผนการรักษาต้องเน้นย้ำ พูดซ้ำๆ หลายครั้ง 2.4) เตรียมความพร้อมผู้ป่วยหญิงก่อนแพทย์เข้าเยี่ยม และ 2.5) การพยาบาลต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับชีวิต ประจำวันของผู้ป่วย" }
{ "en": "The purpose was to develop the Model of prevention of the depressive disorder in elderlies in Public Health Region 5. The research was Research and Development program. Example group were elderlies upper 60 years. The instruments were the assessments of stress, automatic negative thoughts, and happiness in the elderly lives. The statistics were mean ( ), Standard Deviation (S.D.), and dependent t-test. The results revealed that the factors of the prevention of the depressive disorder influenced the depressive condition has a statistically significant difference at the level of .05 The processes were as follows: 1) Stress management, self-discipline and community management, and self-understanding, 2) Self-training of breath, 3) Detaching from self-awareness, thoughts, emotions, and cravings, 4) Being conscious and deleting negative thoughts in a short while, 5) Consciousness training along with movement by doing a yoga, and 6) Adjusting communication, compassion, forgiveness, and self-love. The appropriateness assessment of the program was at the high level( x̄ = 4.06, S.D = 0.14), and possibility assessment was at the highest level ( x̄  = 4.20, S.D. = 0.11). After using program, happiness,stress and negative thoughts of elderlies in the experimental group had a statistically significant difference at the level of .05 Also, the results recommended that the program can be applied as a guideline for the prevention and can foster good health that to be the elderlies in the future appropriately.", "th": "การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 เป็นงานวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุ60ปีขึ้นไป เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามความสุข ความเครียด ความคิดอัตโนมัติด้านลบและ ภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการ ป้องกันภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิตที่ระดับ .05 กิจกรรมที่พัฒนามี 6 กิจกรรม 1)การจัดการความเครียดและเข้าใจตนเอง 2) สติการรับรู้ลมหายใจ 3) สติปล่อยวางความคิดการรับรู้ความรู้สึก 4) สติรู้ตัวกระตุก ความคิดลบได้เร็ว 5) สติการเคลื่อนไหวโยคะ และ 6)สติการสื่อสาร สติเมตตาให้อภัยและรักตนเอง ประเมินความเหมาะสมโดยผู้ เชี่ยวชาญพบว่า เหมาะสมมาก ( x̄ = 4.06, S.D. = 0.14) ประเมินความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.20, S.D. = 0.11) ผล การวิจัยหลังทดลอง พบว่าผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง มีความสุขเพิ่มขึ้น ความเครียด ความคิดอัตโนมัติด้านลบและภาวะซึมเศร้าลดลง แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 กิจกรรมที่พัฒนานี้สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อการพัฒนาและยก ระดับคุณภาพจิตและพัฒนาให้เป็นรูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่มีคุณค่าของผู้สูงอายุและ ผู้เตรียมพร้อมเป็นผู้สูงอายุในอนาคตอย่างมีคุณภาพ" }
{ "en": "This research aimed to develop and study the effects of nursing practice guidelines among spine surgery patients in Chonburi Hospital that applied the concepts of practice development of the National Research Council of Australia. The samples were the perioperative nurses and the spine surgery patients. The data were analized using descriptive statistics and dependent t-test.\nThe results showed that NPG includes three parts; Pre-Operative nursing, Intra-Operative nursing and Post-operative nursing. After following NPG, perioperative nurses have been positively in knowledge and working skills. These changes were significantly higher than before and satisfied in NPG at high level ( x̄ = 4.60, SD =0.18). Spine surgery patients satisfied at highest level ( x̄ = 4.83, SD = 0.21). Complication was not found in spine surgery.", "th": "การวิจัยและพัฒนานี้ เป็นการพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง โรงพยาบาล ชลบุรี โดยประยุกต์แนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติของสภาการวิจัยแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ห้องผ่าตัด และผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t-test\nผลการศึกษาพบว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง ประกอบด้วย 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ การพยาบาล ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด หลังการทดลองใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง พบว่าพยาบาล ห้องผ่าตัดที่เข้ารับการอบรมการใช้แนวปฏิบัติมีความรู้และทักษะการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองใช้แนวปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) มีความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.60, SD = 0.18) ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.83, SD = 0.21) และไม่พบภาวะแทรกซ้อน ในการปฏิบัติงาน\nข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะรายโรคให้กับพยาบาลห้องผ่าตัดเพื่อให้มีความรู้ และทักษะใน การดูแลผู้ป่วย" }
{ "en": "This is quasi-experiment research is to study the effect of discharge planning program on caregiver’s caring behavior of children with congenital heart disease (CHD) after heart surgery. Subjects were 44 caregivers of children with first-time after CHD surgery, age 1 to 5 years old and were admitted at the two tertiary level hospitals. Subjects were assigned to the control and the experimental groups by matching caregivers’ age, educational level, and family income and were equally distributed among the hospitals. They were 22 subjects in each group. The control group received routine nursing care, while the experimental group received the discharge planning program for children with CHD after heart surgery. Research instruments included the discharge planning program for children with CHD after heart surgery, VDO, the parental guidebook of caring behavior of children with CHD after heart surgery, the questionnaires of caregiver’s caring behavior of children with CHD after heart surgery and a measurement of knowledge on caregiver’s caring children with CHD after heart surgery. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.\nThe research finding was that mean of caregiver’s caring behavior of children with CHD after heart surgery caregivers in the experimental group were higher than that in the control groups at posttest at the level of .05\nThe research provides innovative nursing intervention for caregiver’s preparation in caring for the children with CHD after heart surgery at home. The finding suggests that VDO, parental guidebook, and telephone follow-up intervention promote caregiver’s ability and may prevent complication that may occur at home. And nursing administrators can apply this discharge planning program used in nursing quality development plans for training nurses can use this programs for children with congenital heart disease after heart surgery.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของ ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดครั้งแรก อายุ 1-5 ปี และเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 44 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มละ 22 ราย โดยการจับคู่ให้มี อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ในครอบครัวอยู่ในระดับเดียวกัน และมีจำนวนเท่ากันในทั้ง 2 โรงพยาบาล กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายเด็กหัวใจพิการแต่กำเนิด หลังได้รับการผ่าตัด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายเด็ก หัวใจพิการแต่กำเนิด หลังได้รับการผ่าตัด, สื่อวิดิทัศน์, คู่มือการดูแลเด็กหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดที่บ้าน แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็ก หัวใจพิการแต่กำเนิด และแบบวัดความรู้เรื่องการดูแลเด็กหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที\nผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กหัวใจพิการแต่กำเนิด หลังได้รับการผ่าตัด กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\nผลการวิจัยให้นวัตกรรมการพยาบาลในการวางแผนการจำหน่าย สำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนการจำหน่ายกลับ บ้านให้แก่ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดได้ เพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นที่บ้าน ด้านการบริหารพยาบาลผู้บริหารสามารถนำโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายนี้ ไปใช้ในแผนการพัฒนาคุณภาพ การพยาบาล จัดอบรมการใช้โปรแกรมฯ กับพยาบาลประจำการ เพื่อการเตรียมจำหน่ายเด็กกลุ่มนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น" }
{ "en": "The research aimed to study Effectiveness of learning and teaching by E-learning lessons for Bachelor of Public Health Program students Department of Dental Public Health Sirindhorn Public Health Chonburi Province. The sample of this research were a second- year students. Who were studying Bachelor of Public Health Program of the academic year 2019 the total of 31 samples. By using E-learning lessons in first aid The study period was 6 months. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and comparison of results within the experimental group. Statistics using Paired samples t - test.\nThe results of the research showed that 1) The samples after the intervention an average knowledge scores higher than before intervention (p < .05) 2) The samples groups after the intervention an average more behavior scores higher than before intervention. (p < .05) 3) The samples group after the intervention an average more mean score on satisfaction with E-learning lessons higher than before intervention (p < .05)", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียน E-learning สำหรับนักศึกษาหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้ง นี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข จำนวน 31 คน โดยใช้บทเรียน E-learning ในวิชาการปฐมพยาบาล ใช้ระยะเวลาศึกษา 6 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบผลภายในกลุ่มทดลองสถิติที่ใช้ Paired samples t - test\nผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างหลังใช้กิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้มากกว่าก่อนใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) กลุ่มตัวอย่างหลังใช้กิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมมากกว่าก่อนใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มตัวอย่างหลังใช้กิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อบทเรียน E-learning มากกว่าก่อนใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of the simulation game of intravenous injection via normal saline lock (NSS lock) on nursing students’ performance skills of intravenous injection, and to evaluate the nursing students’ perception of simulation game. The participants were 52 third year nursing students who were with no experience of intravenous injection. The research instruments were simulation game, performance skill assessment form, and perception questionnaire. They showed a demonstration of intravenous injection via NSS lock. Then they learned by playing the simulation game and completed the perception questionnaire of simulation game. After that, they showed a demonstration of and after learning were evaluated by research assistants. Descriptive statistic, Wilcoxon signed ranks test, was used to analyze the data.\nThe results showed that the mean scores of posttest were significantly higher than that of pretest (p< .01). After learning, the mean of times’ period for practice was significantly lower than that of before learning (p<.01). The score was divided into two steps that were instrument preparation and practice. For step of practice, the mean scores of posttest were significantly higher than that of pretest (p<.01), whereas there were not significant difference between mean scores of pretest and posttest in the step of instrument preparation (p>.05). The mean scores of students’ perception of simulation game was 4.49-4.87.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเกมจำลองสถานการณ์เสมือนจริง เรื่องการฉีดยาผ่านทางชุดอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Normal saline lock (NSS Lock) ต่อทักษะการปฏิบัติการฉีดยาของนักศึกษาพยาบาล และความพึงพอใจต่อเกมจำลอง เสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการฉีดยากับผู้ป่วย จำนวน 52 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เกมจำลองเสมือนจริง แบบประเมินทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยนักศึกษาทุกคนจะต้อง สาธิตการปฏิบัติการฉีดยา หลังจากนั้นนักศึกษาจะได้เรียนโดยใช้เกมจำลองสถานการณ์เสมือนจริง และตอบแบบสอบถามความพึง พอใจต่อเกมจำลองสถานการณ์เสมือนจริง และกลับมาสาธิตการปฏิบัติการฉีดยาอีกครั้ง โดยมีผู้ช่วยนักวิจัยเป็นผู้สังเกตและบันทึก ผลการปฏิบัติของนักศึกษาทั้งก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติวิลคอกซัน\nผลการวิจัยพบว่าคะแนนการปฏิบัติหลังเรียน (23.48+1.65) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน (26.13+1.6) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (P<.01) หลังเรียนใช้เวลาในการปฏิบัติน้อยกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.01) เมื่อแยกออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์และขั้นตอนการปฏิบัติ พบว่าคะแนนการขั้นตอนการปฏิบัติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิต (P<.01) แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติในขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์ (P>.05) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ใน ช่วง 4.49- 4.87" }
{ "en": "The objectives of this research were: 1) to study the factors affecting the acceptance of parents having transgender children, and 2) to study the results of the assimilative integrate family counseling to enhance the acceptance of parents having transgender children. The research was divided into 2 processes. 1) The assessment of factors affecting the acceptance of parents having transgender children was collected. The sample size was 400 the parents having transgender children studying in secondary school, years 1st - 3rd, under Ministry of Education in Nonthaburi, Academic Year B.E. 2560. The instrument was the assessment of factors affecting the acceptance of parents having transgender children questionnaires, consisting of parental awareness, social influence, expectations of parents, parental characteristics and family relationships. The data were analyzed using basic statistics and Model MIMIC analysis. 2) Used the theory-based integrated family counseling program to enhance the acceptance of parents having transgender children was conducted. The sample size 20 families, including the parents having transgender children who had a lower score of the questionnaire than 3.50. These sample was divided into 2 groups, consisting of 10 families on experimental groups and 10 families on control groups. The experimental groups were provided 90 minutes of the theory-based integrated family counseling program in 12 times. The factors affecting the acceptance of parents having transgender children questionnaire was re-tested to study the results of the theory-based integrated family counseling. The data were analyzed using One-Way ANOVA Repeated Measurement.\nThe results of this research showed that the factors that affected the acceptance of parents having transgender children consisted of parental features, parental awareness, social influence, and family relationships. The coefficient of influences was 0.44, 0.30, 0.22 and 0.18 respectively. The acceptance of parents having transgender children after the tracking period of the experimental group had a higher score than the control group in the post-trial period at the .05 level significant.", "th": "การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับของพ่อแม่ที่บุตรมีพฤติกรรมข้ามเพศ 2) เพื่อ ศึกษาผลการเสริมสร้างการยอมรับของพ่อแม่ที่บุตรมีพฤติกรรมข้ามเพศโดยใช้โปรแกรมการบูรณาการปรึกษาครอบครัวโดยมีทฤษฎี โครงสร้างครอบครัวเป็นฐาน การวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่1 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับของพ่อแม่ที่บุตรมี พฤติกรรมข้ามเพศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พ่อหรือแม่ที่บุตรมีพฤติกรรมข้ามเพศที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาที่ 1-3 โรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนนทบุรี ปีการศึกษา 2560 จำนวน 400 คน โดยใช้แบบประเมินปัจจัยที่ส่งผลต่อ การยอมรับของพ่อแม่ที่บุตรมีพฤติกรรมข้ามเพศ ประกอบด้วย ด้านการรับรู้ของพ่อแม่ อิทธิพลทางสังคม ความคาดหวังของพ่อแม่ คุณลักษณะของพ่อแม่ สัมพันธภาพในครอบครัว ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ Model MIMIC ขั้นตอนที่ 2 การใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาครอบครัวโดยมีทฤษฎีเป็นฐานในการเสริมสร้างการยอมรับของพ่อแม่ที่บุตรมีพฤติกรรมข้าม เพศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พ่อหรือแม่ที่มีคะแนนจากแบบวัดการยอมรับของพ่อแม่น้อยกว่า 3.50 ลงไป จำนวน 20 ครอบครัว แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 10 ครอบครัว โดยให้การปรึกษา จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที หลังจากนั้นประเมิน การยอมรับโดยใช้แบบแบบวัดการยอมรับของพ่อแม่ที่บุตรมีพฤติกรรมข้ามเพศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบความแปรปรวน แบบมีการวัดซ้ำ (One-Way ANOVA Repeated Measurement)\nผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับของพ่อแม่ที่บุตรมีพฤติกรรมข้ามเพศได้แก่ คุณลักษณะพ่อแม่ การรับรู้ของพ่อแม่ อิทธิพลของสังคม และความสัมพันธ์ในครอบครัว มีค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ 0.44, 0.30, 0.22, 0.18 ตามลำดับ และผลการปรึกษาครอบครัวพบว่าการยอมรับของพ่อแม่ที่บุตรมีพฤติกรรมข้ามเพศในระยะหลังทดลองและติดตาม ผลมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The birth of a child brings about major changes in a family. It can trigger a family crisis or even a life crisis for a first-time parent who is adapting to the new role. The transition to parenthood is more difficult for teenage parents, who face difficulties with adapting to child care as well as with balancing parenting and work. They have to balance between the parent role and teenage role as the same time. Teenage parenthood is a developmental and situational transition. Nursing are interested in transition to parenthood due to they work close to the family. Families play a strong role in the development of children’s health. Nurses can apply transition theory by analysis and nursing care plan. By doing this, will help the teenagers becoming a parent smoothly.", "th": "การเกิดของบุตรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในครอบครัวและเป็นสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดภาวะวิกฤติของครอบครัว หรือเกิดภาวะวิกฤติในชีวิต สำหรับคนที่เป็นพ่อแม่ในครั้งแรกที่ต้องปรับตัวเพื่อรับกับบทบาทใหม่ การเปลี่ยนผ่านในการเป็นพ่อแม่ เป็นการยากสำหรับพ่อแม่วัยรุ่นที่ต้องเผชิญกับการปรับตัวในการดูแลเด็กเช่นเดียวกับการสร้างสมดุลในการเลี้ยงลูกและการทำงาน เนื่องจากต้องมีการปรับตัวเพื่อรับกับบทบาทพ่อแม่และบทบาทในการเป็นวัยรุ่น การเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นพ่อแม่เป็นการเปลี่ยนผ่าน ตามพัฒนาการ (developmental transition) และเป็นการเปลี่ยนผ่านตามสถานการณ์ (situational transition) ทำให้มีประเด็น ที่น่าสนใจมากขึ้นโดยเฉพาะในการพยาบาลเนื่องจากทำงานใกล้ชิดกับครอบครัวและพัฒนาทักษะช่วยให้ครอบครัวมีบทบาท ที่เข้มแข็ง ในการพัฒนาสุขภาพของเด็ก พยาบาลสามารถนำแนวคิดของทฤษฏีการเปลี่ยนผ่านไปประยุกต์ใช้ในการดูแลพ่อแม่วัยรุ่น โดยการวิเคราะห์ วางแผนการพยาบาล เพื่อเตรียมความพร้อมของพ่อแม่วัยรุ่นและครอบครัวในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเป็น พ่อแม่วัยรุ่นได้อย่างราบรื่น" }
{ "en": "The globalization era lead borderless data linkages to easy accessibility to digital technology and information. This enhances the majority of people get wider and deeper knowledge, and have higher demands and expectations on healthcare services. Healthcare personnel should contemplate their own cognition and operational processes to sustain quality along with patient safety. Therefore, to develop nursing personnel competencies aligned with this change is extremely essential. Head nurses have to do supervise how to practice 2P safety basis (Patient and Personnel Safety) which is the new concept corresponding to policies of Ministry of Public Health to drive both patient and personnel safeties. This article intends to delineate nursing supervision on clinical safety with the 2P principle through short words as “SIMPLE” so that primary nursing managers could figure out and do further application.", "th": "ยุคโลกาภิวัฒน์ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลแบบไร้พรมแดนจากการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศที่สะดวก ทำให้ คนส่วนใหญ่มีความรู้ที่กว้างและรู้ในเชิงลึกมากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการและความคาดหวังระดับสูงในด้านการรับบริการสุขภาพ ผู้ให้บริการสุขภาพต้องไตร่ตรองความรู้และกระบวนการปฏิบัติงานต้องคงไว้ซึ่งคุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้ป่วย ดังนั้นการพัฒนา สมรรถนะของพยาบาลให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงจึงจำเป็นอย่างยิ่ง หัวหน้าหอผู้ป่วยจึงต้องนิเทศวิธีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความ ปลอดภัยในคลินิกด้วยหลัก 2P (Patient and Personnel Safety) ซึ่งเป็นแนวใหม่ที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อที่มุ่งให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการสุขภาพ บทความนี้จึงมุ่งอธิบายการนิเทศงานพยาบาลด้านความปลอดภัยใน คลินิกด้วยหลัก 2P โดยอธิบายขั้นตอนการนิเทศตามตัวอักษรย่อ “SIMPLE” เพื่อให้ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นได้ทำความเข้าใจ และนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป" }
{ "en": "Palliative care is a special care for each patient that it is not specific formula in each nursing care. The nurses who care patients need to use the skill both in art and science by using integrations of western medicine and alternative medicine. Moreover, the nurses should consider in faith, hope, believe, life history and context of patient and family for appropriate of each patient that depend on the right or living will to choose when the end of life is coming. Palliative care nursing for Buddhist Monk illness following dharma discipline (Tripitaka) is an importance. If the monks have illness in the incurable disease and the perception of monks depend on the period of time to be the monk life, when they get sick and they need palliative care with the condition of no relative support, so it is an important role of nurses in caring following the right in welfare of monk patient. Hence, palliative care with the monk context following the dharma discipline (Tripitaka) has the meaning and it has an important to increase quality of life of the illness of the monks especially in psychological aspect in dharma practice following the wish of monk. That leads to set the nursing activities of good palliative care for the monks.", "th": "การดูแลแบบประคับประคองเป็นการดูแลที่มีความจำเพาะแต่ละกรณีไม่มีสูตรสำเร็จ พยาบาลผู้ดูแลจึงต้องใช้ทักษะทั้ง ศาสตร์และศิลป์ ประยุกต์ใช้ทั้งการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือก อีกทั้งยังต้องพิจารณาศรัทธา ความหวัง ความเชื่อ ปูมหลังและบริบทของผู้ป่วยและญาติด้วย เพื่อให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายโดยอยู่บนพื้นฐานของการรับรองสิทธิของผู้ป่วย ในการตัดสินใจที่จะได้รับการตอบสนองตามความปรารถนาครั้งสุดท้าย การพยาบาลแบบประคับประคองสำหรับพระสงฆ์อาพาธภายใต้หลักพระธรรมวินัยนั้นมีความสำคัญเมื่อพระสงฆ์อาพาธ ด้วยโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด เนื่องจากพระสงฆ์นั้นมีการบวชเรียนแตกต่างกัน บางรูปบวชเรียนนานห่างจากญาติเป็นเวลานาน ก็ไม่มีญาติคอยดูแล เมื่อความเจ็บป่วยที่ต้องการดูแลแบบประคับประคองจึงเป็นบทบาทสำคัญของพยาบาลที่ต้องให้การดูแล และตามสิทธิการรักษาพระสงฆ์อาพาธ ดังนั้นเพื่อให้การดูแลแบบประคับประคองเกิดขึ้นในบริบทของพระสงฆ์ การดูแลภายใต้ หลักพระธรรมวินัยจึงมีความหมายและความสำคัญที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิตให้พระอาพาธโดยเฉพาะด้านมิติจิตวิญญาณ เพื่อให้คงไว้ ซึ่งการปฏิบัติกิจของสงฆ์ได้อย่างถูกต้องตามความปรารถนาของพระอาพาธ อันนำไปสู่กิจกรรมการพยาบาลแบบประคับประคองที่ ดีสำหรับพระสงฆ์ต่อไป" }
{ "en": "Late school-aged children are considers as a fundamental human resources that will lead prosperity and development to the nation. However, due to the present rapid advancement of technology which has significantly changed the lifestyles of the population, the risks of metabolic syndrome and non-communicable diseases has significantly increased in children, especially late school-aged which could lead to chronic illnesses. Late school-aged children are still learning to regulate and balance their lives therefore the matter has became a serious concern for the ministry of public health. Education should aim to develop and promote correct understanding, having right attitude toword having continuum health behavior, increase their potential to self-health in order to adjust healthy eating habits, exercise, rest, and stress management in order to prevent occurring of metabolic syndrome as well as ability to develop their healthy and having good quality of life.", "th": "เด็กวัยเรียนตอนปลาย เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของประเทศ เพราะจะเติบโตเป็นวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ พัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองในอนาคต แต่ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนวิถีดำเนินชีวิตประจำวันอย่างชัดเจนและรวดเร็ว ทำให้แนวโน้มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมเพิ่มขึ้น อันเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กวัยเรียนตอนปลายที่ยังไม่สามารถจัดการตนเองในการดูแลสุขภาพให้สมดุลได้ นับเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศ อย่างมาก ดังนั้น การจัดการศึกษาจะต้องพัฒนาและส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง มีเจตคติที่ดี นำสู่การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อเนื่อง และมีศักยภาพในการจัดการตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองให้เหมาะสมกับวัยทั้งด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการจัดการความเครียด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมได้ตั้งแต่เด็กวัยเรียนตอนปลาย เติบโตเป็นประชาชนพลเมืองที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป" }
{ "en": "Clinical supervision is important to nursing quality that it is a collaborative process between supervisor and supervisee to develop professional practice, responsibility, and learning. Nowadays, clinical supervision in a nursing practicum could be done by clinical telesupervision through communication by using technologies, especially for graduate students. Clinical telesupervision is appropriate for remote areas or in the limited condition of traveling to confrontation or closed contact. This article proposes the concepts and guidelines of clinical telesupervision with a case study of the clinical telesupervision by using video call and face-to-face learning in a family nursing practicum at homes for graduate students. The supervision evaluation illustrated that the performance of family nursing at home was improved. The graduate students satisfied with the clinical telesupervision by using video call and face-to-face learning at the highest level. The clinical telesupervision could be applied for graduate nursing students or allied health sciences who practice in the family care at home.", "th": "การนิเทศทางคลินิกมีความสำคัญต่อคุณภาพการพยาบาล ซึ่งเป็นกระบวนการความร่วมมือระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศในการพัฒนาการปฏิบัติเชิงวิชาชีพ ความรับผิดชอบ สมรรถนะ และการเรียนรู้ ในปัจจุบันนี้การนิเทศทางคลินิกในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล สามารถทำการนิเทศทางคลินิกแบบทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสื่อสารได้ โดยเฉพาะการนิเทศการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลระดับบัณฑิตศึกษา ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรืออยู่ในสถานการณ์ที่มีอุปสรรคต่อการเดินทางมาเผชิญหน้าหรือมาใกล้ชิดกัน บทความนี้จึงนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดและแนวทางการนิเทศทางคลินิกแบบทางไกล โดยมีกรณีศึกษาการนิเทศทางคลินิกแบบทางไกลโดยใช้วิดีโอคอลร่วมกับการเผชิญหน้า การประเมินผลการนิเทศพบว่าสมรรถนะการพยาบาลครอบครัวที่บ้านของนักศึกษาพยาบาลระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มมากขึ้น และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการนิเทศทางคลินิกในระดับมากที่สุด วิธีการนิเทศแบบนี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการนิเทศทางคลินิกแก่นักศึกษาพยาบาลหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพระดับบัณฑิตศึกษาที่มีการฝึกปฏิบัติการดูแลครอบครัวที่บ้าน" }
{ "en": "At the end of 2019, an epidemic occurred in China which is caused by a new strain of the corona virus 2019. This disease has flu-like symptoms but with more severe symptoms, and easier to spread. Some patients may have severe pneumonia to the death. And then the disease spread quickly. In every country in the world, many people are infected and dying. Thailand is also affected by this disease. The government announced that educational institutions at all levels should stop education to prevent the spread of the disease. Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Air Force Academy as an educational institution under the Royal Thai Air Force is responsible for providing education to air cadets and sees the importance of safety in the health of students, therefore have guidelines for education that are not at risk of spreading this disease, And to be a guideline for education in the event of an epidemic in the future. By studying the theory of learner-centered education, and designed 3 types of education which are studying in the normal room by dividing area between the instructor and learners, studying in the spaced room of the learners, and learning online. The result is that each type of academic achievement has similar results and the satisfaction assessment of learners on online learning received the highest satisfaction of 84 percent.", "th": "เมื่อปลายปี ค.ศ.2019 ได้เกิดโรคระบาดขึ้นในประเทศจีนซึ่งโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โรคนี้มีอาการคล้ายไข้หวัด แต่มีอาการรุนแรงกว่า แพร่ได้ง่ายกว่า ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปอดอักเสบอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และเวลาต่อมาโรคนี้ได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วในหลายประเทศทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากโรคนี้เช่นเดียวกัน รัฐบาลได้ประกาศให้สถานศึกษาทุกระดับงดให้การศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ในฐานะเป็นสถาบันการศึกษาในสังกัดกองทัพอากาศ มีหน้าที่จัดการศึกษาให้แก่นักเรียนนายเรืออากาศ ได้เห็นความสำคัญของความปลอดภัยในด้านสุขภาพของนักเรียน จึงได้มีแนวทางการจัดการศึกษาที่ไม่เสี่ยงต่อการแพร่ของเชื้อโรคนี้ เพื่อให้นักเรียนสามารถทำการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามกรอบเวลา ตามความมุ่งหมายของทางราชการ และเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาในกรณีเกิดเหตุการณ์โรคระบาดขึ้นในอนาคตได้ โดยทำการศึกษาทฤษฏีการการศึกษาแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และได้ออกแบบรูปแบบการศึกษาเป็น 3 รูปแบบ คือ เรียนในห้องปกติแบ่งพื้นที่ผู้สอนและผู้เรียน, เรียนในห้องแบบเว้นระยะห่างของผู้เรียน, และเรียนแบบออนไลน์ ผลที่ได้คือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาแต่ละรูปแบบมีผลใกล้เคียงกัน และผลประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนแบบออนไลน์ได้ค่าความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 84" }
{ "en": "The competency of the Royal Thai Army nurses including the ability to provide nursing care in usual situation, disasters and combat fields. Army nurses must provide nursing care that meets professional standards care in both in-hospital and out-of-hospital contexts. The scenario-based training ‘Yok-Phirarak Integrated training Operation’ was initiated in 2014. During phase 1 (2014 - 2016), students were trained how to provide nursing care in mass casualty situations. The training has been continuously developed to phase 2 (2017 - 2019) for graduates’ and institutional identities required from the stakeholders. The current program composes of 4-situation training; (1) conventional warfare, (2) unconventional warfare, (3) peacekeeping operation, and (4) humanitarian assistance and disaster relief mission. The trainees have to integrate both nursing and military knowledge to manage health problems of virtual patients in all 4-scenario-based training. The physical, mentality and knowledge preparation will be provided for 1-2 months before the training starts, so that the trainees can perform nursing care for various types of injuries amidst stressed situations and limited medical resources. Implication The scenario-based training is useful for developing the competency of nursing students to manage situations which require knowledge integration, experience and appropriate decision making. Furthermore, the training will facilitate the trainees to improve leadership skill, critical thinking and gain more confidence to perform nursing care in future missions.", "th": "สมรรถนะของพยาบาลทหารบก ที่สามารถให้การพยาบาลทั้งในยามปกติ เมื่อเกิดภัยพิบัติ และยามสงคราม ไม่ว่าจะ ปฏิบัติงานภายในหรือนอกโรงพยาบาล นอกเหนือจากทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกได้เริ่มจัดการฝึก บูรณาการปฏิบัติการหยกพิรารักษ์ โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงเป็นฐาน (scenario-based training) ขึ้น โดยระยะที่ 1 (ปี พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2559) เน้นการฝึกบทบาทพยาบาลในสถานการณ์อุบัติภัยหมู่และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ได้ทบทวนวรรณกรรมและรวบรวมความต้องการบัณฑิตจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงพัฒนาการฝึกระยะที่ 2 (ปี พ.ศ.2560 - พ.ศ. 2562) ฝึกปฏิบัติ 4 สถานการณ์ 1) รบตามแบบ 2) รบไม่ตามแบบ 3) ภารกิจการรักษาสันติภาพ และ 4) ภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ โดยบูรณาการศาสตร์การพยาบาลร่วมกับความรู้ทางทหาร ในการจัดการปัญหาสุขภาพผู้ป่วยสมมติและจัดการสถานการณ์เสมือนจริง โดยเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจและความรู้ ผู้รับการฝึก 1-2 เดือนก่อนฝึก เพื่อพร้อมให้การดูแลช่วยเหลือผู้บาดเจ็บท่ามกลางสถานการณ์ที่กดดันและทรัพยากรทางการแพทย์ มีจำกัด การนำไปใช้ประโยชน์ การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงสามารถนำมาพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในสถานการณ์ ที่กำหนดให้บูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้ ประสบการณ์และตัดสินใจปฏิบัติให้เหมาะสม ยังพัฒนาความเป็นผู้นำ การคิดอย่าง มีวิจารณญาณ ทำให้มั่นใจในการปฏิบัติภารกิจในอนาคตซึ่งเป็นอัตลักษณ์บัณฑิตพยาบาลทหารบก" }
{ "en": "Cancer has been widely accepted as a serious disease. The adolescent with cancer requires long-term treatments that are considered as an invasive treatment. These result in the suffering of the adolescent with cancer inevitably caused by both the disease and side-effect of the treatments they received. However, the treatments they received cannot be confirmed whether the disease will be cured. On the other hand, the adolescent with cancer must face uncertainty events in life due to exacerbations and progression of cancer. These result in the adolescent with cancer feel hopelessness, lacking encouragement and goals in life, low self-esteem, as well as hesitation and doubtfulness in the spirituality they respect. These reflect the impact on the spiritual well-being of the adolescent with cancer that potentially may produce the intensity of their illness. Since the spiritual dimension is the main axis connecting all dimensions to maintain live homeostasis which affects the existence of a person with meaning and well-being. This article aims to provide the guideline of holistic nursing care to develop spiritual well-being in the adolescent with cancer. The contents compose of the definition of spirituality, spiritual well-being, spiritual well-being in the adolescent with cancer, attributes, assessment, the role of nurses to develop spiritual well-being in the adolescent with cancer, and case study and utilization.", "th": "โรคมะเร็งเป็นโรคที่รุนแรง ร้ายแรง เด็กป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งจำเป็นต้องรับการรักษาอย่างยาวนานอีกทั้งรูปแบบการรักษา ที่มีลักษณะคุกคาม ส่งผลให้เด็กป่วยวัยรุ่นต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานจากโรคและผลข้างเคียงของการรักษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ การรักษาที่ได้รับไม่อาจยืนยันว่าโรคที่เป็นอยู่จะหายขาด ในทางกลับกันเด็กป่วยวัยรุ่นต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในชีวิตจาก การกำเริบและอาการแสดงที่ก้าวหน้ามากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กป่วยวัยรุ่นสูญเสียความหวัง ขาดกำลังใจและเป้าหมายในการดำเนิน ชีวิต กระทบต่อการรับรู้คุณค่าในตนเอง รวมทั้งเกิดความลังเลไม่แน่ใจในที่พึ่งพิงทางจิตวิญญาณที่ตนเคารพนับถือ สิ่งนี้สะท้อนถึง ผลกระทบต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณซึ่งอาจทำให้การเจ็บป่วยที่เป็นอยู่รุนแรงมากขึ้นและอาจเสียชีวิต เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากจิต วิญญาณเป็นเสมือนแกนหลักเชื่อมโยงทุกมิติเพื่อรักษาสมดุลของชีวิต ซึ่งส่งผลต่อการดำรงอยู่ของบุคคลอย่างมีความหมายและความ ผาสุก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางการพยาบาลแบบองค์รวมเพื่อพัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณในเด็กป่วยวัยรุ่นโรค มะเร็ง เนื้อหาประกอบด้วยความหมายของจิตวิญญาณ ความผาสุกทางจิตวิญญาณ ความผาสุกทางจิตวิญญาณในเด็กป่วยวัยรุ่นโรค มะเร็ง คุณลักษณะ การประเมิน บทบาทของพยาบาลในการพัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณในเด็กป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็ง และกรณี ศึกษาและการนำไปใช้ประโยชน์" }
{ "en": "quasi-experimental study aimed to examine the effectiveness of a health education program for a promoting preventive behavior of tobacco product consumption among primary school female students in Bangkok Metropolitan Based on the theory of planned behavior. The sample was grade 5 students with risk behavior of tobacco product consumption. From two primary schools in Bangkok Metropolitan, Thailand. Participants were selected by simple random sampling to either the experimental group (n = 30) and the compared group (n = 30). The experimental group participated in a health education program for promoting preventive behavior of tobacco product consumption using child-centered with various activities for 5 weeks. The compare group participated in a regular health education class. The instrument in data collection was a questionnaire. Data was analyzed by using Descriptive statistics, dependent t-test, and independent t-test. The result revealed that at post study, perceived attitude toward not - tobacco product consumption, perceived subjective norm to not - tobacco product consumption, perceived behaviors control for not - tobacco product consumption and intention to not - tobacco product consumption in the experimental group showed a greater mean score than the pre-test mean score at .05 significant level. At post-test, only perceived attitude toward not - tobacco product consumption and intention to not - tobacco product consumption mean score in the experimental group was found greater than the comparison group at .05 significant level", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกัน การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบของนักเรียนหญิงระดับชั้นประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรม ตามแผน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนหญิงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีพฤติกรรรมเสี่ยงต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ จาก 2 โรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธี การสุ่มอย่างง่าย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ ประกอบด้วย การอภิปราย การระดมสมอง การเล่นเกม การเรียนรู้จากตัวแบบจริง การให้คำมั่นสัญญา การแสดงบทบาทสมมุติเพื่อเสริมสร้างเจตคติ การคล้อย ตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ในการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง ความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมป้องกันการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นระยะ 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 60 นาที ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนสุขศึกษา เรื่องโทษ พิษภัยของการบริโภคยาสูบ ตามหลักสูตรสถานศึกษาตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent - Sample t-test และ Independent - Sample t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยเจตคติ ในการไม่บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงที่มีอิทธิพล ในการไม่บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมไม่บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ และความตั้งใจใฝ่ พฤติกรรมป้องกัน การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบที่สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มหลังการทดลอง พบว่า มีเพียงคะแนนเฉลี่ยเจตคติในการไม่บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบและความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมป้องกัน การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบของกลุ่มทดลองที่สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This research purpose to study factors that influence the self-esteem of the elderly through the LINE application, to compare the self-esteem of the elderly between using LINE application and using real-life experience, and to recommend the positive attitudes about self-esteem of the elderly through line application. The sample consisted of 385 people select the sample according to the qualifications. Questionnaires were used as a data collection tool. Data were analyzed using descriptive statistics and inferential statistics consist of independent T-tests, One-way ANOVA, Paired Samples T-Test and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient The study found that self-esteem of the elderly living alone was statistically significant lower than the elderly who did not live alone (p = .000). Frequency of using each function was found to have statistically significant relationship with level of self-esteem (p = .000). By comparing the total scores from the assessment between LINE application and real-life experience group, LINE application group statistical significance perceived more significant than real-life experience with mean 3.83 and 3.73, respectively (t = 2.715, p = .007). Recommendations for further research should be studied in other areas where the context is different. The government sector should increase the opportunity to access and awareness in LINE application. Private sectors use LINE application as a tool to enhance self-esteem of the elderly. Finally, the elderly should have proper use of the application line.", "th": "การวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ทำการเปรียบเทียบ การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุภายในแอปพลิเคชันไลน์และในชีวิตจริง และเสนอแนะการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง ของผู้สูงอายุผ่านการใช้แอปพลิเคชันไลน์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน ตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การทดสอบตัวแปรที่เป็นอิสระ ต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มแบบจับคู่และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ สหพันธ์ของเพียร์สัน การศึกษา พบการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียว (ค่าเฉลี่ย 3.25) มีระดับน้อยกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้ อาศัยอยู่คนเดียว (ค่าเฉลี่ย 3.90) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -4.771, p= .000) ความถี่ในการใช้งานแต่ละวัตถุประสงค์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) และผู้สูงอายุมีการรับรู้ ว่าตนมีความสำคัญภายในแอปพลิเคชันไลน์ (ค่าเฉลี่ย 3.83) สูงกว่าในชีวิตจริง (ค่าเฉลี่ย 3.73) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.715, p = .007) ข้อเสนอแนะภาครัฐเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแอปพลิเคชันไลน์แก่ผู้สูงอายุ เพิ่มมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบ จากการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ หน่วยงานเอกชนใช้แอปพลิเคชันไลน์เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง ของผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุควรมีการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์อย่างเหมาะสม" }
{ "en": "The purpose of this descriptive qualitative research was to study effective communication between nurses and advanced cancer patients. The participants were selected by the purposive sampling and they were diagnosed with advanced cancer and admitted to Chonburi Cancer Hospital, and were assessed by the Palliative Performance Scale version 2 (PPS v2) and their scores showed ≤ 60%. Twenty participants were assigned. The semi-structure interview guide was used for collecting data. Then, the content analysis was applied to analyze these data. The results revealed that the effective communication between nurses and advanced cancer patients emerged 4 significant categories: 1) characteristics of communication (: effective communication and non-effective communication), 2) characteristics of nurses contributing to the effective communication (: service-mind, encouragement, and creditable personality), 3) the barriers to communicate effectively causing from patients, nurses, loading work of nurses), and 4) effective communication improvement (: communication skills for psychological care and for explaining communication content) These results of this study demonstrated that the advanced cancer patients needed effective communication from nurses in both verbal and non-verbal communication. Nursing care has to eliminate the barriers to effective communication. At the same time, the communication skill promoting psychological care and content explanting for illness information needs to be developed and improved.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา เพื่อศึกษาการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย โรคมะเร็งในระยะลุกลาม ผู้ให้ข้อมูลได้ถูกคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งในระยะ ลุกลามที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี จังหวัดชลบุรี ที่ได้รับการประเมินด้วย Palliative Performance Scale version 2 (PPS v2) ได้คะแนน ≤ 60 % จำนวน 20 ราย และใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกึ่งมีโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะลุกลาม มี 4 ประเด็นหลัก คือ 1) ลักษณะของการสื่อสาร (ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ ลักษณะของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และลักษณะ ของการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ) 2) ลักษณะของพยาบาลสำหรับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (มี 3 ลักษณะ ได้แก่ มีจิตใจที่ให้ บริการ มีการแสดงออกถึงการให้กำลังใจผู้ป่วย และมีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ) 3) อุปสรรคในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (มี 3 ด้าน ได้แก่ ผู้ป่วย พยาบาล และภาระงานที่มากของพยาบาล) และ 4). การพัฒนาการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (มี 2 ด้านได้แก่ ทักษะ การสื่อสารเพื่อดูแลด้านจิตใจ และการอธิบายรายละเอียดของเนื้อหาการสนทนาสำหรับข้อมูลการเจ็บป่วย) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดง ให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะลุกลามมีความต้องการการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจากพยาบาลและจำเป็นต้องแสดงออกมาทั้งในรูปคำพูดและท่าทาง การพยาบาลต้องจัดการกับอุปสรรคที่ขัดขวางการสื่อสารมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันการสื่อสารเพื่อ การดูแลด้านจิตใจต้องมีการพัฒนาปรับปรุงเพิ่มมากขึ้น" }
{ "en": "This quasi-experimental research was to examine the effectiveness of perceived self-efficacy promoting program on caring for pre-hypertension group among community health volunteers, using one group pre-posttest design. The sample consisted of 41 community health volunteers. The instrument of this research consisted of a handbook of a perceived self-efficacy among community health volunteers on caring for pre-hypertension group, risk factor of hypertension assessment form and handbook for advising of caring themselves to pre-hypertension group, using the self-efficacy theory of Bandura (1997) included 1) Mastery experiences 2) Vicarious experiences 3) Verbal persuasion and 4) Emotional and physiological states. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and dependent t-test. The results revealed that self-efficacy on caring for pre-hypertension group among community health volunteers was higher than before receiving the program at the statistical level of 0.01. Therefore, nurses should apply this program to use on caring for pre-hypertension group.", "th": "การศึกษาแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในการดูแลกลุ่มเสี่ยงก่อนมีความดันโลหิตสูง ใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 41 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัย ได้แก่ คู่มือการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลกลุ่มเสี่ยงก่อนมีความดันโลหิตสูง แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง และแนวทางการให้คำแนะนำกลุ่มเสี่ยงก่อนความดันโลหิตสูง โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน 4 ด้าน คือ 1) การเรียนรู้ จากประสบการณ์ที่สำเร็จด้วยตนเอง 2) การเรียนรู้จากการใช้ตัวแบบ 3) การชักจูงด้วยวาจา และ 4) การกระตุ้นทางอารมณ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติ dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลกลุ่มเสี่ยงก่อนความดัน โลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p-value <.01) ดังนั้นพยาบาลควรมีการนำการรับรู้สมรรถนะแห่งตนไปใช้ ในการให้การพยาบาลการดูแลกลุ่มเสี่ยงก่อนความดันโลหิตสูงต่อไป" }
{ "en": "Creating policy participation of health behavior in subdistrict for reduce cancer, hypertension and cardiovascular disease in Maelan Subdistrict, Li District Lamphun Province with the objectives were 1) to study participation in creating policy participation 2) to study health behavior 3) Creating policy participation of health behavior. Research design to participatory action research. Creating policy participation by planning, action, monitoring, evaluation process. The sample size were 60 by purposive sampling. Analyze data by percentage, Mean and standard deviation, analyze the inductive analysis by Thematic analysis and Typology and Taxonomy. Result Participation of creating policy participation were average 3.72, Comparing before and after creating policy participation was a significant at the level .05 Health behavior were average 3.28. Comparing before and after creating policy participation was a significant at the level 0.05. Creating policy participation consists of 5 component : 1) Nutrition were focus on catering buffet in the traditional village. 2) Exercise were focus on sports of community and exercise 3 times per week for at least 30 minutes 3) Alcohol were not alcoholic in the traditional village 4) Smoking were focus on non-smoking in house and communicate and persuade people in community non-smoking with law enforcement 5) Stress were focus on relaxation activities stress and counseling", "th": "การสร้างมาตรการร่วมเพื่อพัฒนาสู่ตำบลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอด เลือดของตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรการร่วม 2) ศึกษาพฤติกรรม สุขภาพ 3) สร้างมาตรการร่วม การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย วางแผน, ดำเนินการ, ติดตาม, ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยทดสอบค่าที, วิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดี เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมและพฤติกรรม สุขภาพก่อนและหลังการสร้างมาตรการร่วม แตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มาตรการร่วมประกอบด้วย 1) มาตรการ ด้านอาหาร เน้นจัดเลี้ยงอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ในงานบุญตามประเพณีและงานขาวดำ 2) มาตรการด้านการออกกำลังกาย จัดประเภท กีฬาให้เหมาะสมกับชุมชน กำหนดวันออกกำลังกายของชุมชน สัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละอย่างน้อย 30 นาที ขึ้นไป 3) มาตรการด้าน สุรา งดเลี้ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในงานบุญตามประเพณีและงานขาวดำ 4) มาตรการด้านบุหรี่ พัฒนาเป็นบ้านปลอดบุหรี่ สื่อสารและชักชวนให้ประชาชน เลิกสูบบุหรี่ และบังคับใช้กฎหมาย 5) มาตรการด้านความเครียด จัดกิจกรรมคลายเครียด และ การให้คำปรึกษา การให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental design research was to compare breast milk volume of the mothers of preterm infants received kangaroo care with those who received usual nursing care. The samples consisted of 32 mothers and premature infants. The samples were purposively selected and divided into control group and experimental group. Research tools were 1) general information questionnaire, 2) pain assessment, 3) self-stress assessment and 4) breast milk recording form. Data were analyzed by descriptive statistics and independent t-test. The result of the study revealed that the average of breast milk volume of the mothers receiving kangaroo care was 4,544.20 (S.D. = 1519.77) while that of those receiving normal nursing care was 2,616. 25 ml (S.D. = 844.36). When milk volume was compared, the average amount of breast milk of the mothers receiving kangaroo care was higher than that of the mothers receiving usual nursing care with statistical significance (p < .001).", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำนมมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มที่ได้ รับการดูแลแบบแกงการูกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดจำนวน 32 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความปวด 3) แบบประเมินความเครียด และ 4) แบบบันทึกปริมาณน้ำนม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมทั้งหมดของมารดาที่ได้รับการดูแลแบบ แกงการู เท่ากับ 4,544.20 มิลลิลิตร (S.D. = 1519.77) ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมทั้งหมดของมารดาที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ เท่ากับ 2,616.25 มิลลิลิตร (S.D. = 844.36) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมพบว่า ปริมาณน้ำนมของมารดากลุ่มที่ได้รับ การดูแลแบบแกงการูมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)" }
{ "en": "This mixed method research with CIPP model approach, aimed to explore the opinions of 1) policy and program administrators, 2) nursing directors, 3) alumni, 4) teachers, 5) students’ supervisors and students’ colleagues, and 6) students. There were 33 sample. The measurement consisted of 4 parts; test for environment, test for input, test for process, and test for product. The content and statistical analysis were being performed. The results of the study were as follows; 1) The nursing administration program is still needed but must design the curriculum to allow learners have the required competency. 2) For results of the input, the students had highest satisfaction on measurement and evaluation that were congruent with the curriculum and study activities at private and international settings. The lowest satisfaction was the number of teachers who had provided consultation covering various fields. 3) In the process assessment, the teachers were able to provide teaching-learning experiences in accordance with the philosophy and objectives of the curriculum. However, the consultation in conducting the thesis/thematic paper, the teacher must be thorough in research process and must be able to respond to individual student’s needs. 4) For the product of the curriculum, the overall competency and the behavior of the students towards their professional responsibilities were at a very g", "th": "การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของ 1) ผู้บริหารระดับนโยบายและผู้บริหารหลักสูตรฯ 2) ผู้บริหารองค์กรพยาบาล 3) ศิษย์เก่า 4) อาจารย์ผู้สอน 5) ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน และ 6) นักศึกษา รวมกลุ่มตัวอย่าง 33 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วน เป็นแบบวัดสภาวะแวดล้อม แบบวัดปัจจัยนำเข้า แบบวัดกระบวนการ และแบบวัด ผลิตผล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินสภาวะแวดล้อมหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาลยังมีความ ต้องการอยู่ โดยควรออกแบบหลักสูตรฯ ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่ต้องการ 2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า นักศึกษามีความพึงพอใจสูงสุดในการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับหลักสูตรฯ และการดูงานในสถานเอกชนและต่างประเทศ สิ่งที่นักศึกษามีความพึงพอใจระดับต่ำที่สุด คือ จำนวนอาจารย์สำหรับการให้ คำปรึกษาครอบคลุมสาขาต่าง ๆ 3. ผลการประเมินกระบวนการ ผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของ หลักสูตรฯ อย่างไรก็ตามการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยอย่างถี่ถ้วน และตอบสนองความต้องการของนักศึกษาเป็นรายบุคคล 4. ผลการประเมินผลิตผลของหลักสูตรฯ สมรรถนะของนักศึกษาโดยรวมและพฤติกรรมที่มีต่อความรับผิดชอบในวิชาชีพ อยู่ในระดับดีมาก" }
{ "en": "This qualitative research aimed to study the perceptions of Royal Thai Army nursing students about elderly care without gerontological knowledge. The key informants were 10 nursing students, experiencing on living or taking care of older relatives. The data was collected by in-depth interviews with tape-recorded and transcribed verbatim.\nThe content analysis method was used to analyze these descriptions, including three themes emerged; 1) physical and mental deterioration (physiological change and sickness, be lonely and easily offended), 2) elderly care (helping with daily activities, caring with understanding, caring with attention, adapting to elderly relatives and showing gratitude), 3) roles of elder in their family (looking after grandchildren, assistance in household chores, teaching children and grandchildren),\nThe results of this study provided better understanding of nursing student’s perceptions and attitudes throughout the elderly care from their opinions. In addition, the research distributed useful knowledge to improve the pedagogy of teaching in gerontological nursing for The Royal Thai Army Nursing College. Providing and sharing experiences of elderly care is significantly valuable medical study, especially nursing students not living with their elders to improve caring techniques for elderly patients.", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ต่อการดูแล ผู้สูงอายุ ก่อนการเรียนวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ผู้ให้ข้อมูลคือ นักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 ที่มีประสบการณ์อยู่ร่วมกับผู้สูงอายุหรือ ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว จำนวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจนข้อมูลอิ่มตัว นำข้อมูลที่ได้มาถอด ความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)\nผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ของนักเรียนพยาบาลที่มีต่อการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การเสื่อมถอยของร่างกายและจิตใจ ประกอบด้วย 2 ประเด็น ได้แก่ ร่างกายเสื่อมถอยและเจ็บป่วย เหงาและน้อยใจง่าย 2) การดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ ช่วยเหลือกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ดูแลด้วยความเข้าใจ ดูแลด้วยความใส่ใจ ปรับตัวเข้าหาผู้สูงอายุ และตอบแทนบุญคุณ 3) บทบาทของผู้สูงอายุในครอบครัว ประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ ผู้เลี้ยงดูลูกหลาน ช่วยงานในบ้าน และผู้ให้คำปรึกษา\nผลจากการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้เข้าใจการรับรู้ของนักเรียนพยาบาลต่อผู้สูงอายุและการดูแลผู้สูงอายุ สามารถนำไปใช้เป็น แนวทางพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ โดยให้นักเรียนพยาบาลมีประสบการณ์ทำกิจกรรม ปฏิสัมพันธ์ กับผู้สูงอายุ หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างนักเรียนที่มีผู้สูงอายุในครอบครัวกับไม่มี เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนพยาบาล มีความรู้ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของวัยสูงอายุมีทัศนคติด้านบวกต่อผู้สูงอายุและสามารถให้การพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างมี คุณภาพ" }